วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 12:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
๑.ยังเป็นเริ่มพอง พอง และสุดพอง แต่ไม่ยาว และไม่มาก คือ
กลาง เหมือนลูกโป่งใบย่อม แต่บางครั้งก็เหลือเท่ากำปั้นค่ะ


ตรงนี้ขอให้ใส่ในเพิ่มลงไปอีกนิดครับ ให้สังเกตรายละเอียดตั้งแต่เริ่มพอง เป็นต้นไป
อย่าได้ละไป ใส่ใจจนสุดพองสุดยุบ ถ้าใส่ใจแล้วจะเห็นความจริงบางอย่างเอง
ลักษณะจะโป่งจะพองแบบไหนไม่ใช่ประเด็นครับ รู้ตามจริงของเขา การใส่ใจนั้น
จะช่วยแก้สภาวะงุบได้ด้วยครับ ให้ทันปัจจุบันด้วยนะครับ

คุณทักทายครับ พองหนอ....ยุบหนอ ช่วงที่...... ระยะห่างมากเท่าไรครับ
ช่วยสังเกตแล้วแจ้งด้วยนะครับ


taktay เขียน:
๒.ไม่รู้สึกอะไรเลย นอกจากเวลาแตะพื้นพรหมก็จะนุ่ม ที่เคยจั๊กจี้ก็ไม่มีแล้วค่ะ


ให้ใส่ใจรายละเอียดเช่นกัน คือเริ่มตั้งแต่เท้าเริ่มขยับและพยายามช้าเท่าที่ไม่ลำบาก ไม่ต้องจดจ่อ
มากไป แต่เพิ่มขึ้นนิดนึง รู้จนไปตลอดสายของระยะ การเดินช้าลงจะช่วยให้สติและจิตรับรู้ได้ทัน
และจะทันปัจจุบันได้ดี
ผมขอเพิ่มเทคนิคนิดหน่อยครับ ในขณะที่เท้าแตะลงพื้น และสิ้นสุดระยะ คือลงหนอไปแล้ว
หากว่าในขณะนั้น ที่เท้ารู้สึกถึงความอ่อนนุ่มหรือหระด้างของพื้นอย่างชัด ก็กำหนดที่สภาวะนั้น
เช่น นุ่มหนอ แข็งหนอ เย็นหนอ หรือจะ รู้หนอ คือรู้สภาวะนั้น ไม่สักแต่บริกรรม จิตต้องรู้สภาวะด้วย
ครับ


taktay เขียน:
๓.ถ้าคิดจะกำหนดไม่ต่ำกว่าสามครั้งบางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย ต้องทิ้งตามที่อาจารย์
เคยแนะนำ ถ้าเป็นภาพต่างๆ กำหนดบางทีก็ครั้งเดียวก็หาย อย่างนานก็ไม่เกินสามครั้งค่ะ
แต่ถ้าอย่างไหนหายเร็ว ก็จะเกิดใหม่เร็วเหมือนกันค่ะ อย่างแสงนั้น กำหนดครั้งเดียวก็หาย
แต่เดียวอีกแป๊ปก็มาใหม่แบบเร็ว แทบไม่ทันรู้ก็มีค่ะ


การกำหนดนานหายหรือไม่นาน ความจริงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่อยากรู้เพื่อประเมิญสติสมาธิทั้งนั้น
ในการปฏิบัติ มุ่งรู้ที่สภาวะปรากฏ รุ้แบบรู้ทันที คือรู้ปัจจุบันของอาการที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นๆ และ
เมื่อเข้าไปรู้อาการหรือสภาวะใดแล้ว เราก็ต้องรู้ไปจนสุดสายของสภาวะหรืออากรนั้น ที่ผมอนุโลม
ให้ละได้เมื่อนานไป ส่วนมากจะเป็นเสียงที่มีอยู่ตลอดหรือมีอยู่เรื่อยๆ หรือสภาวะที่เกิดซ้ำๆบ่อย
เพราะกำหนดมากไปจะไหลลงที่บริกรรม กลายเป็นสติเผลอไปอีก

การกำหนดเรามีฐานที่สติควรเข้าไปกำหนดรู้ถึง ๔ ที่ ไล่ตั้งแต่หยาบถึงละเอียด(กาย เวทนา จิต ธรรม)
แต่เมื่อสรุปแล้วคง ๒ อย่างคือ รูปนาม การกำหนดอิริยาบถน้อยใหญ่เป็นรูป ข้อนี้เราต้องกำหนดไป
จนจบอิริยาบถนั้นๆ การกำหนดอาการที่ใจรับรู้สภาวะสุขทุกข์ เช่น เจ็บ ปวด ชา เมื่อย ข้อนี้ถ้าอยู่
ในการเดินนั้งบัลลังค์ ควรกำหนดไปตลอดจนสุดสาย การกำหนดที่จิต ที่ฟุ้งอยู่ คิดอยู่ ต้องกำหนด
ทันทีเมื่อรู้อาการนั้นๆ เมื่อสติสมาธิดีมากแล้ว จะเห็นตั้งแต่เริ่มจะคิดจะฟุ้งเลย และก็เช่นกัน ต้องกำหนด
ทันทีและกำหนดไปตลอดสาย การกำหนดที่อายตนะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย(สัมผัสป เมื่อมีสิ่งใดมา
กระทบ ก็ให้กำหนดทันที่ที่รู้ และควรจะเป็นการกระทบกันแบบชัดเจน เสียงแว่วๆเล็กๆกับท้องพองยุบ
หรืออิริยาบถที่ยืนอยู่ ข้อนี้ควรใส่ใจที่ท้องกับการเดินดีกว่า เพราะถ้าใส่ใจในเสียงหรืออารมณ์ที่ไม่ชัด
เจน จิตมักจะวิ่งหาอารมณ์ คือหาความชัดเจน ตรงนี้เองที่กิเลสหลอกเราออกจากกรรมฐาน เรารับรู้
เฉยๆ ไม่ให้วิ่งหาสภาวะรู้ อย่างที่กล่าว สภาวะใดที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าเป็นของที่ตั้ง
อยู่นาน เช่นเสียงเครื่องซักผ้าที่ทำงานอยู่ ข้อนี้จะละบ้างก็ได้ แต่นิมิตหรือแสงนั้น เราต้องตามตลอด
สาย ตามดูรู้จนสุดทางจบดับหายไป เพราะเกิดที่มนายตะ คือทางใจ แต่ดุจตาเห็น

ตามวิธีปฏิบัติ การตามรู้สภาวะที่จะทำให้ได้ผลดีนั้น ต้องได้ปัจจุบัน คือขณะที่ปรากฏนั้นๆเลย
และอยู่กับปุจจุบันขณะจริงๆ ไม่ลังเลในอาการสภาวะที่ผ่านไปแล้ว และไม่กะเกณฑ์คาดเดาในสภาวะที่
ยังไม่เกิด ตามพระสูตร ท่านตรัสตรงๆเลยว่า มีสติเฉพาะหน้าอยู่ อีกประการหนึ่ง การกำหนดรู้นั้น
ต้องวางเฉย คือใจต้องเฉย พระสูตรท่านแนะนำไว้ดีมากครับ ท่านตรัสว่า นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้ กล่าวคือ ไม่โลภเมื่อพบเห็นสภาวะต่างๆ ไม่มีความไม่พอใจในสภาวะต่างๆที่รู้อยู่ ข้อนี้ต้อง
ใช้ให้มากครับ การกำหนดแล้วหายช้าก็มาจากไม่เป็นกลางเสียมากเช่นกัน


taktay เขียน:
๔.แล้วแต่ค่ะ บางครั้งกำลังพองหนอ ก็งุบ พอหนอปุ๊ป งุบปั๊ปก็รู้ว่างุบ ก็กำหนดยังไม่ทัน
เสร็จก็สงสัย ว่าง่วงหรือเปล่าก็กำหนดต่อเลยว่า "สงสัยหนอ" พอมีสภาวะอะไรแทรกก็กำหนด
ต่อไป บางทีกำหนดยังไม่ทันหาย ก็งุบอีกแล้ว ซ้อนๆขึ้นมาค่ะ แต่ไม่ว่าจะกำหนดอะไรอยู่
ก็จะรู้ว่างุบอีกแล้ว ก็จะสงสัยตามมาทุกทีว่าง่วงไหม? กำหนดสักสองครั้งงุบหาย ก็จะโยกอีก
แล้ว เหมือนกันเลยคือกำหนดอะไรอยู่ก็จะรู้ว่าโยก แต่ว่าไม่แรงนะค่ะทั้งสองสภาวะ เป็นแบบนิด
เดียวจริง แค่พอรู้ว่าเกิดอาการค่ะ แล้วพอเรารู้ว่าเป็นอาการแบบนี้ พอกำหนดก่อนจะหายมีอาการ
เหมือนเรานอนแล้วถูกปลุกค่ะ คือมึนๆ สะดุ้งๆ อะไรแบบเนี๊ยะ อธิบายไม่ถูกค่ะ ว่าคืออะไร?
สรุปว่าทั้งจิตและสติจะอยู่ที่สภาวะตอนนั้นๆค่ะ ว่ากำลังกำหนดอะไรอยู่
อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:


แนวทางที่ผมคิด อาการงุบของคุณ มาจากการที่จิตอยู่กับบริกรรมมากไป คือใส่ใจอาการที่ท้องพองยุบ
น้อยไปกว่าการสังเกตุอาการพองยุบของท้อง จริงๆแล้ว กำลังพองหนอแล้วงุบนั้น ท้องอาจไม่พองจริง
ก็ได้ ข้อนี้ให้สังเกตให้ดี ถ้าเก็บรายละเอียดท้องที่พองยุบดีๆ หรืออารที่เรากำหนดรู้อยู่ดีๆ อาการงุบ
เหมือนจะเกิด แต่ไม่เกิด พอเราใส่ใจตอนกำลังจะงุบ จะเหมือนไม่เกิดเลย เรียกว่าตกภวังค์ ถ้าสันตติ
ขาดในความหมายของผม คุณต้องเห็นมันขาดไปเลยจริงๆ ขาดเห็นๆเลย ที่คุณแจ้งมาไม่บอกว่าเห็น
ให้สังเกตดูนะครับ สติและจิตช่วงที่งุบ เหมือนขาดไป นั่นแหละครับ มันตกภวังค์ คนนอนหลับก็ตกอยู่
ในภวังค์จิตครับ แต่ตอนนอนหลับ จะเกิดถี่กว่า และต่อเนื่องยาวกันไป ในชีวิตประจำวัน ภวังค์จิตก็มี
แทรกมาในขณะจิต เหมือนเป็นช่องว่างระหว่างจิตก็ได้ แต่เป็นจิตชนิดหนึ่ง ไวมาก ไวจนเราไม่เห็น
แต่ถ้าสติสมาธิดี จะรู้เลย

ข้อเรื่องจิตตกภวังค์นี้ ใช้ประโยชน์ได้อย่างเดียว คือรู้ว่าคุณสติด้วยกว่าสมาธิไปหน่อย วิธีแก้ที่ดีที่สุด
ผมแนะไปแล้วในข้อที่ ๑ คือใส่ใจรายละเอียด อาการนี้น่าจะมาจากสมาธิมากและสติหันไปทางบริกรรม
มากกว่าดูรู้ตามสิ่งที่กำหนดอยู่ ก็เลยเกิด ข้อนี้ผมแก้แบบนี้แล้วได้ผล ทุกวันนี้แทบไม่เกิดเลย บางทีต้อง
อยากให้เกิด เพราะใจผมอยากเข้าใจตัวนี้มากๆ เวลาแนะนำจะได้ทำทีเดียวขาดไปเลย แต่พอไปจ้องดู
มันมากเข้า เหมือนสติเราจดจ่อ ไม่เกิดให้เห็นเลย เป็นซะอย่างนั้นไป

ตอนนี้ส่วนมากสภาวะจะวนๆแบบนี้ เนื่องด้วยสติสมาธิ ปัจจุบัน และวางเฉยที่ยังทำงานไม่เข้าขากันดีนัก
ค่อยๆปรับไปครับ พยายาม อดทน เราสู้กับตัวเอง และตัวเองหรือจิตใจเรานี้ ชนะยากที่สุด ต้องอดทน
ต้องทั้งปลอบทั้งขู่ เราตามใจตัวเองมามากพอแล้ว ลองตามเหตุตามผลดูบ้าง คงไม่สาหัสเท่าไรนะครับ
มีอะไรต้องการทราบด่วนก็ที่เอ็ม

แนะนำ อย่าลืมเดินระยะที่ ๑ ซัก ๑๐ นาทีก่อนนะครับ ใส่ในแบบเก็บรายละเอียดด้วย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ค่ะ เมื่อคืนเข้าปฏฺิบัติโดยที่ไม่ได้เปิดอ่านบอร์ด
ก่อน ก็เลยยังไม่ได้พิจารณา การพองยุบค่ะ มีรายงานดังนี้

เดินระยะหนึ่งขวา ย่าง หนอ กำหนดจิตตามการย่างเท้าตามที่อาจารย์แนะนำ สิบนาที
ไม่ค่อยฟุ้ง รู้สึกอยู่ที่เท้าแทบตลอดการเดิน มีเสียง มีปวดแขน นิดหน่อยก็กำหนดไปตาม
นั้น พอครบก็เดินระยะสามตามเดิมอีกสามสิบ รู้สึกดีขึ้น ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้น มีจุกจิก
บ้างนิดหน่อย ก็กำหนดตามนั้น กำหนดแค่สองสามครั้งก็หาย
แล้วก็ถึงเวลานั่งยี่สิบนาที พองยุบเป็นปกติ รู้สึกว่าครั้งนี้สม่ำเสมอ ทั้งความสั้นยาว ความแรง
ค่อย ความจางชัด เท่ากันทั้งยุบและพอง สักสิบนาทีได้ก็เริ่มคิดแล้วเริ่มจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง
คือจับไม่ได้ว่าอะไรเป็นคนก่อน ก็กำหนดเห็นหนอ ครั้งเดียวก็หาย แล้วกลายเป็นหมูชัดมากๆ
ยี่นหน้ามาใกล้าหน้าเรามาก ก็กำหนดเห็นหนอ มากกว่าหกครั้งถึงจะหาย พอหายปั๊ปยังไม่ทัน
กลับมาหาพองยุบเลย กลายเป็นควายอีกแล้วยี่นหน้าเข้ามาใกล้เหมือนกัน แต่เป็นควายที่แปลกค่ะ
เขาแทนที่จะอยู่ข้างหู กลับงอกออกจากหน้าผาก โง้งไปข้างหลัง ก็กำหนดเห็นหนอ นานอีก
เหมือนกันถึงจะหาย พอหายไปกำลังพองยังไม่ทันยุบเลย เป็นสารพัดสัตว์เลยเรียงมาแบบเยอะมาก
จำได้อยู่อย่างเดียวว่าตอนแรกเป็นดวงขาวๆเหมือนดวงไฟแต่สีขาวแล้วก็เพิ่มตัวเร็วมาก แล้วก็รวมตัว
กันอีก จนเหลือสามดวงติดกันเป็นสามเหลี่ยมเหมือนเชื้อโรคอะไรสักอย่าง ก็กำหนดเห็นแล้วก็กลาย
เห็นตัวอะไรไม่รู้ยุบยับไปหมดทั้งเป็ดไก่ปลาแมงแมลง ขณะที่กำหนดว่าเห็น ก็ยังรู้พองยุบชัดอยู่
ก็นานอีกเหมือนกันกว่าจะหาย ไม่ต่ำกว่าหกครั้ง ถ้าเป็นภาพจะกำหนดนานกว่าจะหายไป แล้วก็กลับมาหาพองยุบได้ สักพักเหมือนมีตัวอะไรมาเดินอยู่ที่ขาใต้ตัก ก็รู้หนอสองสามครั้งหายค่ะ ขณะกำลังพองยุบอยู่ เพื่อนเปิดประตูห้องมาชะโงกดู ได้ยินเสียงเปิดประตู สะดุ้งสุดตัวเลย
รู้เลยว่าตัวกระตุก ก็รีบกำหนด สะดุ้งหนอ หกเจ็ดครั้งกว่าจะหาย แต่คืนนี้ไม่กลัวแล้วค่ะหายไป
แล้ว พอเสร็จการปฏิบัติเมื่อคืนค่อนข้างดึก มาเปิดดูบอร์ดก่อนนอน เพิ่งเห็นว่าอาจารย์ให้
พิจารณาพองยุบ ก็เก็บเอาไปปฏิบัติในฝัน ขณะที่นอนอยู่ บางขณะก็พยายามจับดูการพอง
ยุบ แต่ก็แบบเบลอๆ ไม่ค่อยได้เรื่องค่ะ รู้แต่ว่าเวลาพอง ลมมันก็ค่อยๆผ่านเข้าไปตอนต้น
ไม่ค่อยรู้จะไปรู้ตอนที่ถึงหน้าอกว่ามันค่อยๆพอง จนลมไปถึงท้องก็จะพองสุดๆ แล้วก็จะค่อยดัน
ออกมา พอมาถึงปลายจมูก ท้องถึงค่อยๆยุบ และยุบสุดๆเมื่อลมอันสุดท้ายออกมาถึงปลายจมูก
ก็ไม่รู้ว่าฝันไป หรือว่าทำจริงๆตอนหลับค่ะ เรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
คืนนี้จะลองของจริงแล้วจะรายงานให้ทราบนะค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
เรียนอาจารย์ค่ะ เมื่อคืนเข้าปฏฺิบัติโดยที่ไม่ได้เปิดอ่านบอร์ด
ก่อน ก็เลยยังไม่ได้พิจารณา การพองยุบค่ะ มีรายงานดังนี้
เดินระยะหนึ่งขวา ย่าง หนอ กำหนดจิตตามการย่างเท้าตามที่อาจารย์แนะนำ สิบนาที
ไม่ค่อยฟุ้ง รู้สึกอยู่ที่เท้าแทบตลอดการเดิน มีเสียง มีปวดแขน นิดหน่อยก็กำหนดไปตาม
นั้น พอครบก็เดินระยะสามตามเดิมอีกสามสิบ รู้สึกดีขึ้น ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้น มีจุกจิก
บ้างนิดหน่อย ก็กำหนดตามนั้น กำหนดแค่สองสามครั้งก็หาย


สาธุ ดีแล้วครับ จิตรับรู้อะไร อาการใด รับรู้กำหนดตามนั้น พยายามให้ทันปัจจุบัน
จิตต้องรู้แบบวางเฉย ไม่อยากรู้อยากเห็นหรือพอใจ หรือรุ้สึกไท่พอใจในอารมณ์อาการต่างๆ
ดีแล้วครับ กำหนดรู้ไปอย่างนี้ เรามีหน้าที่กำหนดรู้ครับ


taktay เขียน:
แล้วก็ถึงเวลานั่งยี่สิบนาที พองยุบเป็นปกติ รู้สึกว่าครั้งนี้สม่ำเสมอ ทั้งความสั้นยาว ความแรง
ค่อย ความจางชัด เท่ากันทั้งยุบและพอง สักสิบนาทีได้ก็เริ่มคิดแล้วเริ่มจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง
คือจับไม่ได้ว่าอะไรเป็นคนก่อน ก็กำหนดเห็นหนอ ครั้งเดียวก็หาย แล้วกลายเป็นหมูชัดมากๆ
ยี่นหน้ามาใกล้าหน้าเรามาก ก็กำหนดเห็นหนอ มากกว่าหกครั้งถึงจะหาย พอหายปั๊ปยังไม่ทัน
กลับมาหาพองยุบเลย กลายเป็นควายอีกแล้วยี่นหน้าเข้ามาใกล้เหมือนกัน แต่เป็นควายที่แปลกค่ะ
เขาแทนที่จะอยู่ข้างหู กลับงอกออกจากหน้าผาก โง้งไปข้างหลัง ก็กำหนดเห็นหนอ นานอีก
เหมือนกันถึงจะหาย พอหายไปกำลังพองยังไม่ทันยุบเลย เป็นสารพัดสัตว์เลยเรียงมาแบบเยอะมากจำได้อยู่อย่างเดียวว่าตอนแรกเป็นดวงขาวๆเหมือนดวงไฟแต่สีขาวแล้วก็เพิ่มตัวเร็วมาก แล้วก็รวมตัว
กันอีก จนเหลือสามดวงติดกันเป็นสามเหลี่ยมเหมือนเชื้อโรคอะไรสักอย่าง ก็กำหนดเห็นแล้วก็กลาย
เห็นตัวอะไรไม่รู้ยุบยับไปหมดทั้งเป็ดไก่ปลาแมงแมลง


ที่คุณทักทายเห็น คือเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจไม่จริงเสมอไป เรากำหนดเห็นตามจริงครับ
เช่นเดียวกับข้อแรกเลย
หลังจากเสร็จจากการปฏิบัติแล้ว ก็แผ่เมตตาอุทิศบุญกุศลซักหน่อย

เป็นวิปัสสนูปกิเลสทั้งนั้น ต้องระวังครับ สงสัยก็เป็นนิวรณ์(สภาวะกั้นไม่ให้เห็นไตรลักษณ์)

อาการที่เล่ามา คิดดูดีๆครับ แต่ละอย่างที่เห็น มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะการเปลี่ยนไปนี้เอง
แต่ละอย่างที่เห็นจึงทนอยู่ตั้งอยู่ไม่ได้ ล้วนแต่จะคงตัวปกติหรือหาสาระเป็นแก่นความจริงไม่ได้เลย
เวลาว่างนอกจากเวลาปฏิบัติ ลองคิดเรื่องไตรลักษณ์ดูนะครับ ว่าสภาวะแบบนี้มันเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา หรือเปล่า


taktay เขียน:
ขณะที่กำหนดว่าเห็น ก็ยังรู้พองยุบชัดอยู่


เหมือนจิตเฝ้าดูสองอารมณ์เลย กำหนดสิ่งที่เห็นโดยละการรู้สึกที่พองยุบก่อน เมื่อสภาวะอื่นไม่มีแล้ว
ค่อยกลับมาที่พองยุบ จิตรับทีละอารมณ์ครับ ถ้าสลับไปมา สภาวะที่เห็นจะไม่รู้ชัดซักอย่าง


taktay เขียน:
ก็นานอีกเหมือนกันกว่าจะหาย ไม่ต่ำกว่าหกครั้ง ถ้าเป็นภาพจะกำหนดนานกว่าจะหายไป แล้วก็กลับมาหาพองยุบได้ สักพักเหมือนมีตัวอะไรมาเดินอยู่ที่ขาใต้ตัก ก็รู้หนอสองสามครั้งหายค่ะ


ถูกแล้วครับ กำหนดรู้ไป สติสมาธิถ้ากล้าขึ้นแล้ว จะหายไปไว พยายามวางใจเป็นกลาง
taktay เขียน:
ขณะกำลังพองยุบอยู่ เพื่อนเปิดประตูห้องมาชะโงกดู ได้ยินเสียงเปิดประตู สะดุ้งสุดตัวเลย
รู้เลยว่าตัวกระตุก ก็รีบกำหนด สะดุ้งหนอ หกเจ็ดครั้งกว่าจะหาย


สมาธิดี ก็รู้สภาวะชัดเจนกว่าปกติ อะไรดังถ้าสติหย่อนกว่าสมาธิก็ตกใจง่าย ผมเองก็เคยเป็น
ไม่ต้องย้ายที่ ไม่ต้องหลบ ที่คุณทำอยู่ถูกแล้ว ถ้าสติไว เสียงพอจะเริ่ม จะกำหนดทันปัจจุบันเลย
แล้วจะดับตรงนั้นเอง เมื่อไม่ทัน เข้ามาที่ใจแล้ว(ตกใจ)กำหนดตามที่จิตที่ตกใจอยู่ ก็ใช้ได้ ถ้าสติกล้า
มากกว่านี้แล้ว อาการตกใจจะค่อยๆหายไปเอง ยังปลอดภัยครับ ถ้าตกใจแบบไม่กลัว ตรงนี้ไม่อยากให้
หนี อยากให้ฝึกสติไป เราต้องอยู่กับสภาวะพวกนี้ให้ได้ เพราะเราต้องอยู่กับสภาวะเหล่านี้ทุกวัน เราต้อง
ฝึกให้อยุ่ได้อย่างปลอดภัยครับ


taktay เขียน:
แต่คืนนี้ไม่กลัวแล้วค่ะหายไป
แล้ว พอเสร็จการปฏิบัติเมื่อคืนค่อนข้างดึก มาเปิดดูบอร์ดก่อนนอน เพิ่งเห็นว่าอาจารย์ให้
พิจารณาพองยุบ ก็เก็บเอาไปปฏิบัติในฝัน ขณะที่นอนอยู่ บางขณะก็พยายามจับดูการพอง
ยุบ แต่ก็แบบเบลอๆ ไม่ค่อยได้เรื่องค่ะ รู้แต่ว่าเวลาพอง ลมมันก็ค่อยๆผ่านเข้าไปตอนต้น
ไม่ค่อยรู้จะไปรู้ตอนที่ถึงหน้าอกว่ามันค่อยๆพอง จนลมไปถึงท้องก็จะพองสุดๆ แล้วก็จะค่อยดัน
ออกมา พอมาถึงปลายจมูก ท้องถึงค่อยๆยุบ และยุบสุดๆเมื่อลมอันสุดท้ายออกมาถึงปลายจมูก
ก็ไม่รู้ว่าฝันไป หรือว่าทำจริงๆตอนหลับค่ะ เรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณา
คืนนี้จะลองของจริงแล้วจะรายงานให้ทราบนะค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:


ดีครับ ทำไป แม้จะไม่ชัด ตอนนอนถีนะหรือความง่วงจะมีกำลังมาก สติหย่อน ก็เหมือนหลับๆตื่นๆ
จะว่าตื่นก็ไม่ใช่ จะว่าหลับก็ไม่ใช่ จะว่าฝันก็ไม่ใช่ พอภวังค์จิตเกิดติดต่อกันนานก็หลับไป

อนุโมทนาที่พยายามปฏิบัติอยู่ อดทน พากเพียร วันหนึ่งก็ถึงจุดหมาย ที่พูดกันว่ายากเพราะ
ทำไม่ถูกหรือไม่ทำ ถ้าทำถูกและทำอยู่ อย่างไรก็ไม่พ้นความพยายามเราครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b16: :b29:

cool tongue

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

smiley
:b12: :b12:

ตกลงว่า "เข้าใจกัน" ตามนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ค่ะ

คืนนี้เดินระยะเวลาเท่าเมื่อวาน ตอนเดินระยะหนึ่ง ขวาย่างหนอสิบนาที แทบจะไม่คิด
อะไรเลย มีนิดหน่อยกำหนดแป๊ปเดียวก็หายไป มีเสียง ตัวเอียง เวลายกเท้าแล้วกระดูก
ลั่นได้ยินเสียง กำหนดไปตามนั้นทุกอย่าง รู้ตั้งแต่เริ่มยกส้นเท้า ยกขึ้น ก้าวไปข้างหน้า
แล้วเหยียบลงพื้น พอเหยียบพรหมนุ่มเท้ามากจนถึงมากที่สุด กำหนดตามนั้นหมดค่ะ รู้สึกว่า
ไม่หลงเลย ลืมบอกอาจารย์ว่าบริกรรมไม่ได้ออกเสียงมาสองสามวันแล้ว ช่วงสิบนาทีแรกนี้
รู้ว่านิ่งมากๆ เสียงไม้ลั่นก็กำหนดไปตามนั้น พอครบก็เปลี่ยนเป็นเดินระยะสาม ช่วงสิบนาที
แรก เริ่มคิดก่อน ครั้งนี้กำหนดหลายครั้งกว่าจะหาย พอเรื่องนี้หายปุ๊ปเรื่องใหม่เข้ามา
ก็กำหนดอีก เป็นอย่างนี้ประมาณเกือบสิบนาที่ แต่พอยี่สิบนาทีหลัง ไม่คิดแล้ว รู้การเดิน
ชัดมาก ตั้งแต่ยกส้นเท้า จนเท้าลอยขึ้น ย่างไปข้างหน้าแล้วหยุด เหยียบลงบนพรหม รู้สึก
นุ่มเท้า จนเหยียบเต็มเท้า นุ่มเท้ามากขึ้น ตลอดยี่สิบนาทีหลัง มีปวดเข่าซ้าย กำหนดสามครั้ง
หายไปเลย แล้วมาปวดเอวด้านหลัง แต่กำหนดอย่างไรก็ไม่หาย อาการปวดตรงนี้เป็นมา
สองสามวันแล้วค่ะ กำหนดไม่หาย พอเสร็จจากเดินจะไปนั่งปวดมากๆแทบจะนั่งไม่ได้ แต่พอ
นั่งจริงๆ กลับหายไปไม่ปวด พอครบเวลาก็กำหนดออกหนอๆ อ้อ มีพื้นขยับสองครัังค่ะ
ก็กำหนดไป ครั้งแรกนานหน่อย สักสามสี่ครั้งถึงหาย ครั้งที่สองกำหนดสองครั้งก็หายไป
พอสงสัยก็กำหนดสงสัย เวลาเดินจะมีบางครั้งที่เหมือนจะล้ม ตัวเอนบ้าง ข้อเท้าลั่นบ้าง ก็กำหนด
ตามทุกอย่าง ถ้าทันก็ตามอาการ ถ้าไม่ทันก็รู้หนอค่ะ

แล้วก็มานั่ง เริ่มจากการที่นั่งขัดสมาธิเอามือวางที่เข่าทั้งสองข้างก่อน หลับตาหายใจลึกๆสาม
ครั้งก่อน แล้วก็กำหนดถูกหนอ ตรงที่ตาตุ่มถูกพื้น แล้วก็มานั่งหนอที่ก้นถูพื้น แล้วก็ยกมือซ้าย
มาวางตักก็กำหนดว่า ซ้ายหนอ พอมือโดนที่ตักก็ถูหนอ ข้างขวาก็ทำเช่นเดียวกัน ต่อด้วยอยาก
นั่งหนอ ก็เริ่มสังเกตพองยุบตามที่อาจารย์ให้การบ้านมา มีความรู้สึกว่า ถ้ามีบันไดสี่ขั้น
การพองจะพองไปที่ขั้นที่สามเลยแล้วก็พองสุด แต่ยุบนั้นจะค่อยๆไต่ลงมาเรื่อยๆจากขั้นบนสุด
ถึงชั้นล่างสุดค่ะ ระยะห่างของการพองยุบนั้น น่าจะเป็นชั่วกระพริบตาสองครั้งมังค่ะ อธิบาย
ไม่ถูกค่ะ สิบนาทีแรกที่นั่ง อารมณ์อยู่ที่พองยุบหมดเพราะจะสังเกตุตามที่อาจารย์บอก รู้สึก
นิ่งดีค่ะ ชัดเจนมาก สักพักเริ่มคิดแล้ว ที่นี่คิดปัญหาที่อาจารย์ให้มา ว่าเอวันนี้อาจารย์สั่งให้
ทำอะไรบ้าง อ้อให้สังเกตุความละเอียดของการพองยุบ พอนึกได้ก็กำหนดคิด นานค่ะกว่าจะ
หาย มันจะติดอยู่ตรงนี้แหละ คิดวนไปวนมา พอหายแล้ว นึกถึงคำชมของอาจารย์อีกแล้ว
ก็กำหนดชอบหนอ พอหายปุ๊ปก็คิดวนกลับไปหาปัญหาพองยุบอีก กลับไปกลับมาตั้งสอง
สามครั้งกว่าจะหาย ไล่ตามทุกอย่าง เก็บรายละเอียดทุกอารมณ์ อันไหนทันก็กำหนดตาม
อาการ อันไหนไม่ทันก็รู้หนอ จนนิ่งได้ที่นี้ก็พองยุบ เริ่มจากพองก็อย่างที่บอกว่ากระโดดไป
ขั้นที่สองบ้างสามบ้างถึงจะขั้นที่สี่คือพองสุด แล้วยุบก็ค่อยๆไต่ลงมาจากสี่ลงมาถึงขั้นหนึ่ง
อยู่ตรงนี้นานประมาณสองสามนาทีได้มังค่ะ มีความรู้สึกว่าเงียบ สงบ ทั้งพองทั้งยุบชัดทุกขั้นตอน
แล้วความรู้สึกเฉยๆก็ออกมา ก็กำหนดเฉยหนอ พอหายปุ๊ปชอบปั๊ปมาทันทีค่ะก็กำหนดไปตาม
นั้น นาฬิกาดัง สะดุ้งนิดหน่อย ไม่อยากออกจากสมาธิเลยค่ะ ก็เลยกำหนดว่าไม่อยากออก
พอออกแล้วปวดเอวด้านหลังก็มาทันที ปวดมากๆเลย แต่พอลุกเดินแป๊ปเดียวก็หายไป
วันนี้มีความรู้สึกว่านิ่งกว่าทุกวันเท่าที่ทำมา ไม่กระวนกระวาย ไม่จุกจิก อาการต่างๆไม่ค่อยมี
ก่อนจะปฏิบัติ ก็มีอารมณ์เฉยๆ ไม่ขึ้เกียจ ไม่ท้อ คือว่างๆโล่ง ไม่มีอะไรในใจเลยค่ะ แต่คิด
การบ้านที่อาจารย์ให้มาตลอดเวลา อ้อ อีกเรื่องหนึ่งคือ อริยบทตอนกลางวันก็กำหนดตามแต่
จะนึกได้ วันนี้เริ่มบ่อยกว่าเมื่อวานแล้วค่ะ แต่ที่มาเองโดยที่ไม่ต้องนึกคือ "อยากกลืนน้ำลาย"
จะมาเองเลยค่ะ เวลาทำงาน ก็กำหนดได้มากขึ้น มือกำลังทำอะไร เท้ากำลังเหยียบอะไร
เริ่มกำหนดได้บ่อยขึ้น แต่ได้ไม่นาน แป๊ปเดียวก็ปล่อยแล้ว เรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาค่ะ
อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
ลืมถามเหมือนกันว่ากำหนดแบบไหน ความจริงการกำหนดแบบออกเสียงนี้เหมือนหลักสูตร
โบราณผมเคยฝึกของสายวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เมื่อก่อนออกเสียง ตอนนี้ไม่แล้ว เป็นอันว่า กำหนดรู้ในใจนะครับ

การเดินหรือนั่ง ในช่วงแรกมักไม่ค่อยได้สมาธิเท่าไร นอกจากเราปฏิบัติไปเรื่อยๆแล้ว
สมาธิจะรวมตัวไวขึ้นเอง อันนี้เราต้องฝึกเรื่อยๆ
เวทนาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าก่อนหรือหลังปฏิบัติ บางอย่างก็มาจากกายเรา เรานั่งเดินในอิริยาบทเดิมนานๆ ก็
ปวดแล้วกำหนดก็จะไม่ค่อยหาย เพราะเป็นเหมือนโรคหรือเราป่วยอยู่ เป็นทุกข์ประจำสังขาร หรือทุกข์
ของกายของรูปนี้เอง เราไม่เคยสนใจมาก่อน เวลาเราเมื่อยปวด เราก็เปลี่ยนท่าทางไป เลยไม่กังวลกับ
ทุกข์อันนี้ พอเรามาปฏิบัติแล้ว เราจะเข้าใจเลยว่า อิริยาบถที่เราเปลี่ยนแต่ละขณะ บังเราไม่ให้เห็นทุกข์
คุณทักทายเห็นหรือยังล่ะว่าทำไมเราไม่เห็นความทุกข์ ลองคิดเวลาว่างๆเป็นธรรมบันเทิงไป


[quote="taktay"]เวลาเดินจะมีบางครั้งที่เหมือนจะล้ม ตัวเอนบ้าง ข้อเท้าลั่นบ้าง[quote="taktay"]
อาการแบบนี้มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่สาเหตุพื้นๆไปถึงสาเหตุหรือสภาวะญาณที่สูงขึ้นไป ลอง
ดูสาเหตุ
เหล่านี้ครับว่าอันไหน
๑.เดินไม่ถูกต้อง หมายถึงการยก ย่างเหยียบที่ไม่ถูกลักษณะเลยทำให้การทรงตัวไม่ดี
๒.แสงสว่างไม่พอ การทรงตัวก็ทำให้ไม่ดีตาม
๓.จดจ่อกับอิริยาบทเดินมากเกินไป ทำให้เกร็ง และทำให้การทรงตัวเสีย ข้อนี้ลองสังเกตมือเราจะเกร็ง
ตามด้วย
๔.อาการของปีติหรือของธาตุปรากฏ ข้อนี้ไม่อธิบาย เพราะจะฟุ้งและจะไม่เข้าใจ
๕.อาการของสมาธิที่ล้ำสติไปมาก ทำให้นิ่งมากไป สติไม่สามารถกำหนดตามได้ทัน ในเวลาเดินสติจะ
ช่วยให้ทรงตัวได้ดี
๖.เป็นอาการของสภาวะที่สูงขึ้นไป

ถ้าข้อ ๑ วิธีแก้ตอนนี้คือ ถ้าสงสัยเรื่องการเดิน ให้ถาม ผมจะอธิบาย หรือหารูปมาประกอบให้
ถ้าข้อ ๒ เปิดไฟเดินหรือหาทางให้แสงเพียงพอ
ถ้าข้อ ๓ ลดการจดจ่อลง ให้สติตามเท้าแบบสบายๆ ธรรมดา ไม่ต้องจดจ่อเพื่อให้ทันอย่างที่สุด เพราะ
ถ้าสติสมาธิดีแล้ว จะทันเอง การจดจ่อนั้น จะเพิ่มขึ้นเองเมื่อสติดีขึ้นทัน ไปจดจ่อโดยที่สติไม่แข็งแรงดี
ก็จะมีอาการดังกล่าวได้
ถ้าข้อ ๔ กำหนดจนกว่าจะยืนนิ่ง ไม่ต้องยากนิ่งหรือสงสัยว่าเมื่อไรจะนิ่ง กำหนดตามที่รู้ที่เห็น ที่บอกว่า
กำหนดอยู่แล้วนั้น ถูกต้องแล้วครับ เมื่อสติสมาธิทันกันจะหายไปเอง
ถ้าข้อ ๕ ให้ลองเดินเร็วขึ้นนิดนึง แต่สติต้องตามให้ทัน ไม่ใช่เร็วจนไม่ทัน
ถ้าข้อ ๖ จริงๆแล้วข้อนี้ต้องสอบละเอียดกว่านี้ คุณทักทายมีหน้าที่กำหนดรู้ตามจริงไปเท่านั้น และถูก
แล้วที่คุณกำหนด


มาเรื่องวิธีนั่งดีกว่า...
อิริยาบทนั่งมี ๓ แบบ คือ ๑.นั่งเรียงขา หมายถึงเอาขาทั้ง ๒ เรียงกัน ไม่นำมาทับกัน ท่านี้จะนั่งได้นาน
หน่อย ไม่ค่อยเมื่อย ถึงจะไม่ค่อยหรู แต่มีคุณภาพดี
แบบที่ ๒ นั่งแบบขาทับกัน คล้ายแบบแรก แต่เอาขาขวาทัยขาซ้าย ท่านี้เป็นท่ามาตรฐาน แต่ว่าจะเมื่อย
ไวกว่าแบบแรก
แบบที่ ๓ ท่าขัดสมาธิเพชร คล้ายแบบที่ ๒ แต่ขาทั้งสองข้างสอดไขว้กัน ท่านี้นั่งมันคงดี แต่ปวดมาก

เมื่อนั่งแล้ว นำมือทั้ง ๒ ข้างไว้บนเข่า (ควำ่มือ)
กำหนดที่มือซ้ายก่อน
กำหนด ยกหนอ พร้อมกับค่อยๆยกมือขึ้นช้าๆ สติตามมือไป กำหนดกี่ครั้งก็ได้ เมื่อสูงพอแล้วหยุด
กำหนด มาหนอ พร้อมกับค่อยๆเคลื่อนมือเข้าหาตัว สติตามมือไป เมื่อถึงที่ที่พอดีจะวางก็หยุด
กำหนด หงายหนอ พร้อมกับค่อยๆหงายมือช้าๆ สติตามมือที่กำลังหงายอยู่ เมือหงายแล้วหยุด
กำหนด ลงหนอ พร้อมๆกับค่อยๆเคลื่อนมือลงวาง เมื่อเมือถูกกับที่ที่จะวาง กำหนด ถูกหนอ
ทั้งหมดนี้กำหนดกี่ครั้งก็ได้ และไม่ต้องเอาตามองตาม

เมื่อเสร็จแล้วจะหลับตา ถ้าเห็นต้นจิตที่อยากหลับตา กำหนดว่า อยากหลับตาหนอ ๓ ครั้ง ถ้าไม่เห็นก็
ไม่ต้องกำหนด เพราะต้องกำหนดตามจริงที่รู้ที่เห็น จากนั้นก็นั่งตามวิธีต่อไป


ต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ เห็นชัดเจนไหมครับ
ระยะห่างพองยุบ ถ้าพอเติมได้ ให้ใส่ระยะเพิ่มไปอีก ๑ ครับ คือ
พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ตรงนั่งหนอ สติรู้อาการนั่ง ไม่ต้องจินตนาการหรือนึกเป็นรูปร่างนะครับ
หรือ พองหนอ ยุบหนอ ถูกหนอ ก็ได้ ถ้าไม่รู้ว่าอาการนั่งเป็นอย่างไร ตรงคำว่าถูกหนอ ให้กำหนดรู้การ
สัมผัสของฝ่ามือที่ถูกกันอยุ่ หรือสัมผัสของตาตุ่มกับพื้นก็ได้ เลือกที่ชัดเจน

ที่ผมให้การบ้านไปสังเกตุพองยุบนั้น ผมจะเพิ่มสติให้ทันสมาธิ เพื่อกำจัดอาการงุบตอนนี้ ถ้าสติไม่ดี ไม่
ทัน มันงุบเลย เมื่อจดจ่ออาการพองยุบหรือสภาวะอื่นอย่างไม่ขาดสายแล้ว จะไม่งุบ แม้อาการงุบเองก็
เถอะ ถ้าจะงุบ ลองจดจ่ออาการมันดู ถ้าจดจ่อไม่ขาดสาย มันไม่งุบ ถ้าเผลอปุ๊บ งุบทันที

ดีมากเลยครับที่พยายามกำหนดทันอาการต่างๆ เผลอไม่ได้ กิเลสจ้องเข้าอยู่ เห็นไหมล่ะ อาการเหิม
เกือบจะมาอีกแล้ว พอชอบเสร็จ เหิมก็มักจะตามมา
เสียงนาฬิกาเริ่มจะไม่สะดุ้งมาแล้ว สติเริ่มทัน ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพอใจชอบใจอาการที่สงบนิ่งของจิตใจ
ในการปฏิบัติ กำหนด ชอบหนอ หรือ พอใจหนอ เลือกอย่างดียว อย่าสลับชอบหนอกับพอใจหนอไป
มา จิตรู้ที่ความพอใจหรือชอบใจนั้น จนกว่าจะหมดความพอใจชอบใจแล้ว กำหนดว่า อยากลืมตาหนอ
๓ ครั้ง ค่อยๆลืมตา ระหว่างที่ลืมตา กำหนด ลืมตาหนอๆ แล้วแผ่เมตตาต่อไป

ต้นจิต หมายถึงจิตที่จะสั่งให้กายเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ เช่นอยากกลืนน้ำลาย เป็นต้น ถ้าเราไม่
เห็นไม่ต้องกำหนด เพราะการกำหนดโดยไม่เห็น เหมือนเป็นการสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง เป็นการบริกรรม
โดยที่ไม่ตรงกับสภาวะที่รับรู้อยู่ เมื่อสติดีมากแล้ว จะเห็นต้นจิตก่อนที่จะทำอะไรอยู่เสมอ ที่ไม่เห็นไม่ใช่
ไม่มีต้นจิตนะครับ มีแต่สติสมาธิเราไม่ดี ไม่ได้ปัจจุบันขณะเลยไม่เห็น ความจริงเขาเกิดก่อนแล้ว

เน้นปัจจุบันขณะครับ ตอนนี้ลองเวลาวิธีแบบเดิมก่อน ถ้าเป็นแบบนี้ซัก ๒-๓ วัน ค่อยปรับเวลาเดินนั่ง
เท่าๆกัน ตอนนี้เหมือนเดิม

อนุโมทนาในวิริยะอุตสาหะ
ตั้งใจให้จริง ก็ได้รับผลจริง เหตุดี ผลก็ดี

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กามโภคี เขียน:
cool
ลืมถามเหมือนกันว่ากำหนดแบบไหน ความจริงการกำหนดแบบออกเสียงนี้เหมือนหลักสูตร
โบราณผมเคยฝึกของสายวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เมื่อก่อนออกเสียง ตอนนี้ไม่แล้ว เป็นอันว่า กำหนดรู้ในใจนะครับ


ตอนเริ่มปฏิบัติครั้งแรกๆก็ออกเสียง เพิ่งจะไม่ออกเสียงมาได้สามวันแล้วค่ะ
นอกจากว่าตอนไหนที่ คิดมากๆ กำหนดนานกว่าจะหาย ก็จะเริ่มกำหนดแบบออกเสียงสักพัก
ก็จะกำหนดในใจต่อค่ะ

สาเหตุน่าจะเป็นข้อ 1-3

[/i
ถ้าข้อ ๑ วิธีแก้ตอนนี้คือ ถ้าสงสัยเรื่องการเดิน ให้ถาม ผมจะอธิบาย หรือหารูปมาประกอบให้

วิธีเดิน เริ่มโดยยืนตรงเอามือแนบลำตัวพอสบาย แล้วก็กำหนด ซ้ายหนอขณะเคลื่อนมือซ้ายมา
ข้างหน้า พอถูกท้องก็ถูกหนอ แล้วก็ยืนหนอ กำหนดขวาขณะยกเท้า ย่างขณะเคลื่นเท้า หนอ
เท้าแตะพื้น นี่ระยะหนึ่ง ระยะสาม ก็กำหนดยกหนอ ขณะยกเท้าขึ้นจากต่ำไปสูง ย่างตอนเคลื่อน
เท้าไปข้างหน้า หนอตอนหยุด เหยียบตอนเท้าแตะพื้นหนอขณะลงเต็มฝ่าเท้า ตอนกลับตัว ก็จะ
กำหนดยื่นหนอก่อน แล้วก็กลับขณะหมุนเท้า หนอตอนเท้าแตะพื้น ค่ะ ก่อนจะเดินต่อทุกครั้งก็จะ
กำหนดหยุดหนอ ยื่นหนอค่ะ ตอนนี้ก็เพิ่มนุ่มเมื่อเท้าแตะพื้นแล้วรู้สึกต่อจากหนอของเหยียบ และจะ
ลงหนอเมื่อรับรู้ความนุ่มแบบสุดเต็มฝ่าเท้าค่ะ

มาเรื่องวิธีนั่งดีกว่า..

[i]ทักทายนั้งแบบที่สองค่ะ การกำหนดเพิ่มจะปฎิบัติตามคำแนะนะค่ะ


เน้นปัจจุบันขณะครับ ตอนนี้ลองเวลาวิธีแบบเดิมก่อน ถ้าเป็นแบบนี้ซัก ๒-๓ วัน ค่อยปรับเวลาเดินนั่ง
เท่าๆกัน ตอนนี้เหมือนเดิม

อนุโมทนาในวิริยะอุตสาหะ
ตั้งใจให้จริง ก็ได้รับผลจริง เหตุดี ผลก็ดี

[size=150]อนุโมทนา สาธุค่ะ


:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:
[/size]
[/quote][/quote]

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


cool

ไม่ได้คุยที่เอ็มเลย ติดคุยเรื่องวิปัสสนากับสหธรรมิก คุยเสร็จเลยเข้ามาตอบ

ไม่อยากให้กำหนดออกเสียงเลย เรากำลังฝึกจิต ปกติจิตเป็นนายสั่งกาย ควรฝึกที่จิตก่อนจะดีกว่า
การกำหนดออกเสียงอาจทำให้ติดกับคำบัญญัติมากไป กำหนดในจิตดีกว่า การที่นานไม่หายแล้ว
กำหนดออกเสียง เหมือนว่าทักทายอยากให้หายเลยออกเสียง เช่นนั้นจิตไม่เป็นกลางกับสภาวะที่ปรากฏ
นะ สภาวะที่ปรากฏออกมา ให้เราดู กำหนดรู้เฉยๆ ไม่ต้องอยากให้หาย เรากำหนดหรือไม่ เขาก็จะหาย
ไปเอง สภาวะพวกนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ถ้าเรามีอคติ ไม่เป็นกลาง เราไม่เห็นเขาเกิดเขาดับง่ายๆหรอก
ลองกำหนดในในจิตในใจอย่างเดียวนะ ไม่ต้องออกเสียง หายเมื่อไรก็เมื่อนั้น ตามดูสภาวะไป จะได้เห็น
ไตรลักษณ์

อิริยาบทยืน ยืน กายตั้งตรง สายตาทอดระยะพอประมาณ ไม่ก้มเกิน ไม่เงยเกินไป ลองปรับดู มือทั้ง ๒
แนบลำตัว

กำหนด ยืนหนอ (๓ครั้ง) กำหนดรู้ที่อาการตั้งอยู่ของกาย
กำหนด อยากเก็บมือหนอ (๓ ครั้ง) กำหนดที่จิตคิดอยากเก็บมือ
กำหนด เคลื่อนหนอ พร้อมกับยกมือที่ต้องการเคลื่อนไปก่อน ช้าๆ การกำหนดเคลื่อนหนอๆ ให้กำหนด
เป็นระยะๆตลอด จนกว่ามือจะถึงที่ต้องการนำไปเก็บ เมื่อถูกที่ต้องการนำไปเก็บ กำหนด ถูกหนอ
อีกข้างก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้าใช้มือจับกัน ในขณะจับ ให้กำหนด ถูกหนอ จับหนอ กำหนดรู้ที่มือถูกกัน
และจับกัน เมื่อเรียบร้อยแล้ว

กำหนดจิตที่อยากเดินว่า อยากเดินหนอ (๓ ครั้ง) กำหนดรู้อาการที่จิตอยากเดิน จากนั้นระยะที่ ๑

ขวาย่างหนอ ยกส้นเท้าขึ้นโดยปลายเท้ายังแตะอยู่ที่พื้นพร้อม กำหนดรู้อาการยกส้นนั้น พร้อม
บริกรรมในใจว่า ขวา กำหนดรู้อาการเท้าเคลื่อนไปข้างหน้า บริกรรมว่า ย่าง กำหนดรู้อาการเท้า
ที่เหยียบลงพื้นทั้งฝ่าเท้าว่า หนอ ข้างซ้ายก็เช่นกัน การกำหนดนั้น ต้องติดต่อกัน ไม่ต้องหยุดเว้น
เท้าก็เคลื่อนไปพร้อมกับจิตที่รู้อาการโดยติดต่อและต่เนื่อง ไม่ต้อง ขวา (หยุดนิดหนึ่ง) ย่าง
(หยุดนิดหนึ่ง) หนอ แบบนี้ไม่ใช่นะครับ ต่อเนื่องไปเลย จะช้ากว่าเดินธรรมดาไม่มาก

ระยะที่ ๓ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
ยกเท้าพ้นพื้นพร้อมกับกำหนดว่า ยก เมื่อหยุดยกพอดีกำหนดว่า หนอ จิตกำหนดรู้อาการเคลื่อของเท้า
จางล่างสู่บน เคลื่อนเท้าไปข้างหน้าพร้อมกำหนดว่า ย่าง และเมื่อสุดพอดี กำหนด หนอ จิตรู้อาการ
ของเท้าที่เคลื่อนไปข้างหน้า กำหนดเหยียบพร้อมกับเคลื่อนเท้าลง เมื่อฝ่าเท้าแตะพื้นสุดให้กำหนด
หนอ จิตรู้อาการที่เท้าเคลื่อนจากบนลงล่าง ถ้าความรู้สึกที่ฝ่าเท้าถูกพื้นปรากฏชัด กำหนดสภาวะเย็น
ร้อน อ่อน แข็งนั้นตามจริง เช่น เย็นหนอ เป็นต้น อีกข้างก็เช่นกัน ตามนี้

การเพิ่มการกำหนดในอิริยาบถนั่งนั้น ถ้าเพิ่มได้ให้เพิ่ม ถ้าไม่ได้ไม่ต้องฝืน อย่าบังคับพองยุบหรือ
ลอมหายใจ ถ้ามีจังหวะใส่ได้ ก็ใส่ไป ถ้าไม่ได้ก็ละไป ที่สำคัญ จิตต้องรู้สภาวะตามจริงที่เพิ่มกำหนดไป
ห้ามกำหนดแต่บริกรรมเฉยๆ

ค่อยๆปรับ ค่อยๆปรุง ตั้งใจดี มีความเพียร ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
อนุโมทนาสาธุครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 03:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ค่ะ เข้าใจแล้วค่ะอาจารย์

อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



แอบมาเยี่ยมเยียนค่ะ cool

เห็นแล้วชื่นใจจริงๆ พูดจากใจจริงค่ะ tongue

คุณทักทายเป็นผู้มีความเพียรดี ตั้งใจมั่นดี ไม่ว่อกแว่ก :b12:

เห็นแล้ว รู้สึกอายจัง ที่ตัวเองยังชอบว่อกแว่กอยู่เรื่อย :b15:

จนต้องมาโบกมือบ๊ายบายกับจานกาม เพื่อขอเก็บตัวชั่วคราว :b9:

จะทำให้ได้อย่างคุณทักทายนะคะ จะพยายามไม่ว่อกแว่ก

เห็นแล้วทำให้เกิดกำลังใจค่ะ :b12:

เส้นทางจะสั้นหรือยาว ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราว่าเราเป็นคนทำให้เส้นทางนั้นยาวขึ้น

หรือสั้นลง เราเท่านั้นที่เป็นผู้ลงมือกระทำ หาใช่คนอื่นมาทำให้เส้นทางนั้นยาวหรือสั้น


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

ไปละค่ะ จะไปเก็บหน่วยกิตต่อ เพื่อเส้นทางจะได้สั้นลงไปเรื่อยๆ ..

เนอะจานกามเนอะ ล้มเองก็ต้องลุกเอง งอแงได้ ก็ต้องหยุดเองได้
:b16:

แล้วจะแวะมาเยี่ยมใหม่ค่ะ :b29:

นี่แหละ!!!!!! กัลยาณมิตร ...

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www




aa11.bmp
aa11.bmp [ 41.31 KiB | เปิดดู 4213 ครั้ง ]
ขอบคุณค่ะคุณวลัยพร อิอิอิ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เป็นมนุษย์ล่องหนค่ะ :b32:

เชื่อมั๊ยคะ ตอนแรกที่เห็นรูปนี้ สะดุ้งเลยค่ะ แบบว่าตกใจจริงๆ

พอตั้งสติได้ มองที่ใบหน้าเขาตรงๆ พอเห็นแล้วก็นั่งอมยิ้ม

เจ้าของภาพเป็นคนอารมณ์ดีนะคะ ดูจากรอยยิ้มที่เขายิ้มออกมา

ตอนนี้พอดูแล้ว รู้สึกดีๆกับภาพๆนี้ค่ะ มองว่าเขาจริงใจดี :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


walaiporn เขียน:

เป็นมนุษย์ล่องหนค่ะ :b32:

เชื่อมั๊ยคะ ตอนแรกที่เห็นรูปนี้ สะดุ้งเลยค่ะ แบบว่าตกใจจริงๆ

พอตั้งสติได้ มองที่ใบหน้าเขาตรงๆ พอเห็นแล้วก็นั่งอมยิ้ม

เจ้าของภาพเป็นคนอารมณ์ดีนะคะ ดูจากรอยยิ้มที่เขายิ้มออกมา

ตอนนี้พอดูแล้ว รู้สึกดีๆกับภาพๆนี้ค่ะ มองว่าเขาจริงใจดี :b12:


คนที่ปฏิบัตินี่ มักจะมองเห็นอะไรๆ ในความไม่มีอะไร
ได้เสมอเลยนะค่ะ ใช่ค่ะ นอกจากอารมณ์ดีแล้ว มีความมั่นใจในตัวเองสูงมากด้วย
"ฉันสวยย่ะ" 555

คืนนี้ต้องฟุ้งอีก แหง๋ม เลย :b13:

:b41: :b41: :b41: :b43:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตถามคุณทักทายหน่อยขอรับ :b8:

คุณปฏิบัติกรรมฐานแบบเนี่ย มีเป้าหมายอย่างไร ขอรับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร