วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 06:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การทำสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งสัจจธรรมได้ เพราะไม่ได้อบรมเจริญเหตุ คือ วิปัสสนาภาวนาจนสมบูรณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ผู้บำเพ็ญสมถภาวนาสามารถอบรมจิตให้สงบ จนบรรลุอภิญญา มีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ และสามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่สมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นครอบงำจิต สมถภาวนาที่ถึงขั้นสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆได้ก็เสื่อม

(สุจินต์ บริหารวนเขตต์)


ยังจำได้มัย..วันที่เจ้าชายสิทธัตถะ..จะบรรลุพระโพธิญาณ..ท่านเริ่มจาก..อานาปานสติ..กำหนดดูลมหายใจ..อย่านี้เรียกว่าอะไร

ครูบาอาจารย์ที่ถึงแล้ว..ก็ให้ทำสมาธิกันทั้งนั้น..เพียงระวังอย่าติดสงบในสมาธิเท่านั้น..ให้ใช้ออกทางปัญญาด้วย..ไม่ใช่เอาแต่นอนหลับไม่ตื่นขึ้นมาทำงานเลย..อันนี้จึงเรียกว่า..ใช้ไม่ได้

พูดอยู่นั้นแหละ..สมาธิของโยคี..ของฤาษี..พูดแล้วดูดีเน๊าะ..แต่น่าเบื่อ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
การทำสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งสัจจธรรมได้ เพราะไม่ได้อบรมเจริญเหตุ คือ วิปัสสนาภาวนาจนสมบูรณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ผู้บำเพ็ญสมถภาวนาสามารถอบรมจิตให้สงบ จนบรรลุอภิญญา มีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ และสามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่สมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นครอบงำจิต สมถภาวนาที่ถึงขั้นสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆได้ก็เสื่อม

(สุจินต์ บริหารวนเขตต์)


ยังจำได้มัย..วันที่เจ้าชายสิทธัตถะ..จะบรรลุพระโพธิญาณ..ท่านเริ่มจาก..อานาปานสติ..กำหนดดูลมหายใจ..อย่านี้เรียกว่าอะไร

ครูบาอาจารย์ที่ถึงแล้ว..ก็ให้ทำสมาธิกันทั้งนั้น..เพียงระวังอย่าติดสงบในสมาธิเท่านั้น..ให้ใช้ออกทางปัญญาด้วย..ไม่ใช่เอาแต่นอนหลับไม่ตื่นขึ้นมาทำงานเลย..อันนี้จึงเรียกว่า..ใช้ไม่ได้

พูดอยู่นั้นแหละ..สมาธิของโยคี..ของฤาษี..พูดแล้วดูดีเน๊าะ..แต่น่าเบื่อ..




ไม่ใช่เฉพาะ อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เท่านั้น หรอกครับ

ที่ เข้าใจความหมายของคำว่า"สมถะ" จำกัดอยู่เพียงเฉพาะ สมาธิภาวนาที่ให้ผลเป็นสุขในปัจจุบัน(ข้อ1 ในสมาธิภาวนา4ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค) และ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อญาณทัศนะ(ข้อ2 ในสมาธิภาวนา4ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค).... โดยไม่นับเนื่อง สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(ข้อ3 ในสมาธิภาวนา4ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค) และ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(ข้อ4 ในสมาธิภาวนา4ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค) ว่า เป็นสมถะ

วิปัสสนาจารย์ท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน ก็เห็นเช่นนี้



แต่ ที่ทางไทยเราถือตามพระสูตร จะ นับสมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ และ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ(สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค) ว่า เป็น สมถะ ด้วย




ผมอ่าน คห. ของคุณ รสมน ตรง กระทู้นี้

(อภิ)ธัมมัตถะสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

viewtopic.php?f=1&t=24564

อ้างคำพูด:
ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทาสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อ ให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทาลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต+เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกาลัง แก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด



จึงเข้าใจ ที่มาที่ไป ของ คห. ที่แตกต่างกันนี้

ตรงจุดนี้ ผมเห็นว่า น่าจะมาจาก แนวคิดใน คัมภีร์(อภิ)ธัมมัตถะสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค ....

ทำให้ ความเห็นของ คำว่า"สมถะ" มีการเข้าใจที่แตกต่างกัน




ด้วย ใช้ REFERENCE ที่แตกต่างกัน จึง คุยกันเข้าใจยาก ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 02:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ด้วย ใช้ REFERENCE ที่แตกต่างกัน จึง คุยกันเข้าใจยาก ครับ


ตำราไหน..จะอธิบายเหมือน..หรือ..ต่างกันอย่างไร..ผมไม่ทราบจริง ๆ ..ผมไม่รู้ตำราอะไรเลย..ผมแค่รู้สึก..แค่นั้น..ไม่อาจเรียกว่าเป็น..REFERENCE..ได้..มันกระด้าก

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมฟังของอาจารย์สุจินอยู่หลายปี ก็ได้อะไรดีเยอะมากๆ แต่เรื่องสมถะอาจารย์ไม่ค่อยเห็นดีด้วยเกี่ยวกับการนั้งสมาธิ แต่ผมก็นั่งนะ ตรงนี้ไม่ตรงกับความรู้สึกส่วนลึกของผม แต่ผมก็ฟังอาจารย์อยู่บ่อยๆ เพราะฟังแล้วได้เข้าใจ การแปลอภิธรรมมากทีเดียว อันไหนไม่ตรงก็ข้ามไปก่อน เลือกเอาของดีๆ ศิษย์ท่านทั้งหลายอาจจะไม่เคยฟังความไพเราะของการบรรยาย ก็ติดกันมากทีเดียวไม่ค่อยกล้าทำสมถะกัน อันนี้ก็ต้องว่ากันไป อย่างไรก็ขอให้เจริญในธรรมนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางครั้งผมอยากให้ท่านที่ไม่เคยนั่งสมาธิแบบมีความรู้ลองมานั่งบ้าง นั่งแบบรู้สึกกายพิจารณาไตรลักษณ์ ดูทั้งกาย ดูทั้งเวทนา ดูทั้งจิต ดูทั้งธรรม ท่านั่งเป็นท่าที่สมควรแก่การปฎิบัติธรรม พิจารณาไตรลักษณ์ ส่วนอริยะบทอื่นเป็นอริยบทลองก็สมควรปฎิบัติตลอดเช่นกันแต่สติเกิดอยากเพราะเราต้อง คิดเรื่องการงานอื่น ขอให้เข้าใจอย่างนี้จะได้ไม่รังเกลียดการนั่งสมาธิ ผมกล้าพูดจริงท่านจะได้เข้าใจจริงสักทีว่า ความสุขที่ลุ่มลึกพร้อมกับปัญญาที่มีกำลังตัดกิเลได้จริง เพราะปัญญาที่ควบคู่กับสมาธินั้นมีพลัง(หรือสัมมาสมาธิ สมาธิที่ร่วมด้วยปัญญานั้นละกิเลสได้จริง)ไม่ใช่สมาธิแบบไม่มีปัญญาก็สงบอย่างเดียว หรือปัญญาอย่างเดียงก็รู้อย่างเดียวแต่ก็ละอะไรไม่ได้จริง เป็นการละเล่นทางปัญญาเท่านั้น การละเล่นทางปัญญานั้นจะมีประโยชน์จริงก็ต่อเมื่อเราได้นำมาปฎิบัติจริง หลายอาจารย์มักจะตัดพระสูตรไม่พูดถึงเกี่ยวกับการนั่งสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนศิษย์ นั่งตัวตรงดำรงสติให้มั่น อันนี้เสียดายมากจริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัวตรงดำรงสติให้มั่น อันนี้เสียดายมากจริงๆ

ลองกลับไปทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์ดูใหม่อีกสักรอบนะครับ คำสอนของพระพุทธองค์ถ้าจะนับตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ภูมิปุถุชน มีใน มหานิทเทศ และ จูฬนิทเทศ ส่วนการทำสมาธิ ท่านสอนตั้งแต่ผู้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้นไป ที่ อ.สุจินต์ นำมาแสดง ก็ถูกต้องตามหลักเหตุปัจจัย ไม่ใช่ความเห็น

อ้างคำพูด:
ปัญญาอย่างเดียงก็รู้อย่างเดียวแต่ก็ละอะไรไม่ได้จริง

ปัญญามีท้งหมด 73 ประเภท ปัญญาอย่างเดียวที่ดับกิเลสได้ คือ ปัญญาที่รูเห็นการเกิดดับ พระพุทธองค์ตรัสว่า ใช้ความรู้ดับความไม่รู้ ... จุดนี้ขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ ... ถ้าสมาธิดับกิเลสได้ พวกโยคีโยคะฤาษีชีไพร พวกหมีพวกกบ พากันบรรลุมรรคผลนิพพานไปหมดแล้ว

ในสภาพความเป็นจริง สมาธิ หรือ เอกกัคคตาเจตสิก เกิดขึ้นกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว อุเบกขาเจตสิก ก็เกิดร่วมได้กับทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล หมายความว่า คุณจะพิจารณาธรรม (ธัมวิจย) หรือวิปัสสนาอย่างเดียว สมาธิมันก็ต้องเกิดร่วมด้วย สมถะและวิปัสสนา จึงแยกกันไม่ออก แต่ตัวที่ดับกิเลสได้ คือ ปัญญาเจตสิก ไม่ใช่ เอกกัคคตาเจตสิก อุเบกขาเจตสิก หรือฌานจิต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าสมาธิดับกิเลสได้ พวกโยคีโยคะฤาษีชีไพร พวกหมีพวกกบ พากันบรรลุมรรคผลนิพพานไปหมดแล้ว


สมาธิของ พวกโยคีโยคะฤาษีชีไพร พวกหมีพวกกบ ไม่เป็นปัจจัยแห่งการรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม เพราะ เอกัคคตาจิตนั้นๆไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม ดัง ในมหาจัตตารีสกสูตร





อ้างคำพูด:
ในสภาพความเป็นจริง สมาธิ หรือ เอกกัคคตาเจตสิก เกิดขึ้นกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว


ทางแนวทาง อภิธัมมัตถะสังคหะ จะเชื่อกันเช่นนั้น

แต่ ในระดับพระสูตร นั้น เอกัคคตาเจตสิกที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับจิตทุกดวง

เสนอ พิจารณา


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 567&Z=6578

๖. สัปปทาสเถรคาถา
สุภาษิตแสดงผลการเห็นโทษสังขาร
[๓๕๒] นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่ว
เวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้ว

ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศาตรา
มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสีย
อย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้ เราได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอน
บนเตียง มีดโกนเล่มนั้นเราสะบัดดีแล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้ขาดได้
ขณะนั้น โยนิโสมนสิการก็บังเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏแก่เรา ความ
เบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะความเบื่อหน่ายในสังขารนั้น
จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓
เราได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.



เอกัคคตาจิต ที่ท่านสัปทางเถระท่านกล่าวนี้ ...ตลอดเวลา 25ปีที่ท่านบวช ท่านไม่เคยบรรลุ....

ย้ำ .....ตลอดเวลา 25ปีที่ท่านบวช ท่านไม่เคยบรรลุ!!!

เอกัคคตาเจตสิกในพระสูตรนี้ ไม่ใช่แบบเดียวกับ เอกัคคตาเจตสิกชนิดที่เกิดกับจิตทุกดวง ตามที่คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลกล่าวไว้ แน่นอน

เพราะ เอกัคคตาเจตสิกชนิดที่เกิดกับจิตทุกดวง ตามที่คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล กล่าวไว้นั้น จะไม่บังเกิดแต่ท่านสัปปทาสเถระบ้งเลยหรือ ในช่วงเวลาถึง25ปี!!!




หรือ ถ้าจะดูตรงพระสูตรที่ตรัสถึง บุคคล๔จำพวก


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/i ... &preline=0

และ พระบาลี

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 93&Roman=0


คำอธิบาย ว่าบุคคล๔ประเภท หมายเอาบุคคลใด ปรากฏใน

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 659&Z=4544



และ อีกสำนวนแปลหนึ่ง

น่าจะเป็น สำนวนแปลในอริยสัจจากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาส...


ภิกษุ ท. ! ในบรรดาสี่จำพวกนั้น

๑.บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! เราควรเห็นสังขารกันอย่างไร? ควรพิจารณากันอย่างไร? ควรเห็น(แจ้ง)สังขารกันอย่างไร?”ดังนี้.
ผู้ถูกถามนั้น จะพยากรณ์ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! สังขารควรเห็นกันอย่างนี้ ๆ, สังขารควรพิจารณากันอย่างนี้ ๆ, สังขารควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้ๆ” ดังนี้.
สมัยต่อมา บุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

๒. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลใดเจโตสมถะในภายในแล้วท่านถามว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงอยู่ (สณฺฐเปตพพฺ) อย่างไร? ควรถูกชักนำไป (สนฺนิยาเทตพฺพ) อย่างไร? ควรทำให้ตั้งมั่น (สมาทหาตพฺพ)อย่างไร? ” ดังนี้.
ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียวด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอารการอย่างนี้ ๆ” ดังนี้.
สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาและเจโตสมถะในภายใน.

๓. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้อย่างไร? ควรถูกชักนำไปอย่างไร? ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียวอย่างไร?ควรทำให้ตั้งมั่นอย่างไร? สังขารเป็นสิ่งที่ความเห็นอย่างไร? ควรพิจารณาอย่างไร? ควรเห็นแจ้งอย่างไร? ดังนี้.
ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้วแจ่มแจ้งแล้วอย่างไร ? แก่บุคคลนั้น ว่า
“ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ด้วยอาการอย่างนี้? ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, สังขารเป็นสิ่งที่ความเห็นกันอย่างนี้ ๆ, ควรพิจารณากันอย่างนี้ ๆ,ควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้ ๆ” ดังนี้.
สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

๔. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงดำรงอยู่ในธรรมทั้งสองนั้น แล้วประกอบความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป.

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.
- จุตกฺก. อํ. ๒๑/๑๒๒ – ๑๒๔/๙๔.



เอกัคคตาจิตใน ข้อ๒ (จิตมีอารมณ์เดียว) ...เป็น เอกัคคตาจิต ที่ แม้นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาในเบื้องต้น ยังไม่บรรลุเลย!!!

ถ้า เอกัคคตาเจตสิกแบบในข้อ๒นี้ ปรากฏขึ้นกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว .... แล้วท่านจะไปแสดงให้ ผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาในเบื้องต้นแต่ยังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ต้องเข้าไปศึกษากับ ผู้ที่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน อีกทำไม???




ป่วยการที่จะไปกล่าวถึง จิตทั่วๆไป


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 21:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส้มมาสมาธิคือ สมาธที่เกิดขึ้นด้วยองต์ฌานตั้งแต่ระดับปฐมฌานพร้อมด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์หรือวิปัสสนาไปพร้อมกันทำให้เกิดปัญญาความเข้าใจของผมส่วนตัวครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกัคคตาจิต ไม่ใช่ เอกัคคตาเจตสิก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เอกัคคตาจิต ไม่ใช่ เอกัคคตาเจตสิก




เอกัคคตาจิต เป็น พระพุทธพจน์โดยตรง
มีคำจำกัดความที่ชัดเจนจากระดับพระสูตร เช่น เอกัคคตาจิตที่สงัดจากกามจากอกุศลที่ท่านสัปปะทาสเถระไม่เคยบรรลุมาตลอดเวลา25ปีที่ท่านออกบวช ....นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า เอกัคคตาจิตในแนวแห่งอริยมรรค ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค นี้ ไม่ใช่ของสาธารณะ


ส่วน คำว่า เอกัคตาเจตสิก ไม่ใช่พระพุทธพจน์โดยตรง .
อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลประมวลกันขึ้นมาเอง
ใน พระไตรปิฎก มีแต่คำว่า เจตสิก แต่ไม่มีคำว่า เอกัคคตาเจตสิก(ลองsearchดู).
คำว่า เอกัคตาเจตสิก นี้ เคยรับทราบมาแล้ว จากท่านผู้ที่ศึกษาตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล มาว่า เป็น เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง คือ เป็นของสาธารณะ.


....................



ลองดูความหมาย จาก พจนานุกรม


อ้างคำพูด:
ความหมายของ เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
(พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);
ดู ฌาน


และ

อ้างคำพูด:
ความหมายของ เจตสิก คือ ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต



ซึ่ง จิตขณะใดๆ ก็จะมีคุณสมบัติตามเจตสิก ในขณะนั้นๆ

แต่ แปลกมาก....พอพูดถึง เอกัคคตาจิต กับ เอกัคคตาเจตสิก กลายเป็นว่า ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน



ผมเอง ก็เคยรับทราบ แนวคิดเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นกับจิตทุกดวงมาแล้ว
แต่ ผมไม่ให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้ เพราะ ไม่ใช่พระพุทธพจน์โดยตรง เป็นเพียง มติของอาจารย์ เท่านั้น

ผมให้ความสำคัญกับ เอกัคคตาจิต(ซึ่ง ก็น่าจะประกอบเอกัคคตาเจตสิกอยู่??? เพราะถ้าจิตในขณะนั้นๆไม่ประกอบด้วยเอกัคตคตาเจตสิกแล้ว จะไปเรียกจิตนั้นๆ ว่าเอกัคคตาจิต ได้อย่างไร)ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการ ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์โดยตรง เช่นที่ ปรากฏในมหาจัตตารีสกสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอยู่ส่วนจิต เจตสิกอยู่ส่วนเจตสิก ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เพียงแต่เกิดร่วมกัน อาศัยกันเกิด

อ้างคำพูด:
เอกัคคตาจิตในแนวแห่งอริยมรรค ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค นี้ ไม่ใช่ของสาธารณะ

:b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ จั่วหัวข้อกระทู้ว่า สัมมาสมาธิ หมายเอาสมาธิในการปฏิบัติธรรม(ในแนวทางอริยมรรค)

อ้างคำพูด:
ได้ยินมาว่า สมาธิในการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเป็นสัมมาสมาธิ


ซึ่ง บ่งชี้ว่า เป็น สัมมาสมาธิในองค์มรรค(ที่ท่านสัปปทาสเถระไม่เคยประสบตลอดเวลา25ปีที่ท่านออกบวช) ซึ่ง สมาธิในลักษณะนี้ไม่ใช่สาธารณะ

คุยไป คุยมา กลับไปเอาเอกัคคตาเจตสิกที่เป็นสาธารณะแบบในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล มาเป็นประเด็น ไปเสียแล้ว




เอาอย่างนี้ดีกว่าครับ


จาก http://www.buddhism-online.org/Section01_05.htm

อ้างคำพูด:
โดยสรุปแล้ว จิต + เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล หรือเป็นสัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบ ที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับ แสนโกฏิขณะ หรือ หนึ่งล้านล้านครั้ง)




ผมขอเรียนถามท่าน จขกท. น่ะครับ


1.ประโยคที่ทางนักอภิธรรม(อภิธัมมัตถะสังคหะ )กล่าวกันบ่อยๆ

"ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับ แสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง"

เป็นพระพุทธพจน์หรือไม่ อยู่ในพระสูตรไหน???


2.ในชั่วลัดนิ้วมือ ที่จิตเกิดดับ หนึ่งล้านๆครั้ง ต้องมีเอกัคคตาเจตสิก(ที่เป็นสาธารณะ?)ปรากฏขึ้นในจิตกี่ครั้ง จึงจะนับว่า จิตนั้นๆเป็นเอกัคคตาจิต???



ขอคำตอบที่มีหลักฐานอ้างอิงจากพระไตรปิฎก ....

คำตอบแบบ แสดงการนับดวงจิต(แบบเด็กเล่นนับเม็ดมะขาม) เคยฟังมามากแล้ว

ดึกๆ จะแวะมาใหม่


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนที่บอกว่า ชั่วลัดนิ้วมือฯ หมายถึงเร็วจนนับไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็น ๑ ล้านล้านครั้งตามนั้นหรอกนะครับ แล้วจะลองทบทวนเทียบในพระอธิธรรมดู

ลองไปดู การอธิบายอกุศลจิต ๑๒ ดวง(แบบ)ในธรรมสังคณีปกรณ์ ดูอีกทีนะครับ จิตดวงที่ ๑,๓,๕,๗,๙,๑๑,๑๒ มีเอกกัตคคตา(เจตสิก) อยู่ด้วย (มีทั้ง วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกกัคคตา กับอุเบกขา)

อภิธรรมสังคหะ กับ อภิธรรมในพระไตรปิฎก เนื้อหาเดียวกัน ลองทบทวนดูดีๆ นะครับ เพียงแต่รูปแบบการนำเสนอต่างกัน อภิธรรมในพระไตรปิฎกเป็นการบรรยาย ส่วนในอภิธรรมสังคหะแสดงเป็นหมวดหมู่ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับการเขียนของอริสโตเติล

สัมมาสมาธิ ไม่ใช่ของสาธารณะ ผมชอบนำนวนนี้ ไม่ได้แปลว่า ไม่ให้ใครมาปฎิบัตินะครับ แต่เพราะคนเอาคำว่าสัมมาสมาธิไปใช้จนสับสน เลยไม่รู้ว่า อะไรที่เรียกว่าเป็นสัมมาสมาธิจริงๆ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อภิธรรมสังคหะ กับ อภิธรรมในพระไตรปิฎก เนื้อหาเดียวกัน ลองทบทวนดูดีๆ นะครับ เพียงแต่รูปแบบการนำเสนอต่างกัน อภิธรรมในพระไตรปิฎกเป็นการบรรยาย ส่วนในอภิธรรมสังคหะแสดงเป็นหมวดหมู่ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับการเขียนของอริสโตเติล



เมื่อก่อน ผมเองก็เคยเห็นเช่นนั้น


แต่ ช่วงหลัง ได้รับข้อมูลเพิ่มเติม มาจากหลายๆท่าน จึงเห็นว่า ในประเด็น

"สมถะ" สนับสนุน การบังเกิดสัมมาญาณะ(วิปัสสนาญาณ) ไหม???


ผู้ที่ถือตามแนวทางจากพระพุทธพจน์ในพระสูตร และ ผู้ที่ถือตามแนวพระอภิธัมมัตถะสังคหะ(นักอภิธรรม) จะเห็นต่างกัน
อย่างที่ผมกล่าวไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้แล้ว



ลองตรวจสอบจาก

พระอภิธรรมปิฎก(ปิฎกที่สาม)
เทียบเคียงกับ
หลักในอภิธัมมัตถะสังคหะ(ที่คุณรสมนนำมาลง และ อ.วิปัสสนาจารย์อีกหลายท่านก็กล่าวไปในลักษณะนั้น)

ในประเด็นนี้



จาก พระอภิธรรมปิฎก(ปิฎกที่สาม)

พระไตรปิฎก เล่มที่ 34

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สมถะ มีในสมัยนั้น.



จาก พระอภิธรรมปิฎก กล่าวเรียก สัมมาสมาธิในองค์แห่งมรรค ว่าเป็นสมถะ ด้วย

เมื่อนับสมถะว่าเป็นส่วนของมรรคด้วย

ดังนั้น สมถะจึงไม่ใช่เพียงแค่"ให้จิตเกิดความสงบ และ เกิดอภิญญาเท่านั้น"(สมาธิภาวนาประเภทที่๑ และ ๒ ในพระบาลีโรหิตัสสวรรค) ดัง ที่คุณรสมนสรุปสาระพระอภิธัมมัตถะสังคหะไว้.

แต่ สมถะเองก็เป็นส่วนแห่งอริยมรรคด้วย คือ สนับสนุนสติสัมปชัญะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๓ ในพระบาลีโรหิตัสสวรรค) และ เป็นจุดประชุมรวมขององค์มรรคก่อนจะบังเกิดสัมมาญาณะ(สมาธิภาวนาประเภทที่๔ ในพระบาลีโรหิตัสสวรรค)



เทียบกับ ที่คุณรสมน สรุปสาระพระอภิธัมมัตถะสังคหะ มา

อ้างคำพูด:
ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อ ให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทา สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถ ทาลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต+เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกาลัง แก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด



ซึ่ง ถ้าตามที่คุณรสมนกล่าว จะชี้ไปในทิศทางที่ว่า สมถะไม่เกี่ยวข้องกับการบังเกิดสัมมาญาณะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"สมถะ" สนับสนุน การบังเกิดสัมมาญาณะ(วิปัสสนาญาณ) ไหม???

โดยตรงแล้วไม่ สมถะธรรมเป็นอริกับความฟุ้งซ่าน เป็นอริกับราคะ พระพุทธองค์ทรงตรัสให้ใช้สมถะและวิปัสสนาให้หมาะสมตามกาล แต่โดยอ้อมก็คือ เมื่อไม่ฟุ้งซ่าน ก็มีเวลาวิปัสสนาได้มากขึ้น แต่ถ้าหลงอยู่แต่ในความสงบ ก็ไม่มีเวลาวิปัสสนา ถึงจะเป็นสัมมาสมาธิก็เถอะ

ที่ท่านยกเอาสมถะของโลกุตตรจิตมาแสดง ตรงนั้นเป็นการแสดงส่วนประกอบ (Combination) ของโลกุตตรจิต ว่าประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้าง เมื่อพูดถึงโลกุตตรจิต ก็คิอจิตของอริยบุคคลผู้ได้ผลสมาบัติแล้ว แสดงอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อได้ผลสมาบัติแล้วจิตท่านเมื่อสงบนิ่งจะประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้าง

สำหรับเราๆ ท่านๆ ให้ focus ไปที่มรรคจิตเบื้องต่ำ สมถะก็เกิดได้เหมือนกัน จัดเป็นสัมมาสมาธิหากมีส่วนประกอบหรือสมาชิกตรงตามที่ได้แสดงไว้ในพระอภิธรรม ถ้าไม่ครบ ก็ยังไม่ใช่ แต่ปัญหาจริงๆ ก็คือ มีพระอรหันต์หรือพระอนาคามีขึ้นไปที่บรรลุเจโตวิมุติเท่านั้นที่จะพยากรณ์เรื่องแบบนี้ได้ พวกเราจึงได้แต่ศึกษาถึงเหตุปัจจัยการเกิดองค์ธรรม และพยายามควบคุมที่เหตุปัจจัยนั้นเพื่อสมาธิที่เกิดจะได้เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

ปัญญาคือธรรมที่ทำให้รู้ ให้เห็น ให้แจ้ง สามารถปหานอกุศลธรรมได้ เมื่ออกุศลธรรมลดลง เพราะปัญญาแข็งแกร่ง ก็เกิดสมาธิ คือธรรมทีทำให้จิตสงบผ่องใส พอจิตสงบ ก็วิปัสสนาต่อ ให้ได้มรรคผลขึ้นสูงขึ้นไป พวกผมยึดถือปฏิบัติกันตามนี้

ท่านลองยกประเด็นที่ว่า อภิธรรมสังคหะ กับพระอภิธรรมมีข้อเท็จริงที่ขัดแย้งกันมาสักประเด็นสิครับ จะได้ช่วยๆ กันศึกษาหาความรู้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร