วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 04:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อสังเกตโดยใส่เจตนาลงไปช่วยนิดหน่อย คือ หายใจเข้าแล้วกลั้นไว้ สักครู่เดียว จะได้เห็น
รู้ ถึงความเป็นทุกขัง ทนไม่ได้ขึ้นมาทันที
ถ้าอยากจะเห็น ทุกข์เวทนาที่กาย ทุกขเวทนาที่จิต เห็นอัตตา อนัตตา นิโรธ หรือนิพพาน ตัวอย่าง ก็ให้ลองเอาความเป็นกูเป็นเรา มาบังคับลมหายใจที่เข้าออกตามธรรมชาติไว้
เมื่อเริ่มต้นบังคับแล้ว ก็ให้เอาปัญญาสัมมาทิฐิมาเฝ้าดู ปัญญาสัมมาสังกัปปะเข้ามาเฝ้า สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต


ขอบคุณมากมายครับ คุณอโศกะ :b8:

อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีฝึกสติ คือ อาศัยลมหายใจ

เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ


นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งสั้นๆ พอได้ใจความที่กรัชกายนำมา เพราะยาวเกิน

เต็มๆเป็นอย่างนี้ครับ

ปราชญ์บางท่าน ชี้ให้สังเกตความแตกต่างระหว่าง อานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจ

ของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะที่เรียกว่า ปราณยาม
เป็นต้น ว่า

เป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ

อาศัยลมหายใจเป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา

ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญและละเลิกมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 มิ.ย. 2011, 09:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ใส่เจตนาลงไปช่วยนิดหน่อย คือ หายใจเข้าแล้วกลั้นไว้ สักครู่เดียว จะได้เห็นรู้ ถึงความเป็นทุกขัง ทนไม่ได้ขึ้นมาทันที
ถ้าอยากจะเห็น ทุกข์เวทนาที่กาย ทุกขเวทนาที่จิต เห็นอัตตา อนัตตา นิโรธ หรือนิพพาน ตัวอย่าง ก็ให้ลองเอาความเป็นกูเป็นเรา มาบังคับลมหายใจที่เข้าออกตามธรรมชาติไว้



ขอเรียนถามคุณอโศกะหน่อยครับว่า ตามที่คุณเล่ามา โดยเติมนั่นนิดใส่นี่หน่อย ตัวอย่างเช่น คุณใส่เจตนาเข้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วก็กลั้นลมหายใจไว้เช่นนั้น ก็เพื่อต้องการเห็นทุกข์เวทนาทางกาย ทางใจหรือครับ
ต้องการเห็นอัตตา อนัตตา เห็นนิโรธ เห็นนิพพานหรือครับน่ะ :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือ ภาวะหมดปัญหา

เมื่อได้กล่าวถึงทุกข์หรือปัญหาพร้อมทั้งสาเหตุ อันเป็นเรื่องร้ายไม่น่าพึงใจแล้ว

พระพุทธเจ้าก็ทรงชโลมดวงใจของเวไนยชนให้เกิดความเบาใจและให้มีความหวังขึ้น

ด้วยการตรัสอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ แสดงให้เห็นว่า

ทุกข์ที่บีบคั้นนั้นดับได้ ปัญหาที่มีความกดดันนั้นแก้ไขได้ ทางออกที่น่าพึงใจมีอยู่

ทั้งนี้ เพราะสาเหตุแห่งปัญหาหรือความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่กำจัดหรือทำให้หมดสิ้นไปได้

ทุกข์หรือปัญหาตั้งอยู่ได้ด้วยอาศัยเหตุ

เมื่อกำจัดเหตุแล้ว ทุกข์ที่เป็นผลก็พลอยดับสิ้นไปด้วย

เมื่อทุกข์ดับไปปัญหาหมดไป ก็มีภาวะหมดปัญหา หรือภาวะไร้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นไปเอง

โดยนัยนี้ นิโรธอริยสัจ จึงตามเข้ามาเป็นลำดับที่ ๓

ทั้งโดยความเป็นไปตามธรรมดาของกระบวนธรรมเอง

และทั้งโดยความเหมาะสมแห่งกลวิธีการสอนที่ชวนสนใจ ช่วยให้เข้าใจและได้ผลดี



เมื่อกำจัดตัณหา พร้อมทั้งกิเลสว่านเครือ ที่คอยกดขี่บีบคั้น ครอบงำและหลอนล่อจิตลงได้

จิต ก็ไม่ต้องถูกทรมานด้วยความเร้าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวาดหวั่นพรั่นกลัว

ความกระทบกระทั่ง ความหงอยเหงา และความเบื่อหน่าย

ไม่ต้องหวังความสุขเพียงด้วยการวิ่งหนีหลบออกไปจากอาการเหล่านี้บ้าง

แก้ไขด้วยหาอะไรมาเดิมมากลบปิดไว้ หรือ มาทดแทนให้บ้าง

หาที่ระบายออกไปภายนอกบ้าง พอผ่านไปคราวหนึ่งๆ

แต่คราวนี้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นตัวของมันเอง ปลอดโปร่งโล่งเบา

มีความสุขที่ไร้ไฝฝ้าด้วยไม่ต้องสะดุดพะพานสิ่งกังวลคั่งค้างใจ สงบ สดชื่น เบิกบาน ผ่องใสได้

ตลอดทุกเวลา อย่างเป็นปกติของใจ บรรลุภาวะสมบูรณ์แห่งชีวิตด้านใน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 17:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนอีกด้านหนึ่ง เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสที่บีบคั้นครอบงำหลอนล่อและเงื่อนปมที่ติดข้องในภายใน

เป็นอิสระ ผ่องใสแล้ว

อวิชชาไม่มีอิทธิพลหนุนนำชักใยอีกต่อไป ปัญญาก็พลอยหลุดพ้นจากกิเลส ที่บดบัง

เคลือบคลุม บิดเบือน หรือย้อมสี บริสุทธิ์เป็นอิสระไปด้วย ทำให้สามารถคิดพิจารณา

สิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง มองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะและตามเหตุปัจจัย


เมื่อไม่มีอวิชชาคอยชักให้ไขว่เขว ปัญญาก็เป็นเจ้าการในการชักนำพฤติกรรม ทำให้วางใจ

ปฏิบัติตนแสดงออก สัมพันธ์กับโลกและชีวิตด้วยความรู้เท่าทันคติแห่งธรรมดา

นอกจากปัญญานั้น จะเป็นรากฐานแห่งความบริสุทธิ์เป็นอิสระของจิตในส่วนชีวิตด้านในแล้ว


ในส่วนชีวิตด้านนอก ก็ช่วยให้ใช้ความรู้ความสามารถของตนไปในทางที่เป็นไปเพื่อการแก้

ปัญหา เสริมสร้างประโยชน์สุขได้อย่างแท้จริง

สติปัญญาความสามารถของเขาถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ของมัน ไม่มีอะไรหน่วงเหนี่ยว

บิดเบน เป็นไปเพื่อความดีงามอย่างเดียว ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

หรือชีวิตที่ดำเนินไปด้วยปัญญา

ยิ่งกว่านั้น ในเมื่อจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง เป็นสุขอยู่เป็นปกติเอง ไม่ห่วงไม่กังวล

เกี่ยวกับตัวตน ไม่ต้องคอยแสวงหาสิ่งเสพเสวย และคอยปกป้องเสริมความมั่นคงยิ่งใหญ่

ของตัวตนที่แบกถือเอาไว้แล้ว จิตใจก็เปิดกว้างออก แผ่ความรู้สึกอิสระออกไป

พร้อมที่จะรับรู้สุขทุกข์ของเพื่อนสัตว์โลก และคิดเกื้อกูลช่วยเหลือ

โดยนัยนี้ ปัญญา จึงได้ กรุณา มาเป็นแรงชักนำชี้ช่องทางของพฤติกรรมต่อไป

ทำให้ดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นได้เต็มที่ และในเมื่อไม่ยึดติดถือมั่นอะไรๆในแง่

ที่เป็นกิเลส ในแง่ที่ผูกพันจะเอาจะได้เพื่อตัวตนแล้ว ก็จะสามารถทำการต่างๆที่ดีงาม

บำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นได้แน่วแน่และเด็ดเดี่ยวจริงจัง



สำหรับชีวิตด้านใน มีจิตใจเป็นอิสระ เป็นสุข ผ่องใส เบิกบาน เป็นความบริบูรณ์แห่งประโยชน์

ตน เรียกว่า อัตตหิตสมบัติ

ส่วนชีวิตด้านนอก ก็ดำเนินไปเพื่อเกื้อกูลแก่ผู้อื่น เรียกว่า ปรหิตปฏิบัติ เข้าคู่กัน

เป็นอันครบลักษณะของผู้ที่ได้ประจักษ์แจ้งความหมายสูงสุดของนิโรธ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 07:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม ผู้ดำเนินในมรรคาแห่งอารยชน ไม่จำเป็นที่จะต้องรอเพื่อเสวยภาวะที่ดี

งามเป็นประโยชน์เช่นนี้ต่อเมื่อได้บรรลุนิพพาน ที่เป็นความหมายสูงสุดของนิโรธเท่านั้น

แม้ในระหว่างดำเนินในมรรคาที่ถูกต้องอยู่นั่นเอง ก็สามารถประสบผลแห่งการปฏิบัติประจักษ์

แก่ตนได้เรื่อยไป
โดยควรแก่การปฏิบัติ

ด้วยว่านิโรธนั้น มีผ่อนลงมารวมด้วยกันถึง ๕ ระดับ คือ



๑. วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยการข่มไว้ โดยทำจิตใจให้สงบ เยือกเย็นผ่อนคลาย

หายเครียด ปราศจากความขุ่นมัวเศร้าหมอง หายเร่าร้อนกระวนกระวาย ด้วยวิธีการฝ่าย

สมาธิ

เฉพาะอย่างยิ่งหมายเอาสมาธิในระดับฌาน ซึ่งกิเลสถูกทำให้สงบไว้ ได้เสวยนิรามิสสุขตลอดเวลา

ที่อยู่ในฌานนั้น


๒. ตทังคนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยองค์ธรรมคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เฉพาะอย่างยิ่งการรู้จัก

คิด รู้จักพิจารณา มีปัญญารู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปตามเหตุ

ปัจจัย และจะพึงแก้ไขที่เหตุปัจจัย ไม่ขึ้นต่อความอยากความปรารถนาและความหมายมั่นยึดถือ

ของมนุษย์ แล้ววางใจได้ถูกต้องและปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นด้วยท่าทีแห่งความรู้ ความเข้าใจ

ความหวังดีมีน้ำใจงามและความเป็นอิสระ

เมื่อปัญญานี้ เห็นแจ่มแจ้งชัดเจนตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่า วิปัสสนาปัญญา

ทำให้กิเลสและความทุกข์ดับหายไปได้ตลอดชั่วเวลานั้น มีจิตใจสงบบริสุทธิ์ เป็นสุข ผ่องใส

เบิกบานใจ กับทั้งทำให้จิตประณีตและปัญญางอกงามยิ่งขึ้น


๓. สมุจเฉทนิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยตัดขาด คือบรรลุโลกุตรมรรค ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค

ขึ้นไป ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยได้เสร็จสิ้นเด็ดขาดตามระดับของมรรคนั้นๆ


๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับกิเลสดับทุกข์ด้วยสงบระงับไป คือ บรรลุโลกุตรผล เป็นอริยบุคคล

ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป กิเลสดับสิ้นไปแล้ว มีความบริสุทธิ์ปลอดโปร่งเป็นอิสระตามระดับ

ของอริยบุคคลขั้นนั้นๆ


๕. นิสสรณนิโรธ ดับกิเลสด้วยสลัดออกไป หมายถึงภาวะที่เป็นอิสระปลอดโปร่งอย่างแท้จริง

และโดยสมบูรณ์ คือ ภาวะแห่งนิพพาน

(ขุ.ปฏิ.31/65/39; 704/609)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 07:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน:
ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา..มิใช่ทุกข์ในตำรา.สักแต่ว่า..เกิด เป็นทุกข์..แก่ เป็นทุกข์..เจ็บเป็นทุกข์..เสียใจเป็นทุกข์..ไม่ใช่ทุกข์ของผู้อื่น แต่เป็นทุกข์ของตัวเอง..ทุกข์ที่ทำให้ตัวของตัวเอง..เบื่อหน่าย..กลัว..ไม่อยากเจออีก..ทุกข์ตัวนี้จึงเป็นทุกข์ในอริยะสัจสี่..ของตัวท่านเอง

เมื่อใครถามท่านว่า.ท่านมาศึกษาธรรมะทำไม?
หากท่านตอบได้อย่างแน่ใจว่า..เพราะไม่อยากเจอทุกข์ (ของท่านเอง) อีก

ผมแน่ใจว่า ท่านถึงแล้วซึ่งทุกข์ และ จะถึงในอริยะสัจที่เหลือ ในไม่ช้า..



ติดใจต่อคำพูดคุณ กบนอกกะลา นิดหน่อย

ขออนุญาตเรียนถามคำกล่าวท่านที่ว่านี้ => (ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา)

ท่านค้นหาทุกข์ ในอริยสัจสี่ ยังไงครับ จึงทำให้มั่นใจถึงเพียงนั้น :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอเรียนถามคุณอโศกะหน่อยครับว่า ตามที่คุณเล่ามา โดยเติมนั่นนิดใส่นี่หน่อย ตัวอย่างเช่น คุณใส่เจตนาเข้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วก็กลั้นลมหายใจไว้เช่นนั้น ก็เพื่อต้องการเห็นทุกข์เวทนาทางกาย ทางใจหรือครับ ต้องการเห็นอัตตา อนัตตา เห็นนิโรธ เห็นนิพพานหรือครับน่ะ
ตอบ ให้เห็นตัวอย่างของจริงครับ

สวัสดีครับ คุณกรัชกายที่นับถือยิ่ง
๙๙๙๙๙๙๙ :b19: ตามอ้างถึงที่ยกมานั้น ผมได้บอกไว้แล้วนิดหน่อยว่า อานาปานสติภาวนา ที่ยกมานั้น ถ้าทำโดยใส่เจตนา สังเกต พิจารณา ลมหายใจ กลั้นน้อย กลั้นใหญ่ สังเกตพิจารณาเข้าไปในกาย จิต ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นการฝึกหัดและทดสอบ การทำวิปัสสนาภาวนากับ ลมหายใจ ผลทีเกิดขึ้นมาให้ได้รับ ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัสนั้น เป็นผลตัวอย่าง เป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถสภาวะ ที่มีอัตตา มีบัญญัติ มาสั่งนำ ผลที่ได้จึงเป็นผลหลอก เป็นผลเสมือนจริง เป็นตัวอย่าง แบบอย่าง ให้ผู้ทดลอง ได้รู้ ได้เห็น ได้เข้าใจความจริง ทุกข์เวทนาทางกาย ทางใจหรือ อัตตา อนัตตา นิโรธ นิพพาน ที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างเสมือนจริงทั้งสิ้น
๑๑๑๑๑๑๑ :b19: เมื่อเห็นตัวอย่างแล้วจะได้ความรู้สำคัญคือรู้วิธี การเจริญภาวนาปัญญาสัมมาสังกัปปะ หรือการสังเกต พิจารณา เมื่อเจริญปัญญาสัมมาสััังกัปปะเข้าไปในสิ่งใด ก็ตาม สภาวธรรมใดก็ตาม นั่นคือการเริ่มต้นการทำวิปัสสนาภาวนา
๙๙๙๙๙๙๙ :b5: ผู้ปฏิบัติจักได้เห็นได้รู้และเข้าใจสภาวธรรมในกายและจิตตามความเป็นจริง โดยได้อาศัยตัวอย่างจากการฝึกหัดทำอาปานสติภาวนาที่กล่าวมาข้างต้น
๙๙๙๙๙๙๙ :b29: ดีที่สุดทุกท่านทดลองทำดู อานาปานสติภาวนา ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที จะได้สัมผัสความจริงเสมือน จะได้ปัญญาวิปัสสนา เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อัตตา นิโรธ นิพพานหลอก ได้ตัวอย่างวิธีการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 อย่างง่าย ไปพร้อมๆกันหมด ในการทำแบบฝึกหัด กำหนดและสังเกต พิจารณาลมหายใจ
๙๙๙๙๙๙๙๙ :b29: รู้ทันปัจจุบันของลมหายใจ เป็น สัมมาสติ เฝ้าดูลมหายใจเป็นสัมมาทิฐิ สังเกต พิจารณาลมหายใจเป็นสัมมาสังกัปปะ เพียรเฝ้าดูเฝ้าสังเกต เป็นสัมมาวายามะ จิตตั้งมั่นอยู่กับการเฝ้าดู เฝ้าสังเกต เป็นสัมมาสมาธิ การเจริญสติเจริญปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิต เป็นสัมมากัมมันตะ การได้มีโอกาสมีเวลามาศึกษาธรรม ทดสอบธรรม เป็นผลของสัมมาอาชีวะ เรื่องที่กำลังพูดกันอยู่นี้ เป็นสัมมาวาจา ครบ 8 ละยังครับ :b35:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้ทันปัจจุบันของลมหายใจ เป็น สัมมาสติ
เฝ้าดูลมหายใจเป็นสัมมาทิฐิ สังเกต พิจารณาลมหายใจเป็นสัมมาสังกัปปะ
เพียรเฝ้าดูเฝ้าสังเกต เป็นสัมมาวายามะ
จิตตั้งมั่นอยู่กับการเฝ้าดู เฝ้าสังเกต เป็นสัมมาสมาธิ
การเจริญสติเจริญปัญญาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิต เป็นสัมมากัมมันตะ
การได้มีโอกาสมีเวลามาศึกษาธรรม ทดสอบธรรม เป็นผลของสัมมาอาชีวะ
เรื่องที่กำลังพูดกันอยู่นี้ เป็นสัมมาวาจา
ครบ 8 ละยังครับ


ขอบคุณครับ :b8:
ครับๆ ครบ ๘ แล้วครับ

ถามอีกนิดหนึ่ง ปฏิบัติแบบนั้น หากเราต้องการจะปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ต่ออีก
ต้องทำอย่าง่ไรอีกบ้าง จึงจะครบ ๓๗ ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. มรรค คือ ทางดับทุกข์ หรือ วิธีปฏิบัติ เพื่อกำจัดสาเหตุแห่งปัญหา

เมื่อรู้ทั้งปัญหา ทั้งสาเหตุแห่งปัญหา ทั้งจุดหมายที่เป็นภาวะหมดสิ้นปัญหา

รู้ทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ก็พร้อมและเป็นอันถึงเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติ

โดยเฉพาะแง่ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดโดยตรง ก็คือ เมื่อรู้จุดหมายที่จะต้องไปให้ถึง ว่าเป็นไปได้และคืออะไร

แล้ว

การปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายนั้น จึงจะพลอยเป็นไปได้ด้วย

ถ้าไม่รู้ว่าจุดหมายคืออะไร จะไปไหน ก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติหรือเดินทางได้อย่างไร


ดังนั้น ว่าโดยความสัมพันธ์ระหว่างข้อธรรมด้วยกัน มรรคย่อมสมควรเข้าลำดับเป็นข้อสุดท้าย

อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยวิธีการสอน ตามธรรมดานั้น

การปฏิบัติเป็นกิจที่ต้องอาศัยเรี่ยวแรงกำลัง

ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่งที่เป็นจุดหมาย ก็ย่อมไม่มีกำลังใจจะปฏิบัติ

อาจเกิดความระย่อถ้อถอย หรือถึงกับไม่ยอมปฏิบัติ

แม้หากปฏิบัติก็อาจทำอย่างถูกบังคับ จำใจ ฝืนใจ สักว่าทำ ไม่อาจดำเนินไปด้วยดี


ในทางตรงข้าม ถ้าเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่งที่เป็นจุดหมายแล้ว

เขาย่อมยินดีปฏิบัติ ยิ่งจุดหมายนั้นดีงาม เขาอยากได้มากเท่าใด

เขาก็จะมีกำลังใจปฏิบัติด้วยความเข้มแข็งมากเท่านั้น

เมื่อเขาประสงค์จริงจังแล้ว แม้ว่าการปฏิบัติจะยากลำบากเท่าใดก็ตาม

เขาก็จะพยายามต่อสู้ทำให้สำเร็จ

การที่พระพุทธเจ้าตรัสนิโรธไว้ก่อนหน้ามรรค ก็เพราะเหตุผลข้อนี้ด้วย คือ ให้ผู้ฟังมีความหวัง

และเห็นคุณค่าของนิโรธที่เป็นจุดหมายนั้นก่อน จนเกิดความสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

วิธีปฏิบัติ และ พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติต่อไป

เมื่อพระองค์ตรัสแสดงนิโรธให้เห็นว่า เป็นภาวะควรบรรลุถึงอย่างแท้จริงแล้ว

ผู้ฟังก็ตั้งใจที่จะรับฟังมรรคด้วยใจมุ่งมั่น ที่จะเอาไปใช้เป็นข้อปฏิบัติ และทั้งมีกำลังเข้มแข็ง

พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติตามมรรค และยินดีที่จะเผชิญกับความยากลำบากในการปฏิบัติตามรรคนั้นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 มิ.ย. 2011, 09:35, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมองหาเหตุแห่งทุกข์ มนุษย์ชอบมองออกไปหาที่ซัดทอดในภายนอก

หรือมองให้ไกลจากความรับผิดชอบของตนเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉันใด

เมื่อจะแก้ไขทุกข์ มนุษย์ก็ชอบมองออกไปข้างนอก หาที่ปกป้องคุ้มครองให้ตนพ้นภาระหรือช่วยทำ

การแก้ไขทุกข์แทนให้ ฉันนั้น

ว่าโดยลักษณะ การกระทำทั้งสองนั้นก็คล้ายคลึงกันคือ เป็นการหลบหน้าความจริง

ไม่กล้ามองทุกข์ และเลี่ยงหนีการเผชิญความรับผิดชอบ เหมือนคนหนีภัยด้วยความขลาดกลัว

หาที่พอปิดตาซุกหน้าไม่ให้เห็นภัยนั้น นึกเอาเหมือนว่าได้พ้นภัย

ทั้งที่ทั้งร่างทั้งตัวถูกปล่อยทิ้งไว้ในภยันตราย

ทำทีเช่นนี้ ทำให้เกิดนิสัยหวังพึ่งปัจจัยภายนอก เช่น การอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

การบนบานเซ่นสรวงสังเวย การรอคอยการดลบันดาลของเทพเจ้า หรือ นอนคอยโชคชะตา



พระพุทธศาสนาสอนว่าสิ่งที่พึ่งเช่นนั้น หรือการปล่อยตัวตามโชคชะตาเช่นนั้นไม่เป็นทางแห่งความมั่นคง

ปลอดภัย ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์แท้จริง

วิธีแก้ไขทุกข์ที่ถูกต้องคือ มีความมั่นใจในคุณพระรัตนตรัย ทำใจให้สงบและเข้มแข็ง

แล้วใช้ปัญญา มองดูปัญหาอย่างมีใจเป็นกลาง ให้เห็นตามสภาวะของมัน และพิจารณาแก้ไข

ปัญหานั้นที่เหตุปัจจัย

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า รู้จักดำเนินวิธีแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ ประการ คือ

กำหนดทุกข์

สืบสาวหาสาเหตุแห่งทุกข์

เล็งรู้ภาวะดับทุกข์ที่จะพึงบรรลุ

แล้วปฏิบัติวิธีแก้ไขที่ตรงเหตุ ซึ่งพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมาย เรียกว่ามรรคมีองค์ ๘ การปฏิบัติเช่นนี้

จึงจะเป็นการพ้นทุกข์ที่แท้จริง

ดังพุทธพจน์ว่า


“มนุษย์มากมายแท้ ถูกภัยคุกคามเข้าแล้ว พากันยึดเอา ภูเขาบ้าง ป่าบ้าง

สวนและต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์บ้าง เป็นที่พึ่ง

สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นที่พึ่งอันเกษมได้เลย นั้นไม่ใช่สรณะอันอุดม คนยึดเอาสรณะอย่างนั้น

จะพ้นไปจากสรรพทุกข์หาได้ไม่

“ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มองเห็นด้วยปัญญาโดยถ่องแท้

ซึ่งทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคามีองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบ

ระงับทุกข์ นี่แหละคือสรณะอันเกษม นี้คือสรณะอันอุดม คนถึงสรณะอย่างนี้แล้ว

ย่อมปลอดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”


(ขุ.ธ.25/24/40)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ค. 2010, 11:30, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ มีสติปัญญา

ความสามารถที่อาจฝึกปรือ หรือ พัฒนาให้บริบูรณ์ได้ สามารถหยั่งรู้ธรรม

บรรลุความหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ทุกข์ ลอยเหนือโลกธรรม และมีความดีสูงเลิศที่แม้แต่เทพเจ้า

และพรหมก็เคารพบูชา ดังมีพระบรมศาสดาเป็นองค์นำ

มนุษย์ทั้งหลายที่หวังพึ่งเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์นั้น ถ้ารู้จักฝึกอบรมตนให้ดีแล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดที่เทวะ

และสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะทำให้ได้ เหมือนดังที่กรรมดีและจิตปัญญาของมนุษย์เองจะสามารถทำ


พระธรรม เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า ความจริงหรือสัจธรรมเป็นภาวะที่ดำรงอยู่

โดยธรรมดา สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ถ้ารู้จัก มองดูรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่มันเป็นจริง นำความรู้ธรรมคือความจริงนั้น

มาใช้ประโยชน์

ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย ด้วยความรู้เท่าทันสภาวะ และ กระทำการที่ตัวเหตุปัจจัยก็จะแก้ไขปัญหาได้ดี

ที่สุด เข้าถึงธรรมและมีชีวิตที่ดีที่สุด


พระสงฆ์ เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า สังคมดีงามมีธรรมเป็นรากฐาน

ประกอบด้วยสมาชิก ผู้มีจิตใจไร้หรือห่างทุกข์ เป็นอิสรเสรี

แม้มีพัฒนาการแห่งจิตปัญญาในระดับแตกต่างกัน แต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี

มีความสมเสมอกันโดยธรรม มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วมอยู่สร้างสังคมเช่นนี้ได้

ด้วยการรู้ธรรมและปฏิบัติตามธรรม


ถ้าไม่มีความมั่นใจในพระรัตนตรัย ก็ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก เช่น เซ่นสรวงอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์

บนบานเทพเจ้า เป็นต้นต่อไป

แต่ถ้ามั่นใจในพระรัตนตรัยแล้ว ก็เรียนรู้หลักการแก้ไขทุกข์ ตามหลักอริยสัจและปฏิบัติตามวิธีการ

ของมรรคในพระพุทธศาสนา


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


พระรัตนตรัยเป็นหลักใหญ่ ๓ เส้า ที่ชาวพุทธพึงระลึกตระหนักอยู่เสมอ คือ

๑. พุทธ = มนุษย์ ชี้ถึงศักยภาพสูงสุด ที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละบุคคล

๒. ธรรม = ธรรมชาติ ธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ที่รู้แล้วจะลุธรรมที่เหนือเหตุปัจจัย

๓. สงฆ์ = สังคม สังคมอุดมคติแห่งอริยชน ผู้ดำเนินอยู่ในชั้นต่างๆ แห่งการรู้ธรรม

และก้าวตามวิถีแห่งพุทธะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 08:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ หรือ วิธีแก้ไขปัญหานี้ เรียกชื่อว่า มรรค เพราะเป็นเหมือน

หนทางที่นำไปสู่จุดหมาย ชื่อว่า มีองค์ ๘ เพราะเป็นทางสายเดียว แต่มีส่วนประกอบ ๘ อย่าง

การเดินทางสู่จุดหมายจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งแปดอย่างนั้น ทำหน้าที่คอยเสริมกัน

และประสานสอดคล้องพอเหมาะพอดี

ความพอเหมาะพอดีและตรงเป้าหมายนี้ อาศัยปัญญาที่เห็นชอบ หรือ รู้เข้าใจถูกต้องช่วยส่อง

ช่วยชี้นำให้

มรรคนั้นจึงมี สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบข้อแรก และเพราะเป็นข้อปฏิบัติพอเหมาะพอดี

ที่จะให้แล่นตรงเข้าสู่เป้าหมาย จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง

ซึ่งสังเกตง่ายๆ ด้วยลักษณะที่ไม่เอียงเข้าหาที่สุดทั้งสอง คือมิใช่เห็นแก่จะแสวงหาสิ่งเสพเสวย

มาบำรุงบำเรอปรนเปรอตน มัวเมาหมกมุ่นอยู่ในกามสุข (= กามสุขัลลิกานุโยค)

โดยไม่คำนึงถึงใครอื่น

และมิใช่หันเหไปสู่จุดทางตรงข้าม มุ่งหน้าทำการบีบรัดเข้มงวดเอากับตนเอง

หาทุกข์มาทับถมตัว เหมือนดังว่า เบื่อหน่ายเกลียดชังตัวตน (= อัตตกิลมถานุโยค)




การปฏิบัติตามมรรคนั้น จะเริ่มต้นได้ และจะดำเนินต่อไปด้วยดี ต้องอาศัยปัจจัย ๒ อย่างเป็นเชื้อ

ชนวนและเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงสนับสนุน เรียกว่าปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ

อย่างแรก เป็นปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ดี คือเสียงหรือ

การชักนำ แรงเร้าและอิทธิพลจากผู้อื่น โดยเฉพาะที่เรียกว่า กัลยาณมิตร เช่น พ่อแม่

ครู อาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ คนมีชื่อเสียงที่ประสบความสำเร็จด้วยความดี และบุคคลอื่นๆ

ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีงาม

น่าเลื่อมใส ทั้งที่ใกล้และไกล ซึ่งจะช่วยอบรมสั่งสอนแนะนำให้คำปรึกษาหารือ

หรือ เร้าจิตจูงใจให้ใฝ่นิยมในสิ่งดีงาม และให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ด้วยอาศัยศรัทธา คือ ความเชื่อความเชิดชูนิยมนับถือเป็นสื่อชักนำ

ตลอดจนช่วยกระตุ้นแนะให้รู้จักคิดรู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยตนเอง



อย่างที่สอง เป็นปัจจัยภายใน หรือ องค์ประกอบในตัวบุคคล ได้แก่โยนิโสมนสิการ คือ

การทำในใจโดยแยบคาย หรือ ความฉลาดคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี รู้จักคิดรู้จักพิจารณา

สิ่งทั้งหลาย ให้ตรงตามสภาวะและตามเหตุปัจจัยของมัน

เมื่อมีปัจจัยสองอย่างนี้ ช่วยปลุกเร้าและส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ

ก็มั่นใจได้มากว่า การปฏิบัติธรรมหรือการดำเนินชีวิต จะอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง


กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นองค์มรรคข้ออื่นๆ ก็จะเจริญงอกงามไปกับปัญญาด้วย

เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งเดินหน้าไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 08:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 14:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน:
ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา..มิใช่ทุกข์ในตำรา.สักแต่ว่า..เกิด เป็นทุกข์..แก่ เป็นทุกข์..เจ็บเป็นทุกข์..เสียใจเป็นทุกข์..ไม่ใช่ทุกข์ของผู้อื่น แต่เป็นทุกข์ของตัวเอง..ทุกข์ที่ทำให้ตัวของตัวเอง..เบื่อหน่าย..กลัว..ไม่อยากเจออีก..ทุกข์ตัวนี้จึงเป็นทุกข์ในอริยะสัจสี่..ของตัวท่านเอง

เมื่อใครถามท่านว่า.ท่านมาศึกษาธรรมะทำไม?
หากท่านตอบได้อย่างแน่ใจว่า..เพราะไม่อยากเจอทุกข์ (ของท่านเอง) อีก

ผมแน่ใจว่า ท่านถึงแล้วซึ่งทุกข์ และ จะถึงในอริยะสัจที่เหลือ ในไม่ช้า..


ติดใจต่อคำพูดคุณ กบนอกกะลา นิดหน่อย

ขออนุญาตเรียนถามคำกล่าวท่านที่ว่านี้ => (ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา)

ท่านค้นหาทุกข์ ในอริยสัจสี่ ยังไงครับ จึงทำให้มั่นใจถึงเพียงนั้น :b8:



ใช้การพิจารณาครับ..

อย่าง..ทุกข์ของพระพุทธเจ้าสมัยเป็นเจ้าชายที่เพราะเห็นความลำบากของพ่อ แล้วก็รู้ว่าปู่ก็เช่นกัน จึงไม่อยากดำเนินตามรอยเดิม...เรา ๆ อ่านเท่าไร ๆ ก็ไม่ทำให้เราคิดอยากออกจากทุกข์เหมือนพระองค์...อะไรทำให้เป็นอย่างนั้น

แต่ครั้น...มาใช้การพิจารณา..ไม่ว่าจากการอ่านหรือฟังพระเทศน์..เรื่องทุกข์...ขณะนั้นหรือในเวลาต่อมาพิจารณา ( อาจจะมาเทียบเคียงกับที่ประสบการณ์ของตัวเอง) แล้วเห็นว่า..มันทุกข์..จริง ๆ ..ไม่เอาอีกแล้ว..นั้นแหละ..ทุกข์ตัวนี้จึงมีผลกับเรา..เป็นทุกข์ที่ทำให้เราอยากออกจากทุกข์..จึงเป็นทุกข์ในอริยะสัจสี่ของเรา

ตัวอย่าง...
มีคนหนึ่ง..อ่านหนังสือหลวงพ่อฤาษีฯ..ท่านกล่าว..(ทำนองว่า)..คนเราเกิดมาต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพ บางครั้งก็ไม่อยากทำ แสดงว่าทำงานเป็นทุกข์..กว่าจะมามีอาชีพได้ก็ต้องร่ำเรียนกันมากี่ปี..การเรียนนี้มันสุขหรือมันทุกข์..สรุปว่ามีแต่ทุกข์...คนอ่าน..(คิดตาม)..จริง..มันทุกข์จริง ๆ หลวงพ่อ..(คิดต่อ)..ถ้าไม่มีเกิด ก็ไม่มีตัว ก็ไม่ต้องหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ต้องเรียน..เป็นอันว่า...การเรียนกับทำงานมันเป็นทุกข์ของเขา...และการเกิดเป็นสมุทัยของเขา

หนังสือเล่มนี้เข้าใจว่าคนอื่น ๆ ก็อ่านเหมือนกัน แต่อาจจะเจอทุกข์ไม่เหมือนกัน...บางคนก็เฉย ๆ ไปเลย..อะไรจึงเป็นอย่างนั้นเล่า..

มีคนหนึ่ง...พระท่านถามว่า...ตั้งแต่เกิดมาจนถึงเดียวนี้มีความสุขบ้างแล้วหรือยัง...คนฟัง…(คิดตาม)..ตอบในใจว่ามีแต่ทุกข์ จริง..จริงหลวงพ่อ..( แกบอกว่าภาพทุกข์ของแกตั้งแต่เด็กจนมาถึงตอนแก่..ผุดขึ้นเพียงชั่วอึดใจ) ..พระถามต่อ..จะเอาอีกไหม..แกบอกพระทันที..ไม่เอาแล้วคะหลวงพ่อ..ก้าวแรกทางธรรมของแกก็ได้เริ่มขึ้น..เป็นอันว่า..ความไม่สมปรารถนาเป็นความทุกข์ของแก

ผมจึงมั่นใจ..หากไม่พิจารณาให้เห็นทุกข์ปรากฏขึ้นจริงในใจเราแล้ว..จะตัดสินใจออกจากทุกข์ได้อย่างไร..หากยังไม่เจอทุกข์ที่สะกิดใจเราได้...ก็ให้พิจารณาทุกข์ต่อไป..การหาทุกข์ของผมจึงมีความหมายอย่างนี้..นะครับ..

เมื่อเห็นทุกข์แล้ว..จึงก้าวต่อไป.. มาหาเหตุของทุกข์ มาหาความดับทุกข์ในทางมรรค 8 ..ทุกข์ตัวแรกก็ผ่านไปไม่มีเหตุต้องกลับมาดูอีก..
ส่วนทุกข์อื่น ๆ อาจละเอียด ๆ ขึ้น จะพบระหว่างทางเดินในมรรค 8 แล้ว.. ก็แก้กันตามลำดับกำลังสติ ปัญญา จนถึงที่สุด

ความคิดเห็นเหล่านี้ เป็นของผู้ที่ยังไม่แจ้งในพระสูตร....ในปิฎก...ในธรรม หากผิดจากธรรมประการใด อย่างไร ก็ขอให้อภัยผมด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัวอย่าง...
มีคนหนึ่ง..อ่านหนังสือหลวงพ่อฤาษีฯ..ท่านกล่าว..(ทำนองว่า)..คนเราเกิดมาต้องทำงาน หาเลี้ยงชีพ บางครั้งก็ไม่อยากทำ แสดงว่าทำงานเป็นทุกข์..กว่าจะมามีอาชีพได้ก็ต้องร่ำเรียนกันมากี่ปี..การเรียนนี้มันสุขหรือมันทุกข์..สรุปว่ามีแต่ทุกข์...คนอ่าน..(คิดตาม)..จริง..มันทุกข์จริง ๆ หลวงพ่อ..(คิดต่อ)..ถ้าไม่มีเกิด ก็ไม่มีตัว ก็ไม่ต้องหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ต้องเรียน..เป็นอันว่า...การเรียนกับทำงานมันเป็นทุกข์ของเขา...และการเกิดเป็นสมุทัยของเขา


ขอบคุณครับ :b8:

ถามอีกนิดนะครับ ประเด็นที่อ้างอิงมา
เมื่อบุคคลนั้นคิดว่า เกิดมาแล้วก็ต้องเรียน เรียนจบทำงานหาเลี้ยงตัวเลี้ยงครอบครัว เมื่อเขาเห็นว่าเป็นทุกข์ และการเกิดมาเป็นคนเป็นสมุทัยของเขา ประมาณนี้ ใช่นะครับ


เมื่อเป็นดังนี้ บุคคลนั้นจะทำอย่างไรต่อไปให้พ้นจากทุกข์เพราะการเรียน เพราะการทำงานที่เขาเห็นนั้น
แล้วเขามีหนทางอย่างไรที่จะพ้นจากทุกข์นั้น แล้วมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อย่างเป็นสุขได้ตลอดชีวิตของเขาครับ :b1:

.......

คุณกบนอกะลาครับ คห.ที่คุณอ้างอิงมา ๒ คห.ๆ แรกไม่มีคำตอบอะไรเลยอ้างมาเฉยๆ
แจ้งลบเถอะนะครับ เก็บไว้รุงรังเปล่าๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 02:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ถามอีกนิดนะครับ ประเด็นที่อ้างอิงมา
เมื่อบุคคลนั้นคิดว่า เกิดมาแล้วก็ต้องเรียน เรียนจบทำงานหาเลี้ยงตัวเลี้ยงครอบครัว เมื่อเขาเห็นว่าเป็นทุกข์ และการเกิดมาเป็นคนเป็นสมุทัยของเขา ประมาณนี้ ใช่นะครับ

เมื่อเป็นดังนี้ บุคคลนั้นจะทำอย่างไรต่อไปให้พ้นจากทุกข์เพราะการเรียน เพราะการทำงานที่เขาเห็นนั้น แล้วเขามีหนทางอย่างไรที่จะพ้นจากทุกข์นั้น แล้วมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อย่างเป็นสุขได้ตลอดชีวิตของเขาครับ


เห็นว่า..กำลังมะงุมมะหงาหร่ากับอริยะมรรคมีองค์ 8 อยู่ นะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร