วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2024, 10:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
โฮฮับ เขียน:
mes เขียน:
ปฏิจจสมุบาทเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย
ขอเตือนอีกครั้งว่า

อย่าเอาธรรมะมาเล่นคะนอง

ซ้ำซากย้ำคิดย้ำทำอยู่นั้นแหล่ะ
ใครมันเล่นกับนายกัน
เราไม่ใช่เพื่อนเล่นนายนะ

พูดแล้วไม่รู้ฟัง แกล้งแถไปเรื่อย
ตลกดีนี่ เป็นวงจร แต่ดันบอกไม่มีต้นไม่มีปลาย
เอางี้มันไม่มีต้นไม่มีปลายอย่างไรช่วยบอกมาหน่อยซิ

ถ้าไม่รู้ก็ถามมาจะตอบให้เอาบุญ


ใหนกาสรโฮฮับลองตอบดู


ถูกต้อง

ใครเป็นเพื่อนเล่นเอ็งมิทราบ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
ไม่มีเกิดก็ไม่มีตาย


FLAME เขียน:
เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
ไม่มีเกิดก็ไม่มีตาย


โฮฮับ เขียน:
คุณครับ บางครั้งการไม่เข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถ่องแท้ แล้วเอามาปฏิบัติ
มันอาจทำให้หลงทางได้ อย่างเช่นคุณเป็นต้นครับ


การปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่รู้มาได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น จึงจะถูก
ทั้งปริยัติ และปฏิบัติ เพื่อให้เกิดปฏิเวธ เพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้


โฮฮับ เขียน:
ผมดูแล้วคุณยังขาดความเข้าใจในเรื่องปฏิจสมุบาทกับเรื่องของอิทัปปัจจยตา

อันนี้แน่นอนครับว่าผมยังขาดความเข้าใจในเรื่องปฏิจจสมุปบาทและอิทัปปัจจยตา
เพราะถ้าผมรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมเหล่านี้ ก็คงเป็นอรหันต์ไปแล้ว
ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึกซึ้งมากครับ

โฮฮับ เขียน:
ผมจะบอกให้นะครับว่า ในวงของปฏิจฯถ้าเรายังมีอวิชชาเป็นเหตุ มันย่อมมีผลที่ตามมา
จนครบวงแห่งปฏิจฯครับ มันขึ้นอยู่กับหลักของอิทัปปัจจยตาหรือเหตุปัจจัยแห่งการเกิด


เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.



โฮฮับ เขียน:
เมื่อมีสิ่งหนึ่งย่อมต้องมีสิ่งหนึ่งแบบหลีกเลี่ยงได้


อันนี้คุณโฮฮับพิมพ์ผิดรึเปล่าครับ

โฮฮับ เขียน:
ที่คุณบอกเพราะชาติดับ ชรามรณะฯลฯจึงดับด้วย
อันนี้แหล่ะครับเป็นความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก


อันนี้ผมไม่ได้บอกเองเอามาจากพุทธวจนะ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
ก็ตามนี้แหละครับ

โฮฮับ เขียน:

ผมจะบอกให้ครับ ถ้าภพยังอยู่ ชาติย่อมต้องมีครับ
อุปทานยังมี ภพและชาติก็ยังอยู่ครับ


เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


โฮฮับ เขียน:

จากคำพูดที่ว่า ไม่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงไม่เกิด ความหมายที่แท้จริง
ก็คือ การไม่มีอวิชาเป็นอันดับแรกครับ ถ้ายังมีอวิชาอยู่
ปฏิจฯมันก็ยังมีแถมมีครบเสียด้วย



พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นปฏิจจสมุปบาทอย่างงี้
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้
ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่
ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชรา
และมรณะนี้ เมื่อไรเล่า ความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้จักปรากฏ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะ
จึงมี ชราและมรณะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเพราะ
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะ
จึงมี ชราและมรณะย่อมมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี
ชาติย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี ชาติย่อมมีเพราะภพ
เป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ...
เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทาน
จึงมี อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหา
ย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหาย่อมมีเพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมีเพราะอะไร
เป็นปัจจัย ... เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ...
เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อ
สฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไร
หนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีย่อมเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อนามรูป
มีอยู่ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ นาม
รูปจึงมี นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณ
@๑. เหมือนข้อ ๒๒-๒๔
จึงมี วิญญาณย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ... เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี
วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตก
ดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรม
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้ ฯ
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไร
หนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติ
ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ... เมื่ออะไร
หนอไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ ... เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ...
เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่ออะไร
หนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหา
จึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ
เวทนาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ...
เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่ออะไร
หนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่อนามรูป
ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอ
ไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ... เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูป
จึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ ... เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไร
หนอไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
นั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี
สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง
มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา
วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้าง
ดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =173&Z=240
http://nkgen.com/28.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: :b44: คำสอนของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่ ยังเป็นอกาลิโก รีบเดินตามมรรควิธีที่พระองค์กันดีกว่านะ จะได้ถึงปลายทางไวๆ :b44: :b44: :b44:

:b10: :b10: แต่สงสัยค่ะ วิธีที่ คุณหลับอยู่ แนะนำ เป็นมรรควิธีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้หรือไม่
ปฏิบัติตามนั้นแล้วได้รู้ได้เห็นอะไร สงสัยจริงๆค่ะ กรุณาตอบให้ด้วย" :b10: :b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองทำดูสิ ครับ ทำได้บ้าง....ดีกว่า ไม่ได้ทำ!

ถามว่าเห็นอะไร ยังไม่ได้เห็นธรรมตามเป็นจริง ยังไม่มีจักขุกรณี ญาณกรณี ยังไม่ได้เป็นโคตรภูบุคคล :b1:
ถามเรื่องมรรคว่าใช่ไหม อ่านตามลิงค์ดูสิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
[เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

คุณเฟรมครับ ผมจะอธิบายคร่าวให้ฟังครับ เรื่องการดับ การเกิด
มันมีหลักอยู่ว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

ในส่วนอ้างอิงของคุณนั้นเป็นส่วนของการเกิด จะเห็นได้ว่า เหตุปัจจัยอันแรกคือ อวิชา
เพราะมีอวิชา จึงเกิดสังขารเกิดวิญญาณไล่มาจนถึงทุกข์
อันนี้มันเข้าหลักของ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
ความสำคัญของการเกิดมันอยู่ตรง เหตุปัจจัยแห่งการเกิดยังอยู่
ผลของเหตุปัจจัยก็ยังอยู่ครับ


ในส่วนของการดับถ้าเราดูท่านจะให้ดับที่อวิชาก่อน

เพราะอวิชชาสำรอกไปไม่เหลือสังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิยญาณดัดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนจึงดับ
เพราะสฬายตนดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชารามรณะ (จึงดับ)

อันนี้ขึ้นกับหลักว่า สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
ดูให้ดีครับ การดับไม่ใช่ดับที่ปลายเหตุคือชรามรณะ หรือดับตรงส่วนกลางชาติภพ
มันดับไม่ได้เพราะมันยังมีเหตุปัจจัยแห่งการเกิดอยู่

ขออธิบายในส่วนนี้ให้คุณเฟรมฟังนะครับ พร้อมทั้งเหล่าพ่อมดหมอผีด้วย
ในวงของปฏิจจสมุบาท มันมีความหมายถึง การทำงานของจิต
จิตได้รับผัสสะใดผัสสะหนึ่งเข้ามา ก็จะเกิดขบวนการของปฏิจจสมุบาทขึ้น
การทำงานของจิตในวงปฏิจฯเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช้วขณะจิตก็ครบวงแล้ว
มันเป็นไปอย่างซ้ำซากคือความคิด คิดแต่เรื่องเดิมมันก็เกิดวงปฏิจฯขึ้นวงแล้ววงเหล่า
สิ่งเหล่านี้ครับมันเป็นสาเหตุของทุกข์
ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆให้ดูครับ เวลาเราคิดมาก ปรุงแต่งมากๆ มันทำให้ทุกข์
แล้วจะทำอย่างไรเพื่อมาหยุดยั้งการปรุงแต่งนั้น
สิ่งที่เราใช้หยุดยั้งการปรุงแต่งก็คือสติครับ
สติเป็นมรรคในองค์แปด มันเป็นวิชชาในส่วนของการรู้อริสัจสี่ครับ
เหตุนี้ผมจึงบอกว่าการดับ เราต้องดับที่อวิชาก่อน จะดับส่วนอื่นก่อนไม่ได้


การจะศึกษาเรื่องของปฏิจจสมุบาท จำป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ศึกษาในเรื่องของอริยสัจสี่ให้ถ่องแท้เสียก่อน เพราะเป็นเครื่องมือแห่งการดับ
ในเรื่องของปฏิจสมุบาท ถ้าไม่รู้เรื่องอริยสัจสี่ ก็อย่าพึ่งมาสนใจเรื่องปฏิจฯเลยครับ
มันเสียเวลาเปล่าๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 04:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดในจิตดวงเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา


ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันดับไป


ปฏิจสมุปปาทเป็นธรรม...ที่ อธิบายถึงเหตุปัจจัย ของอริยสัจจ์
ลูกโซ่เหล่านี้ เกิด ดับในจิตดวงเดียวรวดเร็วมาก
ต้องดับที่ อวิชชา...

ไม่มีการตัดวงจรระหว่างกลาง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญสติอย่างเดียว ไม่เอาอะไรเลยเช่นไม่เอา สมาธิและๆลๆ ดับอวิชชาไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ที่เป็นหลักใหญ่มี 2 นัย คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน กับอริยสัจ 4 ทั้งสองนัยว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=984.0




ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ที่เป็นหลักใหญ่มี 2 นัย คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน กับอริยสัจ 4 ทั้งสองนัยว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ

1. ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่มประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้ลึกซึ้งยากยิ่งนักที่สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ
การตรัสในแง่นี้หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้ หรือ พูดให้สัมพันธ์กับนัยที่สองว่า เป็นส่วนแก่นแท้ของอริยสัจ เป็นตัวแท้ๆล้วนๆของธรรมซึ่งเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง

2. อริยสัจ 4 ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และในคราวทรงแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา (ธรรมจักร) การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า อริยสัจ 4 คือ ธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะที่จัดเข้าลำดับเป็นกระบวนการขั้นตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจและการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้สอนเขาใจง่าย และปฏิบัติได้ผล

พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเป็นแต่ตัวธรรมล้วนๆ ตามธรรมชาติ
ส่วนอริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง และพูดได้ว่าอริยสัจ 4 คือ ธรรมทั้งหมด มีจุดซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเท่านั้น
ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพานแล้วก็เป็นอันเข้าใจพุทธธรรมทั้งหมด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด เป็นกระบวนการเกิด-ดับของทุกข์ หรือ หลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด มีความมุ่งหมายเพื่อแสดงความเกิด-ดับของทุกข์เท่านั้นเอง

ดังนั้น ผู้ศึกษาเรื่องนี้คิดโยงให้ถึงอริยสัจ 4 ด้วย (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) โยงถึงคำว่า กรรม (เจตนา) ด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนธรรมดับทุกข์ หรือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร

การแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่โต หรือ เล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ต้องมีความรู้จริง หรือความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้น จึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ มิฉะนั้น ปัญหาอาจยุ่งเหยิงสับสนหรือขยายตัวตัวร้ายแรงยิ่งขึ้น
การแก้ปัญหาทั่วๆไป ของชีวิตแต่ละเรื่องๆ ก็ต้องรู้เข้าใจตัวปัญหาและกระบวนการก่อเกิดของมันเป็นเรื่องๆไป จึงจะแก้ไขอย่างได้ผล ยิ่งเมื่อต้องการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานของชีวิต หรือ ปัญหาของตัวชีวิตเอง โดยจะทำชีวิตให้เป็นชีวิตที่ไม่มีปัญหา หรือ ให้เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์กันทีเดียว ก็ต้องรู้เข้าใจสภาพของชีวิตที่มีทุกข์ และเหตุปัจจัยที่ทำให้ชีวิตเกิดเป็นทุกข์ขึ้น
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ต้องรู้เข้าใจสภาพความจริงที่จะช่วยให้ทำลายกระบวนการก่อเกิดทุกข์ของชีวิตลงได้
โดยนัยนี้ ความไม่รู้หรือความหลงผิดเพราะไม่รู้จริง จึงเป็นตัวการก่อปัญหา และทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมุ่งเพื่อแก้ปัญหาหรือหลุดรอดจากทุกข์ กลายเป็นการเพิ่มพูนปัญหา สะสมทุกข์ยิ่งขึ้น

ในกระบวนธรรมตรงข้าม คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ว่าด้วยการดับทุกข์ เริ่มต้นด้วย ดับอวิชชา หรือ ไม่มีอวิชชา หรือ ปราศจากความไม่รู้ คือ มีความรู้ ดังนี้

อวิชชาดับ => สังขารดับ => วิญญาณดับ => นามรูปดับ => สฬายตนะดับ => ผัสสะดับ => เวทนา ดับ => ตัณหาดับ => อุปาทานดับ => ภพดับ => ชาติดับ => ชรามรณะ…โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกขนิโรธ (ดับทุกข์)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิโรธ ซึ่งแปลว่า ดับ มิใช่หมายความเพียงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้ว จึงทำให้มันดับไปหมดเท่านั้น แต่หมายความกว้างขวางรวมไปถึง การที่สิ่งนั้นๆไม่เกิดขึ้น ไม่ทำหน้าที่ ไม่ปรากฏขึ้นมา ถูกปิดกั้น ระงับเสีย หรือทำให้สงบเย็น ให้หมดพิษสงก็ได้
ดังนั้น คำว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร จึงไม่ได้หมายถึงเพียงกระบวนการที่จะดับทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่หมายถึงกระบวนธรรมที่ปิดกั้นทุกข์ กระบวนธรรมที่ไม่มีทุกข์เกิด หรือ กระบวนธรรมที่ทำให้ไม่มีปัญหาเลยก็ได้
อวิชชาดับ ก็มิใช่หมายเพียงดับความไม่รู้ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่หมายถึงอวิชชาไม่เกิดขึ้น ภาวะปราศจากอวิชชา หรือปราศจากความไม่รู้ ได้แก่มีความรู้ หรือมีวิชชานั่นเอง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ความอัสดงแห่งทุกข์เป็นไฉน ? อาศัยตาและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้นเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหานั่นแหละจางดับไปไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือความอัสดงแห่งทุกข์”
สํ.นิ.16/163/87; สํ.สฬ.18/155/107 (ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ (มโน) ก็อย่างเดียวกัน)

เขียนให้เห็นภาพ
(สฬายตนะ= >) ผัสสะ= >เวทนา= >ตัณหา (แต่) ตัณหาดับ= >อุปาทานดับ= >ภพดับ= >ชาติดับ= >ชรามรณะ+โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสดับ = ทุกข์นิโรธ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวเป็นหลักวิชาที่แสดงให้เห็นทุกข์ดับได้ ... แต่เมื่อกล่าวโดยภาคปฏิบัติธรรม (กรรมฐาน) มีนิดเดียว คือ ตามพิจารณากายใจให้ทันแต่ละขณะๆ แล้วกำหนดจิตตามที่เป็นตามที่รู้สึกแต่ละขณะๆเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กำลังครุ่นคิดเรื่องซึ่งทำให้ไม่สบายใจเป็นทุกข์ใจ “คิดหนอๆๆๆ” (ว่าในใจ) ความรู้หรือวิชชาเกิด อวิชชา ความมืดบอด ความไม่รู้ตามเป็นจริงดับ
ภาคปฏิบัติมีเพียงเท่านี้เอง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายย่อขององค์ธรรมต่างๆในปฏิจจสมุปบาท

1. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา
2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง (เจตนา) จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้
3. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต
4. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ
5. สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
6.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์
7.เวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ
8. ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป อยากเลี่ยงหรือทำลาย
9. อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว
10. ภพ (พบ) ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล
11. ชาติ (ชาด) การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าบทบาทความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ
12. ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้น แห่งการที่ตัวได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปมก่อปัญหาต่อๆไป
............

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร