วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 16:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะง่ายต่อการอ่าน เมื่อเข้าใจความหมายคำว่า โลกายัต

โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเอง

ของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิด

ครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย,

ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก.

(ป., ส.).

ลัทธิโลกายัต=>

viewtopic.php?f=7&t=33022

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ปฏิจจสมุปบาทในฐานะมัชเฌนธรรมเทศนา

ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า เป็นสัมมาทิฐิ หรือ เห็นถูกต้อง และความเห็น

ที่ถูกต้องนี้เป็นความเห็นชนิดที่เรียกว่า เป็นกลางๆ ไม่เอียงสุดไปทางใดทางหนึ่ง

ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นหลัก หรือ กฎที่แสดงความจริงเป็นกลางๆ ไม่เอียงสุด อย่างที่เรียกว่า

“ มัชเฌนธรรมเทศนา” ความเป็นกลางของหลักความจริงนี้ มีโดยการเทียบกับลัทธิหรือทฤษฎีเอียง

สุดต่างๆ และความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทโดยถูกต้อง จะต้องแยกออกจากทฤษฎีเอียงสุดเหล่านี้ด้วย


ดังนั้น ในที่นี้จึงควรนำทฤษฎีเหล่านี้มาแสดงไว้เปรียบเทียบเป็นคู่ๆ โดยการใช้วิธีอ้างพุทธพจน์

เป็นหลัก และอธิบายให้น้อยที่สุด

คู่ที่ ๑ :

๑. อัตถิกวาทะ* ลัทธิว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่จริง (Extreme realism)

๒. นัตถิกวาทะ ลัทธิว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่จริง (Nihilism)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า “สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ” ดังนี้ แค่ไหน จึงจะชื่อว่า เป็น

สัมมาทิฐิ ?

“แน่ะท่านกัจจานะ โลกนี้โดยมากอิง (ทฤษฎีของตน) ไว้กับภาวะ ๒ อย่างคือ

อัตถิตา (ความมี) และนัตถิตา (ความไม่มี)

เมื่อเห็นโลกสมุทัย ตามที่มันเป็นด้วยสัมมาปัญญา นัตถิตาในโลกก็ไม่มี

เมื่อเห็นโลกนิโรธ ตามที่มันเป็นด้วยสัมมาปัญญา อัตถิตาในโลกนี้ก็ไม่มี

โลกนี้โดยมากยึดมั่นถือมั่นในอุบาย เมื่อเห็นโลกนิโรธตามที่มันเป็นด้วยสัมมาปัญญา อัตถิตาในโลกนี้

ก็ไม่มี โลกนี้โดยมากยึดมั่นถือมั่นในอุบาย (systems) และถูกคล้องขังไว้ด้วยอภินิเวส

(dogmas)

ส่วนอริยสาวก ย่อมไม่เข้าหา ไม่ยึด ไม่ติดอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุบาย

ความปักใจอภินิเวส และอนุสัยว่า “อัตตาของเรา” ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า “ทุกข์นั่นแหละ

เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ก็ย่อมดับ อริยสาวกย่อมมีญาณในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่น

เลย เพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีสัมมาทิฐิ”


“ดูก่อนกัจจานะ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง

ข้อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง

ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชานั่นแหละ สำรอกดับไป

ไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”


พราหมณ์นักโลกายัตคนหนึ่ง มาเฝ้าทูลถามปัญหาว่า

“ท่านพระโคตมะผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ข้อว่า สิ่งทั้งปวงมี เป็นโลกายัตหลักใหญ่ที่สุด”

ถาม สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ ?

ตอบ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี เป็นโลกายัตที่สอง

ถาม สิ่งทั้งปวงเป็นภาวะหนึ่งเดียว- (เอกัตตะ - unity) หรือ ?

ตอบ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นภาวะหนึ่งเดียว เป็นโลกายัตที่สาม

ถาม สิ่งทั้งปวงเป็นภาวะหลากหลาย- (ปุถุตตะ- plurality) หรือ ?

ตอบ สิ่งทั้งปวงเป็นภาวะหลากหลาย เป็นโลกายัตที่สี่


“ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างเหล่านี้

ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

(สํ.นิ. 16/176/92)


คู่ที่ ๒ :

๑. สัสสตวาทะ ลัทธิถือว่าเที่ยง (Eternalism)

๒. อุจเฉทวาทะ (Annihilationism)


คู่ที่ ๓ :

๑. อัตตการวาทะ หรือ สยังการวาทะ ลัทธิถือว่าสุขทุกข์เป็นต้น ตนทำเอง

(self-genera- tionism หรือ karmic autogenesisism )

๒. ปรการวาทะ ลัทธิถือว่าสุขทุกข์ เป็นต้น เกิดจากตัวการภายนอก

(other-generationism หรือ karmic heterogenesisism)



คู่ที่ ๓ และ ๔ นี้ มีความสำคัญมากในแง่ของหลักกรรม เมื่อศึกษาเข้าใจดีแล้ว

จะช่วยป้องกันความเข้าใจผิดในเรื่องกรรมได้เป็นอย่างมาก

จึงควรสังเกตตามแนวพุทธพจน์ ดังนี้



ถาม ทุกข์ ตนทำเอง หรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม ทุกข์ ตัวการอื่นทำให้ หรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม ทุกข์ ตนทำเองด้วย ตัวการอื่นทำให้ด้วย หรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม ทุกข์ มิใช่ตนทำเอง มิใช่ตัวการอื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองลอยๆ (เป็นอธิจจสมุปบัน)

หรือ ?


ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น


ถาม ถ้าอย่างนั้น ทุกข์ไม่มี หรือ ?

ตอบ ทุกข์มิใช่ไม่มี ทุกข์มีอยู่

ถาม ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคตมะ ไม่รู้ ไม่เห็นทุกข์ หรือ ?

ตอบ เรามิใช่ไม่รู้ ไม่เห็นทุกข์ เรารู้ เราเห็นทุกข์แท้ทีเดียว

ถาม...ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดบอก โปรดแสดงทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

ตอบ เมื่อว่าทุกข์ตนทำเอง อย่างที่ว่าทีแรก ก็เท่ากับบอกว่า ผู้นั้นทำ ผู้นั้นเสวย (ทุกข์)

กลายเป็นสัสสตทิฐิไป

เมื่อว่า ทุกข์ตัวการอื่นทำให้ อย่างที่ผู้ถูกเวทนาทิ่มแทงรู้สึก ก็เท่ากับบอกว่า

คนหนึ่งทำ คนหนึ่งเสวย (ทุกข์) กลายเป็นอุจเฉททิฐิไป

ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น

ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณจึงมี ฯลฯ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

(สํ.นิ. 16/49-50/23-25)


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ถาม สุขทุกข์ ตนทำเองหรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม สุขทุกข์ ตัวการอื่นทำให้ หรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม สุขทุกข์ ตนทำเองด้วย ตัวการอื่นทำให้ด้วย หรือ ?

ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม สุขทุกข์ มิใช่ตนทำเอง มิใช่ตัวการอื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองลอยๆ (เป็นอธิจจสมุปบัน)

หรือ ?


ตอบ อย่ากล่าวอย่างนั้น

ถาม ถ้าอย่างนั้น สุขทุกข์ไม่มี หรือ ?

ตอบ สุขทุกข์มิใช่ไม่มี สุขทุกข์มีอยู่

ถาม ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคตมะ ไม่รู้ ไม่เห็น สุขทุกข์ หรือ ?

ตอบ เรามิใช่ไม่รู้ ไม่เห็นสุขทุกข์ เรารู้ เราเห็นสุขทุกข์แท้ทีเดียว

ถาม ...ขอพระผู้มีพระภาค โปรดบอก โปรดแสดงสุขทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

ตอบ เพราะเข้าใจเอาแต่แรกว่า เวทนาก็นั่น ผู้เสวยเวทนาก็นั่น จึงเกิดยึดถือขึ้นว่า

สุขทุกข์ตนทำเอง

เราหากล่าว (ว่าเป็น) อย่างนั้นไม่ เพราะเข้าใจว่า เวทนาก็อย่าง ผู้เสวยเวทนาก็อย่าง

จึงเกิดความยึดถืออย่างที่ผู้ถูกเวทนาทิ่มแทงรู้สึกว่า สุขทุกข์ ตัวการอื่นทำให้

เราหากล่าว (ว่าเป็น) อย่างนั้นไม่

ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆว่า เพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

(สํ.นิ. 16/54-55/26-29)



“ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่า สุขทุกข์เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น)

อาศัยอะไร ? อาศัยผัสสะ”

“เมื่อกายมีอยู่ อาศัยความจงใจทางกายเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้

เมื่อวาจามีอยู่ อาศัยความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้

เมื่อมโนมีอยู่ อาศัยมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้”

“เพราะอวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่กายสังขารขึ้นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์

ภายในบ้าง เนื่องจากผู้อื่น (ถูกคนอื่นหรือตัวการอื่นๆกระตุ้นหรือชักจูง) จึงปรุงแต่งกายสังขาร

เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง

รู้ตัวอยู่ จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง

ไม่รู้ตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง

จึงปรุงแต่งวจีสังขาร...มโนสังขารขึ้นเองบ้าง... เนื่องจากผู้อื่นบ้าง...โดยรู้ตัวบ้าง...โดยไม่รู้ตัวบ้าง

เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายใน

ในกรณีนี้ อวิชชาเข้าแทรกอยู่แล้ว (ทั้งนั้น)”


(สํ.นิ. 16/82-83/46-48 ฯลฯ)




คู่ที่ ๔:

๑. การกเวกาทิเอกัตตวาท ** การถือว่า ผู้ทำและผู้เสวยผลเป็นต้น เป็นตัวการเดียวกัน

(The extremist view of a self-identical soul หรือ The monistic view of

subject-object unity)


๒. การกเวกาทินานัตตวาท* การถือว่า ผู้ทำและผู้เสวยผล เป็นต้น เป็นคนละอย่าง

ขาดจากกัน (The extremist view of individual discontinuity หรือ

The dualistic view of subject-object distinction )

ถาม ตัวที่ทำก็อันนั้น ตัวที่เสวย (ผล) ก็อันนั้นหรือ ?

ตอบ ข้อว่า ตัวที่ทำก็อันนั้น ตัวที่เสวย (ผล) ก็อันนั้น เป็นที่สุดข้างหนึ่ง

ถาม ตัวที่ทำก็อย่าง ตัวที่เสวย (ผล) ก็อย่าง หรือ ?

ตอบ ตัวที่ทำก็อย่าง ตัวที่เสวย (ผล) ก็อย่าง เป็นที่สุดข้างที่สอง

ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น

ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

(สํ.นิ. 16/170/90)


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


* คำว่าวาทะ เปลี่ยนเรียกว่า ทิฐิ ได้ทุกแห่ง

ดังนั้นวาทะทั้งสองนี้ และต่อจากนี้ไป จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อัตถิกทิฐิ นัตถิกทิฐิ

อุจเฉททิฐิ ฯลฯ

เฉพาะอัตถิกวาทะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัพพัตถิกวาทะ

** ผู้ต้องการความกระจ่างนอกจากนี้พึงดู ที.สี. 9/95/69 ฯลฯ ทั้งสองอย่างเป็นรูปหนึ่งๆ

ของสัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.ค. 2010, 10:55, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะ คือ อะไร ชรามรณะนี้ของใคร ?

ตอบ ตั้งปัญหายังไม่ถูก

ผู้ใดกล่าวว่า ชรามรณะ คือ อะไร ชรามรณะนี้ของใคร ? หรือผู้ใด

กล่าวว่า ชรามรณะก็อย่าง เจ้าของชรามรณะก็อย่าง

คำพูดทั้งสองแบบนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

เมื่อมีความเห็นว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น พรหมจรรย์ก็มีไม่ได้

เมื่อมีความเห็นว่า ชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่าง พรหมจรรย์ก็มีไม่ได้

ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองนั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี


ถาม พระองค์ผู้เจริญ ชาติ...ภพ...อุปาทาน...ตัณหา...เวทนา...ผัสสะ...สฬายตนะ...

นามรูป...วิญญาณ...สังขาร คือ อะไร ? ของใคร ?


ตอบ ตั้งปัญหายังไม่ถูก (เนื้อความต่อไปแนวเดียวกับข้อชรามรณะ)

เพราะอวิชชา สำรอกดับไปไม่เหลือ ความเห็นที่บิดเบือน ส่ายพร่า ขัดกัน อย่างใดๆ

ก็ตามว่า ชรามรณะ คือ อะไร ชรามรณะนี้ของใคร ? ก็ดี

ชรามรณะก็อย่าง เจ้าของชรามรณะก็อย่าง ก็ดี

ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนั้น ก็ดี

ชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่างก็ดี ความเห็นเหล่านั้นทั้งหมด เป็นอันถูกกำจัด ถอนรากทิ้ง

ทำให้สิ้นซาก ถึงความไม่มี หมดทางเกิดขึ้นได้ต่อไป

(สํ.นิ. 16/129-133/72-74)



ถาม ใครหนอ ย่อมผัสสะ (ใครเป็นผู้รับผัสสะ) ?

ตอบ ตั้งปัญหายังไม่ถูก

เรามิได้กล่าวว่า ย่อมผัสสะ

ถ้าเรากล่าวว่า ย่อมผัสสะ ในกรณีนั้น จึงควรตั้งปัญหาได้ถูกต้องว่า ใครหนอย่อมผัสสะ

แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น เมื่อเราไม่กล่าวอย่างนั้น

ผู้ใดถามอย่างนี้ว่า เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ? นี้ชื่อว่าตั้งปัญหาถูกต้อง

ในกรณีนั้น ก็มีคำเฉลยที่ถูกต้องว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี


ถาม ใครหนอเสวยเวทนา ? ใครหนอทะยานอยาก (มีตัณหา) ?

ใครหนอ ย่อมยึดมั่น (มีอุปาทาน) ?


ตอบ ตั้งปัญหายังไม่ถูก …

ผู้ใดถามว่า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ เวทนาจึงมี ?

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ ตัณหาจึงมี ?

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ อุปาทานจึงมี ? นี้ชื่อว่าตั้งปัญหาถูกต้อง

ในกรณีนั้น ๆ ก็มีคำเฉลยที่ถูกต้องว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ

(สํ.นิ. 16/33-36/16-17)

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ มิใช่ของเธอ แล้วก็มิใช่ของใครอื่น พึงเห็นว่า

กรรมเก่านี้เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ถูกจงใจจำนงขึ้นมา

(เกิดจากเจตนา หรือ มีเจตนาเป็นมูล) เป็นที่ตั้งของเวทนา”

“ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมพิจารณาสืบสาว (โยนิโสมนสิการ-คิด

เป็น คิดถูกวิธี) เป็นอย่างดี ถึงการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท)

ว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ

กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ

(สํ.นิ. 16/143/77-78)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงของธรรมชาติให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะ

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์

เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มีจริง ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น

แต่ผู้ไม่รู้ความหมายของหลักปฏิจจสมุปบาท มักเข้าใจไตรลักษณ์ผิดพลาด

โดยเฉพาะหลักอนัตตานั้น มักได้ยินได้ฟังกันมาอย่างผิวเผิน แล้วตีความเอาว่า

อนัตตาหมายถึงไม่มีอะไร กลายเป็นนัตถิกวาทะ อันเป็นมิจฉาทิฐิอย่างร้ายแรงไปเสีย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 19:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ย่อมพ้นจากความเข้าใจผิดแบบต่างๆ ที่แตกแขนงออกมาจาก

ทฤษฎีทั้งหลายข้างต้นนั้น เช่น ความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายมีมูลการณ์ หรือ เหตุต้นเค้าเดิมสุด

(First Cause) และความเข้าใจว่า มีสิ่งวิเศษนอกเหนือธรรมชาติ (the Supernatural)

เป็นต้น ตัวอย่างพุทธพจน์เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และ ปฏิจจสมุปบันธรรม เหล่านี้ ชัดเจน

ตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้ว เมื่อนั้น การที่อริยสาวกนั้น จะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้น

ว่า “ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ ? ในอดีต เราได้เป็นอะไรหนอ ? ในอดีต เราได้เป็น

อย่างไรหนอ ? ในอดีต เราเป็นอะไรแล้วจึงได้มาเป็นอะไรหนอ ?

หรือ จะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า ในอนาคต เราจักมีหรือไม่หนอ ? ในอนาคต เราจัก

เป็นอะไรหนอ ? ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไรหนอ ? ในอนาคต เราเป็นอะไรแล้วจักได้เป็น

อะไรหนอ ?

หรือ แม้แต่จะเป็นผู้มีความสงสัย กาลปัจจุบันเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เรามีอยู่หรือไม่หนอ ?

เราคืออะไรหนอ ? เราเป็นอย่างไรหนอ ? สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก ? ดังนี้

ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร ก็เพราะว่า อริยสาวกได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และ

ปฏิจจสมุปบันธรรม เหล่านี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา”

(สํ.นิ. 16/63/31)
........

ปฏิจจสมุปบันธรรม- สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยนี้ ผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท จึงไม่สงสัยในปัญหาอภิปรัชญาต่างๆที่เรียกว่า อันตคาหิกทิฐิและจึง

เป็นเหตุผลที่พระพุทธเจ้านิ่งเสีย ไม่ตรัสตอบปัญหาเหล่านี้ ในเมื่อใครก็ตามมาทูลถาม โดยตรัสว่า

เป็นอัพยากตปัญหา หรือ ปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์ เพราะเมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจการที่สิ่ง

ทั้งหลายเป็นไปตามกระบวนแห่งเหตุปัจจัยแล้ว ปัญหาเหล่านี้ย่อมกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไป

ขอยกตัวอย่างพุทธพจน์ที่แสดงเหตุผลในการไม่ตรัสตอบปัญหาเหล่านี้ เช่น


ถาม: ท่านพระโคตรมะผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นทั้งหลาย

เมื่อถูกถามอย่างนี้ว่า


๑. โลกเที่ยง (ยั่งยืนนิรันดร) หรือ ?

๒. โลกไม่เที่ยงหรือ ?

๓. โลกมีที่สุดหรือ ?

๔. โลกไม่มีที่สุดหรือ ?

๕. ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ ?

๖. ชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่างหรือ ?

๗. สัตว์หลังจากตายแล้ว มีอยู่หรือ ?

๘. สัตว์หลังจากตายแล้ว ไม่มีหรือ ?

๙. สัตว์หลังจากตายแล้ว ทั้งมี ทั้งไม่มีหรือ ?

๑๐. สัตว์หลังจากตายแล้ว จะว่ามีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หรือ ?

จึงพยากรณ์ตอบว่า โลกเที่ยง บ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง ฯลฯ

สัตว์หลังจากตายแล้วจะว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ บ้าง ? (แต่) อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

ท่านพระโคตรมะผู้เจริญ เมื่อถูกถามอย่างนั้น จึงไม่พยากรณ์ (ตอบ) ไปว่า โลกเที่ยง

หรือ โลกไม่เที่ยง ฯลฯ ?

ตอบ : แน่ะท่านวัจฉะ เหล่าปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเข้าใจว่า รูปเป็นอัตตาบ้าง

ว่าอัตตามีรูปบ้าง ว่ารูปอยู่ในอัตตาบ้าง ว่าอัตตาอยู่ในรูปบ้าง

เข้าใจว่า เวทนา...สัญญา...สังขาร...เป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ

เข้าใจว่า วิญญาณเป็นอัตตาบ้าง ว่าอัตตามีวิญญาณบ้าง ว่า วิญญาณอยู่ในอัตตาบ้าง

ว่าอัตตาอยู่ในวิญญาณบ้าง เพราะฉะนั้น เหล่าปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น เมื่อ

ถูกถามอย่างนั้น จึงพยากรณ์ไปว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ

ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เข้าใจเอารูปเป็นอัตตา หรือว่าอัตตามีรูป หรือ

ว่ารูปอยู่ในอัตตา หรือว่าอัตตาอยู่ในรูป ฯลฯ

ว่าวิญญาณเป็นอัตตา หรือว่าอัตตามีวิญญาณ หรือว่าวิญญาณอยู่ในอัตตา หรือว่าอัตตาอยู่ใน

วิญญาณ เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อถูกถามอย่างนี้ จึงไม่พยากรณ์

ว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ

(สํ.สฬ. 18/794/480ฯลฯ )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.ค. 2010, 20:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




03.jpg
03.jpg [ 215.86 KiB | เปิดดู 2949 ครั้ง ]
การที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาที่เรียกว่า อภิปรัชญา (สมัยก่อนเรียกอัธยาตมวิทยา)

เหล่านี้

มีเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญก็คือ ปัญหาเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยเอาความเข้าใจผิด

เป็นฐาน

ผู้ตั้งปัญหา คิดปัญหาขึ้นจากความเห็นผิดของตนเอง เช่น เข้าใจว่ามีอัตตา เป็นต้น

ปัญหาที่ถามจึงไม่มีภาวะที่ตรงกับความจริง

เป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ตั้งปัญหาไม่ถูก อย่างพุทธพจน์ข้างต้นนี้

ประการที่หนึ่ง ความจริงที่ปัญหานี้เล็งไปถึงมิใช่สิ่งที่จะเข้าถึงได้ด้วยเหตุผล

การอธิบายด้วยเหตุผล ย่อมไม่มีทางให้ผู้ฟังมองเห็นความจริงได้

เป็นอย่างที่เรียกว่า สิ่งที่ต้องดูด้วยตา จะเอามามองให้เห็นด้วยหู ย่อมเป็นการสิ้นเปลือง

เวลาเปล่า นี้อย่างหนึ่ง

และที่สืบเนื่องจากเหตุผลข้อที่แล้วมา ก็คือ ในเมื่อไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยเหตุผล

การยังมามัวตีวาทะแสดงเหตุผลกันอยู่ ย่อมไม่ช่วยให้เกิดผลทางปฏิบัติในชีวิตจริง

พระพุทธเจ้าทรงสนพระทัย สิ่งที่เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงในทางปฏิบัติ

นำมาใช้เป็นประโยชน์ได้


จึงปัดปัญหาเหล่านี้เสียทีเดียว ทรงชักนำผู้ถามกลับมาหาปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตจริงในทันที

เพื่อไม่ให้เสียเวลาใดๆ

และถ้าหากความจริงเหล่านี้ บุคคลสามารถเข้าถึงได้จริง

พระองค์ทรงบอกให้ผู้นั้นลงมือทำหรือปฏิบัติ ตามวิธีการที่จะให้เข้าถึงความจริงนั้นเสียทีเดียว

ไม่ให้มัวมาถกเถียงเป็นตาบอดคลำช้างอยู่

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ประการสุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงอุบัติในสมัย ที่คนกำลังสนใจกันนักหนาในปัญหาเหล่านี้

เจ้าลัทธิที่สนใจคิดถกเถียงตอบปัญหาเหล่านี้กันก็มีทั่วไป

คนถามก็นิยมถามปัญหาเหล่านี้จนกล่าวได้ว่า เป็นลักษณะความคิดของคนยุคนั้น

ซึ่งหลงวุ่นวายในเรื่องนี้กันจนเหินห่างจากความจริงของชีวิต

การที่จะไปร่วมวงตอบกับเขาอีก ก็ไม่ทำให้เกิดอะไรดีขึ้น

พระพุทธเจ้าจึงทรงนิ่งไม่ตอบเสียเลย ซึ่งนอกจากเป็นการไม่ส่งเสริมการถกเถียงในเรื่องนี้แล้ว

ยังเป็นการกระตุกอย่างแรง ให้หันมาหาสิ่งที่พระองค์ทรงมุ่งสั่งสอน คือ ความจริง

ที่เกี่ยวกับชีวิตจริง อันเป็นวิธีการที่ได้ผลทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง

(พึงดูประกอบใน ม.ม. 13/147-152/143-153 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 19:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชเฌนธรรมเทศนา มาจากบาลีว่า “มชฺเฌน ธมฺมํ เทเสสิ” ซึ่งมีกล่าวไว้หลายแห่ง


มัชเฌนธรรมเทศนา คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ

คือ ตามสภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันเอง ตามเหตุปัจจัย ไม่ติดข้องในทิฐิ

หรือ แนวความคิดเอียงสุดทั้งหลาย ที่มนุษย์วาดให้เข้ากับสัญญาที่ผิดพลาด

และ ความยึดความอยากของตนที่จะให้โลก และ ชีวิต เป็นอย่างนั้นอย่างนี้


มัชเฌนธรรมเทศนานี้ หมายถึงหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่ กระบวนธรรมแห่งการเกิดขึ้นพร้อม

โดยอาศัยกัน และ กันของสิ่งทั้งหลาย กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้แจงเรื่องความทุกข์ของมนุษย์

นั้น ท่านแสดงไว้เป็น ๒ แบบ หรือ ๒ สาย

สายที่หนึ่ง แสดงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร

และจัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒ คือ สมุทัยอริยสัจ

สายที่สอง แสดงการดับไปแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร

และ จัดเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธอริยสัจ

โดยสรุป มัชเฌนธรรมเทศนา แสดงกระบวนธรรมทั้ง ๒ สาย คือ เกิดทุกข์ ดับทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร