วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 22:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.se-ed.com/eShop/(A(4tzEdMGQy ... ax3xmwv281))/Products/Detail.aspx?No=9789749805220


อิทัปปัจจยตา กฎที่เหนือกฎทั้งปวง หัวข้อธรรมที่ท่านอาจารย์พุทธทาสแสดงให้เห็นถึงตรรกะแห่งเหตุและผล อันว่าด้วย "ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จีงมี" อิทัปปัจจยตา คำเดียวจึงครอบคลุมหมวดธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมด ทุกสิ่งในโลกล้วนมีปัจจัย : เมื่อมีสิ่งที่เป็นปัจจัย สิ่งนี้ย่อมมีไม่ยกเว้นอะไรทั้งหมด สิ่งมีชีวิต - ไม่มีชีวิต ความนึกคิดตรึกตรองฝ่ายทุกข์ - ฝ่ายดับทุกข์ ล้วนเกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยส่งผลต่อกันและกัน ทุกอย่างจึงมีความหมายที่อิทัปปัจจยตา ถูกต้องตามกฎอิทัปปัจจยตาทั้งนั้น แม้พระพุทธองค์ก็ทรงอยู่ในกฎนี้ คำสอนเรื่อง อริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ ล้วนมี หัวใจอยู่ที่อิทัปปัจจยตา ทั้งสิ้น !! อิทัปปัจจยตา จึงเป็นหมวดธรรมสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ตามสมควร

- อิทัปปัจจยตา ในฐานะของพระพุทธวจนะที่ถูกมองข้าม
- อิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นสิ่งที่ฆราวาสต้องเรียนรู้ และปฏิบัติ
- อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎ เหนือกฎ เหนือกฎทั้งปวง
::

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไกวัลยธรรม
ในฐานะกฏแห่งอิทัปปัจจยตา

ดังกล่าวแล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ควรทำความเข้าใจ ในความหมาย ของคำๆนี้ ให้แจ่มแจ้ง อยู่เสมอว่า "เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป" ในทุกหน ทุกแห่ง โดยเฉพาะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ ในตัวเราทุกคน ตลอดเวลา เมื่อรู้ได้อย่างนี้ ย่อมทำให้ กลัวบาป กลัวกรรม เพราะ ไม่มีความลับ สำหรับไกวัลยธรรม และแสวงหาพระเจ้า หรือ ไกวัลยธรรม ในตนเองเป็นที่พี่ง ไม่ต้องพึ่งสิ่งภายนอก เพื่อความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ (๑๓๘)

ในลักษณะที่กล่าวว่า "พระเจ้าคือผู้สร้าง" ในความหมายนี้ ย่อมตรงกับ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" อันเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวง ไหลออกมาจาก ไกวัลยธรรม โดยเฉพาะคือ เป็นผู้สร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมา สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา ทั้งหมดนั้น แม้จะอยู่ในสภาพ ของความเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่อาจเข้าไป เปลี่ยนแปลงสภาพ เดิมแท้ แห่งไกวัลยธรรมได้ เพราะ ไกวัลยธรรม มีสภาพเป็น อสังขตะ แม้พระพุทธเจ้า ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นได้. (๑๓๙)

ที่ว่าเป็นปฐมเหตุ ก็เพราะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง แม้สิ่งที่เรียกว่า พระพุทธเจ้า ดังพระพุทธภาษิตมีว่า "พระตถาคตจะเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้นมีอยู่แล้ว" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ธรรมธาตุ" ในที่นี้ ได้แก่ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา หรือ จตุราริยสัจจ์. (๑๔๐)

ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะ "ไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็น กฏแห่งอิทัปปัจจยตา" อันหมายถึง พระเจ้าแห่ง "กรรมและวิบาก" รวมทั้ง สภาวะที่อยู่เหนือกรรมด้วย โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ไกวัลยธรรม กับ อิทัปปัจจยตา ย่อมมีความหมาย อย่างเดียวกัน คือ "ความเป็นอย่างนั้น" (ตถตา) ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น (อวิตถตา) ไม่มีอยู่โดยความเป็นอย่างอื่น" (อนัญญถตา) ดังนี้. (๑๔๑)

ไกวัลยธรรม ที่มีอยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" มีความหมาย ตรงกับคำ ๒ คำ ในพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน คือ "อมิตาภะ - มีแสงสว่างที่คำนวณไม่ได้" กับคำว่า "อมิตายุ - มีอายุที่คำนวณไม่ได้" ได้แก่ สิ่งที่ไม่อาจกำหนดด้วยเวลา หรือ เป็นการระบุถึง องค์แท้ของพระพุทธเจ้า ดังที่เรียกว่า "อมิตาภะพุทธะ" หรือ "อมิตายุพุทธะ" อันหมายถึง พระพุทธเจ้า องค์เดียวกัน. (๑๔๒)

ไกวัลยธรรม มีความหมายพ้องกันกับคำในศาสนาคริสต์

จากคัมภีร์ "โยฮัน" ได้แสดงไว้ว่า แรกเริ่มเดิมที ก่อนสิ่งทั้งปวง มีสิ่งที่เรียกว่า "พระคำ" (The Word) ได้แก่ "โองการของสิ่งที่มีอำนาจสูงสุด" อันหมายถึง "พระเจ้า"

ใน "พระคำ" นั้น มีปรากฏการณ์อยู่ ๒ อย่าง คือ "แสงสว่าง" (Light) กับ "ชีวิต" (Life) อันเป็นสิ่งที่ อยู่ร่วมกับพระคำ หรือ พระเจ้า และ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระเจ้า นั่นคือ "แสงสว่างกับชีวิต" เป็นปรากฏการณ์ของพระเจ้านั่นเอง. (๑๔๓)

คำว่า "แสงสว่าง-ชีวิต" มีความหมายตรงกันกับ คำว่า "อมิตาภะ-อมิตายุ" อย่างน่าประหลาด แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะผู้เข้าถึงสัจจธรรม จะกล่าวโดยภาษาใดก็ตาม ย่อมมีความหมายตรงกันทุกภาษา นั่นคือผู้ที่เห็นจริงย่อมไม่ขัดแย้งกัน. (๑๔๔)

แม้ตัวอย่างในทางโลกหรือทางวัตถุ ก็แสดงให้เห็นถึงความจริงข้อนี้ ได้แก่แสงอาทิตย์ต้องคู่กับสิ่งที่มีชีวิต เพราะว่าคน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ ชนิดที่เรียกว่า เป็นอันเดียวกัน ในทางธรรมก็ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่า "แสงสว่างและชีวิต" ความมีชีวิตในทางธรรม หมายถึงความไม่ตาย หรือ "อมตธรรม" นั่นเอง. (๑๔๕)

ในความหมายที่ว่า "พระคำ" เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้วนั้น ตรงกับความหมายในทางพุทธศาสนาที่ว่า "แรกเริ่มเดิมที ก็มีพระธรรมอยู่ก่อนแล้ว" ดังบทบาลีที่ว่า "ธมฺโม หเว ปาตุรโหสิ ปุพฺเพ-ธรรมะมีอยู่ก่อนเว้ย" ดังนี้. (๑๔๖)

คัมภีร์เยเนซิสแสดงไว้ว่า พระเจ้าทรงสร้าง "แสงสว่าง" ก่อนสิ่งทั้งปวงสร้างก่อนดวงอาทิตย์และดวงดาวด้วยซ้ำไป แสงสว่างดังกล่าวนี้ คงหมายถึงปัญญานั่นเอง ในลักษณะอย่างนี้ทางพุทธศาสนาหมายถึง "พระปัญญาคุณ" ของพระพุทธเจ้า... เมื่อมีปัญญาย่อมทำให้เข้าถึง "ความบริสุทธิ์" อันจัดเป็นลักษณะของ "อมตธรรม" ได้แก่ "ความมีชีวิต" นั่นคือ แสงสว่างกับชีวิตย่อมรวมเป็นหนึ่งเดียว ร่วมอยู่กับพระเจ้า เป็นองค์คุณของพระผู้เป็นเจ้า อันได้นามว่า "พระคำ". (๑๔๗)

อวโลกิเตศวร เป็นปุคคลาธิษฐานของธรรมที่ควรปฏิบัติ

รูป "อวโลกิเตศวร" ทุกรูป จะมีพระพุทธรูปเล็กๆ อยู่ที่หน้าผาก พระพุทธรูปองค์นั้นเป็นรูปแทนพระพุทธเจ้า "อมิตาภะ" ฉะนั้น "อวโลกิเตศวร" จึงเป็นสื่อหรือสะพานที่จะนำคนให้เข้าถึงพระพุทธเจ้าอมิตาภะ นี่เป็นการกล่าวโดยสมมติ หรือ ปุคคลาธิษฐาน. (๑๔๘)

ถ้ากล่าวโดยธรรมาธิษฐาน "อวโลกิเตศวร" คือ คุณสมบัติหรือคุณธรรม ที่เราประพฤติแล้วจะทำให้เข้าถึง "อมิตาภะ" หรือ "อมิตายุ" ได้แก่สภาพแห่งความไม่ตาย หรือ นิพพาน. (๑๔๙)

เมื่อรู้จักพระพุทธเจ้าอมิตาภะหรืออมิตายุ โดยลักษณะของการสมมติบัญญัติ หรือการปรุงแต่งอย่างนี้แล้ว ย่อมจักทำให้เป็นการง่ายต่อการที่จะเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" อันไม่มีการปรุงแต่งต่อไป. (๑๕๐)

พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สร้างพระเจ้าเพื่อเข้าถึงง่าย

เพื่อเป็นการป้องกันพุทธบริษัทบางพวกที่ยังไม่ฉลาดพอ มิให้หันไปนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าเพราะถือได้ง่าย นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นห่วงคนพวกนี้ จึงได้สร้างพระเจ้าขึ้นมาบ้าง ให้ชื่อว่า "อมิตาภะ" หรือ "อมิตายุ" อันหมายถึง "แสงสว่างและอายุ" ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ดังกล่าวแล้ว. (๑๕๑)

แต่ข้อนี้ อาจจะยังเป็นการยากสำหรับบางพวก จึงลดให้ง่ายลงมาอีก ด้วยการสร้าง "อวโลกิเตศวร" ขึ้น ฝ่ายฮินดูเขามีพระอิศวร เราก็มีเหมือนกัน พระอิศวร คือ "อวโลกิเตศวร" (อวโลกิต-อิศวร) หมายถึง พระเจ้าผู้สอดส่องมองดูโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือให้ได้รับความรอดปลอดภัย. (๑๕๒)

เมื่อต้องการจะให้ "อวโลกิเตศวร" มาช่วย ก็จำเป็นที่จะต้องมีการสวดออกชื่อ "อมิตาภะ" วันหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ด้วยหวังว่าเมื่อดับจิตลง ก็จะมีรถมารับดวงวิญญาณไปสู่แดนสุขาวดี อันเป็นประเทศที่พระพุทธเจ้า "อมิตาภะ" ครอบครองอยู่ บทสวดมีว่า "นโม อมิทอฮุด ๆ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขอไหว้พระอมิตาภะ" ดังนี้. (๑๕๓)

การที่บุคคลมีความเชื่อ และทำการสวดอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่า เป็นผู้มีจิตศรัทธาเชื่อมั่น โอกาสที่จะทำบาปทำกรรม โกหกหลอกลวง หรือเบียดเบียนใคร ก็จะไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทได้ระดับหนึ่งทีเดียว. (๑๕๔)

เมื่อมีความเชื่อย่อมช่วยให้พ้นบาปกรรมได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่ถ้ามีความเชื่อด้วยและมีปัญญาด้วย ก็จะทำให้ดีขึ้น จนกระทั่งสามารถได้ใช้ปัญญาล้วนๆ ทำให้รู้ว่า "อมิตาภะ" และ "อมิตายุ" คืออะไร จะเข้าถึงได้อย่างไร โดยไม่ต้องปั้นเป็นรูปคนก็ทำให้รู้จักได้. (๑๕๕)

"อวโลกิเตศวร" ไปถึงเมืองจีนมีชื่อเรียกว่า "กวนอิม" เป็นผู้หญิง หมายถึงชื่อของธรรมะที่ละเอียดอ่อน ในอันที่จะนำคนให้เข้าถึงธรรมะอันลึกซึ้ง คือ อมิตาภะ หรือ อมิตายุ ในการปั้นรูปจะปรากฎว่า อวโลกิเตศวรอยู่ขนาบข้างของพระพุทธเจ้าอมิตาภะ อีกข้างเป็นผู้หญิง เรียก "ปรัชญาปารมิตา". (๑๕๖)

ฝ่ายมหายานมีพระเจ้าคือ อมิตาภะ หรือ อมิตายุ อันจัดเป็นพระเจ้าที่สูงสุด รองลงมาก็เป็นอวโลกิเตศวร เมื่อเปรียบด้วยธรรมะ อมิตาภะ หรืออมิตายุ ได้แก่ธรรมะฝ่ายโลกุตตระ หรืออสังขตะ ส่วนอวโลกิเตศวร ได้แก่ ธรรมะส่วนที่ยังมีตัวตนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จัดเป็นสังขตะ ดังนี้. (๑๕๗)

โดยความหมายนี้ การไหว้อวโลกิเตศวร หมายถึงการบำเพ็ญธรรมที่เป็นลักษณะของอวโลกิเตศวร ได้แก่ บริสุทธิ์ ปัญญา เมตตา ขันติ อธิษฐาน เป็นต้น อันหมายถึงการบำเพ็ญบารมี คือสิ่งที่ทำคนให้ดีขึ้นๆ จนกระทั่งเต็มเปี่ยม. (๑๕๘)

ความเต็มเปี่ยมหมายถึง อมิตาภะ หรือ อมิตายุ อันจักพบได้ที่หน้าผากของอวโลกิเตศวร ข้อนี้หมายความว่า จักพบพระพุทธเจ้าได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องไปวิ่งหาที่ไหน ที่แท้อยู่ที่หน้าผากของตัวเองทุกคนแล้ว. (๑๕๙)

พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีไกวัลย์เสมือนพระเจ้า

สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งที่เป็นภายในตัวเราและนอกตัวเรา นั่นคือ ทุกอณูที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเราและจักรวาล ย่อมมีสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖๐)

โดยเหตุที่พระเจ้าคือกฎที่สูงสุด อันบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไป แล้วควบคุมสิ่งนั้นอยู่ ทุกคนจึงถูกสร้างขึ้นและควบคุมไว้ด้วยกฎแห่งพระเจ้า ฉะนั้น พระเจ้ากับไกวัลยธรรมจึงมีสภาพอย่างเดียวกัน. (๑๖๑)

ในความหมายนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า พระโองการของพระเจ้าแห่งไกวัลยธรรม เป็นสิ่งที่ควบคุมบังคับสิ่งทั้งหลายให้เป็นไป ฉะนั้น ทุกชีวิตจะมีสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" ในฐานะเป็นผู้สร้างและควบคุมสิงสถิตอยู่ในทุกคนทุกๆ อณูแห่งชีวิต. (๑๖๒)

ไกวัลยธรรม คือพระเจ้าในฐานะเป็นกฎ

คำว่า God ในศาสนาคริสต์ ตรงกีบความหมายของคำว่า "กฎ" ในพุทธศาสนา เพราะคำว่า "กฎ" มีความหมายตรงกันกับ "กะตะ" (กต) คำลงท้ายด้วย "ตะ" มีการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาฝรั่ง เช่น ในคำว่า "มะตะ" กับ mortal ซึ่งแปลว่า "ตาย" ในความหมายนี้พอจะอนุโลมได้ว่า คำว่า God มาจากคำว่า "กฎ" หรือ กะตะ ของฝ่ายตะวันออก. (๑๖๓)

สิ่งที่เรียกว่า "กฎ" หมายถึง "ไกวัลยธรรม" อันมีลักษณะ คืออยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เป็นแม่ของสิ่งทั้งปวง เป็นที่ไหลออกมาของสิ่งทั้งปวง แล้วควบคุมสิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกเวลา ทุกสถานที่ อันมีลักษณะตรงกันกับสิ่งที่เรียกว่า God ซึ่งหมายถึงพระเจ้า ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า "ไกวัลยธรรม" คือ "พระเจ้า". (๑๖๔)

ไกวัลยธรรม ในฐานะเป็นกฎแห่งอิทัปปัจจยตา

ไกวัลยธรรมเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดและมั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ต่างกับกฎที่มนุษย์ตั้งขึ้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะ กฎอันนี้มี ๓ ประการ คือ:-

๑. กฎแห่งสามัญญลักษณะ
๒. กฎแห่งอิทัปปัจจยตา
๓. กฎแห่งจตุราริยสัจจ์.

ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะกฎที่ ๒ คือกฎแห่งอิทัปปัจจยตา อันมีความหมายตามพระบาลีว่า :-

อิมสฺมิ สติ อิทํ โหติ - เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปชฺชติ - เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น
อิมสฺมิ อสติ อิทํ น โหติ - เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ - เพราะการดับแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมดับ. (๑๖๖)

แล้วแสดงความหมายรวมของธรรมชาติแห่งการเกิด-ดับ ตามเหตุตามปัจจัยด้วยคำว่า :-

ตถตา - ความเป็นอย่างนั้น
อวิตถตา - ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
อนญฺญถตา - ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
อิทปฺปจฺจยตา - ความที่เมื่อสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น. (๑๖๗)

พระบาลีทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงถึงลักษณะของกฎอิทัปปัจจยตา อันมีอำนาจในการควบคุมโลกให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม. (๑๖๘)

เมื่อรู้จักกฎแห่งกรรมตามเป็นจริง ย่อมมีการปฏิบัติถูกตามกฎแห่งกรรมนั้น ผลที่สุดจะทำให้อยู่เหนือกรรมโดยประการทั้งปวง คือมีจิตใจอยู่เหนือความดีความชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือแพ้เหนือชนะ เหนือทุกอย่างที่เป็นของคู่ นี่คือลักษณะของการเข้าถึงพระเจ้าองค์แท้แห่งอิทัปปัจจยตา. (๑๖๙)

วิธีจะเข้าถึงพระเจ้าอิทัปปัจจยตา คือการศึกษา

วิธีที่จะนำชีวิตให้เข้าถึงพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตา ได้แก่หลักการที่เรียกว่า "การศึกษา" คำว่า "ศึกษา" ในทางพุทธศาสนา หมายถึง "การปฏิบัติกาย วาจา ใจ" โดยอาศัยเครื่องมือ คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา". (๑๗๐)

เมื่อพูดถึงการศึกษา ทำให้นึกถึงคำอีก ๒ คำ คือ "ความรู้" กับ "สติปัญญา" คำว่า "ความรู้" หมายถึงการเล่าเรียนให้จำได้หมายรู้ ส่วน "สติปัญญา" หมายถึงการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ในการช่วยชีวิตให้รอดปลอดภัยจากความทุกข์ ถ้ามีแต่ความรู้จะไม่สามารถช่วยให้รอดได้ดังมีคำกล่าวว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด". (๑๗๑)

คำว่า "ความรู้" ตรงกับภาษาฝรั่ง Knowledge ส่วน "สติปัญญา" ตรงกับคำว่า Intelligence หรือ Intellect เมื่อเอาความรู้กับสติปัญญามารวมกันเข้า จึงเป็นการศึกษา (education)" (๑๗๒)

โดยหลักการอันนี้ นำมาใช้ในการเข้าถึงพระเจ้าแห่งอิทปปัจจยตา หรือไกวัลยธรรม ด้วยการทำให้เกิดความรู้ ชนิดที่เป็น material ของสติปัญญา คือมีสติปัญญาในการใช้สิ่งเหล่านั้น ให้เกิดประโยชน์เป็นการดับทุกข์ นั่นคือต้องมีการเรียนให้เกิดความรู้ แล้วมีการปฏิบัติให้เกิดความเห็นแจ้ง จึงจะชื่อว่าเป็นการเข้าถึงธรรม คือ ไกวัลยธรรม. (๑๗๓)

เป็นอันได้ความว่า หลักการศึกษาในที่นี้ หมายถึงการใช้พระเจ้าที่เป็นตัวกฎเกณฑ์ ปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในจิตใจ จนทำให้พ้นจากโลกพ้นจากโลกิยธรรมทั้งหลาย มีจิตอยู่เหนือโลกทั้งปวง เป็นการได้อยู่กับพระเจ้า. (๑๗๔)

ใช้กฎอิทัปปัจจยตาให้ถูกต้องแล้วมนุษย์จะกลายเป็นพระเจ้า

เมื่อได้เครื่องมือแล้ว ก็มาถึงตอนที่จะใช้พระเจ้าเพื่อกระทำเราให้กลายเป็นพระเจ้า นั่นคือการใช้กฎอิทัปปัจจยตา มาเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราให้กลายเป็นไกวัลยธรรม อันมีภาวะที่กว้างขวางไม่มีขอบเขตจำกัดในการนี้ จำเป็นจะต้องมีความแจ่มแจ้งต่อกฎของอิทัปปัจจยตาอยู่เป็นประจำ กำหนดรู้สิ่งทั้งปวงในฐานะที่มีการเกิด-ดับ ไปตามเหตุตามปัจจัย ตามกฎเกณฑ์ที่ว่า :-

เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
เพราะการเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะการดับลงแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับลง. (๑๗๕)

กฎเกณฑ์อันนี้ แสดงว่า จะใช้ให้เกิดทุกข์ก็ได้ หรือจะใช้ให้ดับทุกข์ก็ได้ นั่นคือ ทั้งความทุกข์และความดับทุกข์ เป็นพระเจ้าองค์เดียวกัน คือเป็นกฎอันเดียวกัน เพราะเหตุว่า จักพบความดับทุกข์ได้ที่ความทุกข์ ถ้าไม่รู้จักทุกข์ จะดับทุกข์ได้อย่างไร. (๑๗๖)

อิทัปปัจจยตา ที่ยังผลให้เกิดเป็นความทุกข์

มาพิจารณาดูกันที่วัตถุล้วนๆ การที่จะแสวงหามาได้ ก็ย่อมอาศัยกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตา แต่วัตถุนั้นๆ ยังมิใช่คำตอบที่ว่า เป็นสิ่งให้ความสุขที่แท้จริง เพราะคนที่มีวัตถุมีทรัพย์สมบัติมาก ก็ยังมีความทุกข์อยู่. (๑๗๗)

แม้ว่ามนุษย์จะออกไปนอกโลก ไปถึงดวงจันทร์แล้วก็ตาม ชาวโลกก็ยังมีความทุกข์อยู่ เป็นการสร้างความหวาดระแวงกันให้เกิดขึ้น หมายความว่า ยังมิใช่เครื่องประกันแห่งสันติภาพของโลก แม้จะไปถึงโลกไหนก็ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน. (๑๗๘)

มาดูที่ร่างกาย คือวัตถุที่มีชีวิต เวลานี้หยูกยาดีขึ้น ทำให้คนตายน้อยลง ทำให้เกิดความทุกข์ว่าคนจะล้นโลก จึงต้องมีการคุมกำเนิดกัน แม้จะมีการอนามัยดี มนุษย์ชนะโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น แต่ชีวิตก็ยังไม่พบสันติสุขที่แท้จริง ยังผลให้มีการทำลายสันติภาพของโลก. (๑๗๙)

มาดูให้ลึกลงไปถึงจิตใจ อันหมายถึงการได้รับการศึกษาเล่าเรียน มีความรู้อย่างกว้างขวาง มีความเฉลียวฉลาดในการประกอบอาชีพ แต่แล้วเป็นการสร้างความเห็นแก่ตัวให้ทวีขึ้นด้วย มีการชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบกัน จนเกิดเป็นสงครามมหาสงคราม มีอันธพาลเต็มโลก ฆ่ากันได้ทีหนึ่งเป็นแสนเป็นล้าน นี่คือความสามารถของผู้ที่สำคัญตนว่าเป็นผู้ฉลาด. (๑๘๐)

การที่มีการรบราฆ่าฟันกัน ก็เพราะจิตถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางให้เกิดความลุ่มหลงในกิเลสตัณหา ชอบความสนุกสนานเอร็ดอร่อยทางเนื้อทางหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อันเป็นเรื่องของกามารมณ์ เป็นเหตุให้คนในโลกเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนทำลายล้างแก่กัน. (๑๘๑)

เหล่านี้คือ "อิทัปปัจจยตา" ที่ยังผลให้เกิดความทุกข์ เป็นการเบียดเบียนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น. (๑๘๒)

อิทัปปัจจยตา เป็นไปเพื่อผลเป็นความพ้นทุกข์

ความพ้นทุกข์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากความทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ตามเป็นจริง ย่อมมีการแสวงหาความดับทุกข์ อันเป็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาในทางตรงกันข้าม ความทุกข์ความเลวร้ายของมนุษย์มาจากความประสงค์ของพระเจ้า เพื่อเป็นการกระตุ้นมนุษย์ให้ดิ้นรนเพื่อหลุดพ้นจากโลกแห่งความทุกข์เข้าสู่โลกแห่งความดับทุกข์ ด้วยการกลับไปอยู่ร่วมกับพระเจ้า. (๑๘๓)

ข้อนี้เป็นการแสดงว่า ใช้พระกรณียกิจของพระเจ้านั่นเอง เพื่อเปิดทางไปสู่อาณาจักรแห่งพระเป็นเจ้า อย่างนี้เรียกว่า ใช้พระเจ้าเปลี่ยนแปลงพระเจ้า เพราะพระเจ้ามีความหมายกว้างจนเป็นอะไรได้ทุกอย่าง ตรงกับความหมายของ "ไกวัลยธรรม". (๑๘๔)

ความหมายของไกวัลยธรรม หรือพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตานั้น มิได้กำหนดถึงลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่ ดังที่มนุษย์บัญญัติขึ้น คือไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีบุญไม่มีบาป ไม่มีผิดไม่มีถูก มีแต่อาการที่สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นและดับไป ตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ดังเช่นที่แสดงว่า เมื่อมีการทำอย่างนี้ แล้วอย่างนี้ก็เกิดขึ้น ถ้าไม่มีอย่างนี้ อย่างนี้ก็ไม่มี ถ้าอย่างนี้ดับลง อย่างนี้ก็ดับด้วย ดังนี้ มันเป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีตัวผู้กระทำ และไม่มีตัวผู้ถูกกระทำ. (๑๘๕)

เมื่อเอาความหมายอย่างนี้ จะทำให้เห็นว่า ปรากฎการณ์ทั้งหมดของจักรวาลอันไม่มีขอบเขตก็จะเต็มอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แต่อาการที่ปรากฎเป็นลักษณะของความเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ต้องปรากฎขึ้นก่อน เมื่อรู้จักความเปลี่ยนแปลงตามเป็นจริงแล้วปล่อยวางได้ ก็จะพบความไม่เปลี่ยนแปลงในที่เดียวกัน อันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตอย่างเดียวกัน นี่เป็นลักษณะของความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง. (๑๘๖)

ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงถึง "อิทัปปัจจยตา" ที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ด้วยการเข้าถึงสภาวะแห่งความไม่เปลี่ยนแปลง อันไม่มีขอบเขตจำกัด ตามความหมายของ "ไกวัลยธรรม". (๑๘๗)

อำนาจของอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิดปฏิกิริยา

สภาวะเดิมแท้ของสิ่งทั้งปวง คือ "ความว่าง" หมายความว่า จุดเริ่มต้นทีแรกไม่มีอะไรเลย แม้สภาวะของความไม่มีอะไร ก็เรียกว่า "อิทัปปัจจยตา" ด้วยอำนาจการกระทำของกฎอิทัปปัจจยตา จึงทำให้เกิดสิ่งทั้งหลายขึ้น ถ้าจะกล่าวโดยบุคคลาธิษฐาน ก็อาจกล่าวได้ว่า แต่เดิมไม่มีอะไร พระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวงขึ้น. (๑๘๘)

อาศัยการกระทำของกฎแห่งอิทัปปัจจยตา เรียก "กิริยาของกฎ" กระทำลงที่ปรากฎการณ์ของเวลาและสถานที่ (time-space) ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิกิริยา" ขึ้น ฉะนั้น ความจริงของสิ่งทั้งปวงจึงไม่มีอะไรมากไปกว่า "กิริยา กับ ปฏิกิริยา" เท่านั้น นี่คือลักษณะของจิตที่กลับคืนสู่สภาวะเดิมแท้ ได้อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกันกับพระเจ้า ในดินแดนแห่งพระเจ้า. (๑๘๙)

กฎอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิดธาตุต่างๆ

การทำให้เกิดธาตุก็มีหลักอันเดียวกันกับที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานั่นคือ เริ่มต้นจาก อสังขตะธาตุ หรือสุญญธาตุ คือธาตุแห่งความว่างอันมีมาก่อนสิ่งใด โดยอาศัยกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ธาตุทั้งหลายจึงถูกสร้างขึ้น จำแนกเป็นรูปธาตุ อรูปธาตุ และนิโรธธาตุ. (๑๙๐)

อาศัยธาตุต่างๆ เหล่านี้ ต่อมาทำให้เกิด "โลกธาตุ" ขึ้น หลายๆ โลกธาตุที่รวมกลุ่มกันเรียก สุริยจักรวาล ทีแรกโลกทั้งหลายแยกมาจากดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนแปลงเรื่อยไม่หยุดยั้ง ไปตามกฎอิทัปปัจจยตา จนทำให้เกิดชีวิตเป็นพืช เป็นสัตว์ขึ้นมา จนกระทั่งวาระสุดท้าย โลกทั้งหลายก็จะกลับไปรวมกับดวงอาทิตย์ตามเดิมอีก กฎของความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นไปในลักษณะของการเกิด-ดับ ด้วยอาการอย่างนี้. (๑๙๑)

โดยเหตุนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า กฎอิทัปปัจจยตาทำให้เกิดธาตุต่างๆ ขึ้น และในที่สุดก็จะทำให้ธาตุต่างๆ เหล่านั้นดับไป กลับคืนสู่สภาวะเดิม. (๑๙๒)

อิทัปปัจจยตา กับการวิวัฒนาการ

มองให้แคบเข้ามาดูการวิวัฒนาการของชีวิต ในโลกนี้เริ่มแรกมีแต่น้ำ ต่อมาเกิดสภาพชีวิตขึ้นมาเป็นพืช เป็นสัตว์ และเป็นคนในที่สุด เมื่อเกิดมนุษย์ขึ้นมาแล้ว ก็เกิดวิวัฒนาการทางจิต ทำให้เกิดกฎหมาย เกิดระเบียบวินัย เกิดวัฒนธรรม เกิดศาสนา จนกระทั่งเกิดการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล นิพพาน ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจของพระเจ้าแห่งกฎอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น. (๑๙๓)

มองให้เล็กลงมาที่ตัวคนจะพบว่า เมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การวิวัฒนาการในทางสมอง หรือ ความคิดย่อมมีการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย ชนิดที่เรียกว่า ล้นโลกอยู่ในเวลานี้ ก็สำเร็จมาจากพระเจ้าแห่งกฎอิทัปปัจจยตาเช่นเดียวกัน. (๑๙๔)

การวิวัฒนาการในทางวัตถุย่อมสำเร็จมาจากอวิชชา มาจากกิเลสตัณหา อันจักนำไปสู่ความทุกข์ความเดือดร้อนโดยส่วนเดียว เมื่อมีความรู้อย่างนี้ การวิวัฒนาการไปในทางตรงกันข้าม คือวิวัฒนาการทางจิต อันเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ ย่อมเกิดความโชติช่วงขึ้นในความต้องการ นั่นคือการดิ้นรนเพื่อกลับคืนสู่สวรรค์อันเป็นสภาวเดิมแท้ของพระเจ้า ซึ่งหมายถึงความไม่มีอะไร และเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ก่อนสิ่งใด. (๑๙๕)

ใช้อำนาจอิทัปปัจจยตาฝ่ายดับทุกข์แก้ปัญหา

เมื่อรู้ตัวปัญหาก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการแก้ปัญหา เพราะตัวปัญหากับการแก้ปัญหาเป็นอันเดียวกัน คืออิทัปปัจจยตา ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "หนามยอกเอาหนามบ่ง" คือใช้พระเจ้าสร้างพระเจ้า สิ่งที่จำเป็นที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท เมื่ออายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ทำให้เกิดการปรุงแต่งเป็นกิเลสขึ้น ตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ถ้ามีการยึดถือจะเป็นทุกข์ แต่ถ้ารับอารมณ์ด้วยปัญญาจะทำให้ปล่อยวางความยึดถือแล้วความทุกข์ก็จะดับลงในที่เดียวกัน. (๑๙๖)

เช่นเมื่อตาเห็นรูป ถ้ามีการเห็นด้วยความเข้าใจผิดว่า "มีรูป" กิเลสย่อมเกิด แต่ถ้าเห็นด้วยปัญญาด้วยสัมมาทิฎฐิว่า "รูปไม่มี" กิเลสก็ย่อมดับลงตรงนั้น "ความเห็นผิดเป็นหนามยอก ความเห็นถูกเป็นหนามบ่ง" นั่นคือ "หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง" นี่เป็นหลักการของพระเจ้าแห่งอิทัปปัจจยตา. (๑๙๗)

การรู้ทันกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาย่อมดับทุกข์ได้

วิธีบ่งหนามให้สำเร็จก็ต้องกำหนดรู้ว่า มันถูกยอกอยู่ตรงไหน คำตอบคือ การเสวยอารมณ์ด้วยความเห็นผิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ เรียกว่าถูกหนามยอก ที่เป็นทุกข์เพราะเกิดกิเลส. (๑๙๘)

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูปโดยอาศัยจักขุวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้เรียกผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดเวทนา กิเลสเกิดตรงที่เกิดเวทนานี่เอง คือเวทนามี ๓ ได้แก่ สุข ทุกข์ เฉยๆ เมื่อเกิดความสุขความพอใจในอารมณ์ ย่อมสร้างความโลภให้เกิดขึ้น เกิดความทุกข์ความไม่พอใจสร้างความโกรธ เกิดความรู้สึกเฉยๆ สร้างความหลง นี่แสดงว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนา นี่คือลักษณะของการถูกหนามยอก แล้วความเจ็บปวดเป็นความทุกข์ย่อมตามมา. (๑๙๙)

เป็นการทำให้มองเห็นความจริงแล้วว่า วงจรของความทุกข์เริ่มต้นจากความเห็นผิด เมื่อเห็นผิดทำให้เกิดกิเลส เมื่อเกิดกิเลสย่อมเกิดทุกข์ ฉะนั้น ในการดับทุกข์จักสำเร็จได้ด้วยการเปลี่ยนความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) ให้เป็นความเห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ) เมื่อเห็นถูกกิเลสดับ ความทุกข์ดับ. (๒๐๐)

ตามความเป็นจริง "รูปไม่มี" เมื่อเห็นผิดว่า "มีรูป" กิเลสเกิด เมื่อเห็นถูกตามเป็นจริงว่า "รูปไม่มี" กิเลสดับ ความทุกข์ก็ดับ กระแสแห่งการดับทุกข์ตามกฎของอิทัปปัจจยตา ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (๒๐๑)

ฝ่ายฆราวาสและบรรพชิตย่อมมีความต้องการตรงกันอยู่ที่การเอาชนะกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง จึงจะได้นามว่า เป็นผู้ดำเนินตามหลักพุทธศาสนา อันจักนำไปสู่นิพพาน ตามกฎเกณฑ์ของอิทัปปัจจยตาในส่วนโลกุตตระ. (๒๐๒)

นี่แสดงว่า ทุกคนย่อมมีหน้าที่พึงเกี่ยวข้องกับพระเจ้าแห่งความดับทุกข์ ฉะนั้น ต้องตั้งใจแน่วแน่ ซื่อตรงต่อพระเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า "เราจักทำความดับทุกข์ให้ปรากฎจนได้". (๒๐๓)

ไกวัลยธรรม คือพระเจ้าควบคุมทุกสิ่งตามกฎแห่งกรรม

เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งอยู่เสมอว่า ไกวัลยธรรมเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกๆ เซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต และทุกๆ อณูของสิ่งที่ไม่มีชีวิต ทั้งปรากฎอยู่ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งอยู่ในฐานะเป็นกฎของอิทัปปัจจยตา ทั้งในรูปของกิริยา และปฏิกริยา อันมีความหมายตรงกับสิ่งที่เรียกว่า "กฎแห่งกรรม" อันเป็นไปทั้งฝ่ายโลกิยะ และโลกุตตระ. (๒๐๔)






คัดจาก หนังสือ ไกวัลยธรรม พุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ, ย่อโดย ภิกขุ ฉ.ช.วิมุตตยานันทะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไกวัลยธรรม คำกลอน
พุทธภาวะ จะแจ่มแจ้ง แห่งจิตตน

ผู้ฝึกฝน คืนอามิส คิดส่งเสริม

นิรามิส สุขจริง หมดสิ่งเติม

มิต้องเพิ่ม มีเต็ม ตลอดกาล

ไม่จำกัด ด้วยกาล สถานที่

เป็นสิ่งมี ในทุกคน พ้นคำขาน

ถอนสมมติ บัญญัติ ตัดนิพพาน

เมื่อไม่เอา เนาว์ผ่าน สู่ไกวัลย์

น่ายินดี มีพุทธะ อยู่ในตน

อันเป็นผล สุดท้าย ได้สุขสันติ์

เป็นจุดหมาย ทุกศาสนา กล้าจาบัล

เรียกสวรรค์ พระศาสดา ว่าจงไป

คำว่าไป ในที่นี้ มีย้อนจิต

ดูชีวิต เห็นตามกฏ หมดสงสัย

จึงกล่าวว่า ถึงได้ ไม่ต้องไป

เพียงทำใจ ให้สว่าง ทางเปิดเอง

เปรียบความมืด ย่อมสิ้นไป เมื่อไฟเกิด

อย่าเตลิด เที่ยววิ่งหา คว้าโหรงเหรง

พุทธธรรม สำคัญ อย่าหวั่นเกรง

จักพบได้ ในตนเอง ทุกคนไป.

-ชุติวัณณ์-

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าของกระทู้ คงได้คำตอบแล้วนะครับ

ว่าถ้าในตามแบบทิฏฐิของท่านพุทธทาส ก็ดูได้จากศิษย์เอกของท่าน


-----------------------------------------

อนึ่ง ท่านพุทธทาส กล่าวหาพระธรรม อันสูงสุดนี้ว่า ในศาสนาอื่นก็มีอยู่ก่อนแล้ว แปลว่า เย็น,เชื่อง

ฉะนั้น สัตว์เดรัจฉาน ที่นำมาฝึกให้เชื่อง ก็ถือว่า นิพพาน ดังทิฏฐิของท่าน

http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html

สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน

แบบนี้ มีศัพท์วัยรุ่น ที่พูดว่า ชิว ๆ (รากศัพท์น่าจะมาจาก chill แปลว่า สบาย ๆ เย็น) ก็คงจะตรงตามความหมายของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes

คราใดที่คุณ mes สงบสติอารมณ์ ใจเย็น สบาย ๆ แบบเบริด ๆ นั้นก็สัมผัส สภาวะที่ว่าแล้ว

แต่ สภาวะจิตตอนที่พิมพ์ข้อความนี้ คงจะร้อนระอุน่าดู

เหลิม ขอเตือนอย่าก่อกวน

จะน้ำเน่าไปที่อื่น เวปนี้ชักหมดควมอดทนแล้ว

มันชักจะมากไปแล้ว

aminไม่รู้ลึกอะไรเลยหรือ หรือตายด้านกันหมด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสนุกๆจากหลวงพ่อชา

ความคิดเห็นที่ 15 : (คนหาแก่นธรรม)
พูดถึงหลวงพ่อชาเลยนึกขึ้นได้เรื่องหนึ่งครับ

ผมสังเกตเห็นพระวัดหนองป่าพงของหลวงพ่อชา
กับพระวัดสวนโมกข์ของหลวงพ่อพุทธทาสไปมาหาสู่สนิทสนมกันดีมากเหมือนเป็นสำนักเดียวกัน
ดูๆไปท่านจะสนมกันมากกว่าพระสายพระอาจารย์มั่นเสียอีกด้วยซ้ำไปครับ
เลยไปถามหลวงพ่ออิสระมุนี (อดีตพระเลขาหลวงพ่อชา)
ถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสองสำนักนี้

ท่านเล่าให้ฟังว่า เดิมทีเดียวมีคนนำเทปธรรมะหลวงพ่อพุทธทาสเรื่อง "สุญญตาปริทัศน์"
มาให้หลวงพ่อชาฟัง (ตอนนั้นหลวงพ่อชาท่านอายุมากพอสมควรจนเป็นอาจารย์ใหญ่แล้ว)
ท่านฟังแล้วชอบอกชอบใจมาก รับรองว่านี่แหละธรรมะที่ถูกต้อง
แล้วท่านก็ชอบฟังทุกๆคืนก่อนนอน ท่านชมว่าหลวงพ่อพุทธทาสเทศน์ได้ไพเราะจับใจน้ำเสียงสงบถึงใจดีนัก
หลวงพ่ออิสระมุนีถึงกับต้องเตรียมเทปให้ท่านฟังตอนกลางคืนแทบทุกคืนเพราะท่านชอบมากๆ
ด้วยกิตติศัพท์นี้จึงทำให้พระหนองป่าพงหลายรูปเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อพุทธทาสถึงสวนโมกข์
และนับแต่นั้นมาศิษย์สองสำนักนี้ก็สนิทสนมกันจนแทบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ส่วนหลวงพ่อพุทธทาสก็นิยมชมชื่นในธรรมะของหลวงพ่อชาไม่แพ้กันทีเดียว
วันหนึ่งท่านอาจารย์สุเมโธ (พระฝรั่ง) ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนสวนโมกข์
เห็นพระที่นั่นทำตัวสบายๆไม่เคร่งครัด
จึงนึกดูถูกอยู่กลายๆว่าคงสู้สำนักหนองป่าพงไม่ได้

พอสบโอกาสจึงถามหลวงพ่อพุทธทาสว่าทำไมไม่กวดขันเรื่องวินัย?
ท่านอาจารย์พุทธทาสนิ่งเฉยไปครู่ใหญ่ ส่ายหน้าช้าๆแล้วตอบเนิบนาบว่า
"เรื่องวินัย มันเป็นเรื่องของเด็กๆ " แล้วนิ่งเสีย

ท่านอาจารย์สุเมโธ ไม่ชอบใจเลย หงุดหงิดกับคำตอบท่านมากๆ
หลังจากนั้นก็กลับหนองป่าพง ต่อมาไม่นาน
หลวงพ่อชาให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าแห่งหนึ่ง(เข้าใจว่าวัดป่านานาชาติ)
ท่านต้องรับภาระปกครองพระภิกษุมากมาย ท่านก็กวดขันวินัยเคร่งครัดมากๆ

อยู่มาวันหนึ่งท่านเทศน์ในที่ประชุมสงฆ์ว่าการขบฉันของพระต้องสำรวม
ไม่ให้มีเสียงดัง ต้องเรียบร้อย เทศน์จบรุ่งเช้าพอถึงเวลาฉัน
มีพระฝรั่งเกเรรูปหนึ่งคงอยากลองดี
เลยฉันอาหารต่อหน้าญาติโยมเสียงดังมาก สูดปาก ซูดๆ ดูดนิ้วด้วย
เคี้ยวดัง จับๆ แบบว่าเอาเต็มที่เลย

ท่านอาจารย์สุเมโธโมโหมาก แต่จะทำอะไรก็ไม่ได้ ญาติโยมเต็มศาลา
ก็ได้แต่อดใจข่ม ทันใดนั้นเลยนึกถึงคำหลวงพ่อพุทธทาส ....
"อ๋อ นี่มันเด็ก
ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้อะไรดี อะไรไม่ดี
ธรรมวินัยเขาเอาไว้ใช้กับพวกเด็กๆคงเป็นอย่างนี้เอง"
ท่านซาโตริขึ้นมาทันที เลยหายโกรธ สบายใจได้

นับแต่นั้นมาท่านเลิกดูถูกภูมิปัญญาหลวงพ่อพุทธทาสไปเลยครับ

ทุกวันนี้ไปสวนโมกข์ หรือวัดชลประทาน ก็จะเห็นหนังสือธรรมะของหลวงพ่อชา
วางจำหน่ายปนๆกับธรรมะของหลวงพ่อพุทธทาสและหลวงพ่อปัญญาครับ

ครับ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยฟังมาจากหลวงพ่ออิสระมุนีอีกทีครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 28 ส.ค. 2010, 09:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีสำนักอภิธรรมในอดีต

เหมือนกับกรณีธรรมกายในปัจจุบัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
เจ้าของกระทู้ คงได้คำตอบแล้วนะครับ

ว่าถ้าในตามแบบทิฏฐิของท่านพุทธทาส ก็ดูได้จากศิษย์เอกของท่าน


-----------------------------------------

อนึ่ง ท่านพุทธทาส กล่าวหาพระธรรม อันสูงสุดนี้ว่า ในศาสนาอื่นก็มีอยู่ก่อนแล้ว แปลว่า เย็น,เชื่อง

ฉะนั้น สัตว์เดรัจฉาน ที่นำมาฝึกให้เชื่อง ก็ถือว่า นิพพาน ดังทิฏฐิของท่าน

http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html

สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน

แบบนี้ มีศัพท์วัยรุ่น ที่พูดว่า ชิว ๆ (รากศัพท์น่าจะมาจาก chill แปลว่า สบาย ๆ เย็น) ก็คงจะตรงตามความหมายของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes

คราใดที่คุณ mes สงบสติอารมณ์ ใจเย็น สบาย ๆ แบบเบริด ๆ นั้นก็สัมผัส สภาวะที่ว่าแล้ว

แต่ สภาวะจิตตอนที่พิมพ์ข้อความนี้ คงจะร้อนระอุน่าดู

เหลิม ขอเตือนอย่าก่อกวน

จะน้ำเน่าไปที่อื่น เวปนี้ชักหมดควมอดทนแล้ว

มันชักจะมากไปแล้ว

aminไม่รู้ลึกอะไรเลยหรือ หรือตายด้านกันหมด



พอหมดท่าเข้าก็ออกอาการเอ่อมาปัจจุบันทันด่วน

เก่งแต่ตั้งข้อกล่างหา

แม้แตลายเซ็นก็ตอสตอเบอรี๋

เปิดเข้าไปดูเถอะ

เจโตวิมุติน้อยกว่าปัญญาวิมุติ

โกหกเห็นๆ บิดพระไตรปิฎกเห็นๆทำอย่างกับตนเองคนเดียวที่อ่านพระไตรปิฎกออก

คนนอกศาสนาพุทธก็ไม่กล้วศีลกล้ววิบากอย่างนี้แหละ

เพื่อความสะใจทำได้ทุกอย่างโกหกได้ทุกเรื่อง

ถูกจับได้ก็ยังหน้าด้าน

ขอโทษผมดัดจริตไม่เป็น



.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน

แบบนี้ มีศัพท์วัยรุ่น ที่พูดว่า ชิว ๆ (รากศัพท์น่าจะมาจาก chill แปลว่า สบาย ๆ เย็น) ก็คงจะตรงตามความหมายของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes

คราใดที่คุณ mes สงบสติอารมณ์ ใจเย็น สบาย ๆ แบบเบริด ๆ นั้นก็สัมผัส สภาวะที่ว่าแล้ว

แต่ สภาวะจิตตอนที่พิมพ์ข้อความนี้ คงจะร้อนระอุน่าดู


ใช่ร้อนระอุมาก

แต่คิดถึงท่านพุทธทาสขึ้นมาว่า

เขามีความเลวบ้างก็ช่างเขาใจจึงเย็นลง ทนดูพวกนอกศาสนาพุทธใส่ร้ายพระสงฆ์ต่อ

พวกลัทธิอภิทำที่มหาเถระสมาคมประกาศเป็นลัทธิเถือนมันมีศิษย์ชื่อเหลิมมาทำลายพระพุทธศาสนาอยู่

เย็นไม่ไหว


เรื่องสัตว์ที่ท่านพุทธทาสยกมาสาธกมนุษย์จึงอ่านเข้าใจ

อย่างเหลิมเป็นพวกเดียวกันแถมยังไม่เชื่อง

หมดสิทธิเข้าใจ




ธรรมดาเมื่อเกิดวิวาทะจะมีคนออกมาห้าม

ตั้งแต่ผมด่าเหลิมมารศาสนาคนนี้มีแต่เสียงปรบมือ

ขอบคุณทุกกำลังใจครับ

ผมจะด่ามันต่อไป

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นศิษย์เอกบุญมี แนบ เข้ามาพอดี

ศิษย์อภิทำสำนักเถื่อน

อยู่ลานกรรมคนก็ด่า

มาลานธรรมจักร์คนก็แช่ง

พวกน้ำเน่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยว่า เราจะสรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมสรรเสริญความเจริญ ไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา(ความเชื่อ) ศีล(ความเป็นปกติทางกาย วาจา) สุตะ(ความสดับตรับฟัง) จาคะ(ความสละ) ปัญญา(ความรู้) ปฏิภาณ(ความไหวพริบ) ธรรมเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทังหลาย อย่างนี้แล คือความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่เสื่อมไป ย่อมไม่เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนันว่าเป็นความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อมเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อมไป. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่หยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม."

ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๑

๗๗. ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนัน พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในกระจก อันบริสุทธิ์ผ่องใสหรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็ย่อมพยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว. ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยเหตุนี้แล ว่าเป็นลาภของเราหนอ เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอดังนี้ ฉันใด.

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
๑. เรามีอภิชฌา(ความโลภ) หรือไม่มีอภิชฌา(ความโลภ) อยู่โดยมากหนอ
๒. เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) หรือไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมากหนอ
๓. เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึงรัด หรือปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมากหนอ
๔. เราฟุ้งสร้าน หรือไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมากหนอ
๕. เรามีความลังเลสงสัย หรือข้ามพ้นความลังเลสงสัย อยู่โดยมากหนอ
๖. เรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธ อยู่โดยมากหนอ
๗. เรามีจิตเศร้าหมอง หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมากหนอ
๘. เรามีกายกระสับกระส่าย หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย อยู่โดยมากหนอ
๙. เราเกียจคร้าน หรือปรารภความเพียร อยู่โดยมากหนอ
๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่น อยู่โดยมากหนอ

"ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
๑. เรามีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
๒. เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) อยู่โดยมาก
๓. เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึกรัด อยู่โดยมาก
๔. เราฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
๕. เรามีความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
๖. เรามีความโกรธ อยู่โดยมาก
๗. เรามีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
๘. เรามีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
๙. เราเกียจคร้าน อยู่โดยมาก
๑๐. เรามีจิตไม่ตั้งมั่น อยู่โดยมาก" ดังนี้
ภิกษุนั้นก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะ อันมีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นเสีย เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้า หรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
"๑. เราไม่มีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
๒. เราไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมาก
๓. เราปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมาก
๔. เราไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
๕. เราข้ามพ้นความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
๖. เราไม่มีความโกรธ อยู่โดยมาก
๗. เราไม่มีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
๘. เราไม่มีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
๙. เราปรารภความเพียร อยู่โดยมาก
๑๐. เรามีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก" ดังนี้
ภิกษุนั้นก็ควรทำความเพียร เพื่อดำรงอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๒-๑๐๔

๗๘. ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในเงากระจกอันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็พยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนา ด้วยเหตุนั้นแล ว่าเป็นลาภของเราหนอ. เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอ ดังนี้ ฉันใด."

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย

๑. เราได้เจโตสมถะ (ความสงบแห่งจิต) ในภายใน หรือไม่ได้หนอ?

๒. เราได้อธิปัญญา(ปัญญาอันยิ่ง) อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ หรือไม่ได้หนอ?"

"ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน และเพื่ออธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ." ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และย่อมได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่อธิปัญญา อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรม" ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะอันมีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น. เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้าหรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น. ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๔-๑๐๖

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

"พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร๑ สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้"

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด"

เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหากแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดไม้เสีย ตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า ก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้, เปลือก, สะเก็ด, กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย"

"มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จพึงถูกหาว่า ไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน"

"อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย"

"ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึง๒ตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์๓ ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้นไม่มีใครรู้จักเป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม"

"ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วย ลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น กะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้นเพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้น ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทา ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้เห็น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสียถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน๔ (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น"

"ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ"

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.

จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔

สรุปความ

๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้

๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้

๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้

๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้

๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้



--------------------------------------------------------------------------------
๑. พราหมณ์ปิงคลโกจฉะถามถึงครูทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าลัทธิมีชื่อเสียงในครั้งนั้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงวิพากษ์วิจารณ์ จึงทรงแสดงธรรมให้ฟังตามที่ทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กว่าการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น
๒. คำว่า เข้าถึงตัว แปลจากคำว่า โอติณฺโณ ซึ่งโดยพยัญชนะ แปลว่า ก้าวลง
๓. คำว่า การทำที่สุดแห่งทุกข์ เป็นสำนวนบาลี หมายถึงกำจัดทุกข์ได้หมด สำนวนบาลีนี้พอดีตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า to put an end to suffering
๔. ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่า เข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียดของแต่ฌานมีแล้วในที่อื่น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๗. ยังพูดปดทั้ง ๆ ที่รู้ จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลยังไม่ละธรรมข้อหนึ่ง คือการพูดปดทั้ง ๆ รู้ เราย่อมไม่กล่าวว่า มีบาปกรรมอะไรบ้างที่ผู้นั้นจะทำไม่ได้."

อิติวุตตก ๒๕/๒๔๓

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑๕๐. นรกที่ตา หู เป็นต้น "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. นรกอันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว ในนรกนั้น บุคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าใคร ไม่เห็นรูปที่น่าใคร, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ."

"เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้ม ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ."


๑๕๑. สวรรค์ที่ตา หู เป็นต้น "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. สวรรค์อันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว. ในสวรรค์นั้น บุคคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา. เห็นแต่รูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่. เห็นแต่รูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ."

"เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ."

๑๘/๑๕๘



--------------------------------------------------------------------------------
๑. เขฬมลฺลก
๒. ข้อความต่อจากนี้ กล่าวถึงสิ่งที่คู่กันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องได้ สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ทั้งอดีต อนาคต ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
๓. จักขุวิญญาณ
๔. มโนวิญญาณ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก


๑๕๒. เวียนว่ายตายเกิด
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเสมือนท่อนไม้ที่โยนขึ้นไปในอากาศ บางครั้งก็ตกลงทางโคน บางครั้งก็ตกลงทางกลาง บางครั้งก็ตกลงทางปลาย. สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกมัด วิ่งไป ท่องเที่ยวไปอยู่ บางครั้งก็ไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ บางครั้งก็มาสู่โลกนี้จากโลกอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) นี้ มีที่สุดอันตามไปไม่พบ ไม่ปรากฏเงื่อนเบื้องต้น เบื้องปลาย ของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกมัด วิ่งไป ท่องเที่ยวไปอยู่. ควรเพื่อจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในสังขารทั้งปวง ควรที่จะพ้นไปเสีย."

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๑๖/๒๑๙


๑๕๓. อะไรยาวนานสำหรับใคร "ราตรีของผู้ที่ตื่น ยาวนาน. โยชน์ของผู้เมื่อยล้า ยาว, สงสาร (การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด) ของคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม ยาว."


๑๕๔. ความเป็นสหายในคนพาลไม่มี "ถ้าเที่ยวไป ไม่พบคนที่ดีกว่าตน หรือเสมอตน ก็ควรบำเพ็ญความเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวให้มั่น เพราะความเป็นสหายในคนพาลไม่มี."


๑๕๕. ของเราแน่หรือ ? "คนเขลาย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ก็ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน ?"


๑๕๖. พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง "คนพาลรู้จักความเป็นพาลของตน ก็เป็นบัณฑิตได้บ้าง เพราเหตุนั้น, แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต เรากล่าวว่าเป็นพาลแท้."


๑๕๗. ทัพพีไม่รู้รสแกง "ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตจนตลอดชีวิต แต่ไม่รู้แจ้งซึ่งธรรม คนพาลนั้น ก็เหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกงฉะนั้น."


๑๕๘. ลิ้นรู้รสแกง "ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว แต่รู้แจ้งซึ่งธรรมได้โดยพลัน วิญญูชนนั้นก็เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น."


๑๕๙. มีตนเป็นอมิตร "คนพาลย่อมเที่ยวไป กับตนที่เป็นอมิตรนั่นแหละ ทำบาปกรรมอันมีผลเป็นที่เดือดร้อน."

ธรรมบท ๒๕/๒๓


๑๖๐. สะอาดด้วยน้ำ หรือ ด้วยความประพฤติ ? สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา สมัยนั้น ชฏิล (นักบวชเกล้าผมเป็นเซิง) มากหลาย ดำผุดบ้าง ดำหัวบ้าง เอามือกวักน้ำรดตนเองบ้าง ในแม่น้ำคยา บูชาไฟบ้าง ในสมัยที่มีหิมะตกระหว่างราตรีฤดูหนาว อันเย็นเยียบ ด้วยคิดว่า ความบริสุทธิ์จะมีได้ด้วยวิธีการนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชฏิลเหล่านั้นทำอาการอย่างนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

"ความบริสุทธิ์เพราะน้ำในแม่น้ำที่คนเป็นอันมากอาบนั้น ย่อมไม่มี ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรมะ ผู้นั้นเป็นผู้สะอาด เป็นพราหมณ์."

อุทาน ๒๕/๘๐


๑๖๑. อยู่ในอำนาจของคนอื่นเป็นทุกข์ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดา๑ ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมารดา มีธุระบางอย่างเกี่ยวข้องในพระเจ้าปเสนทิโกศล. พระราชามิได้ทรงพิจารณาเรื่องนั้นตามความต้องการ (อรรถกถากล่าวว่า นางวิสาขาไปเฝ้า แต่ไม่พบ หลายครั้ง). นางวิสาขาจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า "ดูก่อนวิสาขา เธอไปไหนมาแต่ยังวันทีเดียว." นางวิสาขาจึงกราบทูลเรื่องนันให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

"การอยู่ในอำนาจของคนอื่น ทุกอย่าง เป็นทุกข์, การเป็นอิสสระ ทุกอย่าง เป็นสุข. คนทั้งหลายย่อมเดือดร้อนในเรื่องทุกข์สุขทั่วไป เพราะว่ากิเลสเครื่องมัดสัตว์ เป็นของก้าวล่วงได้ยาก."

อุทาน ๒๕/๙๘


๑๖๒. สิ้นหลงย่อมไม่หวั่นไหว สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชนวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ท่านพระสาริบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นพระสาริบุตรเช่นนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

"ภูเขาศิลา ไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีฉันใด เพราะสิ้นความหลง ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหว ดุจภูเขาฉะนั้น."

อุทาน ๒๕/๑๑๒


๑๖๓. ไม่โศกในท่ามกลางแห่งความโศก สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต. ขณะนั้นท่านพระอุปเสนะ วังคันตบุตร ผู้ไปสู่ที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า "เป็นลาภของเรา, เราได้ดีหนอ. พระศาสดาของเรา เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และเราก็ได้ออกจากเรือน บวชไม่มีเรือนในพระธรรมวินัยที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ของเราเล่า ก็มีศีล มีกัลยาณธรรม และทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ตัวเราก็มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เราจะอยู่จะตาย ก็นับว่าเจริญ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอุปเสนะ วังคันตบุตรแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

"ผู้ใดจะเป็นอยู่ก็ไม่เดือดร้อน จะตายก็ไม่เศร้าโศก๒ ผู้นั้นเป็นผู้เห็นบท (แห่งธรรม) ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งความโศก. ภิกษุผู้ถอนความทะยานอยากในความมีความเป็นได้ มีจิตสงบ สิ้นการเวียนว่ายในชาติ (ความเกิด) ความเกิดอีกของเธอย่อมไม่มี."

อุทาน ๒๕/๑๔๒


๑๖๔. อกเขา อกเรา สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสู่ชั้นบนปราสาทอันประเสริฐกับพระนางมัลลิกาเทวี. พระองค์ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า "ดูก่อนมัลลิกา ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอเองมีหรือไม่ ?" พระนางมัลลิกากราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราช ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี ก็ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์เองมีหรือไม่ ?" พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า "ดูก่อนมัลลิกา ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตัวของเราเองไม่มี."

ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงปราสาท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลข้อโต้ตอบของพระองค์กับพระนางมัลลิกาเทวี ให้ทรงทราบ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

""บุคคลตรวจดูด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเองในที่ไหน ๆ ตนเองเป็นที่รักยิ่งของคนทั้งหลายอย่างนี้ ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น."

อุทาน ๒๕/๑๔๕



--------------------------------------------------------------------------------
๑. คำนี้เป็นชื่อพิเศษแสดงประวัติว่า ได้เคยต่อสู้กับมิคารเศรษฐี บิดาสามี ซึ่งบีบคั้นนางต่าง ๆ และได้อาศัยความดีต่อสู้ จนบิดาสามียอมเรียกเป็นมารดา
๒. เป็นการแปลหัก ถือเอาใจความ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ

๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)๑ ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)

๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ) ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)

๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ) ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)

๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."

สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒

๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ
(๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น

๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส) ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี

๕. เป็นผู้รู้จักโลก ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม

๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น)

๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

(๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."

(๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."

(๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."

(๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."

(๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔.๒ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."

(๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือปัญญา."

๒๓/๓,๔

๑๐๒. มารย่อมข่มเหงและไม่ข่มเหงคนเช่นไร
"ผู้มักเห็นว่าสวยงาม ไม่สำรวมอินทรีย์ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มารย่อมข่มเหงผู้นั้นแหละ เหมือนลมทำลายต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงฉะนั้น."

"ผู้ไม่มักเห็นว่าสวยงาม สำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) รู้ประมาณในการบริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร มารย่อมไม่ข่มเหงผู้นั้น เหมือนลมไม่ทำลายภูเขาอันล้วนด้วยศิลาฉะนั้น."

ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๓. กาสาวพัสตร์ กับกิเลสอันเปรียบน้ำฝาด
"ผู้ใดยังไม่ปราศจากสาวะ๓ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) ปราศจากทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ (ความจริงใจ) มานุ่งห่มกาสาวพัสตร์ ผู้นั้นหาสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์ไม่"

"แต่ฝู้ใดคายกิเลสที่เปรียบเหมือนน้ำฝาดได้แล้ว ตั้งมั่นดีในศีล ประกอบด้วยทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ(ความจริงใจ) ผู้นั้นแล ย่อมสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์."

ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๔. จะบรรลุสิ่งเป็นสาระก็ด้วยเข้าใจสาระ
"ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ มีความดำริผิดเป็นทางไป ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."

"ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ มีความดำริชอบเป็นทางไป ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."

๑๐๕. ฝนรั่งรดที่เทียบด้วยราคะ๔ (ความติดใจ)
"เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่อบรมไม่ดี ราคะ(ความติดใจ) ก็รั่วรดได้ฉันนั้น."

"เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะ (ความติดใจ) ก็รั่วรดไม่ได้ฉันนั้น."

ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๖. ผู้เศร้าโศก กับ ผู้บันเทิงในปัจจุบันและอนาคต
"คนทำความชั่ว ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คือเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นการกระทำอันเศร้าหมองของตน."

"คนทำบุญ ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็บันเทิง เพราะเห็นความบริสุทธิ์แห่งการกระทำของตน."

ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๗. พูดมากไม่ทำ กับ พูดน้อยแต่ทำ
"คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้มาก แต่เป็นผู้ประมาท ไม่ทำตามถ้อยคำนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ได้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้ผู้อื่น แต่ไม่มีส่วนแห่งน้ำนมโคฉะนั้น. คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะ ได้ รู้อยู่โดยชอบ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ไม่ถือมั่นในโลกนี้ หรือโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ."

ธรรมบท ๒๕/๑๗

๑๐๘. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
"ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย, ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่ตาย ผู้ประมาทย่อมเหมือนคนตายแล้ว. บัณฑิตทราบข้อความนี้โดยพิเศษแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยินดีในธรรมที่เป็นที่เที่ยวไป (แห่งจิต) ของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท. ผู้นั้นมีความเพ่ง ทำความพียรติดต่อ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นผู้ฉลาด ย่อมได้บรรลุพระนิพพาน อันปลอดโปร่งจากโยคะ (คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในความเวียนว่ายตายเกิด)."

ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๐๙. ยศเจริญแก่คนเช่นไร
"ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น. มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."

ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๐. เกาะชนิดไหนน้ำไม่ท่วม
"ห้วงน้ำย่อมไม่ท่วมทับเกาะใด ผู้มีปัญญาพึงสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) นั้นขึ้น ด้วยคุณธรรมคือความหมั่น, ความไม่ประมาท, ความสำรวมระวัง และความรู้จักข่มใจ."

ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๑. คนพาล กับ คนมีปัญญา
"คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาทเนืองนิตย์ ส่วนผู้มีปัญญา ย่อมประกอบเนือง ๆ แต่ความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น."

ธรรมบท ๒๕/๑๘



--------------------------------------------------------------------------------
๑. ในที่ใดสอนให้มีความเชื่อ ในที่นั้นจะสอนให้มีปัญญากำกับอยู่ด้วยเสมอ ในที่นี้สอนเรื่องความเชื่อไว้เป็นข้อแรก สอนเรื่องปัญญาไว้ข้อสุดท้าย
๒. คำอธิบายฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ ที่เป็นพระพุทธภาษิต มีอย่างพิสดารในสุภสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ หน้า ๒๕๙ ซึ่งจะคัดมาแปลไว้เฉพาะเรื่องข้างหน้า
๓. เป็นการเล่นถ้อยคำ ในบาลีว่า กาสาวะ (ผ้าย้อมน้ำฝาด หรือกาสาวพัสตร์) นั้น จะควรก็เฉพาะแก่ผู้ปราศจากกสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) เท่านั้น
๔. คำว่า ราคะ ถ้าแปลว่า ความกำหนัด จะหมายความแคบเฉพาะในกามารมณ์ แต่ในความหมายที่กว้าง ความติดอกติดใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่มีลักษณะเหมือนจิตใจถูกสีย้อม ก็เป็นราคะทั้งสิ้น. ราคะมี ๓ อย่าง ติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นกามราคะ ติดใจในรูปฌาน เป็นรูปราคะ ติดใจในอรูปฌาน เป็นอรูปราคะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร