วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรุณาอธิบายลักษณะวิธีที่เจริญสติ
อย่างถูกต้อง ที่เรียกกันว่า สัมมาสติ



สัมมาสติ - ระลึกชอบ

ถามว่า ระลึกชอบ ระลึกเช่น ไร

ตอบ ได้แก่ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ ..

คำว่า “สติ” “สติปัฏฐาน” (สติ+ปัฏฐาน) “สัมมาสติ” (สัมมา+สติ) เป็นสติตัวเดียวกันเอง

แต่ที่ท่านแยกบรรยายก็เพราะเพ่งความหมายคนละแง่

ดังนั้นหลักปฏิบัติ จึงได้แก่สติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติตามแนวนี้

ศึกษาโดยพิสดารลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ดูขยายความสติเป็นต้นอีกเล็กน้อย


-สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์

ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป

จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้

สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness

สัมมาสติ – ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔


สติ ในสติปัฏฐาน บรรยายเพ่งถึงการตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่น อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือ กำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ




ข้อที่ควรระวัง คือผู้ที่เอาสติมากำหนดนึกถึงตนเองและรู้สึกตัวว่า ฉันทำนั่นทำนี่

กลายเป็นสร้างตัวตนขึ้นมา

แล้วจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั่น เกิดการเกร็งตัวขึ้นมา ทำให้งานที่กำลังทำนั้น

แทนที่ได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป

สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้

การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ



มองความหมายของสัมปชัญญะ ในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือ รู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ

กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าเราทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ)

มิใช่นึกถึงตัว (ผู้ทำ)

ให้สติตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ หรือ กำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง

หรือ ตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น

จนกระทั่งความรู้สึกว่า ตัวฉัน หรือ ความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 20:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




692823n68ya60jv9.gif
692823n68ya60jv9.gif [ 27.71 KiB | เปิดดู 3975 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
และมีสอง คำที่ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ วิตักกะ กับ ปปัญจะ
วิตักกะ = วิตก หรือ จิตดำริถึง ?
ปปัญจะ = ปัจจัย หรือ เหตุ ?



มีสอง คำที่ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ วิตักกะ กับ ปปัญจะ



ดูวงจรดังกล่าวก่อนหน้าประกอบด้วย

วิตักกะ (วิตก) ได้แก่ ความตริตรึกนักคิดต่างๆ


-คำว่า ปปัญจะ หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวพันอยู่กับอารมณ์นั้น และคิดปรุงแต่ง

ไปต่างๆ ด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน หรือ เพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ

คือ ปรุงแต่งในแง่ที่จะเป็นของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือ เป็นไปตามความเห็นของฉัน

ออกรูปออกร่างต่างๆมากมายพิสดาร จึงทำให้เกิดปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ คือ สัญญาทั้งหลาย

ที่เนื่องด้วยปปัญจะนั่นเอง

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

- (ในวงจรนั้น) จะเห็นว่ามีสัญญา ๒ ตอน สัญญาตอนแรก คือ สัญญาขั้นต้น ที่กำหนดหมาย

อารมณ์ซึ่งปรากฏตามปกติธรรมดาของมัน

สัญญาตอนหลัง เรียกว่า ปปัญจสัญญา เป็นสัญญาเนื่องจากสังขารที่ปรุงแต่งภาพอารมณ์

ได้ออกรูปร่างแง่มุมต่างๆ มากมายพิสดาร


สัญญา แยกเป็น ๒ ระดับคือ


-สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือ เป็นไปอยู่ตามปกติธรรมดา

ของมัน อย่างหนึ่ง

-สัญญาสืบทอด หรือ สัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป

เฉพาะอย่างยิ่ง ปปัญจสัญญา อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้น

ให้ซับซ้อนพิสดารด้วยแรงผลักดันของตัณหามานะและทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำในฝ่ายร้าย

อีกอย่างหนึ่ง


ความหมายคำว่า "ปัจจัย" ทางพระวินัย กับ "ปัจจัย" ความหมายทางธรรม


เมื่อพูดถึง “ปัจจัย” ในทางวินัย หมายถึง เครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร ฯลฯ

เมื่อพูดถึง “ปัจจัย” ทางธรรม หมายถึง “เหตุ” หรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น (เหตุปัจจัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 14:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความปปัญจะอีกเล็กน้อย)

“ภิกษุมองเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ

อย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ตาม ฯลฯ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา

มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย

ทั้งในกายอันพร้อมด้วยวิญญาณนี้ และในนิมิตหมายทั้งปวงภายนอก”

(ม.อุ.14/128/105-6)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

อหังการ ได้แก่กิเลสที่เรียกชื่อว่า ทิฏฐิ

มมังการ ได้แก่ กิเลสที่เรียกว่า ตัณหา

มานานุสัย ได้แก่ กิเลสที่เรียกชื่อสั้นๆ ว่า มานะ

นิยมเรียกเป็นชุดว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ


พุทธพจน์นี้ มีสาระสำคัญว่า

ผู้ที่มองเห็นความเป็นอนัตตาชัดแจ้งแล้ว ก็จะไม่มีหรือจะชำระล้างเสียได้ ซึ่งกิเลสที่เกี่ยวเนื่องผูกพัน

กับตัวตน หรือ กิเลสที่เอาตนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสามอย่าง คือ ความเห็นแก่ตัว

ความแส่หาแต่สิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน มุ่งได้มุ่งเอาผลประโยชน์ส่วนตัว ที่เรียกว่า ตัณหา

ความถือตัว ความทะนงตน สำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ อยากยิ่งใหญ่ใฝ่เด่น ครอบงำผู้อื่น

แสวงหาอำนาจมายกชูตน ที่เรียกว่า มานะ

และความยึดติดในความเห็นของตน ความถือมั่น งมงาย ตลอดจนคลั่งไคล้ในความเชื่อถือ

ทฤษฎี ลัทธินิยม และอุดมการณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า ทิฏฐิ


กิเลส ๓ อย่างนี้ มีชื่อเรียกรวมกันเป็นชุดว่า ปปัญจะ หรือ ปปัญจธรรม แปลกันว่า

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า

ถ้าจะแปลให้ง่ายก็ว่า กิเลสตัวปั่น คือ ปั่นแต่งเรื่องราว ปั่นใจให้ทุกข์ ปั่นหัวให้เรื่องมาก

ทำให้ยืดเยื้อ เยิ่นเย้อ ยุ่งเหยิง ยึดยาว ฟ่ามเฟ้อ ฟั่นเฝือ ล่าช้า วกวน วุ่นวาย นุงนัง

สับสน สลับซับซ้อน ทำให้เขวห่าง หรือ ไถลเชือนเฉออกไปจากความเป็นจริง

ที่ง่ายๆ เปิดเผย ปัญหาที่ยังไม่มี ก็ทำให้เกิดมีขึ้น

ปัญหาที่มีอยู่แล้วก็ไม่อาจแก้ไขอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุ แต่กลับทำให้ยุ่งยากซับซ้อนนุงนัง

ยิ่งขึ้น เป็นตัวบงการพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์พล่านไปมา ขัดแย้ง แข่งขัน

แย่งชิงกัน ไม่เฉพาะแต่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วร้ายนานัปการเท่านั้น

แม้เมื่อจะทำสิ่งที่ดีงาม ถ้ามีกิเลสตัวปั่นเหล่านี้อยู่เบื้องหลัง การทำความดีนั้นก็มีเงื่อนงำ

มีปมแอบแฝง ไม่บริสุทธิ์ และทำได้ไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่ กิเลสเหล่านี้

จะคอยขัดถ่วงหรือชักให้เขว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 14:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ย่อมให้ผลเนื่องถึงกันหมด ดังนั้น การพิจารณาลักษณะทั้งหลาย จึงมีคุณค่าส่งความหลุดพ้นได้

ทั้งสิ้น

แต่กระนั้นตัวเด่นในการตัดสินชี้ขาด จะอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจอนัตตา

ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ที่ว่า

“พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอิสมิมานะ ดูกรเมฆิยะ แท้จริงเมื่อมีอนิจจสัญญา

อนัตตาสัญญาจึงปรากฏ ผู้มีอนัตตสัญญา (หมายรู้ในสิ่งทั้งหลายว่าเป็นอนัตตา)

จะลุถึงภาวะที่ถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ (ความถือพองว่าเป็นตัวกู) เป็นนิพพานในปัจจุบันนี้แหละ”


(ขุ.อุ.25/89/128 ฯลฯ)



รวมความว่า การเห็นไตรลักษณ์ด้วยมนสิการอย่างถูกวิธี จะนำให้เกิดคุณค่าทางจริยธรรม

ทั้งความดีงาม และความงอกงาม ที่มาพร้อมด้วยความสุข กล่าวคือ ดีงามด้วยกุศลธรรม

ที่แล่นโล่งไปไม่มีอกุศลคอยขัดถ่วงหรือบีบเบียน งอกงามด้วยความไม่ประมาทในการทำกิจ

และเป็นสุขด้วยปัญญารู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิตที่ทำให้จิตปลอดโปร่ง ผ่องใส เบิกบาน

เป็นอิสระ


ผู้ที่มองเห็นไตรลักษณ์ รู้เท่าทันธรรมดา และมีนิรามิสสุขเป็นหลักประกัน แม้จะยังเสพกามสุข

ก็จะไม่มืดมัว ถึงกับหมกมุ่นหลงใหลหรือถลำลึกจนเกิดโทษรุนแรง โดยเฉพาะจะไม่เกินเลย

กลายเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนตนและผู้อื่น และแม้เมื่อความสุขนั้นผันแปรไป

ก็จะไม่ถูกความทุกข์ใหญ่ท่วมทับเอา ยังคงดำรงสติอยู่ได้ มีความกระทบใจแต่น้อย

เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขในทุกระดับได้อย่างสมบูรณ์เต็มอิ่มเต็มรส และคล่องใจ

เพราะไม่ความกังวลขุ่นข้องเป็นเงื่อนปม หรือ เป็นเครื่องกีดขวาง ที่คอยรบกวนอยู่ภายใน

และยิ่งกว่านั้น ทั้งที่สามารถเสวยความสุขทั้งหลายได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

แต่ก็ไม่ติดในความสุขเหล่านั้น ไม่ว่าจะประณีตหรือดีวิเศษเพียงใด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 14:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณมากค่ะ

วันนี้ศิษย์ยังไม่มีคำถาม ขอศึกษาตาม
ที่อาจารย์(ขออนุญาติเรียกค่ะ คิดอย่างนั้นจริงๆ)
แนะนำก่อน ขออ่านทำความเข้าใจให้ละเอียด
เพราะศึกษามาน้อยค่ะ จึงต้องเวลาพิจารณา
มากหน่อยให้สมกับ ที่กรุณาตอบคำถามและ
อธิบายไว้ค่อนข้างละเอียด ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม
ก็กรุณาอธิบายชี้แนะด้วยค่ะ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คห.ก่อนหน้าต้องการชี้ให้เห็นความละเอียดซับซ้อนของกิเลส




อ้างคำพูด:
อาการจิตที่ใช้ การพิจารณา สังขารุเปกขาณาญ
แบบนี้ใช้ได้ไหมค่ะ

คนไร้สาระเจอเหตุการณ์กับคน คนหนึ่งคำพูดที่เค้า
พูด ทำให้โทสะ ไม่มี อยู่ๆก็ผุดขึ้นมา ยิ่งพูดเหมือนโกรธจะเพิ่ม
ขึ้น ร้อนวูบ ๆ ขึ้นมากลางหน้าอก ในขณะเดียวกันจิตมันวิ่งเข้า
มาดูความโกรธที่เกิดขึ้น และไม่มีคำพูดหลุดออกไปทางปาก
ใจหนึ่งบอกให้เดินหนีไป ใจหนึ่งบอกว่า ดีแล้วเธอจงดูความโกรธ
นี้ เป็นบทเรียน สุดท้ายก็ยืนดูความโกรธของตัวเอง จนมันสลาย
ตัวไปเหมือนเดิม

มีอีกเหตุการณ์ แบบทำให้ใจเสพสุข มีคนมาสร้างความรู้สึก
ที่ดีๆ เอาอกเอาใจ สามารถทำให้เคลิ้บเคลิ้มได้ และจิตก็วิ่งเข้าไป
ดูหัวใจที่พองโต ด้วยเห็นว่ากำลังพอใจ ความรู้สึกพอใจก็ดับไป
ใจตอนนี้ก็เป็นลักษณะ จะรักใครแบบจะยึดไว้ไม่มี มันจืด ๆ ไป



พึงปฏิบัติตามวิธีนั้นต่อไป ในทุกกรณี ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ คือทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งทางกาย
ทางใจ พึงดูรู้ทันสภาวะนั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์) กิจหรือหน้าที่ของศรัทธาคือความน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยว(อธิโมกข์)
ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริงความดีของสิ่งที่นับถือหรือปฏิบัติ

-วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์) หน้าที่ของวิริยะคือการยกจิตไว้ (ปัคคหะ)
ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย

-สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) หน้าที่ของสติคือดูแลหรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)
ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

-สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) หน้าที่ของสมาธิคือการทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ
ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

-ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) หน้าที่ของปัญญาคือการเห็นความจริง (ทัสสนะ)
ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้หรือรู้เท่าทันสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ
หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียรกำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงานและปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้

(กิจหรือหน้าที่ของอินทรีย์ ๕ ท่านสรุปมาจากบาลีแห่ง ขุ.ปฏิ.31/32/23; 396/270/452/332 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(ที่ผ่านมาได้นำสิ่งที่ปิดบังอนิจจัง คือ สันตติไว้แล้ว ต่อไปจะนำสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ (ข้อทุกขัง)
คือ อิริยาบถ ให้พิจารณาดูว่า ละเอียดลึกซึ้งเพียงใด)




อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้าย
เคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ



ภาวะที่ทนอยู่ มิได้ หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้น
กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์) จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ
ความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี
สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต
ไปเสียก่อน ก็ดี ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น
ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน
ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว
ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน ที่คนทั่วไป
เรียกว่า “ทุกข์” เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า
อิริยาบถอื่น
เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์
(ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย -(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า
“ความสุข” เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย เป็นทุกข์
เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้
เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย
ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(ต่อไปจะนำสิ่งที่ท่านกล่าวว่าปิดบังไตรลักษณ์ข้อสุดท้าย (อนัตตา) ได้แก่ ฆนะ ความเป็นกลุ่ม เป็นก้อน
ปิดบังไว้)




ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูก ฆนะ คือ ความเป็นแท่ง เป็นก้อน
เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือ เป็นหน่วยรวมปิดบังไว้ อนัตตลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


-สิ่งทั้งหลายที่เรียกว่า อย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลายมารวบรวม ปรุงแต่งขึ้น เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวมซึ่งเรียกว่า อย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญา คือความจำหมาย หรือ ความสำคัญหมาย
เป็นหน่วยรวมคอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็น
เนื้อยาง

คือ คนที่ไม่ได้คิด ไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็น เนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้น
เป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริงผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มา เรียงกันเข้าตามระเบียบ
ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี หรือเด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตน
ของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง
ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่

แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้
ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้
เมื่อใช้อุปกรณ์ หรือ วิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ
จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
เมื่อหัดนั่งสมาธิแรก ๆ เข้าใจว่าการนั่งสมาธิได้นาน ๆ
เป็นเรื่องดี เราทนความปวดเมื่อยได้
และเหมือนว่ามีความเข้มแข็ง อดทน มีขันติ บารมี
และแอบภูมิ ใจเล็ก ๆว่า เราทนได้ ที่แท้แล้วไม่ได้มองถึง
ความทนอยู่ไม่ได้ กลับไปเข้าใจผิดว่าบังคับได้
ผิดกฏไตรลักษณ์ (มีอีกหลายท่านเข้าใจตรงนี้แบบ
คนไร้สาระ) :b8:

:b47: คำว่า ฆนะ หรือ กลุ่มก้อน หมายถึงสรรพสิ่ง
ทั้งโลกด้วยไหมค่ะ? ทั้งวัตถุ ทั้งการกระทำ ทั้งเจตนาของจิต
อะไร ๆ ต่าง ๆ นี้ ก็เป็นอย่างนี้หมด ทุกวันนี้เรา อยู่ในโลก
ของสมมุติ จนหลงคิดว่าเป็นความจริง เหล่าพระอริยะ
ทั้งหลาย เพราะท่านมองเห็นความจริง ตามลำดับปัญญาคือ
มองเห็นสมมุติ เห็นสัจจะ ถอนกิเลสออกไเด้เป็นชั้น ๆ
เห็นความเป็นกลุ่มก้อน แยกตัวออกไป เพราะเห็นอนัตตา

:b47: เมื่ออ่านข้อความที่อาจารย์โพสต์มาให้ ก็พิจารณาได้ว่า
ในชีวิตประจำวัน รู้สึกว่าถ้าเราขาดสติเมื่อใด ความรวมเป็น
กลุ่มก้อนจะมีทันที คือ มีตัวเราเป็นผู้ได้ ผู้เสีย เผลอเมื่อ
ใดมันโผล่มาทุกที เพราะความเคยชิน และเหมือนกับว่า
คอนข้างจะเคยชินแนว ๆ อกุศลส่วนใหญ่ ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ

:b47: มีคำอยู่คำติดอยู่ในใจมานาน เคยได้ยินผ่าน ๆ หู
เป็นพุทธพจน์ว่า "เธอจงมาดูหมู่สัตว์ โลก อันวิจิตรอลังการ"
คงจะพูดไม่ถูกหรอกค่ะ แต่จะประมาณนี้ ขออาจารย์
ช่วยแก้ประโยคนี้ให้ด้วยค่ะ เพราะอยากทราบประโยคที่
ครบถ้วนและถูกต้อง


:b47: อันนี้ขอถาม แบบจินตนาการค่ะ ถ้ามีเด็กคนหนึ่ง
เกิดมาในตระกูลที่ มีสัมมาทิฏฐิ ได้รับการศึกษา เกี่ยวกับ
สัจจะธรรมเช่นนี้ เธอนั้นจะสามารถเห็นความจริงได้ตั้ง
แต่ยังเด็ก ๆ ได้ไหม

:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อหัดนั่งสมาธิแรก ๆ เข้าใจว่าการนั่งสมาธิได้นาน ๆ
เป็นเรื่องดี เราทนความปวดเมื่อยได้
และเหมือนว่ามีความเข้มแข็ง อดทน มีขันติ บารมี
และแอบภูมิ ใจเล็ก ๆว่า เราทนได้ ที่แท้แล้วไม่ได้มองถึง
ความทนอยู่ไม่ได้ กลับไปเข้าใจผิดว่าบังคับได้
ผิดกฎไตรลักษณ์ (มีอีกหลายท่านเข้าใจตรงนี้แบบ
คนไร้สาระ)


สาธุ ครับที่พอมองเห็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า ฆนะ หรือ กลุ่มก้อน หมายถึงสรรพสิ่ง
ทั้งโลกด้วยไหมค่ะ? ทั้งวัตถุ ทั้งการกระทำ ทั้งเจตนาของจิต
อะไร ๆ ต่าง ๆ นี้ ก็เป็นอย่างนี้หมด ทุกวันนี้เรา อยู่ในโลก
ของสมมุติ จนหลงคิดว่าเป็นความจริง เหล่าพระอริยะ
ทั้งหลาย เพราะท่านมองเห็นความจริง ตามลำดับปัญญาคือ
มองเห็นสมมุติ เห็นสัจจะ ถอนกิเลสออกได้เป็นชั้น ๆ
เห็นความเป็นกลุ่มก้อน แยกตัวออกไป เพราะเห็นอนัตตา



ถูกต้องครับ แต่จะขอเน้นที่อัตภาพร่างกาย
พิจารณาที่ท่านขยายความสักเล็กน้อยครับ


ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น
ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ ท่านมุ่งให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นต้น เมื่อแยกออกไปแล้วก็จะพบ
แต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลือยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้
และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้นแต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกันไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้นขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน
รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็นอนัตตา ให้เห็นว่าชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั่นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี
(ดู สํ.ข.17/4-5, 32-33 ฯลฯ)
เมื่อมองเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นในเรื่องตัวตนได้ ความเป็นอนัตตานี้ จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้า
ใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท

อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่สัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่าขาดสูญ ที่เรียก
ว่า อุจเฉททิฏฐิ และความเห็นผิดว่าเที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฐิ

นอกจากนั้น เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนและมีอยู่อย่างสัมพันธ์อาศัยกันและกันเช่นนี้แล้ว ก็จะเข้าใจหลัก
กรรมโดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร


อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้ เป็นการฝึกความคิด หรือสร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ เมื่อประสบหรือเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิด
ก็ไม่หยุดตันอึ้ง ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอกเท่านั้น เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะล้วนๆของมัน หรือตามแบบสภาววิสัย (Objective) คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย “ตามที่มันเป็น” ไม่นำเอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยากหรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า
สกวิสัย (Subjective)
คุณค่าอย่างหลังนี้ นับว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรม และ ของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือ
การไม่ยึดมั่นถือมั่น การไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหาอุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้อง
จัดการด้วยปัญญา

(เน้นกันพลาดในชีวิต) ทั้งตัวสภาวะและสมมุติเป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์ สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์
แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอาสภาวะ กับ สมมุติมาสับสนกัน คือ ไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นไปตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่ออ่านข้อความที่อาจารย์โพสต์มาให้ ก็พิจารณาได้ว่า
ในชีวิตประจำวัน รู้สึกว่าถ้าเราขาดสติเมื่อใด ความรวมเป็น
กลุ่มก้อนจะมีทันที คือ มีตัวเราเป็นผู้ได้ ผู้เสีย เผลอเมื่อ
ใดมันโผล่มาทุกที เพราะความเคยชิน และเหมือนกับว่า
คอนข้างจะเคยชินแนว ๆ อกุศลส่วนใหญ่ ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ



สาธุ เข้าใจถูกต้องครับ :b8:

(เสริมความเข้าใจด้วยข้อเขียนต่อไปนี้ด้วยครับ)

คุณค่าทางจริยธรรม

๑.อายตนะเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของทางแยกระหว่างกุศลกับอกุศล ทางสายหนึ่งนำไปสู่ความประมาทมัวเมา ความชั่ว และการหมกติดอยู่ในโลก
อีกสายหนึ่ง นำไปสู่ความรู้เท่าทัน การประกอบกรรมดี และความหลุดพ้นเป็นอิสระ
ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หากไม่มีการฝึกฝนอบรมให้เข้าใจและปฏิบัติในเรื่องอายตนะอย่างถูกต้องแล้ว
ตามปกติมนุษย์ทั่วไปจะถูกชักจูงล่อให้ดำเนินชีวิตในทางที่มุ่งเพื่อเสพเสวยโลก เที่ยวทำการต่างๆ เพียงเพื่อ
แสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจและความสนุกสนานบันเทิงต่างๆ มาปรนเปรอตา หู
จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความโลภ โกรธ หลง แล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อน
ทั้งแก่ตนและผู้อื่น พอจะเห็นได้ไม่ยากว่า การเบียดเบียนกัน การขัดแย้งแย่งชิง การกดขี่บีบคั้น เอารัดเอา
เปรียบกัน ตลอดจนปัญหาสังคมต่างๆที่เกิดเพิ่มขึ้น และที่แก้ไขกันไม่สำเร็จ โดยส่วนใหญ่แล้วก็สืบเนื่องมา
จากการดำเนินชีวิตแบบปล่อยตัวให้ถูกล่อถูกชักจูงไปในทางที่จะปรนเปรออายตนะอยู่เสมอ จนเคยชินและ
รุนแรงยิ่งขึ้นนั่นเอง
คนจำนวนมาก บางทีไม่เคยได้รับการเตือนสติ ให้สำนึกหรือยั้งคิดที่จะพิจารณาถึงความหมายแห่งการกระทำ
ของตนและอายตนะที่ตนปรนเปรอบ้างเลย และไม่เคยปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือสังวรระวังเกี่ยวกับ
อายตนะหรืออินทรีย์ของตน จึงมีแต่ความลุ่มหลงมัวเมายิ่งๆขึ้น การแก้ไขทรงจริยธรรมในเรื่องนี้

ส่วนหนึ่ง อยู่ที่การสร้างความเข้าใจให้รู้เท่าทันความหมายของอายตนะและสิ่งที่เกี่ยวข้องว่าควรจะมีบทบาท และความสำคัญในชีวิตของตนแค่ไหน เพียงไร และอีกส่วนหนึ่ง ให้มีการฝึกฝนอบรมด้วยวิธีประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการควรคุม การสำรวมระวังใช้งาน และรับใช้อายตนะเหล่านั้นในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
แก่ชีวิตของตนเองและแก่สังคม

๒. อายตนะเป็นแหล่งที่มาของความสุขความทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการดำเนินชีวิตทั่วไปและความเพียรพยายามเฉพาะกิจแทบทุกอย่างของปุถุชน ด้านสุขก็เป็นการแสวงหา ด้านทุกข์ก็เป็นการหลีกหนี นอกจากสุขทุกข์จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความประพฤติดีประพฤติชั่วที่กล่าวในข้อ ๑ แล้ว ตัวความสุขทุกข์นั้น ก็เป็นปัญหาอยู่ในตัวของมันเอง ในแง่ของคุณค่า ความมีแก่นสาร และความหมายที่จะเข้าพึ่งพาอาศัย
มอบกายถวายชีวิตให้อย่างแท้จริงหรือไม่
คนไม่น้อย หลังจากกระดมเรี่ยวแรงและเวลาแห่งชีวิตของตนวิ่งตามหาความสุขจากการเสพเสวยโลกจนเหนื่อยอ่อนแล้วก็ผิดหวัง เพราะไม่ได้สมปรารถนาบ้าง เมื่อหารสอร่อยหวานชื่น ก็ต้องเจอรสชื่นขมด้วย

บางทียิ่งได้สุขมาก ความเจ็บปวดเศร้าแสบกลับยิ่งทวีล้ำหน้า เสียค่าตอบแทนในการได้ความสุขไปแพงกว่าได้มา ไม่คุ้มกันบ้าง ได้สมปรารถนาแล้ว แต่ไม่ชื่นเท่าที่หวัง หรือถึงจุดที่ตั้งเป้าหมาย แล้วความสุข
กลับวิ่งหนีออกหน้าไปอีก ตามไม่ทันอยู่ร่ำไปบ้าง
บางพวก ก็จบชีวิตลงทิ้งที่กำลังวิ่งหอบ ยังตามความสุขแท้ไม่พบหรือยังไม่พอ

ส่วนพวกที่ผิดหวังแล้ว ก็เลยหมดอาลัยปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อยไปตามเรื่อง อยู่อย่างทอดถอนความหลังบ้าง หันไปดำเนินชีวิตในทางเอียงสุดอีกด้านหนึ่ง โดยหลบหนีตีจากชีวิตไปอยู่อย่างทรมานตนเองบ้าง
การศึกษาเรื่องอายตนะนี้ มุ่งเพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันสภาพความจริง และประพฤติปฏิบัติด้วยการวางท่า
ที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นมากนัก อย่างน้อยก็ให้มีหลัก พอรู้ทางออก
ที่จะแก้ไขตัว
นอกจากจะระวังระวังในการใช้วิธีการที่จะแสวงหาความสุขเหล่านี้แล้ว ยังเข้าใจขอบเขตและขั้นระดับต่างๆของมัน แล้วรู้จักหาความสุขในระดับที่ประณีตยิ่งขึ้นไปด้วย
ความประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับสุขทุกข์นี้ ย่อมเป็นเรื่อง ของจริยธรรมไปด้วยในตัว

๓. อายตนะในแง่ที่เป็นเรื่องของกระบวนการรับรู้และการแสวงปัญญา ก็เกี่ยวข้องกับจริยธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพราะถ้าปฏิบัติในตอนเริ่มแรกไม่ถูกต้อง การรับรู้ก็จะไม่บริสุทธิ์ แต่จะกลายเป็นกระบวนการรับรู้ที่รับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือเป็นส่วนประกอบของกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏไปเสีย ทำให้ได้ความรู้ที่
บิดเบือน เอนเอียง เคลือบแฝง มีอคติ ไม่ถูกต้องตรงตามความจริง หรือ ตรงกับสภาวะตามที่มันเป็น
การปฏิบัติในทางจริยธรรม ที่จะช่วยเกื้อกูลในเรื่องนี้ ก็คือ วิธีการที่จะรักษาจิตให้ดำรงอยู่ในอุเบกขา
คือ ความมีใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบเที่ยงตรงไม่เอนเอียง ไม่ให้ถูกอำนาจกิเลสมีความชอบใจไม่ชอบใจ
เป็นต้น เข้าครอบงำ

๔. การปฏิบัติทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับอายตนะโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง มีหลายอย่าง บางอย่างก็มีไว้เพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆกัน ทั้งนี้สุดแต่ว่าปัญหามักจะเกิดขึ้นที่จุดใด ทุกข์และบาป อกุศลมักได้ช่องเข้า
มาที่ช่วงตอนใด
อย่างไรก็ตามท่านมักสอนย้ำให้ใช้วิธีระวังหรือป้องกันตั้งแต่ช่วงแรกที่สุด คือ ตอนที่อายตนะรับอารมณ์
ทีเดียว เพราะจะทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้นเลย จึงเป็นการปลอดภัยที่สุด

ในทางตรงข้าม ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คือ บาปอกุศลธรรมได้ช่องเข้ามาแล้ว มักจะแก้ไขยาก เช่น เมื่อปล่อยให้อารมณ์ที่ล่อเร้าเย้ายวน จิตถูกปรุงแต่งจนราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่รู้ผิดชอบชั่วดี มีความสำนึกในสิ่งชอบธรรมอยู่ แต่ก็ทนต่อความเย้ายวนไม่ได้ ลุอำนาจกิเลส ทำบาปอกุศล
ลงไป
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงย้ำวิธีระมัดระวังป้องกันให้ปลอดภัยไว้ก่อนตั้งแต่ต้น

องค์ธรรมสำคัญที่ใช้ระมัดระวังตั้งแต่ต้น ก็คือ สติ ซึ่งเป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือ พูดอีก
นัยหนึ่ง เหมือนเชือกสำหรับดึงจิต
สติที่ใช้ในขั้นระมัดระวังป้องกัน เกี่ยวกับการรับอารมณ์ของอายตนะแต่เบื้องต้นนี้ ใช้ในหลักที่เรียกว่า อินทรีย์สังวร ซึ่งแปลว่า การสำรวมอินทรีย์
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การคุ้มครองทวาร หมายถึง การมีสติพร้อมอยู่ เมื่อรับอารมณ์มีรูป เป็นต้น ด้วยอินทรีย์มีตา เป็นอาทิ ก็ไม่ปล่อยใจถือไปตามนิมิตหมายต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความติดพัน
ขุ่นเคืองชอบใจไม่ชอบใจ แล้วถูกอกุศลธรรมเข้าครอบงำจิตใจ


การปฏิบัติตามหลักนี้ ช่วยให้ทั้งด้านป้องกันความชั่วเสียหาย ป้องกันความทุกข์ และป้องกันการสร้างความรู้ความคิดที่บิดเบือนเอนเอียง อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนำหลักใช้เมื่อไร
ก็ได้ตามปรารถนา เพราะสติจะตั้งมั่นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จำต้องมีการฝึกฝนอบรมอินทรีย์สังวร จึงต้องมี
การซ้อม หรือ ใช้อยู่เสมอ

การฝึกอบรมอินทรีย์ มีชื่อเรียกว่า อินทรีย์ภาวนา- (การเจริญอินทรีย์) ผู้ที่ฝึกอบรมหรือเจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย * เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น หรือ แม้หากความชอบใจไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา
ก็สามารถระงับ หรือสลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้ จัดว่าเป็นหลักธรรมในขึ้นศีล แต่องค์ธรรมสำคัญที่เป็นแกน คือ สติ นั้นอยู่ในจำพวกสมาธิ ทำให้มีการใช้กำลังจิตและการควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว


หลักธรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านแนะนำให้เป็นข้อปฏิบัติในเรื่องนี้ เป็นหลักในระดับปัญญา เรียกว่า
โยนิโสมนสิการ
หลักนี้ ใช้ในช่วงตอนที่รับอารมณ์เข้ามาแล้ว โดยให้พิจารณาอารมณ์นั้นเพื่อเกิดความรู้เท่าทัน เช่น
พิจารณาคุณ โทษ ข้อดี ข้อเสีย ของอารมณ์นั้น พร้อมทั้งภาวะอันเป็นอิสระปลอดภัยอยู่ดีมีสุขได้ โดยไม่
ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์นั้นในแง่ที่จะต้องให้คุณและโทษของมันเป็นตัวกำหนดความสุขความทุกข์และชะตาชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มีเครื่องหมาย *)


* ในแง่ความรู้ความคิดที่เอนเอียงบิดเบือนนั้น ในที่นี้หมายเฉพาะปลอดภัยจากเหตุใหม่
ไม่พูดถึงเหตุที่สั่งสมไว้เก่า คือ ตัณหามานะทิฏฐิที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นอีกตอนหนึ่งต่างหาก


(ความหมายอินทรีย์สังวร)

-อินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึงการปิดหู ปิดตาไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึง การควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ ในเมื่อเกิดความรับรู้ทางตา หู เป็นต้น
ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการรับรู้ เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ตามต้องการ

(ดู อินทรีย์ภาวนาสูตร ม.อุ.14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร