วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญกับธรรมทานด้วยค่ะ tongue
เจตนาคือกรรม การกระทำย่อมแสดงออกมาให้เห็นคุณภาพจิตค่ะ :b12:
ว่า จิตดี ย่อมพูดดี ทำดี สาธุ ๆ :b8: :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

เนื้อความย๊าวยาว .. :b9:

แต่ใจความล่างน่ะ " พองยุบไม่เอาฌาน "

มีบันทึกไว้ที่ไหนหรือคะ คุณเช่นนั้นพอจะนำมาให้อ่านได้หรือเปล่าคะ :b14:

เพราะไม่เคยเจอครูบาฯ ท่านไหนเคยกล่าวไว้เลยว่า พองยุบไม่เอาฌาน :b1:


คุณวลัยพระ ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า คุณเช่นนั้นกล่าวว่า
พองยุบไม่ถูก เช่นนั้นเขาอธิบายว่า เพราะจิตที่พองยุบยังไม่พ้นกาม เขาว่า ต้องฌานจิตก่อน
ผมเลยอธิบายว่า พองยุบไม่เอาฌาน ไม่ต้องถึงฌานก่อน ไปแบบพองยุบ

ประเด็นอยู่ที่เริ่มแบบสมถะก่อน กับไปแบบวิปัสสนาก่อน

ก็เท่านั้นเอง โปรดเข้าใจตามนี้ ผมถึงได้บอกว่า พองยุบไม่เอาเาน ที่ไม่เอา คือไม่ต้องทำฌานก่อน
ซึ่งเช่นนั้นบอกว่าผิด ก็เท่านี้เอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ท่านกามโภคี พึงทำความเข้าใจว่า
อรรถกถากล่าวว่า.. เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค


ท่านอธิบายถึงเรื่องมรรคจิต ผลจิต โลกุตรจิต
ในวิธีปฏิบัติเมื่อยังไม่ถึงจิตที่เข้ามรรคญาณผลญาณ จะนำมาปฏิบัติไม่ได้ จิตทั้ง ๓ นี้เป็นผลของการ
ปฏิบัติ รู้สึกคุณจะเชื่อว่าคนธรรมดาเอามรรคจิต ผลจิต หรือโลกุตรจิตมาปฏิบัติได้

คำว่าย่อมสำเร็จด้วยมรรค ท่านหมายถึง เป็นมรรคเพราะเหตุไร เป็นผลเพราะเหตุไร


เช่นนั้น เขียน:
วิปัสสนาในบริบทนี้ จะสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นมรรคจิตได้ หรือเรียกว่า วิปัสสนาจิตที่ก่อเป็นมรรคจิตได้สำเร็จ หาใช่สำเร็จด้วยลักขณูปนิชฌานไม่
แต่ความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับองค์ธรรมอีกประการหนึ่งคือ อัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ หรืออัญญิณทรีย์ หรือ อัญญาตาวินทรีย์
เพราะ อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์ ทำลายสังโยชน์ 3 อัญญินทรีย์ ทำลายสังโยชน์ เบื้องต่ำ5 เบื้องสูง5

อันนั้นก็ถูกแล้ว ถ้าคุณพูดแบบนี้ไม่ผิด วิธีนี้ดำเนินแบบคนทำฌานจิตก่อน
แต่ประเด็นที่เถียงกันอยู่ ผมบอกว่าไม่ต้องเอาฌาน คือไม่ต้องทำฌานก่อน เถียงกันอยู่ในวิธี แล้วคุณ
ลามปามไปมั่วทำไม อย่าหลงประเด็นซิครับ


เช่นนั้น เขียน:
อย่างไรก็ตาม วิปัสสนาจิตที่สำเร็จเป็นมรรคจิตได้ย่อมเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้

อันนี้ค่อยยังชั่วหน่อย วิปัสสนาจิต ยังไม่ใช่มรรคจิต ผลจิต หรือโลกุตรจิต ที่คุณพูดๆมาที่ผ่านมา ล้วน
แต่บอกว่าว่ารูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต จิตที่เป็นฌานทั้งนั้น พอผมไล่ไปมา คุณก็มามรรคจิตผลจิตอีก
แถมโลกุตรจิตอีก
ประเด็นแค่ว่า ทำฌานก่อนหรือไม่ฌานก่อน คุณลากหลงไปเรื่อยเลย เพราะตอนแรกเห็นคุณว่า พองยุบ
ไม่ใช่ทางที่ถูก เพราะไม่ใช่รูปาวจรฯ
ประเด็นอยู่แค่นี้เอง อ่านข้างล่างนี่ไง วิปัสสนาจิตก่อนถึงมรรคผล ยังไม่ใช่มรรคจิตผลจิต เป็นเพียง
จิตที่อบรมตามมรรค ๘ เท่าันั้น

เช่นนั้น เขียน:
แต่วิปัสสนาจิตที่ล้มเหลว ก็ยังเป็นกุศลจิตทีทำให้กิเลสสังโยชน์นั้นบางเบาลงไปเรื่อย ๆ เพื่อการก่อมรรคจิตในกาลต่อ ๆ ไป มีคุณมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญวิปัสสนาสืบต่อไป


เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้นวิปัสสนาจิต จะได้ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน แบบเดียวกับมรรคจิตและผลจิต จึงต้องประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือปฐมฌาน ฯลฯ ปัญจมฌาน ชนิดอนิมิตตะ อัปปณิหิตตะ และสุญญตะอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
จึงกล่าวได้ว่าวิปัสสนา มรรค ผล เป็นลักขณูปนิชฌาน ในพระศาสนานี้
[/quote][/quote]
ข้อนี้เขาอธิบายแบบนี้ครับ อย่าตีความเข้าข้าง
ผู้ได้ฌานจิตมา เช่น ได้ฌาน ๔ มา จะเข้ามรรคผลด้วยฌานนั้นเลย เรียกว่า เจโตวิมุตหรือ
สมถะยานิก(ผู้ทำสมถฌานเป็นบาทวิปัสสนา)
ในบุคคลที่ปฏิบัติแบบไม่เริ่มที่ฌานจิต ตอนจะเข้ามรรคผลจะเป็นจิตที่มีคุณภาพประมาณอุปจารสมาธิ
สมาธิระดับนี้ ปรากฏมาเพื่อ Support ผู้ที่ไม่ได้ฌานจิตมา(สุทธวิปัสสกะ)ไม่ได้หมายว่านั่นคือฌานตามที่คุณและผมถกกันมาแต่แรก อย่ามั่วแบบนี้ ไม่ดีเลย


โลกุตตรจิต หรือมรรคจิต 4 ดวง
โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก เป็นจิตที่ประหานอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน
โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต กล่าวโดยย่อ มีจำนวน 4 ดวง คือ
1.โสดาปัตติมัคคจิต 2.สกทาคามิมัคคจิต 3.อนาคามิมัคคจิต 4.อรหัตตมัคคจิต

เมื่อ มัคคจิต เกิดขึ้นและดับลงแล้ว ผลจิต ก็จะเกิดติดต่อกันทันทีทันใด โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดเกิดขึ้นมาคั่นเลย ดังนั้น จึงเรียก มัคคจิตว่า อกาลิโก เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้น ในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลรอเวลาเลย

ไหนละครับ เอาจิตแบบนี้มาปฏิบัติได้ไง แปลความอรรถกถาใหม่ได้แล้วครับ ส่วนผลจิตและ
โลกุตรจิตไม่ต้องพูดถึง มรรคจิตยังไม่ได้เลย ผลจิตโลกุตรจิตจะเอามาปฏิบัติได้ไง

ฌาน กับ มัคคผล

คาถาสังคหะที่ ๑๕ แสดงว่า
๑๕. ยถา จ รูปาวจรํ คยฺหตานุตฺตรํ ตถา
ปฐมาทิชฺฌานเภเท อารุปฺปญฺจาปี ปญฺจเม ฯ
แปลความว่า โลกุตตรจิตถือเหมือนว่าปฐมฌานเป็นต้นฉันใด แม้อรูปาวจรฌานก็ถือเหมือนว่าปัญจมฌานฉันนั้น
มีอธิบายไว้ว่า โลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ทำฌานมาก่อนเมื่อสำเร็จมัคคผลย่อมมี ปฐมฌานเข้าประกอบด้วย จึงจัดโลกุตตรจิตเข้าไว้ในปฐมฌานด้วย
ส่วนบุคคลที่ได้ฌานมาก่อนแค่ฌานใด ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌานเมื่อสำเร็จมัคคผล ก็เกิดพร้อมองค์ฌานนั้นๆ ด้วย คือ

ผู้ได้ ปฐมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปฐมฌาน
ผู้ได้ ทุติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ทุติยฌาน
ผู้ได้ ตติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ตติยฌาน
ผู้ได้ จตุตถฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย จตุตถฌาน
ผู้ได้ ปัญจมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปัญจมฌาน
แม้ใน อรูปฌานทั้งหมด ก็จัดเข้าเป็นปัญจมฌาน

ตรงที่ขีดไว้ หมายถึงไม่ต้องทำฌานก่อน คือไปแบบวิธีพองยุบนั่นแหละ แล้วสมาธิระดับปฐมฌาน
หรือระดับอุปจาระ จะปรากฏมา Support เอง เกิดแค่ระดับล่างๆเอง เพื่อให้เข้ามรรคผลได้
ในอรรถกถาใช้อุปจารสมาธิ ในอภิธรรมใช้คำว่า ฌานที่ ๑ ข้อที่ผมบอกว่าไม่ต้องการฌานนั้น
เพราะเหตุนี้ไง เดี๋ยวมาเอง ไม่ต้องมีเจตนาที่จะให้เป็นฌาน ไม่ได้หมายปฏิบัติในแบบสมถยานิก
หรือผู้หลุดพ้นแบบเจโตเลย และไม่ต้องทำเานจิตไล่ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ไปด้วย

ลากประเด็นไปไกลจากเหตุแล้ว คุณก็พยายามหามาว่าต้องฌาน ลืมไปเหรอครับ ในความหมายคุณ
คุณหมายถึงทำฌานจิตก่อน แต่ที่อธิบายในส่วนของผม ผมไม่ค้านเลยจะทำหรือไม่ทำ เพราะมีวิธี
ไป ๒ วิธี พอหาอะไรมาว่าไม่ได้ ก็อ้างคำพูดผมอีก เช่น ไม่เอาฌาน เอามาอ้างข้างๆคูๆ ตอนนั้น
ประเด็นคือ ฌานจิตที่เป็นรูป อรูป ก็ต้องพูดแบบนั้น เมื่อคุณไม่รู้จะไปแบบไหน อ้างอรรถกถามาอีก
ไหนบอกว่าไม่เชื่อไง ดูถูกอรรถกถาว่าคัมภีร์ชั้นหลังไง เอามาอ้างทำไม

อย่าแถไป ตกลงกับผมก่อน ประเด็นคือ
พองยุบไม่ถูกต้อง เพราะอะไรตามที่คุณกล่าวหา
ประเด็นย่อยคือ คุณบอกว่าไม่ถูกเพราะ จิตที่ปฏิบัติ ไม่ใช่ รูปาวจร อรูปาวจร มรรคจิต ผลจิต
โลกุตรจิต


ส่วนนอกนี้ เลยจากวิธีการปฏิบัติ ส่วนมากเป็นจิตที่อยู่ในระหว่างเข้ามรรคผล ไม่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติโดย
ตรงและการอธิบายของคุณในแง่ของสมถยานิกทั้งนั้น คุณไม่เข้าใจในแง่วิปัสสนายานิกเลย
ส่วนของผมยังกลางๆอยู่ เพราะพองยุบไปทั้งสมถะและวิปัสสนา ต่างแค่สมาธิที่ใช้ในระหว่างปฏิบัติไม่ใช่ฌานจิตตามความหมายที่ถกกันอยู่แต่แรก จากนั้นคุณก็อ้างๆมาเต็มที่เลย นั่นวิธีสมถยานิกก่อน และ
ระยะหลังๆ อ้างมาก็ล้วนแต่จิตที่ท่านอธิบายถึงเข้าไปถึงมรรคผลแล้ว
เหมือนคุณแก้ตัวเลยนะครับ ทั้งที่ผมไม่ได้ว่าเลยว่าทำฌานจิตผิด ยกมาแต่ของคนที่ทำฌานก่อนทั้งนั้น
เลย ไม่ต้องรีบแก้ตัวครับ ผมยังไม่ได้ว่าเลย


อนึ่ง ถ้าหลุดจากประเด็นที่ผมทำตัวแดงไว้ ผมจะปิดกระทู้ทันที ฉนั้น มีภาระกันแค่
คุณหามาว่าวิธีพองยุบไม่ถูกต้องเพราะอะไร
ผมหาทางแก้ว่าถูกเพราะอะไรตามข้อหาที่คุณอ้างมา


เท่านี้เอง อย่าอ้างไปไกลจากประเด็น ผมไม่อยากตาม
อนึ่ง ถ้าจะอ้างคำพูดฝ่ายใดมา โปรดถามเขาก่อนว่า ที่สุดของคำพูดแค่ไหน เช่น ผมไม่เอาฌาน
ผมพูดหมายถึงไม่ทำฌานจิต ส่วนจะเข้ามรรคผล จิตจะเป็นระดับไหนไม่เกี่ยวกับก่อนเข้ามรรคผลเลย
เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของการปฏิบัติเท่านั้น ไม่มีเจตนาทำเป็นฌานจิตแบบที่กล่าวกันแต่แรก

ผมปิดจริงๆ ถ้าหลุด ไม่ใช่อยากจะหนี แต่ดูแล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะว่าพองยุบไม่ถูกจริงๆ
ส่วนที่คุณว่าผมมา บอกได้ดีว่า คุณปฏิบัติวิธีของคุณแล้วผลเป็นอย่างไร

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 25 ส.ค. 2009, 15:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
อย่าเชื่อเพราะคนพูดเป็นพระหรือเป็นคนน่านับถือครับ เรามีปัญญาที่จะรู้เข้าใจ มี ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา พร้อมที่ฝึกได้เหมือนๆกันทุกคน
คุณลองพิจารณานะครับว่า ที่ผมพูดถูกหรือไม่ ตามเหตุผล อย่าตามทิฏฐิครับ


คุณเช่นนั้น อ่านกาลามสูตรหรือเปล่าครับ ก่อนจะเอาคำพูดผมมาอ้าง
ผมพูดมีความหมายผิดจากาลามสูตรตรงไหนครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรแม้นี้ว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ดังนี้ ตรัสไว้ในเหตุเกิดเรื่องของอัคคิกขันโธปมสูตร.
ก็กถาที่พูดถึงผลของเมตตาที่ไม่ถึงอัปปนาไม่มี.พระธรรมเทศนานี้พึงทราบว่าทรงปรารภในเมื่อเกิดเรื่องนั้น นั่นแล.

ท่านหมายจะบอกว่า เมตตาภาวนาไม่พ้นฌานที่ ๑ เพราะฌานที่ ๑ เป็นอัปปันนาสมาธิ

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมํ มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า
เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ชื่อว่าเป็นที่ ๑ เพราะเข้าฌานที่ ๑ นี้.


ท่านบอกเฉยๆถึงคำว่า ปฐมํ คือศัพท์แปลว่าอะไร ใช้ในความหมายอะไร ปฐมํ เป็นสังขยาศัพท์ครับ
ใช้ในการนับ ไม่ใช่บอกว่า ต้องเข้าฌานที่หนึ่ง

บทว่า ณานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน.

บอกลักษณะของสมถะและวิปัสสนาชัดเจน

ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อารัมม-
ณูปนิชฌาน. ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น . วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน.

ปฐวีกสิณ คือสมถะหรือไม่ครับ ตรงนี้เขาบอกชัดเลย ว่าแนวทางสมถะ อย่าชักไปเรื่องสมาธิ
เดี๋ยวผมจะบอกว่า คุณมั่วไปอย่างไร

ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง
ลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น .

ตรงนี้ท่านอธิบายว่าเพราะอะไรวิปัสสนาจึงเรียกว่า ลักขณูปนิสัชฌาน

ก็มรรคท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่ง
วิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค ผลท่านเรียกว่าลักขณะปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ
(ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง ).


ตรงนี้ท่านบอกลำดับการเข้ามรรคผล คือเมื่อถึงมรรคแล้วจะเข้าสู่ผล ตอนนั้นจะเปลี่ยนจากสภาวะ
ไตรลักษณ์ที่พิจารณาอยู่เป็นสภาวะนิพพาน

ถึงที่คุณมั่วแล้ว

เพราะเข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ
(ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง )


ตรงนี้ท่านอธิบายลักษณะของนิพพาน ว่า ว่างเปล่า ไม่มีอะไรบ่งชี้ ไม่มีสถานที่
หาใช่สมาธิแบบที่คุณอ้างมาไม่
อนึ่ง ผลจิตนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ รูปนามดับ ฉนั้น สมาธิเป็นนาม จะไม่ปรากฏในสภาวะนิพพาน
ได้เลย ข้อที่อ้างถึงสมาธิหรืออะไรก็ตามนอกจากนิพพานสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ นั้น ไม่ใช่ใน
ความหมายของอรรถกถานี้
อ่านดีๆ แสดงลักษณะนิพพาน ไม่ใช่ลักษณะของสมาธิ หรือกุศลอกุศลของอะไร บรรยาย
สภาวะนิพพาน

ก็บรรดาฌาน ๒ อย่างนั้นในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.

ตรงนี้ท่านบอกว่า ในสูตรนี้ท่านหมายถึงเรื่องอารมณูปนิสัชฌาน คือฌานแบบทำสมถะ
หาใช่บอกว่า วิปัสสนาต้องทำฌานก่อน ถ้าตีความนอกนี้ ไม่ถูกแล้วครับ

ต่อไปขอให้อยู่ในประเด็น อย่าออกมานอกแบบนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

ท่านอ้างถึง คัมภีร์มัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 1 จิตตวิภาคอยู่นะครับ ซึ่งเช่นนั้นไม่ถือเอาเป็นปทัฏฐานแห่งความถูกต้องครับ พระอภิธรรมที่ท่านควรใช้ในการสนทนา คือควรนำมาจาก พระไตรปิฏก พระอภิธรรมปิฏกครับ หากท่านนำคัมภีร์ที่แต่งตามมติอาจารย์ ท่านย่อมเข้าใจ ว่า ฌาน คือวิธีการ เพื่อให้ได้รูปฌาน อรูปฌาน หรือฌานคือการเจริญกรรมฐาน 40 ซึ่งไม่มีในพระพุทธพจน์ แต่อย่างใด

อ้างคำพูด:
อันนั้นก็ถูกแล้ว ถ้าคุณพูดแบบนี้ไม่ผิด วิธีนี้ดำเนินแบบคนทำฌานจิตก่อน
แต่ประเด็นที่เถียงกันอยู่ ผมบอกว่าไม่ต้องเอาฌาน คือไม่ต้องทำฌานก่อน เถียงกันอยู่ในวิธี แล้วคุณ
ลามปามไปมั่วทำไม อย่าหลงประเด็นซิครับ


ถ้าท่านคิดว่า ฌานเป็นวิธี นั่นก็ท่านคิดเอาเองข้างเดียว เช่นนั้นไม่เคยกล่าวกับท่านว่า สมถะ คือรูปฌาน และอรูปฌาน นั่นท่านกล่าวตู่เอาเองมาตั้งแต่ต้น เช่นนั้นก็ไม่เคยหลงประเด็น

เช่นนั้นโพสต์เรื่องสมถะที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคไป นี่คือสมถะตามความหมายที่ปรากฏในพระอภิธรรม และพระสูตร ท่านกลับกล่าวว่าผมไม่ขออ่าน อย่างนี้จะเข้าใจได้อย่างไรในเมื่อท่านไม่อ่าน

เพราะฌานคือสัมมาสมาธิ ฌานไม่ใช่วิธีการ แต่ฌานเจือกับจิตที่เป็นกุศลจิต
โลกุตตรฌาน หรือลักขณูปณิชฌาน ก็เป็นสัมมาสมาธิ ทีเจือกับโลกุตตรจิต ฌานจึงไม่ใช่อารมณ์ภายนอกทีจิตไปรับรู้ไปถือเอา

วิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่วิธีการ แต่วิปัสสนาเจือกับจิตที่เป็นกุศลจิต
วิปัสนนาที่เป็นลักขณูปณิชฌาน ก็เจือกับจิต เจือกับสมถะ เจือกับฌานอันเป็นสัมมาสมาธิ
ลักขณูปณิชฌานเป็นวิปัสสนาเพราะ ทำให้จิตละจาก กามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา โดยกิจของสมถะซึ่งเป็นลักขณูปนิชฌาน ที่เจือกับจิตเจือกับวิปัสสนา เป็นเหตุให้จิตมีสัมมาสมาธิ อันเป็นชนิดอนิมิตตะหรือ ขนิดอัปปณิหิตตะ หรือชนิดสุญญตะ ในจตุตถฌาน หรือในปัญญจมฌาน

เช่นนั้น เขียน:
เจริญอนิจจะสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า อนิมิตตะสมาธิ
เจริญทุกขังสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า อัปปณิหิตตะสมาธิ
เจริญอนัตตสัญญา สมาธิหรือสมถะที่ได้เรียกว่า สุญญตะสมาธิ



กามโภคี เขียน:
ในบุคคลที่ปฏิบัติแบบไม่เริ่มที่ฌานจิต ตอนจะเข้ามรรคผลจะเป็นจิตที่มีคุณภาพประมาณอุปจารสมาธิ
สมาธิระดับนี้ ปรากฏมาเพื่อ Support ผู้ที่ไม่ได้ฌานจิตมา(สุทธวิปัสสกะ)ไม่ได้หมายว่านั่นคือฌานตามที่คุณและผมถกกันมาแต่แรก อย่ามั่วแบบนี้ ไม่ดีเลย


เมื่อท่านไม่เริ่มปฏิบัติธรรม ด้วยจิตอันเป็นฌานเป็นวิปัสสนาเป็นลักขณูปนิชฌาน ย่อมเป็นการปฏิบัติธรรมด้วยกามวจรจิต อันมีโมหะ อันเป็นอกุศล จิตที่เป็นคุณภาพอันเป็นโลกุตตรหรืออย่างน้อยกามาวจรกุศลอันประกอบด้วยวิปัสสนาจิตย่อมไม่อาจที่จะมีได้

ดังนั้น พองๆ ยุบๆ ที่ท่านกล่าวถึงและปฏิบัติ ย่อมไม่เอาสัมมาสมาธิซึ่งเป็นลักขณูปณิชฌาน เอาแต่สติอันเกิดจากจิตด้วยกำลังกามาวจร ด้วยกำลังปัญญาของบุคคลมีกามาวจรจิต คุณภาพจิตของผู้ปฏิบัติพองๆ ยุบ ย่อมยังคงพัวพันกับกามสัญญาอย่างไม่อาจไถ่ถอน ไม่เป็นวิปัสสนาจิต
เพราะฉะนั้น พองๆ ยุบๆ ที่ท่านเจริญอยู่คือ เฝ้าเพียร เจริญกามสัญญา สติดูกามสัญญาด้วยอำนาจแห่งกามาวจรจิตนั่นเอง

และเมื่อท่าน ไม่มีความเข้าใจลักขณูปนิชฌาน ไม่เข้าใจแม้วิปัสสนาจิต มรรค ผล คือลักขณูปนิชฌาน
และยังนำความเข้าใจผิดของท่านมาแสดงดังนี้

อ้างคำพูด:
ไหนละครับ เอาจิตแบบนี้มาปฏิบัติได้ไง แปลความอรรถกถาใหม่ได้แล้วครับ ส่วนผลจิตและ
โลกุตรจิตไม่ต้องพูดถึง มรรคจิตยังไม่ได้เลย ผลจิตโลกุตรจิตจะเอามาปฏิบัติได้ไง


ทำความเข้าใจเรื่อง จิตให้ดี การปฏิบัติอบรมจิต อบรมจิตทั้งดวง ไม่ใช่อบรมจิตเป็นส่วนๆ นะครับ

เช่นนั้น เขียน:
ปุถุชนถึงแม้จะเจริญอรหัตมรรค มีใจส่งไปในพระธรรมเทศนา ไม่ข้องในกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา มีความยินดีในธรรม ก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาจิต มีลักขณูปนิชฌาน แต่จะก่อมรรคจิตได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แห่งอินทรีย์ 3 ในวิปัสสนาจิตนั้น

อย่างไรก็ตาม วิปัสสนาจิตที่สำเร็จเป็นมรรคจิตได้ย่อมเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้
แต่วิปัสสนาจิตที่ล้มเหลว ก็ยังเป็นกุศลจิตทีทำให้กิเลสสังโยชน์นั้นบางเบาลงไปเรื่อย ๆ เพื่อการก่อมรรคจิตในกาลต่อ ๆ ไป มีคุณมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญวิปัสสนาสืบต่อไป


อ้างคำพูด:
มีอธิบายไว้ว่า โลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ทำฌานมาก่อนเมื่อสำเร็จมัคคผลย่อมมี ปฐมฌานเข้าประกอบด้วย จึงจัดโลกุตตรจิตเข้าไว้ในปฐมฌานด้วย
ส่วนบุคคลที่ได้ฌานมาก่อนแค่ฌานใด ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌานเมื่อสำเร็จมัคคผล ก็เกิดพร้อมองค์ฌานนั้นๆ ด้วย คือ...


นี่คือความเข้าใจส่วนตัวของอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์มัตถสังคหะ ที่เข้าใจว่า ฌานเป็นวิธี ซึ่งเช่นนั้น ไม่นำพาไม่ใส่ใจ เพราะไม่มีในคำสอนของพระพุทธองค์ พระอริยะบุคคลจิตเป็นฌานเป็นลักขณูปณิชฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานแล้วครับคำสอนนี้จึงขัดกับพระไตรปิฏก

อ้างคำพูด:
ตรงที่ขีดไว้ หมายถึงไม่ต้องทำฌานก่อน คือไปแบบวิธีพองยุบนั่นแหละ แล้วสมาธิระดับปฐมฌาน
หรือระดับอุปจาระ จะปรากฏมา Support เอง เกิดแค่ระดับล่างๆเอง เพื่อให้เข้ามรรคผลได้


วิธีพองยุบ จึงเป็นกามาวจิต ซึ่งเป็นอกุศลจิตดวงที่ 12 อย่างถาวร เพราะจิตพัวพันแต่ กามสัญญา และยังฟุ้งไปอีกว่า ทำผลไว้รอเหตุ เมื่อกระทำอยู่อย่างนั้น แล้วคิดว่าจิตเป็นสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นไปไม่ได้ครับ ได้แต่อุเบกขาในกามสัญญาครับ

อ้างคำพูด:
เหมือนคุณแก้ตัวเลยนะครับ ทั้งที่ผมไม่ได้ว่าเลยว่าทำฌานจิตผิด ยกมาแต่ของคนที่ทำฌานก่อนทั้งนั้น
เลย ไม่ต้องรีบแก้ตัวครับ ผมยังไม่ได้ว่าเลย


คุณก็กล่าวผิดวันยังค่ำล่ะครับที่คิดว่า ฌานเป็นวิธีการ คุณคิดเอาเองตลอดครับ
สมถะนายิก และวิปัสสนายิก ก็เป็นคำบัญญัติขึ้นมาในภายหลัง ตามมติอาจารย์ในชั้นหลังที่ไม่เข้าใจในลักขณูปนิชฌาน นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านดูแล้ว ไม่มีประเด็นที่ต้องแก้ เพราะเป็นเรื่องนอกจากประเด็นที่เราสองคนได้ถกกัน จะเลือก
เฉพาะที่อยู่ในประเด็นเท่านั้น อีกอย่าง เวลาคุยผมเริ่มน้อย มีกำหนดไปพบวิปัสสนาจารย์แล้ว
เพราะในชีวิตผม การปฏิบัติสำคัญกว่าการทำมาหากิน จำต้องสรุปประเด็นให้ไวที่สุด

เช่นนั้น เขียน:
วิธีพองยุบ จึงเป็นกามาวจิต ซึ่งเป็นอกุศลจิตดวงที่ 12 อย่างถาวร เพราะจิตพัวพันแต่ กามสัญญา และยังฟุ้งไปอีกว่า ทำผลไว้รอเหตุ เมื่อกระทำอยู่อย่างนั้น แล้วคิดว่าจิตเป็นสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นไปไม่ได้ครับ ได้แต่อุเบกขาในกามสัญญาครับ
[color=#0000BF]สมถะนายิก และวิปัสสนายิก ก็เป็นคำบัญญัติขึ้นมาในภายหลัง ตามมติอาจารย์ในชั้นหลังที่ไม่เข้าใจในลักขณูปนิชฌาน นั่นเอง

อุเบกขาเป็นองค์คุณหนึ่งใน ฉฬังคุเบกขา ในผู้เริ่มปฏิบัติทุกวิธี จำต้องเริ่มจากแนวนี้ก่อน คือจิตต้อง
วางไว้ที่อุเบกขาหรือเป็นกลางก่อน ไม่ว่าวิธีใดๆ
ในผู้ประกอบด้วยฌาน ก็เริ่มที่ต้องทำให้เป็นสมาธิ ตั้งแต่ไม่แนบแน่นจนแนบแน่นไป ตรงนี้จัดเป้นอุเบก
ขาในองค์ทั้ง ๖ (ฌานุเปกขา)
ในผู้ที่ไม่เริ่มประกอบด้วยฌานจิต ก็จะเริ่มด้วยการกำหนดสติไปตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่จำต้อง
ทำฌานจิต ก็จัดอยู่ในอุเบกขาที่เป็นองค์ ๖
อุเบกขาในกามสัญญา ถ้าเป็นจริงๆ ก็แสดงว่าไม่ตกในอำนาจกามสัญญาครับ เพราะเหมือนกับมีคนด่า
เรา หากเราไม่ยินดียินร้าย เฉยไปเสีย เราไม่เดือดร้อนครับ
ข้อนี้คุณลองไปดูอุเบกขาครับ โดยเฉพาะเคหสิตอุเบกขา อันนั้นอาจจะเป็นวิธีพองยุบก็ได้ ลองดู

คำว่าสมถะยานิก วิปัสสนายานิก แม้จะเกิดมาภายหลัง แต่ผ่านการกลั่นกรองโดยพระอรหันต์หลายท่าน
ตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ ๓ มา ล้วนมีพระอรหันต์ปนอยู่มากท่าน
อรรถกถาเอง ก็อาจแต่งโดยพระอรหันต์ ผู้ศึกษาจะละเว้นไม่สนใจก็ไม่ได้ เพราะท่านเหล่านั้นไกล้ชิด
เหตุการณ์มากกว่าคนรุ่นนี้ อีกทั้งวิธีการปฏิบัติ ก็จะถ่ายทอดโดยคัมภีร์เหล่านี้
อภิธรรมัตถสังคหะ แต่งโดยพระอนุรุธาจารย์ โดนเฉพาะท่านนี้ ความเป็นอริยะย่อมมีในองค์ท่านแน่
คนที่สามารถรู้ขณะจิตขนาดนั้น คงต้องปฏิสัมภิทาเป็นอย่างน้อย

อนึ่ง ถ้าจะยึดตามพระไตรปิฎกเพื่อศึกษาปฏิบัติอย่างเดียว คงจะยาก เพราะบางอย่างไม่มี เช่นการทำ
สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา หรือเช่น การเดินจงกรมเอง พระพุทธเจ้าท่านบอกอานิสงส์ไว้ แต่หาวิธี
กำหนดเป็นรูปแบบที่แน่นอนไม่ได้ เหล่านี้จะปรากฏในอรรถกถา และจำต้องยึดไว้ เพราะท่านอธิบาย
วิธีไว้ ซึ่งในพระไตรปิฎกไม่มีบรรยายไว้ เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตร มีคำว่านั่งคู้บัลลัง ตั้งกายตรงมีสติเฉพาะหน้าท่านจบแค่นี้จริงๆ มือวางไว้อย่างไรไม่ได้บอก หน้าแหงน
แค่ไหนไม่ได้บอกหลับตาหรือเปล่าก็ไม่ได้บอก ตามแบบนี้ต้องหาในคัมภีร์รุ่นหลังครับ นี่ละข้อสำคัญ
ของอรรถกถาจารย์

ลองอธิบายที่ผมขีดเส้นไต้ไว้ครับ ว่า จะทำฌานให้เกิดได้อย่างไร เพื่อจะได้มีฌานมาขวนขวาย
ลองหาดูในพระไตรปิฎกนะครับ ว่ามีไหม เอาเฉพาะก่อนจิตเป็นฌานนะครับ

ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ

อนึ่ง พระไตรปิฎกเอง ก็ชำระโดยอาจารย์รุ่นหลังทั้งนั้น หากจะถือว่าไม่เอาของอาจารย์รุ่นหลัง ก็เหมือน
จะปฏิเสธตัวพระไตรปิฎกเองอยู่ในที เช่น เจ้าคุณโชก วัดมหาธาตุ ท่านก็เป็นผู้ชำระพระไตรปิฎกฉบับ
สยามรัฐ ท่านมหาสีสยาดอ ท่านก็เป็นผู้ชำระทั้ง ๓ ปิำฏก และ อรรถกถา ในสังคายนาครั้งที่ ๖ ทั้ง ๒
ท่านนี้เป็นต้นกำเนิดพองยุบ ข้อนี้เล่าให้ฟังเฉยๆ

คุณคงติดที่คำบริกรรมว่าพองหนอ ยุบหนอ กระมังว่ายังยึดติด อันนี้เป็นอุบาย คนที่ปฏิบัติใหม่ๆ ถ้าไม่มี
บริกรรมช่วย จิตจะส่ายไป ฟุ้งไป สติสมาธิจะลอยๆ เมื่อปฏิบัติได้ไม่นาน ก็จะละได้เองตามวิธี
ส่วนคนที่ทำสมถะมาดีแล้ว เช่นฌานจิตเป็นต้น ครูอาจารย์จะยกสู่วิปัสสนาพิจารณารูปนามเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จนกว่า ผู้มีมิจฉาทิฏฐิจะยอมรับความจริงว่า สิ่งที่เค้ารู้มานั้นเป็นเพียง มติอาจารย์ ซึ่งขัดกับหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฏกซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าพลิกแพลงเอง ก็คือถูกต้อง
การถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก็อาศัยพระธรรมและหลักการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ไม่ใช่บัญญัติเองเออเอง มั่วเองแล้วประกาศว่าถูกต้อง


คุณเช่นนั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะอาจเข้าข่ายอริยูปวาทันตราย (ว่าร้ายพระอริยะ)

อาจารย์ที่สอนกรรมฐานผมมามีหลายท่าน หนึ่งในนั้นมีหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันด้วย
มติต่างๆที่เอามาอธิบายในการถกนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชก ญาณสิทธิ) วัด
มหาธาตุ (รูปนี้ท่านรู้วาระจิต เมื่อจะมรณะภาพ ท่านทำบัลลังค์แล้วมรณะภาพในอิริยาบทสมาธิ)
พระภัททันตอาสภะมหาเถระ ประธานสงฆ์วัดภัททันตะอาสภาราม ฯลฯ ล้วนมีชื่อปรากฏว่าปฏิบัติดีปฏิบัติ
ชอบทั้งนั้น ในส่วนของผมเอง ผมขอขมาแล้วที่ได้อ้างถึงท่านเหล่านั้น และจักไปที่วัดภัททันตะฯ เพื่อ
ให้วิปัสสนาจารย์เป็นตัวแทนรับขมากรรมของผมเองในเดือนหน้า

อาจเป็นอันตรายต่อมรรคผล ฉนั้น เพื่อความบริสุทธิ์ใจ คุณควรขอขมาด้วย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

อ้างคำพูด:
อุเบกขาในกามสัญญา ถ้าเป็นจริงๆ ก็แสดงว่าไม่ตกในอำนาจกามสัญญาครับ เพราะเหมือนกับมีคนด่า
เรา หากเราไม่ยินดียินร้าย เฉยไปเสีย เราไม่เดือดร้อนครับ
ข้อนี้คุณลองไปดูอุเบกขาครับ โดยเฉพาะเคหสิตอุเบกขา อันนั้นอาจจะเป็นวิธีพองยุบก็ได้ ลองดู


ท่านยิ่งแสดงความเห็นว่า ฌานเป็นวิธีการมากเท่าไหร่ ท่านย่อมแสดงความไม่รู้ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมมากเท่านั้น
จิตเป็นกามาวจรจิต สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ได้ชื่อว่าไม่ตกในอำนาจกามสัญญา ปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งไม่ใช่ท่านคิดหรือไม่คิด พิจารณา หรือไม่พิจารณา เพราะกุศลมูล หรือ อกุศลมูลในจิตต่างหาก ที่เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ปุญญาภิสังขาร และอปุญญาภิสังขาร นั้นเป็นตัวปรุงแต่ง ให้ท่านตกอยู่ในอำนาจกามสัญญา การที่ท่านไม่ได้ยินดีไม่ได้ยินร้าย ด้วยกามาวจรจิต จึงยังคงพัวพันอยู่กับกามสัญญา ยิ่งพองๆ ยุบๆ แล้ววางเฉย ยิ่งชัดเจนมากในกรณีนี้

อ้างคำพูด:
อนึ่ง ถ้าจะยึดตามพระไตรปิฎกเพื่อศึกษาปฏิบัติอย่างเดียว คงจะยาก เพราะบางอย่างไม่มี เช่นการทำ
สมถะเป็นบาทของวิปัสสนา หรือเช่น การเดินจงกรมเอง พระพุทธเจ้าท่านบอกอานิสงส์ไว้ แต่หาวิธี
กำหนดเป็นรูปแบบที่แน่นอนไม่ได้ เหล่านี้จะปรากฏในอรรถกถา และจำต้องยึดไว้ เพราะท่านอธิบาย

รูปแบบที่กำหนดขึ้นมาให้ตามดู รูปนาม พัวพันในขันธ์5 พองๆ ยุบๆ ล้วนเป็นการเขียนเอาเองตามมติอาจารย์ทั้งสิ้น การทีท่านกล่าวตู่พระพุทธองค์ว่าไม่ได้ตรัสรูปแบบเพราะท่านไม่เข้าใจลักขณูปนิชฌานว่าไม่ใช่วิธีการนั่นเอง

ท่านกามโภคี อ่านตรงนี้ให้ดี

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์
สมบูรณ์ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมในปาติโมกข์สังวร
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า ถ้าแม้ภิกษุ
กำลังเดินไป
อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร
อันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ถ้าแม้ภิกษุยืนอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุ
นั่งอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุนอนตื่นอยู่ อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว
ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ
เพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร
มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว


ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง
นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด
คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ และพิจารณา
ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์
ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก
เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจ
เด็ดเดี่ยว ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และนี่ก็อีกพระสูตรหนึ่งที่ตรัสสอนเกี่ยวกับการจงกรม และการรู้สึกตัวในอิริยาบถที่ทรงตรัสสอน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้
ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ
......หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ
......หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ
......หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ
......หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลสเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่องชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่าเป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่อง สมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา
วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ

มติอาจารย์ในชั้นหลังต่างหากที่ เป็นการสร้างรูปแบบปฏิบัติอันเฟ้อขึ้น เป็นการพัวพันนามรูป โดยไม่ได้ตั้งจิตในฌานอันเป็นโลกุตตระ เป็นลักขณูปนิชฌาน ซึ่งไม่พัวพันนามรูป เลย เมื่อเป็นอย่างนี้เท่ากับ การปฏิบัติพอง ๆ ยุบๆ จึงเป็นบทปฏิบัติธรรมที่ขัดกับพระไตรปิฏกอย่างสิ้นเชิง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณคงติดที่คำบริกรรมว่าพองหนอ ยุบหนอ กระมังว่ายังยึดติด อันนี้เป็นอุบาย คนที่ปฏิบัติใหม่ๆ ถ้าไม่มี
บริกรรมช่วย จิตจะส่ายไป ฟุ้งไป สติสมาธิจะลอยๆ เมื่อปฏิบัติได้ไม่นาน ก็จะละได้เองตามวิธี
ส่วนคนที่ทำสมถะมาดีแล้ว เช่นฌานจิตเป็นต้น ครูอาจารย์จะยกสู่วิปัสสนาพิจารณารูปนามเลย


จะบริกรรม อะไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นการมติอาจารย์รุ่นหลัง แต่การบริกรรมใดที่พัวพันนามรูป เอากามาวจรสติตามดูกามย่อมทำให้จิต ฟุ้งไป หวั่นไหวไปตามกาม ไม่เป็นการเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำไปสู่นิพพาน

การปฏิบัติธรรม เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพ้นจากทุกข์ จึงปรากฏดังนี้

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัส-
*สามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ
สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:
ปุถุชน ถึงแม้จะเจริญอรหัตมรรค มีใจส่งไปในพระธรรมเทศนา ไม่ข้องในกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา มีความยินดีในธรรม ก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาจิต มีลักขณูปนิชฌาน แต่จะก่อมรรคจิตได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แห่งอินทรีย์ 3 ในวิปัสสนาจิตนั้น

อย่างไรก็ตาม วิปัสสนาจิตที่สำเร็จเป็นมรรคจิตได้ย่อมเข้าสู่กระแสพระนิพพานได้
แต่ วิปัสสนาจิตที่ล้มเหลว ก็ยังเป็นกุศลจิตทีทำให้กิเลสสังโยชน์นั้นบางเบาลงไปเรื่อย ๆ เพื่อการก่อมรรคจิตในกาลต่อ ๆ ไป มีคุณมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญวิปัสสนาสืบต่อไป


กามโภคี เขียน:
แต่หาวิธี
กำหนดเป็นรูปแบบที่แน่นอนไม่ได้ เหล่านี้จะปรากฏในอรรถกถา และจำต้องยึดไว้ เพราะท่านอธิบาย
วิธี ไว้ ซึ่งในพระไตรปิฎกไม่มีบรรยายไว้ เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตร มีคำว่านั่งคู้บัลลัง ตั้งกายตรงมีสติเฉพาะหน้าท่านจบแค่นี้จริงๆ มือวางไว้อย่างไรไม่ได้บอก หน้าแหงน


เพราะพระพุทธองค์ ทรงให้ละนามรูป ไม่ตามพัวพันในนามรูป มุ่งแต่โลกุตตรจิต การที่พระองค์ท่านจบแค่นี้จึงสมบูรณ์ในองค์ธรรมแล้ว สาธุ สาธุ ไม่จำเป็นต้องอวดรู้ไปต่อเติมแต่ประการใด

แต่ถ้าหากพระพุทธองค์ปรารถนาจะตรัสสอนผู้ที่ยังมีสัมมาสมาธิ ละแล้วซึ่งกามสัญญา แต่อาศัยรูป หรืออรูป เป็นอารมณ์ ซึ่งสัมมาสมาธินั้นเป็นอารัมณูปนิชฌาน เป็นโลกียะฌาน ท่านก็สอนให้เพิกเสียด้วยลักขณูปนิชฌานไปตามลำดับให้จิตเป็นสัมมาสมาธิ เป็นฌาน เป็นลักขณูปนิชฌาน

อ้างคำพูด:
ส่วนคนที่ทำสมถะมาดีแล้ว เช่นฌานจิตเป็นต้น ครูอาจารย์จะยกสู่วิปัสสนาพิจารณารูปนามเลย


ดังนั้น ในประโยคนี้จึงกล่าวผิดเพราะท่านยังคงคิดว่า ฌานเป็นวิธีการอยู่เหมือนเดิม ซึ่งฌานไม่ใช่อารมณ์ภายนอก แต่เป็นสัมมาสมาธิเป็นสมถะเป็นองค์ธรรมอันเป็นกุศล เจือกับจิตที่เป็นกุศลจิต ซี่งวิปัสสนา ก็เกิดร่วมเกิดพร้อมเจือกับจิตอยู่แล้วครับ ไม่ต้องมาคอยยกขึ้นยกลงหรอกครับ

สมถะมีในจิตทุกดวง ยกเว้นอกุศลจิตที่ สหรคตดด้วยอุเบกขา แต่สัมปยุตต์ด้วยวิจิกิจฉาครับ อุเบกขาโง่ๆ แบบนี้ก็มีนะครับท่าน ไม่ยินดียินร้ายแต่เฉยๆ ในความสงสัย ท่านก็เรียกว่าสมาธิหรือครับ


Quote Tipitaka:
ในส่วนของผมเอง ผมขอขมาแล้วที่ได้อ้างถึงท่านเหล่านั้น และจักไปที่วัดภัททันตะฯ เพื่อ
ให้วิปัสสนาจารย์เป็นตัวแทนรับขมากรรมของผมเองในเดือนหน้า


ดีแล้วครับอนุโมทนาครับที่รู้ตนว่า เอาครูบาอาจารย์มาทำให้เสื่อมเสีย

ส่วนเช่นนั้น อธิบายปฏิปทาที่ขัดกับตัวบทพระไตรปิฏก ตามที่ท่านยกมาให้อ่าน การขอขมาหรือไม่จึงเป็นหน้าที่ของท่านเพียงผู้เดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 20:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

จะบริกรรม อะไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นการมติอาจารย์รุ่นหลัง แต่การบริกรรมใดที่พัวพันนามรูป เอากามาวจรสติตามดูกามย่อมทำให้จิต ฟุ้งไป หวั่นไหวไปตามกาม ไม่เป็นการเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำไปสู่นิพพาน



เอ๋..แล้ว..พิจารณาอสุภะ นี้เรียกว่า..พัวพันนามรูป..ด้วยหรือเปล่าหนอ????


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมจะให้อธิบายเป็นข้อสังเกต ไม่หวังในคำตอบ จะปิดกระทู้ ยิ่งคุยยิ่งไกลต่อเหตุเริ่ม
เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า ถ้าแม้ภิกษุกำลังเดินไป อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว
ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร

เดินตรงนี้อธิบายวิะีไม่ได้เลย ผมหมายถึงหาวิธีเดินมา แล้วเดินอย่างไรทำให้......หมดไป
ที่ถาม หมายถึงอย่างนี้ ถ้าไม่หามติอาจารย์รุ่นหลัง ก็ไม่รุ้

เช่นนั้น เขียน:
ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง
นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด
คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ และพิจารณา
ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์
ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก
เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจ
เด็ดเดี่ยว ฯ

ตรงนี้พระองค์บอกตามสบาย ให้มีสติ อธิบายไม่ได้ว่า ทำอย่างไรมีสติ เพราะในหลายสูตร
บอกให้นั่งคู้บัลลังค์(เช่นในสติปัฏฐานสูตร) ข้อนี้ถ้าไม่อาศัยอรรถกถาจารย์อธิบาย ก็จะเกิดข้อติดได้ว่า
ตกลงทำอย่างไรกันแน่ ในส่วนตัวผมเห็นว่า ท่านเน้นให้มีสติทุกเมื่อมากกว่าจะตรัสบอกวิธีปฏิบัติ
ยังสรุปไม่ได้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้
ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้
ประโยคนี้ ยืนอย่างไร เอามือไว้ที่ไหน และที่คิด คิดอย่างไร คิดตามประโยคนี้เลยเหรอครับ
ลองอธิบายหน่อย ก้าวขาอย่างไร



เช่นนั้น เขียน:
มติอาจารย์ในชั้นหลังต่างหากที่ เป็นการสร้างรูปแบบปฏิบัติอันเฟ้อขึ้น เป็นการพัวพันนามรูป โดยไม่ได้ตั้งจิตในฌานอันเป็นโลกุตตระ เป็นลักขณูปนิชฌาน ซึ่งไม่พัวพันนามรูป เลย เมื่อเป็นอย่างนี้เท่ากับ การปฏิบัติพอง ๆ ยุบๆ จึงเป็นบทปฏิบัติธรรมที่ขัดกับพระไตรปิฏกอย่างสิ้นเชิง

อธิบายแล้วนะครับว่า ไปทั้ง สมถก่อนวิปัสสนาตาม วิปัสสนาล้วนๆ และ ไปเป็นคู่สลับกัน
มติอาจารย์ทั้งหลาย ท่านทำมาเป็นอุบายครับ ระวังหน่อย
อ่านสติปัฏฐานสูตรดีๆ อยู่กับรูปนามทั้งนั้นครับ
คุณคงคิดว่าต้องทำฌานก่อนอย่างเดียวกระมัง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จะบริกรรม อะไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นการมติอาจารย์รุ่นหลัง แต่การบริกรรมใดที่พัวพันนามรูป เอากามาวจรสติตามดูกามย่อมทำให้จิต ฟุ้งไป หวั่นไหวไปตามกาม ไม่เป็นการเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำไปสู่นิพพาน

บริกรรม เตโช
บริกรรม เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ฯลฯ (อาการ ๓๒)
หรือบริกรรมในสมถะวิธี ๔๐ ด้วยหรือเปล่าครับ
แล้วบริกรรม รโชหรณัง ด้วย
เหล่านี้มติอาจารย์รุ่นหลังเปล่าครับ เพราะเวลาบวชพระ ท่านก็ให้ตจปัญจกรรมฐาน
อานาปานะสติ ก็นับลมก่อนเลย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ฯลฯ กลับไปมา

การปฏิบัติธรรม เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพ้นจากทุกข์ จึงปรากฏดังนี้
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

ดูดีๆ โลกุตรฌานนั้น เป็นฌานของผู้ที่เจริญสมถะและวิปัสสนาจนเป็นอริยะบุคคลแล้ว
คือเป็นอริยะชั้นใดชั้นหนึ่งก่อน คนธรรมดาทำไม่ได้
และคำว่า บรรลุปฐมฌานนั้น ก็เป็นปฐมฌานของพระอริยะตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปครับ
ในคนธรรมดายังทำไม่ได้

เช่นนั้น เขียน:
เพราะพระพุทธองค์ ทรงให้ละนามรูป ไม่ตามพัวพันในนามรูป มุ่งแต่โลกุตตรจิต การที่พระองค์ท่านจบแค่นี้จึงสมบูรณ์ในองค์ธรรมแล้ว สาธุ สาธุ ไม่จำเป็นต้องอวดรู้ไปต่อเติมแต่ประการใด

ใช่ครับ ทรงให้ละนามรูป แต่วิะีปฏิบัติกับจุดมุ่งหมายสุดท้ายคนละเรื่องกัน คุณไม่พิจารณา
อานาปานสติ ก็กำหนดกองรูป(วาโยโผฏฐัพพรูป)
กาย เวทนา จิต ธรรม ก็กำหนดกองนามและรูป
พิจารณาสังขาร ก็ พิจารณารูปนาม
ไม่มีวิธีไหนเลยที่พ้นจากรูปและนามหรือ กายกับใจ เคยอธิบายไปแล้วว่า เหมือนขึ้นเรือข้ามฝั่ง
เมื่อถึงฝั่งก็ทิ้งเรื่อ เมื่อปฏิบัติบรรลุแล้วก็ละรูปนนามนั้น
คุณมุ่งแต่โลกุตรจิต นั่นเป็นผล ยังไม่บรรลุชั้นใดชั้นหนึ่งก็ไม่มีทางทำโลกุตรจิตได้
การหาอุบายธรรม ไม่ใช่การอวดรู้ แต่เป็นวิธีปฏิบัติที่ง่าย เหมาะแก่บุคคลๆไป

เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้น ในประโยคนี้จึงกล่าวผิดเพราะท่านยังคงคิดว่า ฌานเป็นวิธีการอยู่เหมือนเดิม ซึ่งฌานไม่ใช่อารมณ์ภายนอก แต่เป็นสัมมาสมาธิเป็นสมถะเป็นองค์ธรรมอันเป็นกุศล เจือกับจิตที่เป็นกุศลจิต ซี่งวิปัสสนา ก็เกิดร่วมเกิดพร้อมเจือกับจิตอยู่แล้วครับ ไม่ต้องมาคอยยกขึ้นยกลงหรอกครับ

เขาหมายถึง เมื่อฌานจิตดีแล้ว พิจารณาไตรลักษณ์ต่อไปในทางวิปัสสนา เขาหมายถึงวิธีนี้
หมายถึงการยกนามรูปขึ้นสู่การพิจารณา เช่น
ในผู้ทำปฐมฌาน ทุติยฌาน ก็จะพิจารณาการเกิดดับของปีติเป็นต้น
ในผู้ได้ตติยะฌานหรือจตุตถะฌาน ก็จะพิจารณาเวทนาคือสุขที่เกิดดับเป็นต้น
ปีติและสุขเวทนา อยู่ในขันธ์ ๕ ครับ คือ สังขารขันธ์และเวทนาขันธ์ (ไม่พ้นรูปนาม)
เขายกกันแบบนี้ ถ้าไม่ยกสู่วิปัสสนาแบบนี้ จิตอยู่ในสภาวะฌานก็จะอยู่อย่างนั้นหาเป็นวิปัสสนาไม่
ดูการบรรลุของพระสารีบุตรเป็นต้น ท่านเข้าออกทีละฌานทีละสภาวะเลย เพื่อพิจารณานามที่ดับไปและ
เกิดขึ้นใหม่ตามสภาวะ อรรถกถาท่านอธิบายอย่างนี้ วิธีปฏิบัติ เมื่อคุณไม่เชื่อถืออรรถกถา ก็อธิบายเท่า
นี้เอง

เช่นนั้น เขียน:
สมถะมีในจิตทุกดวง ยกเว้นอกุศลจิตที่ สหรคตดด้วยอุเบกขา แต่สัมปยุตต์ด้วยวิจิกิจฉาครับ อุเบกขาโง่ๆ แบบนี้ก็มีนะครับท่าน ไม่ยินดียินร้ายแต่เฉยๆ ในความสงสัย ท่านก็เรียกว่าสมาธิหรือครับ

พยายามกำหนดรู้อยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม พยายามให้กำหนดรู้ให้ได้ปัจจุบันของรูปนาม ท่านว่า
อุเบกขาโง่ๆ ดูเองครับ นี่แค่ตัวอย่าง ที่เขากำหนดว่าเห็นหนอ นั้น เห็นสักว่าเห็นครับ ข้อนี้จริงแล้ว
อุเบกขาในอายตนะ มีปรากฏในพระไตรปิฎกด้วยซ้ำไป

วิริยะอุเบกขานั้น ได้แก่อุเบกขาอันประกอบในความเพียรอธิบายว่าพระโยคาวจรเจ้า
อันกระทำความเพียรกล้าหาญมีกำลัง เมื่อเห็นว่าจิตนั้นดังจะตกไป ฝ่ายอุทธัจจะฟุ้งซ่านไปแล้ว
แลประพฤติมัธยัติอยู่มิได้อยู่ในที่ปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป
เป็นอุเบกขาอยู่ในความเพียรฉะนี้แลได้ชื่อว่า วิริยะอุเบกขา
เวทนูเบกขานั้น ได้แก่อุเบกขาอันเกิดในสันดานแห่งเราท่านทั้งปวง

คำว่าฟุ้งซ่านหมายถึงจิตตกไปสู่ความคิดในอดีตและอนาคต กำหนดสภาวะปัจจุบันไม่ใช่ฟุ้งซ่านะครับ

เช่นนั้น เขียน:
ดีแล้วครับอนุโมทนาครับที่รู้ตนว่า เอาครูบาอาจารย์มาทำให้เสื่อมเสีย
ส่วนเช่นนั้น อธิบายปฏิปทาที่ขัดกับตัวบทพระไตรปิฏก ตามที่ท่านยกมาให้อ่าน การขอขมาหรือไม่จึงเป็นหน้าที่ของท่านเพียงผู้เดียว

ดูนี่ซิ ของใครเอ่ย...
เช่นนั้น เขียน:
สิ่งที่เค้ารู้มานั้นเป็นเพียง มติอาจารย์ ซึ่งขัดกับหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฏก
ซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าพลิกแพลงเอง ก็คือถูกต้องการถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ก็อาศัยพระธรรมและหลักการ
ปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสสอน ไม่ใช่บัญญัติเองเออเอง มั่วเองแล้วประกาศว่าถูกต้อง

ดูซิ ตรงที่คุณเน้นไว้ ไม่เอะใจบ้างเหรอครับ อาจารย์ที่ท่านปฏิบัติแบบพองยุบ ปรากฏในโลกว่า
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งนั้น ถ้าท่านเหล่านั้นเชื่อวิธีนี้ คิดเหรอวิธีนี้จะมีที่ผิดจากหลักคำสอนในพระ
ไตรปิฎก คุณจะอธิบายคำว่า มติอาจารย์ ซึ่งขัดกับหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฏก
คำนี้ คุณว่าท่านเหล่านั้นไปแล้ว

เช่นนั้น เขียน:
จะบริกรรม อะไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นการมติอาจารย์รุ่นหลัง แต่การบริกรรมใดที่พัวพันนามรูป เอากามาวจรสติตามดูกามย่อมทำให้จิต ฟุ้งไป หวั่นไหวไปตามกาม ไม่เป็นการเจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำไปสู่นิพพาน

แล้วดูซิว่า บริกรรมอันนี้รวมอยู่ด้วยป่าว เพราะอันนี้ก็ลูบผ้าไปบริกรรมไป ผ้า เป็นรูป จิตที่บริกรรมเป็น
นาม หรือจะบอกว่า ผ้าไม่ใช่รูป จิตไม่ใช่นาม และท่านจูฬบันถก ก็หาได้ทำโลกุตรจิตแบบที่คุณ
อยากจะให้ทำก่อนด้วย(ทั้งๆที่โลกุตรจิตต้องบรรลุโสดาบันขึ้นไป) แสดงว่าจิตท่านตอนนั้นยังไม่พ้นจาก
กามด้วย

พระองค์ตรัสถามทราบความแล้วจึงตรัสปลอบว่า “จูฬบันถก เธอชื่อว่าบรรพชาในศาสนาของเรา เมื่อ
เธอถูกพี่ชายขับไล่ ทำไมจึงไม่ไปหาเรา มาหาเราเถิด เธอจะสึกทำไม เธอต้องอยู่ต่อไป อยู่กับเรา” พระองค์ตรัสปลอบพลางยกพระหัตถ์ขึ้นลูบศีรษะท่าน พาไปนั่งหน้ามุขพระคันธกุฎีประทานท่อ[color=#FF0000][/color]นผ้าที่สะอาดซึ่งทรงบันดาลขึ้นด้วย ฤทธิ์พร้อมตรัสสั่งว่า “เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก นั่งลูบท่อนผ้านี้พร้อมกับบริกรรมไปด้วยว่า รโชหรณํ รโชหรณํ”

บริกรรมของอาจารย์รุ่นหลัง ก็ล้วนให้เกิดสมาธิ บริกรรมคำว่ากามตามลมหายใจ ยังเป็นสมาธิได้เลย
ครับ อยู่ที่จิตเป็นเอกัคคตาหรือเปล่าเท่านั้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร