วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 14:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




23.jpg
23.jpg [ 72.77 KiB | เปิดดู 6329 ครั้ง ]
สมถะ-วิปัสสนา


สมถะ แปลง่ายๆว่า ความสงบ

แต่ที่ใช้ทั่วๆไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ

ขยายความว่า ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ

จุดมุ่งหมายของสมถะคือ สมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่าอารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อม

ดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความแน่วแน่

หรือ ตั้งมั่นของจิตนี้ เรียกว่า สมาธิ เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิต

ที่เรียกว่า ฌาน ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า

รูปฌาน หรือเรียกง่ายๆว่า ฌาน มี ๔ ขั้น

ระดับที่กำหนดอรูปธรรม เป็นอารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน มี ๔ ขั้น

ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปธรรม ๔ เรียกรวมกันว่า สมาบัติ (๘)

ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวน

ให้สะดุด หรือ ติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์


ท่านอนุโลมเรียกว่า เป็นความหลุดพ้นจากกิเลสตลอดเวลา ที่ยังอยู่ในฌานนั้นๆ


อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือ พูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือการทำใจให้สงบ

หรือ การทำจิตให้เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัว สมาธิ นั่นเอง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือ ตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมาย

ที่ตรงตามหลักวิชา ทั้งฝ่ายอภิธรรมและฝ่ายพระสูตร* เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถะจนได้ฌาน

สมาบัติ หรือ อภิญญาเป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม

เนื้อแท้ของสมถะ หรือ ตัว สมถะหรือ แก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือ สมาธิ

นั่นเอง

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:



*ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96 ฯลฯ

ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทก.20/275/77 ฯลฯ เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำว่า

สมถะ แทน สมาธิ และ วิปัสสนา แทน ปัญญาโดยตรงทีเดียว (เป็น สัทธา สติ วิริยะ

สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 22:06, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา แปลง่ายๆว่า การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายความว่า

ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะ

ของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือ ตามที่สิ่งเหล่านั้น มันเป็นของมันเอง

(ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจ

ของเรา)

รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด การรู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าที

ต่อโลกและชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย

ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ

ญาณ มีหลายระดับ ญาณในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา

คือความหลงผิด ไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป



ภาวะจิตที่มีญานหรือวิชชานั้น เป็นภาวะที่สุขสงบ ผ่องใสและเป็นอิสระ เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจ

ครองงำของกิเลส เช่น

ความชอบความชัง ความติดใจและความขัดใจเป็นต้น ไม่ถูกบังคับหรือชักจูงโดยกิเลสเหล่านั้น

ให้มองเห็น หรือรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างบิดเบือน จนพาความคิดและการกระทำ ที่ติดตามมาให้หันเหเฉไป

และไม่ต้องเจ็บปวด หรือ เร่าร้อนเพราะถูกบีบคั้นหรือต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้น


ญาณ และวิชชา จึงเป็นจุดมุ่งของวิปัสสนา เพราะนำไปสู่วิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระที่แท้จริง

ซึ่งยั่งยืนถาวร (ท่านเรียกว่า สมุจเฉทนิโรธ หรือ สมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ดับกิเลส หรือหลุดพ้น

โดยเด็ดขาด)

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


ตามหลักอรรถธรรมสัมพันธ์- ศีล เพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 21:18, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




181.jpg
181.jpg [ 58.56 KiB | เปิดดู 6226 ครั้ง ]
ผู้ที่อ่านหนังสือด้านเดียว หรือ ผู้ยึดติดในคำศัพท์ พึงทำความเข้าใจคำอธิบายต่อไปนี้


ถ้าพูดอย่างรวบรัด ก็ว่า ผลที่มุ่งหมายของสมถะคือฌาน

ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนา คือ ญาณ

หรือว่าสมถะนำไปสู่ฌาน *

วิปัสสนานำไปสู่ญาณ

ผู้ปฏิบัติสมถะ อาจทำแต่สมถะอย่างเดียว โดยมุ่งหวังจะชื่นชมเสพผลของสมถะ คือ ฌานสมาบัติ

และอภิญญาทั้ง ๕ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาเลยก็ได้ เรียกว่าหยุดอยู่เพียงขั้นสมาธิ ไม่ก้าวไป

ถึงปัญญา

แต่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คือ อาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อน

แล้วจึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนาก็ได้

อาจเริ่มเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้วจึงเจริญสมถะตามหลังก็ได้

หรืออาจเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปก็ได้

แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเจริญแต่วิปัสสนาอย่างเดียวล้วน ไม่อาศัยสมถะเลย ก็หมายถึง ไม่อาศัย

สมถะ ในความหมายโดยนิปริยาย หรือความหมายจำเพาะที่เคร่งครัด คือ ไม่ได้ทำสมถะ

จนได้ฌานสมาบัติก่อนเจริญวิปัสสนา

แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยอาศัยสมถะในความหมายกว้างๆ คืออาศัยสมาธินั่นเอง


สมาธิของผู้เจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจเริ่มต้นด้วยขณิกสมาธิก็ได้

แต่เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นจะแน่วแน่สนิท ถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ หรือ รูปฌาน

ที่ ๑)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


* ที่พูดว่า สมถะอาจให้ได้อภิญญา ๕ ซึ่งได้แก่ญาณต่างๆพวกหนึ่งนั้น

ความจริงก็ต้องให้ได้ฌานก่อนแล้วจึงน้อมจิตที่เป็นสมาธิพร้อมดีด้วยกำลังฌานนั้นไปเพื่อได้ญาณ

จำพวกอภิญญาอีกต่อหนึ่ง

ถ้าพูดให้เคร่งครัดจึงต้องว่า สมถะ (ล้วนๆ) จบหรือสิ้นสุดลงเพียงแค่ฌาน

(คือไม่เกินเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน -วิสุทธิ.ฎีกา3/647-8)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค. 2009, 19:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




06.jpg
06.jpg [ 125.97 KiB | เปิดดู 6223 ครั้ง ]
อีกแห่งหนึ่งที่ชาวพุทธสับสน เพราะอ่านตำราที่เดียวแห่งเดียว

อ่านแล้วตรงใจตรงวิธีที่ตนปฏิบัติ ตรงกับผู้ที่ตนนับถือแนะนำ จึงยึดถือว่า นี่แหละถูก

อันอื่นไม่ใช่ จึงมองข้ามสมถะ หรือ หรือสมาธิไปเลย หรือไม่ก็มองสมถะหรือสมาธิบิดเบือน

ไปจากความเป็นจริง พึงพิจารณาหลักฐานจากคัมภีร์หลายๆที่มาแล้วเทียบเคียงดูว่า

เรา/เขาเข้าใจผิดติดอยู่ตรงไหน พึงพิจารณา รวมๆ ต่อไปนี้
=>


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ผลที่เกิดจากสมถะอย่างเดียว ไม่ว่า จะเป็นฌานสมาบัติ หรือ อภิญญาที่สูงพิเศษเพียงไร

ก็ยังเป็นโลกีย์ (วิสุทธิ. 2/195,197) เป็นของปุถุชน คือคนมีกิเลส เสื่อมถอยได้

เช่น ฤทธิ์ที่พระเทวทัตได้

(วินย.7/345,349/161,165ฯลฯ)

เจโตวิมุตติ (สํ.ส.15/489/176) ของพระโคธิกะ

และฌานสมาบัติของพระภิกษุสามเณร ฤๅษีและคฤหัสถ์บางท่าน ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมา

ในคัมภีร์ต่างๆ (เช่น วิสุทธิ.4/343ฯลฯ)

เป็นของมีมาก่อนพุทธกาล (ความหมายประเด็นนี้ก็คือ มีคนฝึก มีคนทำกันมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ทำความเข้าใจประเด็นนี้ดีดี) เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร ได้ถึงอรูปฌานที่ ๓

อุททกดาบสรามบุตร ได้ถึงอรูปฌานที่ ๔

(ม.มู.12/317-8/320-1; 411-2/444-5) เป็นต้น

เป็นของมีได้ ในลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา

(ม.อ.3/573)

มิใช่จุดหมายของพระพุทธศาสนา เพราะไม่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ได้อย่างแท้จริง

นักบวชบางลัทธิ ทำสมาธิจนได้ฌาน ๔ แต่ยังมีมิจฉาทิฏฐิเกี่ยวกับเรื่องอัตตา

และยึดถือภาวะในฌานนั้นว่าเป็น นิพพานก็มี

ลัทธิเช่นนี้พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

(ลัทธิ หรือ ความเชื่อลักษณะนั้น ชาวพุทธบางกลุ่มเองในปัจจุบันก็ใช้สมาธิลักษณะนั้น

มิใช่มีแต่ลัทธินอกพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่สุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ก็คือตีความคำว่า "ลัทธินอก

ศาสนา..." ผิด เลยเข้าใจว่าสมาธิหรือสมถะ ไม่ใช่ของพุทธศาสนา หรือ ไม่ก็มองสมถะ

หรือ สมาธิ เป็นคนละคนจากพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง... ผู้ที่เข้าใจอย่างนี้ พึงศึกษาขั้นตอน

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ใช้ฌานหรือสมาธิจากขั้นไหนถึงขั้นไหนเป็นบาทฐาน

แล้วไปฝึกมาจากสำนักใด)


ผลที่ต้องการจากสมถะ ตามหลักพุทธศาสนา คือ การสร้างสมาธิ เพื่อใช้เป็นบาทฐาน

ของวิปัสสนา *

จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา สำเร็จได้ด้วยวิปัสสนา คือ การฝึกอบรมปัญญาที่มีสมาธินั้น

เป็นบาทฐาน

หากบรรลุจุดหมายสูงสุดด้วย และ ยังได้ผลพิเศษแห่งสมถะด้วยก็จัดว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ

ได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง

แต่หากบรรลุจุดหมายแห่งวิปัสสนาอย่างเดียว ไม่ได้ผลวิเศษแห่งสมถะ ก็ยังเลิศกว่าได้ผลวิเศษ

แห่งสมถะ คือ ได้ฌานสมาบัติและอภิญญา ๕ แต่ยังไม่พ้นจากอวิชชาและกิเลสต่างๆ


อนึ่ง ไม่ต้องพูดถึงจุดหมายสูงสุด แม้แต่เพียงขั้นสมาธิ ท่านก็กล่าวว่า พระอนาคามีถึงแม้จะไม่ได้

ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา ก็ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญสมาธิบริบูรณ์ เพราะสมาธิของพระอนาคามี

ผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญานั้น แม้จะไม่ใช่สมาธิที่สูงวิเศษอะไรนัก แต่ก็เป็นสมาธิ

ที่สมบูรณ์ในตัว ยั่งยืนคงระดับ มีพื้นฐานมั่นคง เพราะไม่มีกิเลสที่จะทำให้เสื่อมถอยหรือรบกวนได้

ตรงข้ามกับสมาธิของผู้เจริญสมถะอย่างเดียว จนได้ฌานสมาบัติและอภิญญา แต่ไม่ได้เจริญ

วิปัสสนา

ไม่ได้บรรลุมรรคผล แม้สมาธินั้นจะเป็นสมาธิขั้นสูงมีผลพิเศษ แต่ก็ขาดหลักประกันที่จะทำให้ยั่งยืน

มั่นคง

ผู้ได้สมาธิอย่างนี้ ถ้ายังเป็นปุถุชนก็อาจกิเลสครอบงำทำให้เสื่อมถอยได้ หรือ แม้จะได้เจริญ

วิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลชั้นพระโสดาบันหรือพระสกทาคามี

ก็ยังมีกามราคะรบกวนหรือบั่นทอนสมาธิได้ ท่านยังไม่เรียกว่า เป็นผู้บำเพ็ญสมาธิบริบูรณ์ **

เรื่องนี้ยังสัมพันธ์กับเจโตวิมุต และปัญญาวิมุตอีก

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค. 2009, 19:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




13.jpg
13.jpg [ 145.41 KiB | เปิดดู 6222 ครั้ง ]
(ขยายความคห.บนที่มีเครื่องหมาย *)



* พูดง่ายๆว่า สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลส

และหลุดพ้นได้

เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือ สมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้ มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ

บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือทำให้บรรลุอริยผลทันที

ไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า

(ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368)

ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิระดับรูปฌาน

หรือ อรูปฌานก็ตาม

(ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีก ทั้งบาลีและอรรถกา

ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


** ที่ว่าพระอนาคามีเป็นผู้บำเพ็ญสมาธิได้บริบูรณ์

เช่น องฺ.ติก.20 /526/298 ฯลฯ แนวอธิบายพึงเทียบ วิสุทธิ.3/364; วิสุทธิ.ฎีกา.3/640

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค. 2009, 19:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 21:32
โพสต์: 82

ที่อยู่: นครศรีธรรมราช

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติทำหน้าที่สำคัญทั้งในสมถะและในวิปัสสนา


หากจะพูดเปรียบเทียบระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจ

ชัดเจนยิ่งขึ้น


ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิท

อยู่กับอารมณ์นั้น สงบไม่ส่ายไปซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเป็นหนึ่ง

เดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่า เป็นสมาธิ และเพียงแค่นั้น สมถะก็สำเร็จ



ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิต หรือ คุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน

แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเอาอารมณ์นั้นเสนอให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือ

จับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดูและวิเคราะห์วินิจฉัย โดยใช้จิตที่ตั้งมั่น (=สมาธิ) เป็นที่ทำงาน

(สติใช้กำหนด ปัญญาใช้ตรวจตรอง วิเคราะห์ วินิจฉัย – วิสุทธิ. ฎีกา 1/301)


หากจะอุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ

ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศก็หมอบนิ่งอยู่ที่หลักนั้นเอง

จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ

อารมณ์เหมือนหลัก

สติเหมือนเชือก


ส่วนในกรณีวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือก หรือ เครื่องยึดอย่างหนึ่ง ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุ

บางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง

แล้วตรวจดูหรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัดเป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน

เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ

คน สัตว์ หรือ วัตถุที่เกี่ยวข้อง คือ อารมณ์

แท่น หรือ เตียง คือ จิตที่เป็น สมาธิ

การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้น คือ ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 22:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าว (ข้างบน) เป็นการพูดถึงหลักทั่วไป ยังมีข้อสังเกตปลีกย่อยบางอย่างที่ควรกล่าวถึง

อีกบ้าง

อย่างหนึ่งคือในสมถะ ความมุ่งหมายอยู่ที่ทำจิตใจให้สงบ

ดังนั้น เมื่อให้สติกำหนดอารมณ์ใดแล้ว สติก็ยึดตรึงดึงจิตกุมไว้กับอารมณ์นั้น ที่ส่วนนั้น

ให้จิตจดจ่อแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น ไม่ให้คลาดไป จนในที่สุดจิตน้อมดิ่งแน่วแน่

อยู่กับนิมิตหรือมโนภาพของสิ่งที่กำหนด ซึ่งเป็นเพียงสัญญาที่อยู่ในใจของผู้กำหนดเอง




ส่วนในวิปัสสนา ความมุ่งหมายอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจสภาวธรรม

ดังนั้น สติจึงตามกำหนดอารมณ์เฉพาะตัวจริงของมันตามสภาวะ และเพื่อให้ปัญญารู้เท่าทัน

ครบถ้วน ชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะของมัน จึงตามกำหนดอารมณ์นั้นๆ ตามความเป็นไปของมัน

โดยตลอด เช่น ดูตั้งแต่มันเกิดขึ้น คลี่คลาย จนกระทั่งดับสลายไป

นอกจากนั้น จะต้องกำหนดอารมณ์ทุกอย่าง ที่เข้ามาหรือเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญญาจะต้องรู้

เข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง จึงเปลี่ยนอารมณ์ที่กำหนดไปได้เรื่อยๆ

และเพื่อให้รู้เท่าทันตรงตามที่สิ่งนั้นเป็นอยู่เป็นไปแท้ๆ จึงต้องตามกำหนดดูให้ทันความเป็นไป

ในแต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ ไม่ยอมให้ค้างอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

ของอารมณ์ใดๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 21:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่สังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบจำเพาะซ้ำไปซ้ำมา

ภายในขอบเขตจำกัด



ในวิปัสสนา สติตามกำหนดอารมณ์ ที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้

ไม่จำกัดขอบเขต



ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบาย

ช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย


ในวิปัสสนา กำหนดอารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณา และ อะไร

ก็ตามที่จะให้เห็นความจริง

(สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือ ในนาม และรูป หรือ ร่างกายกับจิตใจ)



ลิงค์สติปัฏฐานสี่

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนประกอบสำคัญที่พึงสังเกตอีกอย่างหนึ่ง

ภายในหลักทั่วไปแห่งการปฏิบัตินั้น ซึ่งช่วยให้เห็นลักษณะพิเศษของวิปัสสนา ที่แตกต่าง

จากสมถะชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ธรรมที่จะช่วยให้เกิดปัญญา จึงมีความสำคัญมากสำหรับวิปัสสนา


ส่วนในฝ่ายสมถะ โยนิโสมนสิการ แม้จะช่วยเกื้อกูลได้ในหลายกรณี แต่มีความจำเป็นน้อยลง

บางครั้งอาจไม่ต้องใช้เลย หรือเพียงมนสิการเฉยๆ ก็เพียงพอ


ขยายความว่า ในการเจริญสมถะ สาระสำคัญมีเพียงให้ใช้สติกำกับจิตไว้กับอารมณ์หรือคอยนึกถึง

อารมณ์นั้นไว้ และเพ่งความสนใจไปที่อารมณ์ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นจนแน่วแน่


ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผลเกิดขึ้นตามขั้นตอน ก็ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการเลย

แต่ในบางกรณีที่จิตไม่ยอมสนใจอารมณ์นั้น ดึงไม่อยู่ คอยจะฟุ้งไป หรือในกรรมฐานบางอย่าง

ที่ต้องใช้ความคิดพิจารณาบ้าง เช่น การเจริญเมตตา เป็นต้น อาจต้องใช้อุบายช่วยนำจิตเข้าสู่เป้า

หมาย ในกรณีเช่นนั้น จึงอาจต้องใช้โยนิโสมนสิการช่วย คือ มนสิการโดยอุบาย หรือ

ทำในใจโดยแยบคาย หรือรู้จักเดินความคิด

นำจิตไปให้ถูกทางสู่เป้าหมาย เช่น รู้จักคิดด้วยอุบายวิธีที่จะทำให้โทสะระงับและเกิดเมตตา

ขึ้นมาแทน เป็นต้น

แต่จะอย่างไรก็ตาม ในฝ่ายสมถะนี้ โยนิโสมนสิการที่อาจต้องใช้ ก็เฉพาะประเภท ปลุกเร้ากุศลธรรม

เท่านั้น

ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการประเภทปลุกความรู้แจ้งสภาวะ




ศึกษาโยนิโสมนสิการ ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=22303&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 22:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในฝ่ายวิปัสสนา โยนิโสมนสิการเป็นขั้นตอนสำคัญทีเดียวที่จะให้เกิดปัญญา

จึงเป็นองค์ธรรมที่จำเป็น

โยนิโสมนสิการ อยู่ต่อเนื่องกับปัญญา เป็นตัวการทำทางให้ปัญหาเดิน * หรือ

เปิดขยายช่องให้ปัญญาเจริญงอกงาม มีลักษณะและการทำงานใกล้เคียงกับปัญญามาก

จนมักพูดคลุมกันไป คือ

พูดถึงอย่างหนึ่งก็หมายถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาแยกไม่ค่อยออกว่าอะไร

เป็นอย่างไหน

อาจกล่าวได้ว่า โยนิโสมนสิการทำงานเชื่อมต่ออยู่ระหว่างสติกับปัญญา

เป็นตัวนำทางหรือเดินกระแสความคิดในลักษณะที่จะทำให้ปัญญาได้ทำงานและทำงานได้ผล

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นตัวให้วิธีการแก่ปัญญา หรือ เป็นอุบายวิธีของการใช้ปัญญาให้ได้ผล

แต่ที่นักศึกษา มักสับสนก็เพราะในการพูดทั่วไป

เมื่อใช้คำว่า โยนิโสมนสิการก็หมายรวมทั้งการเสนอุบายหรือวิธีแห่งการคิดที่เป็นตัว

โยนิโสมนสิการการเอง และการใช้ปัญญาตามแนวทางหรือวิธีการนั้นด้วย หรือ

เมื่อพูดถึงปัญญาภาคปฏิบัติการสักอย่างหนึ่ง เช่น

คำว่า ธรรมวิจัย ก็มักละไว้ให้เข้าใจเองว่า เป็นการใช้ปัญญาเฟ้นธรรมให้สำเร็จด้วย

วิธีโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


ถ้าจะพูดให้เห็นเหมือนเป็นลำดับ ก็จะเป็นดังนี้

เมื่อสติ ระลึกถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องใช้ ต้องทำและเอาจิตกำกับสิ่งนั้นไว้แล้ว

โยนิโสมนสิการ ก็จับสิ่งนั้นหมุนหัน เอียงตะแคงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งให้ปัญญาพิจารณา

จัดการ ซึ่งเป็นการกำหนดจุดแง่มุม ทำทางและทิศทางให้แก่การทำงานของปัญญา

แล้วปัญญา ก็ทำงานจัดการไปตามแง่มุมด้านข้างและทิศทางนั้นๆ


ถ้าโยนิโสมนสิการจัดท่าทำทางให้เหมาะดี ปัญญาก็ทำงานได้ผล

อุปมาเหมือนคนพายเรือ เก็บดอกไม้ใบผักในแม่น้ำไหลมีคลื่น เอาอะไรผูกหรือยึดเหนี่ยวตรึงเรือ

ให้หยุดอยู่กับที่ จ่อตรงกับตำแหน่งของดอกไม้หรือใบผักนั้นดีแล้ว

มือหนึ่งจับกิ่งก้านกอ หรือ กระจุกพืชนั้น รวบขึ้นไปรั้งออกมา หรือ พลิกตะแคง โก่งหรืองออย่างใด

อย่างหนึ่ง สุดแต่เหมาะกับเครื่องมือทำงาน

อีกมือหนึ่ง เอาเครื่องมือที่เตรียมไว้เกี่ยว ตัดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จกิจได้

ตามความประสงค์

สติ เปรียบเหมือนเครื่องยึด ตรึงเรือและคนให้อยู่ตรงที่กับต้นไม้

เรือหรือคนที่หยุดอยู่ตรงที่เปรียบเหมือนจิต

มือที่จับกิ่งก้านต้นไม้ให้อยู่ในอาการที่จะทำงาน ได้เหมาะเปรียบเหมือนโยนิโสมนสิการ

อีกมือหนึ่ง ที่เอามีดหรือเครื่องมืออื่นทำงานเกี่ยวตัด เปรียบได้กับปัญญา


อย่างไรก็ตาม ในที่ทั่วไป พึงจับเอาง่ายๆเพียงว่า โยนิโสมนสิการหมายคลุมถึงปัญญา

คือ มนสิการด้วยปัญญานั่นเอง



อนึ่ง เมื่อโยนิโสมนสิการกำลังทำงานอยู่

สติก็จะยังอยู่ด้วยไม่หลงลอยหลุดไป

ดังนั้น สติกับโยนิโสมนสิการ จึงเกื้อกูลแก่กันในวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00029_10.gif
00029_10.gif [ 20.8 KiB | เปิดดู 6450 ครั้ง ]
(ขยายความถัดขึ้นไป ที่มีเครื่องหมาย *)



* พึงสังเกตผลในทางปัญญา ที่แตกต่างกันระหว่างศรัทธากับโยนิโสมนสิการ

ศรัทธาเหมือนขุดร่องที่ตายตัวไว้แล้ว สำหรับให้ความคิดเดิน

ส่วนโยนิโสมนสิการ ทำทางที่เหมาะสมให้ปัญญาเดินได้ผลในแต่ละครั้ง

ในทางพุทธศาสนา ท่านสนับสนุนให้มีศรัทธาชนิดที่เชื่อมต่อกับปัญญาได้ คือ

ศรัทธาที่เปิดโอกาสแก่โยนิโสมนสิการ

ตัวอย่างเปรียบเทียบ

ศรัทธาแบบขุดร่องตายตัวเชื่อว่า อะไรๆ จะเป็นอย่างไรก็สุดแต่พรหมลิขิตบันดาล

ความคิดหยุดตันอยู่แค่นั้น


ส่วนศรัทธาแบบนำไปสู่โยนิโสมนสิการ เช่น ชาวพุทธ แม้จะยังไม่รู้แจ้งประจักษ์

แต่มีศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ดังนั้น เมื่อประสบเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ศรัทธานั้นก็ทำให้โยนิโสมนสิการสืบสาวต่อไปว่า เหตุปัจจัยนั้น คือ อะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 16:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ลองฟัง สมถะ กับ วิปัสสนา อีกนัยหนึ่งนะครับ สั้นๆ ครับ

:b8: วิปัสสนากรรมฐาน กับ นั่งสมาธิ พูดอีกอย่างก็ได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา กับการทำสมถะภาวนา ต่างกันอย่างไร

*******สมถะภาวนาหรือการทำสมาธิ เป็นวิชาโบราณมีมาคู่กับโลกนี้ เป็นวิชาของเหล่าชาวพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร ต่างๆ หรือผู้คนในศาสนาอื่นๆ หลักการสำคัญคือทำใจให้นิ่ง ด้วยการเอาจิตไปผูกยึดไว้กับอารมณ์กรรมฐานต่างๆ ซึ่งที่นิยมมาแต่โบราณมีอยู่ 40 อย่าง เป็นอรูปกรรมฐาน 4 อย่าง เช่นการเพ่งอากาศ เพ่งความว่าง เป็นรูปกรรมฐาน 36 อย่าง เช่นการเพ่งกสิณ 10 อย่าง โดยเพ่งดิน เพ่งน้ำ ลม ไฟ เป็นอารมณ์ การเพ่งซากศพ 10 อย่าง การท่องชื่อเทวดาหรือพระเจ้า การทำพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ วูปสมานุสติ(ท่องนิพพานเป็นอารมณ์) สี่ข้อหลังนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพิ่มเข้าไป ฯลฯ

*******ผลที่จะได้รับจากการทำสมถะหรือสมาธิคือ (1)ได้ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ผลสุดท้ายได้อัปปนาฌาณ คือการที่จิตนิ่งมากที่สุดจนหยุดลมหายใจได้ ตัวแข็งทื่อเหมือนคนตาย แต่ไม่ตาย เป็นสุขอย่างยิ่งจากการหลบทุกข์ไปได้เป็นพักๆ นาน มากน้อยแล้วแต่กำลังของสมาธิของแต่ละคน

@@@@วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาใหม่ที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการเจริญปัญญา สติ สมาธิควบคู่กันไป โดยเอาปัญญานำหน้า (2)มี สติและสมาธิเป็นกองหนุน

*******วิธีเจริญก็คือ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ในที่สุดจะได้พบความจริงทีเกิดขึ้นภายในกาย - ใจ ว่า มีแต่ อนิจจัง เปลี่ยนแปลง ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่แก่นสาร ตัวตน ในที่้สุดจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางละวางความเห็นผิดว่าขันธ์ทั้ง 5 หรือรูป - นาม กาย - ใจ นี้เป็นอัตตา ตัวตน เกิดความเห็นถูกต้องว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะหลุดพ้น เข้าถึงนิพพาน ดังนี้
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




066.gif
066.gif [ 9.45 KiB | เปิดดู 6330 ครั้ง ]
คุณอโศกะ เราไปสนทนาเรื่องทั้งหมดกันที่นี่ครับ


http://www.free-webboard.com/look.php?n ... ati&qid=14

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ก.ย. 2009, 18:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร