วันเวลาปัจจุบัน 18 พ.ค. 2025, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




37.jpg
37.jpg [ 34.84 KiB | เปิดดู 4807 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
มีคำอยู่คำติดอยู่ในใจมานาน เคยได้ยินผ่าน ๆ หู
เป็นพุทธพจน์ว่า "เธอจงมาดูหมู่สัตว์ โลก อันวิจิตรอลังการ"
คงจะพูดไม่ถูกหรอกค่ะ แต่จะประมาณนี้ ขออาจารย์
ช่วยแก้ประโยคนี้ให้ด้วยค่ะ เพราะอยากทราบประโยคที่
ครบถ้วนและถูกต้อง



เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ

ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ.

ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจราชรถ

ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ (แต่) ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.


(จะเล่าความเป็นมาให้อ่านย่อๆ)

เรื่องก็มีอยู่ว่า อภัยราชกุมาร ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ออกรบปราบข้าศึกที่ประชิดชาย

แดนชนะกลับมา

พระเจ้าพิมพิสารพอพระทัย จึงแต่งตั้งให้ปกครองราชสมบัติ ๗ วัน พร้อมประทานหญิงนักฟ้อน

ซึ่งมีความสามารถในการฟ้อนรำขับร้องให้หนึ่งคน

ใน ๗ วันนั้นพระราชกุมาร ไม่ต้องไปไหนกันล่ะ อาบน้ำอาบท่าเสร็จก็นั่งดูหญิงนั้นร้องรำอัมเพลง

หญิงฟ้อนนั้นเต้นไปร้องไปคงจะเหนื่อยเป็นลมตายต่อหน้าต่อตาพระราชกุมาร

พระราชกุมารเศร้าโศกเสียใจมากๆ ไม่รู้จะทำอิท่าไหนให้ความโศกดับลงได้

จึงคิดถึงพระพุทธเจ้าว่าช่วยได้ จึงเข้าเฝ้า

พระพุทธเจ้าปลอบใจว่า ก็ประมาณน้ำตา ที่เธอร้องไห้ในกาลแห่งหญิงตายในสงสาร

หาประมาณมิได้ อย่าโศกเลย ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของคนพาล แล้วก็ตรัสคาถาดังกล่าว

(คาถานั้นท่านแก้อรรถไว้ดังนี้)

(ท่านทั้งหลายจงมาดู) หมายเอาจำเพาะพระราชกุมาร

-โลก ได้แก่ อัตภาพ

-จิตตัง (ในคาถานั้น ไม่ใช่จิตนะครับ) ได้แก่ วิจิตรงดงามด้วยเครื่องประดับ คือ ผ้าอาภรณ์

เป็นต้น ประดุจราชรถวิจิตรงดงามด้วยเครื่องประดับมีแก้ว ๗ ประการเป็นอาทิ

เมื่อเป็นดังนั้น คนเขลามองไม่ทะลุสมมุติ จึงหมกติดอยู่ในอัตภาพนี้

แต่บัณฑิตหามีกิเลสเครื่องข้องคือราคะเป็นต้นในอัตภาพนั้นไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อันนี้ขอถาม แบบจินตนาการค่ะ ถ้ามีเด็กคนหนึ่ง
เกิดมาในตระกูลที่ มีสัมมาทิฏฐิ ได้รับการศึกษา เกี่ยวกับ
สัจจะธรรมเช่นนี้ เธอนั้นจะสามารถเห็นความจริงได้ตั้ง
แต่ยังเด็ก ๆ ได้ไหม


คิดว่า น่าจะพอได้ แต่ก็ยากพอสมควรที่จะก้าวไปให้ถึงโลกุตรสัมมาทิฏฐิ เพราะผู้ฟังจะต้องรู้จักคิดเองด้วย

ทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ โลกียสัมมาทิฏฐิ กับ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ เหมือนปัญญาที่มี ๒ คือ โลกียปัญญา กับ
โลกุตรปัญญา

(พิจารณาแนวโลกุตรสัมมาทิฏฐิ สักเล็กน้อยครับ)

-โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับโลกุตระ คือ เหนือโลก ไม่ขึ้นต่อโลก ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับโลก และ ชีวิตถูกต้องตามเป็นจริง หรือ เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาติ
พูดง่ายๆว่า รู้เข้าใจธรรมชาตินั่นเอง

สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ เกิดจากโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล
ปรโตโฆสะที่ดี หรือ กัลยาณมิตรอาจช่วยได้เพียงด้วยการกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการแล้วรู้เห็นเข้าใจเอง
หมายความว่า สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เพียงด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา
เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวสภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง และด้วยเหตุนี้
จึงไม่มีลักษณะเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อยึดถือที่ปรุงแต่ง หรือ บัญญัติวางซ้อนเพิ่มขึ้นมาต่างหาก
จากธรรมดาของธรรมชาติ และ จึงเป็นอิสระจากการหล่อหลอมของสังคม ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของสภาพ
แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเองแท้ๆ ซึ่งมีสภาวะและธรรมดาเสมอเหมือนกัน
ทุกถิ่นฐานทุกกาลสมัย


โดยนัยนี้สัมมาทิฏฐิประเภทนี้ จึงเป็นโลกุตระ คือ ไม่ขึ้นต่อกาล ไม่จำกัดสมัย เป็นความรู้ความเข้าใจ
อย่างเดียวกัน จำเป็นสำหรับปรีชาญาณและความหลุดพ้นในทุกถิ่นทุกกาลเสมอเหมือนกัน


สัมมาทิฏฐิ ตามความหมายอย่างนี้ ที่ท่านจัดเป็นโลกุตระนั้น หมายเอาเฉพาะที่เป็นความรู้ ความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึงขั้นเป็นมรรคเป็นผลทำให้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น

แต่กระนั้นก็ตาม สัมมาทิฏฐิที่เป็นมรรคเป็นผลนั้น ก็สืบเนื่องไปจากสัมมาทิฏฐิแบบเดียวกันที่เป็นของปุถุชน
นั่นเอง
ดังนั้น ท่านจึงเรียกสัมมาทิฏฐิอย่างที่สองขั้นที่เป็นของปุถุชนว่า สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ

พึงเห็นความสำคัญของสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระหรือแนวโลกุตระนี้ว่า เป็นธรรมที่มีผลลึกซึ้งกว่า
โลกียสัมมาทิฏฐิมาก สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพอย่างที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน
สัมมาทิฏฐิระดับนี้เท่านั้นจึงกำจัดกิเลสได้ มิใช่เพียงกด ข่ม หรือทับไว้ และทำให้เกิดความมั่นคง
ในคุณธรรมอย่างแท้จริง ไม่แกว่งไกวโอนไปตามค่านิยมที่สังคมหล่อหลอม เพราะมองความจริง
ผ่านทะลุเลยระดับสังคมไปถึงสภาวธรรมที่อยู่เบื้องหลังแล้ว จึงไม่เต้นส่ายไปกับภาพปรุงแต่งในระดับสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 04:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

:b47: เข้าใจแล้วค่ะว่าเพราะอะไรอาจารย์จึง
เน้นให้พิจารณา ขันธุ์ 5 เพราะไม่งั้นขอบเขตมัน
กว้างมากเกินไป และอีกอย่างเราสามารถจะมองได้
ตลอดเวลาไม่ต้องเสียเวลาไป หาดูหรือค้นตำรา
ให้วุ่นวาย แค่นี้ยังไม่ค่อยจะทัน เพราะสังเกตุได้
ว่า เมื่อมีผัสสะ เช่นตากระทบรูป จิตจะก่อกระบวนการ
ทำงานทันที :b8:

:b47: และเท่าที่สังเกตุดู ว่าตัวเองไม่เท่าทัน
ตอนผัสสะค่ะ แต่จะทันเห็นตอนเวทนาเกิด อย่าง
นี้เรียกว่า ช้าไปไหมค่ะ การเห็นวงจรกรรมแบบนี้
เีรียกว่า มีอินทรียสังวร ได้ไหมค่ะ

:b47: ขอเรียนถามไว้ประดับความรู้
ศิษย์เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง ญาน 16
ลำดับขั้นของการบรรลุธรรม นั้น แต่ละลำดับเช่น
พระโสดาบันจะมีกระบวนการเกิดมรรค และผล
ในขณะที่ เราใช้เวลาศึกษาอยู่นี่ เรียกว่า
มรรคใช่ไหมค่ะ และกระบวนการเกิดมรรคที่จะข้ามฝั่ง
นั้น แต่ละชั้นก็ต้องผ่านญาน 16 ดั้งนั้นกว่า
จะถึงพระอรหันต์เท่ากับผ่านทั้งหมด 4 ครั้ง
ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ

:b47: ผู้ที่ไม่มีอุปทาน เลยคือพระอรหันต์ ?
ผู้ที่มีสัมมาิทิฏฐิ นั้นนับตั้งแต่พระโสดาบัน ?

กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพยิ่ง
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
(ขยายความที่ทำเครื่องหมาย * คห.บน)

* ธรรม ๓ ข้อแรก (เสวนาสัตบุรุษ, การฟังธรรมของสัตบุรุษ, การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี)
ก็คือ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญ (เสวนาสัตบุรุษ = กัลยาณมิตตตา
ฟังธรรมของสัตบุรุษ = ปรโตโฆษะฝ่ายดี)

ส่วนธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรม ให้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่ง
หมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย เช่น
ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผล นิพพาน มิใช่ปฏิบัติโดยงมงาย ไร้หลักการ หรือ ทำให้
เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ -ขุ.จู. 30/797/417)แสดงตัวอย่างธรรมหรือธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน
๔ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น (คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ นั่นเอง)

ธรรมหลักย่อย เช่น การบำเพ็ญศีล การสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณในอาหาร ชาคริยานุโยค
และสติสัมปชัญญะ เป็นต้น พึงปฏิบัติธรรมหลักย่อย เช่น ศีล และการสำรวมอินทรีย์นี้อย่างมีจุดหมาย
โดยสอดคล้องและอุดหนุนแก่ธรรมหลักใหญ่เช่น สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้นนั้น

สาธุ สาธุ สาธุ :b13:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และเท่าที่สังเกตุดู ว่าตัวเองไม่เท่าทัน
ตอนผัสสะค่ะ แต่จะทันเห็นตอนเวทนาเกิด
อย่างนี้เรียกว่า ช้าไปไหมค่ะ การเห็นวงจรกรรมแบบนี้
เรียกว่า มีอินทรียสังวร ได้ไหมค่ะ



มีได้ครับ เพราะยังเป็นกระแสปกติตามธรรมชาติ ดูครับ

ที่ผ่านมาได้เขียนวงจร ...อายตนะ+อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา

ถึงเวทนา มีสติสติเกิดวงจรความคิดเปลี่ยนแยกเป็นสองทาง ทางหนึ่งเป็นกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ (กุศล)
ทางหนึ่งกระบวนธรรมเป็นแบบสังสารวัฏฏ์ (เมื่อขาดสติ ถึงเวทนา จิตก็จะไหลถึง ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น ตามความเคยชิน)

พิจารณาวงจรแบบพิสดาร

(อาสวะ =>) อวิชชา=> สังขาร=> วิญญาณ=> นามรูป=> สฬายตนะ=> ผัสสะ => เวทนา=>ตัณหา =>อุปาทาน => ภพ =>ชาติ => ชรามรณะ...โสก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส =ทุกขสมุทัย

ส่วนฝ่ายดับ หรือ ทุกขนิโรธ ก็ดำเนินไปตามหัวข้อเช่นเดียวกันนี้

กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฏฏะหรือวงจร ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ไม่มีเบื้องต้น
เบื้องปลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 เม.ย. 2009, 09:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3927.jpg
3927.jpg [ 31.42 KiB | เปิดดู 4805 ครั้ง ]
ปฏิจจสมุปบาท ความหมายเชิงอธิบาย


1. อวิชชา (ignorance lack of knowledge) = ความไม่รู้

ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ หลงไปตามสมมุติบัญญัติ

ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่างๆ ภาวะขาดปัญญา ความไม่เข้าใจเหตุผล

การไม่ใช้ปัญญา หรือปัญญาไม่ทำงาน ในขณะนั้นๆ


2. สังขาร (Volitional activities) = ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ

มุ่งหมาย ตัดสินใจ และการที่จะแสดงเจตนาออกเป็นการกระทำ การจัดสรรกระบวน

ตามความคิด และมองหาอารมณ์มาสนองความคิดโดยสอดคล้องกับพื้นนิสัย ความถนัด

ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ และทัศนคติ เป็นต้นของตน ตามที่ได้สั่งสมไว้;

การปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งความคิด หรือปรุงแต่งกรรม ด้วยเครื่องปรุง คือ คุณสมบัติ

ต่างๆ ที่เป็นความเคยชิน หรือได้สั่งสมไว้


(สังขารในกรณีนี้ คือ เจตสิก 50 มีทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายร้าย)


3. วิญญาณ (consciousness) = ความรู้ต่ออารมณ์ต่างๆ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส

รู้สัมผัส รู้ต่ออารมณ์ที่มีในใจ ตลอดจนสภาพพื้นเพของจิตใจในขณะนั้นๆ


4. นามรูป (animated organism) = ความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรม

ในความรับรู้ของบุคคล ภาวะที่ร่างกายและจิตใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้อง

และปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบสนองในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้นนั้น

ส่วนต่างๆ ของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิต


5. สฬายตนะ (the six sense-bases) = ภาวะที่อายตนะที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่

โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ


6. ผัสสะ (contact) = การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์ต่างๆ

7. เวทนา (teeling) = ความรู้สึกสุขสบาย ถูกใจ หรือ ทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉยๆ

ไม่สุขไม่ทุกข์


8. ตัณหา (craving) = ความอยาก ทะยาน ร่านรนหาสิ่งอำนวยสุขเวทนา

หลีกหนีสิ่งที่ก่อทุกขเวทนา โดยอาการ ได้แก่ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่อย่างนั้น ๆ

ยั่งยืนตลอดไป อยากให้ดับสูญ พินาศไปเสีย

9. อุปทาน (attachment, clinging) = ความยึดติดถือมั่น ในเวทนาที่ชอบ หรือชัง รวบรั้งเอา

สิ่งต่างๆ และภาวะชีวิตที่อำนวยเวทนานั้นเข้ามาผูกพันกับตัว ความยึดมั่นต่อสิ่ง ซึ่งทำให้เกิดเวทนา

ที่ชอบหรือไม่ชอบ จนเกิดท่าทีหรือตีราคาต่อสิ่งต่างๆ ในแนวทางที่เสริมหรือสนองตัณหาของตน

10. ภพ (process of becoming) = กระบวนพฤติกรรม ทั้งหมดที่แสดงออก เพื่อสนองตัณหา

อุปาทานนั้น (กรรมภพ – the active process)

และ ภาวะชีวิตที่ปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง (อุปปัตติภพ- the passive process)

โดยสอดคล้องกับอุปาทานและกระบวนพฤติกรรมนั้น

11. ชาติ (birth) = การเกิดความตระหนักในตัวตนว่า อยู่หรือไม่ได้อยู่ในภาวะชีวิตนั้นๆ

หรือไม่ได้มี ไม่ได้เป็นอย่างนั้นๆ

การเข้าครอบครองภาวะชีวิตนั้น หรือเข้าสวมเอากระบวนพฤติกรรมนั้น โดยการยอมรับ

ตระหนักชัดขึ้นมาว่า เป็นภาวะชีวิตของตน เป็นกระบวนพฤติกรรมของตน

12. ชรามรณะ (decay and death) = ความสำนึกในความขาด พลาด หรือ พรากแห่งตัวตน

จากภาวะชีวิตอันนั้น ความรู้สึกว่าตัวตนถูกคุกคามด้วยความสูญสิ้นสลาย

หรือ พลัดพรากจากภาวะชีวิตนั้นๆ หรือ จากการได้มี ได้เป็นอย่างนั้นๆ จึงเกิด โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พ่วงมาด้วย คือ รู้สึกคับแคบ ขัดข้อง ขุ่นมัว แห้งใจ หดหู่

ไม่สมหวัง กระวนกระวาย และทุกขเวทนาต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1074624210_518a51d551_o.gif
1074624210_518a51d551_o.gif [ 28.9 KiB | เปิดดู 4804 ครั้ง ]
แทรกวิธีปฏิบัติเล็กน้อย


เมื่อตามดูรู้ทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ

ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้น ของตนเองที่ไม่พึงปรารถนา หรือ ที่ตนเองไม่ยอมรับ

ปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเองตามที่มันเป็น

ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลวงตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลส แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

มีต่อที่นี่ครับ

viewtopic.php?f=2&t=18859

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกความรู้เพิ่มเติม


-อายตนะภายใน หรือ ทวาร ๖ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๖

คำว่าอินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่

หรือ เป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้ รูป หู เป็นเจ้าการในการรับรู้ เสียง เป็นต้น

อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ (จักขุ+อินทรีย์...) โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์

และมนินทรีย์

คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะ ในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวข้องกับจริยธรรม

เช่น การสำรวมจักขุนทรีย์ เป็นต้น



ส่วนอายตนะนิยมใช้ในเวลาพูดถึงสภาวะ ที่อยู่ในกระบวนธรรม เช่น

อาศัยจักขุ +อาศัยรูป+ เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น

และเมื่อพูดถึงสภาวะลักษณะเช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น

อีกคำหนึ่งที่ ใช้พูดกันบ่อยในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือ คำว่า

ผัสสายตนะ แปลว่า ที่เกิด หรือ บ่อเกิดแห่งผัสสะ คือ ที่มาของการรับรู้นั่นเอง

-อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) หรือ อารมณ์ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ

โคจร (ที่เที่ยว, ที่หากิน)

และ วิสัย (สิ่งผูกพัน, แดนดำเนิน)

และชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับอารมณ์ ๕ อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมาก

ในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือ แบบสังสารวัฏ คือ คำว่า กามคุณ (ส่วนที่น่าใคร่ น่าปรารถนา,

ส่วนที่ดี หรือ ส่วนอร่อยของกาม)

กามคุณ ๕ หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณคนไร้สาระดูวิถีจิต หรือ การทำงานของจิตว่า ไหลไปอย่างไร



เรียน ทุกท่าน
ดูจิต แต่คิดอกุศล มันคิดไปเองนะคะ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำไมต้องสร้างวัดใหญ่ ๆ
ทำไมต้องสร้างพระพุทธรูปให้ผู้คนบูชาแพง ๆ ทำไมต้องแข่งกันสร้างอะไรที่ใหญ่กว่าคนอื่น
หรือบางทีคิดลามกก็มี ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจคิดจู่ๆ มันก็แวปมา
กลัวบาปเหมือนกัน มันไม่ใช่ความคิด เหมือนอุปทานอกุศลน่ะค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติหรือการฝึกจิตนั้นจะต้องมีหลัก มิใช่คิดสะเปะสะปะ

ดูหลักครับ



ปราชญ์บางท่าน ชี้ให้สังเกตความแตกต่างระหว่าง "อานาปานสติ" กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจ

ของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจ ของโยคะที่เรียกว่า "ปราณยาม" เป็นต้นว่า เป็นคน

ละเรื่องกันทีเดียว

โดยเฉพาะ "อานาปานสติ" เป็นวิธี "ฝึกสติ" ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียง

อุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

ส่วนการฝึก บังคับลมหายใจ นั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยาที่พระพุทธเจ้า

เคยทรงบำเพ็ญและละเลิกมาแล้ว (มีที่มาหลายแห่ง)


อานาปานสติ แม้แต่ในประเทศไทย ก็ยังเห็นไม่ตรงกันครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




40.jpg
40.jpg [ 92.71 KiB | เปิดดู 4801 ครั้ง ]
กระทู้นี้ยาวแล้วครับ คำตอบที่เหลือดูต่อที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21575

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1854

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ด้วยท่านกรัชกาย

:b1: ไม่ทราบมีใครอ่านได้ ทีเดียว 5 หน้าบ้าง
ต้องอาศัย ความเพียร มิน่าถึงมีคำกล่าวว่า
"ความเพียรเป็นเลิศ" ผู้ใดมีความเพียร ย่อมมีความเป็นเลิศ สาธุ..
:b4:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5113

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron