วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 20:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สวัสดีครับคุณชาวโลก
อมตธรรมที่พระพุทธองค์ (พ่อ)ได้มอบให้แก่ลูก เมื่อลูกได้สมบัติอันมีค่าแล้ว ลูกก็มีหน้าที่ต้องรักษา และมอบให้ผู้อื่นได้รับรสอมตธรรมอันสันติสุขนี้เช่นเดียวกัน อีกทั้งเป็นการรักษาเผ่าพงศ์ ไว้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่คุณเข้าใจผมและลองปฏิบัติตามแนวทางที่คุยกัน แต่เป็นการถ่ายทอดด้วยตัวอักษรย่อมมีข้อจำกัด สำหรับแนวทางที่คุณปฏิบัติตาม ผมขอจำแนกดังนี้
การแตะรู้คือมีสติ รู้ว่ามีความตึง(สมมุติ)คือสัมปชัญญะ ปล่อยการรู้(ละอุปทาน) หรือเปลี่ยนไปรู้สิ่งอื่น การแตะรู้เบาสบายๆช้าๆไม่ต้องตั้งใจ(มัชฌิมาปฏิปทา)
สำหรับการปฏิบติดังกล่าวหากมีอาการมึนเกิดขึ้นแสดงว่า อาจรู้มีความตั้งใจหรือไม่ได้ปล่อยวางจุดที่รู้จุดหนึ่งก่อนเคลื่อนไปอีกจุดหนึ่ง สำหรับความหมายของการปล่อยวาง คือต้องละสิ่งที่รู้นั้นก่อน หากพยายามละ ก็ต้องรู้ทันว่าพยายามเพราะจะเกิดลักษณะกิเลสช้อนกิเลส

คุณเคยได้ทราบคำว่า “สังขารุเบกขาญาณ” หรือไม่
การปฏิบัติวิปัสสนา จะเป็นการสลายแยกรูปและนาม โดยจะแยกร่างกายที่มีลักษณะเป็นก้อนให้แตกกระจายออกเป็นส่วนเล็กเล็กสิ่งที่เกาะยึดกับกาย เช่น ความชา ร้อน เจ็บเหมือนเข็มแทง จะคลายออกจากรูป สำหรับนามจะแยกเจตสิกออกจากจิตจากหยาบสู่ละเอียด จนเข้าถึงความว่าง แต่เป็นว่างที่ยังรู้ถึงความเปลี่ยนปลงเป็นคลื่นความสั่นสะเทือน(อนิจจังอย่างละเอียด) ที่คุณเป็นอยู่

เมื่อสภาวะธรรมเกืดอนิจจังละเอียดถึงขั้นนี้แล้ว จะไปกระทุ้งเอาทุกขังออกมา อย่างที่คุณได้โพสต์ไว้ว่า คุณมีอาการปวดกระดูกทั้งตัว แต่หายในเวลาต่อมา สำหรับทุกขังจะมีรอบเล็กและรอบใหญ่ รอบเล็กจะมีอาการปวดเมื่อย ชา ส่วนรอบใหญ่จะปวดเมื่อยถึงกระดูก มีอาการเป็นไข้ ด้านจิตใจก็จะกระสับกระส่ายทุรนทุราย นี่คือสภาพทุกขังที่ผู้ปฏิบัติจะต้องผ่านก่อนถึงมรรคผลนิพพาน ดังคำที่ว่าผู้ใดเห็นทุกข์ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม

เมื่อผ่านอนิจัง ทุกขังแล้ว ปลายทางสุดท้ายคืออนัตตา ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อันนี้คือความหมาย แต่ลักษณะของอนัตตาไม่ค่อยมีใครได้กล่าวถึง สำหรับผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะเข้าสู่ความว่างเนื่องจากรอบการรู้มีความถี่ ต่ำกว่ารอบความถี่ของตัณหา หากเคยฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ อาจจับใจความได้ก่อนบรรลุธรรม อย่างเช่น หลวงตามหาบัว ท่านบอกว่าตัวรู้จะถี่หมุนติ้ว ๆ นั่นแสดงไห้เห็นว่าท่านปฏิบัติจนจิตมีความถี่สูง มีการรู้เป็นขณะจากช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จิตจะแยกตัวจากการครอบงำชั่วคราว และพบแรงกระทำของจักรวาลป็นรอบๆ 1 วินาที มีลักษณะเหมือนชีพจร หรือ เสียงนาฬิกา (ตอ๊ค ๆ ๆ) แสดงว่าผู้ปฏิบัติเข้าถึงอนัตาแล้ว คุณชาวโลกก็ได้พบสภาวะนี้แล้ว แต่เนื่องจากคุณมีอาการปวดหัว ร่วมด้วย แสดงว่าในขณะรู้อาการ คุณไม่ได้รู้แบบรู้แล้วปล่อยวาง ลองกลับไปสังเกตด้วยว่า รู้แบบธรรมชาติหรือไม่ ใส่ความตั้งใจหรือไม่ จริง ๆแล้วในเบื้องต้น อาจใช้วิทีรู้ รวมๆโดยไม่เลือกก็ได้
เมื่อรู้อาการต๊อค ๆ แล้ว ให้รู้ 4-5 ขณะ แล้วปล่อยการรู้ 2-3วินาทีแล้วกลับมารู้ให่มสลับไปสลับมา เดี๋ยวจะเข้าสู่ความดับรอบ......สู่ความอิสระจากแรงร้อยรัดทั้งปวง แล้วจะอุทาน ธรรมเป็นเช่นนี้หรือ จะระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์ ครูอาจารย์ที่บอกทาง เป็นศรัทธาที่ไม่เปลี่ยแปลงตลอดไป สุดท้ายสิ่งที่ธรรมดาเราอาจมองข้าม ที่คุณบอกว่าจะไม่ได้พิจารณาสังคมนั้น ระดับลึกของวิปัสนาคือ การรู้ไม่ต้องใช้การคิดพิจารณา แล้ว ขอให้พบอมตธรรมนะครับ :b8:


:b8: :b8: น้อมรับความรู้ทั้งหมดค่ะ :b8: :b8:

คุณ suttiyan ค่ะ คือดิฉันเป็นชาวบ้านธรรมดา..คือ ขออนุญาติ กล่าวความรู้สึกจากใจเลยน่ะค่ะว่า..อ่านของคุณแล้ว รู้สึก อลังการงานสร้างมาก..ยากเวอร์ เกินสมองชาวบ้านอย่างดิฉันจะเข้าใจค่ะ..แต่ดิฉันเข้าใจคำว่า สังขารุเบกขาญาน ค่ะ...ดิฉันจะอธิบายแบบชาวบ้าน บ้านๆแล้วกันน่ะค่ะ ตามที่ดิฉันเข้าใจ สังขารุเบกขาญาน คือ การวางเฉยต่อร่างกาย หรือขันธ์5 นี่ตามหนังสือจะบอกประมาณนี้ค่ะ แต่ในสิ่งที่ดิฉันเข้าใน สังขารุเบกขาญาน คือ การเฉย รับรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น และความเป็นไปที่เกิดขึ้น รู้สึกทุกๆอย่างในการเกิดขึ้นของร่างกาย แต่ใจเราไม่ติดน่ะค่ะ เราเลยเฉยๆได้..ดิฉันเข้าใจแบบนี้..ตรงกันกับสิ่งที่คุณ suttiyan กล่าวบ้างไหมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูมิของคุณชาวโลก ทำให้นึกถึงภูมิในการปฏิบัติ K.ศรีวรรณ์ ไคร้งาม กท.ที่ถัด กท.นี้ขึ้นไป เพียงแต่มากันคนละช่วงปีของกาลเวลา เพราะรายนั้นคงไม่มาโพสท์ในเว๊บนี้อีกแล้ว การที่จขกท.ตั้งกท.นี้ก้ดีเหมือนกัน
ทำให้ผู้รู้ที่เก่งๆแฝงตัวในนี้ เค้ามาโพสท์ตอบกันมากขึ้น :b40:


“สังขารุเบกขาญาณ” คือ ญานที่11 ในวิปัสสนาญาณ16 คือ จิตวางเฉยในรุป-นาม (ตามคู่มือที่อ่าน)

แต่สำหรับผม ผมว่าถ้าฝึกสมถะ อานาปานสติแบบพุทโธ(กำหนดลมเข้าออก)ของคุณชาวโลก <ไม่รู้ว่าทายถูกหรือเปล่านะ> ได้เพียง "นิพพิทาญาณ"คือเบื่อหน่ายในรูปนามอินทรีย์ธาตุที่ตังอยู่ เหนร่างกายหรือ
ก้อนสังขารเป็นเพียงที่ตั้งของธาตุทั้ง4 แล้วเสื่อมสลายกลายเป็นสภาพเดิม ทำให้เหนร่างกายหรือท่อนฟืนอันนี้เป็นเพียง "ศาลาร้าง" ที่พร้อมจะทิ้งได้ทุกเมื่อ(ละอัตตาได้ถึง3/4) ไม่ยินดีสนใจมันอีกต่อไป ถ้าเหนเช่นนี้บอกได้เลยว่าการปฏิบัติได้พัฒนาไปไกลมาก แม้ว่านิพพิทา จะไม่สูงเท่าสังขารุเบกขา แต่จัดว่าเปนปัญญาขั้นกลางในการประหารกิเลส๙==>คลายความเหนดีเหนชอบที่เคยเหนว่า เหนว่าไม่น่ายินดีเลย ถึงแม้คนทั้งโลกจะเหนว่าเปนสุขแต่เราก้เหนว่าเปนทุกข์ทั้งนั้น

อ้างคำพูด:
สังขารุเบกขาญาน คือ การวางเฉยต่อร่างกาย หรือขันธ์5

เข้าถูกต้องแล้วครับ เพราะปัญญาที่ได้จากการสะสมการปฏิบัติทั้งวิปัสสนาและสมถะมา ทำให้มีปัญญาและสติจากภาวนาดีขึ้นมาก จนสามารถวางเฉยในสังขาร รุปนาม ขันธ์ห้า ได้อย่างสนิท ซึ่งมีโทษอันตนเหนแล้ว ดุจสามีภรรยาหย่าร้างกันขาดจากกันสนิท :b41:

ดังนั้น คุณsuttiyanถึงได้เน้นคำว่า “สังขารุเปกขาญาณ” เป็นพิเศษ ส่วนตัวผมคิดว่าเปนอมตธรรมข้อหนึ่ง ถ้าสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามแนวมหาสติฯ จะเป็นคำศัพท์ที่ฮิตและใช้กันมากสำหรับการปฏิบัติและสนทนาแม้แต่ในที่นี้ก้เจอ แต่ว่าไม่ว่าคำนั้นจะเปนคำว่าอะไร ถ้ารู้จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติกรรมฐานอานาปานสติ เราก้จะพอเข้าใจคำศัพท์แปลกๆนี้พวกนี้บ้างด้วยตนเองเรียกว่าได้จากปฏิบัติการ เรียกอีกอย่างว่า "อ่านหนังสือไม่มีตัว" ยิ่งปฏิบัติก้ยิ่งพบเหนอะไรที่แปลกที่ไม่สามารถอธิบายในหนังสือได้ แต่ก้ทำให้รู้ซึ้งขึ้นเพราะเหนภายในเยอะขึ้น :b39:
อ้างคำพูด:
เมื่อสภาวะธรรมเกืดอนิจจังละเอียดถึงขั้นนี้แล้ว จะไปกระทุ้งเอาทุกขังออกมา

บางวัดก้เขาจะถือสัจจะ ถ้าไม่หมดเวลาอย่าเลิกนั่งหรือเปลี่ยนท่านั่ง ให้ถือคติธรรม"ตายเปนตาย"ความรู้ทางเวทนาปวดมันหลอกเราอยู่ ถ้าเราก้าวข้ามความปวดตรงนี้ไปได้ สัจจธรรมขั้นต้นรอเราอยู่แล้วเพื่อยันเวทนาให้ได้และชนะเหนือเวทนาทั้งกายและใจ การถือคติธรรมคำนี้ทำให้เกิดสติและกำลังใจกลับมาอย่างมหาศาล จิตจะมีอำนาจอยู่เหนือเวทนาทำให้สลัดอุปาทานที่เรายึดความปวดเอาไว้และสามารถหายปวดในที่สุด ซึ่งแม้ว่าผมจะพูดอะไรต่อไป ผู้รู้ในนี้ที่เขาศึกษามาดี รวมถึงคุณชาวโลกก้จะรู้หรือรู้ในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว ผมมาพูดเผื่อไว้สำหรับเรื่องง่ายๆแต่สำคัญมากเมื่อต้องปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว





.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 00:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
ภูมิของคุณชาวโลก ทำให้นึกถึงภูมิในการปฏิบัติ K.ศรีวรรณ์ ไคร้งาม กท.ที่ถัด กท.นี้ขึ้นไป เพียงแต่มากันคนละช่วงปีของกาลเวลา เพราะรายนั้นคงไม่มาโพสท์ในเว๊บนี้อีกแล้ว การที่จขกท.ตั้งกท.นี้ก้ดีเหมือนกัน
ทำให้ผู้รู้ที่เก่งๆแฝงตัวในนี้ เค้ามาโพสท์ตอบกันมากขึ้น :b40:


“สังขารุเบกขาญาณ” คือ ญานที่11 ในวิปัสสนาญาณ16 คือ จิตวางเฉยในรุป-นาม (ตามคู่มือที่อ่าน)

แต่สำหรับผม ผมว่าถ้าฝึกสมถะ อานาปานสติแบบพุทโธ(กำหนดลมเข้าออก)ของคุณชาวโลก <ไม่รู้ว่าทายถูกหรือเปล่านะ> ได้เพียง "นิพพิทาญาณ"คือเบื่อหน่ายในรูปนามอินทรีย์ธาตุที่ตังอยู่ เหนร่างกายหรือ
ก้อนสังขารเป็นเพียงที่ตั้งของธาตุทั้ง4 แล้วเสื่อมสลายกลายเป็นสภาพเดิม ทำให้เหนร่างกายหรือท่อนฟืนอันนี้เป็นเพียง "ศาลาร้าง" ที่พร้อมจะทิ้งได้ทุกเมื่อ(ละอัตตาได้ถึง3/4) ไม่ยินดีสนใจมันอีกต่อไป ถ้าเหนเช่นนี้บอกได้เลยว่าการปฏิบัติได้พัฒนาไปไกลมาก แม้ว่านิพพิทา จะไม่สูงเท่าสังขารุเบกขา แต่จัดว่าเปนปัญญาขั้นกลางในการประหารกิเลส๙==>คลายความเหนดีเหนชอบที่เคยเหนว่า เหนว่าไม่น่ายินดีเลย ถึงแม้คนทั้งโลกจะเหนว่าเปนสุขแต่เราก้เหนว่าเปนทุกข์ทั้งนั้น

อ้างคำพูด:
สังขารุเบกขาญาน คือ การวางเฉยต่อร่างกาย หรือขันธ์5

เข้าถูกต้องแล้วครับ เพราะปัญญาที่ได้จากการสะสมการปฏิบัติทั้งวิปัสสนาและสมถะมา ทำให้มีปัญญาและสติจากภาวนาดีขึ้นมาก จนสามารถวางเฉยในสังขาร รุปนาม ขันธ์ห้า ได้อย่างสนิท ซึ่งมีโทษอันตนเหนแล้ว ดุจสามีภรรยาหย่าร้างกันขาดจากกันสนิท :b41:

ดังนั้น คุณsuttiyanถึงได้เน้นคำว่า “สังขารุเปกขาญาณ” เป็นพิเศษ ส่วนตัวผมคิดว่าเปนอมตธรรมข้อหนึ่ง ถ้าสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามแนวมหาสติฯ จะเป็นคำศัพท์ที่ฮิตและใช้กันมากสำหรับการปฏิบัติและสนทนาแม้แต่ในที่นี้ก้เจอ แต่ว่าไม่ว่าคำนั้นจะเปนคำว่าอะไร ถ้ารู้จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติกรรมฐานอานาปานสติ เราก้จะพอเข้าใจคำศัพท์แปลกๆนี้พวกนี้บ้างด้วยตนเองเรียกว่าได้จากปฏิบัติการ เรียกอีกอย่างว่า "อ่านหนังสือไม่มีตัว" ยิ่งปฏิบัติก้ยิ่งพบเหนอะไรที่แปลกที่ไม่สามารถอธิบายในหนังสือได้ แต่ก้ทำให้รู้ซึ้งขึ้นเพราะเหนภายในเยอะขึ้น :b39:
อ้างคำพูด:
เมื่อสภาวะธรรมเกืดอนิจจังละเอียดถึงขั้นนี้แล้ว จะไปกระทุ้งเอาทุกขังออกมา

บางวัดก้เขาจะถือสัจจะ ถ้าไม่หมดเวลาอย่าเลิกนั่งหรือเปลี่ยนท่านั่ง ให้ถือคติธรรม"ตายเปนตาย"ความรู้ทางเวทนาปวดมันหลอกเราอยู่ ถ้าเราก้าวข้ามความปวดตรงนี้ไปได้ สัจจธรรมขั้นต้นรอเราอยู่แล้วเพื่อยันเวทนาให้ได้และชนะเหนือเวทนาทั้งกายและใจ การถือคติธรรมคำนี้ทำให้เกิดสติและกำลังใจกลับมาอย่างมหาศาล จิตจะมีอำนาจอยู่เหนือเวทนาทำให้สลัดอุปาทานที่เรายึดความปวดเอาไว้และสามารถหายปวดในที่สุด ซึ่งแม้ว่าผมจะพูดอะไรต่อไป ผู้รู้ในนี้ที่เขาศึกษามาดี รวมถึงคุณชาวโลกก้จะรู้หรือรู้ในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว ผมมาพูดเผื่อไว้สำหรับเรื่องง่ายๆแต่สำคัญมากเมื่อต้องปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว





.


Onion_L ช่วงนี้ท่านๆลับสมองกันไปก่อนน่ะค่ะ ดิฉันไม่สบาย สมองไม่แล่นมา 2-3วันแล้วค่ะ แต่ดิฉันสังเกตุ ว่าทำไม มันยากขึ้นเรื่อยๆ..ต้องคิดหนักในการตอบ (ต้องใช้สติและสมาธินะค่ะซึ่งช่วงนี้ดิฉันอัดภูมิตัวเองไม่ได้ :b32: ) ได้แต่อ่านๆไปก่อนน่ะค่ะ :b16: :b16: ..ไร้สาระได้ค่ะ ช่วงนี้ สาระล้วนๆต้องผ่านค่ะ..จะเข้ามาอ่านเรื่อยๆนะค่ะ แต่ถ้าแบบยากเวอร์ขนาดนี้ต้องรอหายดีก่อน ถึงจะมาศึกษาและพูดคุยด้วยต่อได้ค่ะ.. :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 00:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไร้สาระ....มันก็ต้องเป็นช่วงของคนอย่างกระผม...นะสิ...

อิ...อิ...อิ...
rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 00:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ขอคุยเล่นๆน่ะค่ะ อย่าถือเอาสาระกับคนป่วยที่โดนเล่นงานที่หัว จนสมองไม่แล่นค่ะ :b9:


“สังขารุเบกขาญาณ” คือ ญานที่11 ในวิปัสสนาญาณ16 คือ จิตวางเฉยในรุป-นาม (ตามคู่มือที่อ่าน)

แต่สำหรับผม ผมว่าถ้าฝึกสมถะ อานาปานสติแบบพุทโธ(กำหนดลมเข้าออก)ของคุณชาวโลก <ไม่รู้ว่าทายถูกหรือเปล่านะ> ได้เพียง "นิพพิทาญาณ"คือเบื่อหน่ายในรูปนามอินทรีย์ธาตุที่ตังอยู่ เหนร่างกายหรือ
ก้อนสังขารเป็นเพียงที่ตั้งของธาตุทั้ง4 แล้วเสื่อมสลายกลายเป็นสภาพเดิม ทำให้เหนร่างกายหรือท่อนฟืนอันนี้เป็นเพียง "ศาลาร้าง" ที่พร้อมจะทิ้งได้ทุกเมื่อ(ละอัตตาได้ถึง3/4) ไม่ยินดีสนใจมันอีกต่อไป ถ้าเหนเช่นนี้บอกได้เลยว่าการปฏิบัติได้พัฒนาไปไกลมาก แม้ว่านิพพิทา จะไม่สูงเท่าสังขารุเบกขา แต่จัดว่าเปนปัญญาขั้นกลางในการประหารกิเลส๙==>คลายความเหนดีเหนชอบที่เคยเหนว่า เหนว่าไม่น่ายินดีเลย ถึงแม้คนทั้งโลกจะเหนว่าเปนสุขแต่เราก้เหนว่าเปนทุกข์ทั้งนั้น

พูดตามตรงน่ะค่ะ ดิฉันไม่ได้คิดจริงจังแบบว่าต้องเป๊ะว่าเป็น สังขารุเบกขาญานหรือ นิพพิทาญานหรอกค่ะ ดิฉันคิดง่ายๆแบบง่ายๆ ศัพท์ก็ชาวบ้านว่า ก็แค่นึกถึงพระนิพพาน พอนึกถึงพระนิพพานก็ดีใจมีกำลังใจ เพราะเบื่อในร่างกายเป็นทุนเพราะป่วยบ่อยเหลือเกิน..เห็นทุกข์จาการเป็นอยู่ เห็นทุกข์จากสังคม เห็นทุกข์จากการอยู่ในโลก..ทำให้มันเบื่อและเฉยไปพร้อมๆกันนี่คืออารมณ์ปกติที่เป็น แต่อารมณ์โดดนี่ นับจากที่ตั้งกระูทู้มา เกิดขึ้นมาหลายรอบแล้วค่ะ อารมณ์โดดมาถี่..และถ้าสติตามทันก็จะเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ และพิจารณาไป แต่ช่วงนี้ข้อสอบเปลี่ยนไหม่ค่ะ มาเล่นงานสมองของดิฉัน ถึงจิตดิฉันจะไม่ป่วยตามกาย แต่มันก็เกิดอาการรำคาญขึ้นได้ค่ะ

อ้างคำพูด:
สังขารุเบกขาญาน คือ การวางเฉยต่อร่างกาย หรือขันธ์5

เข้าถูกต้องแล้วครับ เพราะปัญญาที่ได้จากการสะสมการปฏิบัติทั้งวิปัสสนาและสมถะมา ทำให้มีปัญญาและสติจากภาวนาดีขึ้นมาก จนสามารถวางเฉยในสังขาร รุปนาม ขันธ์ห้า ได้อย่างสนิท ซึ่งมีโทษอันตนเหนแล้ว ดุจสามีภรรยาหย่าร้างกันขาดจากกันสนิท

อารมณ์นี้ ดิฉันคิดว่าต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นค่ะ ถึงจะทรงอารมณ์ที่ว่านี้ได้ตลอดเวลา..ส่วนเราที่เป็นนักฝึกหัดในทางธรรม ได้บ้างไม่ได้บ้างถือว่าเป็นเรือ่งปกติ แค่พยายามทำอารมณ์ให้ถึงแบบถี่เท่าไหรได้ยิ่งดี ดิฉันก็ถือว่าดีมากแล้วค่ะ


อ้างคำพูด:
เมื่อสภาวะธรรมเกืดอนิจจังละเอียดถึงขั้นนี้แล้ว จะไปกระทุ้งเอาทุกขังออกมา

บางวัดก้เขาจะถือสัจจะ ถ้าไม่หมดเวลาอย่าเลิกนั่งหรือเปลี่ยนท่านั่ง ให้ถือคติธรรม"ตายเปนตาย"ความรู้ทางเวทนาปวดมันหลอกเราอยู่ ถ้าเราก้าวข้ามความปวดตรงนี้ไปได้ สัจจธรรมขั้นต้นรอเราอยู่แล้วเพื่อยันเวทนาให้ได้และชนะเหนือเวทนาทั้งกายและใจ การถือคติธรรมคำนี้ทำให้เกิดสติและกำลังใจกลับมาอย่างมหาศาล จิตจะมีอำนาจอยู่เหนือเวทนาทำให้สลัดอุปาทานที่เรายึดความปวดเอาไว้และสามารถหายปวดในที่สุด ซึ่งแม้ว่าผมจะพูดอะไรต่อไป ผู้รู้ในนี้ที่เขาศึกษามาดี รวมถึงคุณชาวโลกก้จะรู้หรือรู้ในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว ผมมาพูดเผื่อไว้สำหรับเรื่องง่ายๆแต่สำคัญมากเมื่อต้องปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว

ดิฉันว่า นี่ความคิดส่วนตัวนะค่ะ ดิฉันว่า วิธีนี้ต้องเป็นผู้ที่มีจิตเข็มแข็งมากๆถึงจะฝึกได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทิ้งมันไป..เพราะในอีกด้านหนึงของการปฎิบัติ จะมีคำพูดที่ว่า เราฝึกละ เราฝึกกันที่จิต ไม่ได้ฝึกกันที่กาย..ถ้านั่งเหน็บกินก็ปรับท่านั่งได้ หรือนอนทำก็ได้ หรือจะเดินทำก็ได้ หรือจะยืนทำก็ได้ ท่าไหนเมื่อยก็เปลี่ยนท่าได้ เพราะเราฝึกกันที่ใจ ฝึกกันที่จิต ดิฉันเข้าใจว่าแรกๆต้องมีการบังคับกายกันบ้าง เพื่อเป็นอุบายให้ใจยอมรับ เหมือนกับคนที่ฝึกสมาธิไหม่ๆ ไม่ควรที่จะนอนทำ เพราะ เดี๋ยวเผลอหลับกันประมาณนี้น่ะค่ะ แต่ถ้าคล่องแล้วชินแล้ว จะนอนตีลังกาก็ฝึกสมาธิได้

..ซึ่งวิธีทำแบบนี้จะทำให้คนที่กำลังใจไม่เข็มแข็ง สามารถทำได้เรื่อยๆ โดยคิดว่ามันไม่ยากมาก ยากจนเห็นแล้วก็ท้อ จนไม่คิดอยากจะทำ เพราะดูมันยากเหลือเกิน วิธีนี้ คนที่มีกำลังใจที่อ่อนทำได้สบาย ซึ่งเมื่อคิดว่าง่ายก็สามารถทำได้เรื่อยๆ เมื่อทำเรื่อยๆ เดี๋ยวจิตของเขาปรับ เขาก็จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเอง..คือไม่ต้องเคร่งครัดมาก เรื่อยๆ แต่ทำสม่ำเสมอ ง่ายๆ สบายๆ ไม่ฝืนร่างกาย ไม่ฝืนจริตของตัวเอง

..ถ้าคิดว่าสมาธิยาก มันก็ยากที่จะทำ ถ้าคิดว่าทำง่าย ก็ง่ายที่จะทำ ทำไมต้องทำเืรื่องยากให้ดูยากยิ่งกว่า ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากจนเกินคนอื่นที่จะแตะถึงค่ะ...เพราะระยะหลังนี้ ช่างเลิศอะลังการงานสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ศัพท์ธรรมสูงลอยฟ้า จนคนธรรมดาอย่างดิฉันแทบจะแตะไม่ได้..ทำไมไม่ทำเรื่องยากให้เป็นเรือ่งง่าย เพื่อที่คนหมู่มากเขาจะได้สัมผัสถึง แตะถึง เพื่อผลของคนหมู่มาก...เพราะตอนนี้ดิฉันคิดว่า เริ่มเจาะขึ้นสูงไปเรือ่ยๆแล้ว..คุยเรื่องเดิมแต่ดึงลงมาอีกนิดดีไหมค่ะ



อ่านจบแล้วก็อย่าถือสาคนป่วยน่ะค่ะ ที่พูดเพ้อเจ้อไปเรื่อยๆ..ถ้าพูดผิดอย่างไร ก็ขอขมาท่านๆแล้วกันน่ะค่ะ ตอนนี้คนป่วยขอหนีหายไปพักผ่อนก่อนค่ะ :b23: :b23: :b23:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาวโลก เมื่อ 29 ก.พ. 2012, 01:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 00:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไร้สาระ....มันก็ต้องเป็นช่วงของคนอย่างกระผม...นะสิ...

อิ...อิ...อิ...
rolleyes rolleyes rolleyes


กับท่านกบ ดิฉันไม่กล้าไร้สาระหรอกค่ะ s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


huh huh huh
คนที่ออกจากสมาธิ...แล้วรู้สึกว่ากินอิ่มนอนหลับ...นี้นะ...จะคุยกับใครเขาได้...ก็ช่วงไร้สาระนี้แหละ...
:b32: :b32: :b32:

เพราะความจริง...คือ...มันหลับ... s002 s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2012, 23:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวโลก เขียน:
.......
.......
ดิฉันว่า นี่ความคิดส่วนตัวนะค่ะ ดิฉันว่า วิธีนี้ต้องเป็นผู้ที่มีจิตเข็มแข็งมากๆถึงจะฝึกได้อย่างต่อเนื่องและไม่ทิ้งมันไป..เพราะในอีกด้านหนึงของการปฎิบัติ จะมีคำพูดที่ว่า เราฝึกละ เราฝึกกันที่จิต ไม่ได้ฝึกกันที่กาย..ถ้านั่งเหน็บกินก็ปรับท่านั่งได้ หรือนอนทำก็ได้ หรือจะเดินทำก็ได้ หรือจะยืนทำก็ได้ ท่าไหนเมื่อยก็เปลี่ยนท่าได้ เพราะเราฝึกกันที่ใจ ฝึกกันที่จิต ดิฉันเข้าใจว่าแรกๆต้องมีการบังคับกายกันบ้าง เพื่อเป็นอุบายให้ใจยอมรับ เหมือนกับคนที่ฝึกสมาธิไหม่ๆ ไม่ควรที่จะนอนทำ เพราะ เดี๋ยวเผลอหลับกันประมาณนี้น่ะค่ะ แต่ถ้าคล่องแล้วชินแล้ว จะนอนตีลังกาก็ฝึกสมาธิได้

..ซึ่งวิธีทำแบบนี้จะทำให้คนที่กำลังใจไม่เข็มแข็ง สามารถทำได้เรื่อยๆ โดยคิดว่ามันไม่ยากมาก ยากจนเห็นแล้วก็ท้อ จนไม่คิดอยากจะทำ เพราะดูมันยากเหลือเกิน วิธีนี้ คนที่มีกำลังใจที่อ่อนทำได้สบาย ซึ่งเมื่อคิดว่าง่ายก็สามารถทำได้เรื่อยๆ เมื่อทำเรื่อยๆ เดี๋ยวจิตของเขาปรับ เขาก็จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเอง..คือไม่ต้องเคร่งครัดมาก เรื่อยๆ แต่ทำสม่ำเสมอ ง่ายๆ สบายๆ ไม่ฝืนร่างกาย ไม่ฝืนจริตของตัวเอง

..ถ้าคิดว่าสมาธิยาก มันก็ยากที่จะทำ ถ้าคิดว่าทำง่าย ก็ง่ายที่จะทำ ทำไมต้องทำเืรื่องยากให้ดูยากยิ่งกว่า ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากจนเกินคนอื่นที่จะแตะถึงค่ะ...เพราะระยะหลังนี้ ช่างเลิศอะลังการงานสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ศัพท์ธรรมสูงลอยฟ้า จนคนธรรมดาอย่างดิฉันแทบจะแตะไม่ได้..ทำไมไม่ทำเรื่องยากให้เป็นเรือ่งง่าย เพื่อที่คนหมู่มากเขาจะได้สัมผัสถึง แตะถึง เพื่อผลของคนหมู่มาก...เพราะตอนนี้ดิฉันคิดว่า เริ่มเจาะขึ้นสูงไปเรือ่ยๆแล้ว..คุยเรื่องเดิมแต่ดึงลงมาอีกนิดดีไหมค่ะ


อ่านจบแล้วก็อย่าถือสาคนป่วยน่ะค่ะ ที่พูดเพ้อเจ้อไปเรื่อยๆ..ถ้าพูดผิดอย่างไร ก็ขอขมาท่านๆแล้วกันน่ะค่ะ ตอนนี้คนป่วยขอหนีหายไปพักผ่อนก่อนค่ะ :b23: :b23: :b23:


นี้ขนาดป่วย..นะนี้... :b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


ทักทาย เขียน:
อ้างคำพูด:
จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะค่ะ คล้ายๆคนที่รู้สึกคลื่นใส้ ถ้า
ได้อ้วกออกสักนิดอาการก็จะดีขึ้นนะค่ะ อาการแบบนี้เป็นมาหลายครั้งแล้ว
และแต่ละครั้งจะเป็นนานขึ้นเรื่อยๆ


ถ้าจิตมีสภาวะที่ไม่สั่นคลอนจริงๆ
ควรจะมีอาการแช่มชื่น ราบเรียบ สงบๆ
เหมือนผิวน้ำที่ไม่มีคลื่นมากกว่านะ

ลองพิจารณาธรรมในธรรม

คือพิจารณาตามสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริง
ไม่กด ไม่ข่ม ไม่ปรุง ไม่แต่ง
เบื่อก็พิจารณาตัวเบื่อ
อยาก "ร่นระยะเวลา" ก็พิจารณาตัวอยาก

ผลออกมาเป็นอย่างไร? นำมาแบ่งปันกันนะค่ะ

(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว โปรดพิจารณาค่ะ)



:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร