วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 20:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแจมด้วยคนครับ นิมิตตามความเข้าใจของผมนะครับน่าจะเป็นอย่างนี้ สมมุติว่าสมัยก่อนเราเป็นคนไม่ค่อยดีนัก แล้วเวลาเรามาศึกษาพระพุทธศาสนาใจเราเฝ้าจดจ่อกระทำแต่ความดี หรือมีเหตุการที่เราไม่เคยช่วยเหลือใครแต่เราเริ่มช่วยเหลือคน เริ่มกระทำความดีขึ้นตรงนี้นีจะเป็นนิมิตหมายของการพัฒนาในธรรมะมากขึ้นนะครับถูกผิดประการใดต้องขออภัยผู้รู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ตอนแรกก็นั่งสมาธิได้ดี

พอสักพักนั่งจนจิตนิ่ง ตาเราจะกระพริบๆปริบๆ ถี่ เหมือนตาจะลืม

เราก็พยายามไม่สนใจ พยายามจับจิตให้นิ่ง มันก็เป็นอีก เป็นอยู่อย่างงี้เรื่อยๆ จนสมาธิแตกซ่าน

พอตัวเองมานั่งเองที่บ้านก็เป็นอีก มันเป็นอย่างงี้จนไม่รู้จะแก้ยังไง จนเลิกนั่งไปเลย
ใช้นอนสมาธิเอา

ถึงแม้จะใช้นอนสมาธิมันก็เป็นค่ะ เฮ้อ ไม่รู้จะทำยังไง



เพื่อยืนยันคำพูด คห.บน ดูที่ขีดเส้นใต้ เพราะเขายังไม่ได้ทำความสะอาด


ซึ่งเราก็เป็นค่ะ แต่เห็นอาจารย์ว่างี๊ก็ทำไปไม่ได้สนใจ ก็มันจะเป็นอะไรก็เป็น

ไอ้ที่ว่า "ทำไปไม่ได้สนใจ"
ก็ตอนที่เกิด เราก็มาดูว่ามันเป็นอะไร พอเฝ้าตามดูมัน
แล้วสักพักมันก็หยุดและความรู้สึกโล่งโถง...ก็เข้ามาแทน...หน่ะ
คือมันเป็นสิ่งที่เกิดที่ดูจะเล็กน้อยมาก...
คือมันบัดเดี๋ยวมันมา และบัดเดี๋ยวมันก็ไป ก็เลยเฉย ๆ
มันจะเป็นอะไรก็เป็น...หน่ะ
ก็ไม่เคยสมาธิแตก...เพราะเหตุประมาณนี้...

จนคุณหยิบยกเคสนี้มากล่าว เราจึง...นึกฉงน...
ว่ามีเคสสมาธิแตกเพราะเหตุนี้ด้วย
แล้วกรณีเช่นนี้ การทำความสะอาด ทำเช่นไรคะ...
ไหน ๆ คุณก็ แนะนำแล้ว
เราว่ามีประโยชน์ดี ประมาณถ้ามีคนที่เวลานั่งสมาธิ
แล้วเกิดสภาวะใดที่ทำ ๆ อยู่เกิดอาการสมาธิแตกกระเจิง กระจาย ขึ้นมา
จะได้...รู้เหตุ และวิธีแก้ไข หง่ะ

:b12: :b16: :b12: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความมีสีสัน คุณไบกอน รอท่านอาจารย์ Buddha ตอบดีไหมขอรับ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพื่อความมีสีสัน คุณไบกอน รอท่านอาจารย์ Buddha ตอบดีไหมขอรับ :b32:



:b12: :b4: :b12: :b4:

ก้อออ....ด๊ายยยยย
ท่าน กร๊าซ..ชะ...กายยยยยย

:b12: :b4: :b12: :b4:

บายยย...ก้องงง จารอท่านพี่ใหญ่...Buddha

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์บุดฯ ช่วยตอบคำถามคุณเอรากอนที คำถามนั้นแหละ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


chulapinan เขียน:

การมาของนิมิตมากได้สองแบบหลักๆค่ะ

- สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานให้ค่ะ มีเหตุผลแน่นอน แต่จะตีความเหตุผลนั้นได้ ต้องมีปัญญาธรรมแล้วค่ะ


อ้างอิงคำพูด: ของ เอรากอน
ท่าน Bud กับ ท่าน กรัช คะ
ช่วยขยายคำจำกัดความนี้ ให้ ไบก้อน สักหน่อยได้รึเปล่าคะ

ไบก้อน ไม่เข้าใจ คำว่า "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" ที่เธอกล่าวค่ะ

ในพุทธศาสนา "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" นี่คือ...สิ่งประเภทไหนบ้างคะ...


ไบก้อนกลัวค่ะ เพราะทันทีที่ได้อ่านประโยคนี้
ไบก้อนนิมิตเห็น ศาลเพียงตา เห็นนางตะนี่ เห็นนางตะเคียน เทวรูป
และอื่น ๆ อีกมากมายเต็มหูเต็มตาไปหมดเลยค่ะ...

ได้โปรดเถอะค่ะ ถ้ามีการประทานนิมิตกันแบบนี้...ด้วยล่ะก้อ...
และถ้าท่าน Bud หรือท่าน กรัช ไม่อธิบายให้เคียร์
ไบก้อน คงได้ศึกษาพุทธศาสนาอย่างอย่างหวาดระแวงตลอดชีวิต...หง่ะ

Buddha ตอบ,,,,,ข้าพเจ้าก็ไม่รู้เรื่องที่เธอกล่าวมาเหมือนกันนั่นแหละ
แต่คำว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ นั้น ตามพจนานุกรม ฯ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ความขลัง คือ มีกำลังมีอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้ ให้สำเร็จสมประสงค์"
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงหมายถึง " ของต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตต่างๆ ที่มีกำลังมีอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้ หรือบันดาลให้สำเร็จสมประสงค์"
ดังนั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ คุณถามว่าใน พุทธศาสนา เป็นสิ่งศักดิ์ประเภทไหน คุณน่าจะได้คำตอบแล้วนะ หรือถ้าจะให้ข้าพเจ้าอธิบายให้ชัดเจนกว่านี้ก็บอกมานะ
และคำว่า "สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประทานนิมัตให้" ก็คงมีความหมายว่า "ของต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตต่างๆ ที่มีกำลังมีอำนาจ บันดาลให้เกิดนิมิต"

ส่วนคุณผุ้ใช้ชื่อว่า ศิริพงษ์ ขอรับ นิมิตที่คุณกล่าวถึงนั้น มันเป็นคนละอย่าง กับนิมิตในทางปฏิบัติธรรมขอรับ
นิมิตที่คุณกล่าวถึง เป็นเพียงการนำเอา ความหมาย ของนิมิต อันหมายความว่า "เป็นเครื่องหมาย"มาใช้ในการสร้างคำพูด สร้างภาษาเขียนให้ดูสละสลวย สวยงาม คนละเรื่องกันขอรับ

ส่วนเจ้าผู้ใช้ชื่อว่ากรัชกาย เจ้าก็พล่ามเพ้อเจ้อตามเคย ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลยว่า เขากำลังสนทนาเสวนาเรื่องอะไรกัน
ส่วนข้อความที่เจ้าเอามาจากไหนก็ไม่รู้ ขีดเส้นใต้ไว้นั้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวแบบคนกันเองเลยว่า โรคจิตประสาทกำเริบ "รู้ได้อย่างไร ว่าจิตนิ่ง " จิตนิ่งแล้วหนังตากระพริบ ดันไปสนใจหนังตากระพริบ อย่างนั้นเขาไม่เรียกจิตนิ่งดอกนะ เขาเรียกว่า ฟุ่งซ่าน โรคประสาทกำเริบ ขอรับ

ส่วนคำว่า นิมิต นั้น ขอให้ทุกคนกลับไปอ่านให้ดีว่า ข้าพเจ้านำมาจากไหน เป้นนิมิตเกี่ยวกับเรื่องอะไร ไม่ใช่พล่ามเพ้อเจ้อไร้ขอบเขต ไม่เป็นไปตามเจตนาของกระทู้ กลับไปอ่านให้ดี แล้วกลับมาแสดงความคิดเห็นกันใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิต คืออะไรในหลักพระพุทธศาสนา

กุศลนิมิต อกุศลนิมิต สุภะนิมิต อสุภะนิมิต นิจจสัญญานิมิต อนิจจสัญญานิมิต สุขนิมิต ทุกขานิมิต พยาบาทนิมิต เมตตานิมิต กรุณานิมิต ฯลฯ

นิมิต ในอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่า เป็นเขตแดนและอารมณ์แห่งวิตก

เช่น เห็นผู้มีรูปร่างงดงาม เกิดความชอบใจ ขณะนั้นจิตถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ วิตกไปกับนิมิตนั้น เป็นสุภะนิมิต
หรือขณะปฏิบัติธรรมอบรมจิต เพื่อละสุภะนิมิต โดยมนสิการนิมิตอื่นเช่นอสุภะนิมิต จิตนั้นมนสิการอสุภะนิิมิตโดยวิตกในอสุภะสัญญาว่าไม่งาม อสุภะสัญญานั้นจึงเป็นนิมิตของวิตกในขณะนั้น

ความสำคัญของนิมิตในหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความข้องเกี่ยวสำคัญกับ วิตก
จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต

จิตมีวิตกไปกับ อดีตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอดีต
จิตมีวิตกไปกับ อารมณ์ในปัจจุบัน นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับปัจจุบัน
จิตมีวิตกไปกับ อนาคตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอนาคต

Quote Tipitaka:
พระสูตรอันพึงศีกษา ต่อไปเพื่อใช้ประโยชน์จากความรู้แห่งนิมิต และวิตก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิตรที่ท่านเห็นในขณะทำสมาธินั้นมีประโยชน์อะไรอยากรู้จัง ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลย นิมิตรแห่งการก้าวหน้าแห่งความดีต่างหากที่เป็นการพัฒนาทางธรรม พูดดีคิดดีทำดี เป็นนิมิตรแห่งการบรรลุธรรม ส่วนนิมิตรเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้จิต วิตกวิจารไปต่างๆ แม้แต่บางอย่างเห็นก็คิดว่านิพพาน นิพพานเป็นธาตุแห่งการดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
นิมิต คืออะไรในหลักพระพุทธศาสนา

กุศลนิมิต อกุศลนิมิต สุภะนิมิต อสุภะนิมิต นิจจสัญญานิมิต อนิจจสัญญานิมิต สุขนิมิต ทุกขานิมิต พยาบาทนิมิต เมตตานิมิต กรุณานิมิต ฯลฯ

นิมิต ในอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่า เป็นเขตแดนและอารมณ์แห่งวิตก

เช่น เห็นผู้มีรูปร่างงดงาม เกิดความชอบใจ ขณะนั้นจิตถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ วิตกไปกับนิมิตนั้น เป็นสุภะนิมิต
หรือขณะปฏิบัติธรรมอบรมจิต เพื่อละสุภะนิมิต โดยมนสิการนิมิตอื่นเช่นอสุภะนิมิต จิตนั้นมนสิการอสุภะนิิมิตโดยวิตกในอสุภะสัญญาว่าไม่งาม อสุภะสัญญานั้นจึงเป็นนิมิตของวิตกในขณะนั้น

ความสำคัญของนิมิตในหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความข้องเกี่ยวสำคัญกับ วิตก
จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต


จิตมีวิตกไปกับ อดีตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอดีต
จิตมีวิตกไปกับ อารมณ์ในปัจจุบัน นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับปัจจุบัน
จิตมีวิตกไปกับ อนาคตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอนาคต


Quote Tipitaka:
พระสูตรอันพึงศีกษา ต่อไปเพื่อใช้ประโยชน์จากความรู้แห่งนิมิต และวิตก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4099&Z=4207


เป็นคำตอบที่อ่านแล้วรู้สึกว่าจะเป็นมิตรกับความเข้าใจเราจังเลยค่ะ...

พระสูตรที่แนะนำ จะลองไปหาอ่านเพิ่มเติมนะคะ ขอบคุณค่ะ

... นิมิตในความหมายตามคำกล่าวของคุณ..เช่นนั้น
นี่...อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นภาพเท่านั้น คืออาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้
อย่างเช่น เสียง กลิ่น สภาวะอาการใด ๆ ก็ตามที่ทำให้
"จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต"
เราเข้าใจผิดรึเปล่าคะ ถ้าเข้าใจผิดเพี้ยนไป รบกวนคุณเช่นนั้น ชี้แนะเพิ่มเติมค่ะ

:b1: :b12: :b1: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิต ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ให้ความหมายไว้ว่า
"1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต"

ลักษณะหรือสภาพสภาวะของนิมิต นั้น ก็คือ การที่บุคคลได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก คือ รูป ,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมมารมณ์ แล้วจดจำไว้ สามารถระลึกนึกถึงได้ โดยยังคงสภาพเดิมแห่งการได้รับสัมผัส โดยมีได้ปรุงแต่ง เช่น เมื่อเห็น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจดจำไว้ เมื่อภวังขณะ เกิดการระลึกนึกถึง ก็สามารถเห็นรูปที่ได้จดจำไว้นั้น โดยมิได้ปรุงแต่งเป็นอย่างอื่น อย่างนี้เป็นต้น
นิมิต จึงเป็นการรับสัมผัสจากอายตนะภายนอก แล้วจดจำนำมา คิดพิจารณา ทบทวน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างละเอียด อย่างถ่องแท้
นิมิต ตามหลักพุทธศาสนา จึงไม่ใช่การนอนหลับฝัน แต่เป็นการเห็น เป็นการรู้สึก เป็นการรับรู้ เป็นการจดจำ และสามารถระลึกนึกถึงความจำเหล่านั้นได้ โดยไม่มีการปรุงแต่เป็นอย่างอื่น คือ เห็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร ก็รับรู้ ก็ระลึกนึกถึงอย่างนั้น ถ้าระลึกนึกถึงแล้วเกิดอารมณ์หรือความรู้สึก ไม่นับว่าเป็น นิมิต เพราะได้ปรุงแต่ง ไปจากเดิม อย่างนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2009, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:

เป็นคำตอบที่อ่านแล้วรู้สึกว่าจะเป็นมิตรกับความเข้าใจเราจังเลยค่ะ...
พระสูตรที่แนะนำ จะลองไปหาอ่านเพิ่มเติมนะคะ ขอบคุณค่ะ
... นิมิตในความหมายตามคำกล่าวของคุณ..เช่นนั้น
นี่...อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นภาพเท่านั้น คืออาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้
อย่างเช่น เสียง กลิ่น สภาวะอาการใด ๆ ก็ตามที่ทำให้
"จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต"
เราเข้าใจผิดรึเปล่าคะ ถ้าเข้าใจผิดเพี้ยนไป รบกวนคุณเช่นนั้น ชี้แนะเพิ่มเติมค่ะ


สาธุ ครับ คุณเอรากอน

นิมิตในหลักพระพุทธศาสนา ยังมีความหมายรวมถึง อารมณ์อันเป็นภายนอก อารมณ์อันเป็นภายใน

นิมิต เป็นอารมณ์อันเป็นภายนอก ที่จิตไปรับรู้ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์
นิมิต เป็นอารมณ์ภายใน เช่นนิมิตแห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อรูปฌาน 4 เป็นต้น

หากคุณเอรากอน มีฉันทะในการศึกษา ก็เพิ่มพูนปัญญาได้จาก คาวีสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=8946&Z=9040&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 พ.ย. 2009, 22:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ผุ้ใช้ชื่อว่า "เช่นนั้น นำมากล่าวอ้าง หรือยกตัวอย่างว่า
เช่น เห็นผู้มีรูปร่างงดงาม เกิดความชอบใจ ขณะนั้นจิตถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ วิตกไปกับนิมิตนั้น เป็นสุภะนิมิต
หรือขณะปฏิบัติธรรมอบรมจิต เพื่อละสุภะนิมิต โดยมนสิการนิมิตอื่นเช่นอสุภะนิมิต จิตนั้นมนสิการอสุภะนิิมิตโดยวิตกในอสุภะสัญญาว่าไม่งาม อสุภะสัญญานั้นจึงเป็นนิมิตของวิตกในขณะนั้น

ความสำคัญของนิมิตในหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความข้องเกี่ยวสำคัญกับ วิตก
จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต

จิตมีวิตกไปกับ อดีตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอดีต
จิตมีวิตกไปกับ อารมณ์ในปัจจุบัน นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับปัจจุบัน
จิตมีวิตกไปกับ อนาคตารมณ์ นิมิตนั้นก็คือนิมิตอันเกี่ยวกับอนาคต

Buddha............คัดค้านว่า
ที่ผู้ที่ใช้ชื่อว่า "เช่นนั้น"กล่าวไปข้างต้นทั้งหมด ไม่ถูกต้องขอรับ เพราะสิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหลด ไม่ใช่ลักษณะของนิมิต
เพราะนิมิต นั้น ไม่ว่าจะได้รับรู้รับสัมผัสมาอย่างไร ก็จะจดจำไว้อย่างนั้น คือ จดจำ รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมมารมณ์ เอาไว้อย่างนั้น ไม่ปรุงแต่งว่า ชอบหรือไม่ขอบ ไม่ปรุงแต่งงามหรือไม่งาม
เพราะการปรุงแต่ง เมื่อได้สัมผัสนั้น คือการเกิด สังโยชน์ และนิวรณ์ธรรม
หากบุคคลนั้นปฏิบัติธรรม หรือฝึกตน ก็จะนำ รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้น มาพิจารณาให้เป็นไปตามหลักธรรม หรือเป็นไปเพื่อให้สามารถขจัดอวิชชา คือความไม่รุ้ว่าเกิดจากอะไร มีผลอย่างไร จะดับอย่างไร ความดับมีผลอย่างไร ทุกอย่างเป็นอดีตทั้งสิ้น
คำว่า จิตวิตก นั้น เขาไม่นำมาใช้ในการอธิบาย เพราะมันหมายถึง การคิดเอาเอง หรือคิดฟุ้งซ่าน
ถ้าจะอธิบายว่า บุคคลเมื่ออยู่ในที่สงัดวิเวก คือที่เงียบสงบไม่มีสิ่งใดรบกวน สมาธิเกิด มีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์ คือมีความระลึกได้ถึง ไม่หลงลืม รู้สึกตัวอยู่เสมอ ในธรรมโพชฌงค์ ๗ ปราศจาก ธรรมนิวรณ์ ธรรมสังโยชน์ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้นไปตามลำดับ
การวิตกไปกับอดีต วิตก ไปกับอนาคต วิตกไปกับปัจจุบัน ไม่ใช่ นิมิต
เพราะนิมิต จะเกิดขึ้นได้เอง โดยไม่ได้คิดถึง ในนิมิตนั้น อย่างหนึ่ง
นิมิต จะเกิดขึ้นได้ เพราะเราระลึกนึกถึง อย่างหนึ่ง
นิมิต จะเกิดขึันได้ เพราะมีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์ นิมิตเกิดเพราะความต้องการจะพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นอย่างหนึ่ง
นั้นหมายความว่า บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมหรือฝึกตน ไม่ได้มีจิตวิตก แต่ดำริ เพื่อให้เกิดความเห็นชอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณบูดตา

Buddha เขียน:
Buddha............คัดค้านว่า
ที่ผู้ที่ใช้ชื่อว่า "เช่นนั้น"กล่าวไปข้างต้นทั้งหมด ไม่ถูกต้องขอรับ เพราะสิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหลด ไม่ใช่ลักษณะของนิมิต


ไม่ถูกต้อง ก็คงต้องมาอธิบายอีกทีหนึ่ง
ท่านบูดตา อ่านช้าๆ น๊ะครับ

เช่นนั้น ไม่เคยบอกว่า นิมิต คือจิตวิตก
เช่นนั้น พิมพ์ ว่า นิมิต เป็นเขตแดนและอารมณ์ แห่งวิตก

นิมิตอันเป็นอารมณ์ภายนอก จึงได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอดีตก็ตาม เป็นปัจจุบันก็ตาม เป็นอนาคตก็ตาม

ความสำคัญของนิมิตในหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความข้องเกี่ยวสำคัญกับ วิตก
จิตตรึกวิตกสิ่งใด ก็มีสิ่งนั้นเป็นเป็นอารมณ์ เป็นนิมิต


Buddha เขียน:
เพราะนิมิต นั้น ไม่ว่าจะได้รับรู้รับสัมผัสมาอย่างไร ก็จะจดจำไว้อย่างนั้น คือ จดจำ รูป,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมมารมณ์ เอาไว้อย่างนั้น ไม่ปรุงแต่งว่า ชอบหรือไม่ขอบ ไม่ปรุงแต่งงามหรือไม่งามเพราะการปรุงแต่ง เมื่อได้สัมผัสนั้น คือการเกิด สังโยชน์ และนิวรณ์ธรรม


ผัสสะเป็นปัจจัย แก่เวทนา
เวทนาในสิ่งใด สัญญาก็จำในสิ่งนั้น วิญญาณก็รู้แจ้งในสิ่งนั้น
วิญญาณ มีสังขารเป็นปัจจัย ท่านไม่อาจหยุดการปรุงแต่งของท่านได้ตามความปราถนา
ด้วยสังขารนั้น ด้วยวิญญาณ และด้วยเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาย่อมเกิด

ดังนั้น บุคคลผู้มีกามาวจรจิต เป็นอกุศล ย่อมมีจิตกลุ้มรุมด้วยนิวรณ์ เป็นนิมิตเป็นอารมณ์ภายใน ^U^**

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

นิมิต เป็นอารมณ์ภายใน เช่นนิมิตแห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อรูปฌาน 4 เป็นต้น



ช่วยขยายเพิ่มเติมได้รึเปล่าคะ...

:b1: :b1: :b1:

คุณอธิบายแล้ว ดูเหมือนคนสมองกระจิ๊ดริ๊ดอย่างเรา พอจะเข้าใจได้ง่ายจังค่ะ...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2009, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
เช่นนั้น เขียน:

นิมิต เป็นอารมณ์ภายใน เช่นนิมิตแห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อรูปฌาน 4 เป็นต้น



ช่วยขยายเพิ่มเติมได้รึเปล่าคะ..

คุณอธิบายแล้ว ดูเหมือนคนสมองกระจิ๊ดริ๊ดอย่างเรา พอจะเข้าใจได้ง่ายจังค่ะ



ตีตั๋วรอคำตอบด้วยคนขอรับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร