วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 23:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาของท่านเป็นฉบับใหนครับ ของผมหาไม่เจอ มี 410 หน้า (ฉบับแปล) ถ้าเป็นต้นฉบับบาลี ก็คงลำบากผมละคับ ก็บอกแล้วว่ายังไม่ได้ศึกษาบาลีไวยกรณ์

ถ้าจะถืออรรถกถา ก็แล้วแต่ครับ ผมถือพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 23:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ผูที่ไม่มีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ

คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นภิกษุ มีหลักฐานปรากฏยืนยันอยู่

คือ ในอรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๔๗๑ บรรทัดที่ ๓ ท่านกล่าวไว้ว่า

โย จ อิมํ ปฏิปตฺตึ ปฏิปชฺชติ โส ภิกฺขุ นาม โหติ

จริงอยู่ ท่านผู้ใด ลงมือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ คือ มหาสติปัฏฐานนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ


ถ้าถือตามนี้ก็ได้ความว่า จะเป็นใครๆก็ตาม เช่น เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม

ถ้าได้ปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐานนี้ นับว่า เป็นภิกษุได้ทั้งนั้น

มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และ อรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๔๗๑บรรทัดที่ ๔ ที่ ๕ ว่า


ปฏิปนฺนโก หิ เทโว โหตุ มนุสฺโส วา ภิกฺขูติ สํขยํ คจฺฉติเยว












ในพระไตรปิฎกมีนี่คะ ...

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หากว่า บุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็น
ผู้สงบแล้ว ฝึกแล้ว เป็นคนแน่ เป็นพรหมจารี
เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติ
สม่ำเสมออยู่ไซร้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าพราหมณ์ ผู้นั้น
ก็ชื่อว่าสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่าภิกษุ ดังนี้.


ก็สรุปว่าตามคุณสมบัติ ตามองค์ธรรมภายในตัว มีสุรจิต ๓ มีอินทรีย์สำรวม (พรหมจารี) มีศีล ฯ ผมว่าบุคคลประเภทนี้ไม่น่าจะใช่ไครก็ได้นะครับ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว
ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกขุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ


สมัยพุทธกาลกับสมัยต่อมา สังคมวัฒนธรรมไม่เหมือนหลายอย่าง ยุคของตำราประกอบน่าจะราวๆ 1000 ปีให้หลัง มีอะไรเปลี่ยนแปลงเยอะ อย่างไรเอาพระไตรปิฎกเป็นหลักไว้ก่อนดีกว่าครับ

PS: โย จ อิมํ ปฏิปตฺตึ ปฏิปชฺชติ โส ภิกฺขุ นาม โหติ
ไม่เห็นมีกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ ในประโยคนี้เลยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 01:27, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พราะเมื่อสมัยพุทธกาลต้องได้โสดาบันก่อนจึงจะบวชได้

งั้นพระเทวทัต ก็ต้องได้โสดาบันด้วยนะซิครับ

จะเีรียงการตีความของท่าน Supareak อีกทีนะ

ผู้ใดผู้หนึ่ง = ภิกษุ
ภิกษุ = พระโสดาบัน =>
อ้างคำพูด:
ต้องเป็นโสดาบันก่อนแล้วจึงมาเจริญสติปัฏฐานนั้นไม่มีเขียนไว้ เพราะเมื่อสมัยพุทธกาลต้องได้โสดาบันก่อนจึงจะบวชได้
=> ดังนั้นตอนที่พระพุทธเจ้าบวชให้พระเทวทัตท่านก็ต้องบรรลุโสดาบัน => พอได้โสดาบันแล้วทำอนันตริยกรรมไปนรกได้


อ้างคำพูด:
ถามท่าน Supareak พระโสดาบันไปอบายได้อย่างไร

ถ้าไปไม่ได้พระเทวทัตก็ต้องไม่ใช่โสดาบัน
ถ้าพระเทวทัตไม่ใช่โสดาบันคนที่พระพุทธเจ้าบวชให้ก็ไม่จำเป็ต้องโสดาบันด้วยจริงไหม
ถ้ายังงั้นภิกษุก็ไม่จำเป็นต้องโสดาบัน






หมายเหตุ
พระเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระราชาและเจ้าชายแห่งศากยวงศ์รวม 6 พระองค์คือ พระเจ้าภัททิยศากยราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์, เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ (ราชวงศ์โกลิยะ) และนายอุบาลี ช่างภูษามาลา อีกท่าน รวมเป็น 7 คน ณ อนุปิยอัมพวันแห่งมัลลกษัตริย์[4] โดยพระพุทธองค์ทรงบวชให้ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งหลังจากบวชได้ไม่นาน เจ้าชายทั้งหมดและนายอุบาลีภูษามาลาก็ได้บรรลุธรรมทั้งหมด ยกเว้นพระเทวทัตต์ที่ได้แต่เพียงโลกิยะสมาบัติ (แสดงฤทธิ์ได้) เท่านั้น


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 00:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตตอบเป็นประเด็นๆค่ะ ตามแต่ที่จุฬาภินันท์เข้าใจนะคะ

อ้างคำพูด:
สมาธิเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในการดับทุกข์ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ สมาธิใช้หลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น เป็นคำสอน

ของพราหมณ์มาก่อน


ใช่ค่ะ สมาธิเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้ถึงซึ่งทางดับทุกข์ ถึงคือเข้าใจ และรู้ว่าทำยังไงถึงจะดับทุกข์ได้ค่ะ

อ้างคำพูด:
1) สมาธิดับทุกข์ไม่ได้ – พระพุทธเจ้าได้ปฐมฌานตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เมื่อออกบวชได้ไปเรียนวิธีการทำสมาธิกับฤๅษี

พราหมณ์ 2 ท่านคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบส จนได้สมาธิขั้นสูงคือ ฌาน 7-8 ในที่สุด ท่านก็เห็นว่าไม่ใช่ทางดับทุกข์ จึงได้

ลาอาจารย์ทั้ง 2 มาวิปัสสนาจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า


สมาธิดับทุกข์ไม่ได้ค่ะ ตัวเราต่างหากที่จะต้องดับทุกข์เอง แต่...จะดับทุกข์ได้ต้องทำสมาธิค่ะ ทำเพื่อให้รู้วิธีที่จะดับทุกข์

ถ้าไม่มีสมาธิ...ก็ไม่มีทางรู้วิธีค่ะ

อ้างคำพูด:
2) พาตัวเองไปติดตาข่ายของมาร – ถ้าเราได้สมาธิขั้นสูงเป็นฌานสมาบัติแล้ว โอกาสพาตนเข้าไปสู่การวิปัสสนานั้น

ยากมาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเราได้ทำจนเป็นนิสัยเสียแล้ว เป็นอุปนิสัยที่ละเอียดหาทางแก้ไขได้ยากมาก ในที่สุดก็

ไปติดกับตาข่ายมารหรือติดความสงบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฌานอภิญญาคือตาข่ายดักพรหม เป็นได้แค่พรหมเท่านั้น ยังต้อง

เวียนว่ายตายเกิดอยู่ เหมือนกับปลาที่เข้าไปติดตาข่าย ลอบ ไซ ข้อง ของชาวประมง ไม่สามารถพาตัวเองออกมาได้ต้องมีคนอื่น

ช่วยพาออกมา ฉันใดฉันนั้น พระโมคัลลามีพระพุทธเจ้าดึงออกมาจากตาข่ายถึง 8-9 ครั้ง จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถือเป็นการ

เสียเวลาโดยใช่เหตุ


ถ้ามีสมาธิ ได้ปัญญาเห็นแจ้ง ได้ฌานของจริง ไม่ใช่สิ่งที่จิตหลอนว่ามา จะทำให้ดับทุกข์ได้ เพราะฌานนั้นจะทำให้เรารู้กรรมที่

ติดอยู่ กรรมหมด บุญถึง หมดกิเลส เมื่อนั้นถึงจะนิพพาน หมดซึ่งทุกข์ทั้งปวงค่ะ

สิ่งที่สำคัญ คือ เราเข้าใจฌานมากแค่ไหน ฌานไม่ใช่สิ่งที่เกิดกับร่างกาย แต่เกิดกับจิตภายในที่ทำให้เข้าใจถึงสัจธรรมค่ะ

มีแต่ถือศีลและทำสมาธิเท่านั้น จึงจะได้ฌานแบบนั้น

อ้างคำพูด:
3) เปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเอง – เจ้ากรรมนายเวรบางครั้งมาในรูปของเปรตอสูรกาย บางครั้งมาในรูป

แบบของเทวปุตตมาร ปกติพวกนี้แฝงตัวอยู่รอบๆ เราทุกคน ส่วนมากเป็นพวกที่คอยจ้องล้างแค้น เพราะเราเคยไปทำร้ายเขา

มาก่อนในอดีต จะคอยมาขัดขวางไม่ให้เราทำความดีได้ถึงที่สุดในชีวิตที่เกิดมาเป็นคน ในระหว่างที่เรากำลังทำสมาธิ จิตของ

เราจะเลื่อนจากฟุ้งซ่านไปสูความสงบ จนมีจุดๆ หนึ่งที่จิตไปตรงกันกับพวกเปรตอสูรกายที่จ้องคอยเล่นงานเราอยู่ พวกนี้จึงได้

โอกาสแทรกแซงจิตเราทันที


การมีสมาธิเปิดโอกาสให้จิตทำร้ายตัวเองค่ะ เจ้ากรรมนายเวรทำอะไรเราไม่ได้ ที่เราได้รับผลตอบแทนตามสิ่งที่ทำ

กรรมเป็นผู้กำหนด
ค่ะ จิตของเจ้ากรรมนายเวรอาจอาฆาต แต...เมื่อเขาหลุดจากร่าง ถ้าไปอยู่ในนรก เขาน่าจะเลิกอาฆาต

เพราะเขาจะรู้ว่าการมีอาฆาต จะทำให้เขา ไม่พ้นนรก และเขารู้ว่า กรรมจะล้างแค้นแทนเขา กรรมยุติธรรมเสมอค่ะ ทำดีได้ดี ทำ

ไม่ดีก็ได้ไม่ดี

ไม่มีอะไรมาขัดขวางเราทำดีหรือไม่ดีได้นอกจากตัวเราค่ะ กิเลสที่ยึดติดกับจิตเราเป็นผู้สั่ง การทำสมาธิเป็นการทำให้จิตรับรู้และ

เข้าใจสัจธรรม เมื่อนั้นสติธรรมเกิด สติธรรมจะกำกับกิเลสให้พ้นจากจิต แล้วเมื่อจิตผ่องแผ้ว เราก็ไม่ก่อกรรมไม่ดีค่ะ

ส่วนใหญ่ที่ฟุ้งซ่านเวลานั่งสมาธิ เพราะจิตอีกนั่นแหละค่ะ จิตหลอนความคิด ความคิดก็ไปเรื่อยเปื่อยเลย ฟังนั่นมานี่มา ก็คิดกัน

ไป หลอนทั้งนั้น สมาธิที่แท้คือ เอาความคิดมาอยู่ที่สิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้นค่ะ อยู่ที่ลมหายใจ ก็คิอแค่ลมหายใจ เข้า-ออก ยาว-สั้น รู้

ตามความจริงที่เกิดขึ้นน่ะค่ะ แบบนี้ ยังไงก็ไม่หลอน ไม่บ้า

อ้างคำพูด:
ถ้าเราไม่ได้ทำสมาธิ พวกนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ต่อจากนั้นพวกเขาก็จะครอบงำจิตใจเราตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย

พวกนี้จะคอยเนรมิตให้เรารู้เห็นได้ยินอะไรต่างๆ นาๆ รวมทั้ง นรก สวรรค์ อ่านจิตใจทำนายทายทักคนอื่นได้ ถ้าคุณชอบอะไร

พวกนั้นก็จะเนรมิตสิ่งนั้นให้คุณเห็น บางทีอ้างว่าเป็นเทพ เป็นเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ฯ ซึ่งพวกที่นั่งสมาธิบอกว่านิมิตเห็น ความจริงผู้นั่ง

สมาธิไม่ได้เห็นอะไรเลยเป็นพวกเปรตอสูรกายเหล่านั้นนิมิตให้ เห็น


ถ้ามีสมาธิ เราจะได้ปัญญา แล้วเมื่อได้ปัญญา มารถึงจะกวน แต่เมื่อมีปัญญา เราก็เข้าใจสัจธรรม มารจะกวนยังไง ก็ทำอะไร

เราไม่ได้ค่ะ นิมิตที่จะได้ยินและเห็น เป็นเรื่องจริงที่เกิดค่ะ ปัญญาเป็นตัวบอกค่ะว่า จริงนะ ไม่ใช่จิตหลอน

อ้างคำพูด:
แต่เมื่อไม่มีปัญญาพอที่จะแยกแยะว่าที่เห็นนั้นเป็นจริงหรือไม่ เมื่อแยกไม่ได้รู้ไม่จริงทำให้ผู้ปฏิบัติหลงตัวเองว่าสำเร็จ

ขั้นโน้นขั้นนี้ ตัวผู้ฝึกสมาธิจึงเหมือนซากเปลือกหอยที่ปูเข้าไปอาศัย ปูจะพาเปลือกหอยไปที่ไหนก็ได้โดยที่หอยไม่มีโอกาส

บังคับตัวเองได้ บางคนหนักเข้าไปอีกบอกว่าตัวเองพูดภาษาเทพได้ ภูมิใจนักหนาคิดว่าตัวเองเก่งวิเศษ หลงตนว่าได้ฌานสูง

กว่าคนอื่น แต่ถ้าวันไหนเปรตอสูรกายไม่ผ่านเข้าร่างตนเองก็ไม่รู้อะไรเลย บางคนว่าเทพมาผ่านร่าง บางทีเป็นเอามากๆ บอกว่า

พระพุทธเจ้าเข้ามาผ่านร่าง บางคนไม่เฉลียวใจบ้างเลยทั้งๆ ที่เป็นผู้หญิง พระพุทธเจ้าจะมาผ่านร่างผู้หญิงได้อย่างไร ท่านมีตัว

มีตนที่ไหน ท่านนิพานไปแล้ว ไม่กลับมาอีกแล้ว ภาพที่เห็นเป็นภาพเนรมิต ไม่ใช่ของจริง


ปัญญาฌานของแท้ แยกออกทุกอย่างค่ะ ที่คนว่าตัวเองเป็นนั่นนี่ อันนี้ถูกต้องที่ว่าจิตหลอน หลอนเพราะกิเลสเกาะทั้งนั้น

คนมีปัญญาฌานสูงๆ พูดได้ทุกภาษาค่ะ พูดด้วยจิต จิตก็บอกสมอง สมองบอกปากและลิ้น สุดท้ายก็เป็นภาษาที่พูดค่

ทั้งเทพและอสูรกาย ไม่มีวันเข้าร่างคนค่ะ ไม่มีวันเข้าร่างใดๆทั้งสิ้น
เทพ - มีฌานมากพอจะส่งกระแสจิตบอกคน บอกเรื่องดีเพื่อโปรดเรา บอกไม่ดีเพื่อเป็นอุบายสอนเรา
อสูรกาย (มารเท่านั้น ไม่ใช่วิญญานของคนหรืออะไรที่ตายไปแล้ว) - ส่งกระแสจิตรบกวนเรา เพราะเรามีบุญ เลยถูกมารผจญค่ะ

เป็นหน้าที่ของมารน่ะค่ะ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ผ่านร่างคนเช่นกัน แต่มาโปรดโดยส่งกระแสจิตค่ะ มาหลายรูปแบบ มีเพียงคนที่ถูกเลือกเท่านั้น

ถึงจะรู้จะเห็นค่ะ คนถูกเลือกต้องเป็นคนมีบุญน่ะค่ะ ถูกเลือกด้วยหน้าที่ของการเกิดมาเป็นคนน่ะค่ะ

นิพพาน ไม่มีตัวตน มีแต่จิตที่ทรงพลานุภาพมากที่สุด ท่านไม่ไปไหน แต่ท่านอยู่ทุกแห่งเลยค่ะ ถ้าเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็น่า

จะเป็นรูปแบบของเห็นพระองค์ขยับวรกายในภาพน่ะค่ะ พระองค์ส่งจิตมากำกับได้ แต่ก็นั่นแหละค่ะ เฉพาะผู้ถูกเลือกเท่านั้น

ที่จะเห็น ผู้ถูกเลือกจะรู้เองว่าจริง รู้ด้วยปัญญา นอกนั้น...หลอนไปเองทั้งนั้น

พวกที่ทำอะไรแปลกนั่น จุฬาภินันท์คิดว่ามีสองเหตุ หนึ่ง...จิตหลอกตัวเองจนไปสั่งให้ร่างกายเป็นไป จิตใต้สำนึกมีกำลังขนาด

นั้นค่ะ สอง...เบื้องสูงหรือเทพโปรดโดยใช้อุบายน่ะค่ะ แล้วแต่ว่าท่านจะเห็นว่าควรว่าอุบายไหน เปรตหรืออสุรกายทำแบบนั้นไม่

ได้ค่ะ เปรต...ขอส่วนบุญ อสุรกาย(มาร)...รบกวนคนมีบุญ

พวกที่จะรู้ก็พวกมีปัญญาฌานก่อน ปัญญาที่ได้จากการถือศีลและทำสมาธิน่ะค่ะ

อ้างคำพูด:
บางคนน่าสงสารมาก รักษาศีล 5 ได้มากข้อ ทำอะไรก็กลัวผิด จะตบยุงยังกลัวบาป เพราะมีศีลจึงทำให้เกิดสมาธิง่าย

ศีลเป็นพื้นฐานของสมาธิ มีศีลอย่างเดียวไม่มีปัญญาประกอบ ทำให้บุคคลนั้นเป็นคนขวัญอ่อนหรือใจอ่อนไหว เป็นเหยื่อของ

เปรตอสุรกายเจ้ากรรมนายเวรเทวปุตตมารได้ง่าย ในที่สุด บุคคลนั้นไม่มีโอกาสได้มรรคผลนิพพาน ทั้งๆ ที่มีโอกาส นอกจากนี้

พวกนี้จะยืมร่างเราทำบาปกรรมหนักอย่างละเอียดที่เราเองก็ยังไม่รู้ ว่าเป็นบาปร้ายแรง บางคนบอกว่าพระพุทธเจ้าผ่านร่าง

บางคนถูกยืมปากด่าพระพุทธเจ้า ด่าพระอรหันต์ ก็มี ซึ่งถือว่าเป็นการดูถูกพระพุทธเจ้าอย่างร้ายแรง เป็นการลดชั้นของพระ

พุทธเจ้ามาเท่ากับเปรตอสุรกาย เป็นการทำบาปใกล้ๆ อนันตริยกรรม พวกนี้ไม่กลัวบาปกลับภูมิใจอีก เพราะว่าไม่มีปัญญา

กำกับ เพราะสมาธิให้แต่ความสงบ อาจจถูกครอบงำจนหมดสภาพความเป็นคนเหลือแต่ซาก ถ้าถูกพวกนี้ครอบงำก็แสดงว่า

เรามีปัญญาน้อยกว่าเขา


อย่างที่ว่ามาในตอนต้นๆค่ะ ถือศีล ทำสมาธิ เมื่อถือศีล ใจเราเบิกบานเพราะไม่มีกิเลสชั่ว จิตก็รับธรรมได้ง่าย คนฉลาดเมื่อ

รักษาศีล จะไม่กลัวจนไม่เป็นอันทำอะไรค่ะ แล้วเมื่อมีปัญญา เราจะรู้ว่าการถือศีลที่แท้เป็นอย่างไร เจตนาค่ะที่ใช้เป็น

เครื่องตัดสิน

ไม่มีใครเป็นเหยื่อของมาร มารทำอะไรคนไม่ได้ค่ะ มารกวนเฉพาะคนมีบุญ ที่เห็นๆกันน่ะ...โดนหลอกทั้งนั้นค่ะ เพราะคน

มีบุญที่ได้ปัญญาจะไม่ทำอะไรเป็นจำอวดแบบนั้นค่ะ

อ้างคำพูด:
คนทำสมาธิจะถูก พวกเทวปุตมารหรือพยามารและบริวารหลอกล่อให้หลงเข้าสู้สมาธิจนได้ฌานอภิญญา แล้วไปสู่กับ

ดักของมารที่รอเอาไว้ นั่นก็คือความสงบ ทำให้ไม่มีปัญญาจะพาตัวเองออกมาจากตาข่ายนั้นได้ หน้าที่ของมารและบริวารก็คือ

ขัดขวางมิให้มนุษย์ทำความดีสูงสุด ดับทุกข์ได้ คือ วิปัสสนา ถ้าเราไม่มีปัญญาเพียงพอก็ไม่สามารถเอาชนะพวกมารเหล่านี้ได้

เมื่อใดเรามีปัญญาเอาชนะตัวเองได้ก็ชนะมารพวกนี้ได้


คนทำสมาธิจะไม่ถูกมารกวนค่ะ แต่ถูกจิตที่มีกิเลสของตัวเองกวน แต่เมื่อทำสมาธิจนได้ปัญญา เมื่อนั้นมารถึงจะกวนตาม

หน้าที่ของมารค่ะ

ความสงบไม่ใช่กับดักของมารค่ะ มารไม่อยากให้คนมีปัญญาสงบ แต่คนมีปัญญาจะรู้ว่าควรสงบ

มารแค่กวนความสงบคนมีบุญค่ะ ไม่มีอำนาจขนาดจะขัดขวางใครกระทำสิ่งใด ดีหรือชั่ว ตัวเราเป็นคนกำหนดค่ะ

จะดับทุกข์ได้ ต้องเข้าใจทุกข์ก่อน เมื่อเข้าใจก็จะรู้วิธี และ...การถือศีล ทำสมาธิ จะนำไปสู่ปัญญาที่ทำให้รู้วิธีค่ะ สมาธิแบบที่

ตั้งใจกับสิ่งที่ทำอยู่ ณ ขณะนั้นน่ะค่ะ ไม่ต้องไปคิดแปลงอะไร เห็นก็เห็น ได้ยินก็ได้ยิน อะไรประมาณนั้น จุฬาภินันท์ว่า หายใจ

เข้า-หายใจออก ยุบหนอ-พองหนอ น่ะง่ายที่สุดค่ะ

ไม่มีปัญญามารไม่กวนค่ะ สัจธรรมยุติธรรมเสมอ

อ้างคำพูด:
สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุทำให้เกิดการเห็นผิด ถึงขั้นเปลี่ยนตัวเองจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาอื่นได้ ถ้ายังไม่ได้ฌาน พวก

เนรมิตให้เห็นเทพองค์ต่างๆ ก็เกิดเลื่อมใส ในที่สุดก็ไปนับถือเทพไป กลายเป็นคนศาสนาอื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้ใดไม่ยึดถือกฎ

ธรรมชาติ ไม่ประกาศอิสรสภาพให้กับตนเอง มัวไปอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้ศรัทรามากกว่าปัญญา ก็แสดงว่ากำลังจะพาตัว

เองออกจากศาสนาพุทธศาสนา


สรุปได้ง่ายๆว่า จิตเรานั่นแหละที่หลอนเราไปต่างๆนานา ยากที่จะบอกได้ สิ่งที่ควรกระทำก็คือถือศีลและทำสมาธิ เพื่อให้

เกิดปัญญา แล้วเมื่อนั้นจะรู้ว่าเทพเทวดานั้น ท่านบุญสูงแล้ว ท่านมาเพื่อเมตตาช่วยเหลือคน ท่านเข้าใจศาสนาพุทธ เห็นแจ้งว่า

จะพุทธหรือพราหมณ์นั้นไซร์ หลักธรรมนั้นก็แบบเดียวกันค่ะ คนต่างหากที่คิดแปลงให้ผิดไป

ใช้ปัญญาจากการปฏิบัติก่อน แล้วเมื่อนั้นจะเกิดศรัทธาเอง ศรัทธาจากสิ่งที่รู้ รู้ว่าพระรัตนตรัย มีพระคุณกับมวลมนุษย์มากแค่

ไหน ศาสนาพราหมณ์ก็แบบเดียวกันค่ะ

อ้างคำพูด:
ถ้าจะมองคนรอบๆ 2 ประเภทคือ พวกทำสมาธิ กับพวกที่ไม่ทำสมาธิ พวกที่ไม่ทำยังทำบาปหยาบๆ เช่น ฆ่าสัตว์ ลัก

ขโมย กินเหล้า ผิดศีลธรรมหลายข้อ พวกนี้ยังแก้ไขให้ดีได้ง่ายกว่าคนทำสมาธิจนชำนาญลงร่อง ท่านเหล่านี้เรียกว่าทำความ

ผิดอย่างละเอียดลึกซึ้งจนกลายเป็นคนมีมานะ ทิฏฐิไม่ยอมเชื่อบุคลใดๆ หลงตัวเอง บุคคลเหล่านี้แก้ไขให้ดียาก ไม่มีโอกาสฝึก

ตนถึงมรรคผลนิพานในชาตินี้ได้ แต่บุคคลที่ทำไม่ดีหรือทำความผิดอย่างหยาบยังมีโอกาสฝึกตนเข้าถึงมรรคผล นิพพานได้

ง่ายกว่า เช่น องคุลิมาล ฆ่าคน 999 คนยังเป็นพระอรหันต์ได้ ตรงข้ามกับพวกฤๅษีที่มีมากมายในอินเดียสมัยนั้นไม่มีโอกาส

ปลดตัวเองออกจาก ตาข่ายของมารได้ ไม่สามารถได้มรรคผลนิพพานทั้งๆ ที่เกิดมาร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าแท้ๆ


คนที่ไม่มีศีลห้าในใจ พวกนั้นดัfยากค่ะ ใจมันไม่ดี จะทำดีได้ง่ายๆก็ผิดไปแล้วค่ะ พวกที่คิดทำสมาธิ อย่างน้อยก็คิดดีค่ะ พวกคิด

ไม่ดี คงไม่ค่อยอยากทำสมาธิเท่าไหร่

แต่เมื่อทำสมาธิแล้วจิตหลอนว่ามีฌาน พวกนั้นจะหลงกับทิฐิ ก็ยากที่จะฝึกตนให้ถึงนิพพานค่ะ

แต่...พวกที่ทำสมาธิแล้วจิตไม่หลอน มีปัญญา พวกนั้นจะมั่นใจในตัวเอง มั่นใจเพราะรู้จริง และพยายามสอนให้คนอื่นรู้จริง

ตามน่ะค่ะ เพราะอยากให้ใครๆพ้นทุกข์น่ะค่ะ อย่างน้อยรู้วิธีก็ดีกว่าไม่รู้เลย และที่สำคัญ การให้ธรรมเป็นทาน เป็นสิ่งที่

ประเสริฐสุดแล้วค่ะ

ทุกคนสามารถเป็นอรหันต์ได้ทั้งนั้นค่ะ เพียงแค่รู้วิธี ย้ำเหมือนเดิม ถือศีลให้ใจบริสุทธิ์ ทำสมาธิเพื่อเปิดรับธรรม แล้วเมื่อเกิด

ปัญญาแท้ๆ เมื่อนั้นก็รู้วิธีที่จะเป็นอรหันต์ค่ะ

กรณีขององคุลิมาร นั่นมีเหตุให้เป็นไปค่ะ ท่านเป็นคนดีโดยเนื้อแท้ของจิต แต่ถูกอวิชชาเข้าครอบงำจิต การกระทำเลยไม่ดี พระ

พุทธองค์มาโปรดโดยชี้ให้เห็นถึงสัจธรรม เมื่อกิเลสที่ครอบงำนั้นหลุดออกจากจิต ท่านก็เป็นอรหันต์ได้ค่ะ

พวกฤาษีที่ยึดติดกับความรู้ผิดๆ ความรู้ที่ไม่ใช่ของศาสนาพราหมณ์แท้ๆ พวกนั้นก็ไม่ยอมทำตามคำสอน เมื่อไม่ทำตาม

คำสอนของพระพุทธองค์ การจะเข้าถึงพระนิพพานก็ไม่มีทางเป็นไปได้ค่ะ

สุดท้ายนี้ ย้ำเช่นเดิม ปฐมบรมเทศนา - ศีล สมาธิ ปัญญา ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีระบุในพระไตรปิฎกว่าต้องมีสมาธิก่อนแล้วจึงจะดับทุกข์ได้

พระพุทธองค์ใช้สมาธิในการหาทางดับทุกข์ บอกให้พวกเราว่าต้องใช้ปัญญาดับทุกข์ แล้วเราจะไปทำสมาธิให้เสียเวลาทำไมละครับ ก็รู้ทางแล้ว พระพุทธองค์ประกาศแล้วให้ทราบทั่วกัน

ปัญญารู้แจ้ง (วิปัสสนาปัญญา) ไม่ได้มาจากสมาธิ ได้มาจากการวิปัสสนา ปัญญาจากสมาธิเรียกว่าปัญญายิ่ง อย่างระลึกชาติได้ รู้กำเนิดของสัตว์ เป็นต้น การได้ปัญญารู้แจ้ง ไม่ต้องอาศัยฌาน

ถือศีล แล้วไปทำสมาธิขั้นสูง แล้วจะได้ปัญญามาดับทุกข์ ไม่มีในพระไตรปิฎก

ในพระไตรปิฎกบอกว่า

ให้ทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนาภานา จะได้ปัญญาดับทุกข์ มีศีลเกิดในใจ มีสมาธิเกิดเองตามธรรมชาติ มีปัญญายิ่ง เมื่อเจริญให้ยิ่งขึ้นไป ก็จะถึงนิพพาน

ปฐมเทศนา หรือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พูดถึง ๓ เรื่อง;
๑) ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" (หวังสบายเกิน ไม่ทำอะไร มัวอ้อนวอนพระเจ้า พึ่งหวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังเสวยสุขโดยส่วนเดียว) และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการปฏิบัติตนเพื่อพ้นทุกข์โดยลำบากเกินไปโดยปล่าวประโยชน์
๒) มัชฌิมาปฏิปา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
๓) อริยสัจสี่

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 12:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: :b25: :b9: เป็นผู้ติดตามกระทู้นี้อ่ะคะ :b9: :b9: :b9:
:b8: :b8: มาอนุโมทนา :b8: :b8: สำหรับความรู้ทุก ๆ ความรู้ค่ะ และจะใช้สติและปัญญาในการพิจารณาทุกข้อความ...เฮ้อออออออออออ :b7: :b7: แต่ก็ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจเยอะเลย (ท้อๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) :b6: :b6: :b6:

:b24: :b24: :b24: นู๋เอค่ะ :b9:

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องพระเทวทัต ดูเหมือนจะเป็นกรณียกเว้น เพราะเป็นพระญาติ

ช่วงหลังๆ ก็มีสมมุติสงฆ์เกิดขึ้น คือ ยังไม่ได้โสดาบัน ก็มาบวช มาปฏิบัติในเพศสมณะ ไม่แน่ใจว่ามีที่พระพุทธองค์บวชให้เองหรือเปล่า แต่ไม่น่าจะมี น่าจะเป็นการบวชกับพระเถระ เรียนกับพระเถระ

กรภิกษุ หมายถึง เฉพาะเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ภิกษุ หมายถึง สมมุติสงฆ์ พระเสขะ และพระอเสขะ

โสดาบันลงอบายได้หรือเปล่า? โสดาบันไม่ทำอนันตริยกรรม เท่าที่ได้ศึกษามายังไม่มี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 02:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อรรถกถาของท่านเป็นฉบับใหนครับ ของผมหาไม่เจอ มี 410 หน้า (ฉบับแปล) ถ้าเป็นต้นฉบับบาลี ก็คงลำบากผมละคับ ก็บอกแล้วว่ายังไม่ได้ศึกษาบาลีไวยกรณ์

ถ้าจะถืออรรถกถา ก็แล้วแต่ครับ ผมถือพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ





คุณควรจะศึกษาบาลีไวยกรณ์สะนะ จะได้รู้ว่าคำว่า ภิกขุ หมายถึง ภิกษุ อย่างเดียวหรือเปล่า
ไม่งั้นก็มาถกเขาอยู่แบบนี้ เพราะความเชื่อในศัพท์แบบผิดๆ
ภิกขุมีคำแปลถึง ๑๑ คำแปล ไปหาอ่านเองนะคะ


ส่วนพระไตรปิฎกที่คุณศึกษาอยู่ อาจจะแค่ของประชาชนทั่วไปศึกษา

ไปหาอ่านของที่พระที่ท่านเป็น ป.ธ. ศึกษาเถอะค่ะ
รู้จักท่าน พระธรรมธีรราชมหามุนี โชดก ญาณสิทฺธิเถระ ป.ธ. ๙ ไหมคะ?
ฉายาท่านคือ ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ ไปหาศึกษาได้ที่วัดมหาธาตุค่ะ
เวลาท่านสอนอะไรก็แล้วแต่ ท่านจะยกพระไตรปิฎกอย่างเดียว
หน้าไหน เล่มไหน บรรทัดที่เท่าไหร่

cool

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องพระเทวทัต ดูเหมือนจะเป็นกรณียกเว้น เพราะเป็นพระญาติ

เอาเข้าไปครับท่าน มันมีในพระไตรปิฏกตรงไหนที่ท่านบอกว่ายกเว้นเพราะเป็นญาติ ท่านบอกว่าอ่านจบแล้ว 25 เล่ม ผมถามแค่นี้น่าจะตอบได้นะ (แล้วอย่าตอบให้ผมไปอ่านเองนะ ) ยังมีอีกหลายรูปที่ไม่ได้บรรลุธรรมก่อนแต่พระพุทธองค์ก็บวชให้ ท่านศึกษาพระไตรปิฏกแต่ทำไมเรื่องแค่นี้กลับไม่รู้ หรือรู้แต่เล่นบาลี ไปเรื่อยๆ ยังงั้นหรือครับ ตกลงท่านจะสรุปว่ายังไง

1. พระที่พระพุทธเจ้าบวชให้จำเป็นต้องเป็นโสดาบันก่อนใช่หรือไม่ใช่
2. ยกเว้นเพราะเป็นพระญาติเอามาจากไหน อ้างอิงด้วยครับ
3. ยอมรับไหมว่าท่านเข้าใจผิด


เอาที่อ้างอิงมาก็พอไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มนะครับ
ที่ผมคาดคั้นท่านเพราะท่านอ้างว่าอ่านพระไตรปิฏกจบ 25 เล่ม แล้วอีกอย่างทันก็ชอบแสดงธรรมมาก แต่ส่วนมากก็ผิด ผมกลัวว่าความเข้าใจแบบนี้จะขยายออกไป ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อพระศาสนา ถ้าผมเข้าใจผิดอย่างไรก็ขอให้ท่านหาหลักฐานที่อ้างอิงได้มายืนยันนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระวินัยมีกรณียกเว้นเฉพาะพระญาติหลายข้อ ถือเป็นการสงเคราะห์พระญาติ

๒๕ เล่มที่ให้อ่านเป็นเป็นพระสูตร ไม่มีเรื่องพระเพณีการบวช

พระเจ้ามิลินเคยถามปัญญาทำนองนี้กับพระนาคเสน มีในมิลินปัญญหา ถึงพระพุทธองค์จะรู้อยู่แล้วว่าการบวชพระเทวทัตจะสร้างความลำบากให้ แต่หากไม่บวช พระเทวทัตก็มิอาจพ้นนรกแบบไม่มีที่สิ้นสุด จึงยอมให้บวชเพราะผลของการบวชจะทำให้พระเทวทัตตมีทางพ้นนรกขึ้นมาได้

พระพุทธองค์เวลาแสดงธรรมให้กับบุคคลทั่วไป จะเริ่มจาก ทาน ศีล สวรรค์นรก เมื่อเห็นว่ามีใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงแสดงอริยสัจ ๔ หากพระพุทธองค์เห็นว่ามีดวงตาปราศจากธุลี หรือมีดวงตาเห็นธรรม จะทรงตรัสว่า จงมาเป็นภิกษุเถิด

เรื่องความหมายของ ภิกษุ ถ้าเป็นภิกษุโดยการปฏิบัติ ก็หมายถึง มีศีลสำรวม ปาโมกข์สำรวม อินทรีสำรวม เรียกสิกขา ๓ ฯ หรือมีธรรมของภิกษุในตัว คนธรรมดาจะมาทึกทักว่าตนเป็นภิกษุก็เพียงเป็นการสมมุติ

ใครบิดเบือนคำสอนในพระไตรปิฎก กล่าวสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่ใช่วินัย กล่าวสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย กล่าวสิ่งที่เป็นคำสอนว่าไม่ใช่คำสอน กล่าวสิ่งที่เป็นคำสอนว่าไม่ใช่คำสอน ย่อมประสบบาปไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ยิ่งไปแก้ไขพระไตรปิฎกแต่งคำสอนขึ้นมาเอง เพิ่มโน่นเพิ่มนี่ ก็น้องๆ อนันตริยกรรม เท่าที่เทียบเคียงพระไตรปิฎกทุกฉบับ ก็แปลมาเหมือกัน ตอนนี้ก็ถือฉบับหลวงที่สังฆยาณาครั้งล่าสุด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 13:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1. พระที่พระพุทธเจ้าบวชให้จำเป็นต้องเป็นโสดาบันก่อนใช่หรือไม่ใช่
2. ยกเว้นเพราะเป็นพระญาติเอามาจากไหน อ้างอิงด้วยครับ
3. ยอมรับไหมว่าท่านเข้าใจผิด


ท่านตอบผมข้อสามข้อเดียวคับ ข้อ 1 กับ 2 ยังไม่ตอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เปลี่ยนข้างกันดีมั้ย ท่านลองศึกษาหาหลักฐานมาอ้างอิงค้านสิ่งที่ผมนำมาแสดง เล่นให้ผมหามาฝ่ายเดียวก็แย่สิ ช่วงนี้คงหาเวลาว่างได้ยากหน่อย เพราะยังต้องไปเรียนบาลีไวยกรณ์เพิ่มอีก :b13:

พระวินัยนี่อ่านแล้วปวดหัวพิลึก ตอนแรกก็กะบวช พออ่านๆ ไป เล่นเอาเครียด เป็นฆารวาสอย่างนี้สบายกว่าเยอะ :b12: พลาดนิดๆ หน่อยๆ นรกเปิดประตูรอเลย ก็เลยอ่านข้ามๆ ไปเสียส่วนมาก กะว่าจะมาเก็บรายละเอียดในพระวินัยอยู่เหมือนกัน ขออ่านทวนพระวินัยอีกสักรอบก่อนจะได้ไม่มีอะไรผิดพลาด ถ้าเจออะไรน่าสนใจก็จะตัดมาให้อ่านกัน

เรื่องตั้งแต่ตรัสรู้ การแสดงธรรมและการบวชภิษุอยู่ในพระวินัยเล่ม ๔

ผมว่าท่านเอาความสนใจหันไปหาพระธรรมจะดีกว่ามาสงสัยอะไรในตัวผมดีกว่านะ ศัทราท่านมีมาก อะไรผิดอะไรถูกพออ่านๆ ไปก็จะรู้เอง ในพระไตรปิฎกไม่มีความเห็นเหมือนตำราประกอบอื่นๆ เวลาอ่านจากตำราประกอบก็เอามาจากหลายๆ เจ้า จะได้คานกัน อ่านพระไตรปิฎกก็เหมือนกับได้ฟังธรรมโดยตรงจากพระพุทธองค์ ชาวพุทธเกิดมาไม่ได้ศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นที่สุด ที่ท่านสนใจพระพุทธศาสนามากแต่ไม่ได้เอามาจากพระไตรปิฎกโดยตรงนี่ผมถือเป็นความประมาทของท่านทีเดียว

อ่านจบแล้วท่านก็จะเหมือนพวกผมแหละ ทิ้งตำราอื่นหมดเอาแต่พระไตรปิฎกอย่างเดียว

มีโอกาสแวะมาทางเหนือก็เข้ามาคุยกันได้ มีเรื่องที่จะต้องรู้อีกเยอะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 14:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสาวก

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
... เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น ผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาโควินทสูตร
ดูกรปัญจสิขะ ก็บรรดาสาวกของเรา ที่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บรรดาสาวกผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด บางพวกเป็นโอปปาติกสัตว์ เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ก็มี บางพวกเป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ก็มี บางพวกเป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าก็มี ฯ

...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การบวช

หลังจากตรัสรู้ พระองค์จะแสดง อนุปุพพิกถา (รวมถึงพระอรหันต์อีก ๖๐ รูปที่กระจายกันไปประกาศศาสนา) คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์ ทรงทราบว่า ผู้ฟังมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ทำให้ผู้ฟังมีดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็น ผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา. จึงจะให้บวช ถ้าไม่บวช ก็จะประกาศตัวเป็นอุบาสกอุบาสิกา

วาจาการอุปสมบทเอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระผู้มีพระภาคขจะตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

การประกาศตัวเป็นอุบาสกอุบาสิกา
ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ทรงอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ (เหตุเมื่อศาสนาประกาศแพร่กระจายไปในวงกว้างแล้ว)
ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท มาจาก ทิศต่างๆ จากชนบทต่างๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท. เพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุ ทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท ย่อมลำบาก จึงทรงอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชา อุปสมบทในทิศนั้นๆ ในชนบทนั้นๆ เถิด

การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท ปลงผมและหนวด แล้ว ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว ให้นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีสั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้ แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-
ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง (สามจบ)

กำหนดให้พระอุปัชฌาย์ต้องเป็นพระอเสขะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ
(ศุกลปักษ์ ๑)
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
๔. ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
เพราะมีพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา แต่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต จึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งเราได้อนุญาตไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการ อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม

กรรมวาจาให้อุปสมบทญัตติจตุตถกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น
อุปัชฌายะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้
มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด. (สามจบ)

อุปสมบทอุปสัมปทาเปกขะ
อุปสัมปทาเปกขะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่ง กระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออุปสมบทอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด (สามจบ)

กรรมวาจาให้อุปสมบท อุปสัมปทาเปกขะ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้. ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มี
ท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. (สามจบ)

อุปสมบทด้วยคณะ
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวกสองบ้าง มีพวกสาม บ้าง มีพวกสี่บ้าง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมีพวกหย่อน ๑๐ รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก ๑๐ หรือมีพวก เกิน ๑๐.

...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร