วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 04:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้พระพุทธองค์สอนเอหิภกขุอุปสัมปทาหมู่ใหญ่ที่เมืองกุรุ ถ้าจะหมายถึงผู้ใด ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มภิกษุ หรือพูดถึงเฉพาะภิกษุ ภาษาบาลีกับภาษาไทยมีความแตกต่างกันบ้าง อันนี้ก็ลองไปหาความหมายของต้นฉบับบาลีก็น่าจะดี ผมไม่ได้ศึกษาบาลี ให้ความกระจ่างไม่ได้ ไม่คิดว่าจะมีท่านใดมาติดตรงความหมายของสำนวนคำสั้นๆ ตรงนี้

พระพุทธองค์สอนธรรมก็ไม่ได้ใช้ภาษาบาลี เป็นหลัก พระองค์ใช้ภาษาพื้นบ้านแล้วแต่เมืองที่ไปสอน การจารึกเป็นภาษาบาลีก็เพราะเป็นภาษาที่เลือกแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับการจารึกความหมายโดยที่ผู้อ่านอ่านแล้วตีความได้เพี้ยนไปน้อยที่สุด ไม่ใช่ว่าจะไม่เพี้ยนเลย ภาษาบาลีไม่มีตัวอักขระเป็นของตัวเอง ใครมาคัดลอกพระไตรปิฎกก็ต้องใช้ตัวเขียนของตัวเอง แค่เขียนให้ออกเสียงเป็นบาลีเท่านั้น ทำให้คำสอนกระจายไปได้ในวงกว้างขึ้น

เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดที่จะเกิดขึ้น จึงมีการเขียนเรื่องเดียวกันซ้ำๆ หลายๆ ตอน หลายๆ สำนวน ต่างวาระ ต่างสถานที่ ต่างบุคคล อ่านพระไตรปิฎกจึงต้องอ่านให้จบ อย่าอ่านแค่ตอนสองตอนแล้วนำมาสรุป ผู้ที่บอกว่าไปอ่านเองแล้วจะตีความผิดไป ก็คือพวกที่ยังไม่ได้อ่านเท่านั้น

พระไตรปิฎกเป็นแผนที่ที่เขียนเพื่อให้รู้ทางไปนิพพาน ไม่มีวาระแอบแผง เขียนตรงไปตรงมา มีแต่ความจริง ความไม่จริง ไม่มีคาดว่า หมายว่า ประมาณว่า อย่างพวกอาจารย์ดอกร์เตอร์ทั้งหลายสอนกัน

การแบ่งฐานะบุคคลกับการปฏิบัติธรรม มากจาก การแยกตามภาวะจิตหรือองค์ธรรมที่มาประชุมกันในตัวตนคนผู้นั้น ตามเนื้อความที่มีในพระสูตร

กรภิกษุ (กะ-ระ-พิก-สุ) โดยมากหมายถึง พระเอหิภกขุอุปสัมปทา หรือที่พระพุทธองค์บวชให้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 12:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


่เอาภาษาไทยก่อนนะที่ท่านเข้าใจนะ เพราะพระไตรปิฏกที่ท่านอ่านจบแล้วก็ภาษาไทยใช่ไหมเอาแค่นี้ก่อน
อ้างคำพูด:
ถ้าจะหมายถึงผู้ใด ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มภิกษุ หรือพูดถึงเฉพาะภิกษุ

อ้างคำพูด:
กรภิกษุ (กะ-ระ-พิก-สุ) โดยมากหมายถึง พระเอหิภกขุอุปสัมปทา หรือที่พระพุทธองค์บวชให้
อันนี้คือที่ท่านอธิบายมานะครับ

ที่ท่านอธิบายมานี้เกี่ยวอย่างไรคับกับโสดาบัน

แล้วตรงไหนครับที่ท่าน Supareak ตีความว่าเป็นโสดาบัน ช่วยขยายความหน่อย ท่านจะตีความอย่างไรก็ได้ครับ เอาให้ไปจบที่ ตั้งแต่โสดาบันเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ได้ตามที่ท่านอ้าง พอจะอธิบายได้ไหมครับ

อ้างคำพูด:
อ่านพระไตรปิฎกจึงต้องอ่านให้จบ อย่าอ่านแค่ตอนสองตอนแล้วนำมาสรุป

แล้วมีพระสูตรอื่นไหมที่บอกว่า ตั้งแต่โสดาบันเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ได้ ช่วยขยายความด้วยครับ ท่านอ่านจบแล้วก็ช่วยบอกเป็นธรรมทานด้วยครับ เอาพระสูตรมาเลยคับ แล้วท่านก็ขยายความประกอบด้วย อย่าอ้างว่าต้องให้ผมไปอ่านให้จบ 25 เล่มก่อนนะครับตอนนี้เราสนทนากันเรื่องสติปัฎฐาน ๔


หมายเหตุ การตอบคำถามกรุณาตอบที่ถามหน่อยนะครับ กรุณาทำความเข้าใจคำถามก่อนนะครับ ว่าใจความหลักของคำถามคืออะไร ผมจะทวนคำถามให้อีกทีนะครับกรุณาตอบเป็นข้อ หวังว่าคราวนี้คงแจ่มนะครับ
1. ที่ท่านอธิบายมานี้เกี่ยวอย่างไรคับกับโสดาบัน
2. ตรงไหนครับที่ท่าน Supareak ตีความว่าเป็นโสดาบัน ช่วยขยายความหน่อย
3. มีพระสูตรอื่นไหมที่บอกว่า ตั้งแต่โสดาบันเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ได้


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 16:17, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮึ..ฮึ..ฮึ..

คุณ Supareak Mulpong ครับ..จะแกล้งไม่เข้าใจ..อีกไม่ได้แล้วนะครับ

ทวนความจำ..

คุณ Supareak Mulpong..เชื่อว่า..สติปัฏฐาน 4..ธรรมปฏิบัติสำหรับอริยะบุคคลเท่านั้น

คุณอายะ..ยกบาลี..แสดงให้เห็น..ว่า..ผู้หนึ่งผู้ใด..พระพุทธองค์มิได้เจาะจงเฉพาะแต่อริยะบุคคลเท่านั้น..

คนเรามันผิดกันได้..ไม่แปลกครับ..

หากผิดแล้ว..แก้ไข..เกิดได้ทั้งประโยชน์ตน..และ..ผู้อื่น..

น่าชื่นชมนะครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:24
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสงฆ์ คืออะไรครับ...........

1. ทำไมคนไทยต้องให้ลูกชายบวชตอนอายุ 20 ด้วยครับ ที่มาที่ไปเป็นอย่างไรช่วยตอบหน่อย

2. ทำไมกฏหมายประเทศไทย หรือ ทั่วโลก ถึงไม่ออกกฎหมายระเบียบบังคับออกมาว่า พระสงฆ์ห้ามกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด กินได้แต่ผักหรือมังสวิรัติ หรือ สิ่งที่ไม่มีชีวิต (ถึงยังไงตัวพระเอง ไม่ได้ฆ่าสัตว์แต่เวลาญาติโยมตักบาตรให้พระก็ต้องห้ามกินสิ่งมีชีวิต หมู ไก่ ปลา และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
พระสงฆ์เป็นผู้บริโภคมันบาป)
3. เป็นพระต้องเคร่ง ครัด นับถือศีล ให้ได้ 227 ข้อ ใช่ไหม

4. พระทั่วไป ช่วยตัวเองสำเร็จความใคร่ได้ไหม ( ถ้าทำใครจะไปรู้ ) ช่วยตอบหน่อย

5. ทำไมคนทั่วไปที่นอนสนามหลวงในกรุงเทพ ไม่มีบ้าน คนเร่ร่อน ไร้ญาติ ทำไมไม่ไปบวชเป็นพระ เป็นพระสบายจะตาย บิณบาตรก็ได้ข้าวกิน มีที่อยู่กุฎิ ไปสวดก็ได้ตังค์อีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ดีใจ..ที่มีผู้สนใจ..มาหาความดี

ยินดี..ที่ได้รู้จัก

แต่ที่ถามมานี้..ควรจะไปตั้งกระทู้..ใหม่..นะครับ

คนอื่น ๆ จะได้เห็น..ว่ามีกระทู้..ใหม่..เข้ามา

เขาจะได้..มาช่วยกัน..ตอบ..นะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบันก็คือผู้ที่มีปัญญารู้จริง หรือมีสัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องในองค์มรรค์ เมื่อสัมมาทิฏฐิอันเป็นประธานขององค์มรรคเกิด องค์ธรรมที่เหลืออีก ๗ ประการของมรรคก็จะเกิดขึ้นตามมา จนครบมรรคมีองค์ ๘ ผลของการได้สัมมาทิฏฐิอย่างเดียว ทำให้บุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้โดยปริยาย มีการยวาจาใจสุจริต มีอินทรีย์สำรวมในระดับหนึ่ง

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสให้สิ้นไป เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อบรรลุญายธรรม ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง เป็นกำกำจัดไม่ให้เหลือซาก ดับสนิท ไม่มีเค้าเกิด ไม่ใช่สำหรับการกำจัดกิเลสอย่างหยาบ ไม่ใช่การปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้น ไม่ใช่การปฏิบัติสำหรับการบรรลุธรรมขั้นต้น

สติปัฏฐาน ๔ มีสุจริต ๓ อินทรีย์สำรวม มรรคมีองค์ ๘ เป็นบาทฐานในการปฏิบัติ การพิจารณาการเกิดดับขององค์ธรรมที่เป็นนามธรรม ในบุคคลธรรมดายังไม่สามารถรับรู้และรู้สึกได้ ต้องใช้ปัญญารู้จริง หรือเรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม จึงจะสามารถวิปัสสนาพิจารณานามธรรมทั้งหลายได้ ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะ เกิดขึ้นได้ในโสดาบันบุคคลเป็นต้นไป

ส่วนข้อความที่บอกตรงๆ ว่าต้องเป็นโสดาบันก่อนแล้วจึงมาเจริญสติปัฏฐานนั้นไม่มีเขียนไว้ เพราะเมื่อสมัยพุทธกาลต้องได้โสดาบันก่อนจึงจะบวชได้ ถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่สอนภิกษุ หรือพูดถึงสาวก คือ หมายถึงพระอริยะทั้งหมด

สติปัฏฐานเป็นทางเพื่อดับขันปรินิพพานในชาตินี้ โสดาบันบุคคลที่ยังต้องประกอบสัมมาอาชีพ ก็ไม่มาเจริญสติปัฏฐาน เพราะยังไม่ประสงค์ที่จะดับขันปรินิพพานในชาตินี้ สติปัฏฐานเป็นทางเอกทางเดียวที่จะได้อรหันต์ชาตินี้ ไม่ว่าจะสำเร็จโสดาบันมาด้วยวิธีการใด ก็ต้องมาเจริญสติปัฏฐาน ๔

พระสูตรบางส่วนที่พูดถึงสติปัฏฐาน

๑) สำหรับตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค กันทรกสูตร
ดูกรกันทรกะ ก็ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้อรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ มีอยู่ ดูกรกันทรกะ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังต้องศึกษา มีปกติสงบ มีความประพฤติสงบ มีปัญญาเลี้ยงชีพด้วยปัญญามีอยู่ เธอเหล่านั้นมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ...


๒) ให้อริยะสาวกฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มหาสกุลุทายิสูตร
ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฏฐานสี่ ...

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อานาปานสติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ


อ่านๆ ไปก็จะเจออีกมาก แต่ไม่มีตอนใหนที่จะบอกว่าให้อุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติ ถึงบอกให้ไปลองอ่านดูเอาเอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

อ่านๆ ไปก็จะเจออีกมาก แต่ไม่มีตอนใหนที่จะบอกว่าให้อุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติ ถึงบอกให้ไปลองอ่านดูเอาเอง





" โย โข อานนทฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขุนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา

ธมฺมานุธธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี

โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาเย "

ดูก่อนอานนท์ บุคคลใดเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม เป็นอุบาสกก็ตาม เป้นอุบาสิกาก็ตาม

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ เจริญวิปัสสนากรรมฐานสมควรแก่มรรค ผล นิพพาน

ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่าได้สักการะ ได้เคารพ ได้นับถือ

และได้บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงที่สุดดังนี้

จากมงคลทีปนีภาค ๑ หลักสูตรประโยค ป.ธ. ๔


แค่นี้ .. ใช้ได้หรือเปล่าคะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระสงฆ์ คืออะไรครับ...........

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว
ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกขุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ

อ้างคำพูด:
1. ทำไมคนไทยต้องให้ลูกชายบวชตอนอายุ 20 ด้วยครับ ที่มาที่ไปเป็นอย่างไรช่วยตอบหน่อย

การบวชไม่ขึ้นอยู่กับอายุ อรหันต์อายุ ๗ ขวบก็เคยมีปรากฎ ที่คนไทยให้ลูกชายบวชตอนอายุ 20 เป็นประเภณีปฏิบัติ เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ บวชเดี๋ยวเดียวก็สึก เอาเคล็ด จริงๆ แทบไม่มีผลอะไร แต่เพื่อพ่อแม่สบายใจว่าจะได้เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ ก็ทำสืบต่อกันมา

ในกรณีสมมุติสงฆ์ พราะพุทธองค์บอกว่าต้องให้อายุครบ ๒๐ ปีก่อน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนั้นรู้อยู่ จึงได้ให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบทเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้มีปกติไม่อดกลั้นต่อสัมผัส แห่งเหลือบยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้วอันกล้าแข็งกล้า เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจนำชีวิตเสียได้ ส่วนบุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ย่อมเป็นผู้อดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้ายอันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันกล้าแข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจนำชีวิตเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องปรับตามธรรม.

อ้างคำพูด:
2. ทำไมกฏหมายประเทศไทย หรือ ทั่วโลก ถึงไม่ออกกฎหมายระเบียบบังคับออกมาว่า พระสงฆ์ห้ามกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด...

สมัยพุทธกาล พระเทวทัตก็เคยทูลขอ (พระที่ลอบฆ่าพระพุทธองค์ถึง ๖ ครั้ง) แต่ทรงตอบว่า ร่างกายคนเราต้องบำรุงด้วยอาหาร ไม่กินเนื้อเลย ได้สารอาหารไม่ครบ สมองฝ่อง่ายๆ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งเขาฆ่า ไม่เห็นเขาฆ่า กินได้ไม่บาป อาหารมื้อสุดท้ายที่มีคนนำมาถวายพระพุทธองค์ก็ทำจากเนื้อหมู พระเทวทัตเองก็ยังกินเนื้ออยู่ไม่ได้เลิก พวกกินพืชมี ๒ กระเพาะ เรามีกระเพาะเดียว กินพืชอย่างเดียวอยู่ไม่ได้ ทำบุญต้องไม่เบียดเบียนตัวเอง รักสัตว์ไม่กินสัตว์แต่ไม่รักตัวเองนี่ไม่ได้บุญ

อ้างคำพูด:
3. เป็นพระต้องเคร่ง ครัด นับถือศีล ให้ได้ 227 ข้อ ใช่ไหม

เคร่งแค่ ๔ ข้อ ถ้าผิด ๔ ข้อแรก ขาดจากความเป็นพระทันทีที่ผิด ไม่ต้องให้ไครมาสึก ที่เหลือเป็นความผิดชั้นรองลงมา บอกคืนอาบัติได้

อ้างคำพูด:
4. พระทั่วไป ช่วยตัวเองสำเร็จความใคร่ได้ไหม ( ถ้าทำใครจะไปรู้ ) ช่วยตอบหน่อย

ได้ พอสำนึกความผิด ก็มีการสารภาพความผิดกับเพื่อนพระด้วยกัน หรือกับพระผู้ใหญ่ มีบทลงโทษ

อ้างคำพูด:
5. ทำไมคนทั่วไปที่นอนสนามหลวงในกรุงเทพ ไม่มีบ้าน คนเร่ร่อน ไร้ญาติ ทำไมไม่ไปบวชเป็นพระ ...

บวชไม่ได้ง่าย อย่าคิดว่าไครๆ ก็บวชได้ แค่ไปพึ่งใบบุญก็พอได้ มีคนหลายประเภทที่ห้ามบวช เช่น มีหนี้ มีโทษ หนีคดี ฯ สมัยพุทธกาลคนที่บวชแรกๆ ส่วนมากเป็นกุลบุตรกุลธิดา มีลาภยศสรรเสริญ ถ้าคิดว่าเป็นพระสบาย ก็ลองไปศึกษาพระวินัยดู ถ้าไม่ศึกษาธรรมไม่ปฏิบัติธรรม บ้านผมเรียกเหลืองห่มตอ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 ก.ย. 2009, 01:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:

อ่านๆ ไปก็จะเจออีกมาก แต่ไม่มีตอนใหนที่จะบอกว่าให้อุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติ ถึงบอกให้ไปลองอ่านดูเอาเอง





" โย โข อานนทฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขุนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา

ธมฺมานุธธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี

โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาเย "

ดูก่อนอานนท์ บุคคลใดเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม เป็นอุบาสกก็ตาม เป้นอุบาสิกาก็ตาม

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ เจริญวิปัสสนากรรมฐานสมควรแก่มรรค ผล นิพพาน

ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่าได้สักการะ ได้เคารพ ได้นับถือ

และได้บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงที่สุดดังนี้

จากมงคลทีปนีภาค ๑ หลักสูตรประโยค ป.ธ. ๔


แค่นี้ .. ใช้ได้หรือเปล่าคะ :b1:



:b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โย โข อานนทฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขุนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา ..

ยินดีที่เข้ามา JAM ด้วย รบกวนถามนิดนึง เอามาจากตรงใหนในพระไตรปิฎกครับ หาไม่เจอ แล้วไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวกับสติปัฏฐานเลยนะครับ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี่ แปลง่ายๆ ว่า เริ่มจากเหตุไปหาผล ผมแปลง่ายๆ แค่นี้ อย่าง สุจริต ๓ ยังไม่มี ก็ต้องไปสร้างก่อน จึงจะมาเจริญสติปัฏฐานได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 08 ก.ย. 2009, 21:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณควรจะศึกษาภาษาบาลีเพิ่มนะคะ จะได้เข้าใจคำว่า ภิกขุ

ว่า ภิกขุ นั้น หมายถึงพระภิกษุที่บวชอย่างเดียวหรือเปล่า :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 21:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

ส่วนข้อความที่บอกตรงๆ ว่าต้องเป็นโสดาบันก่อนแล้วจึงมาเจริญสติปัฏฐานนั้นไม่มีเขียนไว้ เพราะเมื่อสมัยพุทธกาลต้องได้โสดาบันก่อนจึงจะบวชได้ ถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่สอนภิกษุ หรือพูดถึงสาวก คือ หมายถึงพระอริยะทั้งหมด



คุณนี้..คิดเอง..เออเอง..ชัด ๆ

อ้างคำพูด:
...สมัยพุทธกาลต้องได้โสดาบันก่อนจึงจะบวชได้...


ฮิ..ฮิ..ฮิ..ก็เลยอนุมานไปว่า..

อ้างคำพูด:
...ถ้าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่สอนภิกษุ หรือพูดถึงสาวก คือ หมายถึงพระอริยะทั้งหมด...


ย่ำ..นี้เป็นความคิดของคุณ Supareak Mulpong..คิดเองล้วน ๆ

มิน่า..จึงคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภิกขุ นั้น หมายถึงพระภิกษุที่บวชอย่างเดียวหรือเปล่า..

:b6: ยังไงมีข้อมูลก็ช่วยนำมาบอกกล่าวกันด้วนนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ผูที่ไม่มีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ

คือ มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นภิกษุ มีหลักฐานปรากฏยืนยันอยู่

คือ ในอรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๔๗๑ บรรทัดที่ ๓ ท่านกล่าวไว้ว่า

โย จ อิมํ ปฏิปตฺตึ ปฏิปชฺชติ โส ภิกฺขุ นาม โหติ

จริงอยู่ ท่านผู้ใด ลงมือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ คือ มหาสติปัฏฐานนี้ ท่านผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ


ถ้าถือตามนี้ก็ได้ความว่า จะเป็นใครๆก็ตาม เช่น เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม

ถ้าได้ปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐานนี้ นับว่า เป็นภิกษุได้ทั้งนั้น

มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และ อรรถกถามหาสติปัฏฐาน หน้า ๔๗๑บรรทัดที่ ๔ ที่ ๕ ว่า


ปฏิปนฺนโก หิ เทโว โหตุ มนุสฺโส วา ภิกฺขูติ สํขยํ คจฺฉติเยว









.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ถ้าต้องการรายละเอียดคำว่า ภิกขุ ที่แปลน่ะ มีหลาย มันยาว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 147 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร