วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 02:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณเช่นนั้นมากครับ สำหรับคำแนะนำ ก็ทำไปตามเหตุปัจจัยครับ ธรรมะเป็นอนัตตา ให้สังขารธรรมเป็นตัวปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัย สู้ๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น ได้อ่านข้อความนี้ แล้วก็เกิดความสังเวช ต่อการเผยแผ่ธรรมอันผิดๆถูกๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ปรากฏโดยทั่วไป จนทำให้ชนชาติอื่นเข้าใจว่า การเจริญสมาธิ คือ รูปแบบวิธีการ

อย่าเพิ่งสังเวชคนอื่นเลยครับ
แล้วหนังสือธรรมะที่พิมพ์กัน แม้แต่ที่พระเทศนา ก็เป็นภาษาไทยนะครับ ไม่ใช่ภาษาบาลี
ดั้งเดิมเลย
การยกคำสอนสู่ภาษาอื่นๆ ไม่ใช่วิธีที่ผิดอะไร


เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้

ตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตรครับ ข้อจิตตานุปัสสนา
รู้ตามไม่ใช่การฟุ้งไป สังเกตคำว่า จิตตานุปัสสี ครับ
จิตตะ+อนุ+ปัสสี แปลเรียงคือ จิต +ตาม+เห็น(หรือรู้)
การเห็นตามสภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเช่นเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ตัวในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่การฟุ้งไปของ
จิต สำคัญที่เขารู้เจตสิกที่ฟุ้งอยู่ในขณะนั้น คุณอย่ากล่าวอย่างนี้เลย เพราะมีพระพุทธพจน์ยืนยันในมหา
สติปัฏฐานสูตรว่า ความฟุ้งซ่านมีอยู่ในจิตเราก็รู้ว่ามีอยู่ หาดูที่สูตรนั้นครับ


เช่นนั้น เขียน:
พุทธพจน์ที่ยกมาเป็นเพียงพุทธอุทาน เกี่ยวกับเรื่องอัตตา ความมีความเป็น ความไม่มีความไม่เป็นครับ

ขึ้นต้นด้วยภิกษุทั้งหลาย จะเป็นอุทานเหรอครับ อ่านทั้งสูตรหรือยัง

เช่นนั้น เขียน:
เพราะฉะนั้น การรู้พองๆ ยุบ หรือ การรู้แล้วลงท้ายหนอ จึงยังเป็นการฟุ้งไปตามกามสัญญา สติตามรู้ดูกาม ไม่เกิดปัญญาในการละนิวรณ์แต่ประการใด

ผมอธิบายไปหลายครั้งแล้วว่า การกำหนดรู้แบบนี้ตามมหาสติปัฏฐาน เพราะนั่งอยู่ กายสงบ
มีเพียงท้องที่พองยุบ ก็กำหนดปัจจุบันที่กำลังเป็นอยู่ ในเมื่อคุณว่ายังกาม ก็เป็นความเห็นคุณ ข้อนี้
ต่างก็มีความเห็นต่างกันตามแต่ประสบมา ผมก็มีพระพุทธพจน์อ้างอิง
อนึ่ง คำว่ากาม แปลว่าใคร่ ถ้ากำหนดรู้โดยไม่ใคร่อยาก ผมก็งงว่าจะเป็นกามได้อย่างไร และที่สำคัญ
การกำหนด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งที่ปรากกในพระสูตรอย่างชัดแจ้ง คือการกำหนด
รู้ กาย เวทนา จิต และธรรม

เช่นนั้น เขียน:
ไม่มีสิ่งไร เกี่ยวกับคำว่า “หนอ” ไม่ว่าจะเปลี่ยนคำพูด คำลงท้าย อย่างก็ตาม หรือไม่ลงท้ายก็ตาม หากจิตยังเป็นกามวจรจิต อยู่ โดยไม่ พยายามเปลี่ยนคุณภาพของจิตให้เป็นโลกกุตตรจิต หรือวิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต ย่อมเป็นจิตที่พัวพันกามสัญญา


คุณตอบที่ผมจะถามมา ถ้าไม่ตอบ คุณรู้ไม่จริง และไม่มีอะไรต้องสนทนาอีก เพราะคุณรู้ไม่จริง
ข้อนี้ต้องตอบนะครับ

พยายามเปลี่ยนคุณภาพของจิตให้เป็นโลกกุตตรจิต หรือวิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต

๑.คุณมีวิธีปฏิบัติอย่างไรให้จิตเป็นโลกุตรจิต วิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต โดยวิธีที่คุณไม่อาศัยรูปนาม
มาเป็นเครื่องกำหนด(เพราะคุณบอกเองว่าจะติดกาม)
๒.รูป-นาม คืออะไร
ผมจะดูว่า คุณจะพ้นจากรูปนามที่คุณต้องกำหนดรู้อย่างไรได้


เช่นนั้น เขียน:
พยายามเปลี่ยนคุณภาพของจิตให้เป็นโลกกุตตรจิต หรือวิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต ย่อมเป็นจิตที่พัวพันกามสัญญาพระพุทธพจน์ ตรัสไว้ดีแล้วครับ คือวิปัสสนาจิต ที่ละ ไม่พัวพันในกามสัญญา มีใจมั่นคงในอริยะสัจจ์
แต่สิ่งที่พองๆยุบๆ กระทำคือ ไปตามรู้ตามกำหนด และกำหนดให้ชัดเจน ซึ่งเป็นการมนสิการธรรมอันไม่ควรมนสิการ เป็นศรัทธาในอริยะสัจจ์ อันเลื่อนลอยไหลไปตามอรรถนอกพุทธพจน์


อ่านพระพุทธพจน์ให้กระจ่างซิครับ ไปตามลำดับคือ กำหนดรู้ กำหนดละ ไม่รู้รูปนาม แล้วจะไปรุ้เหรอ
ว่าจะต้องละอะไร อ่านดีๆ
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่ง
ทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่ง
สิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่
ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย


มีรอบรู้ และ ละ ต้องรู้ก่อน
คุณอ่านดีๆ จากนั้นบอกว่ามีสัมผัส ตรงนี้ถ้าไม่รู้สัมผัสที่เกิดขึ้น คุณว่ามีสติเหรอตอนนั้น
พอเห็นรูป สัมผัสเกิด แล้วกำหนดรู้ ไม่ใส่ใจ ตรงไม่ใส่ใจนั้นละครับ คือละ ละด้วยการกำหนดรู้ เรียกว่า
ญาตปริญญา(กำหนดรู้) ตอนไม่ใส่ใจและไม่ติดตามเมื่อสภาวะนั้นหายไป เรียกว่า ปหานปริญญา
(กำหนดละ)
มีพระพุทธพจน์มาฝากครับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งรูป
จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ เมื่อหน่าย เมื่อละได้ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา
ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ จึงเป็นผู้ควรเพื่อสิ้นทุกข์.


เห็นคำว่า กำหนดรู้ไหมครับ

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ

คุณก็พูดแต่มรรคจิต ผลจิต ผมถามคุณหน่อยเถอะ คนที่ไปปฏิบัติที่วัดทุกวันนี้ อยู่ๆปฏิบัติจะได้
มรรคจิตผลจิตเลยเหรอ เราพูดถึงวิธีปฏิบัติที่ไปถึงจุดนั้น ที่คุณบอกมรรคจิตผลจิตนั้น มันตอนบรรลุ
มรรคผลแล้ว
มรรคจิตมี ๔ คือ โสดาปัตติมรรคจิต สกิทาคามีมรรคจิต อนาคามีมรรคจิต และอรหัตตมรรคจิต
ผลจิตมี ๔ คือ โสดาปัตติผลจิต สกิทาคามีผลจิต อนาคามิผลจิต และ อรหัตตผลจิต

มรรคจิตและผลจิตเมื่อบรรลุธรรมชั้นนั้นๆ จะเกิดติดต่อกันไม่มีอะไรคั่นเลย เช่น เมื่อบรรลุโสดาบัน
โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิดและโสดาปัตติผลจิตจะเกิดติดต่อมาทันที เรียกว่า อกาลิโก คือไม่จำกัดกาล

แล้วเมื่อเริ่มปฏิบัติหรือปฏิบัติมานานแต่ยังไม่บรรลุมรรคผล จะเอาจิตเหล่านี้มาจาก
ไหนครับ อธิบายที


เช่นนั้น เขียน:
กามาวจรจิตเป็นจิตเล็ก เป็นจิตที่มีสมาธิอันเป็นกามวจร มีสติเป็นกามาวจร ย่อมไม่อาจาละกามสัญญา ไม่อาจระงับนิวรณ์ได้ การปรารภสังวรปธาน เปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นวิปัสสนาจิต
โลกุตตรจิตก่อนครับ ไม่ใช่ไปจ่อรู้กามสัญญา

โลกุตรจิตก็เป็นจิตที่เกิดในพระอริยะบุคคล ผู้ปฏิบัติใหม่จะเอาจิตเหล่านี้มาจากไหน ถึงปฏิบัติเก่าก็เถอะถ้ายังไม่บรรลุมรรคผล จะเอาจิตเหล่านี้มาได้อย่างไร

สังวรปธาน คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปนามทั้งนั้นเลย ถ้าไม่กำหนดรู้ที่นั้น แล้วจะสังวร
อะไรละครับ ต้องไปตามลำดับ คือสังวรก่อน เมื่อบรรลุผลแล้ว โลกุตรจิตจะตามมา

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ

ขันธ์นั่นแหละรูปนาม พองหนอยุบหนอเขากำหนดรู้ถูกแล้ว
เมื่อกำหนดรู้แล้ว เมื่อเข้าเขตวิปัสสนา จะเห็นโทษทุกข์ในรูปนามเหล่านั้น
ที่เขากำหนดกันเช่น ปวดหนอ จิตเขาอยู่ที่อาการปวด นั่นละครับเรียกลักขณูปนิสัชฌาน คือเข้าไปรู้
ลักษณะของรูปนาม(ปวดเป็นเวทนาขันธ์ เป็นนาม)
ส่วนมรรคจิตผลจิต บรรลุธรรมชั้นใดชั้นหนึ่งจึงเกิดได้ ไม่ใช่จะเอามาปฏิบัติได้

เช่นนั้น เขียน:
การที่ท่านไปกำหนดรู้ด้วยกามาวจรจิต จึงเป็นการกำหนดรู้เพื่อพอกพูนสักกายะทิฐิ อันเป็นอุปธิก่อให้เกิดภพต่อไป

ดีแต่ใส่ร้าย เมื่อเขาหาเหตุผลมาแก้ ก็ยังดื้อว่าเขาอีก คุณไม่ยอมรับเหตุผลเขาต่างหากแล้วแบบนี้
จิตที่กำหนดรู้ในคนที่ต่ำกว่าพระโสดาบัน เป็นกามาวจรทั้งหมด คนที่ปฏิบัติยังไม่บรรลุ จะเอาโลกุตรจิต
มาจากไหน
กำหนดรู้ไป ละไป ไม่ใส่ใจ กำหนดรู้แบบว่าสักว่ารู้ จะเป็นสักกายทิฏฐิตรงไหน ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่าน
ตรัสให้กำหนดรู้(ตาม)ด้วยนะครับ สงสัยต้องย้ำอีกแล้ว คุณวนไปวนมาอยู่ที่เดิม
สติปัฏฐานสูตร
เมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ (ยืนหนอ)
เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ (เดินหนอ)
เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่ (นั่งหนอ)
เมื่อนอนอยู่ก็รู้ว่านอนอยู่ (นอนหนอ)
หรือเมื่อกายตั้งอยู่อย่างไรก็รู้อย่างนั้น (พองหนอ)

ไหนว่ามาซิ สักกายทิฏฐิตรงไหน ยืน เดิน นั่ง นอน พอง มีอัตตาตรงไหน มีว่าสวยตรงไหน มีตัณหา
เหตุเกิดของอุปธิตรงไหน กิริยาหรืออิริยาบทที่รู้อยู่นี้ ตรงไหนที่มันเป็นอัตตาได้ มีแต่รูปที่เคลื่อนไปและ
นาม(จิต)ที่รู้เท่านั้น


ที่เขามีบริกรรมมาช่วย เพื่อเพิ่มสมาธิและสติ ไม่ให้ใจส่ายออกนอกจากอิริยาบทที่ปรากฏอยู่ ตรงนี้
ถ้าใครกำหนดรู้ได้โดยจิตไม่ส่าย ก็ไม่ต้องมีบริกรรมช่วย


เช่นนั้น เขียน:
ท่านศึกษาพุทธพจน์ นะครับ
[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น
อย่างไร

ที่ว่าประครองก็คือการบริกรรมช่วยนั่นล่ะครับ บางคนไม่บริกรรมช่วย จิตจะส่าย ฟุ้งซ่าน มักจะเติมต่อรูป
นามที่ปรากฏอยู่
ผมอธิบายแบบปฏิบัติเลยนะครับ คุณลองบอกวิธีประครองจิตแบบให้เห้นเป็นภาพหน่อยซิครับ แบบที่นำ
ไปปฏิบัติได้ ให้ชัดแบบที่ผมบอกวิธีพองยุบอยู่ครับ

เช่นนั้น เขียน:
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ฯลฯ

[color=#FF0000]คุณอธิบายมาซิว่า โลกุตรฌานเจริญอย่างไร เห็นอ้างมาจริง ข้อนี้อธิบายนะครับ เริ่มแต่แรกเลยถ้าไม่ตอบ แสดงว่ารู้ไม่จริงอีกแล้ว

ตรงนี้ท่านหมายถึงพระโสดาบันขึ้นไป แต่ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ เมื่อปฏิบัติธรรม ในบุคคลที่ทำฌานจิต
ได้ เมื่อเข้าฌานปฏิบัติ จิตจะเป็นโลกุตรฌาน
ส่วนคนที่ทำฌานจิตได้ แต่ยังไม่ได้แม้พระโสดาบัน เมื่อปฏิบัติ เข้าฌานจะเป็นโลกียฌาน
สองวิธีนี้ เมื่อเข้าเานแล้วจะพิจารณาจิตก่อนที่หยาบ และเมื่อเข้าฌาน จะพิจารณาจิตที่ละเอียด
จากนั้นจะพิจารณาสภาวะจิต เช่น ปีติ ที่เกิดและดับไป เรียกว่าพิจารณาไตรลักษณ์
สองวิธีนี้เน้นที่พิจารณานาม
ส่วนพองยุบ จะพิจารณารูปมากกว่านาม เพราะว่าไม่สามารถทำฌานจิตได้ วิธีเขามีหลายๆอย่าง ลองดู
ที่มหาสติปัฏฐานสูตรเถิดครับ มีตั้งหลายอย่าง หาใช่โลกุตตรจิตที่คุณยกมาอ้างเลย

เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง ๒ แล้ว ความสงัดทางกายและจิตก็เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ตอนนี้เองก็จะได้ปฏิบัติกิจทางการพิจารณาอื่นๆต่อไป สมดังวรรที่ ๓ (องค์แห่งการตรัสรู้)

เพราะฉะนั้น สภาวะในกรณีนี้จึงเป็นไปไม่ได้ครับ ในการปฏิบัติพองยุบ สิ่งที่ปรากฏเป็นเพียงอุเบกขาในกามสัญญา เท่านั้น

ไม่เคยปฏิบัตินี่ครับ คุณจะรู้อะไร เขาดูรูปปรมัตถ์ ไม่ใช่ดูท้อง อาการพองยุบก็เป็นหนึ่งในรูป ๒๘
ไม่ใช่รู้ที่หนังท้องที่พองยุบ แต่รู้ที่อาการ เช่น อาการพอง อาการตึงหย่อน อาการเคลื่อนไป รูปแบบนี้
ครับที่เขาตามรู้กัน ใหม่ๆไม่รู้จักหรอกครับ ปฏิบัติจนสติสมาธิกล้าแล้ว จึงรู้ได้
บอกว่าเป็นไปไม่ได้ อย่าอ้างลอยๆครับ และอุเบกขาในกามสัญญาดีนะครับ เฉยในกาม ไม่ดีตรงไหน
ครับ เฉยแล้วจะละได้ครับ ถ้าไม่เฉยนี่ยุ่งนะครับ ละขาดไม่ได้ เฉยก่อนไว้ เป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งครับ
เรียกว่าไม่ยินดียินร้าย(ละอภิชฌาและโทมนัส)

เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนในสายพองยุบนั้น ก็จะรักษาการกำหนดรู้ตามวิธีการปฏิบัติ(สำรวมอินทรีย์ ๖) ต่อไป
บอกแล้วว่า กำหนดรู้ ไม่ใช่กามสัญญาตามนัยที่ท่านกล่าว แต่เป็นการสำรวมอินทรีย์ ๖ ตามนัยปธาน ๔

ดังนั้น การกล่าวว่า เป็นการสำรวมอินทรีย์ ของท่านนั้นไม่ได้สำรวมหรอกครับ ถูกกามสัญญาครอบงำไปแล้วครับ

การรู้สภาวะที่ปรากฏชึ้นโดยสติที่เป็นปัจจุบัน และไม่ติดอยู่ ไม่มีความพอใจหรือไ่ม่พอใจในสภาวะที่
ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คุณว่าถูกครอบงำหรือครับ ผมว่าคุณทำความเข้าใจใหม่ดีกว่า

เช่นนั้น เขียน:
ท่านดูข้อสรุปท้ายเพิ่มเติมนะครับ ว่าอะไรคือ สังวรปธานที่ท่านเข้าใจ และอะไรเป็นปัจจุบันขณะที่ท่านเข้าใจ ต่างจาก การเจริญโลกุตตรจิตอย่างไรสังวรปธาน
ไม่เห็นคุณจะอธิบายวิธีเจริญโลกุตตรจิตเลย จะรู้ได้อย่างไรว่าต่างกันแบบไหน ดีแต่ยกมา ยกมาอ้าง
ก็ไม่ถูก โลกุตรจิตที่ไหนเอามาปฏิบัติได้ล่ะ

กามโภคี : การพัวพันในกามสัญญาดูพองดูยุบด้วยกามาวจรจิตคือ สังวรปธาน /การสำรวมอินทรีย์
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์

กามโภคี : การพัวพันในกามสัญญาดูพองดูยุบด้วยกามาวจรจิตคือ สังวรปธาน /การสำรวมอินทรีย์
ขออภัยครับ ไม่ใช่ข้อความของผมนะครับ อย่านิสัยแบบนี้ โตแล้ว ผมไม่เคยบอกว่าเป็นการพัวพัน
ในกามสัญญาเลย การที่คุณยกมาไว้หลังข้อความผม ไม่ดีครับ ถ้าจะอ้าง โปรดอ้างคำของผมเท่านั้น
พัวพันธ์ในกามสัญญา เป็นคำที่คุณใส่ร้ายวิธีการพองยุบ ไม่ใช่คำของผม คนอื่นจะเข้าใจว่าผมบอกว่า
พองยุบเป็นกามสัญญา


เช่นนั้น เขียน:
ปัจจุบันขณะ
กามโภคี : มีกามาวจรจิตดูพองยุบ ดูรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส ดูรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ

ตรงคำว่ามีกามาวจรจิต อีก ไม่ใช่ของผมทั้งประโยค อย่าอ้างแบบนี้ นิสัยแย่มากนะครับ ขอตำหนิเลย
ผมเข้าใจว่าคุณมีอายุพอควรแล้ว น่าจะคิดได้ว่า อย่างไรควรหรือไม่ควร

ละอย่างไรครับนามรูป ตอบนะครับ ถ้าไม่ตอบ รู้ไม่จริง และไม่ควรมาว่าวิธีการปฏิบัติอื่น

เช่นนั้น เขียน:
การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
กามโภคี : กามสัญญาในกามาวจรตลอดเวลาเพราะไม่เอาฌาน
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต
[/quote]
ตรงนี้ก็มี ไม่ใช่คำพูดผมทั้งประโยคนะครับ
และผมอธิบายแล้วว่า คำว่าไม่เอาฌาน หมายถึง ไม่ตั้งใจทำฌานก่อน เมื่อเข้ามรรคผล จะมีระดับจิต
ที่คล้ายสภาวะฌาน(ระดับปฐมฌาน)มารองรับเอง ไม่ต้องทำฌานจิตแต่เริ่ม ข้อนี้เป็นวิธีของสุทธ
วิปัสสนา

อนึ่ง ที่ผมถามๆไปตอบมานะครับ ถึงจะเรียกว่ารู้จริงปฏิบัติจริง หากไม่ตอบ ผมจะปิดกระทู้ด้วยคำว่า
คุณไม่ใช่คนปฏิบัติจริงรู้จริง เที่ยวแต่ว่าคนอื่นที่เขามุ่งปฏิบัติอยู่ จริงๆแล้วไม่อยากถาม แต่สงสัยเรื่อง
มรรคจิต ผลจิต และโลกตุจิตแล้ว ว่าทำกันอย่างไร อยู่ๆจะให้เกิดเพื่อมาพิจารณาได้ เพราะที่ศึกษามา
จะเกิดตอนบรรลุธรรมเท่านั้น ส่วนโลกุตรฌาน ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปทำได้ ข้อนี้จริง
การอ้างคำพูดผม ให้ยกคำเดิม ไม่ใช่เสริมเติมแต่ความเห็นที่คุณเชื่อมาในคำพูดของผม ไม่ใช่หลักการ
ที่ดีเลย แต่บ่งบอกวิธีการที่แย่ มักง่าย และไม่ใช่ปราชญ์ซักเท่าไรนะครับ ข้อนี้ควรตระหนักให้มากๆ
เป็นมารยาทของคนที่สนทนาธรรมะครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 01:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

อ้างคำพูด:
อนึ่ง คำว่ากาม แปลว่าใคร่ ถ้ากำหนดรู้โดยไม่ใคร่อยาก ผมก็งงว่าจะเป็นกามได้อย่างไร


ไม่ใช่ท่าน งง เป็นคนแรกของประเทศไทยหรอกครับ
หากท่านไม่เข้าใจ เรื่อง กามสัญญาและอุเบกขาในกามสัญญา เรื่องโลกุตตรจิต วิปัสสนาจิต มรรคจิต ผลจิต ไม่ต้องสนทนาต่อหรอกครับ

เช่นนั้น เขียน:
เพราะฉะนั้น การรู้พองๆ ยุบ หรือ การรู้แล้วลงท้ายหนอ จึงยังเป็นการฟุ้งไปตามกามสัญญา สติตามรู้ดูกาม ไม่เกิดปัญญาในการละนิวรณ์แต่ประการใด


อัฏฐกวัคคิกะ
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุ-
*กาม ๑ กิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน?
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาด
เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง
บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม

อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลางชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา

ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม
เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน?
ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกามความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกามความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะชื่อว่า กาม.
สมจริงดังคำว่า
ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ
เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้
.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
อนึ่ง คำว่ากาม แปลว่าใคร่ ถ้ากำหนดรู้โดยไม่ใคร่อยาก ผมก็งงว่าจะเป็นกามได้อย่างไร



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมีเมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ท่านได้กำหนดรู้ ท่านก็บอกอยู่แล้วโดยคำพูดของท่าน ท่านได้ดำริ แล้ว และการดำริของท่าน ท่านก็ทำด้วยเจตนา เมื่อท่านดำริด้วยกามาวจรจิต กามสัญญาย่อมเกิดถึงแม้ว่าท่านกล่าวว่า จะวางอุเบกขาก็ตาม ก็เป็นการวางอุเบกขาในกามสัญญา (กามสัญญา ไม่ใช่กามเฉยๆ ดังที่ท่านเข้าใจ)

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 15:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. เจตนาสูตรที่ ๒
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็น
อารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่ง
วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูป
จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี
ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ
ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทว-
*ทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น
ย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
แห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น
ปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

(เมื่อท่านยอมรับว่าท่านกำหนดรู้ด้วยความไม่ใคร่อยาก ด้วยกามาวจรจิตของท่าน เท่ากับท่านได้ดำริกาม ด้วยอุเบกขาในกามสัญญานั่นเอง)

ปฏิจจสมุปบาทแห่งจิตท่าน ย่อมดำเนินไปดังนี้ อปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณเจริญขึ้น
ความหยั่งลงแห่งนามรูป จึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา ก็คือการวางอุเบกขาในกามสัญญาของท่าน)
จึงมีตัณหา (ซึ่งเป็นวิภวตัณหา หรือ ภวตัณหา ความไม่อยากเอาซึ่งเวทนาทั้งหลายอันเกียวด้วยกามสัญญานั้น หรือความเป็นผู้มีอุเบกขาเวทนาเพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขาในกามสัญญา)
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ในกามุปาทาน ทิฐปาทาน สีลัพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน ) ครบทุกตัว
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ)


[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่
ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ
ไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง
มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 15:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมี
ตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติ
และอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้น
ตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อ
มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

การตรึกวิตกในกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออุปธิอันก่อภพต่อไป

[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มี
อารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มี
คติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออ่านต่อๆ ไปท่านกามโภคี ก็สงสัยว่า เช่นนั้นกล่าวอ้างคำพูดท่านกามโภคี
ในบทสรุปประเด็นที่เช่นนั้นทำขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ท่านกามโภคี และเช่นนั้น ตามความเข้าใจของเช่นนั้น

เมื่อท่านคิดว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่ท่านเข้าใจ ก็เชิญท่านเปรียบเทียบให้เห็นว่า ท่านเข้าใจอย่างไรต่อประเด็นต่างๆด้วยคำพูดของท่าน

ปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ
กามโภคี : ..........................................

การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต
กามโภคี : .......................................................

สังวรปธาน
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์
กามโภคี :.....................................................................

สติ
เช่นนั้น: เกิดพร้อมกุศลจิตอยู่แล้ว ละภิชฌาโทมนัสเสียได้คือสติ เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
กามโภคี: ......................................


วิปัสสนา
เช่นนั้น : เกิดร่วมเกิดพร้อมกับสมถะในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่เกิดก่อนหลังกันได้ในจิตดวงเดียวกัน แต่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ในจิตวิปัสสนา
กามโภคี: .............................................

เช่น นั้น: วิปัสสนา ใช้สมถะที่เป็นลักขณูปณิชฌาน คือเป็นปฐมฌาน ทุติยะฌาน ตติยะฌาน และจตุตถฌานชนิดสุญญตะ หรือชนิดอนิมิตตะ หรือชนิดอัปณิหิตตะ ประกอบกับปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจิตวิปัสสนา
กามโภคึ :.......................................

เช่นนั้น : การใช้ปัญญาทำลายกิเลสสังโยชน์ ด้วยปัญญาในอินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสมีตินทรีย อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์
กามโภคี :.........................................

เช่นนั้น :ญาณแต่ละญาณข้ามลำดับได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะทำเหตุต่างกัน
กามโภคี :.............................................

สุขวิปัสสโก
เช่น นั้น : สุขวิปัสสโก เป็นผลเป็นวิบากแห่งมรรค เหตุคือมรรคจิตดวงเดียวเหตุอย่างเดียว ให้ผลได้หลายอย่าง เป็นสุขวิปัสสโกบ้าง เตวิชโชบ้าง ฉลภิญโญบ้าง และปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง สิ่งเหล่านี้ได้มาเป็นของแถมกับอาสาวกขยญาณ ไม่ได้อยู่ที่ทำเหตุเหล่านี้ก่อนวิปัสสนาหรือมรรค
กามโภคี : ...............................................................

วิปัสสนาจิต
เช่นนั้น : วิปัสสนาจิตต้องมีสมาธิหรือสมถะในจิตเสมอ ต้องเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌาน
กามโภคี :........................................

สมถะหรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
เช่นนั้น : ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตก่อน แต่อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์จึงจะเกิดพร้อมในมัคคจิต สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่มรรคจิต
กามโภคี : .................................................

การปฏิบัติธรรม
เช่น นั้น : จิตเป็นโลกกุตรฌาน ในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ใช้ปฐมฌานหรือฌาน1-4 ในการเจริญสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑
กามโภคี :.......................................................

สมาธิ
เช่นนั้น : คือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในทุกอิริยาบถ
กามโภคี :.................................................

การละนิวรณ์
เช่นนั้น : ละนิวรณ์ได้พร้อมเกิดฌานทันทีในจิตดวงนั้น จิตที่เป็นฌานคือจิตที่ละนิวรณ์ได้สำเร็จ
กามโภคี :....................................

มรรคผล
เช่นนั้น : มรรคเป็นเหตุแห่งผลอย่างเดียวไม่ต้องผ่านญาณต่าง ๆ ต้องการญาณไหนเจริญญาณนั้น
กามโภคี :..............................................

การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน
เช่นนั้น : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน คือเห็นแจ้งในอริยะสัจจ์ 4 หรือวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิตในปัจจุบันขณะ
กามโภคี :..........................................

ปรมัตถ์
เช่นนั้น : มรรคจิต 4 ผลจิต4 นิพพาน คือปรมัตถ์ คือโลกกุตตรธรรม
กามโภคี : ...................................................

โลกุตตรฌาน
เช่น นั้น : ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว โลกุตตระฌานหรือลักขณูปณิชฌานในวิปัสสนาจิตปุถุชนสามารถเจริญได้เลย จนบรรลุมัคคจิต
กามโภคี : ...................................................

จิตฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้
กามโภคี : .................................................

จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ
กามโภคี : ..........................................................

การกำหนดรู้
เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ
กามโภคี :.................................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ Chefin

วันนี้มาก่อน Chefin หวังว่าคงขี่คางคกมาชมความบันเทิงอีกตามเคยนะครับ


ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในการทุกเมื่อ


อ้อ... สติที่ว่านี่เป็นสติของพระอริยเจ้านะครับ Chefin เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
เดี๋ยวท่านเช่นนั้นจะว่า Chefin ไม่มีความรู้เรื่องสติ สาธุ :b8: :b8: :b8:



เจริญในธรรมครับ
cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยเจ้าค่ะ ทำเหตุเช่นไรผลย่อมเป็นเช่นนั้นเจ้าค่ะ
มันเป็นกฏแห่งธรรมชาติตายตัว ที่หนีไม่พ้นเจ้าค่ะ สาธุ
:b8: :b27:


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะฉะนั้น การรู้พองๆ ยุบ หรือ การรู้แล้วลงท้ายหนอ จึงยังเป็นการฟุ้งไปตามกามสัญญา สติตามรู้ดูกาม ไม่เกิดปัญญาในการละนิวรณ์แต่ประการใด

ข้อนี้ไม่มีอะไรต้องอธิบายเลยครับ ลงท้ายหนอยังบอกไม่ได้ว่าติดอยุ่ที่กาม เพราะในพระไตรปิฎก
เยอะแยะไปที่พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกท่านอุทานลงท้ายว่าหนอ เช่น
อนิจจัง วต สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
ไม่เห็นท่านจะติดกามตรงไหนเลย อยู่ที่จิตที่รู้ครับ ว่าจะยึดติดหรือไม่ ไม่ใช่อยู่ที่คำว่าหนอ
มีแต่ท่านมั้งครับที่กำหนดลงหนอแล้วติดกาม ผู้ปฏิบัติด้วยวิธีนี้ไม่มีใครคำนึงถึงกามเลยเวลาลงหนอ
มีแต่เห็นรูปนามที่ดับไปเป็นขณะๆ

เช่นนั้น เขียน:
อัฏฐกวัคคิกะ
กามสุตตนิทเทสที่ ๑
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
[๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุ-

เมื่อจิตที่กำหนดรู้ไม่ปรารถนาในสิ่งที่ปรากฏอยุ่นั้น จะเรียกว่าติดกามไม่ได้ เพราะกามสัญญาหรือ
การฉันทะนั้น ต้องใคร่อยากหรือไม่ใครอยาก
อนึ่ง คำว่า กามฉันทะนั้น มาจากคำว่า กาม+ฉันทะ แปลว่า วัตถุหรือกิเลสอันน่าใคร่+พอใจ
ในเมื่อละอภิชฌา(ยินดี)ในเวลากำหนด ก็ไม่จัดเป็นกามสัญญาหรือกามฉันทะ
สังเกตุหน่อยซิครับว่ามีคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่
เช่นนั้น เขียน:
กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลางชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา
ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม[/color]

ตรงนี้ก็บอกไม่ได้ว่าการกำหนดรู้ตามแบบวิธีพองยุบนั้น เป็นกามสัญญาหรือกามฉันทะ ตรงนี้ท่านอธิบาย
ลักษณะของกาม ถ้าบอกว่าการกำหนดรู้เป็นการติดกาม ก็เวลาพระพุทธเจ้าท่านให้กำหนดรู้ขันธ์ ธาตุ
อายตนะ ผัสสะ อารมณ์ ด้วยวิธีญาตปริญญา คุณจะเรียกว่าติดกามหรือกามสัญญาไหมละครับ ลองดู
พระพุทธพจน์นี้ครับ ว่าพระองค์ให้กำหนดรุ้แบบไหน นี่ละวิธีของพองยุบเขาละครับ
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้
ตามติดใจ
ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐา
รมณ์และสุตารมณ์.

กำหนดรู้ผัสสะ เช่น ถูกหนอ เมื่อกำหนดรู้ผัสสะแล้ว หากผัสสะหายไป ก็ไม่ได้ตามติดใจว่าดีหรือไม่ดี
พอใจหรือไม่พอใจ รู้ว่าถูกต้องเท่านั้นเอง เช่นเดียวกับไม่ติดใจในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์ เช่น
เมื่อเห็นรูป หรือได้ยินเสียง กำหนดรู้ว่า เห็นหนอ ยินหนอ ไม่ได้ติดใจในรูปนั้นหรือเสียงนั้นว่าจะสวยจะ
เพราะ ซึ่งแตกต่างจากการมองหรือได้ยินของคนที่ไม่กำหนด คือคนที่ไม่กำหนดจิตอาจตกไปในรูปว่า
สวยว่างาม ในเสียงว่าเพราะน่าฟัง คือยังมีปรุงแต่งเพิ่มและยินดียินร้าย แต่วิธีของพองยุบนั้น กำหนด
ปัจจุบันที่เกิดขึ้นหรือได้เห็นได้ยิน โดยละอภิชฌา(ยินดี)และยินร้าย(โทมนัส)
แล้วคุณยังจะมาว่าการกำหนดรู้แบบนี้เป็นกามสัญญาได้อย่างไร ไม่เห็นหรือครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัส
ว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว แสดงว่า ผัสสะนั้นต้องกำหนดรู้ (ญาตปริญญา)และไม่ติดใจ(ปหานปริญญาหรือ
กำหนดละ)

เช่นนั้น เขียน:
เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.
ข้อนี้เป็นแค่อธิบายวัตถุกาม บอกลักษณะของวัตุกามเฉยๆ บอกไม่ได้ว่าคนที่กำหนดรู้นั้นจะ
ติดกามหรือกามสัญญา เหมือนกับคนขายรถอธิบายเรื่องรถ ก็ยังบอกไม่ได้ว่า คนดูจะซื้อหรือชอบใจ

เช่นนั้น เขียน:
กิเลสกามเป็นไฉน?
ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกามความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกามความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะชื่อว่า กาม.

นี่ก็บอกลักษณะของกิเลสกาม บอกไม่ได้อีกเช่นกันว่าคนที่กำหนดรู้จะติดกาม
สังเกตบ้างซิครับว่ามีคำว่า พอใจ กำหนัด ปรารถนา เสน่หา เร่าร้อน หลง ถ้ากำหนดแบบพองยุบเขาไม่
มีพอใจหรือกำหนัด ฯลฯ จะว่าเขาติดกามหรือกามสัญญาไม่ได้ เมื่อกำหนดอะไรอยู่ สิ่งนั้นดับไป จิตเขา
ก็จะไปกำหนดรู้สภาวะของรูปนามอื่นที่ปรากฏอยู่

เช่นนั้น เขียน:
สมจริงดังคำว่า
ดูกรกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่านย่อมเกิดเพราะความดำริ
เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มีอย่างนี้
.

เอ...พองยุบก็ถูกแล้วนี่ครับ เขาไม่ได้ดำริกามเลย เขากำหนดรู้ รูป นาม ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ผัสสะ
ไม่ได้ดำริตรงไหนว่ากามเลยซักนิด
คุณคิดไปเองนะครับ ไม่รู้วิธีเขาแล้วเที่ยวไปว่า

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมีเมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ตีความแบบคุณ เขาเรียกว่าอ่านพระไตรปิฎกไม่เป็น
เห็นคำว่า ย่อมจงใจ และ ไม่จงใจ ไหมครับ
ในพระสูตรนี้ คำว่า จงใจ หมายถึงตั้งใจคิดหรือตั้งใจดำหริ หรือ มีเจตนาคิดหรือมีเจตนาดำหริ
ไม่จงใจ คือไม่ตั้งใจคิดหรือไม่ตั้งใจดำหริถึง หรือไม่มีเจตนาคิดหรือไม่มีเจตนาดำริ


การกำหนดรู้แบบพองยุบ กำหนดตามสภาวะที่เกิดขึ้นหรือปรากฏขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่ารูปนาม จะเกิด
ขึ้นเองตามเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้(อนัตตา) ไม่ได้ทำจิตให้คิดถึง รูปนามปรากฏก็กำหนดรู้ตามที่ปรากฏ
ไม่ได้คิดถึง ปรากฏมาก็กำหนดรู้ ไม่ได้ดำริถึง ปัจจุบันปรากฏอย่างไร ก็กำหนดอย่างนั้น

เมื่อกำหนดแบบนี้ ภพชาติก็ตัดลงสั้นลง
ตีความดีๆหน่อยครับ อ่านแล้วคิด ไม่ใช่สักแต่เอามาอ้าง จงใจ กับ ไม่จงใจ เงื่อนไขอยุ่ตรงนี้

เช่นนั้น เขียน:
ท่านได้กำหนดรู้ ท่านก็บอกอยู่แล้วโดยคำพูดของท่าน ท่านได้ดำริ แล้ว และการดำริของท่าน ท่านก็ทำด้วยเจตนา เมื่อท่านดำริด้วยกามาวจรจิต กามสัญญาย่อมเกิดถึงแม้ว่าท่านกล่าวว่า จะวางอุเบกขาก็ตาม ก็เป็นการวางอุเบกขาในกามสัญญา (กามสัญญา ไม่ใช่กามเฉยๆ ดังที่ท่านเข้าใจ)

อ่านวรรคก่อนหน้านี้
จงใจ กับ ไม่จงใจ เป็นเงื่อนไขสำคัญ กำหนดรู้ตามที่ปรากฏ ไม่ได้จงใจคิดถึงหรือดำริถึง
การกำหนดรู้ จะมีหรือไม่มีคำพูดเป็นประโยคก็ได้ จะกำหนดรู้เฉยๆก็ได้ สำคัญที่จิตต้องรู้อยู่ที่ปัจจุบัน
ของสภาวะที่ปรากฏอยู่ การกำหนดช่วยเพิ่มสมาธิไม่ให้จิตส่ายไปในยินดีหรือยินร้ายเท่านั้น และผู้ปฏิบัติใหม่นั้น จะกำหนดเพื่อช่วย เมื่อสติสมาธิกล้าขึ้นแล้ว ตัวช่วยนี้จะละได้เองจะหายไปเอง เหลือจิต
ที่รู้เท่านั้น
สรุปคือ คุณยังไม่รู้วิถีทางของพองยุบเลย แต่ตั้งท่าว่าวิธีอื่นแล้ว


เช่นนั้น เขียน:
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ตรงนี้ชัดเลยว่า ไม่จงใจ และผมได้อธิบายไปแล้วว่า จงใจ กับ ไม่จงใจ ต่างกันอย่างไร
อย่าลืมนะครับ รูปนามปรากฏเองไม่ได้จงใจถึง ปรากฏอย่างไรกำหนดรู้อย่างนั้น
เวลาอ่านหนังสือ ดูเงื่อนไขด้วยครับ อ่านแล้วพิจารณาหน่อย จะดีกว่านี้มาก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
๙. เจตนาสูตรที่ ๒
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด

จงใจ กับ ไม่จงใจ อธิบายแล้วในโพสก่อน
ส่วนครุ่นคิดถึงสิ่งใดนั้น คนกำหนดรู้เขาไม่ครุ่นคิดถึงหรอกครับ อะไรปรากฏในปัจจุบันขณะนั้น เขาก็
กำหนดรู้ ไม่ใช่มีจิตไปคิดถึง ว่าอะไรจะเกิดหรือไม่เกิด อะไรเกิดเขาค่อยไปกำหนดรู้ครับ
ตกลง คุณไม่รู้วิธีการของเขา
เช่นนั้น เขียน:
(เมื่อท่านยอมรับว่าท่านกำหนดรู้ด้วยความไม่ใคร่อยาก ด้วยกามาวจรจิตของท่าน เท่ากับท่านได้ดำริกาม ด้วยอุเบกขาในกามสัญญานั่นเอง)

อุเบกขาต้องไปตามลำดับครับ ในคนที่ยังมีกิเลส ก็ต้องปฏิบัติตั้งแต่ต้นทางไปก่อน ไม่ใช่แบบคุณจะมา
มรรคจิตผลจิตโลกุตรจิต นั่นจิตที่ขณะบรรลุธรรมแล้ว

เมื่อใหม่ต้องพยายามวางเฉยในรูปนามที่กำหนดรู้อยู่ เรียกว่า วิริยุเบกขา
และการกำหนดรู้รูปนามที่ปรากฏเช่น ปวดหนอ แล้ววางเฉย เป็นต้น เรียกว่า เวทนูเบกขา
เมื่อปฏิบัติแบบกำหนดรู้ในสภาวะที่ปรากฏโดยปัจจุบันแล้ว สติที่รุ้สภาวะนั้นย่อมไม่คำนึงถึงอดีตหรือ
อนาคต ปราศจากการกำหนัดใคร่ หรือคำนึงถึงกาม ในขณะนั้นเรียกว่า ปาริสุทธิอุเบกขา
เมื่อเห็นความเกิดดับของรูปนามที่กำหนดรู้อยู่ในขณะปฏิบัติ(ถึงอุทยัพยญาณ) ขณะนั้นเอง จิตจะ
บริสุทธิ์และวางเฉย อันเนื่องมาจากรู้ไตรลักษณ์(เกิดดับ) คือรู้ปกติของรูปนามแล้ว ก็วางเฉยเพราะเข้า
ใจว่า แท้จริงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา เมื่อนั้น อุเบกขาจะเป็น วิปัสนูเบกขา เมื่อผ่านพ้นจุดนี้ไป
แล้วตามลำดับการปฏิบัติ ตอนนั้นเองจะเป็นตัตรมัชฌัตตาอุเบกขา(ตัตรมัชฌัตตาเจตสิก) หลังจาก
อุเบกขาระดับนี้กล้าแล้ว ต่อไปจะเข้าสู่ลำดับสังขารานุเบกขาญาณ ตรงนี้เองเรียกว่า โพชฌงค์อุเบกขา
ไปตามลำดับครับ ไม่ใช่จะมามรรคจิตผลจิตหรือโลกุตรจิตได้เลย


แหม๋เกือบลืมบอกเลย วิธีของสมถยานิกนั้น ใช้ ฌานุเบกขา ครับ แล้วก็ต่อด้วยอุเบกขาอื่นๆตามแนว
เดียวกัน ต่างแต่เริ่มคนละที่เท่านั้นเอง


เช่นนั้น เขียน:
ปฏิจจสมุปบาทแห่งจิตท่าน ย่อมดำเนินไปดังนี้ อปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณเจริญขึ้น ความหยั่งลงแห่งนามรูป จึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา ก็คือการวางอุเบกขาในกามสัญญาของท่าน)
จึงมีตัณหา (ซึ่งเป็นวิภวตัณหา หรือ ภวตัณหา ความไม่อยากเอาซึ่งเวทนาทั้งหลายอันเกียวด้วยกามสัญญานั้น หรือความเป็นผู้มีอุเบกขาเวทนาเพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในอุเบกขาในกามสัญญา)
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ในกามุปาทาน ทิฐปาทาน สีลัพตุปาทาน อัตวาทุปาทาน ) ครบทุกตัวเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ)[/color]

กำหนดแบบไม่จงใจ ก็เป็นอันตัดรอบของปฏิจจะสมุปบาทได้แล้วครับ อ่านโพสก่อนที่คุณอ้างมาซิ
ถ้าไม่จงใจหรือดำริถึง ตอนท้ายบอกว่าภพชาติไม่มี ด้าล่างคุณก็อ้างมานิครับ ลองอ่านดู ผมขีดตรง
เงื่อนไขไว้ให้แล้ว

เช่นนั้น เขียน:
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่
ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อ
ไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว
ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง
มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


นอกจากจะไม่รู้จริงถึงวิธีเขาแล้ว ยังอ่านหนังสือไม่ถ้วนถี่อีก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อม
เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ ฯลฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

อธิบายแล้ว ดูดีๆ พองยุบเขามีวิธีตามพระพุทธวจนะ และที่สำคัญ
กำหนดแบบ ไม่จงใจ ไม่ดำริ ไม่ครุ่นคิดถึง เพราะกำหนดตามสภาวะที่เกิดเองปรากฏเอง ฉะนั้น ข้อหาของ
คุณที่ใส่ร้ายวิธีพองยุบมาด้านล่างนี้ เป็นอันจบไปได้เลย
เช่นนั้น : การตรึกวิตกในกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออุปธิอันก่อภพต่อไป

เช่นนั้น เขียน:
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เห็นเปล่าครับ ว่าไม่เป็นอารมณ์ปัจจัย เพราะญาตปริญญา(กำหนดรู้) ปหานปริญญา(กำหนดละ,รู้ไปไม่จง
ใจ ไม่ดำหริ ไม่ครุ่นคิด ก็เท่ากับละอารมณ์นั้นไป ปัจจัยที่จะก่อภพชาติเลยไม่มี)

มองวิธีอื่นให้สุดทางก่อนครับ ก่อนที่จะว่าคนอื่นทำไม่ถูก วิธีการปฏิบัติในสยามประเทศมีมากมาย
ล้วนตรงตามพระพุทธพจน์ทั้งนั้น จะช้าจะไว ก็อยู่ที่จริงจังกับวิธีนั้นแค่ไหน
ว่าแต่คุณเถอะ บอกได้หรือยังว่าทำมรรคจิต ผลจิต โลกุตตรจิตในเวลาปฏิบัติได้อย่างไร รอคำตอบอยู่

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ

ปัจจุบัน มาจากคำว่า ปฏิ+อุปปันนะ แปลว่า สภาวะที่ปรากฏเฉพาะ+เข้าถึง
แปลรวมว่า เข้าถึงสภาวะที่ปรากฏเฉพาะ ในความหมายคือ เข้าถึงสภาวะที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า
เช่น เมื่อเดิน สภาวะที่ปรากฏเฉพาะคือ การเคลื่อนไปของเท้า กำหนดรู้ว่า เดินหนอ จิตรู้สภาวะที่เท้า
เคลื่อนไป เขาละรูปนามตั้งแต่รู้แล้ว ไม่พัวพัน เพียงแต่เมื่อรูปนามยังปรากฏอยู่ ก็รู้ตามที่ปรากฏอยู่ขณะ
นั้น
คุณครับ ต้องเทียบบทพยัญชนะก่อนนะครับ ก่อนจะตีความมา ไม่งั้นมั่ว ลองดูที่มหาปรินิพพานสูตรนะ
ครับ พระองค์บอกว่า เทียบบทพยัญชนะก่อนนะครับ บังเอิญผมพอรู้ภาษาบาลี เลยแปลออก


เช่นนั้น เขียน:
การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต

ไหนละวิธีเปลี่ยน อย่าอ้างมาแค่โวหารมั่วๆ ลองบอกวิธีมาซิครับ
มรรคจิตนั้น เป็นจิตขณะบรรลุธรรม เอามาอ้างเป็นวิธีปฏิบัติอีก คุณนะคุณ จะมั่วไปถึงไหน

เช่นนั้น เขียน:
สังวรปธาน
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์

แล้วกัน พูดถึงวิธีปฏิบัติ คุณมั่วไปตอนบรรลุแล้ว
ส่วนสังวรปธาน พระองค์แสดงถึงการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะครับ คุณอย่าไปตีความว่าเป็น
การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4
จะผิดพระพุทธพจน์นะครับ ไม่ดีเลย

เช่นนั้น เขียน:
สติ
เช่นนั้น: เกิดพร้อมกุศลจิตอยู่แล้ว ละภิชฌาโทมนัสเสียได้คือสติ เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

ตัวที่ละอภิชฌาและโทมนัส คือสติที่อยู่กับสภาวะที่ปรากฏโดยปัจจุบันครับ เพราะปัจจุบันนั้น ความ
หมายคือ ไม่ตกไปอดีตหรืออนาคต เมื่อไม่ตกไป ก็จะไม่สามารถปรุงได้ว่ายินดีหรือยินร้าย
เอ...พองยุบก็ไม่ตกไปสู่อดีตหรืออนาคตนะเนี่ย ยิ่งถกกับคุณ ผมยิ่งศรัทธาทางสายนี้เลย

เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนา
เช่นนั้น : เกิดร่วมเกิดพร้อมกับสมถะในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่เกิดก่อนหลังกันได้ในจิตดวงเดียวกัน แต่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ในจิตวิปัสสนา

เห็นหนอ เป็นบรกรรม สมถะเกิดแล้วครับ สมาธิมีแล้วเป็นขณะๆที่บริกรรม
การเห็นรูปนามที่กำหนดอยู่เกิดแล้วดับไปตามสภาวของรูปนามนั้น เป็นวิปัสสนาครับ
เอ...พองยุบนี่ครบเลยนะเนี่ย

เช่นนั้น เขียน:
เช่น นั้น: วิปัสสนา ใช้สมถะที่เป็นลักขณูปณิชฌาน คือเป็นปฐมฌาน ทุติยะฌาน ตติยะฌาน และจตุตถฌานชนิดสุญญตะ หรือชนิดอนิมิตตะ หรือชนิดอัปณิหิตตะ ประกอบกับปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจิตวิปัสสนา

ไปอ่านเรื่องฌาน ๒ ใหม่ ที่ผมอ่านเจอมา มีแต่
อารัมณูปนิสัชฌาน คือ การเข้าไปเพ่งอารมณ์ ได้แก่ ฌานและสมาบัติ
ลักขณูปนิสัชฌาน คือ เข้าไปเพ่งลักษณะ หมายถึง สติปัฏฐาน ๔

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น : การใช้ปัญญาทำลายกิเลสสังโยชน์ ด้วยปัญญาในอินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสมีตินทรีย อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์

สังโยชน์ใช้ปัญญาตัดนะครับ ปัญญาตรงข้ามกับอวิชาไงครับ
อินทรีย์ เป็นตัวเร่งให้เกิดพละในขณะจะตัดสังโยชน์ครับ

เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น :ญาณแต่ละญาณข้ามลำดับได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะทำเหตุต่างกัน

ไม่มีข้าม ต้องไปตามลำดับ มรรคผลไม่มีทางลัด แต่จะไปไวจนจับไม่ทัน เพราะที่ไป หมายถึงจิต
จิตนั้นไวกว่าที่เราจะทันได้เท่านั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
สุขวิปัสสโก
เช่น นั้น : สุขวิปัสสโก เป็นผลเป็นวิบากแห่งมรรค เหตุคือมรรคจิตดวงเดียวเหตุอย่างเดียว ให้ผลได้หลายอย่าง เป็นสุขวิปัสสโกบ้าง เตวิชโชบ้าง ฉลภิญโญบ้าง และปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง สิ่งเหล่านี้ได้มาเป็นของแถมกับอาสาวกขยญาณ ไม่ได้อยู่ที่ทำเหตุเหล่านี้ก่อนวิปัสสนาหรือมรรค

สุกข ตัวนี้นะครับ แปลว่าแห้งแล้ง
ท่านที่ได้ประเภทนี้ เป็นผู้ดำเนินตามสุทธวิปัสสนา ไม่ทำเานจิตก่อน เรียกรวมว่า ปัญญาวิมุต
ส่วนที่มีอภิญญา หมายถึงท่านที่ทำฌานจิตก่อน เรียกว่า เจโตวิมุต


เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนาจิต
เช่นนั้น : วิปัสสนาจิตต้องมีสมาธิหรือสมถะในจิตเสมอ ต้องเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌาน

คำว่า วิปัสสนาจิต คุณเอามาจากไหน
ส่วนลักขณูปนิชสัชฌาน เขากำหนดลักษณะของรูปนามกันตั้งแต่เริ่มเลย พร้อมบริกรรมในใจ
ครบหรือยังครับ ทั้งสมถะ และ วิปัสสนาเลย จะเอาแบบนี้ก็อธิบายได้อีกนะ

เช่นนั้น เขียน:
สมถะหรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
เช่นนั้น : ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตก่อน แต่อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์จึงจะเกิดพร้อมในมัคคจิต สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่มรรคจิต

คุณตีความไม่ให้วิธีปฏิบัติอื่นครบ ยังไงก็ไม่ครบ ความจริง พองยุบมีครบเลยนะ ดูดีๆ

เช่นนั้น เขียน:
การปฏิบัติธรรม
เช่น นั้น : จิตเป็นโลกกุตรฌาน ในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ใช้ปฐมฌานหรือฌาน1-4 ในการเจริญสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑

ถ้ารู้จริง บอกผมมาว่า ทำอย่างไรจิตที่เป็นโลกุตตรฌาน
ไหนบอกว่าไม่เอากามาวจรไง ฌาน ๑-๔ นั้นเป็นกามาวจรนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
สมาธิ
เช่นนั้น : คือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในทุกอิริยาบถ

พองยุบเป็นอกุศลตรงไหน เข้าใจอุกศลจิตดีหรือยังครับ

เช่นนั้น เขียน:
การละนิวรณ์
เช่นนั้น : ละนิวรณ์ได้พร้อมเกิดฌานทันทีในจิตดวงนั้น จิตที่เป็นฌานคือจิตที่ละนิวรณ์ได้สำเร็จ

ไม่สังเกตหรือครับ พระพุทธพจน์ ท่านบอกละนิวรณ์ก่อนเข้าปฐมฌาน

ผมจะบอกเป็นธรรมทาน
ในวิธีสมถะนั้น เมื่อวิตกวิจารณ์สำเร็จ นิวรณ์เบื้องต้นระงับไป
รู้จักวิตก วิจารณ์ ไหมครับ ถ้าเคยทำฌานจริง ต้องรู้จักครับ

เช่นนั้น เขียน:
มรรคผล
เช่นนั้น : มรรคเป็นเหตุแห่งผลอย่างเดียวไม่ต้องผ่านญาณต่าง ๆ ต้องการญาณไหนเจริญญาณนั้น

ข้ามขั้นไปได้อย่างไร บิดเบือนพระพุทธพจน์นะครับ อ่านซิครับ พระไตรปิฎกท่านตรัสไปตามลำดับทั้งนั้นเลย

เช่นนั้น เขียน:
การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน
เช่นนั้น : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน คือเห็นแจ้งในอริยะสัจจ์ 4 หรือวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิตในปัจจุบันขณะ

เห็นรูปนามที่กำหนดอยู่นั้น เกิดดับๆ นี่ทุกข์ยังครับ ทุกข์เพราะมั่นไม่ตั้งอยู่ นี่ละเขาเห็นอริสัจตรงนี้
เรื่องอื่นไม่ต้องพูดถึงว่าจะไม่รู้ได้

เช่นนั้น เขียน:
ปรมัตถ์
เช่นนั้น : มรรคจิต 4 ผลจิต4 นิพพาน คือปรมัตถ์ คือโลกกุตตรธรรม

กลับไปเรียนใหม่ครับ ดูเหมือนว่าคุณตีความปรมัตถ์ไม่เป็น กายเป็นรูปอย่างหนึ่ง คุณคิดว่ารูปไม่ใช่
ปรมัตถ์เหรอครับ คุณไม่เข้าใจสมมติกับปรมัตถ์อีกด้วย

เช่นนั้น เขียน:
โลกุตตรฌาน
เช่น นั้น : ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว โลกุตตระฌานหรือลักขณูปณิชฌานในวิปัสสนาจิตปุถุชนสามารถเจริญได้เลย จนบรรลุมัคคจิต

ก็ถูก ต้องไปตามลำดับนะครับ ปุถุชนจะทำโลกุตรฌานไม่ได้
โลกตุตรแปลว่าพ้นโลก โลกุตรมี ๙ ไปอ่านใหม่ มีแต่อริยะทั้งนั้นเลย ปุถุชนยังทำไม่ได้
แต่เขาหมายถึงการปฏิบัติของผู้ได้ฌานที่เป็นพระอริยะแล้วแต่ยังไม่ถึงพระอรหันต์


เช่นนั้น เขียน:
จิตฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้
จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ
กามโภคี : ..........................................................
การกำหนดรู้
เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ
กามโภคี :.................................................................

มีอธิบายในโพสเก่าๆแล้ว ที่ว่าๆมาแบบนี้ หมดทางแล้ว ว่าอย่างเดียวหาเหตุผลไม่เจอเลย
แถมว่าวิธีของพระพุทธเจ้าอีกด้วยซิ กรรม...

ตอบได้หรือยังว่า ทำโลกุตรจิตอย่างไรถึงเอามาปฏิบัติได้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกามโภคี

ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยท่านกามโภคี ครับที่เช่นนั้นใช้ภาษาอันทำให้ท่านกามโภคี ไม่เข้าใจ
ท่านกามโภคี จึงไม่ได้แสดงความเห็นประกบ นิยามต่อนิยาม

ในบทที่เป็นการแสดงนิยามตามที่เ่ช่นนั้นเข้าใจ เช่นนั้น ไม่ได้ปราถนาจะแสดงความเห็นว่า เช่นนั้นถูกหรือผิด และไม่ต้องการให้ท่านแสดงความเห็นว่าถูกหรือผิดเช่นกัน

ช่องว่างที่เป็นจุดปะไข่ปลา มีไว้เพื่อให้ท่านแสดงนิยาม ที่ท่านเชื่อว่าถูกต้อง เหมือนที่เช่นนั้นก็แสดงในส่วนของเช่นนั้น ว่าเช่นนั้นเชื่อถูกต้อง

เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจประเด็นว่าอะไรตรงกันอะไรไม่ตรงกัน เท่านั้นเอง

ก็ขอความกรุณา แสดงนิยามของท่านปะกบ กับนิยามของเช่นนั้น เท่านี้เองละครับ

เจริญธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร