วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 17:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการปฏิบัติ หรือ วิธีปฏิบัติ โยคีส่วนมากยังจับหลักไม่ถูก คือยังไม่เข้าใจว่า จะเริ่มต้นยังไง

ยิ่งได้ยินได้ฟังมากสำนักมากอาจารย์ยิ่งสับสน ดูหลักที่เป็นวิชาการดังนี้ก่อน



-กระบวนการปฏิบัติ (ขั้นเตรียมการปฏิบัติ)

๑ . องค์ประกอบ หรือ สิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้มี ๒ ฝ่าย คือ

- ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยกำหนด หรือ คอยสังเกตเพ่งพิจารณา ซึ่งก็ได้แก่

สติกับสัมปชัญญะที่เกาะจับ กาย เวทนา จิต และธรรม ที่เป็นไปแต่ละขณะๆ ดู ข้อ ๓ ประกอบ )

-กับฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกกำหนด หรือ ถูกสังเกตเพ่งพิจารณา ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม

ที่เกิดแต่ละขณะๆ ดูข้อ ๒ ประกอบ )

๒. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือ ถูกกำหนดเพ่งพิจารณา ก็คือ สิ่งธรรมดาสามัญที่มีอยู่กับตัวของทุกคน

นั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เฉพาะที่เป็นปัจจุบัน คือ ที่กำลังเกิด

ขึ้นเป็นไปอยู่ ในขณะนั้นๆ เท่านั้น (ขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆ)

๓ . องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ คอยกำหนดคอยเพ่งพิจารณา เป็นตัวการหลักของสติปัฏฐาน ได้แก่

สติ กับ สัมปชัญญะ

สติ เป็นตัวเกาะจับสิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้ (คือตามเกาะจับร่างกายกับความรู้สึกแต่ละขณะๆไว้)

สัมปชัญญะ เป็นตัว ปัญญา ตระหนักรู้สิ่ง หรือ อาการที่ถูกพิจารณานั้น ตามความเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น

โดยไม่เอาความรู้สึก เป็นต้น ของตนเองเข้าเคลือบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อที่ควรระวังที่ควรย้ำไว้เกี่ยวกับความเข้าใจผิด ที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ

บางคนเข้าใจความหมายของคำแปล สติ ที่ว่า ระลึกได้ และ สัมปชัญญะที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป

โดยเอาสติ มากำหนดนึกถึงตนเอง และ รู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา

และจิตก็ไปจดจ่อกับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรือ อย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน

(ไม่อยู่ กาย ใจ ที่เป็นขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆ) ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลาย

เป็นเสียไป (เพราะมัวนึกว่า ฉันกำลังทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ จึงหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ตามไม่ทัน)


สำหรับผู้ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์

การคุมจิตไว้กับสิ่งที่กำลังทำ



มองความหมายของสัมปชัญญะ ในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังทำ

กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันทำนั่นทำนี่)

ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่กำลังทำ หรือ กรรมฐาน) ไม่ใช่นึกถึงตัว (ตัวผู้ทำ)

ให้สติ ตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือ กำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือ ตัวผู้ทำเลย คือ ใจอยู่

กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่า ตัวฉัน หรือ ความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

อาการที่กำหนดเพ่งพิจารณานั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู-เห็น-เข้าใจว่า

อะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าเผชิญหน้า รับรู้ พิจารณา เข้าใจ ตามดูมันไปให้ทัน

ทุกย่างขณะเท่านั้น

ไม่สร้างปฏิกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการคิดกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดีชั่ว ถูกผิด

เป็นต้น เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของสิ่งนั้น อาการนั้น ไม่สร้างความคิดผนวกว่า ของเรา ของเขา

ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข. เป็นต้น

แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ หรือ ปรากฏขึ้นในใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้ามัน ไม่ยอมเลี่ยงหนี

เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป



อาการที่เป็นอยู่โดยมี สติสัมปชัญญะ ตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน

หรือ มีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือสติกำหนดตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือ กระทำในขณะนั้นๆ

แต่ละขณะๆ ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรือ อ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว

ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มา และ ยังไม่มี ไม่เลื่อนไหลถอยลงสู่อดีต ไม่เลื่อนลอยไป

ในอนาคต

หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงจัดทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณา

อย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆ กลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอย

ละห้อยเพ้อของความเป็นอดีตหรืออนาคต

การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้หรือชักจูงไปนั่นเอง

แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญา ทำให้พ้นจากอาการต่างๆ ของความทุกข์ เช่น ความเศร้าซึมเสียดาย

ความร้อนใจกลุ้มกังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการปฏิบัติ

๑. ในแง่ของความบริสุทธิ์ - เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่ต้องการกำหนด อย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจ

สิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้น

ได้ และในเมื่อวิเคราะห์มองเห็นสิ่งเหล่านั้น เพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึง

ตามความโน้มเอียงและความใฝ่ใจต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย(subjective) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

ต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลาย เช่น ความโกรธจะเกิดขึ้นได้ เป็นวิธีกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่

ไม่ให้เกิดขึ้น

๒ . ในแง่ของความเป็นอิสระ -เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑ . แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย

โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้ เป็นวัตถุสำหรับศึกษา

พิจารณาแบบสภาวะวิสัย (objective)ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย

(subjective) สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้น

จากการถูกบังคับ ด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับ หรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ

unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย (คือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหา

และทิฏฐิ) ไม่ยึดมั่นสิ่งใดในโลก

๓. ในแง่ของปัญญา - เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด

เพราะจะไม่ถูกเคลือบ หรือ หันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นได้ตามที่มันเป็น

คือ รู้ตามความจริง

๔.ในแง่ความพ้นทุกข์ - เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิต

อยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวก หรือ ลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้น

ไม่ได้ จึงไม่มีทั้งความรู้สึกในด้านกระหายอยาก (อภิชฌา) และความขัดเคืองกระทบใจ (โทมนัส)

ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ เป็นภาวะจิตที่ เรียกว่า พ้นทุกข์ มีความโปร่งเบา

ผ่อนคลาย สงบ เป็นตัวของตัวเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกกล่าวในแง่ต่างๆ

เมื่อสรุป ตามแนวปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่าเดิมมนุษย์ไม่รู้ว่า ตัวตนที่ตนยึดถือไว้ ไม่มีจริง

เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมและนามธรรมส่วนย่อย จำนวนมากมายที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน

กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไป อยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อถือ ความเห็น

การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆ ว่าเป็นตัวตนของตน แล้วตัวตนนั้น ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น

ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ

การรู้สึกว่า ตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ

หลอกเอานั้นเอง เมื่อตกอยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับให้คิด

เห็นรู้สึก และ ทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่าเป็นตัวตนของตนในขณะนั้นๆ

ครั้นมา ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่าง ที่เป็นส่วนประกอบของกระแสนั้น

กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะของมัน

เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออกมองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ เป็นขณะๆ มองเห็น

อาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระบวนการแล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่ง

เหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ ในบงการของมัน

ถ้าการมองเห็นนี้ เป็นไปอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่า ความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนิน

ในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระไม่มีความเอนเอียงยึดติดเงื่อนปมต่างๆ ในภายใน เกิดเป็น

บุคลิกภาพใหม่

กล่าวอีกนับหนึ่งว่า เป็นสภาพของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกาย ที่เรียกว่า มีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์

อวัยวะทุกส่วน ปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็น

เงื่อนปม เป็นอุปสรรคถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ปลอดโปร่งพร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่

เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความเข็มแข็งและสดชื่นต่อไป


ต่อ

viewtopic.php?f=2&t=18859&p=212498#p212498

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2011, 19:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร