วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 07:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

งานยุ่งมาก เลยตอบช้า ขออภัยครับ



จาก พุทธธรรม

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)….”

ท่านมีความเห็นว่า

อ้างคำพูด:
ที่ตัวแดงๆนั่นครับ การน้อมจิต ก็คือการปรับจิตให้เป็นวิปัสสนา เมื่อถูกกวนโดยกิเลสคือนิวรณ์ก็ใช้สมถะทำ
ให้สงบได้ เมื่อสงบควรแก่การงานแล้ว ก็น้อมไปในวิปัสสนาญาณ หาใช่ดำรงค์อยู่ในฌานจิต


ตรงนี้ไงครับ ที่เห็นแตกต่างกัน


คือ เหมือนคุณจะเห็นว่า "ในฌานจิตเจริญวิปัสสนาไม่ได้ ต้องออกจากฌานจิตเสียก่อนเท่านั้นจึงจะเจริญวิปัสสนาได้"...

ผมจึงนำที่ท่านเจ้าคุณๆท่านประมวลมาจากระดับพระสูตร มาลงเสนอ ว่าในฌานจิตที่เป็นสัมมาสมาธินั้น มีทั้งสติ วิริยะ มนสิการ และ ๆลๆ จึงสามารถเจริญวิปัสสนาได้

จาก พุทธธรรม

"...ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึง ฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ
โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว) มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ. 34/196/83) ”




ลองมาดูในระดับพระสูตรอื่น ที่กล่าวระบุว่า ในขณะที่จิตเป็นฌานก็สามารถมีปัญญาเกิดร่วมได้ กันดีกว่า

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่



ในขณะจิตแห่งอริยมรรคสมังคีนั้น มีสมบูรณ์พร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา และ ในขณะนั้นก็บังเกิดมีโลกุตรฌานด้วย....
จึงไม่ใช่ว่า ถ้าจิตเป็นฌานแล้วจะไม่สามารถเจริญปัญญาให้เกิดได้.
หากจิตเป็นฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ(คือ อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค) หรือ เป็นโลกุตระฌาน ย่อมเอื้อต่อการเกิดปัญญาอย่างแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนึ่ง ฌานจิตทุกประเภทมีลักษณะที่ไม่เห็นไตรลักษณ์



ตรงนี้ เห็นไม่ตรงกันครับ

จาก คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล

ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ
อันว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง และลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง

ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา
ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าใน อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้เข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น

วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม
แต่ว่า วิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน

ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
ในฌานทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น

วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
มัคคญาณที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณสำเร็จลง

ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม
ส่วนผลญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจ



นี่เป็นคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล กล่าวว่า ลักขณูปนิชฌาน นั้นนับรวมทั้งการเพ่งไตรลักษณ์จนถึงวิปัสสนาญาณด้วย ครับ

ฌานจิต ประเภทที่ดำเนินอยู่ในลักขณูปนิชฌาน เห็นไตรลักษณ์ได้ครับ

และ


ท่านเจ้าคุณๆท่านสรุประมวล อารัมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน ไว้ดังนี้ครับ

[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็น งานมาก็ใจเย็นๆก็ได้ ไม่มีแพ้ชนะหรอก คุยกัน ประเทืองปัญญา

ตรงประเด็น เขียน:
อ้างคำพูด:
อนึ่ง ฌานจิตทุกประเภทมีลักษณะที่ไม่เห็นไตรลักษณ์

ตรงนี้ เห็นไม่ตรงกันครับ
จาก คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล
ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ
อันว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง และลักขณูปนิชฌาน


ตรงนี้ท่านเรียกวิปัสสนาเป็นฌาน หรือเพ่งเหมือนกัน แต่ความหมายของฌานจะต่างกัน ลองดูเรื่อยๆ
ตัวอย่างคุณยกมาให้แล้วทั้งนั้น

ตรงประเด็น เขียน:
อีกอย่างหนึ่ง
ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา
ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าใน [color=#FF0000]อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้เข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม
แต่ว่า วิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน
ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
ในฌานทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น
วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน
มัคคญาณที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณสำเร็จลง
ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม
ส่วนผลญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจ[/color]
นี่เป็นคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล กล่าวว่า ลักขณูปนิชฌาน นั้นนับรวมทั้งการเพ่งไตรลักษณ์จนถึงวิปัสสนาญาณด้วย ครับ
ฌานจิต ประเภทที่ดำเนินอยู่ในลักขณูปนิชฌาน เห็นไตรลักษณ์ได้ครับ


ตรงนี้ไงที่บอกว่าลักษณะไม่เหมือนกัน ผมทำตัวแดงๆไว้ไง ต้องเข้าใจวิธีการก่อน อ่านแล้วจะรู้เลย
อารมัฯ เพ่งอารมณ์ วิธีคือ บริกรรม
ลักษณูฯ เพ่งลักษณะ วิธีคือวิปัสสนา หรือ โยนิโส ในลำดับที่ทำคือโยนิโสเลย ไม่ต้องทำบริกรรม

อารัมฯ เพ่งบัญญัติ ลักษณูฯ เพ่งปรมัตถ์ ดูปรมัตถ์
ฌานของการเพ่งอารมณ์จะแน่นมากตามความหมายของฌานทั่วไป แต่ฌานของลักษณูฯ จะไม่แน่น
เป็นการเพ่งลักษณะหรืออาการหรือรูปปรมัตถ์ด้วยสมาธิอย่างสูงไม่เกินอุปจารเท่านั้น

คนละเรื่องเลย คำว่าฌานในตรงนี้ เป็นหัวข้อ เหมือนหัวข้อเทศนาละครับ ไม่ไช่หมายถึงอารมณ์แต่ละ
อย่างจะถึงฌานจิตเหมือนกัน ลองดูผลนะครับ คนที่ทำฌานจิตถึงสมาบัติ ถ้าไม่ได้อริยบุคคลอุบัติที่
พรหมเป็นสูงสุด ส่วนคนที่ไม่ดำเนินตามนั้น หรือทำลักษณูปนิชฌาน ไปได้ทุกที่ที่มีการรับรู้ครบ
ดูตัวอย่างอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านยังไม่สามารถไปสั่งสอนได้เลยเมื่ออาจารย์ทั้งสองตายแล้ว
ก็เนื่องจากว่าฌานที่ทำดับสัญญาหมดเลย ดับอายตนะตามอำนาจสมาธิหมดเลย ล่วงวิสัยที่พระพุทธเจ้า
จะทรงไปชีแนะได้เลย นีเรียกว่าวิสัยของฌานจิต
อนึ่ง ฌาน ๒ ตรงนี้นั้น ต้องอ่านอรรถกถาอธิบายด้วยว่า ท่านอธิบายอย่างไร อันหนึ่งเพ่งด้วยบริกรรม
อีกอันหนึ่งเพ่งด้วยโยนิโส หรือพิจารณา จริงแล้วท่านแปลไม่ตรงกันนักหรอก ฌานเนี่ย แปลว่ารู้
รากศัพท์คำเดียวกับคำว่า ชา แปลว่ารู้ รู้อารมณ์ด้วยบริกรรม และ รู้ลักษณะด้วยโยนิโส ทำนองนี้
คำว่าเพ่งไตรลักษณ์นั้น หมายถึงการเห็นปัญญาอันชอบนะครับ ไม่ไช่เพ่งวิธีเดียวกันกับกสิณ ที่บอกว่า
เพ่งไตรลักษณ์จนถึงวิปัสสนาญาณนั้น แท้จริง ถ้าไม่ได้วิปัสสนาญาณ เพ่งอย่างไงก็ไม่เห็นครับ เพราะ
ไตรลักษณ์นั้น ถ้าวิปัสสนาญาณไม่เกิดในสันดานจิต มองไม่เห็นเลย เรียกว่าเพิกหรือหงายสันตติไม่ได้
กำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้ ทำลายฆนะสัญญาไม่ได้เลย

ลองง่ายๆ คิดเล่นๆ สมมติว่า จิตอยู่ที่เนวสัญญายฯ ดับวิญญาณคือการรับรู้ทั้งหมด จะพิจารณาอะไรได้
ถ้าได้ พระพุทธเจ้าคงไปเทศนาสอนอาจารย์แล้ว

อีกอย่างหนึ่ง ระวังนะครับ ถ้าบังเอิญอ่านวิสุทธิมรรค จะมีว่า โสดาบันตัด......ด้วยญาณที่ ๑ แบบนี้
ถ้าตีความแบบเรื่องฌาน ก็ตีความว่า ญาณที่ ๑ เป็นพระโสดาบันเลย แต่ตรงนี้ท่านหมายว่าการผ่าน
ญาณ ๑๖ ครั้งที่ ๑ เรียกว่า ญาณที่ ๑

สรุปตรงนี้ว่า ลักษณูปนิชฌาน ก็คือวิปัสสนากรรมฐาน สภาวะของสมาธิที่เป็นฌานของวิปัสสนาจะต่าง
หากออกไป ไม่เหมือนของฌานที่เป็นอารัมฯ ความแนบแน่นจะต่างกันด้วย


ตรงประเด็น เขียน:
และ
ท่านเจ้าคุณๆท่านสรุประมวล อารัมณูปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน ไว้ดังนี้ครับ
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.


ท่านเจ้าคุณท่านอธิบายของท่านก็ถูกครับ ไม่ผิด แต่ส่วนตัวผมเอง ผมวินิฉัยไม่ไช่ตามนี้ คำว่าฌาน
ท่านแปลถึงด้วยสมาธิที่แนบแน่น แต่ผมไม่แปลอย่างนั้น ผมแปลว่าเพ่งเฉยๆ แล้วจะอธิบายวิธีการ
ผลที่ได้จากแต่ละวิธีการ ตัวอย่างการแปล
อารัมณูปนิชฌาน การเข้าไปเพ่งอารมณ์
ลักษณูปนิชฌาน การเข้าไปเพ่งลักษณะ
ของผมจะแปลแบบนี้

ท่านเจ้าคุณบอกว่า ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ
และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน

ตรงนี้ก็บอกได้ชัดว่า ฌานจิตของวิปัสสนาต่างจากฌานจิตของสมถะหรือเพ่งอารมณ์ เพราะผลเป็น
นิพพาน แต่ผลของอารัมฯออกมาเป็น รูปฌาน อรูปฌาน สมาบัติ ๘ ตรงนี้เองที่บอกว่าสมาธิต้องต่าง
กันด้วย ถ้าสมาธิไม่ต่างกัน ผลต้องออกมาเหมือนกันตามเหตุผลของสมาธิ

เพียงแต่ในอารัมมฯนั้น ต้องถอยให้สมาธิหลวมแล้วออกมาดำเนินวิปัสสนาต่อไป เอาสมถะเป็นบาทเพื่อ
ละนิวรณ์ก่อน ส่วนสุทธวิปัสสนาใช้สมาธิพอประมาณ จากนั้นก็กำหนดรู้ดูลักษณะไป ละนิวรณ์ไปพร้อมๆ
กัน จนนิวรณ์หมดก็เห็นไตรลักษณ์

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงที่ตอบอันแรก ผมไม่ขอวิจารณ์นะครับ มีอรรถาธิบายมาก เสี่ยงที่จะปรามาสท่านเจ้าคุณ
จริงแล้วตรงนี้ผมไปไม่ถึงหรอกในอารมณ์ขนาดนั้น แต่มีคัมภีร์หลายเล่มที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ได้ดีมาก
บุคคลที่รจนาคัมภีร์นี้ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติทั้งสมถะวิปัสสนามาอย่าดียิ่ง ทั้งเป็นผู้มีความรู้ทางปริยัติมาก
แนวทางท่านอธิบายแบบตีตัวหนังสือมาเป็นภาษาปฏิบัติเลย และท่านเจ้าของคัมภีร์เองก็คงไม่มีเจตนา
รจนามาเพื่อให้นำหลักฐานที่ท่านอธิบายไปหักล้างคำสอนคำอธิบายใคร แต่เป็นแนวทางปฏิบัติเท่านั้น
ท่านเหล่านั้นเช่น
๑.ท่านโสภณมหาเภระ (มหาสีสยาดอ) อัครมหาบัณฑิต ท่านนี้เป็นผู้ซักถามในสังคายนาครั้งที่ ๖ และเป็น
ผู้ชำระสังคายนาครั้งนั้นในรอบสุดท้าย ซึ่งมีเพียง ๕ รูปเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นผู้ชำระอรรถกถา(ที่ประ
เทศเราเองก็ใช้ศึกษากัน)ในรอบสุดท้ายเช่นกัน เข้าใจว่ามีเพียง ๕ รูปอีก รวมถึงชำระคัมภีร์ฏีกาด้วย
คัมภีร์นี้ เราก็ใช้กันในประเทศไทย ท่านเป็นอาจารย์ของท่านภัททันตะอาสภะมหาเถระ ต้นกำเนิดยุบหนอ
พองหนอในประเทศไทยนั่นเอง ท่านสอนวิปัสสนาที่พม่าและต่างประเทศมากกว่า ๒๐ ประเทศ งานรจนา
ท่านมากมาย ล้วนเกี่ยวกับวิปัสสนาทั้งนั้น เฉพาะที่วัดท่านสอนมีผู้ที่ผ่านหลักสูตรท่านไม่น้อยกว่าเจ็ดแสน
คน ยังไม่นับสำนักที่ลูกศิษย์ท่านไปเปิดสอนอีกกว่าสามร้อยแห่ง ประวัติและผลงานท่านได้รับเกียรติ
ให้บันทึกลงในหนังสือ Whous Who in the World ซึ่งเป็นหนังสือที่บันทึกประวัติของบุคคลสำคัญ
ระดับโลกไว้
๒.ท่านภัททันตะอาสภะมหาเถระ ท่านนี้ถ้าท่านปฏิบัติสายพองยุบ ท่านค้นที่มาที่ไปจะรู้จักดี

ตามที่ได้อธิบายมานี้ มีบางส่วนในหนังสือที่รจนาขัดกันกับของท่านเจ้าคุณอยู่ โดยเฉพาะเรื่องสมาธิใน
สมถะและวิปัสสนา ส่วนมากเป็นรายละเอียด การที่ผมจะนำข้ออ้างข้ออธิบายตามหลักคัมภีร์มาหักล้าง
การอธิบายของท่านเจ้าคุณซึ่งถือได้ว่าเป็นปราชญ์ชั้นครูเลยนั้นไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมองดูแล้วเหมือน
กับว่าทะเลาะกันเอง ในการอธิบายของผมมักหลบที่จะอ้างอิงผู้แต่ผู้เขียนเลย กลัวมาก แต่ทุกวันนี้แนว
ทางผมจะไปทางครูอาจารย์ทั้ง ๒ ที่ได้กล่าวมาย่อๆ เพราะท่านประจักข์ในเรื่องวิปัสสนาอย่างมาก
ส่วนท่านเจ้าคุณ ผมยังไม่รู้ว่าท่านปฏิบัติแบบไหน อย่างไร เพราะผมได้ยินแต่งานเขียนหนังสือท่าน
อีกทั้งเวลาแต่งท่านเน้นไปที่ประโยชน์นำไปใช้ได้ในชีวิตทั่วๆไป ยังไม่พบที่ไฟท์ลึกๆลงไปในการปฏิบัติ
ในกรรมฐานทั้ง ๒ เลย วิธีที่ดีที่สุดคือต้องเว้นที่จะนำเอาหลักฐานจากหนังสือต่างๆมาแย้งไป

ใจจริงผมก็ลำบากตัวเองสงสารตัวเองแย่แล้วที่ต้องมานั่งวิจารย์สิ่งที่ผมยังไปไม่ถึง หรือเกินวิสัยตัวเอง
ได้คิดแค่ว่าไปตามหลักตามหนังสือก็พอไหว แต่เวลาปฏิบัติ ผมทิ้งที่รู้ๆหมดเลย

ถ้าสังเกตดูที่ผมโพสไว้ทุกแห่ง ไม่มีการอ้างบุคคลหลวงพ่อหลวงพี่เลย หลลบการปรามาสโดยไม่ตั้งใจ
ต้องขออภัยในข้อที่ผมไม่วิจารย์นะครับ

อนึ่งผมอยากรู้นิดนึงว่า คุณตรงประเด็นปฏิบัติธรรมวิธีไหนครับ เผื่อตรงกัน และมีโอกาสได้สนทนาในที่
นี้ จักได้สนทนาในกรรมฐานด้วย

ขออนุโมทนาอย่างยิ่งสำหรับการค้นคว้าของคุณตรงฯ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

งานยุ่งมาก เลยตอบช้า ขออภัยครับ

ลองมาดูในระดับพระสูตรอื่น ที่กล่าวระบุว่า ในขณะที่จิตเป็นฌานก็สามารถมีปัญญาเกิดร่วมได้ กันดีกว่า

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่


ในขณะจิตแห่งอริยมรรคสมังคีนั้น มีสมบูรณ์พร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา และ ในขณะนั้นก็บังเกิดมีโลกุตรฌานด้วย....
จึงไม่ใช่ว่า ถ้าจิตเป็นฌานแล้วจะไม่สามารถเจริญปัญญาให้เกิดได้.
หากจิตเป็นฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ(คือ อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค) หรือ เป็นโลกุตระฌาน ย่อมเอื้อต่อการเกิดปัญญาอย่างแน่นอน


โลกกุตรฌานตรงนี้ไม่แจ้งเรื่องสมาธิครับ เพียงแต่บอกลักษณะของฌานที่เป็นโลกกุตร
อนึ่งถ้าเทียบเคียงกับโลกียฌานแล้ว คำว่าฌาน ก็คนละอย่างกับโลกียะ และฌานตามนี้ไม่ได้หมายถึง ปฐมถึงจตุตถะ หรืออรูปฌานเลย ฉนั้น ตรงนี้ยังสรุปสมาธิไม่ได้
ศัพท์ว่าฌานนั้นแปลใจแคบก็ว่าเพ่ง หรือ หมายถึงสมาธิที่แบบแน่นอย่างเดียว ต้องดูที่ใช้เป็นที่ๆไป
เพราะสำนวนคนแปลมักนำภาษาที่สะดวกมาใช้ ต้องระวัง

อนึ่งในคำว่า ในขณะจิตแห่งอริยมรรคสมังคีนั้น มีสมบูรณ์พร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา และ ในขณะนั้นก็บังเกิดมีโลกุตรฌานด้วย....
จึงไม่ใช่ว่า ถ้าจิตเป็นฌานแล้วจะไม่สามารถเจริญปัญญาให้เกิดได้.

หมายถึงเกิดขึ้นสลับกันไป ไม่ไช่พร้อมกัน ความจริงในข้อนี้เอง วิปัสสนาบางครั้งมีสมถะปน แต่สมถะไม่มีวิปัสสนาปนได้ การสมบูรณืของสมถะวิปัสสนานี้เกิดขึ้นสลับกันไป ไม่ไช่พร้อมกัน เช่น
เมื่อยังจิตที่เป็นฌานให้เกิดแล้ว ก็ออกจาฌานนั้น มาพิจารณาความสิ้นไปดับไปขององค์ฌานต่างๆ
มีปีติเป็นต้น ส่วนมากจะพิจารณาแบบนีในผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนามีสมถะนำหน้า(สมถะยานิก) หาใช่
อยู่ในฌานแล้วเห็นความเกิดดับของนามรูปได้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณกามโภคีน่ะครับ


จะค่อยๆลองศึกษาอ่านน่ะครับ

เห็นตรงกัน ไม่ตรงกัน ไม่เป็นไรครับ ถือว่าได้รับทราบความเห็นท่านอื่น เปิดโลกทัศน์



อ้างคำพูด:
อนึ่ง วิธีดูเรื่องจิตวิสุทธิ์นี้ ในความเห็นผม อย่าได้หาเหตุเรื่องสมาธิเลย ลองวัดที่ผลการปฏิบัติดีกว่า


ขออนุญาต ชี้แจงตรงนี้หน่อยน่ะครับ

คือ ที่แสดงเหตุ(ไม่ได้หาเหตุน่ะครับ :b1: )เรื่อง จิตตวิสุทธิ์ ขึ้นมา เพราะเคยเสวนากับบางท่าน แล้ว เหมือนท่านจะให้จิตตวิสุทธิ์มีความหมายเท่ากับ อริยะสัมมาสมาธิ...และ บางครั้งเหมือนจะนำมาใช้แทนคำว่า อริยะสัมมาสมาธิ .....

เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ ผลคือการให้ขณิกะสมาธิเท่านั้นที่เป็นจิตตวิสุทธิ์ ส่วนอุปจาระสมาธิ อัปปานาสมาธิ ก็กลายเป็นสิ่งที่ปิดกั้นการเกิดปัญญาไปเลย



ประเด็นเรื่อง วิปัสสนาจารย์สายพม่า กับ ท่านเจ้าคุณๆ นั้น มีประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันอีกหลายเรื่องครับ คงไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่ว่า ในฌานทุกชนิดเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่

อย่างเช่นเรื่อง การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น
ทางสายพม่า กับ ท่านเจ้าคุณ เห็นต่างกันมากครับ

http://www.budpage.com/forum/view.php?id=4949

ผมเคยร้บทราบ คห ของท่านอื่นที่ศึกษาแนวทางสายพม่า ก็กล่าวในลักษณะนั้น คือ เชื่อว่า สามารถบรรลุอรหัตตผลโดยไม่มีการปรากฏฌานจิตขึ้นเลย แม้นในขณะบรรลุอรหัตตผล .... ที่กล่าวว่า "มีสมถะ"เป็นเบื้องหน้า นั้น หมายถึงพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะท่านนั้นๆ อยากได้ฌานจึงมาเจริญฌานภายหลัง(หลังจากบรรลุอรหัตตผลไปแล้ว)

ดึกๆ จะแวะเข้ามาใหม่ครับ
ต้องไปทำงานต่อครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่สายพม่าเน้นตรงนี้เพราะท่านหนักไปในทางของวิปัสสนายานิก แต่ถ้าคนที่พื้นฐานทางฌานดีแล้ว
ไปปฏิบัติกับท่าน ท่านไม่ให้เลิกทำฌานนะครับ แต่ท่านจะสอนให้เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา
ท่านสอนพลิกหน่อยเดียวเท่านั้น วิปัสสนาญาณจะแจ้งเลยครับ

ว่างจะมาเล่าให้ฟังครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง ขณิกสมาธิ ต่อน่ะครับ

บางท่านอาจจะเข้าใจผมผิดว่า "ผมปฏิเสธว่า ขณิกสมาธิไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ ต้องเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนเท่านั้น แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนา"

ตรงจุดนี้ ผมยืนยันได้ว่าไม่เคยกล่าวเช่นนั้น




ผมเองเคยถูกกล่าวโทษเช่นนี้มานานแล้ว

ลองอ่าน

http://larndham.net/index.php?showtopic=34303&st=39

และ คุณmes ได้ทักท้วงการกล่าวหาเช่นนั้นไว้ดังนี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=34303&st=86


...........................................


นอกเหนือจาก การที่ไม่มีพระพุทธพจน์ตรัสแสดงการแบ่งสมาธิเป็น ขณิกะ อุปจาระ อัปปานา ไว้โดยตรง แล้ว

เหตุผลอีกประการ ที่ผมทักท้วงให้รอบครอบในเรื่องขณิกสมาธิมาตลอด คือ ในปัจจุบัน คำว่า ขณิกสมาธิ มีความหมายที่ไม่ชัดเจน ดังนี้

ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้

(ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)


ซึ่ง มี2ตัวชี้วัด(criteria)มาบ่งชี้ว่า นี่เรียกว่า ขณิกสมาธิ
คือ
1.ระยะเวลาที่สมาธิทรงตัว ว่า "ชั่วขณะ"
และ
2.กำลังแห่งสมาธิว่าเป็นสมาธิ"ขั้นต้น"


##ถ้าใช้ตัวชี้วัดที่ว่า ระยะเวลาที่สมาธิทรงตัว ว่า "ชั่วขณะ"....ขณิกสมาธิก็อาจจะนับว่า สามารถเป็นอริยสัมมาสมาธิ ได้ด้วย.
เพราะ ไม่มีพุทธพจน์ตรงไหนเลยที่ตรัสว่า อริยสัมมาสมาธิต้องทรงตัวอยู่นานๆ และ ในกรณีของท่านผู้ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็ว เช่น ท่านสันตติมหาอำมาตย์ หรือ ท่านพาหิยะ ในเวลาที่ท่านตรัสรู้ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่ง ณ เวลานั้น ก็ต้องปรากฏอริยะสัมมาสมาธิ ขึ้นเช่นกัน.
กล่าวคือ อริยะสัมมาสมาธิอาจเป็นสมาธิที่ทรงตัวเพียงชั่วขณะได้.(ชั่วขณะ แต่ไม่ใช่ขั้นต้น)
[ถึงแม้นพระพุทธองค์จะทรงตรัสแสดงสมาธิที่ทรงตัวอยู่ได้นานจากการเดินจงกรมว่าเป็นสิ่งที่ดี หรือ อานิสงส์ ก็ตาม]


##แต่ ถ้าใช้ตัวชี้วัดที่ว่า กำลังแห่งสมาธิว่าเป็น สมาธิ"ขั้นต้น" หรือ "สมาธิที่ใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนา"...ขณิกสมาธิ ไม่อาจเป็นอริยสัมมาสมาธิได้เลย.
เพราะ อริยสัมมาสมาธิ คือ เอกัคคตาจิต(หรือ ที่ทรงแสดงด้วยรูปฌาน๑-๔ในมหาสติปัฏฐานสูตร)ที่ห้อมล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่าง ดังที่ปรากฏในมหาจัตตารีสกสูตรที่ว่า
”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”

นี่เป็นจุดที่กำลังจะบังเกิดสัมมาญาณะ(ตรัสรู้ชอบ) ซึ่งไม่ใช่เป็นจุดที่เริ่มเจริญวิปัสสนา.
กล่าวคือ อริยะสัมมาสมาธิ ไม่อาจจะเป็นสมาธิขั้นต้น ที่ใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนา ได้เลย.


ประเด็น มันจึงอยู่ที่ เราต้องใช้ตัวชี้วัด(criteria)เพียงข้อเดียว
ถ้าใช้ 2ตัวชี้วัด(criteria) ก็จะต้องตีความกันมาก และ ก็เป็นอย่างที่เห็น

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ในเรื่อง สมาธินี้ คือ ควรย้อนกลับไปใช้คำสอนดั้งเดิมระดับพระพุทธพจน์ในระดับพระสูตรโดยตรงดีกว่า


อนึ่ง

ขณิกสมาธินั้นสามารถใช้เริ่มในการเจริญวิปัสสนาได้ (ถ้าจะเรียก สมาธิตรงจุดเริ่มต้นเจริญวิปัสสนานี้ว่า จิตตวิสุทธิ์ ผมก็ไม่ขัดข้อง แต่ต้องกล่าวให้ชัดเจนว่าจุดนี้ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิ) ครั้นเมื่อการเจริญวิปัสสนาพัฒนาไปด้วยดี สมาธิก็จะได้รับการพัฒนาตามไปด้วย และ เป็นอริยะสัมมาสมาธิ(ที่ทรงแสดงด้วย รูปฌาน๑-๔)เองโดยอัตโนมัติในที่สุด สำหรับผู้ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)

ท่านเจ้าคุณๆ ท่านกล่าวไว้ดังนี้

จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


ปล... เคยได้ฟังคำปารภ ของท่านผู้ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรง(แนวทางวิปัสสนายานิก) กล่าวเหมือนจะไม่เห็นด้วย ที่ผมกล่าวว่า "สมาธิขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการเริ่มเจริญวิปัสสนาสำหรับผู้ที่เดินแนววิปัสสนายานิก ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิ."

ในความจริงแล้ว คือ มันเป็นเช่นนั้นจริงๆครับ. คือ "สมาธิขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการเริ่มเจริญวิปัสสนาสำหรับผู้ที่เดินแนววิปัสสนายานิก ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิ.".กล่าวคือ สมาธินั้นๆต้องผ่านการพัฒนาอีก จึงจะเป็นอริยะสัมมาสมาธิ ในที่สุด

ดังนั้น ก็หาใช่ว่า แนวทางวิปัสสนายานิก จะปราศจากอริยะสัมมาสมาธิแต่อย่างใดเลย. เพียงแต่ จะปรากฏในตอนที่จะบรรลุอรหัตตผลเท่านั้น.(ตามที่ท่านเจ้าคุณๆ ท่านกล่าวไว้)

ซึ่ง ถ้ามองกันให้ดีๆ แม้นแต่สมาธิระดับฌาน ในแนวทางเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า ...ฌาน ในตอนแรกสุก ด็ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะ ถึงแม้นจะเป็นสมาธิระดับฌานแต่ก็ปราศจากองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม

ดังนั้น ท่านผู้ที่มุ่งเดินในแนวทางวิปัสสนายานิก ก็ไม่ควรจะน้อยใจในเรื่องนี้ แต่อย่างใดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ที่สายพม่าเน้นตรงนี้เพราะท่านหนักไปในทางของวิปัสสนายานิก

แต่ถ้าคนที่พื้นฐานทางฌานดีแล้ว ไปปฏิบัติกับท่าน ท่านไม่ให้เลิกทำฌานนะครับ แต่ท่านจะสอนให้เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา
ท่านสอนพลิกหน่อยเดียวเท่านั้น วิปัสสนาญาณจะแจ้งเลยครับ

ว่างจะมาเล่าให้ฟังครับ




ขอบคุณครับ

ผมเอง ก็เพิ่งทราบหมือนกันว่า วิปัสสนาจารย์ที่ปฏิบัติตามแนวทางพม่า ...ก็มี สายที่ไม่ ANTIสมถะ อยู่ด้วยเหมือนกัน


ที่ผม เคยรับทราบมานั้น ล้วนแต่ เป็นลักษณะนี้ครับ

อ้างคำพูด:
ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบเพราะอะไร

เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง


หรือ

อ้างคำพูด:
“...หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้

ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น

ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย….”




แล้วลองเทียบกับ พระพุทธพจน์ดูน่ะครับ

สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ
ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง
ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



ในขณะที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ"

แต่ วิปัสสนาจารย์ กลับกล่าวว่า
"ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ" บ้าง....
"สมาธิ...จะให้เกิดความรู้ในเหตุผล นั้นไม่มีเลย" บ้าง



ผมไม่ได้มีอคติต่อวิปัสสนาจารย์ท่านใด

แต่ ผมถือตามพระพุทธพจน์ดั้งเดิมเป็นสำคัญครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลองทำฌานดูเถิดครับ จะกระจ่างทีเดียว

ตรงนี้เองที่ฤาษีชีไพรไม่พบวิมุติ บ้างก็เข้าใจว่าวิมุต

พรามณ์ที่เขียนคัมภีร์ปรมาตมันก็คงทำสมถะแล้วพบสุขตรงนี้ เลยพาลคิดว่าเหล่านี้เป็นอัตตา



เรื่องที่ อาฬารดาบส อุทกดาบส ทั้งๆที่บรรลุอรูปฌานชั้นสูง แต่ กลับไม่บรรลุมรรคผล นั้น

หาใช่ว่า เป็นเพราะ สมาธิระดับฌานทุกๆชนิดปิดกั้นการเกิดปัญญา แต่อย่างใดเลย

แต่เป็นเพราะ ท่านดาบสทั้งสองปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์)เป็นเหตุนำต้น(เข็มทิศ) คือ กลัดกระดุมเม็ดแรกไม่ถูก และ ปราศจากสัมมาสติเป็นเหตุนำใกล้ คือ ไม่ได้เจริญภาวนาตามหลักการในอริยมรรค....
ด้วยว่า ท่านทั้งสองไม่เคยทราบ หรือ ได้ศึกษาอริยมรรคมาก่อนเลย เพราะ ในขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ตรัสรู้อริยมรรคแล้วมาสอนแก่ท่านทั้งสองนั่นเอง.
สมาธิของท่านทั้งสองจึงไม่ใช่ สมาธิที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ใน พระบาลีโรหิตัสวรรค)

ฤาษีนอกพระพุทธศานา ท่านปฏิบัติสมาธิภาวนาไปเพื่อ ปรมาตมัน(อย่างที่คุณกามโภคีกล่าวนั้นละ) อาตมันอันสูงสุด ตัวตนอันติมะ คือ เป็นสมาธิภาวนาเพื่อตัวกูผู้ผ่องใส .....เป็นไปเพื่อ อัตตา

แต่ "สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" เป็นสมาธิภาวนาที่นำไปสู่การเห็นอนัตตา ซึ่ง ไม่มีฤาษีนอกพระศาสนาไหนๆเคยรู้จักกันมาก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเรียนถาม คห ท่านกามโภคี สัก2ข้อน่ะครับ


1.จาก

อ้างคำพูด:
อย่างเช่นเรื่อง การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น
ทางสายพม่า กับ ท่านเจ้าคุณ เห็นต่างกันมากครับ

http://www.budpage.com/forum/view.php?id=4949

ผมเคยร้บทราบ คห ของท่านอื่นที่ศึกษาแนวทางสายพม่า ก็กล่าวในลักษณะนั้น คือ เชื่อว่า สามารถบรรลุอรหัตตผลโดยไม่มีการปรากฏฌานจิตขึ้นเลย แม้นในขณะบรรลุอรหัตตผล .... ที่กล่าวว่า "มีสมถะ"เป็นเบื้องหน้า นั้น หมายถึงพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะท่านนั้นๆ อยากได้ฌานจึงมาเจริญฌานภายหลัง(หลังจากบรรลุอรหัตตผลไปแล้ว)


ขอเรียนถามท่านกามโภคีว่า ท่านมี คห ว่า ในคำว่า "มีสมถะเป็นเบื้องหน้า" นั้น เป็นแบบใด ใน2ลักษณะนั้นครับ?
(แบบอื่นนอกเหนือจาก2แบบนี้ ก็เสนอได้น่ะครับ)


2.จาก

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 441&Z=4660

สมถวิปัสสนา

[๒๖๐] ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว.
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคล
พึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว

ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทง
ตลอดธาตุหลายประการ.


ขอเรียนถามท่านกามโภคี ว่า สมถะที่ทรงแสดงในลักษณะวิชชาภาคิยะคู่กับวิปัสสนาในพระสูตรนี้ โดยตรัสบอกให้ท่านวัจฉโคตร(ที่เป็นพระอริยบุคคลแล้ว)เจริญให้ยิ่งขึ้นไปคู่กันกับวิปัสสนา นั้น....เป็นสมถะแบบเดียวกับของอาฬารดาบส-อุทกดาบส หรือไม่ อย่างไรครับ?


ขอบคุณครับ

บ่ายๆ จะแวะเข้ามาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ขอบคุณ คุณกามโภคีน่ะครับ
เห็นตรงกัน ไม่ตรงกัน ไม่เป็นไรครับ ถือว่าได้รับทราบความเห็นท่านอื่น เปิดโลกทัศน์


สาธุ ครับ แหม๋ก็นะบางคน เจ้าอารมณ์จนพลาดเรื่องที่ดีๆไป

ตรงประเด็น เขียน:
ขออนุญาต ชี้แจงตรงนี้หน่อยน่ะครับ
คือ ที่แสดงเหตุ(ไม่ได้หาเหตุน่ะครับ :b1: )เรื่อง จิตตวิสุทธิ์ ขึ้นมา เพราะเคยเสวนากับบางท่าน แล้ว เหมือนท่านจะให้จิตตวิสุทธิ์มีความหมายเท่ากับ อริยะสัมมาสมาธิ...และ บางครั้งเหมือนจะนำมาใช้แทนคำว่า อริยะสัมมาสมาธิ .....
เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ ผลคือการให้ขณิกะสมาธิเท่านั้นที่เป็นจิตตวิสุทธิ์ ส่วนอุปจาระสมาธิ อัปปานาสมาธิ ก็กลายเป็นสิ่งที่ปิดกั้นการเกิดปัญญาไปเลย


ผมว่าก็พูดกันไปตามสำบัดสำนวนครับ ผมเองจะลองบอกตามนัยที่ผมเข้าใจดีกว่า
จิตวิสุทธิ์ ความหมดจดแห่งจิต ว่ากันตามความหมายก็คือ การที่จิตไม่มีสิ่งเจือปน ทั้งนี้เราต้องเข้าใจจุดมุ่งหมาย
ของแต่ละกัมมัฏฐาน ถ้าสมถะเขาจะหมายถึงจิตที่อยู่ในระดับอุปจาระถึงอัปปันนาสมาธิ ถ้าวิปัสสนาเขามุ่งกันตรง
จิตที่มีสมาธิเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ แต่มีความมั่นคงดุจอัปปันนาขึ้นไป และขณะสั้นๆที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่มีสิ่งอื่นหรือ
สภาวะอื่นเจือปนดุจจิตของอุปจาระและอัปปันนา

ส่วน สัมมาสมาธิ ข้อนี้เราเอาตรงนี้กันก่อน หมายถึง สมาธิในระดับฌานขึ้นไป และที่เรียกว่าสัมมา(ชอบ)นั้น
เพราะว่าในขณะจิตนั้นว่างจริงๆจากกิเลสเช่นนิวรณืเป็นต้น หาไช่ว่าเป็นจิตที่หลุดพ้นสิ้งเชิง

อริยะสัมมาสมาธิ หมายถึงสมาธิที่แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ ประการ กล่าวคือสหรคตหรือประกอบตามระบบมรรค
๘ แล้ว ก็กลายเป็นอริยะไปตามความหมาย

ตามความเห็นผม สมาธิทุกระดับเป็นจิตวิสุทธิ์ได้ ตามความหมายของจุดประสงค์(สมถะ วิปัสสนา) ส่วนจะเป็น
สัมมาสมาธิ และ อริยะสัมมาสมาธิ ขณิกสมาธิก็จัดเข้าได้ตามความหมายของสมาธิชอบ เพราะลักษณะการกำ
รู้สภาวะธรรมในแต่ละขณะของสมาธิ ถ้าเริ่มเห็นสภาวะธรรมชัดแล้ว ก็ไม่ต่างจากสมาธิของอัปปันนาเลย เพียง
แต่สมาธิชนิดนี้ไม่เกิดขึ้นยาว เกิดเพียงขณะๆ เพราะต้องรู้ลักษณะของรูปนาม(ลักษณูปนิชฌาน)ไปตามขณะๆ
อุปจาระและอัปปันนานั้น ตรงตามความหมายแล้วว่าเป็นสัมมาสมาธิ ต่อเมื่อเริ่มนำมรรคเข้าไปประกอบครบทั้ง
๘ รวมตัวสัมมาสมาธิด้วยตามระบบมรรค(ตรงนี้ที่เรียกว่ามัคคสมังคี) ก็จะกลายเป็นอริยสัมมาสมาธิไป

การกล่าวว่าอุปจาระและอัปปันนาสมาธินั้นปิดกั้นปัญญา ไม่ถูกนักหรอกครับ มีวิธีที่จะใช้สมาธิทั้ง ๒ นี้เป็นตัว
ทำปัญญา เพียงแต่ถ้าเดี่ยวๆ ยังมองไม่เห็นปัญญา ต้องเข้ามรรควิธีก่อน อีกประการหนึ่ง ในขณะที่ที่อุปจาระ
และอัปปันนาเกิด โดยสภาวะของสมาธิทั้ง ๒ นี้ ระงับกิเลสบางพวกได้ ตรงนี้ที่วิมุติบางอย่างเกิดแล้วแม้จะชั่ว
คราว ในขณะที่เกิดอยู่ ก็ชื่อว่าจิตวิสุทธิ์แล้ว


ตรงประเด็น เขียน:
ประเด็นเรื่อง วิปัสสนาจารย์สายพม่า กับ ท่านเจ้าคุณๆ นั้น มีประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันอีกหลายเรื่องครับ คงไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่ว่า ในฌานทุกชนิดเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่
อย่างเช่นเรื่อง การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น
ทางสายพม่า กับ ท่านเจ้าคุณ เห็นต่างกันมากครับ
http://www.budpage.com/forum/view.php?id=4949
ผมเคยร้บทราบ คห ของท่านอื่นที่ศึกษาแนวทางสายพม่า ก็กล่าวในลักษณะนั้น คือ เชื่อว่า สามารถบรรลุอรหัตตผลโดยไม่มีการปรากฏฌานจิตขึ้นเลย แม้นในขณะบรรลุอรหัตตผล .... ที่กล่าวว่า "มีสมถะ"เป็นเบื้องหน้า นั้น หมายถึงพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะท่านนั้นๆ อยากได้ฌานจึงมาเจริญฌานภายหลัง(หลังจากบรรลุอรหัตตผลไปแล้ว)


ที่ไม่ตรงกัน ผมเข้าใจว่าเพราะเขียนกันคนละภาษา ถ้ามาลองนั่งคุยกันทั้ง ๒ สายแบบค่อยๆตีความก็จะอ๋อกันไป
เอง คือท่านเจ้าคุณท่านเขียนแบบปริยัติมากกว่าปฏิบัติ แต่สายพม่าท่านเขียนปฏิบัติมากกว่าปริยัติ ก็ดูเหมือนว่า
คนละภาษาทีเดียว ลองคำว่า โยนิโสมนสิการ ซิครับ เจ้าคุณเขียนยังไม่เห็นภาพในทางปฏิบัติชัดว่าโยนิโสอย่างไร
ทางพม่าเขียน อ่านก็จะรู้ว่า โยนิโสฯ ที่ว่าทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายนี้ วิธีดูหรือกำหนด กำหนดอย่างไรเลย
แต่ถ้าเอาเฉพาะความหมายของทางพม่าไปเขียนไว้ แล้วเลือกว่าจะใช้คำไหนเป็นภาษาปริยัติ หาคำแทนความ
หมายของทางพม่าเขียนไว้ลำบากเลย เพราะต่างที่วิธีอธิบาย ส่วนที่มาทุ่มเถียงกัน ก็คนที่กิเลสหนามากๆที่ประ
กาศตัวว่าเป็นศิษย์นั่นไงครับ
เรื่องนี้ผมเห็นว่าคุณถามไว้แล้ว ผมจะไปอ้างอิงตอบตรงนั้น

อนุโมทนาครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ประเด็น เรื่อง ขณิกสมาธิ ต่อน่ะครับ

บางท่านอาจจะเข้าใจผมผิดว่า "ผมปฏิเสธว่า ขณิกสมาธิไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ ต้องเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนเท่านั้น แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนา"
ตรงจุดนี้ ผมยืนยันได้ว่าไม่เคยกล่าวเช่นนั้น

ฯลฯ

ซึ่ง ถ้ามองกันให้ดีๆ แม้นแต่สมาธิระดับฌาน ในแนวทางเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า ...ฌาน ในตอนแรกสุก ด็ไม่ใช่อริยะสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะ ถึงแม้นจะเป็นสมาธิระดับฌานแต่ก็ปราศจากองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม
ดังนั้น ท่านผู้ที่มุ่งเดินในแนวทางวิปัสสนายานิก ก็ไม่ควรจะน้อยใจในเรื่องนี้ แต่อย่างใดครับ


ปล่อยเถิดครับ อ่านเองตีความกันไปเอง ส่วนความเห็นท่านเจ้าคุณ ผมจะอธิบายตรงที่คุณตรงฯถามมาที่โพสหลัง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
กามโภคี เขียน:
ที่สายพม่าเน้นตรงนี้เพราะท่านหนักไปในทางของวิปัสสนายานิก
แต่ถ้าคนที่พื้นฐานทางฌานดีแล้ว ไปปฏิบัติกับท่าน ท่านไม่ให้เลิกทำฌานนะครับ แต่ท่านจะสอนให้เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา
ท่านสอนพลิกหน่อยเดียวเท่านั้น วิปัสสนาญาณจะแจ้งเลยครับ

ขอบคุณครับ
ผมเอง ก็เพิ่งทราบหมือนกันว่า วิปัสสนาจารย์ที่ปฏิบัติตามแนวทางพม่า ...ก็มี สายที่ไม่ ANTIสมถะ อยู่ด้วยเหมือนกัน
ที่ผม เคยรับทราบมานั้น ล้วนแต่ เป็นลักษณะนี้ครับ

อ้างคำพูด:
ที่ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบเพราะอะไร
เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง

หรือ
อ้างคำพูด:
“...หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น
ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย….”


ที่ห้ามทำจิตให้สงบกันนั้น เพราะผู้ที่เข้าไปปฏิบัติไปเริ่มที่วิปัสสนาล้วนๆ ก็ต้องสอนกันแบบสุทธวิปัสสนา ตรงนี้เอง
ผู้ที่ไม่กระจ่างก็มาถือเอาคำครูบาอาจารย์ว่าท่านห้ามนะ ท่านแอนตี้ แท้จริงถ้าผู้เข้าไปอบรมภาวนาแสดงได้ให้
ประจักษ์ว่าได้ระดับฌานจิตถึงระดับไหน ครูอาจารย์ผู้ฉลาดก็จะมีวิธีการเริ่มที่แตกต่างกันออกไป วิธีการก็จะแยก
กันออกไป ทั้งนี้ครูอาจารย์เองต้องฉลาดที่จะสอนด้วย หมายถึงครูอาจารย์บางพวกประสบมาแต่ด้านวิปัสสนาล้วนๆ
ก็ถนัดแต่วิปัสสนาล้วนๆ ก็จะสอนแบบนี้เท่านั้น ผมมีครูสอนผมแนะนำผม โชคดีที่ท่านถนัดทั้ง ๒ อย่างมา ก็เลย
คุยกันได้รู้เรื่อง
สมถะนั้น เมื่อถึงจุดที่จะพลิกเข้าหาวิปัสสนาแล้ว ก็จะมีทาง ที่คุณบอกว่าอริยะสัมมาสมาธินั่นแหละ มาจากสมถะ
ก่อนก็มี

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
อ้างคำพูด:
ลองทำฌานดูเถิดครับ จะกระจ่างทีเดียว

ตรงนี้เองที่ฤาษีชีไพรไม่พบวิมุติ บ้างก็เข้าใจว่าวิมุต

พรามณ์ที่เขียนคัมภีร์ปรมาตมันก็คงทำสมถะแล้วพบสุขตรงนี้ เลยพาลคิดว่าเหล่านี้เป็นอัตตา

เรื่องที่ อาฬารดาบส อุทกดาบส ทั้งๆที่บรรลุอรูปฌานชั้นสูง แต่ กลับไม่บรรลุมรรคผล นั้น
หาใช่ว่า เป็นเพราะ สมาธิระดับฌานทุกๆชนิดปิดกั้นการเกิดปัญญา แต่อย่างใดเลย
แต่เป็นเพราะ ท่านดาบสทั้งสองปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์)เป็นเหตุนำต้น(เข็มทิศ) คือ กลัดกระดุมเม็ดแรกไม่ถูก และ ปราศจากสัมมาสติเป็นเหตุนำใกล้ คือ ไม่ได้เจริญภาวนาตามหลักการในอริยมรรค....
ด้วยว่า ท่านทั้งสองไม่เคยทราบ หรือ ได้ศึกษาอริยมรรคมาก่อนเลย เพราะ ในขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ตรัสรู้อริยมรรคแล้วมาสอนแก่ท่านทั้งสองนั่นเอง.
สมาธิของท่านทั้งสองจึงไม่ใช่ สมาธิที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ใน พระบาลีโรหิตัสวรรค)
ฤาษีนอกพระพุทธศานา ท่านปฏิบัติสมาธิภาวนาไปเพื่อ ปรมาตมัน(อย่างที่คุณกามโภคีกล่าวนั้นละ) อาตมันอันสูงสุด ตัวตนอันติมะ คือ เป็นสมาธิภาวนาเพื่อตัวกูผู้ผ่องใส .....เป็นไปเพื่อ อัตตา
แต่ "สมถะ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้" เป็นสมาธิภาวนาที่นำไปสู่การเห็นอนัตตา ซึ่ง ไม่มีฤาษีนอกพระศาสนาไหนๆเคยรู้จักกันมาก่อน


ต้องแยกก่อนนะครับ สมถะหมายถึงอะไร ถ้าสมถะที่เป็นฌานจิต ไม่รู้เรื่องแน่ ทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าสมถะตามวิธี
ที่พระพุทธเจ้าท่านแนะ มีวิธีที่จะเกิดปัญญาครับ ที่กล่าวไว้เช่นนั้น เพียวๆเลยว่าฌานจิต ไม่ไช่มาประกอบกับ
อย่างอื่น แต่ถ้าสมถะของพระพุทธเจ้า ท่านคล้ายกับว่า เอาสมถะเป็นอุปกรณ์การศึกษาเลย คือต้องออกจากฌาน
จิตก่อนแล้วมาพิจารณาองค์ฌาน แต่จะกล่าวว่าไม่ไช่สมถะไม่ได้อีก จะกล่าวว่าไม่ไช่ฌานก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะบอก
ตอนปัญหาที่คุณถามมานะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร