วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คิริมานนทสูตร (อุบายรักษาโรค) : “คนหลง” และ “คนรู้”

ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์
บุคคลผู้ใดมิได้ทำบุญให้ทานรักษาศีลเป็นต้น ไว้สำหรับตัวเสียก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ใดอยากให้ตนพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้กระทำตนให้พ้นทุกข์เสียแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่
เข้าใจเสียว่าตายไปแล้วจึงจักพ้นทุกข์ดังนี้ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ใดที่ทำความเข้าใจว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้เป็นอย่างหนึ่ง ตายไปแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง
บุคคลนั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ใดเข้าในเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เป็น ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร
ตายไปแล้วภายหน้าหากจักรู้ จักเห็น จักได้ จักเป็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ สุขก็ช่างเถิด ตายไปแล้วหากจักได้สุข
ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ใดถือเสียว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ ทุกข์ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วหากจักได้สุข
ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

บุคคลผู้ในถือเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ จะทุกข์ก็ดี จะสุขก็ดี จะชั่วก็ดี ก็ช่างเถิด
ตายไปแล้วจักไปเป็นอะไรก็ช่างเถิด ใครจักตามไปรู้ไปเห็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลงฯ

ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือปรารถนาอยากได้สุขประเภทใด
ก็ควรให้ได้ให้ถึงเสียแต่ในชาตินี้ ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็นคนหลงทั้งสิ้น
แม้ความสุขอย่างสูงคือพระนิพพาน ผู้ปรารถนาก็พึงรีบขวนขวายให้ได้ให้ถึงเสียแต่เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ฯ

ดูกรอานนท์ อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๑ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความว่า
เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ได้เสวยสุขในพระนิพพาน นั้นได้ชื่อว่า พระนิพพานดิบ
เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นชื่อว่า พระนิพพานสุก
พระนิพพานมี ๒ ประเภทเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่นับเข้าไปในที่นี้

พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้ ให้ถึงไว้เสียก่อนตาย
ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปก็จักได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย
ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้วเป็นแล้ว พยายามจะให้ได้ให้ถึง
ก็แสนยากแสนลำบากยิ่งนักหนา

ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง

ส่วนพระนิพพานดิบนั้น จักจัดเอาความสุขอย่างละเอียดเหมือนอย่างพระนิพพานสุกนั้นไม่ได้
แต่ก็เป็นความสุขอันละเอียด สุขุม หาสิ่งเปรียบมิได้อยู่แล้ว

แต่หากยังมีกลิ่นรสแห่งทุกข์กระทบถูกต้องอยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือนพระนิพพานสุก
เพราะพระนิพพานสุกไม่มีกลิ่นรสแห่งทุกข์จะมากล้ำกราย ปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง
แต่พระนิพพานดิบนั้น ต้องให้ได้ไว้ก่อนตายฯ


ดูกรอานนท์ อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นพระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด
ก็ให้ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้นก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ

ถ้าทำไม่ได้แต่พูดว่าอยากได้ จะพูดมากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะได้จะถึงเลย
ถ้าปรารถนาจักถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตทำใจของตนให้เป็นเหมือนกับแผ่นดินเสียก่อน
ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วยง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจักได้

จะเข้าใจว่าปรารถนาเอาด้วยปากก็คงจักได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไป ใช้ไม่ได้
ต้องทำตัวทำใจให้เหมือนแผ่นดินให้จงได้

ลักษณะของแผ่นดินนั้น คนและสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้ายกล่าวดีประการใด
มหาปฐพีนั้นก็มิได้รู้โกรธรู้เคือง

ที่ว่าทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้อยอาลัยว่าใจของตน
ให้ระลึกอยู่ว่าตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราวเท่านั้น เขาจะนึกคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป
ให้เข้าใจอยู่ว่าเราอยู่ไปคอยวันตายเท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้างของและตัวตน
อันเป็นของภายนอก

แต่ใจซึ่งเป็นของภายในแลเป็นของสำคัญ ก็ยังต้องให้ปล่อยให้วาง อย่าถือเอาว่าเป็นของของตัว
กล่าวไว้แต่พอเข้าใจเพียงท่านี้โดยสังเขปฯ

ดูกรอานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง
ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดีที่บุคคลนำมากล่าว

มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อย่ายินดีอย่ายินร้าย
แม้ปัจจัยเครื่องบริโภคเป็นต้นว่า

อาหารการกิน ผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่นอน และเภสัชสำหรับแก้โรค
ก็ให้ละความโลภความหลงในปัจจัยเหล่านั้นเสีย ให้มีความมักน้อยในปัจจัยเท่านั้น
คือว่าเมื่อได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างดีอย่างประณีต

ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วยความโลภ
ความโกรธ ความหลง อย่างนี้แลชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้

ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือ ปล่อยให้ความโลก ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ
เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่ายังถือจิตถือใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพานได้เลย

ถ้าละความโลภโกรธหลงในปัจจัยนั้นได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เหมือนแผ่นดิน
เป็นอันถึงพระนิพพานได้โดยแท้ฯ

มีคำสอดเข้ามาในที่นี้ว่า เหตุโฉนจึงมิให้ถือใจ เมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้นจะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน
เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีใจนี้เอง
ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร

มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่าใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า
อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว

อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเราโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา
เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง

ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตในนั้นก็หมดไป
ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก
ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น

ที่ว่าจิตของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาปการอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข
ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตไว้คืนแก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ
ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้อย่างนี้ฯ

ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์
บุคคลทั้งหลายที่หลงขึ้นไปบังเกิดในอรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น
ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน

แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้นให้หมดทุกข์นั่นเอง ไม่รู้จักวางจิตวิญญาณ อันตนเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย
กับลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว และเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้น
ตัวก็นึกเข้าใจเอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้วก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่
อันไม่มีรูปตามจิตตัวนึกไว้นั้นฯ

ดูกรอานนท์ ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในอรูปพรหมแล้ว แลจักได้ถึงโลกกุตตรนิพพานนั้น ช้านานยิ่งนัก
เพราะว่าอายุของอรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์
ต่างกันแต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น

ถ้าหากดับวิญญาณก็เป็นพระนิพพานโลกุตระได้ ส่วนความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น
ก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน

แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้วยังต้องมีเกิดแก่เจ็บตาย
ร้ายและดี คุณและโทษ สุขและทุกข์ ยังมีอยู่เต็มที่

เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหม
ไม่มีเลยย่อมมุ่งต่อโลกุตตรนิพพานด้วยกันทั้งนั้น
แต่ไม่รู้จักปล่อยวางวิญญาณ จึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม

ส่วนโลกุตตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมีที่ใด ความเกิดแก่เจ็บตายก็มีอยู่ในที่นั้น
โลกุตตรนิพพานปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุขสบาย
ปราศจากอามิส หาความสุขอันใดจะมาเปรียบด้วยพระนิพพานไม่มี

ขึ้นชื่อว่าความเกิดความตาย ความร้ายความดี บาปบุญคุณโทษ สุขทุกข์ ความทุกข์ยากลำบาก
เข็ญใจ ทุกข์โสกโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มีในพระนิพพานเลย
พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 ส.ค. 2010, 06:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม ขอเตือนอย่าก่อกวน

จะน้ำเน่าไปที่อื่น เวปนี้ชักหมดควมอดทนแล้ว

ให้ชี้แจงก็ไม่ตอบ

อ้างคำสอนท่าพุทธทาสว่าอัตตโนมัติ

แตตัวเองเอาคำสอนมิฉทิฐิของมูลนิธิอภิธรรมมามอมเมาประชาชนทั้งที่เป็นคำสอนนอกศาสนาที่ไม่มีสถาบันสงฆ์ยอมรับ

มาก่อกวนไม่เลิกจะเอาอย่างไหงว่ามา

เดี๋ยวก็ด่าท่านอาจารย์มั่น หลวงปูดุลย์ ธรรมกาย อาจารย์ถาวร

ปัญญาเรื่องธรรมะก็ไม่มีคลิ๊กข้อความใน84000พระธรรมขันธ์มาแปะแวก็ด่าพระ

มันชักจะมากไปแล้ว

aminไม่รู้ลึกอะไรเลยหรือ หรือตายด้านกันหมด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมเอาพระสูตรนี้ไป

ดูว่าผลของการเอาพระสัทธรรมปฏิรปเอาอัตตโนมัติของบุญมี แนบ มาหลอกว่าเป็นพระพุทธธรรมผลเป็นอย่างไร


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



๕. จัณฑาลสูตร
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล
ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอก
ศาสนานั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม
ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน
ศาสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ
จบสูตรที่ ๕

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ก็เทวดา

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒



เทวดาเป็นอันมากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดามีศักดิ์ใหญ่
ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศ
ที่นั้น ในประเทศที่ใด พวกเทวดาที่มีศักดิ์ชั้นกลางยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์
ที่มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดาที่มี
ศักดิ์ชั้นต่ำยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงใน
ประเทศที่นั้น จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ คนพวกไหนกำลัง
สร้างนครลงที่ตำบลบ้านปาฏลิ?
อ. มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่อ สุนีธะ ๑ วัสสการะ ๑ กำลังสร้างนครลงที่ตำบล
บ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชี พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูกรอานนท์ สุนีธะ กับ วัสสการะ ๒ มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐกำลังสร้างนคร
ลงในตำบลบ้านปาฏลิ เพื่อป้องกันชาววัชชีเหมือนได้ปรึกษากับพวกเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ฉะนั้น
อานนท์ เมื่อเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรีนี้ เราลุกขึ้น ได้เล็งทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงวิสัยของมนุษย์
เห็นพวกเทวดาเป็นอันมากกำลังยึดถือที่ดินในตำบลบ้านปาฏลิ คือ ในประเทศที่ใด พวกเทวดา
มีศักดิ์สูงๆ ยึดถือที่ดินพวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์สูงๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์
ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด เทวดามีศักดิ์ชั้นกลางๆ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราช-
*มหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นกลางๆ ต่างก็น้อมจิตเพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น ในประเทศที่ใด
เทวดาผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ยึดถือที่ดิน พวกเจ้าและราชมหาอำมาตย์ผู้มีศักดิ์ชั้นต่ำๆ ต่างก็น้อมจิต
เพื่อสร้างนิเวศน์ลงในประเทศที่นั้น อานนท์ ตลอดสถานที่อันเป็นย่านชุมนุมแห่งอารยชน และ
เป็นทางค้าขาย พระนครนี้ จักเป็นพระนครชั้นเอก เป็นทำเลค้าขาย ชื่อปาฏลิบุตร แลเมือง
ปาฏลิบุตร จักบังเกิดอันตราย ๓ ประการ คือ บังเกิดแต่ไฟ ๑ บังเกิดแต่น้ำ ๑ บังเกิดแต่ภายใน
คือ แตกสามัคคีกัน ๑.
[๗๒] ครั้งนั้น ท่านสุนีธะมหาอำมาตย์และท่านวัสสการะมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ พา
กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้เป็นที่บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล
อาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับ
ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อเจริญกุศลและปิติปราโมทย์ในวันนี้ด้วยเถิด พระ
พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นสุนีธะมหาอำมาตย์และวัสสการะ
มหาอำมาตย์ ทราบพระอาการที่ทรงรับอาราธนาแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป ครั้นตกแต่งของเคี้ยว
ของฉันอันประณีตแล้ว ให้เจ้าหน้าที่มากราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่าน
พระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จพระ
พุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ
พระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่สองมหาอำมาตย์นั้นด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?
๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้า
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
----------------------------------------------------------------

พรหมชาลสูตรที่ ๑.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๕ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๑ - ๔๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1


--------------------------------------------------

หากเป็น อัตตโนมติของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่ผมเคยอ่านมา เหมือนว่า นิพพานมีประเภทชั่วคราวด้วย คราใดที่ไม่มีความรู้สึกตัวเรา ของเรา นั้นและก็ได้นิพพานชั่วคราว แบบสบาย ๆ

ถ้าจะเข้านิพพานชั่วคราวถาวร ก็นึกว่าไม่มีตัวเรา ของเราให้มาก ก็เข้าถึงนิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ แล้ว

คาดว่า ศิษย์เอกของท่านพุทธทาส อย่างคุณ mes น่าจะเข้าถึงแล้ว

------------------------------------

อนึ่ง ท่านพุทธทาส กล่าวหาพระธรรม อันสูงสุดนี้ว่า ในศาสนาอื่นก็มีอยู่ก่อนแล้ว แปลว่า เย็น,เชื่อง

ฉะนั้น สัตว์เดรัจฉาน ที่นำมาฝึกให้เชื่อง ก็ถือว่า นิพพาน ดังทิฏฐิของท่าน

http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html

อ้างคำพูด:
สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน



ทิฏฐิของท่านพุทธทาสอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่แสดงนิพพานผิด ๆ แบบนี้ ไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับ ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในหัวข้อใด

ดูแล้วท่านพุทธทาส มีทิฏฐิมากเหลือเกิน



แล้วที่ถูกเป็นอย่างไร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า เป็นมนุษย์หรือ เป็นเทวดาหรือ

ส.ศิวรักษ์

ท่านอาจารย์พุทธทาส เห็นว่าในสมัยของท่าน มีการสอนเรื่องนรกสวรรค์และชาติก่อนชาติหน้ามากแล้ว ท่านจึงมาเน้นที่ปรมัตถธรรมและปัจจุบันธรรมเป็นแกนกลาง หากท่านไม่เคยปฏิเสธเรื่องวัฏสงสารเอาเลย อย่างน้อยรูปกาลจักร หรือสังสารจักรจากทิเบต รูปแรกที่เขียนขึ้นในเมืองไทยก็ที่ในสวนโมกข์นั้นเอง

ในสมัยของท่านอาจารย์ การละอัตตาและลดบทบาทในเรื่องนรกสวรรค์เสียนั้น อาจเหมาะกับยุคสมัย หากสมัยนี้เราคงต้องกลับไปที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเราด้วยจึงจะควร แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะไม่เห็นด้วย ก็เป็นสิทธิของท่าน เราควรเคารพท่านเป็นอย่างยิ่ง แต่เราก็มีสิทธิที่จะคิดให้แผกไปจากท่านด้วย

โดยเฉพาะก็ในเรื่องเนื้อหาสาระของชาดกต่างๆ ตลอดจนเทวดานางฟ้า และนรกสวรรค์ การใช้ภาษาคนและภาษาธรรม จากคำสอนของท่านพุทธทาสมาตีประเด็นเหล่านี้ นับว่าสมควรอยู่

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ ก็ตรงที่การวางท่าทีที่ถูกต้องเกี่ยวกับถ้อยคำนั้นๆ และสภาวะต่างๆ ของสัตวะต่างๆ และภาวะต่างๆ ที่เรามองไม่เห็น รับรู้ไม่ได้ด้วยวิธีวิทยาของวิทยาศาสตร์อย่างฝรั่ง อย่าไปด่วนสรุปว่าอะไรๆ เป็นเรื่องของสวรรค์ในอก นรกในใจ อยู่ที่ในเวลานี้ เดี๋ยวนี้เท่านั้น เพราะความวิเศษมหัศจรรย์ในทางรหัสยนัยนี้แลคือ สถานภาพอันพิเศษของทุกศาสนา รวมพุทธศาสนาด้วย เพราะจากรหัสยนัยในทางจิตสิกขานี้แล ที่เราจะเข้าได้ถึงปัญญาสิกขา และนั่นก็คือเนื้อหาของวิโมกขธรรม สมกับชื่อของสวนโมกข์อย่างแท้จริง

เชื่อว่าท่านอาจารย์จะพอใจในแนวคิดที่แหวกออกไป อย่างเข้าใจความปรารถนาดีของทุกๆ คน และถ้าเราใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อย่างที่ Institute of Mind Science จัดสัมมนา โดยนำนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำมามีวิสาสะกับพุทธศาสนิกชั้นนำ ที่เข้าถึงทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ แล้วเบิกบัญชรในทางรหัสยนัยให้เข้าถึงได้ ทั้งทางจิตสิกขาและทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายนามธรรม นี่จะสำคัญยิ่งนัก จะช่วยให้เราเข้าถึงความเข้าใจในเรื่องตายแล้วเกิด และในเรื่องของเทวดานางฟ้าต่างๆ ดังที่ทางทิเบตเขามีนางธารา ทักขิณี มหากาฬ ศัมภาละ ฯลฯ

ถ้าเราเข้าใจสัญลักษณ์เหล่านี้อย่างวางท่าทีที่ถูกต้อง เราย่อมอาจนำเอาบุคลาธิษฐานนั้นๆ มาเป็นปัจจัยในการแสวงหาธรรมจนเข้าถึงธรรมาธิษฐาน และไปพ้นสัมปรายิกัตถะ จนเข้าถึงปรมัตถะได้ด้วยซ้ำไป

ผู้ที่อ้างตนว่านับถือพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้น ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระของพุทธธรรม เพราะ

๑. การอบรมบ่มนิสัยเยาวชนตามแบบโบราณ ซึ่งมีวัดกับบ้านอิงอาศัยกันและกัน มีพระและบิดามารดา ปู่ย่าตายาย เป็นแบบอย่างในทางวัฒนธรรมนั้น ได้ตายไปแล้วเกือบหมดสิ้น
๒. การสอนพุทธศาสนาโดยโรงเรียนนั้นคือการฆ่าสาระแห่งพระธรรม รวมทั้งการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ที่จัดขึ้นแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มาจนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เช่นกัน ยิ่งการสอนพุทธศาสนาทางสื่อมวลชนด้วยแล้ว ให้แง่ลบยิ่งกว่าแง่บวกแทบทั้งนั้น

๓. เมื่อบุคลากรฝ่ายพุทธจักรอ่อนแอ ไสยเวทวิทยาย่อมมีอำนาจเหนือพุทธธรรม โดยที่ไสยเวทวิทยาอย่างใหม่คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอกุศลมูลอย่างใหม่คือ เงิน (โลภะ) อำนาจ (โทสะ) และวิธีวิทยาอย่างฝรั่ง ที่เรารับเข้ามาสมาทานอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โมหะ) พุทธศาสนาจึงกลายไปเป็นพุทธพาณิชย์ ชาวพุทธชั้นนำจึงนับถือเงินและอำนาจ ตลอดจนอวิชชาต่างๆ อย่างเหนียวแน่น

๔. ผู้ที่ตั้งตัวเป็นพุทธศาสนิกสมัยใหม่ ต้องการให้เป็นพุทธศาสนามีค่าเท่ากับวิทยาศาสตร์ ให้พระพุทธเจ้าเป็นเพียงยอดของนักปราชญ์เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว แล้วพุทธศาสนาจะมีคำตอบสำหรับสังคมปัจจุบันได้อย่างไร

นี่ยกมาเพียง ๔ ประเด็น และถ้าเราตีประเด็นเหล่านี้ได้ไม่แตก โดยเฉพาะก็ข้อล่าสุด อย่าว่าแต่พุทธทาสเลย แม้พระพุทธเจ้าก็คงมีคุณค่าเพียงเฉพาะตนเท่านั้น ดังคำแปลบทรับไตรสรณคมน์กันตามพิธีกรรมของวัดต่างๆ นั้น ยังมีความเพียงว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่ง เครื่องกำจัดภัยได้จริง" แต่ถ้าจะยึดตามคำแปลนี้ ก็ต้องตีความในเรื่อง "เครื่องกำจัดภัยได้จริง" ให้ถึงแก่น เพราะถ้าเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว ภัยหรือความกลัวใดๆ ย่อมปลาสนาการไปได้สิ้น แม้จนความกลัวตาย กลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย กลัวความไม่มั่นคงในชีวิต กลัวความเหงา กลัวการขาดคนรัก กลัวว่าสังคมจะไม่ยอมรับสภาพของตน นี่เป็นความกลัวในทางส่วนตัว

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดามีจริงหรือ
ท่านเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
--------------------------------------------------------------------------------

ปัญหามีอยู่ว่า: ตามบาลีมีอยู่ว่า เทวดาที่ปรารถนาสุคติ ปรารถนา มาเกิด ในโลกมนุษย์นั้น ย่อมเป็นการรับรองว่า เทวดามีตัวจริง และ สวรรค์ก็มีตัวจริง. ถ้าเชื่อว่ามีจริงเช่นนี้ จะไม่เป็นเรื่องเหลวไหล ตามคติในยุคปัจจุบันไปหรือ?

ปัญหานี้ ผู้ถามได้ยึดเอาหลักที่อาตมาได้บรรยายไปในวันก่อนๆ ถึงตอนที่กล่าวว่า เทวดาที่ปรารถนาสุคติ หาที่อื่นไม่ได้ ไม่พบ ต้องมาหาในมนุษยโลก ซึ่งมีพระรัตนตรัย; เลยยึดเอาว่า ถ้าอย่างนั้น บาลีก็ยืนยันว่า ตัวเทวดามีจริง สวรรค์มีจริง?

อาตมาอยากจะขอตอบว่า ในบาลี มีกล่าวเช่นนั้นจริง และมีในรูปพระพุทธภาษิตจริง; แต่ความหมายนั้น หมายถึง เทวดาเป็นตัวบุคคลาธิษฐาน เช่นนั้นจริงหรือไม่ เป็นอีกปัญหาหนึ่ง. เรื่องเทวดานี้ ก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า ถ้าไม่ "มองเห็น" ได้ด้วยตนเองแล้ว อย่าไปเชื่อตามดีกว่า เพราะฉะนั้น ส่วนที่พูดถึงตัวเทวดา หรือ สวรรค์นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ. ประเด็นสำคัญ มันอยู่ที่ว่า คนที่มัวเมา อยู่ด้วยกามคุณ อย่างเทวดา และ จะเป็นเทวดาอยู่ที่ไหนก็ตาม ผู้ที่มัวเมาอยู่แล้ว ยากที่จะมีจิตใจที่โปร่ง หรือ แจ่มใสเพียงพอ ที่จะเข้าใจเรื่องดับทุกข์ หรือ เรื่องนิพพาน เพราะฉะนั้น เทวดาเมื่อสำนึกถึง ความที่ตนมัวเมาอยู่ในกามคุณ หรือ ในสวรรค์ได้ ก็เกิดความสลดสังเวชตัวเอง ว่าที่นี่ ไม่ใช่ที่เอาตัวรอดเสียแล้ว; ควรจะเป็นในที่ที่ไม่มัวเมา ในกามคุณมากถึงเช่นนั้น; ควรจะเป็นที่ที่จะหาเรื่องราวของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ เรื่องดับทุกข์ นั้นได้โดยง่าย. เพราะฉะนั้น โลกที่ดีที่น่าเกิด ก็ควรจะเป็นมนุษยโลก แทนที่จะเป็นเทวโลก. เพราะฉะนั้น ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ควรจะอยู่ในที่ที่หาพบพระรัตนตรัยได้ง่าย หรือ ทำการดับทุกข์ได้ง่าย; เลิกพูดถึงมนุษยโลกหรือเทวโลก ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ.

ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย โดยมาเอา สิ่งที่ดีกว่า คือ เรื่องโลกุตตระ หรือ นิพพาน; ทั้งๆ ที่ไม่ต้อง เสียเวลา พิสูจน์ เรื่องเทวดา เรื่องนรกสวรรค์ ชนิดนั้น ว่ามันมี ข้อเท็จจริง โดยแท้จริงอย่างไร.

มีอยู่ในพระไตรปิฎก บางแห่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรื่องเทวดานี้ เขาพูดกันอย่าง เอิกเกริก ทั่วไปอยู่แล้ว เสียเวลา ที่จะไปฝืน ความรู้สึกของเขา; แล้วเราเอง ก็ต้องการ อีกอย่างหนึ่ง ต่างหาก สิ่งที่ต้องการ ไม่ได้เป็นอันเดียวกับ ที่ต้องการให้เขา หลงใหลในสวรรค์ ไม่จำเป็นที่จะต้อง อธิบายเรื่อง นรก สวรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะ พิสูจน์กัน เดี๋ยวนั้น ไม่ได้. ถ้าหากว่า ผู้นั้นจะมี ปาฏิหาริย์มาก ถึงกับ บังคับจิตผู้คน หรือ กลุ่มประชาชน ให้เห็นนรก เห็นสวรรค์ ด้วยอำนาจจิต ได้อย่างแท้จริง; ซึ่งสวรรค์ และนรก จะจริง ไม่จริง ไม่ทราบ; แต่ว่า สามารถบังคับ ด้วยปาฏิหาริย์ ให้พากันเห็นชัดเจน แท้จริง จนมีความเชื่อ อย่างนี้ก็ทำได้; พระพุทธเจ้า ท่านก็ทำได้ เป็นของง่ายๆ แต่ท่านก็ไม่ประสงค์ จะทำอย่างนั้น; กลับเอออวย ไปในบางส่วน ว่าให้ทาน รักษาศีล นี่แหละ จะเป็นทาง ให้ได้สวรรค์ แล้วเมื่อได้สวรรค์ มาแล้ว เป็นอย่างไร ท่านก็ชี้ ให้เห็นว่า สวรรค์นั้น มันเต็มไปด้วยโทษ คือ ความหลงใหลอย่างไร แล้วจึง ทรงแสดง โทษของสวรรค์ ผู้นั้นก็พร้อม ที่จะรู้เรื่อง โลกุตตระ เขาเห็นจริง เชื่อจริง มาตามลำดับ ว่า ทาน ศีล ให้เกิดสวรรค์, สวรรค์ มีลักษณะ อย่างนั้นๆ ประกอบไปด้วย อาทีนพ-คือโทษ ทำให้โง่ ให้หลง ให้วนเวียน ในวัฏฏสงสาร อย่างนั้นๆ จึงมีจิตใจ พร้อมที่จะรู้เรื่อง อริยสัจจ์ หรือ เรื่องของ โลกุตตระ.

อุบายวิธี ทางธรรม เช่นนี้ เราจะเรียกว่า พระพุทธเจ้า ท่านฉลาดในการสวมรอย หรือ อะไรก็ตามเถิด แต่ว่า ความจำเป็น มันบังคับ ให้ทำได้ เพียงเท่านั้น จะไปพิสูจน์ เรื่องนรก สวรรค์ กันมากกว่านั้น ก็ไม่มีเวลา ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ทั้งไม่ได้ประโยชน์อะไร; เพราะเรื่องที่สำคัญนั้น ต้องการจะสอน ให้เห็น ความทุกข์ เดี๋ยวนี้ ให้เห็น เหตุให้เกิดทุกข์ เดี๋ยวนี้ กล่าวคือ เรื่องอริยสัจจ์สี่ นั่นเอง เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงทรงมีอุบาย ลัดๆ สั้นๆ ชำระของเกรอะกรัง ในจิตใจของประชาชน เรื่องนรก สวรรค์ เสียพอสมควรก่อน ได้แก่ ทรงแสดงเรื่อง ทาน เรื่องศีล แล้วเรื่องสวรรค์ แล้วย้ำเรื่อง โทษของสวรรค์ แล้วจึงถึง เรื่องการออกไปเสีย จากสวรรค์ ที่เรียกว่า เนกขัมมะ การออกไปเสียจาก กามคุณ ว่าจะมีผลดีอย่างนั้นๆ พอมาถึงขั้นนี้แล้ว คนนั้นที่เรียกได้ว่า มีหัวใจเคยเกรอะกรัง ไปด้วย ตะกอนต่างๆ มาแต่กาลก่อนๆ ถูกชำระล้าง หมดสิ้นดีแล้ว ก็พร้อมที่จะรู้ อริยสัจจ์สี่ คือ ทุกข์ มูลเหตุให้เกิดทุกข์ สภาพที่ ไม่มีความทุกข์ เลย และวิธีปฏิบัติ ที่จะให้ลุถึง สภาพชนิดนั้น พระพุทธเจ้า ท่านก็สอน เรื่องของท่าน โดยตรง เอาตอนนี้เอง.

ส่วนตอนเรื่อง นรก สวรรค์ อะไรนั้น เป็นตอนที่ ไม่ใช่ใจความ ของพุทธศาสนา เขาเชื่อกัน อยู่อย่างนั้นแล้ว เขาทำกัน อยู่อย่างนั้นแล้ว ก่อนพระองค์เกิด ถ้าไปตู่เรื่องนี้ มาว่าเป็น พุทธศาสนา ก็เรยกว่า ไม่ยุติธรรม พระพุทธเจ้า ท่านไม่ขี้ตู่ อย่างนั้น เรื่องของท่าน จึงมีแต่เรื่อง โลกุตตระ คือ อริยสัจจ์ เป็นพื้น. เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า เรื่องสวรรค์ หรือ นรก นี้ ไม่ใช่ ประเด็นของพุทธศาสนา แต่มันพลัดมาอยู่ใน คำของ พระพุทธเจ้าได้ เพราะความจำเป็นอย่างนี้; ฉะนั้น เราไปสนใจกับ ตัวพุทธศาสนา โดยตรงเสีย ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์ ก็จะหมดสิ้น ไปในตัวเอง หมดความจำเป็น ไปในตัวเอง เพราะ ถ้าขืนเชื่อ งมงาย ไปตามผู้อื่นว่า มีจริง เป็นจริง อย่างนั้น ก็เป็นการถูกหลอก; หรือ แม้แต่ เขาจะบังคับ กระแสจิต ให้เห็น ได้ทางปาฏิหาริย์ ก็ยังเป็นการ ถูกหลอก อย่างลึกซึ้ง อยู่นั่นเอง. พุทธบริษัท ไม่ทำอย่างนี้ จึงพิสูจน์เรื่อง ความทุกข์ และ เรื่องความดับทุกข์ โดยตรง เป็นเรื่องของ พุทธศาสนาแท้.

นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า

ทีนี้อยากจะให้รู้เสียเลย ที่เกี่ยวกับ ทวารเหล่านี้นะ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า นรกทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว สวรรค์ทางอายตนะ ฉันเห็นแล้ว เมื่อก่อน เขาพูดกัน ถึงเรื่อง นรกอยู่ใต้ดิน อย่าง ภาพเขียนฝาผนัง นั่นมันคือ นรกทางกาย นรกทางวัตถุ ก็หมายถึง ร่างกาย ถูกกระทำ อย่างนั้น เป็นนรกใต้ดิน ตามที่ว่า แล้วสวรรค์ ก็อยู่ข้างบน บนฟ้า ข้างบนโน้น มีวิมาน มีผู้เสวยสวรรค์ เป็นบุคคล มีนางฟ้า ส่งเสริม ความสุข เป็นร้อยๆ ร้อยๆ นั้นคือ สวรรค์ข้างบน แต่ เป็นเรื่อง ทางกาย หรือ ทางวัตถุทั้งนั้น

นรกกับสวรรค์ ชนิดนั้น เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระพุทธเจ้า เขาสอนกันอยู่ก่อน แต่คุณจับใจความให้ได้ มันเรื่องทางกายนี้ เจ็บปวดทางกายอยู่ใต้ดิน คือนรก เอร็ดอร่อยทางกายอยู่ข้างบน นั่นแหละสวรรค์

ทีนี้ พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสเสียใหม่ว่า นรกที่อายตนะฉันเห็นแล้ว ก็คือที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ; นี่นรก เมื่อทำผิด มันร้อนขึ้นมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันนรกที่ไม่ใช่วัตถุ ที่ไม่ใช่กาย มันเป็นนามธรรม เป็นความรู้สึก เป็นทุกข์ร้อน อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่นรกฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้ ฝ่ายวิญญาณ

ทีนี้ สวรรค์ก็เหมือนกัน เมื่อถูกต้อง เขาก็จะเป็นสุขสนุกสนาน อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นั้นแหละ คือ สวรรค์ เป็น สวรรค์ทางวิญญาณ มันคู่กัน อย่างนี้ มันคู่กันมา อย่างนี้

ถ้าเอาวัตถุ เอาร่างกายเป็นหลัก นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า แล้วก็เป็นไป ตามเรื่องนั้น แต่ถ้าเอาเรื่อง นามธรรม ฝ่ายวิญญาณ เป็นหลักแล้ว ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น พูดอย่างนี้ ชี้ไปยังที่ตัวจริง พูดอย่างโน้น มันอุปมา เหมือนกับว่า ถูกฆ่า ถูกเผา ถูกอะไรอยู่ หรือว่า เสวยอารมณ์ อันเป็น กามคุณอยู่ นั้นควรจะเป็นอุปมา แต่เขากลับเอามา เป็นตัวจริง

ทีนี้ ผม อธิบายตาม พระบาลี เรื่องตัวจริง ว่า ร้อนอยู่ที่ อายตนะทั้ง ๖ นี้ มันเป็นนรก สบายอย่างนี้ เป็นสวรรค์ เขากลับหาว่า นี้อุปมา นี่มัน กลับกัน อย่างนี้ ใครโง่ ใครฉลาด? คุณก็ไปคิดเอาเอง แต่ผมยืนยันว่า ตามหลักของพระพุทธเจ้าว่า นี้คือ จริง : นรกที่อยู่ที่อายตนะ ๖ นี้ คือ นรกจริง สวรรค์ที่อยู่ที่อายตนะ๖ นี้คือ สวรรค์จริง ท่านจึงตรัสว่า ฉันเห็นแล้วๆ ก็ไม่ได้พูด ตามที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ ที่เขาพูดกัน อยู่ก่อนพระองค์ นั้น เขาพูดกันว่า อย่างนั้น มันจะเป็น เรื่องคาดคะเน หรือ เป็นเรื่องอะไร ก็ตามใจเขา เราจะไม่แตะต้อง เราจะไม่ไปคัดค้าน

นี่คุณช่วยจำไว้ ข้อหนึ่ง ด้วยนะ แทรกให้ได้ยินว่า เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ตรงกับ ลัทธิของเรา พระพุทธเจ้า ท่านว่า อย่าไปคัดค้าน แล้วก็ ไม่ต้องยอมรับ เมื่อเราไม่เห็นด้วย เราก็ไม่ยอมรับ แต่แล้ว อย่าไปคัดค้าน อย่าไปด่าเขา อย่าไปอะไรเขา ก็บอกว่า คุณว่าอย่างนั้น ก็ถูกของคุณ เราไม่อาจจะยอมรับ แต่เราก็ไม่คัดค้าน แต่เรามีว่าอย่างนี้ๆ เราก็พูดของเราไป ก็แล้วกัน

นี่ควรจะถือเป็นหลัก กันทุกคน ถ้าลัทธิอื่น เขามาในแบบอื่น รูปอื่น เราก็ไม่คัดค้าน เราไม่ยอมรับ แต่เราบอกว่า ของพุทธศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ๆ ก็ว่าไป ไม่ต้องทะเลาะกัน ที่มันจะไป ทำลายของเขา ยกตัวของตัว ขึ้นมา นี้มันจะได้ทะเลาะกัน จะทำอันตรายกัน เพราะหลักธรรมะ นั้นเอง พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่พูด ถึงเรื่องอะไรๆ ที่เขาพูดกันอยู่ก่อน ในหลายๆเรื่อง รวมทั้งเรื่อง นรก สวรรค์ นี้ด้วย แต่ท่านพูด ขึ้นมาใหม่ว่า ฉันเห็นแล้ว คือ อย่างนี้ๆ

ฉะนั้น เรามี นรก สวรรค์ ทั้งที่เป็น การกล่าวกัน อยู่ตาม ทางวัตถุ ทางกาย มาสอนใน ประเทศไทย ตั้งแต่ ก่อนพุทธศาสนาเข้ามา ฝ่ายพุทธศาสนาเข้า เขาก็ไม่ได้เอา คำของพระพุทธเจ้า ข้อนี้ มาสอน ประชาชน ก็ยังถือตาม ก่อนโน้นๆ นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า นรก สวรรค์ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสนี้ ไม่ค่อยมีใครสนใจ พอเอามาพูดเข้า เขาเห็นเป็น เรื่องอุปมา ไปเสียอีก มันกลับกัน เสียอย่างนี้


--------------------------------------------------------------------------------

ที่มา...คัดจาก หนังสือ ธรรมานุกรมธรรมโฆษณ์ ฉบับประมวลธรรม เล่ม ๒ เรียบเรียงโดย นาย พินิจ รักทองหล่อ พิมพ์ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๐ โดย ธรรมทานมูลนิธิ





คัดลอกจาก http://www.geocities.com/sakyaputto/artcle6.htm

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
248 วัดบวรนิเวศวิหาร ถนนพระสุเมร
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0 2282 8303, 0 2281 6427 โทรสาร 0 2281 0294
E-mail : contactus@mbu.ac.th



เป็นเทวดากันดีไหม
หน้า 1 จาก 2
ท่านสาธุชนทั้งหลาย เมื่อท่านคิดถึงเรื่องเทวดา ท่านคิดกันอย่างไร คิดว่าเป็นผู้วิเศษสามารถอำนวยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จได้ทุกอย่างทุกเรื่อง เป็นที่ต้องการของประชาชนผู้ประสบเรื่องทุกข์ยากนานาประการ
เป็นที่อ้อนวอนของคนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นผู้รู้เห็นพฤติกรรมทุกอย่างของคนทุกคน เป็นพยานในการกระทำทั้งดีและชั่ว ใช่หรือไม่ เรื่องนี้คงจะตอบโดยเด็ดขาดไม่ได้หรอกว่า สิ่งที่ท่านตอบนั้นถูกหรือผิด ก็คงจะพูดได้แค่เพียงว่า แล้วแต่จะคิดกัน
ถ้าจะถามว่า สำหรับท่านแล้ว เทวดามีน่าตาอย่างไร เป็นตัวเขียว ๆ ใช่หรือไม่ ประเด็นนี้ก็คงจะบอกว่า สุดแล้วแต่จะคิดกัน เพียงแต่อยากจะแสดงความคิดเห็นว่า เทวดานั้นท่านคงจะมีน่าตาที่ดีหล่อเหลาเอาการอยู่ เหมือนกับคำที่คนไทยนิยมกล่าวกันว่า หล่อเหมือนเทวดา ในส่วนของฝ่ายหญิงที่อยู่คู่กับเทวดา หรือเทวดาผู้หญิง หรือที่เราคุ้นกันอยู่ในชื่อว่า นางฟ้านางสวรรค์นางอัปสรนั้น คงจะสวยมาก เพราะมีการเปรียบเทียบกันโดยทั่วไปในโลกมนุษย์เกี่ยวกับผู้หญิงที่น่าตาดีนี้ว่าสวยเหมือนนางฟ้า




ในส่วนของความประพฤตินั้น เทวดาและนางฟ้านี่คงเป็นผู้ที่มีน้ำใจดีงาม คงจะความประพฤติดีมาก ๆ ความประพฤติที่เป็นสุจริต จึงมีความกล่าวว่า นางฟ้าผู้ใจดี มีบิดามารดาดีเหมือนเทวดา มีสามีภรรยาดีดังเทวดา และตามที่ได้เรียนรู้ศึกษามา ไม่ปรากฏว่า ในโลกสวรรค์ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดานั้นมีกฎหมายอะไรกันมากมาย มีคนที่เก่งเรื่องกฎหมายอยู่มากมายแต่ก็ยังมีปัญหากันอยู่เหมือนโลกมนุษย์นี้ ไม่ปรากฏว่า มีคุกมีตารางมีห้องขังไว้สำหรับขังคนผิดเหมือนกับในโลกมนุษย์ ในสถานที่อยู่ของพวกเทวดามีแต่ความสุข สนุกสนานรื่นเริงรื่นรมย์เท่านั้น มีการรักษาศีล ๕ ได้เป็นอย่างดี อาหารก็ไม่ต้องแสวงหาเพราะมีอาหารทิพย์ ที่อยู่ที่อาศัย ยานพาหนะหรือแม้กระทั่งคู่ครองต่าง ๆ ก็ไม่ต้องแสวงหาเพราะมีได้ด้วยดานุภาพแห่งบุญกุศลของเทวดานั้น ๆ ที่ทำไว้ตามแต่ที่มากหรือน้อยก็ให้ผลได้ตามนั้น
ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการประกอบอาชีพการงานชนิดใดเพื่อหาเลี้ยงชีพ ไม่ต้องลำบากต่อการทำมาหากิน ไม่มีใครเอารัดเอาเปรียบใคร ใครมีศักดิ์น้อยศักดิ์มากก็แสดงออกได้ตามนั้น ท่านใดได้สร้างบุญบารมีไว้มากในครั้งที่เป็นมนุษย์นี้ก็ดี หรือแม้ในอัตภาพอื่นที่มีโอกาสทำความดีสร้างบารีได้ เมื่อละร่างกายตายไปจากอัตภาพนั้นก็ไปจุติคือเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นก็จะมีพร้อมด้วยวิมานและบริวารมากน้อยสุดแล้วแต่กำลังของบุญบารมีความดีที่ได้สร้างไว้ และเหล่าเทวดาก็มีความเคารพนับถือกันตามที่เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อยอย่างหนักแน่นสรุปว่าคือรู้จักผู้น้อยผู้ใหญ่เคารพกันด้วยดีโดยศักดิ์ศรี ทีนี้ ถ้าอยากจะถามว่าแล้วในพระพุทธศาสนามีกล่าวถึงเรื่องเทวดาไว้อย่างไรบ้าง ตอบได้อย่างแน่ใจเต็มที่ว่า
เทวดามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อนอื่นนั้นจะขอกล่าวถึงประเภทเทพหรือเทวดาสักนิดหนึ่ง
เทพในพระพุทธศาสนาโดยสรุปมี ๓ คือ ท่านผู้สิ้นกิเลสอย่างสิ้นเชิงหมายถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งมวลอย่างนี้เรียกชื่อว่า วิสุทธิเทพ พระเจ้าจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ เรียกชื่อว่า สมมุติเทพ และเทวดาโดยอุบัติคือเกิดมาเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลที่ทำไว้ อย่างนี้เรียกว่า อุปัตติเทพ
เรื่องเทวดาในที่นี้กำลังพูดถึงอุปัตติเทพ เมื่อกล่าวเฉพาะพระพุทธเจ้าของพวกเราพระองค์นี้ ก่อนที่จะเสด็จมาเกิดในพระชาติสุดท้ายตามตำราระบุว่าพระองค์ทรงเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิตมาก่อนในพระชาติที่ทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนี้ แม้ในวันประสูติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพานของพระองค์และวันอื่น ๆ ก็มีเทวดามาเกี่ยวพันอยู่เสมอ ถ้าจะกล่าวรายละเอียดไปก็จะมากความ ท่านสาธุชนใดสนใจก็เชิญอ่านพระไตรปิฎกดูได้เลย ในพระไตรปิฎกนั่นเอง มีเรื่องที่กล่าวเรื่องเทวดาตรง ๆ เช่น เทวตาสังยุต เทวปุตตสังยุต สักกสังยุตแต่ถ้าจะเอารายละเอียดที่กล่าวกับเทวดาในเรื่องภูมิหรือชั้นของสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทวดา



สภาพทั่วไปของที่อยู่ วิถีชีวิตของเทวดาต้องเป็นหนังสือชั้นอรรถกถาและหนังสือในชั้นหลัง และเพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องเทวดานี้ ข้ออ้างถึงข้อความในหนังสือธรรมปริทรรศน์ เล่ม ๒ ซึ่งสรุปได้ว่า สวรรค์ในระดับกามาวจรภูมิมี ๖ ชั้น คือ
๑. สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ถือว่าเป็นสวรรค์ชั้นต่ำเป็นที่อยู่ของท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งเป็นผู้อภิบาล รักษาโลก คือท้าวธตรฐมีคนธรรพ์เป็นบริวารอยู่ทางทิศตะวันออกท้าววิรุฬหกมีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวารอยู่ทางทิศใต้
ท้าววิรูปักษ์มีพวกนาคเป็นบริวารอยู่ทางทิศตะวันตกท้าวกุเวรมีพวกยักษ์เป็นบริวารอยู่ทางทิศเหนือ
เหตุที่ทำให้บังเกิดในสวรรค์ชั้นนี้โดยสรุป ก็คือบำเพ็ญความสุจริตทางกาย วาจา หรือทางใจ บำเพ็ญบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล และบำเพ็ญภาวนา ที่มีความประณีตในระดับหนึ่ง
๒. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นที่ ๒ ในกามาวจรภูมิคือยังเวียนว่ายในกาม คือยังคงติดใจอยู่ในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ สวรรค์ชั้นนี้ประกอบด้วยไพชยนตปราสาท มี ๑๐๐ ชั้น ชั้นหนึ่ง ๆ เรือนยอดแห่งหนึ่ง ๆ มีนางอัปสร ๗๐๐ นาง นางอัปสรนางหนึ่ง ๆ มีเทพธิดาบำเรอถึง ๗๐๐ มีสถานที่สำคัญเช่น สวนนันทวันอยู่ทางทิศตะวันออก สวนจิตรลดาวันอยู่ทิศตะวันตก สวนมิสกวันอยู่ทิศเหนือ สวนปารุสกวันอยู่ทิศใต้ และเป็นที่ประดิษฐานพระจุฬามณีคือพระเกศเมาลี พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า มีต้นไม้ ปาริชาต มีอุทยานปุณฑริกวัน เป็นสวนอุทยานที่กว้างใหญ่มาก มีต้นไม้ทิพย์กัลปพฤกษ์ ใต้ต้นไม้มีพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ และมีสุธรรมเทวสภา วันธรรมสวนะก็มีการกล่าวธรรมกันที่สุธรรมสภาศาลา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
การช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานที่ชอบ การให้ส่วนบุญการอนุโมทนาส่วนบุญของคนอื่น การแสดงธรรม การฟังธรรมและการทำความเห็นของตนให้ตรง
๓. สวรรค์ชั้นยามา ชั้นที่ ๓ เป็นที่สถิตของปวงเทพที่ไม่มีความลำบาก จอมราชันในสวรรค์ชั้นนี้ ชื่อท้าวสุยามเทวาธิราช ปราสาทวิมานมีความสวยงามวิจิตรตระการตายิ่งกว่าในชั้นดาวดึงส์ มีกำแพงแก้วรุ่งเรืองสวยงาม ไม่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เพราะอยู่ไกลมาก แต่ว่าเทวดาชั้นนี้ก็จะอาศัยรัศมีของกันและกัน คือรัศมีที่แผ่ออกจากกายของเทวดา ทำให้สวรรค์ชั้นยามา มีความสว่างรุ่งเรืองดังไม่มีกลางคืนกลางวัน
การจะรู้ว่าเป็นกลางคืนกลางวัน ดูที่ดอกไม้ทิพย์ ถ้าบาน ก็แสดงว่า กลางวัน ถ้าหุบ ก็แสดงว่า กลางคืน
เทพชั้นนี้รุ่งเรืองด้วยสิ่งที่เป็นทิพย์ทั้ง ๑๐ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ อธิปไตย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ประณีตขึ้นไปกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชและชั้นดาวดึงส์ เหตุทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ก็คือเป็นเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ แต่เจตนาในการบริจาค สิ่งที่ได้บริจาค บุคคลผู้รับ สิ่งของที่ให้ทานเป็นต้นมีความแตกต่างกันออกไป
๔. สวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นที่ ๔ ภายในเทพนครนี้ มีวิมาน ๓ ชนิด คือ วิมานแก้ว วิมานทอง วิมานเงิน ประดับเรียงรายอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ เทพในชั้นนี้แต่ละองค์มีรูปร่างสวยงามสง่ากว่าเทพใน ๓ ชั้นที่กล่าวแล้ว มีน้ำใจรู้บุญ รู้ธรรมเป็นอย่างดี มีจิตยินดีในการฟังธรรมเทศนายิ่งนัก เมื่อถึงวันธรรมสวนะก็มาประชุมกันฟังธรรม มีท้าวสันดุสิตเทวาธิราชเป็นจอมเทพอยู่ในสวรรค์ชั้นนี้ พระพุทธเจ้า พระพุทธบิดา - มารดา เป็นต้น เคยเป็นเทวดาอยู่ในชั้นนี้ พระศรีอริยเมตไตรย์ที่จะมาบังเกิดเป็นมนุษย์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในโอกาสต่อไปก็ประทับอยู่ชั้นนี้ เหตุที่จะทำให้บังเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ คือ การให้ทานโดยไม่หวัง ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทาน ให้ทานไม่มุ่งการสั่งสม ไม่ได้ให้ทานเพราะจะไม่ให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ตนหุงหาอาหารกิน แต่สมณพราหมณ์ไม่ได้หุงอาหารกิน จะไม่ให้ทานแก่สมณะ พราหมณ์เป็นการไม่สมควร เมื่อให้ทานด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต หรือถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ก็มุ่งหวังสิ่งที่ตนให้ไปด้วยได้ฟังมาว่า เทพเจ้าชั้นดุสิตมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก แล้วจึงจินตนาการว่า หลังจากเราตายไปขอให้ได้เป็นสหายของเทพเจ้าชั้นดุสิต เขาตั้งจิตไว้ จิตของเขาน้อมไปในสวรรค์ไม่ได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต




สรุปว่าการบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตก็เป็นเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่มีความประณีตสูงยิ่งขึ้น
๕. สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ชั้นที่ ๕ เป็นที่สถิตอยู่ของปวงเทพเจ้าผู้มีความเพลิดเพลินยินดีอยู่ในกามคุณอารมณ์
และต้องการอะไรก็เนรมิตเอาตามที่ต้องการ มีท้าวสุนิมมิตเทวาธิราชเป็นอธิบดีปกครอง ในเทพนครนี้ มีปราสาทที่สวยงาม มีปราสาทเงิน ปราสาททอง ปราสาทแก้ว มีกำแพงแก้ว กำแพงทองทิพย์ นอกจากนั้น ภูมิภาคก็ดารดาษด้วยทอง ราบเรียบเสมอกัน มีสระโบกขรณี มีอุทยานเป็นทิพย์ เทพผู้สิงสถิตอยู่ที่สวรรค์ชั้นนี้ มีรูปทรงสวยงามน่าดูน่าชมยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นล่าง มีกายทิพย์ที่มีรัศมีรุ่งเรือง หากปรารถนาจะเสวยสุขกามคุณ ก็เนรมิตเอาได้ตามต้องการไม่มีความขัดข้องเลย สิ่งที่เป็นทิพย์ ๑๐ คือ อายุเป็นต้นประณีตขึ้นไปกว่าเทพชั้นที่ผ่าน ๆ มาเหตุให้เกิดในสวรรค์ชั้นนี้ คือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ในกรณีการให้ทาน คนที่จะเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีจะต้องให้ทานเพราะปรารภว่าเป็นความดีจึงกระทำ ไม่จำเป็นต้องไปอธิษฐานอะไร ใจก็สะอาดขึ้น ทำให้บังเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ในสังคีติสูตรระบุว่า ถ้าบุคคลบำเพ็ญทานเป็นต้นประกอบด้วยกุศลจริง ๆ ก็สามารถตั้งความหวังเพื่อจะไปบังเกิดในสวรรค์ก็ชั้นนิมมานรดีได้
ตามที่ต้องการ
๖. สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ชั้นที่ ๖ เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในกามาวจรภูมิ เทวดาที่สถิตอยู่ในชั้นนี้เสวยกามคุณารมณ์โดยผู้อื่นเนรมิตให้ไม่ต้องทำแม้แต่เนรมิต เป็นที่อยู่อันประเสริฐด้วยสุขสมบัติยิ่งกว่าสวรรค์อีก ๕ ชั้นข้างล่าง
มีเทพที่เป็นใหญ่ชื่อว่า ท้าวปรนิมมิตวสวัตดี แบ่งออกเป็น๒ แดน คือแดนของเทพดา มีท้าวปรนิมมิตเทวาธิราชปกครอง และแดนของมารมีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทวาธิราชเป็นผู้ปกครอง แม้จะมี ๒ แดน คือแดนเทพบุตรกับแดนมาร แต่ละชีวิตที่อยู่ในที่นั้น ก็มีความสุขความสงบด้วยกัน อายุ วรรณะ สุข ยศ อธิปไตย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์สูงกว่า ประณีตกว่าสวรรค์ที่กล่าวผ่านมา แล้วก็มีคนสำคัญ ๆ ในสมัยพุทธกาลไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ เช่น นางสิริมา สำหรับเหตุปัจจัยทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นนี้ ก็คือการทำบุญกุศลที่ประณีตขึ้นไป ที่สูงขึ้นไปกว่าสวรรค์ชั้นนี้ก็เป็นพรหมโลก สูงกว่าพรหมโลกก็เป็นโลกุตตระคือพ้นโลกซึ่งหมายถึงพระนิพพานสถานที่อันสูงสุดไม่มีที่ใดเกิน
ในส่วนของอายุ ๕๐ ปี เท่ากับอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๑ วัน ๑ คืน อายุ อายุเขา = ๕๐๐ ปีทิพย์
๑๐๐ ปีมนุษย์เท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ อายุเขา =๑,๐๐๐ ปีทิพย์ ๒๐๐ ปีมนุษย์เท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นยามา อายุเขา = ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ ๔๐๐ ปีมนุษย์เท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นดุสิต อายุเขา = ๔,๐๐๐ ปีทิพย์
๘๐๐ ปีมนุษย์เท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นนิมมานรดี อายุเขา =๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์เท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี อายุเขา =๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ที่กล่าวมานี้ คือ สวรรค์ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา และองค์ประกอบอื่น ๆ ของเทวดาในสวรรค์แต่ละชั้น และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ ได้ ส่วนสาเหตุกลาง ๆ ที่ทำให้บุคคลธรรมดาในมนุษยโลกนี้สามารถเข้าถึงความเป็นเทวดา หรือเป็นเทวดาเดินดินนี้ ซึ่งก็หมายความว่าได้เป็นเทวดาในขณะที่เป็นมนุษย์นี่แหละ นั่นก็คือ เทวธรรม หรือเทวดาธรรม ซึ่งหมายถึงธรรมของเทวดาหรือธรรมที่ให้เป็นเทวดา หรือเป็นเพื่อนของเทวดา เทวธรรมนั้นมีพระบาลีรับรองไว้ว่า นักปราชญ์ เรียกคนผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะตั้งมั่นดีแล้วในธรรมขาว เป็นผู้สงบเป็นสัตบุรุษในโลกว่า ผู้ทรงเทวธรรม



ท่านสาธุชนทั้งหลาย ถ้าท่านอยากเป็นเพื่อนกับเทวดานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป คือเพียงแต่ท่านประพฤติตามหลักเทวธรรมคือมีหิริความละอายใจต่อพฤติกรรมที่ชั่ว ๆ และโอตตัปปะความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว ตั้งมั่นในการกระทำความดี ไม่เบียดเบียนผู้ใดผู้หนึ่งทั้งทางตรงและทางอ้อม เท่านี้ ท่านก็จะเป็นเทวดาได้แล้วเพราะท่านประพฤติตามเทวธรรม


พระศรีรัชมงคลบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มมร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ มันเป็นยังไงครับ


เพราะนิพพาน ไม่มีในที่อื่น ไม่มีในเวลาอื่น
อยากถึงนิพพาน ต้องที่นี่(กายใจของตน) เด๊่ยวนี้(ปัจจุบัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบอกเหลิมว่า

จะศรัทธาใคร เชื่อใคร

เชื่อเรื่องอำไรเป็นเรื่องของเหลิม

คนอื่นๆจะเชื่ออไร

เหลิมอย่าเสือค

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โดย เกษม ศิริสัมพันธ์


ไม่ว่าท่านพุทธทาสจะเทสน์หรือจะเขียนก็ตาม ท่านใช้สำนวนท้าทายผู้ฟังและผู้อ่านทุกครั้ง อย่างเช่นคำกลอนประกอบภาพประจำเดือนมิถุนายนในปฏิทินธรรมชุดนี้ ท่านขึ้นหัวข้อว่า “หน้าที่ของคน” แล้วว่าต่อไป :

หน้าที่หนึ่ง ในฐานะ เป็นมนุษย์
ต้องได้สิ่ง สูงสุด ก่อนเป็นผี
ตามที่คน ควรจะได้ อย่างไรดี
ไม่เสียที ที่เกิดมา ประสาคน ฯ

ผู้ใดที่ได้ติดตามงานของท่านพุทธทาสมาอย่างใกล้ชิด จะเกิดความรู้สึกว่า แท้ที่จริงแล้วท่านพุทธทาสเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา อย่างที่ยากที่จะหาผู้อื่นใดมาเทียบเคียงกับท่านได้

อย่างเช่นเรื่องปฏิจจสมุปบาท ท่านก็สามารถล้มแนวคิดเก่า ซึ่งเป็นของพระพุทธ
โฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรรค ไว้เมื่อประมาณ 1,500 ปีกว่ามาแล้ว

พระพุทธโฆษาจารย์เขียนในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า กระบวนการของปฏิจจสมุปบาท
จะหมุนครบวงจรได้ ตั้งแต่อวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ฯลฯ เรื่อยไปจนถึงชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรา มีมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปยาส กว่าจะครบวงจรได้นั้น

กระบวนการปฏิจจสมุปบาทต้องใช้เวลายาวนาน ถึงสามชาติสามภพ คือชาติก่อนหรือภพก่อน ถึงชาตินี้หรือภพนี้ ไปจบสิ้นเอาที่ชาติหน้าหรือภพหน้า

พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ตั้งแต่ลังกา ไทย พม่า ฯลฯ ล้วนสอนหลักปฏิจจสมุปบาท ตามตำราของ พระพุทธโฆษาจารย์นี้ทั้งสิ้น เป็นเวลานานกว่า 1,500 ปี

จนมาถึงท่านพุทธทาส จึงได้ขัดทรรศนะของพระพุทธโฆษาจารย์ขึ้น โดยท่านพุทธทาสได้ชี้ให้เห็นว่า หลักอิทัปปัจจยตาซึ่งเป็นกระบวนธรรมแห่งเหตุและปัจจัย ตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น ไม่ต้องรอให้ถึงสามชาติหรือสามภพตามแนวของพระพุทธโฆษาจารย์หรอก

แท้ที่จริงแล้วกระบวนการปฏิจจสมุปบาทสามารถครบถ้วนได้ภายในพริบตาเดียว !
กระบวนการนี้สามารถเกิดๆดับ ๆ ได้เป็นหมื่นเป็นแสนครั้งในชีวิตของคนๆหนึ่ง

ท่านพุทธทาสจึงเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ที่กล้ามีจุดยืน เป็นตัวของตัวเอง ไม่หลงติดกับแนวทางเก่าที่เคยสั่งสอนกัน มักท่องบ่นสอนกันไปตามนั้น โดยปราศจากการคิดให้รอบคอบเสียก่อน

คำสอนของท่านพุทธทาสที่โด่งดังจนติดหูของผู้คนอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง”ตัวกู - ของกู”

แท้ที่จริงหลักคำสอนของท่านเรื่องนี้มุ่งเน้นที่ให้ผู้คนละวางเรื่อง “ตัวตน” และ “ของตน” ลงเสียบ้าง

ตามหลักพระไตรลักษณ์ ชีวิตมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกล้วนอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติสามประการด้วยกัน คือหนึ่งเป็น อนิจจตา คือไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สองเป็นทุกขตา คือไม่สามารถอยู่คงทนได้ และสามเป็นอนัตตตา คือความไม่เป็นตัวตน หรือไม่สามารถยึดถือเป็นตัวตนได้

หลักของท่านพุทธทาสเรื่องให้ละวางเรื่อง “ตัวกู” และ “ของกู” ลงเสีย เพื่อชีวิตจะได้เกิดความร่มเย็นภายใต้ร่งเงาของพุทธธรรมได้บ้าง
แต่จริงๆแล้วมนุษย์ปุถุชนอย่างเราๆท่านๆ คงไม่สามารถละทิ้ง ความเป็น“ตัวกู” และ “ของกู” ได้จนหมดสิ้นเป็นแน่ ! แต่การลดปริมาตรของ “ตัวกู” และ “ของกู” ให้เล็กหรือน้อยลงบ้าง ก็ย่อมจะทำให้ผู้คนซึ่งยึดถือหลักดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตได้เบาสบายขึ้นทีเดียว !

มีหลักธรรมอีกประการหนึ่งที่ท่านพุทธทาสได้นำมาสอนไว้ แต่ไม่ค่อยได้รู้จักแพร่หลายนัก คือ หลักตถาตา คือเห็นหรือมองทุกสิ่งทุกอย่างตามธรรมชาติว่า ความเป็นอย่างนั้นเอง

หลักตถาตา ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับอิทัปปัจจัยตาและปฎิจจสมุปบาท คือทำให้เราสามารถมองทะลุสภาพต่างๆของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแก่ การเจ็บ การตาย และการพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง สภาพเหล่านี้ล้วนมีความเป็นอย่างนั้นเอง

หลักตถาตาไม่ใช่อาการปลงตก เพราะการปลงตกเป็นทรรศนคติในเชิงลบ แต่ตถาตาเป็นทรรศนะในเชิงบวก เมื่อเผชิญกับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม ก็สามารถรับรู้สภาพความเป็นอย่างนั้นเองได้

อันที่จริงหลักตถาตา ซึ่งท่านพุทธทาสนำมาสอนนั้น มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราสามารถรู้เท่าทันและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่างๆได้เสมอ !

เมื่อกล่าวถึงท่านพุทธทาสแล้ว ก็อดคิดถึงพระนักปราชญ์อีกรูปหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ คือท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโค) ต้องนับว่าพระเดชพระคุณรูปนี้เป็นเสาหลักสำคัญอีกเสาหนึ่งของพระศาสนาในยุคปัจจุบัน

เมื่อ 32 ปีมาแล้ว พ.ศ. 2514 โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดพิมพ์หนังสือ “ชุมนุมบทความทางวิชาการ“ ถวาย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาศที่พระชนม์ครบ 80 พรรษาในปีนั้น

ในหนังสือ นี้ มีบทความเรื่องแรก ชื่อ พุทธธรรม เป็นบทความทางวิชาการทางพระศาสนา ซึ่งมีความยาวถึง 206 หน้า เขียนโดย พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ) แห่งวัดพระพิเรนทร์

เมื่อได้อ่านบทความเรื่องนี้จบแล้ว ก็รู้ได้ทันทีว่า ได้มีพระหนุ่มซึ่งมีภูมิปัญญาระดับเป็นนักปราชญ์อุบัติขึ้นอีกรูปหนึ่งแล้วในวงการพระศาสนา

บทความเรื่อง พุทธธรรม ในหนังสือชุมนุมบทความทางวิชาการ เมื่อ พ.ศ. 2514 นี่เอง ท่านผู้รจนาได้เขียนอธิบายเพิ่มเติมขยายความ จนกลายเป็นหนังสือตำราใหญ่เล่มสำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคนี้ คงใช้ชื่อว่า พุทธธรรม มีความยาว 1000 กว่าหน้า

ส่วน พุทธธรรม ในหนังสือ ชุมนุมบทความทางวิชาการของ โครงการตำราสังคม
ศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นั้น ก็ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม แล้วจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เรียกว่า พุทธธรรม (ฉบับเดิม ) มีขนาดความยาวเพียง 300 กว่าหน้า

ถึงอย่างไรก็ตามหนังสือ พุทธธรรม ทั้งฉบับขยายความ และฉบับเดิม นับว่าล้วนเป็นหนังสือมาตราฐานในเรื่องพุทธธรรมหรือพระพุทธศาสนาในยุคนี้ทีเดียว

จากนั้นมาท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นเรื่อยมา ในขณะเดียวกันพระเถระผู้นี้ก็ขยันแสดงธรรมบรรยายและเขียนหนังสือ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นเรื่องที่ท่านประยุกต์หลักพุทธธรรมให้เข้ากับแนวคิดทางวิชาการสมัยใหม่ในแขนงต่างๆกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา นิติศาสตร์ และประชาธิปไตย รวมตลอดถึงเรื่องอื่นๆอีกมากมาย

จุดเด่นที่สำคัญประการหนึ่งของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ก็คือท่านพิสูจน์ให้เห็นว่าในวงการพระศาสนา ยังมีพระภิกษุที่เชี่ยวชาญในหลักพุทธธรรม และสามารถล่วงรู้ทันความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่างๆของโลกปัจจุบันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ผมเองได้ติดตามอ่านหนังสือของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกมาหลายเล่ม แต่ที่อ่านแล้วติดใจ ว่างๆก็หยิบขึ้นมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ พิมพ์เมื่อประมาณ 16 –17 ปีมาแล้ว ชื่อ “จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ “

หนังสือเล่มนี้เป็นคำบรรยายของท่านเจ้าคุณรูปนี้ สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักด์เป็นที่
พระราชวรมุนี ได้แสดงปาฐกถาศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ในวันคล้ายวันสถาปนาคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2528

ใจความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ได้ชี้ให้เห็นว่าจุดอ่อนสำคัญของสังคมไทย ซึ่งทำให้เราไม่สามารถทำงานอะไรเป็นหมู่เป็นคณะหรือร่วมเป็นทีมกันได้ เพราะเรามีพลังของ “มานะ” แรงกล้า

คำว่า “มานะ”นี้ เราได้หลงนำมาใช้ในด้านของการมุมานะพยายาม ซึ่งดูจะเป็นเรื่องด้านดี แต่คำว่า “ มานะ”ในหลักพุทธธรรมที่แท้จริง หมายถึงความถือตัว ความอยากเด่นอยากใหญ่ หรือการเอาตัวเป็นสำคัญแต่ฝ่ายเดียว

บางทีเราก็ยืมศัพท์ทางธรรมมาใช้ผิดๆ โดยเรียกคนที่มี “มานะ” สูง ว่าเป็นคนมี “อัตตาแรง” แต่จริงๆแล้วคำว่า”อัตตา” นั้นมีความหมายทางธรรมไปอีกทางหนึ่ง

ผมชอบใจที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกวิเคราะห์คนไทยไว้ได้ถูกต้องว่า คนไทยเราล้วนมี “มานะ” แก่กล้าด้วยกันทั้งนั้น จึงยากที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นหมู่คณะได้

มีผู้หนึ่ง เปรียบเทียบคนญี่ปุ่นกับคนไทยไว้น่าฟัง เขาบอกว่าถ้าตัวต่อตัวตัวแล้ว คนญี่ปุ่นไม่มีทางเทียบกับคนไทยได้เลย คนญีปุ่นมักเป็นคนงุ่มง่ามเงองะ ไม่เหมือนคนไทยซึ่งมักเป็นคนคล่องแคล่วปราดเปรียว

แต่คนญี่ปุ่นสองคน เขาก็รวมกันได้เป็นสองแรง แต่ไทยเราพอเป็นสองคนก็กลายเป็นเพียงแรงครึ่ง พอรวมเป็นสาม ญี่ปุ่นยิ่งกล้าแข็งเพราะมีแรงช่วยกันถึงสามคน แต่ถึงตรงนั้นพอดีคนไทยมักแตกคอทะเลาะกันเสียแล้ว !

เจ้าคุณพระธรรมปิฎกได้นำหลักพุทธธรรมเรื่อง “มานะ” มาวิเคราะห์จุดอ่อนของคนไทยได้อย่างเห็นชัดเจนทีเดียว !

ผมต้องบอกเสียก่อนว่า ที่ผมเขียนเรื่องพระดีพระดัง 2รูป ในครั้งนี้ ผมไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับพระภิกษุทั้งสองรูปนี้เลย

ถ้าไปถามท่าน (คงถามท่านพุทธทาสไม่ได้แล้ว เพราะท่านได้สิ้นไปแล้ว ) ท่านก็คงบอกว่าไม่รู้จักผมอย่างแน่นอน อันที่จริงผมได้มีโอกาศไปกราบมนัสการท่านทั้งสองรูปนี้มาสองสามครั้งแล้ว แต่ไปกันหลายคนด้วยกัน และผมก็ไม่ใช่คนเด่นคนดัง ท่านก็คงจำผมไม่ได้

อันที่จริงยามนี้จะสิ้นปีเก่าและจะขึ้นปีใหม่ ได้อ่านได้เขียนเรื่องศาสนาและเรื่องของพระที่ดีเป็นพระบริสุทธิ์ ก็นับว่าเป็นสิริมงคลทั้งแก่ตัวท่านผู้อ่านและตัวผู้เขียนเองด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่" เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์ และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาส ผู้ซื่อสัตย์ ของ พระพุทธเจ้า ทุกอณู แห่งลมหายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอนำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ
๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธศาสนา" ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทางพระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึง ปัจจุบัน เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย
๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด "ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์ จากปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ

๑. หมวด "จากพระโอษฐ์" เป็นเรื่องที่ท่าน ค้นคว้า จาก พระไตรปิฎก ฉบับ ภาษา บาลี โดยตรง
๒. หมวด "ปกรณ์พิเศษ" เป็นคำอธิบาย ข้อธรรมะ ที่เป็นหลักวิชา และหลักปฏิบัติ
๓. หมวด "ธรรมเทศนา" เป็นคำบรรยายแบบเทศนา ในเทศกาลต่างๆ
๔. หมวด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" เป็นคำขยายความ ข้อธรรมะ เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
๕. หมวด "ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะ เบ็ดเตล็ด ต่างๆ ประกอบ ความเข้าใจ

ปัจจุบัน หนังสือชุดนี้ ได้ตีพิมพ์ เป็นหนังสือ ขนาด ๘ หน้ายก หนาเล่มละ ประมาณ ๕๐๐ หน้า จำนวน ๖๑ เล่ม แล้ว ที่ยังรอการจัดพิมพ์ อีก ประมาณ ร้อยเล่ม
๔. การปาฐกถาธรรม ของท่าน ที่ก่อให้เกิด กระแสการวิพากษ์ วิจารณ์ ทั้งในแง่วิธีการ และ การตีความ พระพุทธศาสนา ของท่าน กระตุ้น ให้ผู้คน กลับมาสนใจธรรมะ กันอย่างลึกซึ้ง แพร่หลาย มากขึ้น ครั้งสำคัญๆ ได้แก่ ปาฐกถาธรรม เรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม" "อภิธรรมคืออะไร" "ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร" "จิตว่าง หรือ สุญญตา" "นิพพาน" "การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม" "การศึกษาสุนัขหางด้วน" เป็นต้น ๕. งานประพันธ์ ของท่านเอง เช่น "ตามรอยพระอรหันต์" "ชุมนุมเรื่องสั้น" "ชุมนุมเรื่องยาว" "ชุมนุมข้อคิดอิสระ" "บทประพันธ์ของ สิริวยาส" (เป็นนามปากกา ที่ท่านใช้ ในการเขียน กวีนิพนธ์) เป็นต้น
๖. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่าน เล่มสำคัญ คือ "สูตรของเว่ยหล่าง" "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่ม เป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนา นิกายเซ็น เป็นต้น

เกี่ยวกับ งานหนังสือนี้ ท่านเคยให้สัมภาษณ์ กับพระประชา ปสนฺนธมฺโม ว่า "เราได้ทำสิ่งที่มันควรจะทำ ไม่เสียค่าข้าวสุกของผู้อื่นแล้ว เชื่อว่า มันคุ้มค่า อย่างน้อย ผมกล้าพูดได้อย่างหนึ่งว่า เดี๋ยวนี้ ไม่มีใครในประเทศไทย บ่นได้ว่า ไม่มีหนังสือธรรมะอ่าน ก่อนนี้ ได้ยินคนพูดจนติดปาก ว่า ไม่มีหนังสือธรรมะจะอ่าน เราก็ยังติดปาก ไม่มีหนังสือธรรมะจะอ่าน ตอนนี้ บ่นไม่ได้อีกแล้ว"

ท่านอาจารย์ พุทธทาส ได้ละสังขาร กลับคืน สู่ ธรรมชาติ อย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริรวม อายุ ๘๗ ปี นับได้ ๖๗ พรรษา คงเหลือไว้แต่ ผลงาน ที่ ทรง คุณค่า แทนตัวท่าน ให้อนุชน คนรุ่นหลัง ได้ สืบสาน ปณิธาน ของท่าน รับมรดก ความเป็น "พุทธทาส" เพื่อ พุทธทาส จะได้ไม่ตาย ไปจาก พระพุทธศาสนา ดังบทประพันธ์ ของท่าน ที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

พุทธทาส อินทปัญโญ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?
๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้า
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
----------------------------------------------------------------

พรหมชาลสูตรที่ ๑.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๕ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๑ - ๔๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1


--------------------------------------------------

หากเป็น อัตตโนมติของอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่ผมเคยอ่านมา เหมือนว่า นิพพานมีประเภทชั่วคราวด้วย คราใดที่ไม่มีความรู้สึกตัวเรา ของเรา นั้นและก็ได้นิพพานชั่วคราว แบบสบาย ๆ

ถ้าจะเข้านิพพานชั่วคราวถาวร ก็นึกว่าไม่มีตัวเรา ของเราให้มาก ก็เข้าถึงนิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ แล้ว

คาดว่า ศิษย์เอกของท่านพุทธทาส อย่างคุณ mes น่าจะเข้าถึงแล้ว

------------------------------------

อนึ่ง ท่านพุทธทาส กล่าวหาพระธรรม อันสูงสุดนี้ว่า ในศาสนาอื่นก็มีอยู่ก่อนแล้ว แปลว่า เย็น,เชื่อง

ฉะนั้น สัตว์เดรัจฉาน ที่นำมาฝึกให้เชื่อง ก็ถือว่า นิพพาน ดังทิฏฐิของท่าน

http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html

อ้างคำพูด:
สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่น ป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน



ทิฏฐิของท่านพุทธทาสอาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่แสดงนิพพานผิด ๆ แบบนี้ ไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับ ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในหัวข้อใด

ดูแล้วท่านพุทธทาส มีทิฏฐิมากเหลือเกิน


ทิฐิ เป็นไวพจน์ของทฤษฎี

ทิฐิท่านพุทธทาสคือสัมมาทิฐิที่ทั่วโลกยอมรับ

มิฉทิฐิเช่นมิฉทิฐิของบุญมีมหาเถระสมาคมไม่ยอมรับ

ด้วยทิฐิของท่านพุทธทาสที่มากมายตามเหลิมอ้างถึง

ยูเนสโกจึงยกย่องท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก

แม้แต่อ๊อกฟอร์ด เคมบริจต์ ก็มีผลงานของท่านพุทธทาสเอาไว้ศึกษาวิจัย

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ ๖๒
ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
- สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
- เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
- อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)

ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ จนสุดกำลังญาณของตน สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร

(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์
๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง

(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔
๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง
๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง
๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔
๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่
๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย

(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒
๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์
๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี

อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
(๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖)
(๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘)
(๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘)
(๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗)
(๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism )
ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)

(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๒ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น

(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้

(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร

(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก

(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕๙,๖๐,๖๑,๖๒ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน.

จบทิฏฐิ ๖๒

ที่มา: http://dhumma.web1000.com/phutadhum/thiti62.htm



ถามเหลิมว่าทิฐิท่านพุทธทาสผิดตรงใหน

อย่าปั้นน้ำเป็นตัว

ของบุญมีเป็นสัสสตทิฐิตามประกาศของมหาเถระสมาคมเพราอวดอ้างอิทธฟิทธิ์ปาฏิหาริย์

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร