วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ท่านพุทธทาส ท่านมีอคติต่อพระอภิธรรม และสำนักวิปัสสนา ที่ตั้งโดยคณาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก


จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส

อ้างคำพูด:
ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ
เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้
ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
ทุกคนจะต้องระลึกถึงข้อที่ว่า เราสวดกันอยู่ทุกวันว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ถ้าเรื่องมันไม่จริงเราก็โกหกทุกวัน เราพูดว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง”, “อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ท่านเป็นครูทั้งของเทวดาและมนุษย์ ไม่ขึ้นไปบนเทวโลกแล้วจะเป็นครูของเทวดาได้อย่างไร เราก็สวดอยู่ทุกวัน ฉะนั้นเรื่องมันต้องเป็นไปได้ ต้องเข้ารูปกันได้ ฉะนั้นมันก็เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสมัยนั้น จะเป็นพระมหาเถระที่เป็นประธานสงฆ์ทั้งหมดในเวลานั้นก็ดี หรือจะเป็นพระมหาจักรพรรดิที่รับผิดชอบ เป็นองค์อุปถัมภ์ของพุทธศาสนาในเวลานั้นก็ดี จะต้องช่วยกันรับผิดชอบให้มันเกิดสถาบันอันนี้ให้แน่นแฟ้นลงไปในจิตใจของคนทั้งปวง ว่าพระพุทธเจ้ามีอะไรครบพร้อมหมดทุกอย่าง ทุกเรื่อง แม้กระทั่งขึ้นไปบนสวรรค์
ทีนี้ดูหินสลักที่จำลองมาไว้ที่นี่ หินสลักสมัยสาญจีนี้มัน พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ เท่านั้นเอง เมื่อ พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ มีความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าขึ้นสวรรค์เสร็จแล้ว ไปดูเถอะ เขาสลักบันไดขึ้นสวรรค์ลงสวรรค์ของพระพุทธเจ้าในหินสลักนั้น ฉะนั้นแสดงว่าประชาชนเชื่อกันหมดแล้ว โดยอำนาจของพระราชามหาจักรพรรดิให้สลักเหล่านี้ ประชาชนต้องเชื่อ ในยุคที่มันพ้องกันกันไม่เชื่ออยู่สักครึ่งอายุคน พอตายหมด ยุคหลังมันเชื่อหมดว่าพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์ นี่ พศ. ๔- ๕๐๐ นี้เป็นอันว่าประชาชนเชื่อแน่นแฟ้นแล้ว มีหินสลักเหล่านี้เป็นพยาน แล้วหนังสือคัมภีร์เรื่องพุทธประวัตินั้นเขียนทีหลังหินสลัก คัมภีร์ลลิตวิตตะหรือว่าพระพุทธจริตะอะไรก็ตาม เรื่องพุทธประวัติมันเขียนทีหลัง เมื่อประมาณ พศ. ๙๐๐ - ๑๐๐๐ เพราะฉะนั้นหนังสือที่เขาเขียนตามหินสลัก หินสลักเขาสลักในสมัยที่ไม่ได้ใช้หนังสือ ทีนี้หินสลักนี้ พศ. ๔-๕๐๐ ถ้าก่อนหินสลัก พศ. ๔ – ๕๐๐ นี้ขึ้นไปอีก มันก็ถึงสมัยพระเจ้าอโศกเท่านั้น
หน้า ๗๙ “ พศ. ๔-๕๐๐ มีการสลักภาพหราไปหมด พศ. ๙๐๐- ๑๐๐๐ ก็เขียนหนังสือ เป็นคัมภีร์พุทธประวัติ อย่างปฐมสมโพธิ ที่เราเรียกในเมืองไทยว่า ปฐมสมโพธิ ในอินเดียก็มีคือคัมภีร์ลลิตวิตตะระ คัมภีร์พุทธจริตะ มันก็มีเรื่องดางดึงส์ ฉะนั้นเรื่องขึ้นดาวดึงส์ต้องมี จริงไม่จริงก็ตามใจ มันต้องให้ฝังอยู่ในจิตใจของประชาชน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัตถาเทวมนุสสานัง สอนทั้งในเทวโลก มนุษย์โลก นี้เราเห็นใจยอมรับว่าจะต้องมี แต่ที่จะให้เราถือว่าเป็นความจริงนั้นมันไม่ได้ นี้เราไม่งมงายเราถือตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าดีจริง คำสอนของพระพุทธเจ้าดีจริง โดยไม่ต้องขึ้นไปบนเทวโลกหรอก ยิ่งไม่ขึ้นไปบนเทวโลกเสียอีกพระพุทธเจ้าจะเก่งกว่า สำหรับเรามันเป็นอย่างนี้ แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีแต่ความเชื่อนั้น มันต้องเป็นอย่างโน้น เดี๋ยวนี้เราจะอยู่ในลักษณะที่มันถูกต้องหรือพอดี เราจึงกล้าวิจารณ์เรื่องปาฏิหาริย์ไปบนเทวโลก ว่ามันไม่สมเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง
ในเรื่องราวนี้มันจะมองกันในแง่วิจารณ์อย่างอิสระ ข้อแรกจะมองตามความ วิตถารที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์เพื่อเทศน์แก่พวกเทวดานั้น จะขอเล่าเพื่อคนบางคนที่ยังไม่รู้เรื่อง คนที่รู้เรื่องแล้วทนเอาหน่อย พระพุทธเจ้าต้องขึ้นไปจำพรรษาบนดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อจะเทศน์โปรดบุคคลที่เคยเป็นพุทธมารดา เป็นประธานในเทวดาทั้งหลาย ทีนี้ท่านทำอย่างไร ท่านเป็นคนอย่างเราๆท่านต้องฉันข้าว แล้วจะอยู่บนนั้น ๓ เดือนได้อย่างไร เช้าขึ้นท่านต้องบิณฑบาต ในเมืองมนุษย์ข้อความเล่าว่า กลับไม่ลงมาสู่บ้านที่ท่านเคยอยู่คือชมพูทวีปนี้ แต่ก็ไปบิณฑบาตเสียที่อุตตรกุรุทวีปคือจะเป็นหลังภูเขาหิมาลัยไปทางประเทศรัสเซียโน้น ไปบิณฑบาตทางโน้น แล้วก็มาฉันที่ตีนเขาหิมาลัย ที่สระอโนดาดเพื่อให้พระสารีบุตรไปเฝ้าที่นั่นทุกวัน แล้วก็แสดงแก่พระสารีบุตรว่าวันนี้ได้เทศน์อะไรที่บนดาวดึงส์ พระสารีบุตรก็จำเอามา แล้วก็มาบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูปช่วยจำเอาไว้ ทุกวันทำอย่างนี้ แต่พระพุทธเจ้าท่านต้องลงมาบิณฑบาตในเมืองมนุษย์ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในเมืองมนุษย์ เพราะมันทำบนเทวโลกไม่ได้ ทำอย่างนี้จนครบ ๓ เดือน หรือพรรษาหนึ่ง
ทีนี้ถามว่า เมื่อท่านลงมาบิณฑบาตและฉันอาหารนี้พวกเทวดาไม่คอยแย่หรือ ? ก็มีเรื่องว่าท่านเนรมิตพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง ให้แสดงธรรมแทนอยู่เหมือนที่ท่านแสดง พวกเทวดามันก็ไม่รู้ -- มันโง่ ทีนี้ ๓ เดือนในประเทศไทย ๑ พรรษา ๓ เดือนในประเทศไทย มันเท่ากับ ๒- ๓ ชั่วโมงในเทวโลก มันก็ยิ่งไม่รู้ซิ คุณเคยรู้เรื่องเปรียบเทียบเวลาเกี่ยวกับอย่างนี้หรือเปล่า : ๑ วัน ในเทวโลกเท่ากับกี่ร้อยปีในเมืองมนุษย์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ๓ เดือน พรรษาหนึ่งอย่างมนุษย์นี้เท่ากับ ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดา แล้วเวลาระหว่างนั้นพระพุทธเจ้าต้องลงมาบิณฑบาตที่นี่ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะที่นี่ตั้ง ๙๐ ครั้ง ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดานั่น เอาละเป็นอันว่าท่านทำได้อย่างนั้น นี้เราก็สงสัยว่าทำไมต้องไปบิณฑบาตฝ่ายอุตตกุรุซ่อนตัวอย่างนี้ทำไม มาบิณฑบาตกับพวกเราตามเคยไม่ได้หรือ นี้มันส่อพิรุธอย่างนี้ แล้วเมื่อพระพุทธเจ้าลงมาบิณฑบาตฉันอยู่ทางนี้ พระพุทธนิมิตทางโน้นพูดว่าอะไร รู้ได้อย่างไร หรือท่านยังบันดาลให้ท่านพูดอยู่ แล้วท่านฉันข้าวไปพลางอย่างนั้นหรือ มันเป็นเรื่องที่ชวนให้วิจารณ์อย่างนี้เรื่อยไป
ทีนี้เรื่องทั่วไปในพระไตรปิฏกมีว่า เทวดาก็ลงมาในเมืองมนุษย์เฝ้าพระพุทธเจ้าหรืออะไรบ่อยๆ ทำไมพระพุทธเจ้าไม่เรียกเทวดาลงมาประชุมกันที่เมืองมนุษย์ล่ะ เรียกเทวดาทั้งหลายลงมาประชุมกันเสียที่เมืองมนุษย์ มันคงทำไม่ได้อีกแหละ ๒-๓ ชม. ของพวกโน้นมันเท่ากับ ๓ เดือนของพวกนี้ มันทำไม่ได้อย่างนี้
ทีนี้ถ้าว่าเราดูเรื่องที่พูด โผล่ขึ้นมาก็กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมานี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ โผล่ขึ้นมาถึงก็พูดอย่างนี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ แล้วยิ่งแจกขันธ์แจกธาตุแจกอายตนะซับซ้อนลึกซึ้งออกไป ก็ยิ่งฟังไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ได้พูดถึงเรื่องบุคคลอย่างบุคคลาธิษฐานที่มีความทุกข์ ต้องการจะดับทุกข์อย่างนี้ ท่านไม่เคยพูด ก็เป็นอันว่าเรื่องที่แสดงแก่พุทธมารดานั้นมันไม่อยู่ในวิสัยที่ท่านจะฟังถูก ให้คุณไปเปิดดูอย่างที่ขอร้องเมื่อตะกี้ว่าอุตส่าห์ไปซื้ออภิธรรมปิฏกมาอ่านดู คุณจะรู้สึกตัวเองว่าเทวดาฟังไม่ถูก นี่มันมีข้อที่วิจารณ์อย่างนี้
ทีนี้ดูสำนวนที่มันอยู่ในบาลีอภิธรรมปิฎกนั้น มันเป็นสำนวนอีกชนิดหนึ่งไม่เหมือนกับสำนวนในสุตตันตปิฏก แล้วมันส่อว่าเป็นสำนวนรุ่นหลัง สำนวนทีหลังซึ่งเลวลงมาและอีกทีหนึ่งก็เป็นสำนวนสอนเด็กในโรงเรียน ตามวิธีหนังสือที่ทำมันให้ชัดเจนรัดกุมตายตัว เหมือนกับหนังสือสำนวนสอนเด็กในโรงเรียนอย่างนั้น คือสำนวนที่ใช้สอนในโรงเรียน ว่าอย่างนั้นก็ได้ แม้ไม่ใช่เด็ก แม้ไม่ใช่เด็ก แต่เป็นสำนวนสอนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกเป็นอย่างนี้ ส่วนสุตตันตปิฏกนั้นเป็นสำนวนพูดกับชาวบ้าน พูดกับมนุษย์ตามปกติเลย แล้วแต่เรื่องอะไรมันจะเกิดขึ้น ไม่ใช่สำนวนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกสำนวนในโรงเรียนสอนตรรกวิทยา จิตวิทยา , ส่วนสุตตันตปิฏก นี้เป็นสำนวนพูดกันธรรมดาในเรื่องความดับทุกข์ นี้มันเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมพระอาจารย์ผู้เขียนอรรถกถาสมันตปาสาทิกานี้อาจารย์ผู้นี้เคร่งครัดอย่างยิ่ง conservative อย่างยิ่ง คือพระพุทธโฆษาจารย์ เขียนว่า อภิธรรมปิฏกนี้มันรวมอยู่ในขุททกนิกาย ลองคิดดู

ทีนี้ดูอีกแง่หนึ่งว่าสุตตันตปิฏกทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะระบุสถานที่ที่เกิดเรื่อง แล้วพระพุทธเจ้าตรัส แล้วตรัสแก่ใคร บอกเป็นเรื่องๆ ไปเลย ส่วนในพระอภิธรรมปิฏกไม่บอก ไม่มีบอกว่าตรัสแก่ใครที่ไหน ไม่มีบอกว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์ ที่ว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์นั้น มันคนทีหลังว่า ไม่มีอยู่ในตัวพระไตรปิฏกเอง ไม่มีอยู่ในอรรถกถาของอภิธรรมโดยตรงเอง มีแต่ในหนังสือที่คนชั้นหลังแต่ง ชั้นหลังว่า นี่พวกเรามันโง่ว่าพระพุทธเจ้าว่าหรือว่าในอภิธรรมปิฏกมันว่า มันเป็นอย่างนี้ ขออภัยพูดหยาบคายหน่อย ในอภิธรรมปิฏกมันไม่มีบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่นั้นที่นี่ มันโผล่ขึ้นมาก็เป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมาเลย แล้วเป็นสำนวนสอนในโรงเรียน ไม่ใช่สำนวนพูดกับคน
ทีนี้ที่น่าคิด : สุตตันตปิฏกมีหลักฐานเรื่องที่พูด ; เรื่องคนฟังอะไรเสร็จหมด แล้วก็ไม่ขู่ใครๆว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ในตัวสุตตันตปิฏกเองก็ไม่ได้ขู่ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก. พระอรรถกถาจารย์ของสุตตันตปิฏกทั้งหลายก็ไม่ขู่ใครว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก แต่อภิธรรมปิฏกนี้ประหลาดมีการขู่โดยใครก็ตามใจ กระทั่งเดี๋ยวนี้ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ทำไมของดีวิเศษจะต้องมาขู่กันอย่างนี้ นี่ก็ช่วยเอาไปคิดดูด้วย เมื่ออภิธรรมปิฏกมีปาฏิหาริย์ถึงอย่างนี้แล้ว ว่าพระพุทธเจ้าไปเทศน์บนดาวดึงส์ก็เชื่อแล้ว ทำไมจะต้องเอามาขู่ว่า ถ้าไม่เชื่อจะต้องตกนรกอีกล่ะ มันขัดขวางกันอย่างยิ่ง
ทีนี้ที่ประหลาดต่อไปอีกก็คือว่า มันพูดแต่เรื่องตัวหนังสือขยายาความ พูดเป็นอักษรศาสตร์ การขยายความ ทางตรรกวิทยา ทางจิตวิทยา, ไม่พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เลย. เรื่องสมถะ เรื่องวิปัสสนา มีนิดเดียว หรือเรียกได้ว่าไม่มีในอภิธรรมปิฏก. ในอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท นั้น มีอยู่สักครึ่งปริเฉทเท่านั้นที่จะพูดถึงตัวการปฏิบัติ, แล้วก็เอ่ยถึงสักแต่ว่าชื่อ แล้วก็ไม่แปลกออกไปจากสุตตันตปิฏกที่ตรงไหนเลย. แต่ไปพูดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องเหตุ เรื่องอะไรต่าง ๆ ไม่รู้กี่ปริเฉทต่อกี่ปริเฉท มากมายหลายหมื่นหลายแสนคำพูด ; นี้มันน่าสงสัย

เดี๋ยวนี้อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนทั้งหมดในคัมภีร์อภิธรรมนั้นมันเป็นอภิธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างใต้ดิน นี้เลิกกันเสียที ขอร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสวรรค์ข้างบน นรกข้างใต้นี้เลิกกันเสียที มันโง่เกินไป เพราะว่ามันไม่มีข้างบนข้างล่าง โลกกลมๆนี้ มันมีจุดดูดอยู่ที่ตรงกลางแล้วมันดูดเข้าหาจุดๆนี้เพราะฉะนั้นข้างนอกออกไปมันเป็นข้างบน ข้างฝ่ายนี้มันเป็นข้างล่างรอบตัว เอาส้มโอสักลูกหนึ่ง ฝังแม่เหล็กที่แรงมากๆไว้ตรงศูนย์กลางส้มโอ แล้วก็เอาตุ๊กตาที่ทำด้วยเหล็กตัวเล็กๆมากๆ มาติดไว้รอบส้มโอเลย แล้วคุณจะรู้ว่าไม่มีข้างบนข้างล่าง นี่แหละความรู้สึกว่าข้างบนข้างล่างนี้คือความหลอกลวงของ Gravity ของโลก พวกที่บินไปถึงโลกพระจันทร์เขารู้เรื่องนี้ดี แล้วเขาจะหัวเราะพวกอภิธรรมที่มัวสอนอยู่ว่าสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่าง ฉะนั้นเลิกมันได้แล้ว เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างนี้ มันเป็นเรื่องที่เลิกกันได้แล้ว

ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.


-------------------------------------------------------

ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797

:b8: :b8: :b8:
---------------------------------------


จากทิฏฐิของท่าน จะเห็นว่า ท่านมีอคติตั้งประวัติพระอภิธรรม, พระอภิธรรมปิฏก, พระอภิธัมมัตถสังคหะ รวมไปถึงสำนักเรียนพระอภิธรรมต่าง ๆ และ สำนักวิปัสสนาที่ตั้งโดยคณาจารย์สายนี้


ศิษย์เอกของท่านที่รับทิฏฐินั้นมาเต็ม ๆ คือ คุณ mes ที่ยกย่องท่านมากเสียยิ่งกว่า พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท สังเกตจากกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเชิดชูทิฏฐิของอาจารย์ตนเท่านั้น



หนุกหนาน ศิกษย์เอก

สำนักอภิธรรมชาติ

สานต่อเจตนารมณ์เขียนพระไตรปิฎกเองเลย

อย่าอีแอบหลังอภิธัมมัตถสังคหะ

ชูเจตนาทิฐิเจ้าสำนักให้เต็มเหนี่ยว

ว่าแต่มีญาติทางใหนกับเจ้าสำนักหรือเปล่า

ทางเมียที่ทิ้งไปมีไหม เขาทิ้งน่ะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากเนื้อหามีแต่คำกล่าว ทำให้ผู้อ่าน ไม่ได้อ่านเนื้อความได้ยาก คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม
พระธรรมโกษาจารย์

(เงื่อม อินทปญฺโญ)
พุทธทาสภิกขุ

เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449

อุปสมบท 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469

มรณภาพ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

พรรษา 71
อายุ 84
วัด ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)
จังหวัด สุราษฎร์ธานี
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.๓, น.ธ.เอก
พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกมากมายจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ทั้งเรื่องพุทธพาณิชย์ เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลัทธิพราหมณ์ เรื่องความยึดมั่นถือมั่นในบุญบาป เรื่องความหลงใหลในยศลาภของพระสงฆ์ และเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ท่านพุทธทาสภิกขุมุ่งชี้ให้ชาวพุทธทั้งหลายเห็นถึงมิจฉาทิฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เสมอมา ทำให้หลายคนขนานนามท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็น พระผู้ปฏิรูป แต่แท้จริงแล้ว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเลย เพียงแต่ระยะเวลาอันยาวนานได้ทำให้ความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปรหรือถูกเบี่ยงเบนไป ท่านพุทธทาสภิกขุจึงทำหน้าที่เสมือนผู้กลั่นให้พระพุทธศาสนากลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง

คำสอนจำนวนมากจากท่านพุทธทาสภิกขุเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที

นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ชีวิต
1.1 ครอบครัว
1.2 ชีวิตวัยเยาว์
1.3 ชีวิตวัยหนุ่ม
1.4 สู่เพศบรรพชิต
1.5 พรรษาที่สอง
1.6 พรรษาที่สามและสี่
1.7 สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง
1.8 อุดมคติก่อตัว
1.9 กำเนิดสวนโมกขพลาราม
1.10 กำเนิดนามพุทธทาส
2 ปณิธานในชีวิต
3 เกียรติคุณ
3.1 สมณศักดิ์
3.2 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
3.3 อื่นๆ
4 ผลงาน
5 อ้างอิง
5.1 หนังสือ
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ชีวิต
[แก้] ครอบครัว

บ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุเกิด
ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2529 ซึ่งไม่เหลือเค้าเดิมมากนัก โดยบ้านเดิมนั้นเป็นพื้นดิน และหลังคามุงจาก
บ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุโตขึ้นมา
ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านพุทธทาสภิกขุย้ายมาอยู่บ้านหลังนี้ตั้งแต่ยังเล็ก และบิดามารดาของท่านพุทธทาสภิกขุก็ใช้บ้านเป็นร้านค้าชื่อ ไชยาพานิช ไปในตัว
นายเซี้ยง พานิช
บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุ
นางเคลื่อน พานิช
มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสภิกขุเกิดในช่วงเวลาปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฮกเกี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในสำเนียงแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย

งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้านช่างไม้ โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น

มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา

มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีอุปนิสัยที่เน้นเรื่องความประหยัด และความละเอียดลออในการใช้จ่าย ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

ถ้าจะให้บอกว่ามีอะไรมาจากโยมหญิงบ้าง เห็นจะเป็นเรื่องประหยัด เรื่องละเอียดลออในการใช้จ่าย เพราะว่าถูกสอนให้ประหยัดแม้แต่น้ำที่จะล้างเท้า ห้ามใช้มาก แม้แต่น้ำกินจะตักมากินนิดหนึ่งแล้วสาดทิ้งไม่ได้ แม้แต่ใช้ฟืนก็ต้องใช้พอดี ไม่ให้สิ้นเปลือง ถ้ายังติดไม่หมดต้องดับ เก็บเอาไว้ใช้อีก ทุกอย่างที่มันประหยัดได้ต้องประหยัด มันมากเหมือนกัน ประหยัดไปได้ทุกวิธี มันก็เลยติดนิสัย มันมองเห็นอยู่เสมอ ไอ้ทางที่จะประหยัดเพื่อประโยชน์ มองเห็นอยู่ว่าต้องทำอย่างไร[1]
นอกจากนี้ มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังได้อบรมสั่งสอน และเป็นแบบอย่างให้ท่านพุทธทาสภิกขุในอีกหลายเรื่อง ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวไว้ในธรรมเทศนาตอนหนึ่งว่า

จะขอยกตัวอย่างที่แม่ได้ทำหน้าที่ของแม่ในการสร้างนิสัยอันละเอียดให้แก่ลูก เช่น ในความเรียบร้อย แม่กวดขันให้ล้างจานข้าวให้สะอาดเรียบร้อยและเก็บให้เรียบร้อย เสื้อผ้าต้องเรียบร้อย ปูที่นอนต้องเรียบร้อย ล้างมือล้างเท้าสะอาด...
แม่สร้างนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน แม่สอนว่ายอมแพ้นั้นไม่ถือว่าเป็นการเสียเกียรติ เพราะให้เรื่องมันระงับไป แต่ก็ไม่ต้องเสียหายอะไรเนื่องจากว่าต้องยอมแพ้ มันเป็นการปลอดภัย และใครๆ ก็รักคนที่ยอมแพ้ไม่ให้เรื่องเกิด
แม่สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม่สอนว่าให้ลูกแมวได้กินข้าวก่อน แล้วคนจึงกิน สัตว์เดรัจฉานเป็นเพื่อนของเรา...
แม่อบรมนิสัยให้รักน้องให้รักเพื่อน แม่สอนว่าน้องเอาเปรียบพี่ได้ แต่พี่เอาเปรียบน้องไม่ได้... แม่สอนว่าให้ดูว่าไก่ไม่มีเห็บเพราะมันช่วยจิกให้กันและกัน ลูกไก่เล็กๆ ยังช่วยจิกเห็บให้ลูกไก่ตัวใหญ่ เห็บที่มันอยู่ตามหน้าตามหงอนซึ่งมันจิกเองไม่ได้ แต่ไก่ก็ไม่มีเห็บ เพราะมันปฏิบัติหน้าที่เพื่อนของกันและกัน...
แม่อบรมนิสัยกตัญญูรู้คุณ ให้เด็กเล็กๆ ช่วยทำงานให้แม่บ้าง ทำอะไรไม่ได้มากก็เพียงแต่ช่วยตำน้ำพริกแกงให้ก็ยังดี เหยียบขาให้แม่หายเมื่อย เอาใจใส่แม่เมื่อเจ็บไข้...
ให้ปลูกฝังคือว่าให้ใช้เวลาว่าง ปลูกพริก ปลูกมะเขือ ปลูกตะไคร้ ดอกมะลิ ดอกราตรี แม้แต่สับปะรด กล้วย ก็ยังสอนให้ปลูก แล้วยังสอนคาถากันขโมยให้ด้วยว่า ถ้านกกินเป็นบุญ ถ้าคนกินเป็นทาน อาตามายังจำได้อยู่กระทั่งบัดนี้ ว่าถ้านกกินให้ถือว่าเราเอาบุญ ถ้าคนมันขโมยเอาไปก็ถือว่าให้ทาน แล้วมันก็จะไม่ถูกขโมยเลยจนตลอดชีวิต มันกลายเป็นให้ทานไปเสียทุกที ถ้าสัตว์มากินก็เอาบุญ ก็ไม่ต้องฆ่าสัตว์ไม่ต้องยิงสัตว์[2]
ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน[3] และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล

[แก้] ชีวิตวัยเยาว์

ท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อมีอายุ 5 ขวบ
ถ่ายหน้าบ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุโตขึ้นมา จากซ้ายไปขวาคือ พระกลั่น (ต่อมาเป็นอาจารย์บาลีของท่านพุทธทาสภิกขุ) พระหนุน (เจ้าอาวาสวัดพุมเรียง) เด็กชายเงื่อม (ท่านพุทธทาสภิกขุ) นายเซี้ยง (บิดาท่านพุทธทาสภิกขุ) และเด็กชายยี่เกย (น้องชายท่านพุทธทาสภิกขุ)ไฟล์:Phumriang temple.jpg
วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่
ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2529เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า

ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์[1]
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องยาโบราณและยาสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า

คือพอมานั่งรวมกลุ่มกัน ไอ้เด็กคนที่เป็นหัวโจกหน่อย มันก็จะตั้งประเด็นขึ้น เช่น เอ้าวันนี้ เรามาพูดเรื่องหุงข้าว ใครจะเล่าก่อน ส่วนมากพวกที่อาสาก่อนมันก็จะเป็นพวกที่ฉลาดน้อยกว่าคนอื่น มันก็ต้องเล่าวิธีที่หุงข้าวว่าทำอย่างไร เด็กทั้งหลายก็คอยฟัง ถ้าคนเริ่มต้นมันเป็นคนโง่ๆ หน่อย มันอาจจะเริ่มต้นว่า "กูก็เอาข้าวสารใส่หม้อ ตั้งบนไฟ" เด็กนอกนั้นมันก็จะชวนกันค้านว่า "มึงยังไม่ได้เข้าไปในครัวสักที จะทำได้ยังไงล่ะ" อย่างนี้เป็นต้น หรืออาจจะมีสอดว่า "มึงยังไม่ได้ก่อไฟสักที" ถ้ามีช่องให้ซักค้านได้มาก ๆ มันก็ต้องให้คนอื่นเป็นคนเล่า เวลาถูกค้านได้ทีก็จะเฮกันที มันอาจจะละเอียดถึงขั้นว่ายังไม่ได้เปิดประตูแล้วจะเข้าไปในครัวได้อย่างไร หรือยังไม่ได้หยิบขันมันจะตักน้ำได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ในที่สุดมันจะต้องได้เล่าถึงขั้นตอนทุกขั้นตอน จนไม่มีอะไรบกพร่อง เหมือนกับการบรรยายของนักประพันธ์ละเอียดถี่ยิบไปหมด เพราะคนค้านมันมีมาก มันก็ค้านได้มาก มันเป็นการฝึกความละเอียดลออถี่ถ้วน ฝึกการใช้ลอจิก คนฉลาดมันมักจะเป็นคนเล่าคนหลังๆ ที่สามารถเล่าได้ละเอียดโดยไม่มีใครค้านได้[1]
[แก้] ชีวิตวัยหนุ่ม

โบสถ์วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ
ภาพนี้ถ่ายช่วงปี พ.ศ. 2460 - 70
อาคารหลังเก่าของโรงเรียนสารภีอุทิศ (ปัจจุบันได้รื้อไปแล้ว)เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้

ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า

ขาย 2 ร้าน ต้องมีเกวียน ผมต้องขับเกวียนบ้าง ต้องเลี้ยงวัวบ้าง แต่เขาก็มีผู้ใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่เลี้ยงวัวขับเกวียนนะ แต่บางทีผมแทรกแซง นี่สนุกไปเลี้ยงวัวแถบทางรถไฟนี่สนุก รื้อก้อนหินทางรถไฟ หาจิ้งหรีดอยู่ใต้นั้น มันชุม ให้วัวกินหญ้าไปพลางอยู่ที่ทางรถไฟตรงที่เอียง ๆ ลงมา ความจริงเขาห้าม ผิดระเบียบ เราก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ เพราะหญ้ามันมี วัวมันชอบกินหญ้าแถวนั้น บางทีมันก็ขึ้นไปกินข้างบนๆ ต้องไล่ลง เจ้าหน้าที่เขาจะดุ ถ้าเลี่ยงลงมาช้าๆ เขาไม่ดุ ถ้าผู้ใหญ่ที่เป็นคนเลี้ยงโดยตรงไม่ไป เราก็ดูให้จนเย็น หมดเวลาเขาจึงมารับเอากลับไป[1]
แต่แล้วบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เสียชีวิตไปในช่วงที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสืออยู่ชั้น ม. 3 เมื่อจบชั้น ม. 3 ท่านพุทธทาสภิกขุจึงต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยมารดาทำการค้าขาย และส่งน้องชาย ซึ่งในขณะนั้นเป็นสามเณรยี่เกย ให้มีโอกาสได้เรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การช่วยทางบ้านเป็นงานที่หนัก แต่บางครั้งท่านพุทธทาสภิกขุก็พักผ่อนหย่อนใจด้วยการออกหาอาหารทะเล การเลี้ยงปลากัด และการฝึกดนตรี แม้มารดาของท่านจะถือว่าดนตรีเป็นของไม่ดีก็ตาม ในส่วนของการเลี้ยงปลากัดนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุทำได้ดีถึงขนาดนักเลงปลากัดได้มาแอบขโมยเอาปลากัดของท่านไป ท่านพุทธทาสภิกขุพูดถึงเรื่องเหล่านี้เอาไว้ว่า

ผมไม่เพียงแต่ขายของ เป็นกรรมกรด้วย แบกของไปส่งตามบ้านเขา อย่างบ้านข้าราชการนี่เขาซื้อน้ำมันก๊าดปี๊บหนึ่งนี่ เราก็ต้องแบกไปส่งให้ ไม่มีลูกจ้าง ไม่มีรถรา มันก็ยุ่ง ทำงานหนักด้วย กระทั่งต้องผ่าฟืนทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน อย่างโยมเขาซื้อไม้โกงกางมาทั้งลำเรือ เราต้องเลื่อยให้มันเป็นท่อน แล้วผ่าจนหมด จนเก็บไว้ใต้ถุนบ้านเสร็จ ผ่าไม้โกงกางนี่ก็สนุก มันกรอบ เอาขวานแตะมันกระเด็นออกไป หรือบางทีเอาขวานวางหงาย เอาไม้ซัดลงไปมันก็แตก มันก็สนุก...
บางเวลาขอยืมอวนที่โรงโป๊ะนั่นเอง เพื่อลากปลาตรงโรงโป๊ะ ลากขึ้นมาบนหาดทรายครั้งเดียวกินไม่ไหว มีครบ ปูม้าก็มี ปลาหมึกก็มี ปลาอะไรก็มี มีหลายอย่าง ปลาหมึกแบบกระดองแข็ง ที่เขาเอามาทำยาสีฟันผงหมึกก็มี ชนิดกระดองแข็งนะ เอามาต้มทั้งเป็นๆ มันกรอบไม่น่าเชื่อเลย กรอบเกือบเท่าลูกสาลี่กรอบ กรอบกร้วมเลย กินโดยไม่ต้องมีน้ำจิ้มก็อร่อย กินปลาหมึกกับกาแฟก็ยังได้...
ผมมีวิธีชนิดที่ทำให้ปลากัดเก่งไม่มีใครสู้ได้ ตัวไหนเลือกดูให้ดี ดูมันแข็งแรงอ้วนท้วนดี เอาใส่ลงในบ่อกลม ๆ แล้วเอาตัวเมียใส่ขวดแก้วผูกเชือกแล้วหย่อนลงไป พอไอ้ตัวผู้เห็น มันวิ่งเลย วิ่งรอบบ่อ มันยิ่งกว่าออกกำลัง ทำไป 3-4 วันเท่านั้นตัวก็ล่ำ ตาเขียว ครีบหนา กัดมือเอาเลยถ้าไปจับ อย่างนี้ถ้าเอาไปกัดชนะแน่ มีนักเลงปลากัดมาลักเอาของเราไป ผมมาเห็นเอ๊ะ ปลาตัวนี้หายไป ตัวอื่นมาแทน ผมถามว่าใครมาที่นี่ โยมบอกชื่อว่าคนนั้นๆ ซึ่งเป็นนักกัดปลาอาชีพ เขามาขโมยเปลี่ยนของเราไป เอาไปกัดแล้วชนะจริงๆ...
อีกอย่างที่ผมชอบเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่มีโอกาสฝึกก็คือดนตรี มันชอบเอง นายธรรมทาสเขาไม่ชอบเลย รู้สึกจะเกลียดเสียด้วยซ้ำ แต่ผมนี้ชอบดนตรี ชอบเพลง อย่างเรียกว่าสุดเหวี่ยงเลย แต่โยมห้าม ไม่ให้เอาเครื่องดนตรีขึ้นไปบนเรือน ผมจึงไม่ค่อยได้หัด มีบ้านที่เขาหัด เราก็ลองไปดูไปหัด ผมชอบง่ายๆ ชอบขลุ่ย ชอบออแกนที่โยกด้วยมือ มันง่าย มันเป็นนิ้วเป็นโน้ต ถ้าเราร้องเพลงอะไรได้ เราก็ทำเสียงอย่างนั้นได้ แต่ฝึกไม่ได้ เพราะมันอยู่ที่โยม ต้องเอาไปคืนเจ้าของ[1]
ในสมัยก่อนที่ท่านพุทธทาสภิกขุจะมีอายุครบบวชนั้น วงการศาสนาท้องถิ่นในพุมเรียงกำลังตื่นเต้นกับการศึกษานักธรรม ซึ่งเป็นการศึกษาธรรมะแบบใหม่ที่พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำริให้มีขึ้น ท่านพุทธทาสภิกขุในสมัยนั้นก็ค้นคว้าหาหนังสือนักธรรมตรี โท เอก รวมทั้งหนังสือพระอภิธรรมมาอ่าน แล้วอาศัยบ้านของตนเองเป็นเวทีสังกัจฉา คอยพูดคุยตอบโต้ปัญหาธรรมะกับผู้อื่นในละแวกเดียวกัน ซึ่งถึงแม้ท่านพุทธทาสภิกขุจะยังมีอายุน้อย แต่ก็เชี่ยวชาญและฉะฉานในข้อธรรมจนผู้ที่มาคุยด้วยต่างยอมรับ ในเรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้พูดเอาไว้ว่า

เรื่องคุยธรรมะนี่ ผมทำตัวเป็นอาจารย์ธรรมะกลายๆ ตอนเช้าก็มีคนมาคุยธรรมะ เราต้องโต้ต้องสู้ ข้าราชการคนหนึ่งเข้าอยู่ทางฝ่ายนี้ เขาก็ต้องเดินผ่านที่ร้าน เราไปทำงานยังที่ทำการ แล้วก็ยังมีคนอื่นอีก แถวๆ นั้นที่เป็นญาติๆ กัน ถ้าเห็นตาคนนี้มาเขาจะมาดักเย้าธรรมะกัน กว่าแกจะหลุดไปทำงานก็เป็นชั่วโมง แล้วก็มาที่บ้านเราด้วย ผมต้องซื้อหนังสือนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก อภิธรรมอะไรนี่มาอ่าน ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กกว่าเขาเพื่อน ส่วนใหญ่เขาคนแก่ทั้งนั้น แต่เรามักพูดได้ถูกกว่า เพราะเรามีหนังสืออ่าน เขามันพูดตามข้อสันนิษฐาน มันก็สนุกกับการได้พูดให้คนอื่นฟัง ถ้าว่ากันถึงการเรียนธรรมะ นี่มันเรียนมาก่อนบวช เมื่อบวชก็เกือบจะไม่ต้องเรียนอีกแล้ว ขนาดนักธรรมตรี เกือบจะไม่ต้องเรียนเพราะเคยอ่านมาโต้กันก่อน[1]
[แก้] สู่เพศบรรพชิต
ไฟล์:Ubol temple.jpg
สภาพภายนอกของอุโบสถวัดอุบลในปัจจุบัน ซึ่งดูรกร้างทรุดโทรมมาก
ท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อแรกบวชท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า

เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก[4]
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า

เท่าที่นึกได้ เท่าที่จำได้นี่ เขาปรึกษากันบ่อยๆ ในหมู่ผู้ใหญ่ อย่างว่าเวลาอามาพบ ก็จะปรึกษากันเรื่องอยากให้บวช ป้า น้า ญาติพี่น้องก็ปรึกษากันอยากให้บวช แต่จำไม่ได้ว่ามีประโยคที่โยมพูดว่าบวชเถอะๆ เรา ตามใจเขา เราแล้วแต่เขา ความรู้สึกรักษาประเพณีมันทำให้เกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา มันรู้สึกคล้ายๆ กับว่าไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ถ้าไม่เคยบวช มันจึงยินดีที่จะบวช คำสั่งให้บวชหรือคำชี้แจงแนะนำอย่างโดยตรงก็ไม่เคยได้รับ แต่มันรวมพร้อมกัน จากการได้ยินบ่อยๆ ได้รับความรู้สึกบ่อยๆ แปลกเหมือนกัน ถ้าจะเอากันจริงๆ ว่าใครเป็นคนสั่ง ใครเป็นคนรับ ใครเป็นคนแนะนำ มันไม่มี มันนึกไม่ออก ที่ถูกมันเป็นความเห็นพ้องกันหมดว่าต้องบวช ควรบวช แต่นี่มันรู้แน่ ๆ ก็คือความประสงค์อย่างยิ่งของโยม แต่คำสั่งนั้นไม่เคยได้รับ คำขอร้องก็ไม่เคยได้รับ ส่วนความคิดของตัวเองนั้นผมคงเห็นว่าบวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ ตามพันธสัญญาก็จะบวชให้โยม 1 พรรษา คือ 3 เดือน คนหนุ่มสมัยนั้นเมื่ออายุครบบวชก็บวชกันเป็นส่วนมาก[1]
หลังจากบวชได้เพียง 10 วัน ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นแสดงธรรม ในการนี้ท่านได้ปฏิวัติการเทศน์เสียใหม่ คือแทนที่จะเทศน์โดยอ่านจากคัมภีร์ใบลานอย่างเดียว ก็นำเนื้อหาจากหลักสูตรนักธรรมไปประกอบขยายความ ทำให้การเทศน์เป็นไปด้วยความสนุกและเข้าใจง่าย ผู้ที่ได้ฟังจึงติดใจและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนั้น พระที่พอจะเทศน์ได้ในวัดล้วนแต่อิดเอื้อนไม่อยากเทศน์ จึงเป็นเป็นโอกาสให้ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขึ้นเทศน์ทุกวันในพรรษาเทศน์ และเทศน์ทุกวันพระในช่วงนอกพรรษา ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุก็รักชอบที่จะทำงานนี้

นอกจากการเทศน์แล้ว ช่วงพรรษาแรกท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เรียนนักธรรม และเพลิดเพลินอยู่กับการอ่านและเขียนหนังสือ รวมทั้งการคัดลอกและซ้อมแต่งกระทู้ จนทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานี้เอง กิจวัตรการนั่งกับที่เป็นเวลานานทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นโรคกระษัย แต่ท่านก็รักษาด้วยตนเองจนหายในพรรษาต่อๆ ไป

นอกจากการเทศน์และการเรียนนักธรรมแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เขียนหนังสือพิมพ์เถื่อนลงในกระดาษฟุลสแก๊ป เป็นเรื่องขำขันให้ผู้อื่นได้หัวเราะกันภายในวัด เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังเอาไว้ว่า

ผมออกหนังสือพิมพ์เถื่อนเป็นกระดาษฟุลสแก๊ป 2 คู่ มันเป็นเรื่องสนุกเท่านั้น เราเขียนก่อนสวดมนต์ต์ตอนค่ำ พอพระสวดมนต์ต์เสร็จ เราก็เอามาให้อ่านกัน เขาอ่านแล้วหัวเราะ วิพากษ์วิจารณ์กัน เรามีความอวดดี ที่จะทำให้คนอื่นเขาหัวเราะได้ รู้สึกว่ามันทำให้เพื่อนสบายใจ จิตมันเป็นบุญเป็นกุศล ไม่ได้คำนึงถึงสาระอะไรในตอนแรก[1]
[แก้] พรรษาที่สอง

นายธรรมทาส พานิช
ภาพนี้ถ่ายในชุดนักเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า

ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด... แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย[5]
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป

ชีวิตสมณเพศในพรรษาที่สองของท่านพุทธทาสภิกขุไม่ต่างจากพรรษาแรกมากนัก ท่านพุทธทาสภิกขุได้ศึกษานักธรรมต่อ และสอบได้นักธรรมโทในพรรษานี้

เมื่อออกพรรษาได้ไม่นาน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2471 อาเสี้ยง น้องชายของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ผลักดันให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้าศึกษาความรู้ทางธรรมต่อที่กรุงเทพฯ ท่านพุทธทาสภิกขุพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

ออกพรรษาแล้วไม่นาน ก็เดินทางไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ อาที่ชุมพรเป็นคนยัดเยียดให้ไป มันเป็นธรรมเนียมโดยมากด้วยว่าเมื่อได้นักธรรมโทแล้ว ถ้าจะเรียนต่อ เป็นโอกาสที่พอเหมาะพอดีที่จะเข้ากรุงเทพฯ พระครูชยาภิวัฒน์ (มหากลั่น) ซึ่งอยู่ทางโน้นก็เห็นว่าดี อาที่ชุมพรมีส่วนยุที่สำคัญ อยากให้เรียนมากๆ เพื่อเป็นเกียรติเป็นอะไรของวงศ์ตระกูลมากกว่า แต่แกไม่มีความคิดว่าจะไม่ให้สึก ถึงแม้จะสึกก็ให้เรียนมากๆ เข้าไว้หลายปี คงจะดีกว่ารีบสึก[1]
ท่านพุทธทาสภิกขุได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ที่วัดปทุมคงคา โดยอาศัยกับพระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับท่านพุทธทาสภิกขุ และได้มาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งไม่เคยเดินทางไปกรุงเทพฯ มาก่อนเลย มีความคิดว่ากรุงเทพฯ นั้นคือเมืองคือศูนย์กลางความเจริญในทุกด้าน รวมทั้งพระพุทธศาสนา เนื่องกรุงเทพฯ เป็นแหล่งความรู้ด้านปริยัติ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงวาดภาพไว้ว่าพระเณรในกรุงเทพฯ จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ถึงขนาดคิดว่าจะมีพระอรหันต์อยู่เต็มไปทั้งกรุงเทพฯ ดังคำพูดที่ว่า

ก่อนไปถึงกรุงเทพฯ เราก็เคยคิดว่า พระที่กรุงเทพฯ มันไม่เหมือนที่บ้านเรา พระกรุงเทพฯ จะดี เคยคิดว่าคนที่ได้เปรียญ 9 คือคนที่เป็นพระอรหันต์ด้วยซ้ำไป เคยคิดว่ากรุงเทพฯ ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ควรจะถือเป็นตัวอย่าง เคยนึกว่าพระอรหันต์เต็มไปทั้งกรุงเทพฯ ก่อนไปกรุงเทพฯ มันคิดอย่างนั้น[1]
แต่กรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุพบเห็นนั้น ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุคิดไว้ลิบลับเหลือเกิน ท่านพุทธทาสภิกขุประสบกับตนเองว่าศีลาจารวัตรของพระเณรเมืองกรุงนั้นออกนอกลู่นอกทางยิ่งกว่าพระเณรบ้านนอก ที่อยู่กันตามประสาคนไม่มีความรู้เสียอีก ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า

แต่พอไปเจอจริงๆ มันรู้ว่ามหาเปรียญมันไม่มีความหมายอะไรนัก มันก็เริ่มเบื่อ อยากสึก รู้สึกว่าเรียนที่กรุงเทพฯ มันไม่มีอะไรเป็นสาระ เรียนที่กรุงเทพฯ มันอยากจะสึกอยู่บ่อยๆ พระเณรไม่ค่อยมีวินัย มันผิดกับบ้านนอก มันก็เป็นมาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เรื่องสตางค์เรื่องผู้หญิง...
มันเคร่งกว่ามาก ไม่ใช่เฉพาะที่พุมเรียงหรอก ตลอดปักษ์ใต้แหละ เคร่งกว่าที่กรุงเทพฯ มาก เรื่องเกี่ยวกับการกินการฉันก็สรวลเสเฮฮาเหมือนกับคนเมา ฮาฮาตลอดเวลาฉัน ลักษณะนั้นเราเรียนไปตั้งแต่โรงเรียนนักธรรมว่ามันใช้ไม่ได้นี่ อย่างมาต่อยไข่สดต้มไข่หวานหรือทอดประเคนกันเดี๋ยวนั้นเลย มันผิดวินัย แต่เขาทำกันเป็นธรรมดา เรียกว่ามันไม่มีอะไรที่น่าเลื่อมใสเลย ผิดกับวัดที่บ้านนอก เราก็ต้องเป็นพระที่จับสตางค์ ใช้สตางค์เหมือนเขาไปหมด ตามธรรมดาพระที่พุมเรียง สมัยผมบวชเขาไม่จับเงินจับทองกัน มีผู้ช่วยเก็บให้ แล้วมันค่อยๆ เปลี่ยน ไม่จับแต่ต่อหน้าคน ในกรุงเทพฯ มันเป็นโรคร้ายระบาดทั่วกรุงเทพฯ อยู่หัวเมืองมันยังมีอิทธิพลในทางเคร่งครัดแบบเก่าอยู่[1]
ท่านพุทธทาสภิกขุเห็นเข้าอย่างนี้ก็เกิดเป็นความเอือมระอาในชีวิตสมณเพศอย่างหนัก หลังจากอยู่กรุงเทพฯ ได้เพียง 2 เดือนก็กลับมาที่พุมเรียงเพื่อจะลาสิกขา แต่ขณะนั้นเป็นช่าวงใกล้เวลาจะเข้าพรรษาแล้ว มีผู้ทักท้วงว่าจะลาสิกขาตอนนี้ยังไม่เหมาะ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงตัดสินใจครองสมณเพศอีกพรรษาหนึ่ง และคิดว่าค่อยลาสิกขาบทเมื่อออกพรรษาไปแล้ว

[แก้] พรรษาที่สามและสี่

อาคารโรงเรียนนักธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเคยสอน
พิมพ์ดีดเครื่องแรกที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับเป็นรางวัลในฐานะที่สอนนักธรรมได้ผลดีในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า

สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน[1]
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณนายหง้วนจึงได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อเรมิงตันแบบกระเป๋าหิ้วให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นรางวัล และท่านพุทธทาสภิกขุได้ใช้เครื่องนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี

ในขณะเดียวกันนี้เอง นายธรรมทาสก็ได้รวบรวมญาติมิตรที่สนใจในพระพุทธศาสนามาจัดตั้งเป็นคณะขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2472 และนี่คือจุดเริ่มก่อนที่จะกลายเป็นคณะธรรมทานในเวลาต่อมา เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังว่า

นายธรรมทาสเขามีนิสัยอยากส่งเสริมพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ตั้งแต่ตอนที่เขาไปเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาฯ (พ.ศ. 2469) เขาไปพบบทความเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธศาสนาทางสมาคมมหาโพธิ ของธรรมปาละ และหนังสือยังอิสต์ ของญี่ปุ่น ได้เร้าใจให้เขาเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และหาหนังสือทางพุทธศาสนามาจากหอสมุดนั้นมาอ่านเสมอ พอกลับมาบ้าน (พ.ศ. 2470) ก็มาตั้งหีบหนังสือให้คนอื่นอ่านกันในเวลาต่อมา (พ.ศ. 2472) รวบรวมหนังสือธรรมะที่หาได้ในสมัยนั้น รวมทั้ง เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ไทยเขษม วิสาขะ เป็นต้น ก็ก่อหวอดให้เกิดความสนใจในหมู่คนแถวนั้น ไม่กี่คนหรอก จับกลุ่มสนทนากันเรื่องจะทำพุทธศาสนาให้มันบริสุทธิ์ ให้มันถูกต้องอย่างไร ต่อมาคนเหล่านี้ก็เป็นกำลังตั้งสวนโมกข์และคณะธรรมทาน มีนายเที่ยง จันทเวช นายดาว ใจสะอาด นายฉัว วรรณกลัด นายเนิน วงศ์วานิช นายกวย กิ่วไม้แดง เป็นตัวตั้งตัวตี นายธรรมทาสเขาได้รู้จักกับชาวลังกาชื่อสิริเสนา ที่มาพักอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ จึงได้รู้เรื่องกิจการของสมาคมมหาโพธิ และอนาคาริกะธรรมปาละ ซึ่งพยายามฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาและอินเดีย นายธรรมทาสเขาก็มีจดหมายติดต่อรับหนังสือมหาโพธิ ต่อมาก็รับ บริติชบุดดิสต์ ของสมาคมมหาโพธิ ลอนดอน บุดดิสต์ อิน อิงแลนด์ และ บุดดิสต์ แอนนวล ออฟซีลอน ทำให้เขารู้ว่าข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในต่างประเทศ[1]
[แก้] สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง

ท่านพุทธทาสภิกขุขณะกำลังศึกษาในกุฎิที่พัก วัดปทุมคงคาเมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ

เมื่อประกาศผลสอบปีแรก ปรากฏว่าท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และกลายเป็นพระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ ในปีเดียวกันนี้เอง ท่านพุทธทาสภิกขุมีงานเขียนเป็นบทความขนาดสั้นชิ้นแรก ชื่อ ประโยชน์แห่งทาน ปรากฏอยู่ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) พระอุปัชฌาย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และมีบทความขนาดยาวเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับปุถุชน พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกครบรอบโรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา

[แก้] อุดมคติก่อตัว
ในพรรษาที่หก ความมุ่งหมายของท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม ความรู้ทั้งหลายที่ท่านพุทธทาสภิกขุสั่งสมมานานจากการอ่านหนังสือธรรมะ รวมถึงความคิดมากมายและข้อสงสัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เคยมีมาในอดีตเริ่มตกผลึกอย่างช้าๆ และก่อตัวเป็นอุดมการณ์ที่แจ่มชัดขึ้นทุกที ทำให้ไฟในการเรียนต่อเพื่อที่จะสอบเอาเปรียญธรรมที่สูงขึ้นไปได้อ่อนกำลังลง สุดท้าย ท่านพุทธทาสภิกขุก็สอบตกเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปีนั้น และล้มเลิกความตั้งใจในการไขว่คว้าพัดยศพระเปรียญอย่างสิ้นเชิง

จากการศึกษาคัมภีร์ที่เป็นหลักดั้งเดิมในภาษาบาลี ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุแน่ใจว่าเส้นทางที่ตนเองได้เดินมา และกำลังจะเดินไปนั้น ไม่ใช่เส้นทางแห่งความบริสุทธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะแต่อย่างใด หากแต่เป็นเส้นทางที่เจือด้วยยศศักดิ์และความลุ่มหลงเมามัว ท่านพุทธทาสภิกขุจึงตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะไม่เลือกเดินในเส้นทางสายนี้อีกต่อไป ดังในจดหมายที่ท่านพุทธทาสภิกขุส่งถึงนายธรรมทาสน้องชายว่า

เราตกลงใจกันแน่นอนแล้วว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นที่ที่จะค้นพบความบริสุทธิ์ การถลำเข้าเรียนปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ เป็นผลดีให้เรารู้สึกตัวว่าก้าวผิดไปหนึ่งก้าว หากรู้ไม่ทันก็จะต้องก้าวไปอีกหลายก้าว และยากที่จะถอนออกได้เหมือนบางคน จากการรู้สึกว่าก้าวผิดนั่นเองทำให้พบเงื่อนว่าทำอย่างไรเราจะก้าวถูกด้วย
เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมาจนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้ ต่อนี้ไปเราจะไม่เดินตามโลก และลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์ตามรอยพระอริยะที่ค้นแล้วจนพบ หากเราขืนเดินตามโลกและเป็นการเดินตามหลังโลก ตามหลังอย่างไม่มีเวลาทัน ถึงแม้ว่าเราจะได้เกิดอีกตั้งแสนชาติก็ดี บัดนี้เราจะไม่เดินตามหลังโลกอีกต่อไป จะอาศัยโลกสักแต่กาย ส่วนใจเราจะทำให้เป็นอิสระจากโลกอย่างที่สุด เพื่อเราจะได้พบความบริสุทธิ์ในขณะนั้น[6]
[แก้] กำเนิดสวนโมกขพลาราม
ท่านพุทธทาสภิกขุจากกรุงเทพฯ กลับมายังพุมเรียงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2474[7]โดยใช้วัดพุมเรียงเป็นที่อาศัยชั่วคราว ขณะเดียวกันก็เริ่มเสาะหาสถานที่เหมาะสมในการจะสร้างสถานปฏิบัติธรรม จนในที่สุดก็พบวัดตระพังจิต ซึ่งเป็นวัดร้าง และมีป่ารก ท่านพุทธทาสภิกขุเขียนถึงเรื่องการสร้างสถานปฏิบัติธรรม และเล่าถึงสภาพวัดตระพังจิตเอาไว้ว่า

ในปลายปี พ.ศ. 2474 ระหว่างที่ฉันยังศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ ได้มีการติดต่อกับ นายธรรมทาส พานิช โดยทางจดหมายอยู่เสมอ ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการส่งเสริมปฏิบัติธรรม ตามความสามารถ ในที่สุดในตอนจะสิ้นปีนั่นเอง เราได้ตกลงกันถึงเรื่องจะจัดสร้างสถานที่ส่งเสริมปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะขึ้นสักแห่งหนึ่ง เพื่อความสะดวกแก่ภิกษุสามเณรผู้ใคร่ในทางนี้ ซึ่งรวมทั้งตัวเองด้วย โดยหวังไปถึงว่า ข้อนั้นจะเป็นการช่วยกันส่งเสริมความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ในยุคซึ่งเราสมมติกันว่า เป็นกึ่งพุทธกาลส่วนหนึ่งด้วย เมื่อไม่มีที่ใดที่เหมาะสำหรับพวกเราจะจัดทำยิ่งไปกว่าที่ไชยา เราก็ตกลงกันว่า จำเป็นที่เราจะต้องจัดสร้างที่นี่[8]
เมื่อลงมาแล้วก็เริ่มหาที่ที่เหมาะสม โดยมีคณะอุบาสกธรรมทาน 4-5 คน เป็นคนออกไปสำรวจ ไม่นานนัก สักเดือนกว่าๆ จึงตกลงกันว่าจะใช้วัดร้างชื่อวัดตระพังจิก เป็นวัดที่ผมไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไป พวกนายเที่ยง นายกวย พวกนี้เขารู้มาอย่างไรก็ไม่ทราบ แล้วก็แนะกันไปดู ไปดูครั้งเดียวเห็นว่าพอใช้ได้ก็เอาเลย ต่อจากนั้นเขาก็ไปทำที่พักให้ง่ายๆ หลังพระพุทธรูป
มันก็ไม่มีเรื่องอะไรนัก เป็นวัดร้างมานาน เป็นป่ารก ครึ้มไปหมด เป็นที่ ๆ ชาวบ้านเขาชอบไปเขี่ยเห็ดเผาะ เขาใช้เหล็กอันเล็ก ๆ เขี่ยดินหาเห็ดเผาะ แถวนั้นมันมีมาก ผู้หญิงจะไปหาเห็ดเผาะ ผู้ชายจะไปหาเห็ดโคน พวกชอบกินหมูป่าก็จะไปล่าหมูป่าที่แถวนั้น และเป็นที่กลัวผีของเด็ก ๆ พวกผู้หญิงที่ไม่มีลูก ก็ไปบนบานขอลูกกับพระพุทธรูปในโบสถ์ร้างที่เขาถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ในทางนั้น ในสระก็ว่ามีผีดุ มีผีอยู่ในสระ มีไม้หลักที่เรียกว่าเสาประโคนปักอยู่กลางสระ[1]
ท่านพุทธทาสภิกขุย้ายเข้าอยู่วัดตระพังจิตเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา[9] (ก่อนการเปลี่ยนระบอบการปกครองประมาณ 1 เดือน) ที่วัดตระพังจิก ท่านพุทธทาสภิกขุพบว่ามีต้นโมกและต้นพลาขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งพ้องกับคำในภาษาบาลีคือ โมกข แปลว่าความหลุดพ้น และ พลา แปลว่ากำลัง ท่านพุทธทาสภิกขุจึงนำสองคำนี้มาต่อกัน และใช้ตั้งชื่อสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า สวนโมกขพลาราม ซึ่งแปลว่า สวนป่าอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น


พิธีฌาปนกิจร่างของท่านพุทธทาสภิกขุอย่างเรีบยง่าย ณ สวนโมกขพลารามการดำเนินชีวิตในสวนโมกขพลาราม ท่านพุทธทาสภิกขุยึดคติที่ว่า เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง[10] โดยชีวิตประจำวันของท่านพุทธทาสภิกขุนั้นเป็นไปอย่างสันโดษและสมถะ สำหรับวัตถุสิ่งของภายนอก ท่านพุทธทาสภิกขุจะพึ่งพาก็แต่เพียงวัตถุสิ่งของที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ และวัตถุสิ่งของที่จำเป็นในการเผยแพร่ธรรมะเท่านั้น โดยไม่พึ่งพาวัตถุสิ่งของฟุ้งเฟ้ออื่นใดที่เกินจำเป็นเลย เรียกได้ว่ามีความเป็นอยู่อย่างต่ำที่สุด หากแต่การกระทำในความเป็นอยู่นั้นเป็นการกระทำอย่างสูงที่สุด นั่นคือเป็นการกระทำเพื่อศึกษา ปฏิบัติ และเผยแพร่พระพุทธศาสนา การศึกษาและปฏิบัตินั้นเป็นการกระทำอันนำไปสู่มรรคผล และแม้กระทั่งนิพพาน ซึ่งเป็นอุดมคติที่สูงที่สุดที่ชีวิตมนุษย์ควรจะบรรลุถึง ส่วนการเผยแพร่นั้นเป็นการกระทำเพื่อนำกระแสธรรมอันบริสุทธิ์ให้อาบหลั่งไหลรินรดคนทั้งโลก และทุกโลก เป็นการชี้ทางสว่างให้เพื่อนมนุษย์ ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้บรรลุถึงอุดมคติที่สูงที่สุดของชีวิตมนุษย์ไปด้วยกัน หรืออย่างน้อย ก็จะทำให้มนุษย์เรานั้นได้ลดการเบียดเบียนตนเอง และลดการทำร้ายผู้อื่น อันจะก่อให้เกิดทั้งสันติสุขและสันติภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งตัวมนุษย์และโลกมนุษย์ปรารถนา

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2476 ท่านพุทธทาสยังได้เริ่มจัดทำหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา (ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เผยแพร่หลักธรรมรายตรีมาศ)ด้วยเช่นกัน
[แก้] กำเนิดนามพุทธทาส
เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุพบว่าตำราธรรมะภาษาไทยนั้นยังอธิบายไว้ไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจริงๆ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเริ่มเขียนหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ โดยมุ่งหวังเพื่อให้เป็นแผนที่สำหรับการเดินทางไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ อันเป็นอุดมคติสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งคำประณมพจน์และคำประกาศใช้นาม พุทธทาส ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือตามรอยพระอรหันต์นี้ ว่า

พุทฺธสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ พุทฺธสฺสาหสฺมิ ทาโส ว พุทฺโธ เม สามิกิสฺสโร - อิติ พุทฺธทาโส
ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุดังว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า พุทธทาส
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงที่มาของนามพุทธทาสไว้ดังนี้

เราเกิดความรู้สึกที่จะรับใช้พระพุทธศาสนาขึ้นมา โดยที่เราเริ่มเข้าใจพระพุทธเจ้าและเริ่มเข้าใจพุทธศาสนา ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุดสำหรับมนุษย์ แต่แล้วมันก็ไม่ค่อยจะได้รู้จักกัน ฉะนั้นจึงอุทิศตั้งจิตว่า เราจะทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างกับว่ารับใช้พระพุทธองค็ให้สมกับหน้าที่ของพระสาวก ทีนี้ทุกเย็นไม่ว่าวัดไหนเขาก็สวดทำวัตรเย็น ในบททำวัตรเย็นมันก็มีคำชัดเลยว่า "ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า" มันก็ยิ่งเข้ารูปกันกับ เราที่ตั้งใจอยู่ว่าจะรับใช้พระพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นทาส จึงสมกับที่เรียกตัวเองว่า "พุทธทาส"

ร่างของท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะถูกฌาปนกิจ ณ สวนโมกขพลารามนี่คือความหมายของคำว่า "พุทธทาส" เกิดขึ้นจากความรู้สึกว่าไม่มีอะไรดีกว่า ชีวิตของเราจะอยู่ต่อไปอีกกี่ปีก็ตามใจ ถ้าจะใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด และสูงสุด ก็ควรจะทำงานนี้ คือรับใช้พระพุทธเจ้า ด้วยการทำให้พุทธศาสนาแพร่หลายไป มีประโยชน์แก่คนทุกคนในโลกก็แล้วกัน แล้วอาตมายังคิดด้วยความรู้สึกบริสุทธิ์ใจว่า พุทธบริษัททุกคนเป็นพุทธทาสอยู่แล้วในตัว ไม่ใช่แต่เรา แต่เขาทำงานอย่างพุทธทาสอยู่แล้วทุกคน ช่วยรักษาบำรุงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ฉะนั้นเราก็ไม่ยกตัว ไม่อวดดี ไม่จองหองพองขนว่า เป็นพุทธทาสแต่เราคนเดียวเท่านั้น[11]
นายธรรมทาสเขาตั้งชื่อของเขาก่อน ธรรมทาส ทีนี้เราเห็นว่ามันว่างอยู่ตำแหน่งหนึ่ง ก็เลยเห็นว่ามันน่าจะชื่อพุทธทาส แล้วเจ้าคุณวัดสามพระยาสมัยนั้น สมเด็จวัดสามพระยาตอนนี้แหละ ท่านเกิดชอบขึ้นมา ท่านก็เลยใช้ชื่อสังฆทาสอยู่พักหนึ่ง และท่านก็จัดการเรื่องของคณะสงฆ์เป็นการใหญ่ ปฏิรูป ปฏิวัติอะไรกัน ในเรื่องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ก็เลยใช้ชื่อตัวเองว่าสังฆทาสเลยได้มีครบชุด[1]
[แก้] ปณิธานในชีวิต
ปณิธานในชีวิตไว้ 3 ข้อ คือ

ให้พุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตามเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน
ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม
[แก้] เกียรติคุณ
[แก้] สมณศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2469 พระเงื่อม
พ.ศ. 2473 พระมหาเงื่อม
พ.ศ. 2489 พระครูอินทปัญญาจารย์
พ.ศ. 2493 พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ
พ.ศ. 2500 พระราชชัยกวี พระราชาคณะชั้นราช
พ.ศ. 2514 พระเทพวิสุทธิเมธี พระราชาคณะชั้นเทพ
พ.ศ. 2530 พระธรรมโกศาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม
[แก้] ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
3 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[แก้] อื่นๆ
นอกจากสมณศักดิ์และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้รับการยกย่องจากองค์กรต่างๆ ดังนี้

พ.ศ. 2508 หนังสือแก่นพุทธศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ หนังสือดีประจำปี พ.ศ. 2508 จากองค์การยูเนสโก
พ.ศ. 2527 ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตเนื่องในโอกาสสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์เสาอโศก และเงินสดจำนวน 10,000 บาท
พ.ศ. 2537 คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ
20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์
พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทย รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมทางธรรมะเนื่องในโอกาสรำลึกครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ท่านพุทธทาสภิกขุ
[แก้] ผลงาน
ท่านพุทธทาสมีผลงานที่เรียบเรียงเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น (เรียงลำดับตามตัวอักษร)

แก่นพุทธศาสน์
คู่มือมนุษย์
ตัวกูของกู ฉบับย่อความ
ธรรมโฆษณ์
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
พระพุทธเจ้าสอนอะไร
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
ภาษาคน-ภาษาธรรม
หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
อิทัปปัจจยตา (100 หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)
[แก้] อ้างอิง
^ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 พุทธทาสภิกขุ, เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา : อัตชีวประวัติของพุทธทาสภิกขุ.
^ พุทธทาสภิกขุ และ ปัญญานันทภิกขุ, แม่ / ความรักของแม่.
^ เป็นชื่อเรียกของตัวเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน
^ ชีวิต หลักธรรม การงาน พุทธทาสภิกขุ.
^ ตามรอยปณิธานแห่งธรรม.
^ ภาพชีวิต 80 ปี พุทธทาสภิกขุ : มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา.
^ นับตามการขึ้นปีใหม่ในสมัยนั้น ซึ่งกำหนดวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม เมื่อ พ.ศ. 2484
^ พุทธทาสภิกขุ, สิบปีในสวนโมกข์ อัตชีวประวัติในวัยหนุ่มของพุทธทาสภิกขุ.
^ ข้อมูลน่าจะคลาดเคลื่อน เนื่องจากวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ไม่ใช่วันวิสาขบูชา (ปีนั้นตรงกับวันที่ 19 พ.ค.)
^ นอกจากนี้ยังมีคติอื่นอีกเช่น กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนในกุฏิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง หรือ กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู เป็นอยู่อย่างทาส มุ่งมาดความวาง เป็นอยู่อย่างตายแล้ว พบแก้วในมือ แจกของส่องตะเกียง
^ ห้าสิบปีสวนโมกข์
[แก้] หนังสือ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์, คันฉ่องส่องพระ, ลายสือไทย, 2522.
โดแนลด์ เค. สแวเรอร์ และ เสรี พงพิศ, พุทธทาสภิกขุนักปฏิรูปพุทธศาสนาในเมืองไทย / ท่านพุทธทาสกับสังคมไทย, แสงรุ้งการพิมพ์, 2526.
พุทธทาสภิกขุ และ ปัญญานันทภิกขุ, แม่ / ความรักของแม่, ธรรมสภา.
พุทธทาสภิกขุ, เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา : อัตชีวประวัติของพุทธทาสภิกขุ, มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2546. ISBN 9747233541.
ภาพชีวิต 80 ปี พุทธทาสภิกขุ : มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป, 2529.
ชีวิต หลักธรรม การงาน พุทธทาสภิกขุ, มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตอันประเสริฐ, 2536.
พุทธทาสภิกขุ, สิบปีในสวนโมกข์ อัตชีวประวัติในวัยหนุ่มของพุทธทาสภิกขุ, ปาจารยสาร, 2529.
พุทธทาส สวนโมกขพลาราม กำลังแห่งการหลุดพ้น อาจาริยมรณานุสรณ์, ภาพพิมพ์, 2537.
ห้าสิบปีสวนโมกข์, สวนอุศมมูลนิธิ, 2525.
ตามรอยปณิธานแห่งธรรม, ธรรมสภา, 2538.
พ.ศ. 2476 เริ่มจัดทำ หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
[แก้] ดูเพิ่ม
สวนโมกขพลาราม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
พุทธทาสภิกขุพุทธทาสศึกษา
พุทธทาส.คอม
ภาพพาโนรามา 360 องศาของสวนโมกขพลาราม
พระธรรมโกษาจารย์
สมัยก่อนหน้า พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) สมัยถัดไป
ไม่มี พระสงฆ์ผู้ดำรงราชทินนาม
"พระธรรมโกษาจารย์"
(พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536) พระธรรมโกษาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท)

[ซ่อน]ด • พ • กบุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยองค์การยูเนสโก

พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระบรมวงศานุวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส · พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ · สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก · สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี · พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

บุคคลสำคัญ สุนทรภู่ · พระยาอนุมานราชธน · ปรีดี พนมยงค์ · หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล · กุหลาบ สายประดิษฐ์ · พุทธทาสภิกขุ · เอื้อ สุนทรสนาน · หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ดูเพิ่ม: สถานีย่อย · มรดกโลกในไทย


ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_(%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1_%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%97%E0%B8%9B%E0%B8%8D%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%8D)".

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิษย์สวนโมกข์ ยกร่าง ...วิชาพุทธทาสศึกษา

--------------------------------------------------------------------------------



หลังจากที่ องค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศยกย่อง พุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘

ผนวกกับความสำนึกต่อความดีของท่านพุทธทาสภิกขุ ทำให้ปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา เป็นปีที่สังคมไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ต่างร่วมกันจัดกิจกรรม ๑๐๐ ปี ชาตกาลของท่านพุทธทาสภิกขุ ขึ้น

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และสวนโมกขพลาราม ตระหนักถึงปณิธานดังกล่าว โดยมีความประสงค์ที่จะสืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสให้เป็นระบบ ผ่านหลักสูตรมหาบัณฑิตด้านพุทธทาสศึกษา ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจำเป็นต้องระดมทัศนะแนวคิดจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ถูกและตรงตามปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น และประมวลข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา สำหรับประกอบการยกร่างหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พธ.ม.) สาขาวิชาพุทธทาสศึกษา ๒.เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการสร้างและบริหารจัดการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) สาขาวิชาพุทธทาสศึกษา ๓.เพื่อสร้างหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) สาขาวิชาพุทธทาสศึกษา

พระภาวนาโพธิคุณ เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) กล่าวว่า การที่ มจร. ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม จะดำเนินการศึกษาหลักสูตรพุทธทาสศึกษานั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องมั่นใจว่ามีคนสนใจ โดยเฉพาะผู้ที่ร่วมคิดกัน ควรเข้าใจและควรเน้นการเรียนการสอนตามแนวการปฏิบัติ ตามวิธีการของหลวงพ่อพุทธทาส ซึ่งการเรียนทฤษฎีคือ ปริยัตินั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ส่วนที่จะให้ผลที่แท้จริงหรือคุณภาพเกิดจากการปฏิบัติ

การศึกษาส่วนนี้ พระภิกษุควรเป็นผู้นำให้ได้รับการศึกษาหลักสูตรนี้ พระสงฆ์จะได้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จากนั้นค่อยขยายไปสู่อุบาสก อุบาสิกา ในการเรียนการสอน ควรลดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนิยมให้มากที่สุด อยากให้ใช้สถานที่ศึกษาและวิธีการศึกษาที่ไม่แตกต่างจากแนวคิดของหลวงพ่อพุทธทาสที่เรียบง่าย

"พลังของประชาชนถือเป็นแนวร่วมที่จำเป็นมาก ดังนั้นวิธีการที่ใช้ต้องก่อศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน เมื่อประชาชนศรัทธาจะเป็นพลังสำคัญในการช่วยสนับสนุนการศึกษาในส่วนนี้ ปัจจัยที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้ คือ ความตั้งใจอันแท้จริง หากไม่ตั้งใจแล้วงานคงไม่สำเร็จขึ้นมา ดังนั้นผู้ที่ริเริ่มคิดทำหลักสูตรนี้ควรมีความตั้งใจก่อนเป็นเบื้องต้น" พระภาวนาโพธิคุณ กล่าว

ด้าน พระสุธีวรญาณ รองอธิการบดี มจร.ฝ่ายกิจการต่างประเทศ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ท่านพุทธทาสเอาวิญญาณอันหนึ่งของพระพุทธเจ้า วิญญาณแห่งความใกล้ชิดกับธรรมชาติ ท่านพูดเสมอว่า พระพุทธเจ้าเกิดที่ผืนแผ่นดินลุมพินี ตรัสรู้ที่อุรุเวลาเสนานิคม หรือพุทธคยาในปัจจุบัน ไปแสดงธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และนิพพานที่ป่าสาละวัน นั้นคือการอยู่อย่างง่ายๆ ทั้งนั้น พระองค์มีผลงานฝากไว้กับโลกมากมาย ท่านพุทธทาสก็เช่นเดียวกัน

ขณะที่ พระครูพิพิธสุตตาทร รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นปณิธานของท่านอาจารย์พุทธทาส เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับสังคมไทยและสังคมโลก เป้าหมายที่สำคัญคือการที่จะสืบสานปณิธานตรงนี้ ทำอย่างไรให้มันขยายให้มันกว้างออกไปเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น รูปแบบของการศึกษา หลักสูตรพุทธทาสศึกษา คงไม่ใช่จะต้องมาท่องจำที่มาจำว่าท่านพุทธทาสสอนเรื่องนี้อย่างไร

ความเห็นสอดคล้องกับ พระดุษฎี เมธงฺกุโร วัดทุ่งไผ่ จ.ชุมพร กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยสงฆ์มาจับเรื่องพุทธทาสศึกษามีความเหมาะสมมาก ส่วนการจัดการไม่ต้องทำเหมือนมหาวิทยาลัยทางโลกก็ได้ บางส่วนต้องมีมาตรฐานวิชาการ แต่บางส่วนอาจจะมีแนวทางท่านอาจารย์พุทธทาสด้วย เพราะอาจารย์พุทธทาสท่านเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว ท่านมักคิดว่าการศึกษาที่แท้จริงคืออะไร อาจจะคิดได้ดีกว่าที่เราคิด แล้วก็มีวิธีการสอนอย่างไร วิธีการเรียนอย่างไร มีหลักสูตรอะไรบ้าง ท่านเล่าไว้หมดแล้ว

พระมหาโกศล อหิงสโก วัดพัฒนาราม กล่าวด้วยว่า หลักสูตรพุทธทาสศึกษานี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ นักวิชาการอิสระ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เห็นว่าท่านพุทธทาสเป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ของ จ.สุราษฎร์ธานี จึงมองว่าคำสอนธรรมะของท่านพุทธทาสน่าจะเป็นประโยชน์กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะนำไปใช้ในชีวิต และถ้านำมาเป็นสาขาวิชาพุทธทาสศึกษาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ศ.ชวน เพชรแก้ว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มองว่า เป้าหมายและรูปแบบการศึกษาพุทธทาสศึกษาที่สมสมัย เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยวัตถุนิยม เป็นยุคที่ถูกลากจูงเข้าไปยังโลกที่มีแก่นสารอยู่ที่วัตถุ ถ้าจะให้สมสมัยมีวิธีการอยู่ ๒ ทาง คือ ๑.คล้อยตาม ๒.ขัดแย้ง

การคล้อยตามไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเป็นเรื่องที่ไหลตามโลก แต่เรื่องของการขัดแย้งต่อวัตถุอาจเป็นเรื่องรุนแรงไปสำหรับวิถีของชาวโลก ๑.ต้องตั้งอยู่บนฐานขององค์ประกอบที่มันไปกันได้ ๒.คนเราต้องเข้าใจเรื่องศาสนากันอย่างแท้จริง เหมือนกับปณิธานของท่านพุทธทาส ที่เราต้องนำโลกออกจากวัตถุนิยม
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นไปได้ที่ มจร.ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม โทร.๐๘-๙๔๗๔-๔๔๓๑, ๐-๗๗๒๐-๓๑๐๑ 0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง 0


http://www.komchadluek.net/2007/05/0...news_id=112403

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร