วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 19:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
การทำลายสักกายทิฏฐิ เริ่มตั้งแต่เสขบุคคลขั้นแรก คือโสดาบัน และคงอยู่ (หมายถึง การไม่มีซึ่งสักกายทิฏฐิ แต่ระดับการเห็นแจ้งจะต่างกันบ้างในแต่ละขั้น) ไปจนถึงขั้นอรหันต์ ซึ่งเป็นอเสขบุคคล

ขอขยายความตรงนี้เพื่อความชัดเจนสักเล็กน้อยครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

สักกายทิฏฐิ คือ “ความเห็นผิด” ในกายใจ (ขันธ์ ๕) ว่าเป็นของตัวของตน ซึ่งต่างจาก และเป็นคนละขั้นกันกับ “ความยึดอยาก” ในกายใจ นะครับ :b37: :b38:

โสดาบัน ละ “ความเห็นผิด” ในกายใจลงได้ว่า ไม่เป็นตัวตน แต่ยังไม่สามารถละ “ความยึดอยาก” ในกายใจลงได้ ซึ่งจะค่อยๆละ “ความยึดอยาก” ในกายใจนี้ได้ลงทีละขั้นๆ จนหมดสิ้นไปในระดับอรหันตมรรค :b41: :b41: :b48:

เปรียบเทียบให้เห็นได้ง่ายขึ้นดังนี้ครับ

เหมือนสมัยที่เราเป็นเด็ก เลิกเรียนกลับบ้านมาเปิดตู้เย็นเห็นขนมอยู่เต็มตู้ นึกว่าแม่ซื้อมาให้เรา แต่มีเสียงลอยตามลมมาว่า “อย่าเอาไปทานนะครับ แม่ซื้อมาใส่บาตรพระพรุ่งนี้เช้า” :b6: :b5:

ตอนแรกที่เห็นขนมนั้น มี “ความเห็นผิด” ว่า ขนมนั้น “เป็นของตัวของตน” แต่เมื่อได้ยินเสียงแม่เตือนมา ถึงแม้ว่าจะละ “ความเห็นผิด” เกิด “ความเห็นถูก” ขึ้นมาแล้วว่า ขนมนั้นไม่ใช่ของเราแล้วก็ตาม แต่ “ความยึดอยาก” ที่จะได้เสพรสอร่อยของขนมนั้น ยังไม่จางคลาย และยังละไปไม่ได้เลยแม้แต่น้อย :b2: :b2:

เช่นกันครับ โสดาบัน มีความเห็นถูกแล้วว่า กายใจนั้นไม่ใช่ของตัวของตน เพราะเห็นแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา” (ซึ่งข้อความนี้ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายที่ และมีนัยยะสำคัญที่ชี้แนวทางสำหรับภาคปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันได้อีกหลายแง่มุม) :b46: :b46: :b46:

แต่โสดาบัน ยังไม่สามารถละ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อย (อภิชฌา) หรือในทางตรงข้ามคือ ความไม่ชอบใจในรสขม (โทมนัส) ของกายและใจได้เลย กิเลสยังเต็มเปี่ยมแต่ไม่ออกมาโลดแล่นข้างนอกในระดับที่ผิดศีล ความอยากในกามต่างๆยังเพียบอยู่ ความโกรธหงุดหงิดขัดใจ เศร้าโศกเสียใจยังมีอยู่ โดยจะค่อยๆละสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อจิตสามารถพัฒนาขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น :b39: :b39: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ ในระดับขั้นสกทาคามี ความยึดอยาก (พอใจ/ไม่พอใจ) ในกายใจจะเบาบางลง อยากโน่นอยากนี่น้อยลง กามราคะน้อยลงจนแทบจะไม่มี อาหารจะทานอะไรก็ได้ไม่เรื่องมาก ดูหนังฟังเพลงตัดทิ้งเพราะทำให้จิตไม่ตั้งมั่น โกรธน้อยลงจนเหลือแค่ความขุ่นในใจจางๆเมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

พอถึงในระดับขั้นอนาคามี จึงจะสามารถละ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อยทางกาย (กามราคะ) และความขัดใจในรสขมที่ผ่านทางกาย (ปฏิฆะ) ได้อย่างหมดสิ้น (ขอย้ำว่า เฉพาะที่เนื่องด้วยกายนะครับ) มาจากการละแล้วซึ่งความปรุงแต่งอันเนื่องด้วยกาย เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่ารู้กลิ่น รับรสก็สักแต่ว่ารู้รส สัมผัสก็สักแต่ว่ารู้สัมผัส จิตไม่ปรุงแต่งผัสสะและเวทนาอันเนื่องด้วยกายต่อจนเกิดตัณหา เพราะมีสติปัญญารู้พร้อมในการเกิดดับแห่งผัสสะและเวทนาอันเนื่องด้วยกายจนไม่ยึดถือปรุงแต่งและเพิกอาการ “อยาก” ลงได้ จิตตั้งมั่นเป็นกลางอยู่แต่อาการรู้ แม้แต่ตอนคิดก็รู้ทั้งเรื่องที่คิด และรู้ตัวว่ากำลังคิด กามราคะไม่กำเริบ ถือศีล ๘ โดยเฉพาะข้อ อพรหมจริยา โดยอัตโนมัติ โกรธไม่มีแม้แต่ความขุ่นในใจจางๆเมื่อประสบกับสิ่งที่ (เคย) ไม่ชอบใจ ฯลฯ :b46: :b46: :b46:

แต่ “ความยึดอยาก” พอใจที่จะได้เสพรสอร่อยทางจิต เช่น รูปราคะ และอรูปราคะ (ความสุขสงบในรูปฌาน และอรูปฌาน) รวมถึงกิเลสละเอียดอันเนื่องด้วยจิตอื่นๆ ได้แก่ ความฟุ้งในธรรม การตีค่าให้ค่าความสำคัญในตัวจิตเอง และความไม่รู้อริยสัจอย่างแจ่มแจ้ง ยังไม่สามารถละได้ในระดับขั้นอนาคามี แต่จะตัดได้ขาดในขั้นอรหันตมรรคครับ :b46: :b46: :b45:

สรุปแล้ว การทำลายสักกายทิฏฐิ เริ่มตั้งแต่โสดาบัน และคงอยู่ไปจนถึงขั้นอรหันต์ แต่การเห็นแจ้ง และละซึ่งใน “ความยึดอยาก” ของกายและใจ จะต่างกันบ้างในแต่ละขั้น จนไปหมดสิ้นเอาที่ขั้นอรหันต์ครับ :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 23:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




100_3647_resize.JPG
100_3647_resize.JPG [ 84.18 KiB | เปิดดู 6021 ครั้ง ]
tongue ท่านวิสุทธิปาละ ตอบได้แจ่มแจ้ง ละเอียดละออ ดีมากแล้ว น่าอนุโมทนายินดียิ่งนัก
เห็นข้อความนี้หลายตอน


หากปุถุชน ผู้นั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเห็นรูปนามเเยกจากกันได้จะเรียกว่าอะไรดี?...

จึงขอแจมตอบสั้นๆไว้นิดหนึ่งว่า

ธรรมดา ปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลสทั้งหลาย จะไม่ค่อยมีโอกาสมาเจริญวิปัสสนาภาวนากันหรอก
ต้องยกระดับตัวเองขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งก่อน คือ เป็น กัลยาณชน คนดี มีศีล มีธรรมประจำใจ จิตจึงจะใสจนเอากายมานั่งเจริญวิปัสสนาภาวนาได้

จิตของกัลยาณชนนั้น เป็นบุญ สงบและตั้งมั่นง่าย นั่งภาวนาไปไม่นาน สมาธิเกิด ปัญญาเกิด เมื่อปัญญาลึกละเอียดลงไปจากชั้นธรรมดาสักนิดเดียว เขาจะสังเกตรู้ เห็น ว่า จิตที่รู้ (นาม) กับสิ่งที่ถูกรู้(รูป) แยกอยู่เป็นคนละส่วน ความรู้อันนี้เป็นปัญญาที่เรียกกันว่า ญาณ ญาณระดับที่ 1 นี้เรียกเป็นบาลีว่า "นาม - รูป ปริเฉทญาณ ดังนี้

กัลยาณชนผู้เห็น นาม - รูป แยกออกจากกันได้นี้ เรียกได้ว่ากัลยาณชน ผู้มีปัญญา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




5 จำพวก_resize.jpg
5 จำพวก_resize.jpg [ 101.89 KiB | เปิดดู 6016 ครั้ง ]
tongue เพิ่มเติมแผ่นภาพ บุคคล 5 จำพวก เพื่อประกอบการพิจารณา ครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยะบุคคลมาจากไหน คือ อยากทราบว่าก่อนหน้าที่จะเป็นอริยะบุคคลเนี่ยท่านพัฒนามาจากปุถุชนหรือท่านมาจากไหนครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2010, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 07:37, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 07:36, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 07:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:
เล่าสู่...กัลฯ...ฟัง
วันหยุด..สบาย..สบาย...ไม่ต้องเครียด...
เก็บตก..จากการเดินจงกรม..บนขุนเขาอภัยคีรี :b41:


บรรยากาศดีจริง ๆ :b1:
ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ...



หลังจากอัพโหลดภาพเข้าเครื่อง..ก็จำเรื่องราวของวันนั้นได้
เเล้วเสียงมาจากไหนหนอ???

เเล้วภาพที่เลื่อนได้ล่ะ...



:b1: เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ค่ะ...

ยากที่จะระบุแน่นอนว่าเป็นด้วยเหตุใด...
แต่ที่แน่ ๆ ในบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะเช่นนั้น...
มวลของอากาศ ความกดอากาศ และ ตำแหน่งตามธรรมชาติ...
ซึ่ง...ธรรมชาติคือสื่อ...เสียงเดินทางด้วยมีอากาศ(สภาพอากาศ)เป็นตัวกลาง
แสงก็เช่นเดียวกัน... นั่นคือ...มีความเป็นไปได้ที่สื่อกลางภายนอกก่อให้เกิด...

กับอีกสิ่งก็คือ ตัวรับ ก็คือ เรา...ผู้ที่เกิดผัสสะ...
ตรงนี้... เอกอนพอจะเข้าใจ แต่ยังไม่ชัดแจ้ง ตัดเรื่องหาคำตอบว่าเสียงนั้น
ภาพนั้นจะสื่อถึงอะไร เพราะสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการรับรู้ก็คืออายตนะ...
เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติ...ตั้งข้อสังเกตไว้...จะเป็นประโยชน์...
เพราะ...ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดได้ง่าย...
เอกอน...เรียกว่า... "ความเห็นที่แตกต่าง ผิดเพี้ยนไปจากปกติ"

นั่นคือ...เบื้องต้นที่เอกอนเริ่มเกิดข้อกังขา ... ว่า ปกตินั้น คือเช่นไรกันแน่...

เราจำ...การทำงานของอายตนะต่าง ๆ เข้าใจการทำงานของอายตนะต่าง ๆ
แต่...ไม่ว่าเราจะจำอย่างไร เข้าใจอย่างไร...อายตนะก็ทำงานตามความเป็นเช่นนั้นของมัน...
แม้ว่าเราจะให้คำจำกัดความมันว่าอย่างไร...ก็ตาม...

:b1: ขอให้โชคดีในการศึกษาทางธรรมค่ะ... :b1:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 09:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาบุญกับคุณอานาปานา..ด้วยครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 07:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ คะ ท่านอานาปานา:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 07:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2010, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b48: :b48: :b48:
เอกอน...เรียกว่า... "ความเห็นที่แตกต่าง ผิดเพี้ยนไปจาก ปกติ"

นั่นคือ...เบื้องต้นที่..เอกอนเริ่มเกิดข้อกังขา ... ว่า ปกตินั้น คือเช่นไรกันแน่...

:b1: ขอให้โชคดีในการศึกษาทางธรรม..มีกับคุณ eragon_joe เช่นกัน... :b1:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 01 พ.ย. 2010, 10:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 06 พ.ย. 2010, 11:46, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2012, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
อ้างคำพูด:
ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม..สามารถเข้าใจปัญญาเบื้องต้น นามรูปปริเฉทญาน ได้อย่างไร?
เเละ สามารถมองเห็นปรมัตถธรรม(ยกเว้นนิพพาน)ได้หรือไม่ ด้วยวิธีอะไร?
ปุถุชน ผู้ปฏิบัติธรรม..มีความเพียรสั่งสมอินทรีย์พละ..เพื่อที่เจริญองค์ธรรมให้พร้อมในอนาคต มีความชำนาญในสมถกรรมฐาน จนสามารถเข้าถึงที่สุดของสมถฯ เเล้วที่สุดของวิปัสสนาญาณขั้นใด??..ที่ปุุถุชนสามารถทำได้ถึง
ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม สะสมอินทรีย์พละ ก็ไม่สามารถที่จะ ละสังโยชน์ข้อที่ ๑ สักกายะทิฐิ ได้เลย อย่างนั้นหรือ?...
หากปุถุชน ผู้นั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเห็นรูปนามเเยกจากกันได้จะเรียกว่าอะไรดี?...
หากไม่เป็นการรบกวน ท่านฯ พอจะทบทวนคำถาม เเล้วให้คำตอบในส่วนของปุถุชนจะได้มั้ย?

อย่าเรียกว่าเป็นการให้คำตอบเลยครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติแล้วกันนะครับ :b16: :b46: :b46: :b46:

ขอปูพื้นซักเล็กน้อยเผื่อผู้อ่านที่พึ่งจะศึกษาธรรมะแวะเข้ามานะครับ :b38: :b37: :b46:

คำว่า ปุถุชน ตามรากศัพท์ถึงแม้จะแปลว่า คนหนา คือ ผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แต่ระดับความหนาของกิเลสก็ไม่เท่ากันในแต่ละคน หรือคนเดียวกันก็ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องขูดลอกให้กิเลสค่อยๆบางลงจนเลื่อนชั้นจากปุถุชนเป็นอริยชน :b51: :b53:

การขูดเกลากิเลส พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ให้จำได้ง่ายๆ ๓ ขั้นตามที่เราทราบกันเป็นอย่างดีในโอวาทปาฏิโมกข์ :b46: :b46: :b41: :b42:

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ (ได้แก่ อกุสลกรรมบถ ๑๐)
กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑ (ได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐)
สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ (ได้แก่ เจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย :b8: :b8: :b8:

ง่ายๆคือ ไม่ทำชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ :b46: :b46: :b46:

อย่างไรก็ตาม การไม่ทำชั่ว และการทำดี เป็นเพียงปัจจัยในการเกื้อหนุนให้พัฒนาจากปุถุชน ไปเป็นอริยชนเท่านั้น (แต่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญและขาดไม่ได้ (necessary but not sufficient) ซึ่งหลายข้อ สะท้อนมาในรูปของทศบารมีนะครับ) ส่วนที่เป็นเหตุจริงๆ ได้แก่ การปฏิบัติภาวนาเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ขาวรอบ ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยเทียบสมถะ และวิปัสสนาได้ด้วยตัวอย่างจากนิทานเซนที่มีชื่อเสียงบทหนึ่ง (อาจจะไม่ใกล้คียงนัก แต่พอล้อกันไปได้ครับ) :b40: :b44: :b46: :b46:

จิตใจเปรียบเหมือนกระจกใสบานหนึ่งที่มีฝุ่นเข้ามาจับเป็นคราวๆให้หมอง เปรียบฝุ่นได้กับกิเลสคือ นิวรณ์ต่างๆ, โลภ โกรธ หลง ที่จรเข้ามาจับเป็นบางครั้งและทำให้จิตใจขุ่นมัว ไม่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้น ทำได้ใน ๒ ระดับคือ :b41: :b41:

๑) หมั่นเช็ดถูกระจกเนืองๆอย่าให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสด้วยการใช้องค์ธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับจิต (สมถะ) กดข่มให้ใจเป็นสุข (วิขัมภนะ) เช่น โกรธ, เสียใจก็อย่าเก็บไปคิดให้ใจหมอง หรือการใช้องค์ธรรมตรงข้ามเพื่อให้จิตสงบระงับ (ตทังคะ) เช่น โกรธก็แผ่เมตตาให้อภัย เพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ แช่มชื่นเบิกบาน :b46: :b46: :b46:

๒) ทำให้ไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสอย่างตัดขาด (สมุจเฉทะ) ด้วยการเจริญสติที่พร้อมด้วยธรรมอื่นๆอย่างถูกต้อง (มรรค ๘) จนจิตเกิดปัญญาเห็นว่าไม่มี “เรา” ซึ่งเป็นผู้ทุกข์ (คือ ไม่มีกระจกให้ฝุ่นจับ) จนถึงการหลุดพ้นทางจิตอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ยึดกายใจ (ปฏิปัสสัทธิ + นิสรณะ) จิตใจจะเบา สะอาด สว่าง สงบ เป็นสุขเบิกบาน บริสุทธิ์อย่างแท้จริง :b46: :b46: :b46: :b41:

(แต่วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้ไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับนั้น จะต้องอาศัยกำลังของสมถภาวนา เป็นบาทฐานด้วยนะครับ) :b46: :b46: :b46:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร