วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




05buakba.jpg
05buakba.jpg [ 37.1 KiB | เปิดดู 2990 ครั้ง ]
tongue ขอบคุณคุณวิสุทโธที่มาบอกเตือน

อนัตตลักขณสูตร คัดลอกมาจากลานธรรม

คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า คัดลอกมาจาก Web portee.in.th ครับ กราบขอบพระคุณทั้ง 2 เวบด้วยครับ
:b20: :b20: :b20:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
คุณกบนอกกะลาครับ เวลาคุณอ่านหนังสือ ต้องใช้ปัญญาสัมมาสังกัปปะ คือการสังเกต พิจารณา เข้ามาประกอบให้มากนะครับ จะได้ยกมาถูกต้องว่าใครพูดประโยคใด


ก็ใช้ quote อ้างอิงหน่อยซิครับ..มั่วมา..ก็เจอมั่วไปอย่างนี้แหละครับ :b12: :b12:

อโศกะ เขียน:

การเข้าถึงนิพพานมี บุคคล 4 ระดับครับ ลองไปดูมาใหม่ให้ดีๆนะครับ

***********************บุคคล ๕ จำพวก
๑.ปุถุชน คนชั่ว คนธรรมดา ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่รู้จักแบกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ล่วงศีล ๕ อยู่เป็นนิจ
๒.กัลยาณชน คนดี ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล รู้จักแบกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ไม่ล่วงศีล ๕
๓.เตรียมชาวพุทธ คือผู้ที่กำลังศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาวิธีทำวิปัสสนา วิธีเจริญมรรค ๘ จนเข้าใจแจ่มแจ้งและมีความรู้ทางทฤษฎีถึงสุดยอดคำสอนของพุทธศาสนาคือ “สัพเพธัมมา อนัตตา”
๔.ชาวพุทธ คือผู้ที่ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เจริญมรรค ๘ ละความเห็นผิดเป็นอัตตา พอกพูนความเห็นถูกต้องเป็นอนัตตา อยู่ทุกวันเวลานาทีที่ระลึกได้และมีโอกาส
๕.อริยบุคคล คือผู้ที่เจริญเหตุทำวิปัสสนาภาวนาจนได้รับผลถึงผลคือมรค ๔ ผล ๔ อริยบุคคลมี ๔ จำพวกคือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหันต์บุคคล



อื่มมม...พิมพ์เพราะไม่ทราบจริง ๆ ด้วย :b12: :b17: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 00:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูมานาน ขอแจมมั่ง

สัมมาทิฐินี่นะ

ถ้าพูดอย่างสำนวนโลก มันก็พออนุโลมได้
เช่นว่า พวกทรงเจ้าเข้าผี เราก็ว่าเขามิจฉาทิฐิ คือเห็นผิดๆไปจากที่ควรจะเป้น
ส่วนเราถือศีล ปฏิบัติธรรม ตามคำสอนไม่นอกลู่นอกทาง ก็พากันพูดว่า เป็นสัมมาทิฐิ

แต่ที่ว่ามา มันเป็นคำว่า "สัมมาทิฐิ" แบบภาษาไทย
ที่ไปยืมคำพระพุทธเจ้ามาใช้ให้เข้ากับสำนวนโลก


สัมมาทิฐินี้อย่างที่คุณมหาราชันย์และหลายๆคนพยามจะบอกนั้นน่ะ ถูกแล้ว
คือมันต้อง "เป็นความเห็นแจ้งในอริยะสัจ" ถึงจะเรียกว่า "สัมมาทิฐิ" ที่พระพุทธเจ้าพูด


ทีนี้ความเห็นแจ้งในอริยสัจนี่ หรือสัมมาทิฐินี่
คนแต่ละคนมีสัมมาทิฐิไม่เท่ากัน
มันมีรอบ มีระดับของมัน
ไม่ใช่ว่าใครมีดวงตาเห็นธรรม หรือแจ้งอริยะสัจขึ้นมา ก็ว่าสัมมาทิฐิ

ที่จริงต้องพูดว่า "สัมมาทิฐิตามลำดับชั้น" คนแต่ละคนมีสัมมาทิฐิไม่เท่ากัน
โสดา- สกิทา- อนาคา- อรหันต์-
และต้องดูควบคู่ไปกับสังโยชน์ 10 ว่าชั้นไหน จัดการกิเลสอะไรไปแล้ว เท่าไหร่ยังไง

ยกตัวอย่างว่า
ถ้าเห็นว่าโลกกลม ไม่แบน แถมนั่งยานอวกาศไปดูคาตามาแล้ว
เราก้คิดว่าเราได้เห็นข้อเท็จจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ผิดไปจากนี้แน่นอน
เราพูดอนุโลมสำนวนโลก ก็พอจะพูดได้ว่า "สัมมาทิฐิ"

แต่ถ้าจะมาพูดว่าเป็นสัมมาทิฐิแบบพระพุทธเจ้า อันนี้ผิดทันที
เพราะอะไร...

เพราะโลกลมหรือโลกแบนมันก็เป็น"ของภายนอก"
รู้แล้วก็ไม่ได้ระคายกิเลส ไม่สามารถถอดถอนกิเลสทั้ง 10 อย่างได้เลย (สังโยชน์)

สังโยชน์ทั้ง 10 มันก็อยู่แค่ในกายในใจ ไม่นอกไปจากนี้
อริยสัจก็อยู่แค่ในกายในใจ ความจริงอื่นใดไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกายเรา ใจเรา ก็ไม่ใช่อริยสัจ

กายคนอื่น ใจคนอื่นก็ไม่ได้
ต้องกายเรา ใจเรา

ถ้าเอาความหมายของพระพุทธเจ้า
ต่อให้เปรียญ 9 ประโยค ทรงจำพระไตรปิฏกได้ทุกตัว ก็ยังไม่ได้ใกล้คำว่าสัมมาทิฐิ
เพราะสังโยชน์ไม่กระเทือนเลย

สัมมาทิฐินั้น ต้องมีความรู้มาขจัดความไม่รู้
ความไม่รู้ก็มีหลายระดับ ถูกอำพรางอยู่
สัมมาทิฐิก็มีหลายระดับ

ปลายทางสุดท้ายที่พระอรหันต์นั้น คือหมายถึงว่า
รู้แจ้งหมดสิ้นถึงความจริงของกายของใจเรา อันถูกอำพรางด้วยกิเลสมาช้านาน

ผมว่าไปตามมีตามเกิดนะ แต่ลองตั้งข้อสังเกตุไว้อย่างนี้ดู


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 23:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
เรียนเชิญคุณมหาราชันย์อธิบายความเค็ม หรือรสเค็ม ว่าเป็นอย่างไร ให้ชาวโลกเข้าใจได้เลยนะครับ หากอธิบายได้ดีจะโอนเงินเข้าบัญชีให้ แต่ต้องขอเพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายช่วยกรุณาเป็นกรรมการและพยานให้ด้วยนะครับ (ด้วยการร่วมแสดงความเห็น)


สวัสดีครับคุณอโศกะ

คุณจะเบี้ยวแล้วใช่ไหมครับ
ผมได้อธิบายไปแล้ว คูณก็มาตอบยืนยันว่าผมตอบถูกต้องแล้ว


แต่ผมยังไม่ได้รับเงินที่คุณอโศกะ โอนมาจริง ๆ


ผมรอเงินอยู่ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 00:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32: :b32:

คงจะรวยก็คราวนี้ละซิ

:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ 04
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร



สวัสดีครับคุณอโศกะ

คุณแสดงธรรมผิดแต่คุณยังไม่ยอมรับผิด หาที่อ้างอิงมาไม่ได้ก็ยกมามั่วเพื่อเอาตัวรอด โดยไม่ได้ดูบริบทว่าเข้ากับเรื่องของตัวเองหรือเปล่า


ผมต้องการให้คุณอโศกะยกมาอ้างอิงว่าไตรลักษณ์เป็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ตรงไหนแล้วนำมาแสดงแบบนี้ครับ นี่คือสิ่งที่ผมต้องการเห็น ถ้าคุณหามาไม่ได้ก็แสดงว่าคุณอโศกะแสดงธรรมผิดครับ


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์



[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ




อนัตตลักขณสูตร ที่แสดงความรู้เรื่องไตรลักษณ์ เป็นการปรารภเหตุเพื่อแสดงธรรมที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แสดงสัมมาทิฏฐิที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไปในสกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป
เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร
เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ
เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตรจบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ


Quote Tipitaka:
http://www.tipitaka.com/dharmajak.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_0409_resize.JPG
100_0409_resize.JPG [ 97.33 KiB | เปิดดู 2914 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณมหาราชันย์ ผมไม่เห็นคำตอบหรือคำอธิบายว่า เค็ม เป็นอย่างไร กรุณาCopyมาวางให้ดูให้ชัดเจนหน่อยครับ การจ่ายเงินเป็นล้านนี้ ต้องเห็นหลักฐานชัดเจน จะแจ้ง ไม่อ้อมค้อมอ้อมค่ายไปทางอื่นนะครับ Onion_L

อีกอย่างหนึ่งคุณกล่าวว่าการเห็นไตรลักษณ์ไม่ใช่สัมมาทิฐินั้น คุณพลาดแล้ว เพราะคุณยกคำภีร์มาเถียงตัวเอง ดังที่ผมสังเกตพบและยกมาให้ดูนี้ :b12:

มหาราชันย์ เขียน
อนัตตลักขณสูตร ที่แสดงความรู้เรื่องไตรลักษณ์ เป็นการปรารภเหตุเพื่อแสดงธรรมที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แสดงสัมมาทิฏฐิที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไปในสกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค :b34:

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป
เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เป็นกัลยาณมิตรแล้วคอยเพ่งผิดของเพื่อน จะสุขเย็นได้อย่างไร
ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า นี่ท่านละชั่ว คือไม่เพ่งผิดใคร เพ่งผิดของตนเอง แก้ไขตนเอง เพ่งคุณงามความดีของผู้อื่น หาให้พบคุณงามความดีของผู้อื่นและทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นี่คือการทำดีอีกอย่างหนึ่ง จิตจึงจะไม่เศร้าหมอง แล้วจะได้มีเวลาทำงานของตนเอง คือการชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ด้วยวิปัสสนาภาวนา อย่างเต็มที่

ในลานธรรมจักรนี้ใครจะผิด จะถูกอย่างไร ผู้อ่าน วิญญูชนทั้งหลายเขาจะตัดสินด้วยสติปัญญาของเขาเอง
การเอาความที่ไปอ่านไปค้นตำรา รู้มามาก อ้างอิงเก่ง มาข่มทับผู้อื่น ปะ ฉะ ดะไปทั่วลาน คุณไม่กลัวบาปกรรมหรือครับ หากไปเจอกับบางท่านที่เป็นอริยเจ้าคุณจะตกที่นั่ง อริยุวาตันตราย คือประมาทจ้วงจาบพระอริยะเจ้า จะปิดกั้นให้คุณปฏิบัติธรรมไม่ได้ หรือไม่ประสบความสำเร็จนะครับ ถ้าแก้ไขไม่เป็น อยากรู้วิธีแก้ก็ถามเข้าไปในลานนะครับ


*********คุยกันสบายๆ อย่าห่วงอะไรให้มาก ถ้าอยากจะมีวาทะแก้ไขพระศาสนา กรุณาไปตั้งกระทู้เตือนคนหรือพระที่กำลังถ่ายทอดสิ่งผิดๆให้กับชาวโลก ถ่ายทอดเรือ่งปลุกเสก ลงเลขยันต์ เครื่องรางของขลัง โชคชะตาราศรี สะเดาะเคราะห์ สะเดาะโศรก เอาสวรรค์เอาวิมานมาล่อให้คนทำบุญ บ้าบุญ ด้วยความงมงาย ติดอยู่ในประเพณี พิธีกรรม โชค ลางต่างๆ ไม่มีใครอยากสอนธรรมอันเป็นแก่นแท้ เนื้อหาและวัตถุประสงค์ของพุทธศาสนาคือวิปัสสนาภาวนา เพื่อมรรค ผลนิพพาน พ้นทุกข์ ความเวียนว่ายตายเกิด เพราะยากและมีลาภสักการะน้อย คุณมหาราชันย์คุยเก่ง ขยันพิมพ์อยู่แล้ว ช่วยให้ไอเดียแก่สังคมเพื่อแก้ไขสิ่งที่ว่านี้เถอะ จะเป็นพระคุณกับโลกและพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งครับ ขออนุโมทนาล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย สาธุ
Onion_L

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
สัมมาทิฐิ แปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆ ว่าเห็นธรรมตามความเป็นจริง
สัมมาทิฐิจะสูงสุดเต็มร้อยเมื่อเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ดังพระวาจาที่พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่า
"สัพเพธัมมา อนัตตา"


แสดงธรรมผิดมานาน จนบัดนี้ท่านยังไม่ยอมรับผิดอีกหรือครัยท่านอโศกะ



อโศกะ เขียน:
คุณแน่ใจหรือว่า คนทั่วไปรู้จักและเข้าใจ อนัตตา

อนัตตา โดยตำรา และคิดเอานั้น เป็นอนัตตาหลอก อนัตตาจริงๆต้องสัมผัสรู้ที่ใจ จึงจะเกิดเป็นมรรค เป็นผลได้นะครับ


ถ้าการสื่อสารด้วยภาษาเป็นอนัตตาหลอก คำว่าอนัตตาที่คุณอโศกะโพสต์มาก็แสดงว่าเป็นอนัตตาหลอกด้วยสิครับ
เมื่อข้อความแสดงสิ่งคุณโพสต์มาเป็นภาษาเขียนเป็นสิ่งหลอก

แสดงว่าคุณเป็นคนลวงโลกด้วยสิครับ


อโศกะ เขียน:
สวัสดีครับคุณมหาราชันย์ ผมไม่เห็นคำตอบหรือคำอธิบายว่า เค็ม เป็นอย่างไร กรุณาCopyมาวางให้ดูให้ชัดเจนหน่อยครับ การจ่ายเงินเป็นล้านนี้ ต้องเห็นหลักฐานชัดเจน จะแจ้ง ไม่อ้อมค้อมอ้อมค่ายไปทางอื่นนะครับ


อโศกะ เขียน:
[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

อมิตตะพุทธ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก




ผมตอบคำถามของคุณหลายรอบแล้วครับ และเป็นการตอบคำถามที่ถูกต้องด้วยครับ
กระทู้นี้ของผมก็มีคำตอบมาให้คุณด้วยครับ :b17: :b4: :b35:



ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มที่เหตุครับ จึงจะมีผลขึ้นมาได้
เมื่อเริ่มต้นคำถาม คุณเริ่มต้นคำถามด้วยภาษามนุษย์หรือเปล่าครับ ??

ถ้าคุณอโศกะกล่าวว่า
อโศกะ เขียน:
ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์


คำถามนี้ของคุณอโศกะก็ตั้งคำถามผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้วครับ
เพราะคำถามนี้ก็เป็นคำถามที่เข้าใจเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้
เมื่อเข้าใจคำถามเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ คุณเอาเรื่องไร้สาระมาถามท่านผู้อ่านเขาทำไม ??
เสียเวลาเปล่าครับคุณอโศกะ


อโศกะ เขียน:
ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์

คุณจะยอมรับความจริงอย่างไหนครับคุณอโศกะ
1. คำถามนี้ของคุณอโศกะเข้าใจเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ ??

2.คำถามนี้ของคุณอโศกะเข้าใจเป็นภาษามนุษย์ได้ ??




ถ้าคุณตอบข้อ 1. นับตั้งแต่นี้ต่อไปคุณไม่ต้องเข้าเว็ปไหน ๆ หรือไปพูดกับใครเรื่องธรรมะอีกต่อไปแล้วครับ เพราะสิ่งที่คุณรู้คุณเข้าใจอธิบายให้เขาเข้าใจเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้
การที่คุณโพสต์มา ส่งเสียงพูดออกมา คุณคือคนบ้าทำสิ่งไร้สาระนั่นเอง น่ารำคาญต่อผู้อื่นนั่นเอง



ถ้าคุณตอบข้อ 2. แสดงว่าผมตอบถูกต้องแล้ว ผมสามารถทำให้คุณอโศกะและใคร ๆ ที่เข้ามาอ่านเข้าใจว่าความเค็ม เค็ม อธิบายได้ด้วยภาษามนุษย์ คุณอโศกะรู้จักความเค็มได้แล้ว ผู้อ่านก็รู้จักความเค็มได้ทันทีเมื่อกล่าวถึงคำว่า ความเค็ม และรสเค็ม


ตกลงใจจะเลือกตอบข้อไหนดีครับคุณอโศกะ ???


เงินทองแม้เป็นของนอกกาย แต่เป็นของหายากครับ ทีหลังอย่าเอาเงินมาอวดดีล้อเล่นกับคนอื่นครับคุณอโศกะ



ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มที่เหตุครับ จึงจะมีผลขึ้นมาได้
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มที่เหตุครับ จึงจะมีผลขึ้นมาได้
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มที่เหตุครับ จึงจะมีผลขึ้นมาได้
:b17: :b17: :b17: :b4:



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อีกอย่างหนึ่งคุณกล่าวว่าการเห็นไตรลักษณ์ไม่ใช่สัมมาทิฐินั้น คุณพลาดแล้ว เพราะคุณยกคำภีร์มาเถียงตัวเอง ดังที่ผมสังเกตพบและยกมาให้ดูนี้



ไม่พลาดครับ
ผมไม่ได้แสดงธรรมผิดครับ ไม่ได้เถียงตัวเองครับ
คนที่พลาดซ้ำแล้วซ้ำอีกคือคุณอโศกะครับที่พลาด อ่านมาไม่ดี ศึกษามาไม่ดี
ผมเตือนคุณแล้วคุณก็ไม่ยอมรับผิด คนอื่นมาเตือนคุณ คุณก็ไม่ยองรับว่าแสดงธรรมผิด


นี่ขนาดผมเน้นสีแดงให้คุณได้อ่านด้วยนะครับ คุณยังไม่อ่าน ไม่ทำความเข้าใจ
สัมมาทิฏฐิที่....แสดงสัมมาทิฏฐิที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไปในสกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค

ความรู้ในไตรลักษณ์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิครับ แต่ใช้พิจารณาเพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคือเกิดวิราคะธรรมครับ

ความเบื่อหน่ายหรือวิราคะธรรม เรียกว่าสัมมาทิฏฐิที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
สัมมาทิฏฐิ คือตรงนี้ครับ


[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตรจบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ



ยุคนัทธวรรค วิราคกถา
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะ เพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมนั้นๆวิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ



[๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น พ้นจากขันธ์และพ้นจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ



[๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ

[๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติ
จึงเป็นผล ฯ

[๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ


[๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นวิมุติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุติ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสละ ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผลอย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบวิราคกถา ฯ



อโศกะ เขียน:
เป็นกัลยาณมิตรแล้วคอยเพ่งผิดของเพื่อน จะสุขเย็นได้อย่างไร
ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า นี่ท่านละชั่ว คือไม่เพ่งผิดใคร เพ่งผิดของตนเอง แก้ไขตนเอง เพ่งคุณงามความดีของผู้อื่น หาให้พบคุณงามความดีของผู้อื่นและทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นี่คือการทำดีอีกอย่างหนึ่ง จิตจึงจะไม่เศร้าหมอง แล้วจะได้มีเวลาทำงานของตนเอง คือการชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ด้วยวิปัสสนาภาวนา อย่างเต็มที่


ไม่ได้คิดเพ่งผิดครับ
แต่เห็นมิตรของเราแสดงธรรมผิด ผมเอาสิ่งที่ถูกมาแสดงให้ทราบ เป็นการบอกทางถูกให้ครับ
ผมแนะนำสิ่งดีสิ่งถูต้อง สิ่งเป็นประโยชน์ให้ครับ

ข้อนี้คุณรู้ผิดคุณเข้าใจผิดแล้วครับ




อโศกะ เขียน:
ในลานธรรมจักรนี้ใครจะผิด จะถูกอย่างไร ผู้อ่าน วิญญูชนทั้งหลายเขาจะตัดสินด้วยสติปัญญาของเขาเอง
การเอาความที่ไปอ่านไปค้นตำรา รู้มามาก อ้างอิงเก่ง มาข่มทับผู้อื่น ปะ ฉะ ดะไปทั่วลาน คุณไม่กลัวบาปกรรมหรือครับ หากไปเจอกับบางท่านที่เป็นอริยเจ้าคุณจะตกที่นั่ง อริยุวาตันตราย คือประมาทจ้วงจาบพระอริยะเจ้า จะปิดกั้นให้คุณปฏิบัติธรรมไม่ได้ หรือไม่ประสบความสำเร็จนะครับ ถ้าแก้ไขไม่เป็น อยากรู้วิธีแก้ก็ถามเข้าไปในลานนะครับ


ข้อนี้คุณรู้ผิด คุณเข้าใจผมผิดครับ
ผมไม่ได้ตั้งใจไปข่มทับคนอื่นเลยครับ แต่ผมตั้งใจไปให้ความรู้กับคนที่รู้มาผิด แสดงธรรมผิด ผมตั้งใจไปช่วยเหลือแก้ไข เอาสิ่งที่ถูกต้องไปแสดงครับ

ผมไม่ได้ทำบาปครับ ผมสร้างบุญครับ เพราะผมนำพระเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายไปแสดงครับ คนที่รู้สึกว่าผมบาปคือการที่คุณอโศกะครับ คุณไม่ยอมรับความจริงว่ารู้มาผิด ไม่ยอมรับว่าคุณแสดงธรรมผิดครับ

ใครเป็นหรือไม่เป็นพระอริยะเจ้า ผมมีปัญญาวินิจฉัยได้ครับ ไม่ต้องห่วงครับ และผมรู้จักวิธีแก้ไขตามที่คุณว่ามาด้วยครับ โดยเฉพาะพระอริยะเจ้าไม่แสดงธรรมที่ผิดครับ

และคุณอโศกะก็ยังไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นพระอริยะเจ้าครับ
ในเมื่อคุณยังแสดงธรรมที่ผิดอยู่ คุณจึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นแม้แต่กัลยาณปุถุชนครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง นั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3050_resize.JPG
100_3050_resize.JPG [ 89.37 KiB | เปิดดู 2874 ครั้ง ]
tongue เมื่อคุณมหาราชันย์ได้แสดงทิฐิออกมาเต็มที่ ยาวยืดแล้ว คงคลาย ปฏิฆะได้มากแล้ว
กรุณาเขียนเป็นภาษามนุษย์ ไทย อธิบายให้ผมฟังหน่อยครับ

เค็ม นั้น คนทั่วไปรู้ แต่เขาไม่รู้ด้วยคำอธิบาย ถ้ายังไม่มีสัญญาหรือ อุปาทาน ว่าเค็ม อยู่ในสมอง

แต่เมื่อลิ้นเขาได้สัมผัสความเค็มจาก การเอาเกลือมาวางบน ลิ้นของเขาแล้ว ความรู้รสเค็ม ซึ่งตอบออกมาเป็นภาษามนุษย์ จะพูดได้เพียงคำว่า "อ้อ" เพราะรู้ที่ใจตรงๆ อธิบายไม่ได้


สิ่งที่ต้องการเห็นคือคำอธิบายเป็นตัวหนังสือ ว่า เค็ม เป็นอย่างไร เขียนออกมาให้ดูหน่อยซิครับ คุณมหาราชันย์ มหาบัณฑิต ทางบัญญัติ

มันน่าจะง่ายกว่าการยกบัญญัติ อ้างพุทธวัจจน์ มายาวเป็นหลายวา เพื่อรับรองทิฐิของคุณว่าถูกต้อง ทิฐิของผู้อื่น ผิด

คุณทำพลาดมากแล้วนะครับ ที่ทำหลักฐานแห่งมิจฉาทิฐิของคุณไว้ยาวยืด ขณะนี้กรรมการทั่วโลก กำลัง เฝ้าสังเกตวาทะ และทิฐิ เหล่านี้อยู่ ผิดถูกอย่างไร เราอย่าพึ่งตัดสินด้วยตัวเองเลยครับ ผู้มีปัญญา รู้จริง ถึงจริง ท่านจับตามองอยู่นะครับ

อย่าหลบเลี่ยงเฉโกต่อไปอีกเลยนะครับ สั้นๆ เรียบง่าย อธิบายความเค็ม เป็นตัวหนังสือมาให้ดูในนี้หน่อย

อานิสงคือ ถ้าอธิบาย รสเค็ม ได้ คุณจะได้อธิบายให้คนทั้งโลกรู้จัก เข้าใจ และสัมผัส พระนิพพานได้โดยง่าย
สาธุ ถ้าเป็นได้อย่างนั้นจริงๆ :b34:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

อมิตตะพุทธ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก





ความเค็ม คือ
ปริมาณความเข้มข้นของเกลือ


รสเค็ม คือ
ความรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณเมื่อลิ้นได้สัมผัสลิ้มชิมรสความเข้มข้นของเกลือ




คำถามของคุณนี่แหละครับคือคำตอบอยู่แล้วครับ
เพราะคำถามของคุณอโศกะคือเหตุ แห่งการเกิดความเค็ม และการรู้แจ้งความเค็มของชิวหาวิญญาณครับ

อโศกะ เขียน:
[b]ธรรมมะ สัจจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม นิพพาน ทั้งหมดนั้นต้องสัมผัสรู้ รู้ได้ด้วยจิตใจเจ้าของ นึก คิดเอาไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆดังเช่น ความเค็ม เค็ม อธิบายไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ ถ้าใครอธิบายให้รู้จักความเค็มได้ ผมมีรางวัลให้ 1 ล้านบาทครับ คุณมหาราชันย์จะลองดูก็ได้นะครับ แต่วิธีที่จะไปรู้ความเค็มได้นั้น บอกได้ อธิบายได้ตั้งหลายนัยยะ ตามพื้นจิตและระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้อธิบาย อย่างที่เราท่านทั้งหลาายกำลังมาช่วยกันอธิบายวิธีเข้าถึงนิพพานกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

อมิตตะพุทธ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก




ผมตอบอย่างนี้ครับ คุณว่าผิดหรือถูกครับ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 14 ต.ค. 2009, 17:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ศัพท์เรียกต่างๆล้วนแต่เป็นบัญญัติ
ทุกๆบัญญัติล้วนมีปรมัตถ์ซ้อนอยู่
ทุกๆปรมัตถ์ล้วนมีสภาวะปรมัตถ์ซ้อนอยู่

เหตุใดจึงเรียกว่าเกลือ?
เหตุใดจึงเรียกว่ารส?
เหตุใดจึงกล่าวว่าเค็ม?

บัญญติมีไว้เพื่อใช้ในการสื่อสารไปในทางเดียวกัน
แต่โดยสภาวะที่แท้จริงนั้นไม่สามารถนำมาพูดเป็นรูปธรรมได้
จึงต้องมีทั้งบัญญัติและปรมัตถ์ ( ที่เรียกว่า ปรมัตถ์ ก็ยังถือว่าเป็นบัญญัติ ) เกิดขึ้นมาเพราะเหตุนี้นั่นเอง


แค่มาแจมๆ cool

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณมหาราชันย์นี่ไม่ไหวเลย

ทีคุยกับผม คำว่า "เป็นนเรื่องของคนไม่มีการศึกษา" กลายเป็นของไม่หยาบสำหรับคุณ
ประมาณว่าให้ตีความไปทางกว้าง ทางดี


มาตอนนี้ จะเอาเงินล้านเขา ก็ให้ตีความอย่างแคบ พูดคำไหน เอาคำนั้นเป๊ะๆ

แหม ไม่ไหวๆ
ดับเิบิ้ล สะแตนดาด


คนพยามจะทำความเข้าใจกันน่ะ เขาไม่ตั้งแง่คุยกันอย่างนี้หรอก
สอบตกนะ ให้ F


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คุณมหาราชันย์นี่ไม่ไหวเลย

ทีคุยกับผม คำว่า "เป็นนเรื่องของคนไม่มีการศึกษา" กลายเป็นของไม่หยาบสำหรับคุณ
ประมาณว่าให้ตีความไปทางกว้าง ทางดี


มาตอนนี้ จะเอาเงินล้านเขา ก็ให้ตีความอย่างแคบ พูดคำไหน เอาคำนั้นเป๊ะๆ

แหม ไม่ไหวๆ
ดับเิบิ้ล สะแตนดาด


คนพยามจะทำความเข้าใจกันน่ะ เขาไม่ตั้งแง่คุยกันอย่างนี้หรอก
สอบตกนะ ให้ F




สวัสดีครับคุณชาติสยาม


ขอบคุณในความเมตตาและหวังดีครับ

งานนี้ผมรู้ว่าได้ F และไม่ได้เงินล้าน ตั้งแต่ก่อนคุณชาติสยามให้ F ผมเสียอีกครับ
คุณอโศกะไม่มีทางยอบรับในคำตอบของผมอยู่แล้วครับ ถึงตอบถูกเขาก็จะว่าผิดวันยังค่ำทุกคำตอบแหละครับ
แต่ผมต้องการลองปัญญาคุณอโศกะว่าจะยอมรับความจริงว่าตัวเองแสดงธรรมผิด รู้มาผิดหรือไม่ครับ


เพราะผมไม่เชื่อว่าคุณอโศกะ จะมีเงินจ่ายให้ใคร 1 ล้านบาทจริง ๆ หรอกครับ


ผมก็บอกแล้วคำว่า การศึกษา ในพระพุทธศาสนาแปลว่าการปฏิบัติ อบรมจิตตนจนบรรลุธรรม
กับคำว่า การศึกษา ที่คนไทยเอามาใช้นั้นความหมายต่างกันครับ แปลว่าการเรียนในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย
คนไทยเอาภาษาบาลีในพระพุทธศาสนามาใช้ไม่ตรงตรงความหมายเดิมมากมายหลายคำครับ


เช่นคำว่าโมโห คนไทยใช้แปลว่า โกรธ
ส่วนในพระพุทธศาสนา แปลว่า หลง ด้วยความลังเลและฟุ้งซ่าน




เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร