วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 19:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




002.jpg
002.jpg [ 18.03 KiB | เปิดดู 2929 ครั้ง ]
ญาณที่ ๒๐ ปัญญาอันรู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ

ญาณที่ ๒๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นติรณัฏฐญาณ

ญาณที่ ๒๒ ปัญญาเครื่องละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ

ญาณที่ ๒๓ ปัญญเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ

ญาณที่ ๒๔ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ



ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้นๆ แล้ว


ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรกำหนด รู้ธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้นๆ แล้ว


ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรละธรรมใดๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้นๆ แล้ว


ปัญญาเครื่องเจริญเป็น เอกรสัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรเจริญธรรมใดๆ แล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็น อันเดียวกัน


ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว




ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ……

……ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณ
……ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ
……ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ
……ปัญญเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ
……ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ ฯ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 30 ต.ค. 2009, 19:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณที่ ๒๐ ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้นๆ แล้ว

********************************************************
" อริยสัจ 4 " เป็นธรรมอันควรรู้ยิ่ง

ญาณต่างๆนั้นพอจะสรุปได้ว่า
....."ท่านประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด อยากรู้อยากเห็นอะไร ก็มุ่งไปที่จุดนั้นจุดเดียวอย่าถอยอย่าคลาย ...สิ่งที่ปรารถนาก็จะสำเร็จได้ดังประสงค์ "...

ในที่นี้จะแนะนำการเจริญวิปัสนาในอริยสัจ 4 โดยใช้ฌานเป็นบาท

ข้อแรกท่านต้องท่องจำอริยสัจ 4ให้ได้ขึ้นใจเสียก่อนแล้วจึงใช้ฌานประยุกต์เป็นบาทเข้าไปในการเจริญวิปัสนา

ต่อไปก็เริ่มเจริญวิปัสนาได้โดยเข้าฌาน 1 ก่อน
..ความเกิดเป็นทุกข์
..ความแก่เป็นทุกข์
..ความเจ็บไข้ไม่สบายเป็นทุกข์
..ความตายเป็นทุกข์
..ความโศกเศร้าร่ำไรรำพันความไม่สบายกายความไม่สบายใจความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์
..ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
..ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
..ความผิดหวังเมื่อปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์
..ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์

เรามีความรู้ในเรื่องทุกข์
ความรู้ในเรื่องทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
ความรู้ในเรื่องทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้เราได้กำหนดรู้แล้ว


ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่การสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่การเสวยอารมณ์สุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์อันเกิดจากการสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่ความอยากได้ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่ความติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่ความประทับใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่ความอาลัยอาวรณ์ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์

เรามีความรู้ในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละฌาน
เหตุให้เกิดทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว


การละตัณหา ความดับแห่งตัณหาเป็นความดับทุกข์
ตัณหาย่อมละและดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมละและดับที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมละและดับที่การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมละและดับที่การสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมละและดับที่การเสวยอารมณ์สุขทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์อันเกิดจากการสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตัณหาย่อมละและดับที่ความอยากได้ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมละและดับที่ความติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมละและดับที่ความประทับใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์
ตัณหาย่อมละและดับที่ความอาลัยอาวรณ์ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์

เรามีความรู้ในเรื่องความดับทุกข์
ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเราได้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว


มัคคมีองค์ 8เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์
ความรู้ในเรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ เป็นสัมมาทิฏฐิ
ความดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่เบียดเบียน และดำริในการไม่พพยาบาท เป็นสัมมาสังกัปปะ
การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดหยาบคาย เป็นสัมมาวาจา
การเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การไม่เอาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ การถือพรหมจรรย์ การไม่เสพสิ่งเสพติด เป็นสัมมากัมมันตะ
การประกอบอาชีพสุจริตไม่ผิดศีลธรรม เป็นสัมมาอาชีวะ
การเพียรละบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น การเพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้ตั้งอยู่ได้ การยังกุศลจิตที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น การยังกุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เป็นสัมมาวายามะ
การตั้งจิตประคองจิตพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม แล้วละความยินดียินร้ายในโลกนี้เสียได้ เป็นสัมมาสติ
การปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนมีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับไม่กระวนกระวายมีใจตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวไม่ยินดียินร้ายต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ และใจเรานั้นก็ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตเป็นสมาธิได้ปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุขและเอกคตารมณ์ ละวิตกวิจารณ์เข้าสู่ทุติยฌาน มีปีติ สุขและเอกคตารมณ์ ละปีติเข้าสู่ตติยฌาน มีสุขและเอกคตารมณ์ฯลฯ ละสุขละทุกข์เสียได้ เข้าสู่จตุตถฌานมีเอกคตารมณ์เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ

เรามีความรู้ในเรื่องทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์
ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญ
ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญได้เจริญแล้ว

อนุปุพพิกถาคือ ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม คุณของเนกขัมมะ และ อริยสัจ 4 ..เป็นธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบ่อยที่สุด ผู้มีจิตเป็นสมาธิก็จะบรรลุธรรมตามสมควรแก่ตนๆ

ขอให้ท่านพยายามรักษาฌานให้ต่อเนื่องตามกันในการเจริญวิปัสนา และขอให้ท่านจงประสบกับความสำเร็จในสิ่งที่ท่านมุ่งหวังโดยเร็วนะครับ

ขออนุโมทนาสาธุการกับความสำเร็จที่บรรลุธรรมทั้งหลายของท่านครับ ผมขอเป็นกำลังใจให้ครับ






พึงรักษาประคับประคอง "ตะบะ" เจริญอริยสัจ 4 ในทำนองนี้จนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล .


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรกำหนด รู้ธรรมใดๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้นๆ แล้ว

**********************************************************
พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุปฐมฌาน มีฉันทะในปฐมฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลทุติยฌาน มีฉันทะในทุติยฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุตติยฌาน มีฉันทะในตติยฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุจตุตถฌาน มีฉันทะในจตุตถฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีฉันทะในอากาสานัญจายตนฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุวิญญานัญจายตนฌาน มีฉันทะในวิญญานัญจายตนฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีฉันทะในอากิญจัญญายตนฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีฉันทะในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น

พระโยคาวจรเจริญมัคคปฏิปทาสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมจิตไปสู่ความดับแห่งจิตตสังขาร พร้อมสัญญาเวทนาและอาสาวกิเลสทั้งปวง


พระโยคาวจรเจริญฌานเป็นโลกุตตระบรรลุโสดาปัตติมัคคและโสดาปัตติผล มีฉันทะในโสดาปัตตผลนั้น

พระโยคาวจรเจริญฌานเป็นโลกุตตระบรรลุสกทาคามีมัคคและสกทาคามีผล มีฉันทะในสกทาคามีผลนั้น

พระโยคาวจรเจริญฌานเป็นโลกุตตระบรรลุอนาคามีมัคคและอนาคามีผลผล มีฉันทะในอนาคามีผลนั้น

พระโยคาวจรเจริญฌานเป็นโลกุตตระบรรลุอรหัตตมัคคและอรหัตตผล มีฉันทะในอรหัตตผลนั้น


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.........ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรละธรรมใดๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้นๆ แล้ว

***************************************************

.............บัณฑิตเหล่าใดมีปณิธานแรงกล้าที่จะละนามรูปเพื่อความหลุดพ้น
เห็นไตรลักษณ์แจ่มแจ้งในนามรูป
ปรารภอนาคาริกผู้ไม่หวนกลับ มีนิพพานเป็นอารมณ์
น้อมจิตไปสู่นิพพานไม่ถอนไม่คลาย
พิจารณานามรูปว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มั่นคงดีแล้ว

........ละนามรูปเข้าสู่ปฐมฌาน ทำความพอใจอยู่ในปฐมฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ .

.......ละปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌาน ทำความพอใจในทุติยฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ

.......ละทุติยฌานเข้าสู่ตติยฌาน ทำความพอใจในตติยฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ .

.......ละตติยฌานเข้าสู่จตุตถฌาน ทำความพอใจในจตุตถฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ .

.......ละจตุตถฌานเข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน ทำความพอใจในอากาสานัญจายตนฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ .

.......ละอากาสานัญจายตนฌานเข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาน ทำความพอใจในวิญญานัญจายตนฌานนั้น
.....มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ

.......ละวิญญานัญจายตนฌานเข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน ทำความพอใจในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ

.......ละอากิญจัญญายตนฌานเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทำความพอใจในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
......มีปณิธานอันแรงกล้าเพื่อละนามรูปเป็นผู้ไม่หวลกลับ .

.......ละเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทำความพอใจในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้น
......ทำความพอใจในความดับ ตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า
อธิษฐานให้จิตตสังขารดับลง
สัญญาเวทนา และ อาสาวกิเลสทั้งปวง ก็จะดับลงพร้อมกับจิตตสังขารนั้น .

บัณฑิตผู้มีปณิธานอันแรงกล้าเป็นผู้ไม่หวลกลับ
เมื่อออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ย่อมบรรลุอรหัตตผล พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 วิชชา 3 ครับ
ถึงซึ่งความหลุดพ้นจากนามรูปโดยแท้ และได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก


บางคนอาจบรรลุกำลังแห่งอภิญญา 5 ประการครับ เช่น สามารถรู้จักจิตใจผู้อื่น
แต่อย่ากังวลครับ ฌานสมาบัติ 8 เป็นครุกรรมฝ่ายกุศลนะครับ
ให้ผลก่อน ตายแล้วไปสู่พรหมโลกก่อน มีความสุขนะครับ ไปบำเพ็ญเพียรกันต่อครับ

สำหรับผู้มีอินทรีย์ปานกลางบรรลุอนาคามีผล พร้อมโลกิยปฏิสัมภิทาญาณ

ไหนๆมาพบพระพุทธศาสนากันแล้วก็พึงเป็นผู้ปฏิบัติแบบไม่หวลกลับกันเถิดครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.........ปัญญาเครื่องเจริญเป็น เอกรสัฏฐญาณอย่างไร
……พระโยคาวจรเจริญธรรมใดๆ แล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็น อันเดียวกัน

*********************************************************


อินทรีย์ 3 ชื่อว่า " ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรเจริญแล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็น อันเดียวกัน


" . อินทรีย์ 3 เป็นไฉน ??? . "

1. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

.....คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ที่ตนไม่เคยรู้มาก่อน เจริญตัวเองและเป็นการบรรลุธรรมสิ่งที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมทั้งกำหนดรู้ปัญญารู้แจ้งที่เกิดขึ้นนั้นอย่างต่อเนื่อง ถึงซึ่งฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมัคค

2. อัญญินทรีย์

......คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ที่ตนเคยรู้แล้วให้รู้ละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ยังรู้ไม่หมดจด ถึงซึ่งฐานะ 6 คือโสดาปัตติผล สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล อนาคามีมัคค อนาคามีผล และอรหัตตมัคค

3. อัญญาตาวินทรีย์

......คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็ผู้ปกครองในการรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 สิ้นสุดแล้ว ละเอียดหมดจดครบถ้วนแล้ว ถึงซึ่งฐานะ 1 คืออรหัตตผล


" . ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นไฉน ??? . "

......คือกิจขณะตรัสรู้บรรลุธรรมและขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ

กิจขณะบรรลุธรรม และขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ

1.ภูมิพระโสดาบัน
ขณะตรัสรู้บรรลุธรรม
ภวังค์จิต--บริกรรมจิต--อุปจาระจิต--อนุโลมจิต--โคตรภูจิต --มัคคจิต--ผลจิต--ผลจิต--ผลจิต--ภวังค์จิต

จะเห็นได้ว่ามีโสดาปัตติผลจิตเกิดขึ้นอย่างน้อยที่สุด 3 ขณะจิต

ขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ
ภวังค์จิต-- --อนุโลมจิต--อนุโลมจิต--อนุโลมจิต--อนุโลมจิต--ผลจิต--ผลจิต--ผลจิต ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ--ผลจิตจะเกิดต่อเนื่องไปจนสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการอธิษฐาน---แล้วเป็นภวังค์จิตกันตามปรกติ

จะเห็นได้ว่ามีอนุโลมจิตเกิดก่อน 4 ขณะจิตก่อนผลจิตจะตามมา

.โสดาปัตติมัคค..คือ..ปฐมฌาน + อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ .
โสดาปัตติผล..คือ..จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน + อัญญินทรีย์

2.ภูมิพระสกทาคามี
ขณะตรัสรู้บรรลุธรรม
ภ--บริ--อุป--อนุ--โค --มัคค--ผล--ผล--ผล--ภวังค์

ขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ
ภ --อนุ--อนุ--อนุ--อนุ--ผลๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สกทาคามีมัคค..คือ..ปฐมฌาน + อัญญินทรีย์
สกทาคามีผล..คือ....จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน + อัญญินทรีย์

3.ภูมิพระอนาคามี
ขณะตรัสรู้บรรลุธรรม
ภ--บริ--อุป--อนุ--โค --มัคค--ผล--ผล--ผล--ภวังค์

ขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ
ภ --อนุ--อนุ--อนุ--อนุ--ผลๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขณะแห่งการออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ--ให้อนาคามีผลจิต 1 ขณะจิต---ภวังค์จิต

อนาคามีมัคค..คือ..ปฐมฌาน + อัญญินทรีย์
อนาคามีผล..คือ....จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน + อัญญินทรีย์
4.ภูมิพระอรหันต์
ขณะตรัสรู้บรรลุธรรม
ภ--บริ--อุป--อนุ--โค --มัคค--ผล--ผล--ผล-- กิริยาจิต

ขณะแห่งการเข้าผลสมาบัติ
กิริยาจิต --อนุ--อนุ--อนุ--อนุ---ผลๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ-- กิริยาจิต

ขณะแห่งการออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ--ให้อรหัตตผลจิต 1 ขณะจิต--กิริยาจิต

อรหัตตมัคค..คือ..ปฐมฌาน + อัญญินทรีย์
อรหัตตผล..คือ.....จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน + อัญญาตาวินทรีย์

พระอรหันต์นั้นเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ภพชาตสิ้นแล้วจึงมีแต่อรหัตตผลจิตและกิริยาจิตเท่านั้น " ไม่มีภวังค์จิตอีกต่อไป "

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......... ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณอย่างไร
.............พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว

*********************************************************

........ ธรรมใดที่พระโยคาวจรทำให้แล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้น ๆ แล้ว

............หมายถึง การรู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ 4 โดยอาการแห่งญาณ 12 ลำดับญาณ

1.เรามีความรู้ในเรื่องทุกข์

2.ความรู้ในเรื่องทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

3.ความรู้ในเรื่องทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้เราได้กำหนดรู้แล้ว


4.เรามีความรู้ในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์

5.เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละ

6.เหตุให้เกิดทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว


7.เรามีความรู้ในเรื่องความดับทุกข์

8.ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

9.ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเราได้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว


10.เรามีความรู้ในเรื่องทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์

11.ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญ

12.ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญได้เจริญแล้ว


ญาณ 12 ลำดับนี้เป็น ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ

.......... พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว


เจริญในธรรมครับ .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......... ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณอย่างไร
.............พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว

*********************************************************

........ธรรมใดที่พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว

. ............หมายถึง การรู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ 4 โดยอาการแห่งญาณ 12 ลำดับญาณ .

1.เรามีความรู้ในเรื่องทุกข์

2.ความรู้ในเรื่องทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

3.ความรู้ในเรื่องทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้เราได้กำหนดรู้แล้ว


4.เรามีความรู้ในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์

5.เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละ

6.เหตุให้เกิดทุกข์อันเป็นสิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว


7.เรามีความรู้ในเรื่องความดับทุกข์

8.ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

9.ความรู้ในเรื่องความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเราได้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว


10.เรามีความรู้ในเรื่องทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์

11.ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญ

12.ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญได้เจริญแล้ว


ญาณ 12 ลำดับนี้เป็น ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ

.......... พระโยคาวจรกระทำให้แจ้งธรรมใดแล้ว เป็นอันถูกต้องธรรมนั้นๆ แล้ว


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ในกาลทุกเมื่อ
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว
ปรารภความเพียร มีตนส่งไปแล้ว
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้
มีภพเป็นที่เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก ฯ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร