วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
วิปัสสนา เป็นสภาวะของผู้เจริญกัมมัฎฐานแล้วรู้เห็นอริยสัจจ์ หรือเป็นชื่อของการปฎิบัติ
ปฎิบัติธรรม(เช่นสิปัฎฐาน)เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาน หรือว่าปฎิบัติวิปัสสนาญาน เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญานอีกที


วิปัสสนากรรมฐาน เป็นชื่อของการปฏิบัติ และที่สำคัญ ที่ผมได้เรียนรู้จาก พระวิปัสสนาจารย์ แห่ง อภิธรรมมูลนิธิ ก็ได้ชี้แนะว่า การปฏิบัติวิปัสสนา ก็คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน นั่นเอง

คุณสติสัมปันน์ ศึกษารายละเอียดการปฏิบัติได้ ที่

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน

องค์ธรรมของ สติปัฏฐาน ๔ นี้ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ประกอบกับจิตที่เป็นติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘

ดังนั้นวิปลาสธรรมทั้งหมดมีเกิดขึ้นมาได้ เพราะเราไม่เท่าทันในความจริงของชีวิตรูป และชีวิตนาม ที่เรียกว่า “อโยนิโสมนสิการ” แต่ขณะใดที่มี “โยนิโสมนสิการ” ขณะนั้นสติปัฏฐานก็เกิดขึ้นด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าเวลานั้นวิปลาสธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่าโยนิโสมนสิการ เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขประตูชีวิต ให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปเห็นความจริงว่า “ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปนามขันธ์ห้านั้น แท้ที่จริงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง


-------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน

วิปัสสนา เป็นชื่อของผลการปฎิบัติ หรือว่าเป็นชื่อของวิธีการปฎิบัติ
วิปัสสนา เป็นสภาวะของผู้เจริญกัมมัฎฐานแล้วรู้เห็นอริยสัจจ์ หรือเป็นชื่อของการปฎิบัติ
ปฎิบัติธรรม(เช่นสิปัฎฐาน)เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาน หรือว่าปฎิบัติวิปัสสนาญาน เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญานอีกที
แล้วก็อ่านเจอหลายที่ว่า วิปัสสนาญาน ก็บังเกิด หมายถึงอย่างไร?
ผมสนทาด้วยนะครับ ไม่ได้คัดค้าน ถือเป็นธัมมสากัจจฉานะครับ อา จารย์ทุกท่านอย่าดุผมน


วิปัสสนาญาณ เป็น ผลของการปฏิบัติวิปัสสนา เป็นปัญญาที่ เห็นไตรลักษณ์ใน รูป นาม

บางแห่งก็ชื่อ วิสุทธิ ๗ , บางแห่งก็ชื่อ วิปัสสนาญาณ ๑๖

ซึ่งท่านพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก ได้อธิบายไว้ดังนี้


วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
-----------------------------------------------------
จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค

โสฬสญาณ (วิปัสสนาญาณ ๑๖)
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm


--------------------------------------------------
การบายายในเรื่อง วิสุทธิ ๗ โดยอาจารย์แนบ ( ซึ่งผมคัดลอกลงในเวป ได้ถึงเพียง ทิฏฐิวิสุทธิ )

http://larndham.org/index.php?showtopic=19112&st=0
---------------------------------------------------

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

๓. ผลการปฏิบัติ

ทุกคนต้องไม่ลืมหลักของความจริงที่ว่า ผลย่อมต้องมาจากเหตุ บุคคลใดสร้างเหตุอะไรไว้ ผลย่อมต้องมีเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุนั้นๆ อย่างแน่นอน การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหลุดพ้นก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือบุคคลใดที่มีความต้องการเดินทางไปในเส้นทางสายเอกนี้ จะต้องสร้างเหตุไว้ ๒ ประการ คือ

๑. เหตุอดีต ได้เคยสร้างสมอบรมปัญญาไว้มาก หมายความว่า กรรมภพที่เขาได้กระทำมาบ่อยๆ ในอดีตชาตินั้นต้องเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต และมีอำนาจเพียงพอทำให้เกิดอุปัตติภพ เป็นมหาวิปากญาณสัมปยุต ซึ่งทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดเป็นคนไตรเหตุที่เรียกว่า “ติเหตุกบุคคล” หมายถึงบุคคลที่มีสิทธิ์กระทำ มรรค ผล นิพพาน ให้แจ้งได้

๒. เหตุปัจจุบัน มีการตั้งตนไว้ชอบ หมายความว่าได้มีโอกาสคบหากัลยาณมิตร ได้ใกล้ชิดกับพระธรรม โดยเฉพาะมีการศึกษาเพื่อหาหนทางของการพ้นทุกข์ จนมีความเข้าใจในหลักการ และวิธีการ โยนิโสมนสิการ จนสามารถนำไปปฏิบัติวิปัสสนาได้

เมื่อใดที่บุคคลผู้มีคุณสมบัติของเหตุดังกล่าวได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน เหตุที่กระทำมาจะเป็นตัวอุดหนุนให้อินทรีย์มีกำลังแก่กล้า ด้วยปัญญาที่ปรีชามากขึ้นย่อมเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บุคคลผู้นั้นประจักษ์ความจริงของรูปนามได้โดยง่าย ญาณปัญญาจากนามรูปปริเฉทญาณ ปัจจยปริคห-ญาณ สัมมสสนญาณ ที่เกิดขึ้นตามลำดับ ทำให้ประจักษ์ความจริงของไตรลักษณ์ได้ และเมื่อใดที่โยคาวจรอาศัย “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นพาหนะพาสู่ “วิปัสสนาญาณ ๙“ (นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ)ได้สำเร็จ นับว่าเขาสามารถก้าวเข้าถึงธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ ได้เมื่อนั้น เพราะ อนุโลมญาณนั้นก็คือ ญาณที่อนุโลมให้เห็นอริยสัจ ๔ หมายถึง

ทุกข์ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แท้จริง และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจรู้ นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้กำหนดรู้แล้ว

สมุทัย ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจละ นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ละแล้ว

นิโรธ ซึ่งเป็นธรรมที่ดับทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจที่ควรกระทำให้แจ้ง นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ทำให้แจ้งแล้ว

มรรค ซึ่งเป็นหนทางที่ดับทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจที่ควรดำเนินตาม นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ดำเนินตามแล้ว

เมื่อบุคคลใดเข้าถึงอริยสัจ เมื่อนั้นสัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ได้บังเกิดขึ้นแล้วกับบุคคลนั้น

ปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ ในอนุโลมญาณ จะเป็นปัจจัยให้ผู้นั้นก้าวเข้าสู่ โคตรภูญาณ อันเป็นญาณที่ประจักษ์แจ้งในพระนิพพาน สามารถปหาณกิเลส พร้อมกับตัดโคตรปุถุชน เข้าสู่อริยชนได้ (ตามลำดับ) จิตที่ดำเนินอยู่ในกามวิถี ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโลกุตตรอัปนาวิถีทันที

มัคคจิตที่เกิดขึ้นในวิถีนั้นจะเป็นตัวปหาณกิเลสให้เป็นสมุทเฉทได้ทันที ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกำลัง และอำนาจของมัคคจิตที่จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
อินทรีย์ห้าอย่าง พละห้าอย่าง มีสมาธินทรีย์ และสมาธิพละด้วยนี้ ซึ่งสมาธินี่จัดเป็นผลของสมถะ สมาธิต้องอาศัยการเพ่งบัญญัติหรือ หรือว่ามีปรมัติเป็นอารมณ์สมาธิจึงเกิด? ต้วผมเข้าใจว่ามีอินทรีย์สมควร มีสมาธิกำลังสมควร จึงเกิดวิปัสสนาได้


ชาวพุทธส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง สมาธิ ก็จะนึกถึง การนั่งสมาธิ เจริญสมถกรรมฐาน ให้เกิด อัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ๑-๔ จนถึง อรูปฌาน

แท้ที่จริง ขณิกสมาธิ ที่ตั้งมั่น พิจารณา รูป นาม ก็ถือเป็น สมาธิวิสุทธิได้

นอกเหนือจาก ฌาน อันเป็นผลของอัปปนาสมาธิ ของผู้ปฏิบัติในแนว สมถะยานิกะ ที่ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

จิตตสุทธิ , สมาธิวิสุทธิ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm


จิตตวิสุทธิ คืออย่างไร

จิตตวิสุทธิ ก็ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ เป็นไปทำนองเดียวกับ ศีลวิสุทธิ คือว่า เราทำสมาธิเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ หรือเพื่อจะได้มีความสุข ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ หรือ ทำความรู้สึกอย่างนี้ สมาธิที่ทำนั้น ก็ไม่เป็นวิสุทธิ เพราะต้องการความสุข ไม่ต้องการพ้นทุกข์ แต่ถ้าเราทำสมาธิเพื่อต้องการอานิสงส์ ที่จะให้เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์ สมาธินั้น จึงจะเรียกว่า “ วิสุทธิ “ หรือจะเรียกว่า “ จิตตวิสุทธิ “ ก็ได้อันเดียวกัน เพราะ” จิตตวิสุทธิ “ ก็หมายถึง “ สมาธิวิสุทธิ “ นั่นเอง

แต่โดยมากเราทำสมาธิ ก็เพื่อต้องการมีความสุข จึงไม่เป็น จิตตวิสุทธิ เพราะฉะนั้น ศีลวิสุทธิก็ดี จิตตวิสุทธิ ก็ดี จึงเป็นบาทของวิปัสสนา หรือเป็นไปในอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ ถ้าจะพูดให้ตายตัวแล้ว ศีล หรือ สมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์อยู่ย่างนี้แล้ว ศีล และสมาธิ นั้นก็ วิสุทธิ และ สมาธิอันใดที่เกิดจากอารมณ์ของ สติปัฏฐานแล้ว สมาธิ อันนั้นจึงจะเป็น จิตตวิสุทธิ ได้

ปัญญาก็เหมือนกัน ปัญญาที่จะวิสุทธิ ก็ต้องไปจากอารมณ์ของสติปัฏฐาน และปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของ กาย เวทนา จิต หรือ ธรรม ปัญญานั้นจึงจะ วิสุทธิ

ถ้าปัญญาใดไม่เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หรือไม่เห็นขันธ์ 5 หรือ รูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว ปัญญานั้นก็ไม่เรียกว่า วิสุทธิ เพราะปัญญาอย่างนั้น “ กิเลส “ สามารถที่จะเข้าอาศัยได้ แต่ถ้าเป็นปัญญาที่เข้าไปรู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นปัญญาที่ประหานกิเลสแล้ว กิเลสก็ไม่สามารถจะอาศัยได้ เพราะฉะนั้นปัญญาอันนี้จึงเป็นวิสุทธิ

ถ้าสมาธิที่เป็นบาทของวิปัสสนา ก็เป็นจิตตวิสุทธิ และจะเป็นบาทได้อย่างไรนั้น ของเรียนว่าสมาธินั้นต้องเป็นไปร่วมกับอารมณ์ของวิปัสสนา หรือร่วมกันไปกับอารมณ์ของสติปัฏฐาน สมาธินั้นจึงจะเป็นจิตตวิสุทธิได้


ทิฏฐิวิสุทธิ
http://larndham.org/index.php?showtopic=19112&st=0

---------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
อินทรีย์ห้าอย่าง พละห้าอย่าง มีสมาธินทรีย์ และสมาธิพละด้วยนี้ ซึ่งสมาธินี่จัดเป็นผลของสมถะ สมาธิต้องอาศัยการเพ่งบัญญัติหรือ หรือว่ามีปรมัติเป็นอารมณ์สมาธิจึงเกิด? ต้วผมเข้าใจว่ามีอินทรีย์สมควร มีสมาธิกำลังสมควร จึงเกิดวิปัสสนาได้


ในเรื่อง พละ ๕ อินทรีย์ ๕ นี้ พระวิปัสสนาจารย์ท่านยกตัวอย่าง ถึง ความสำคัญไว้เสมอ โดยยกตัวอย่างพระอานนท์ ที่ อินทรีย์ไม่สมดุลย์กัน แม้ท่านจะพากเพียรเจริญสติปัฏฐานตลอดคืนก่อนวัน ปฐมสังคยานา ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง ท่านปรารถ จะพักผ่อน ในขณะนั้น อินทรีย์สมดุลย์กัน ท่านจึงได้บรรลุพระอรหันต์ ในขณะที่กำลังเอนกาย

http://www.84000.org/one/1/12.html

ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ


------------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
อายะ ขียน
คุณยังทำไม่ได้ แต่คุณคิดไปล่วงหน้าแล้ว ปฏิบัติธรรมนั้นต้องใช้ทั้งความอดทนที่ท่านนิยามว่าเป็นการทรมานตนให้ลำบาก และก็ต้องทำต่อเนื่อง และก็ต้องใช้ระยะเวลาที่แต่ละคนไม่เท่ากัน ที่บางคนเรียกว่าบ่มอินทรีย์ สรุป ไปทำมาให้ได้ก่อนดีกว่านะครับ


เหมือนกับคนไม่เคยโดนไฟช็อตนะครับ ก็ได้แต่จินตนาการว่ามันคงเจ็บนิดเดียว หรือเจ็บเยอะ หรือชาอย่างเดียว ถ้าไปอ่านในตำราแล้วมาคุยกันมันไม่ได้ฟิลลิ่งนะครับ ผมขออนุญาติไม่ตอบคำถามท่านจนกว่าท่านจะตอบคำถามผมก่อน(ในเรื่องทางสายกลาง ) แล้วก็อย่าลืทนั่งให้ได้ 3 ชม แบบไม่ขยับ หรือถ้า 6 ชม อย่างที่ท่านว่าก็ยิ่งดี ผมเคยลองมาแล้วในครั้งแรกนั้นบอกได้คำเดียวว่า สุโ่ค่ย ครับ คราวนี้จะเข้าใจทุกข์ทางกายดีขึ้นว่า้มันทุกข์อย่างไรหนอ


เช่นเดียวกัน ในแนวทางการปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ แม้จะมีความเพียร ภาวนาทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ หรือ สมมุติบัญญัติต่าง ๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ จนเกิด อัปปนาสมาธิ ข่มเวทนาลงได้ มุ่งหวังเพียงให้เกิด อัปปนาสมาธิ และ ปิติ สุข

หรือ เพ่งที่ขา ภาวนาได้ 6, 12, 24 จังหวะ

แต่หาได้เกิด ปัญญา เห็นสภาพปรมัตถ์ธรรม เป็นไตรลักษณ์ ไม่

ต่อให้คุณ อายะนั่งได้ 6, 12, 24 ชม. แยกรูปนามไม่ได้(ทิฏฐิวิทธิ) นั่งทั้งปี วิปัสสนาปัญญา ก็ไม่เกิดหรอกครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
ผมเข้าใจว่า ละได้ เมื่อสภาวะจิตถึงระดับที่ละได้ ถ้าตั้งใจละได้เลยอาศัยเพียงแค่ว่าตั้งใจจะไม่เอาสมมุตินั้นมาจะได้เป็นวิปัสสนาโดยแท้ แล้ววิปัสสนาจะวิเศษเลิศเลออะไร? แค่ตั้งใจว่า ไม่เอาสมมุติ(ทั้งที่ต้องอาศัยสมมุติ)ก็เป็นวิปัสสนาแล้ว การที่จะยกระดับจิตได้ ก็อาศัยการปฎิบัติแล้วได้ผลการปฎิบัติ วิปัสสนาจะบังเกิดก็บังเกิดก็เพราะระดับจิตที่ได้รับผลจากการปฎิบัติ คือง่ายๆจิตได้รับผล แล้วจิตละตามธรรมชาติของการปฎิบัติ ไม่ใช่มาตั้งใจละแล้วๆ แล้วตั้งใจละไม่เอาสมมุตินี่ที่จริงก็เป็นสมมุติอีกนะนั่น อย่างไร ก็แนะนำกันบ้างนะครับ อยากรู้เหมือนกัน อย่าดุผมนะ ผมกัว


คุณสติสัมปันน์ ครับ การปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ใช่เพียงการนึกคิด

ต้องอาศัย โยนิโสมนสิการ ครับ

เคยเห็นบางอาจารย์ บอกให้คิดว่า ตูไม่เอากะเองแล้วเว้ย ! ก็มี

การนึกคิด ปรุงแต่งเอง จึงไม่กอบด้วยโยนิโสมยสิการ ครับ

แม้ขณะนั้นจะ ภาวนาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ปวดหนอ ๆ ๆ ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ รูปหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ นามหนอ ๆ ๆ ๆ

ก็ไม่ชื่อว่า เป็นการปฏิบัติวิปัสสนา ครับ

โยนิโสมนสิการ
http://larndham.org/index.php?showtopic=30913&st=8

ความรู้ก่อนปฏิบัติวิปัสสนา
http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm
นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ


คุณสติสัมปันน์ ครับ ผมไม่มีวิทยาคุณ หรือ วิปัสสนาญาณใด ๆ ที่จะไปดุคุณหรอกครับ

ก็เพียงแต่ นำ พระไตรปิฏก อรรถกถา และคำสอนของท่านผู้ทรงวิทยาคุณ มาแนะนำเท่านั้นเอง

แต่ถ้าจะให้ วาง พระไตรปิฏก อรรถกถา แล้วเอาผลการปฏิบัติ มาคุยกัน

แบบคุณอายะ คุณกรัชกาย ซึ่งยังไม่รู้ ไม่เข้าใจอะไรเลย ระหว่าง สมถะ-วิปัสสนา

อาศัยคำสอนของผลการปฏิบัติสมาธิในแนว ยุบหนอ พองหนอ มาคุยอย่างเดียว

แบบที่คุณ อายะ คุณกรัชกาย ดุและประชดประชันผมนั้น คงจะคุยกันไม่รู้เรื่องแน่

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



นำนิทานมาให้อ่าน เต่ากับปลา

มรรคผลนิพพาน เป็นสิ่งปัจจัตตัง
คือ รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้
ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง แจ่มแจ้งเอง
หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง


มิฉะนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่ร่ำไป แม้จะมีผู้สามารถอธิบายให้ลึกซึ้งอย่างไร
ก็รู้ได้แบบเดา สิ่งใดยังเดาอยู่สิ่งนั้นก็ยังไม่แน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น เต่ากับปลา เต่าอยู่ได้สองโลกคือ โลกบนบกกับโลกในน้ำ
ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียวคือในน้ำ ขืนมาบนบกก็ตายหมด

วันหนึ่ง เต่าลงไปในน้ำแล้ว ก็พรรณนาความสุขสบายบนบกให้ปลาฟัง
ว่ามันมีแต่ความสุขสบาย แสงสีสวยงาม ไม่ต้องลำบากเหมือนอยู่ในน้ำ

ปลาพากันฟังด้วยความสนใจ และอยากเห็นบก จึงถามเต่าว่า
บนบกนั้นลึกมากไหมเต่า ...มันจะลึกอะไร ก็มันบก
เอ บนบกนั้นมีคลื่นมากไหม ...มันจะคลื่นอะไร ก็มันบก
เอ บนบกนั้นมีเปือกตมมากไหม ...มันจะมีอะไร ก็มันบก

ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม
เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในน้ำถามเต่า
เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ

“จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา”

: หลวงปู่ฝากไว้ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 44d0e01742

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อายะ เขียน
บางท่านก็ว่าอยู่วัดปฏิบัติธรรมอย่างเดียวสุดโต่งเกินไป ส่วนท่านว่าพอนั่งไปเวทนาเกิดต้องขยับเพราะจะได้หนีเวทนาอันนี้คือทางสายกลางของท่าน แม่นบ่
ถ้าเป็นเรื่องของจินต กับสุตมยปัญญาในพระไตรปิฏกก็สามารถพอจะเข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องของ ภาวนามยปัญญาที่บัณทึกไว้ หากเป็นผู้ไม่ได้ปฏิบัติมาก่อนจะไม่สามารถเข้าใจได้เพราะส่วนมากเป็นนามธรรมทั้งสิ้น


คุณอายะครับ ทั้งแนวทางยุบหนอ พองหนอ กับ อิริยาบถบรรพะ ก็อ้างอิงตำราเดียวกัน

เพียงแต่แบบยุบหนอ พองหนอ มาประยุกต์เป็นรูปแบการปฏิบัติเฉพาะตน จนเกิด ทฤษฏี และ ผลการปฏิบัติ ที่เป็น อาจาริยวาท และ อัตตโนมติ แตกต่างกันออกไปมากมาย

ดังเช่น อาจารย์ยุบหนอ พองหนอ ที่ได้แต่งตำราออกมาแสดงผลการปฏิบัติดังนี้

จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา

ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา

ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย

------------------------------------------------------------------

คุณอายะ แล้วถ้าหากคุณ ปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ แล้วเกิดผลปฏิบัติแบบนี้ จะถือว่าตนเองเกิดปฏิบัติวิปัสสนาได้ผลอย่างดี

ก็ลองเทียบเคียงกับ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา วิสุทธิมรรค อภิธัมมัตถสังคหะ ดูนะครับ

อย่าเอาแต่ผลของการปฏิบัติของตนเอง เทียบกับ อัตตโนมติ เท่านั้น

เห็นมาหลายสำนักแล้วครับ ที่สอนผิดเพี้ยนไป ไม่ว่าจะเป็น ผลการปฏิบัติธรรมกาย , มโมยิทธิ ฯลฯ
นำนิทานมาให้อ่าน เต่ากับปลา

อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
มรรคผลนิพพาน เป็นสิ่งปัจจัตตัง
คือ รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้
ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง แจ่มแจ้งเอง
หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง


รวมทั้ง มรรคผลนิพพาน ของอาจารย์ทั้งหลาย ที่ปฏิบัติได้จากสมาธิ ส่วนใหญ่ดูแล้วจะคลาดเคลื่อนจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ทั้งนั้น ดูเหมือนจะให้ พระอรหันต์ท่านไปเกิดอีกในแดนนิพพาน ส่วนใหญ่

พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์
http://board.palungjit.com/f2/%E0%B8%9E ... 58858.html

พระนิพพาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=3

นิพพาน แปลว่าพ้นจากเครื่องร้อยรัดพันธนาการ คือพ้นจากตัณหานั่นเอง ตัณหาคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทุกข์คือสิ่งที่มีจริงอยู่ทุกวัน สมุทัยคือตัณหานั่นเอง สมุทัยคือตัวที่ทำให้เกิดทุกข์ ตราบใดที่ยังมีความต้องการอยู่ ตราบนั้นชีวิตต้องเปลี่ยนไปอย่างนั้น ไปอย่างนี้ ไปอย่างโน้นตลอดเวลา นิพพานเป็นการสิ้นสุดตัณหา ความหมายของพระนิพพานมี ๕ ประการคือ

๑. เป็นพระปรมัตถ์อย่างหนึ่งที่เข้าถึงได้ทุกคน มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่มีการเสริมแต่งได้อีกต่อไป
๒.เป็นธรรมที่ไม่ตาย คือไม่มีทั้งการเกิดและการตาย
๓.เป็นธรรมที่เที่ยงแล้ว คือพ้นจากความเป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๔.เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใด ๆ ทั้งสิ้น
๕.เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่ง หาธรรมอื่นเสมอเหมือนไม่ได้

คุณลักษณะของพระนิพพานมี ๓ อย่าง คือ
๑.มีความสงบจากกิเลสและขันธ์ เป็นลักษณะ
๒.มีความไม่แตกดับ เป็นกิจ
๓.ไม่มีนิมิตเครื่องหมายใด ๆ ที่จะไปถึง เป็นผลปรากฏ

ผู้ที่ถึงมรรคผลนิพพานนั้นไม่มีโอกาสกลับมาเล่าอีกแล้วเพราะว่าไม่เกิด ทวารดับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีอีกแล้ว ฉะนั้นคนที่นั่งสมาธิไปนี้ไปแค่ไหน ไม่ใช่นิพพานไปแค่สะพานแล้วกลับมาเล่าเท่านั้น


------------------------------------------

คุณวลัยพรครับ แม้ผู้นั้น จะอ้างว่า รู้เห็นพระนิพพานแล้ว หรือ ให้ปฏิบัติไป เดี๋ยวจะรู้จักพระนิพพานเอง ไม่ต้องอาศัย คันถธุระ จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ให้เสียเวลา

บางครั้งก็จะเหมือน ปลาที่ไปสอนเต่า ก็ได้นะครับ

อาจาริยวาทนั้น อาจเป็นของผู้ที่นั่งสมาธิไปถึงแค่สะพาน แล้วมาสอนว่าเป็น นิพพาน ก็ได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คนที่เจริญกสิน นึกถึงดวงกสินมีปฐวีกสินเป็นต้น บริกรรมไปว่า “ ปฐวี ปฐวี, ดิน ดิน “ เป็นต้น ฉะนั้นอย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ



วิตก แปลว่า ตรึก นึกคิด ตัวนี้คือ สติ ถูกต้องไหม ถ้าไม่ระลึก จะคิดถึงคำบริกรรมนั้นๆได้ไหม?

วิจาร แปลว่า ไตร่ตรองใคร่ครวญ หรือการเอาจิตจดจ่ออยู่กับการบริกรรมภาวนา นี่คือ สัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ คือ การรู้ลงไปในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

แล้วไหงมาพูดว่า การทำกสิณ ไม่มีทั้งสติ ทั้ง สัมปชัญญะล่ะคะ


เขาถึงบอกไว้ไงว่า ห้ามเชื่อครูบาฯ ห้ามเชื่อตำราเพราะเหตุนี้
ต้องทำให้บังเกิดขึ้นกับตัวเองก่อนจึงจะเชื่อได้
ไม่ใช่พูดอะไรเชื่อไปหมด เขาเรียกว่า ศรัทธาแต่ขาดปัญญา
การจะยกตำราหรือแนวทางของครูบาฯมาอ้างอิงน่ะต้องทำให้เห็นก่อน รู้ก่อน ชัดเจนก่อน



chalermsak เขียน:

อ้างคำพูด:
วิปัสสนา เป็นชื่อของผลการปฎิบัติ หรือว่าเป็นชื่อของวิธีการปฎิบัติ
วิปัสสนา เป็นสภาวะของผู้เจริญกัมมัฎฐานแล้วรู้เห็นอริยสัจจ์ หรือเป็นชื่อของการปฎิบัติ
ปฎิบัติธรรม(เช่นสิปัฎฐาน)เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาน หรือว่าปฎิบัติวิปัสสนาญาน เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญานอีกที


:b8: สาธุอีกครั้งกับคำถามนี้ครับ

วิปัสสนา เป็นชื่อของการปฏิบัติครับ

ส่วนภาวนามยปัญญา ที่เห็นไตรลักษณ์ของ รูป นามขันธ์ ๕ เป็น วิปัสสนาญาณ คือผลของการปฏิบัติวิปัสสนา ครับ

ไม่ใช่ ผลของการปฏิบัติสมถกรรมฐาน ( ซึ่งผลที่เกิดคือ รูปฌาน , อรูปฌาน )




ภาวนามยปัญญา แล้วแต่จะตีความกัน


ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาสำเร็จจากการภาวนา เมื่อบุคคลเจริญซึ่งภาวนาอยู่ย่อม

ได้ซึ่งปัญญาคือความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงของนามธรรมและรูปธรรม ปัญญา

นี้เป็นภาวนามยปัญญา ในบางแห่ง อธิบายภาวนามยปัญญาว่าเป็นปัญญาของผู้เข้า

สมาบัติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ 583

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... hp?id=3066





.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง




สติปัฏฐาน เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

แต่ครูบาฯรุ่นหลังมาบัญญัติศัพท์กันขึ้นมาเอง เรียกว่า วิปัสสนา เพื่อเป็นอุบายในการสื่อสาร
ไปในทางเดียวกัน แต่ทีนี้มีคนที่ไม่เข้าใจในเรื่องของสติปัฏฐาน เมื่อไปอ่านเข้า
ก็เกิดการยึดเอาไว้เลยว่า การปฏิบัติแนวสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาไปอย่างเดียว
ทั้งๆที่ผลของการเจริญสติปัฏฐานนั้น ได้ทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ
ไม่ใช่ได้แค่สติ สัมปชัญญะอย่างเดียวสะที่ไหนล่ะคะ
และสมาธิที่ได้จากการเจริญสติปัฏฐานของแต่ละคนนั้นก็เกิดมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่เหตุ
ที่เคยกระทำกันมา มีทั้ง ขณิก อุปจาร และอัปปนาสมาธิ แม้แต่คนที่มีแค่ขณิกสมาธิ
ก็สามารถพัฒนาไปถึงอัปปนาสมาธิได้ ไม่ใช่แค่สมาธิตัวหนึ่งตัวเดียวที่ไหนกัน
ไม่งั้นพระพุทธเจ้าจะทรงแยกเรื่องสมถะไว้ทำไมล่ะคะ


จะบอกให้นะคะที่ทรงแยกไว้น่ะมีเหตุ
รู้จักสัมมาสมาธิใช่ไหมคะ ถ้ารู้จักแค่จากการอ่านน่ะจะคาดเดาได้ยากนะคะ
ว่าจตุตถฌานในสัมมาสมาธิกับจตุตถฌานในสมถะน่ะ แตกต่างกันยังไง
ที่ทรงแยกสมถะออกไว้เพราะเหตุนี้แหละค่ะ

แล้วรู้มั่งไหมตำราโสฬสญาณที่นำมาแปะๆกันน่ะ
ทำไมครูบาฯท่านถึงถ่ายทอดกันง่ายดายได้ขนาดนั้น
พวกที่ชอบสอบอารมณ์โดยกางตำราน่ะ พากันหลงมาเป็นแถบๆแล้ว
แม้แต่ผู้ที่ชอบนำมาเทียบเคียงสภาวะแล้วอนุมานกันเอาเองน่ะ หลงเหมือนกัน
หลงอะไรรู้ไหมคะ หลงกิเลส กิเลสมานะตัวเป้งเลย
เลยไปยึดติดกับบัญญัติไปเรียกโน่นเรียกนี่กัน แต่กิเลสกลับมองไม่เห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




011.gif
011.gif [ 120.52 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

ชาวพุทธส่วนใหญ่เมื่อพูดถึง สมาธิ ก็จะนึกถึง การนั่งสมาธิ เจริญสมถกรรมฐาน ให้เกิด อัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ๑-๔ จนถึง อรูปฌาน

แท้ที่จริง ขณิกสมาธิ ที่ตั้งมั่น พิจารณา รูป นาม ก็ถือเป็น สมาธิวิสุทธิได้

นอกเหนือจาก ฌาน อันเป็นผลของอัปปนาสมาธิ ของผู้ปฏิบัติในแนว สมถะยานิกะ ที่ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา




แยกความแตกต่างระหว่างฌานในสมถะกับฌานในสัมมาสมาธิให้ได้ก่อนนะคะ
ค่อยมาอธิบายเรื่องการยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา




chalermsak เขียน:

เช่นเดียวกัน ในแนวทางการปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ แม้จะมีความเพียร ภาวนาทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ หรือ สมมุติบัญญัติต่าง ๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ จนเกิด อัปปนาสมาธิ ข่มเวทนาลงได้ มุ่งหวังเพียงให้เกิด อัปปนาสมาธิ และ ปิติ สุข

หรือ เพ่งที่ขา ภาวนาได้ 6, 12, 24 จังหวะ

แต่หาได้เกิด ปัญญา เห็นสภาพปรมัตถ์ธรรม เป็นไตรลักษณ์ ไม่

ต่อให้คุณ อายะนั่งได้ 6, 12, 24 ชม. แยกรูปนามไม่ได้(ทิฏฐิวิทธิ) นั่งทั้งปี วิปัสสนาปัญญา ก็ไม่เกิดหรอกครับ




นี่เหมือนกัน คุณทำไม่ได้เอง เมื่อทำไม่ได้เลยเหมาว่าคนอื่นๆก็ทำไม่ได้
เหตุแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป ผลที่ได้รับเลยแตกต่างกันไป

แต่ที่ไม่แตกต่างคืออะไรรู้ไหมคะ กิเลสไงคะ
สาเหตุที่แต่ละคนปฏิบัติมีแนวทางแตกต่างกันไป เนื่องจากกิเลสของแต่ละคน
การปฏิบัติทุกแนวทางน่ะ ไม่มีใครถูกหรือผิดหรอก แล้วแต่เหตุที่กระทำมากัน
อาจจะตรง อาจจะเฉ อาจจะไปทางโน้นทางนี้ ก็เป็นไปตามเหตุของแต่ละคน
สุดท้าย ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ย่อมถึงจุดหมายปลายทางเหมือนๆกัน

การกล่าวโจมตีว่าทางโน้นผิด ของตัวเองถูกต้องนั้น
มีแต่จะสร้างเหตุใหม่ที่เป็นการพาให้ห่างออกจากเส้นทางไปเรื่อยๆ
ทำไมไม่ตั้งใจปฏิบัติ แล้วนำสิ่งที่ปฏิบัติมาอธิบายแนบกับของครูบาฯก็ได้ ถ้ายังไม่มั่นใจ
ไม่ใช่ยังทำไม่ได้เลย แล้วมานั่งวิเคราะห์เอาเองว่านี่นะ ของวิปัสสนาจารย์ท่านนี้นะถูกต้อง
ใช่ถูกเหมือนกัน แต่ถูกในความคิดของแต่ละคนเท่านั้นเอง



chalermsak เขียน:

แยกรูปนามไม่ได้(ทิฏฐิวิทธิ) นั่งทั้งปี วิปัสสนาปัญญา ก็ไม่เกิดหรอกครับ





ขอถามหน่อยเถอะค่ะ เข้าใจคำว่า " แยกรูปนาม " นี้เป็นยังไงหรือคะ
เห็นยกเป็นของวิเศษกันเสียเหลือเกิน

ช่วยอธิบายตามที่คุณเข้าใจน่ะ ไม่ต้องไปยกอะไรมายืดยาวหรอก เสียเวลา
เพราะความหมายของแยกรูปนาม ที่กล่าวโดยสภาวะน่ะ มันสั้นนิดเดียว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 4841 ครั้ง ]
งั้นถาม อ.เฉลิมศักดิ์ใหม่ กรรมฐานได้แก่อะไร ? เอาชัดๆ พร้อมๆยกตัวอย่างด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




482595bp20ksiiv6.gif
482595bp20ksiiv6.gif [ 5.66 KiB | เปิดดู 4844 ครั้ง ]
อ้าว แม่ครัวก็มาร่วมวงกะเขาด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
มรรคผลนิพพาน เป็นสิ่งปัจจัตตัง
คือ รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้
ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง แจ่มแจ้งเอง
หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง








------------------------------------------

คุณวลัยพรครับ แม้ผู้นั้น จะอ้างว่า รู้เห็นพระนิพพานแล้ว หรือ ให้ปฏิบัติไป เดี๋ยวจะรู้จักพระนิพพานเอง ไม่ต้องอาศัย คันถธุระ จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ให้เสียเวลา

บางครั้งก็จะเหมือน ปลาที่ไปสอนเต่า ก็ได้นะครับ

อาจาริยวาทนั้น อาจเป็นของผู้ที่นั่งสมาธิไปถึงแค่สะพาน แล้วมาสอนว่าเป็น นิพพาน ก็ได้





ไม่แน่จริงนี่นา เวลาตัดแปะน่ะ นำมาให้ครบๆหน่อย ว่าเป็นคำกล่าวของใคร
เข้าข่ายละเมิดนะเนี่ย ฉบับเต็มๆแบบนี้ไม่ใช่หรือ


walaiporn เขียน:

นำนิทานมาให้อ่าน เต่ากับปลา

มรรคผลนิพพาน เป็นสิ่งปัจจัตตัง
คือ รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้
ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง แจ่มแจ้งเอง
หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง


มิฉะนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่ร่ำไป แม้จะมีผู้สามารถอธิบายให้ลึกซึ้งอย่างไร
ก็รู้ได้แบบเดา สิ่งใดยังเดาอยู่สิ่งนั้นก็ยังไม่แน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น เต่ากับปลา เต่าอยู่ได้สองโลกคือ โลกบนบกกับโลกในน้ำ
ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียวคือในน้ำ ขืนมาบนบกก็ตายหมด

วันหนึ่ง เต่าลงไปในน้ำแล้ว ก็พรรณนาความสุขสบายบนบกให้ปลาฟัง
ว่ามันมีแต่ความสุขสบาย แสงสีสวยงาม ไม่ต้องลำบากเหมือนอยู่ในน้ำ

ปลาพากันฟังด้วยความสนใจ และอยากเห็นบก จึงถามเต่าว่า
บนบกนั้นลึกมากไหมเต่า ...มันจะลึกอะไร ก็มันบก
เอ บนบกนั้นมีคลื่นมากไหม ...มันจะคลื่นอะไร ก็มันบก
เอ บนบกนั้นมีเปือกตมมากไหม ...มันจะมีอะไร ก็มันบก

ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม
เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในน้ำถามเต่า
เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ

“จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา”

: หลวงปู่ฝากไว้ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 44d0e01742

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มาปูเสื่อนั่งดู

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องจริงๆเห็นๆ จะๆ คนเราไม่ค่อยสนใจ ต่างจากสิ่งเลื่อนลอยเพ้อๆฝันๆ คนมักให้ความสนใจ

ตัวอย่างกรณีนี้

อ้างคำพูด:
เวลานั่งสมาธิพอผ่านไปส้ก5นาทีจะรู้สึกเหมือนจะเป็นลม และฟุ้งซ่านมาก บางเรื่องจำไม่ได้แล้วก็ผุดขึ้นมาขณะนั่งสมาธิ(เฉพาะกรรมทีไม่ดี)แต่บางครั้งทำงานอยู่มันก็จะรู้สึกเหมือนเข้าสมาธิไปเอง รู้สึกกลัวมาก เวลาโกรธก็รู้ว่ากำลังโกรธแต่หยุดไม่ได้ๆแต่ดูอยู่เฉยๆ จนรู้สึกว่าไม่รู้ความจริงหรือฝัน ตอนนี้เลิกทำสมาธิได้สักพักแล้ว แต่ตอนนี้รู้สึกว่าวิบากกรรมที่เคยทำไว้กำลังให้ผลอยู่เพราะเป็นคนไมเคยเจ็บป่วยแต่ตอนนี้เดี๋ยวเป็นนั่นเป็นนี่และจะเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟและของร้อนอยู่เนีองๆ

viewtopic.php?f=2&t=29401



เห็นทีไรอดคิดถึง อ.เฉลิมศักดิ์ไม่ได้ เพราะท่านรอบรู้สมถยานิก กับวิปัสสนายานิก เรื่องอภิชฌา

โทมนัส กิเลส ตัณหา อุปาทาน :b1: :b12:

ถาม อ.เฉลิมศักดิ์ว่า เขาเป็นอะไรครับน่า แล้วเป็นสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิก

แล้วเขาควรทำยังไงต่อไป จึงจะพ้นภาวะนั้นไปได้โดยสวัสดิภาพ

ตอบเขาหน่อยครับ :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 10:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kanalove เขียน:
มาปูเสื่อนั่งดู


ซื้อเมี่ยงคำติดไม้ติดมือมาด้วยดิ จะนั่งเป็นเพื่อน :b12:

http://gmmblog.gmember.com/index.php/%E ... %E0%B8%95/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 10:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร