วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 14:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ

สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ 2 ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก

เสียได้

2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้

3) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส

ในโลกเสียได้

4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้

(ที.ม. 10/299/349 ฯลฯ)


คำจำกัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้


“สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนือง ๆ การหวนระลึก (ก็ดี)

คือ ภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี)

สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นสัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค

นี้เรียกว่า สัมมาสติ”

(อภิ.วิ. 35/182/104...)


สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง


หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย

2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา

3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต

4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษ สติใช้กันว่า Mindfulness

อัปปมาทะ มีคำนิยมหลายคำ Heedfulness. Watchfulness ฯลฯ


สติในฐานะอัปปมาทธรรม

สติ แปลกันง่ายๆว่า ความระลึกได้ ความระมัดระวัง ความตื่นตัวต่อหน้าที่ ภาวะที่พร้อมอยู่เสมอ

ในอาการคอยรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและตระหนักว่าควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร โดยเฉพาะในแง่

ของจริยธรรม

การทำหน้าที่ของสติ มักถูกเปรียบเทียบเหมือนกับนายประตู ที่คอยระวังเฝ้าดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอย

กำกับการโดยปล่อยคนที่ควรเข้าออก ให้เข้าออกได้ และคอยกันห้ามคนที่ไม่ควรเข้า ไม่ให้เข้าไป

คนที่ไม่ควรออกไม่ให้ออกไป


สติ จึงเป็นธรรมที่สำคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นตัวคอย

ป้องกันยับยั้งตนเอง ทั้งที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว และที่จะไม่ให้ความชั่วเล็ดลอดเข้าไปใน

จิตใจได้ พูดง่ายๆว่า ที่จะเตือนตน ในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว


พุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติจริยธรรมทุกขั้น การดำเนินชีวิต หรือการประพฤติ

ปฏิบัติโดยมีสติกำกับอยู่เสมอนั้น มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่าอัปปมาท หรือ ความไม่ประมาท

อัปปมาทนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับความก้าวหน้าในระบบจริยธรรม มักให้ความหมายว่าการเป็นอยู่โดย

ไม่ขาดสติ ซึ่งขยายความได้ว่า การระมัดระวังอยู่เสมอ ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาด

โอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำและต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่

ไม่ปล่อยปละละเลยกระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามเดินรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา

กล่าวได้ว่า อัปปมาทธรรมนี้ เป็นหลักความรู้สึกรับผิดชอบตามแนวของพระพุทธศาสนา

ในแง่ความสำคัญ อัปปมาทจัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ คู่กับหลักกัลยาณมิตร

ที่เป็นองค์ประกอบภายนอก


พุทธพจน์แสดงความสำคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซ้ำกับโยนิโสมนสิการ เหตุผลก็คือธรรมทั้งสองอย่างนี้

มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ต่างแง่กัน โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สำหรับ

ใช้กระทำการ

ส่วนอัปปมาท เป็นองค์ประกอบฝ่ายสมาธิ เป็นตัวควบคุมและเร่งเร้าให้มีการใช้อุปกรณ์นั้น และก้าวหน้า

ต่อไปเสมอ


ความสำคัญและขอบเขตการใช้อัปปมาทธรรม


ในการปฏิบัติจริยธรรมขั้นต่างๆ จะเห็นได้จากพุทธพจน์ตัวอย่างต่อไปนี้


“ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด

รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความเป็นของใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ

ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่า

เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น”

(สํ.ม.10/253/65...)


“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิด

ขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป”

(องฺ.เอก.20/60/13)

ถาม “มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียว ที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ

และสัมปรายิกัตถะ

ตอบว่า “มี”

ถาม “ธรรมนั้น คือ อะไร ?”

ตอบ “ธรรมนั้น คือ ความไม่ประมาท”

(สํ.ส.15/378/125 ฯลฯ )


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ทิฏฐธัมมิกัตถะ- ประโยชน์ในปัจจุบัน หรือ ประโยชน์เฉพาะหน้า

สัมปรายิกัตถะ - ประโยชน์ในเบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป
....................

หากไม่ชอบอ่านยาวๆ ดูสั้นๆ แต่สาระคงเดิมก็ที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=745.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ม.ค. 2011, 05:32, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธส่วนใหญ่ศึกษาพุทธศาสนาหรือปฏิบัติธรรม มักมองข้ามสังคม คือ ปฏิบัติเพื่อรับผลตอนตาย

แล้วไม่ต้องเกิดอีก การปฏิบัติธรรมทำกรรมฐานของเขา จึงไม่เป็นประโยชน์ในปัจจุบันชาตินี้อะไร

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการเจริญสติ ว่าเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ดูตัวอย่างระหว่างศิษย์กับ

อาจารย์ แสดงกายกรรมหาเงินกันอยู่


สติพิจารณาโดยคุณค่าทางสังคม

พุทธพจน์แสดงคุณค่าของ สติ ในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้

เห็นความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกันของอัปปมาทะกับสติ ช่วยให้เข้าใจความหมาย

ของธรรมทั้งข้อชัดเจนยิ่งขึ้นและในเวลาเดียวกันจะแสดงให้เห็นท่าทีของพุทธธรรมต่อชีวิตในทาง

สังคม ยืนยันว่าพุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอก

คือทางสังคมด้วยและถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยงเนื่องถึงกัน ไม่แยกจากกันและสอดคล้อง

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรม ยกลำไม้ไผ่ขึ้นตั้งแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า

มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้วจง (เลี้ยงตัว) อยู่เหนือต้นคอเรา”

ศิษย์รับคำแล้วก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไป ยืน (เลี้ยงตัว) อยู่บนต้นคอของอาจารย์

คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า

“นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้

จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”


ครั้นอาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวกับอาจารย์ว่า

“ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้

ท่านอาจารย์ (นั่นแหละ) จงรักษาตัวเองไว้

ผมก็จักรักษาตัวผมเอง

เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย

และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจเดียวกับกับที่ศิษย์พูดกับอาจารย์ (นั่นเอง)

เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตัวเอง” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้)

เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (เหมือนกัน”


“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย)

เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย”

ฯลฯ

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า

เราจะรักษาตน ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน

เมื่อคิดว่า เราจะรักษาผู้อื่น ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน

เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น (ด้วย)

เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเองด้วย”

(สํ.ม.19/758-762/224-225)


บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือ การกำจัดอาสวะกิเลส


อัปปมาท หรือ ความไม่ประมาทนั้น หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติหรือการใช้สติ อยู่เสมอใน

การครองชีวิต อัปปมาท เป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดตกไปในทางชั่วหรือ

เสื่อม คอยยับยั้ง เตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่

และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้น ที่จะเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ โดยตระหนักถึง

สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ ทำแล้วและยังมิได้ทำและช่วยให้ทำการต่างๆด้วย ความละเอียดรอบคอบ

จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในระบบจริยธรรม

อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอัปปมาทนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องจริยธรรมในวงกว้างเกี่ยวกับความ

ประพฤติปฏิบัติทั่วๆไปของชีวิต กำหนดคร่าวๆตั้งแต่ระดับ ศีล ถึง สมาธิ

ในระดับนี้ สติทำหน้าที่แทรกแซงพัวพันและพ่วงกันไปกับองค์ธรรมอื่นๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะจะมี

วายามะหรือความเพียรควบอยู่ด้วยเสมอ

ครั้นจำกัดการพิจารณาแคบเข้ามา กล่าวเฉพาะการดำเนินของจิต ในกระบวนการพัฒนาปัญญา

หรือการใช้ปัญญาเข้าชำระล้างภายในดวงจิต อัปปมาท ก็กลายเป็นตัววิ่งเต้น ที่คอยเร่งเร้าอยู่ในวง

นอก เมื่อถึงขั้นนี้

การพิจารณาจึงจำกัดวงขอบเขตจำเพาะเข้ามา เป็นเรื่องกระบวนการทำงานในจิตใจ และแยกแยะราย

ละเอียดซอยถี่ออกวิเคราะห์เป็นขณะๆ

ในระดับนี้เอง ที่สติทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่และเด่นชัด กลายเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญ

ที่เรียกโดยชื่อของมันเองความหมายที่แท้จำเพาะตัวของสติ

อาจเข้าใจได้จากการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของสติ ในกรณีที่มีบทบาทของมันเอง แยกจากองค์

ธรรมอื่นๆอย่างเด่นชัด เช่น ในข้อปฏิบัติที่เรียกว่า สติปัฏฐาน เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ พอจะสรุปการ

ปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ ดังนี้

ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสตินั้นคือ

การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือไม่ปล่อยให้ความนึก

คิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้า

หาอารมณ์นั้นๆ เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหาย คือนึกถึง

หรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม

มีคำเปรียบเทียบว่า เหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะ

เฝ้าอายตนะต่างๆที่เป็นทางรับอารมณ์ ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา

ปทัฏฐาน หรือเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือสติปัฏฐานต่างๆ

พิจารณาในแง่จริยธรรม จะมองเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ทั้งในแง่ปฏิเสธ (negative) และในแง่

อนุมัติ (positive)

ในแง่ปฏิเสธ สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด ไม่ให้ถลำลงไปในธรรม

ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต และไม่ยอมให้ใช้ความคิดผิดทาง

ในแง่ อนุมัติ สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรมทุกอย่างที่อยู่ในแนว

ทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่องมือสำหรับยึด หรือเกาะกุม

อารมณ์อย่างใดๆ ดุจเอาวางไว้ข้างหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

ในทางปฏิบัติของพุทธธรรม เน้นความสำคัญของสติมาก อย่างที่กล่าวว่า สติจำปรารถนา (คือ ต้องนำ

มาใช้) ในกรณีทั้งปวง เป็นทั้งตัวการเหนี่ยวรั้งปรามจิต และหนุนประคองจิต ตามควรแก่กรณี เมื่อนำ

ลักษณะการทำหน้าที่ของสติ ที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย

ของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้


1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแสความคิด

เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิด ให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิต

เป็นสมาธิได้ง่าย


2. ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า เป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อน

คลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลาย

ในโลกอย่างได้ผลดี


3. ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด ทำขอบเขตการรับรู้

และความคิดให้ขยายออกไป โดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆได้


4. โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การพิจารณา

สืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์


5. ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่เกลือก

กลั้ว หรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน และร่วมกับสัมปชัญญะทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไป

ด้วยปัญญาหรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ


ประโยชน์ข้อที่ 4 และ 5 นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ

ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อสัมมาสติ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน 4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2011, 13:48, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง

การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด อย่างที่กล่าวถึง

ในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็น มรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”



การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่า มีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว

ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้

หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบเจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้

ไปจนถึงที่สุดก็ได้

วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมากพร้อมกับที่มีความเข้าใจ

ไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน
จากการศึกษาคร่าวๆ

ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระ

สำคัญขอบเขต ความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ

โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น


สติปัฏฐาน มีใจความโดยสังเขป คือ

1. กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย

1. 1 อานาปานสติ คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ

1.2 กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ

ก็รู้ชัดในอาการ ที่เป็นอยู่นั้นๆ

1.3 สัมปชัญญะ คือ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น

การก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

การตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น

1.4 ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า

ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน

1.5 ธาตุมนสิการ คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

1.6 นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ

ไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตนว่า

ก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน


2. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี

ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ


3. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น

มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น

ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะนั้นๆ


4. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ

4.1 นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้

อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่

ในขณะนั้นๆ

4.2 ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร

4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายใน ภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัย

อายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วละเสียได้อย่างไร

ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร

4.4 โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร

4.5 อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า

ภิกษุพิจารณาเห็นกาย ในกายภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย

ภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม

คือ ความเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

ก็แล เธอมีสติปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ เพียงพอให้เป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น แลเธอเป็นอยู่

อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆในโลก


(กาย เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต ธรรม ตามแต่กรณีนั้นๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 23:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน


สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่า จะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอก

สังคม หรือจำเพาะในการเวลาตอนใดตอนหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีปราชญ์หลายท่านสนับสนุนให้นำมา

ปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ หลักสติปัฏฐาน 4 บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับ

ดูแลทั้งหมดเพียง 4 แห่งเท่านั้น คือ

1. ร่างกาย และพฤติกรรมของมัน

2. เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ต่างๆ

3.ภาวะจิต ที่เป็นไปต่างๆ

4. ความนึกคิดไตร่ตรอง

ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้ง 4 นี้แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความ

สุขผ่องใส และเป็นปฏิปทา นำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม


จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐาน แต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียง

อย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย


ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ก็ คือ สมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ

(เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ)

ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละ

ความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)

ข้อที่น่าสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มัก

ปรากฏควบคู่กับสติ สัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา


ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง สัมปชัญญะ

หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือ การกระทำใน

กรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง

หรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

ข้อความที่ว่า

“กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้” แสดงถึงท่าที ที่เป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะว่า

เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ

ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิด ความเสื่อมสิ้นไปนั้น แสดงถึงการ

พิจารณาเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่ง

เหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่น ที่ว่า “กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่ง

เหล่านั้นตามที่เป็นอย่างนั้น ของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมุติ และยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้

มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าที

ของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ

ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกบาลีที่สำคัญ มาแปลและแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้

-กาเย กายานุปสฺสี- แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย คือมองเห็นในกายว่าเป็นกาย มองเห็นกาย

ตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ ไม่ใช่มอง

เห็นกายเป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือเห็นชายนั้นหญิงนี้

ในผมในขน ในหน้าตา เป็นต้น หมายความว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู

ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกายก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง

บ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบอยากชมบ้างเป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “ สิ่งที่ดู มองไม่

เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”*


(* ที.อ. 2/472; ม.อ. 1/333; วิภงฺค.อ. 284 ข้อความว่า “กายในกาย” นี้ อรรถกถาอธิบายไว้

ถึง 4-5 นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกันคือตามดูกายในกาย ไม่ใช่

ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม

ในกายอีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อย ในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ

ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่ากายทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร

นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆลงไป ไม่มีนาย ก. นาง ข. เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์หน่วยรวม

ออกหรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วย และกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่

เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้ เป็นต้น

(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

-อาตาปี สัมปชาโน สติมา = แปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ได้แก่ มีสัมมาวายามะ

(เพียรชอบ) สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) และสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อที่ต้อง

ใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ (ตรงกับหลักในมหาจัตตารีสกสูตร)

ความเพียร คอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอล้าหรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรม

เกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น


สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญาที่พิจารณาและรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด ทำให้ไม่หลงใหลไปได้

และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง สติ คือ ตัวกำหนดจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืม

เลือนเลอะพลาดสับสน



-วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ = แปลว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งเบิกบาน ไม่มีทั้งความติดใจ

อยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน


-อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย =

แปลว่า เธอมีสติ ปรากฏชัดว่า "กายมีอยู่" เพียงเพื่อเป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น

คือ มีสติกำหนดชัดเจนตรงความจริงว่า มีแต่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคลล หญิง ชาย ตัวตน ของตน

ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้ เพียงเพื่อเป็นความรู้และสำหรับใช้ระลึก คือเพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ

หรือเพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุงแต่งฟ่ามเฝือไป

(แม้ในเวทนา จิต และธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้)


-อนิสฺสิโต จ วิหรติ = แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือมีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด

ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลัก คือไม่ต้องเอาตัณหา

และทิฐิเป็นที่อิงอาศัย หรือไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็รับรู้โดย

ตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพระบายสี เสริมแต่งและกล่อม

ให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึกจินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น


-น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ = แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ

ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณว่าเป็นอัตตา หรืออัตตนียา

เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น


-อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง ข้อความนี้ อาจารย์

หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ

แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า ภายใน หมายถึง ของตนเอง ภายนอก หมายถึง ของผู้อื่น

และมตินี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า "ภิกษุตาม

เห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ? ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของผู้

นั้นมีราคะ ฯลฯ "

อภิ.วิ.35/445-7/263-5

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

-บางท่าน อาจสงสัยว่า

ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกายใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร

เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่าง ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง

และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึง

เกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่เราเท่านั้น คือรู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้

เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้

ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้ ) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง

โทสะบ้าง เป็นต้น

ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจ

ของผู้อื่นแต่ประการใด


อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า

การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง

ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิด แล้วก่อปัญหาขึ้นได้เลย

การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิต

วิเคราะห์ของจิตแพทย์
(Psychiatrist) ในสมัยปัจจุบันและประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า

และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมี

สุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย
*
.....
*ดู N.P. Jacobson. Buddhism: the Religion of Analysis ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ม.ค. 2011, 05:33, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่

viewtopic.php?f=2&t=32669

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร