วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 19:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2010, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม บางทีใจเข้าถึงสมาธิ แล้วก็เพ่งพิจารณาให้เห็นความเกิด-ดับ ๆ พอนานๆ เข้ารู้ว่าทำให้เบื่อ แล้วคอยจะรวมเข้าภวังค์อยู่ร่ำไป

ตอบ นี่แลที่เคยอธิบายให้ฟังเสมอว่า จิตติดฌานชอบความสุขสงบ เวลาเพ่งพิจารณความเกิดดับอยู่นั้นมันไม่ชัดเจนจนเกิดปราโมชย์ร่าเริงเป็นเครื่องอยู่ เดี๋ยวเดียวมันก็วกกลับไปหาความสงบอีก ฉะนั้นเมื่อเราไม่อยากให้มันเข้าไปหาความสงบ เพื่อให้เกิดความรู้จากการพิจารณา จงพยายามพิจารณาความเกิด-ดับอยู่ตลอดทุกอิริยาบถ เมื่อมันชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นมาในใจแล้วจะเกิดปราโมชย์ร่าเริงแล้วอยู่ด้วยอาการนั้นต่อไป

ถาม ขอกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ตอนที่ผมอยู่ประเทศอินโดนีเซียอยู่ในป่า มีเหตุการณ์ในการภาวนาของผมครั้งหนึ่ง คือว่าเลือดเริ่มเดินจากปลายเท้าขึ้นมาและพุ่งขึ้นมาเป็นลำดับ แต่ว่าผมก็ตั้งสติบอกว่าคนเกิดมาทุกๆคนต้องตาย สัตว์ในโลกนี้ต้องตายทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่จะไม่ตาย ร่างกายนี้ก็เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนจิตได้พุ่งออกไปจากกาย และเห็นร่างกายนี้เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ผมได้นั่งจากตอนเช้าของวันหนึ่ง ไปจนถึงตอนเช้าอีกวันหนึ่ง ตอนที่จิตผมออกจากร่างกายนั้น ผมรู้สึกว่าผมได้ตายไปเสียแล้ว แต่เวลาจิตกลับเข้ากายอีกครั้งหนึ่ง ผมเริ่มมีความรู้สึก เริ่มตั้งแต่หน้าผากลงไป แล้วก็ตา จมูก ปาก จนไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย แรกๆ ก็ไม่สามารถจะเคลื่อนไหวได้ เวลาพูดก็รู้สึกพูดได้ยากมาก เหตุการณ์ที่เป็นอย่างนี้ เป็นเพราะอะไรครับท่านอาจารย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ ลักษณะที่เป็นนั้น ก็อยู่ในจำพวกจิตเข้าภวังค์ มันมีลักษณะเดียวกันกับที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ แต่ท่านเข้านิโรธสมาบัติท่านเข้าตามลำดับขั้น คือเข้าตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วจึงเข้าถึงนิโรธสมาบัติ ตอนที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านต้องอธิฐานในใจโดยกำหนดเท่านั้นเท่านี้วันค่อยออก มีลักษณะอาการคล้ายๆ กัน แต่นี่มันไม่เป็นอย่างนั้น มันไม่รู้จักชั้นไม่รู้จักภูมิ ไม่รู้จักขั้นไม่รู้จักตอน จิตมันรวมวูบเข้าไปหายเงียบเลย เรียกว่าจิตเข้าภวังค์อย่างที่เราเป็นๆ กันส่วนมาก นักปฏิบัติทั้งหลายที่ว่าหายวับเข้าไปเงียบเลย แต่อันนี้ด้วยอำนาจพลังจิตของท่านกล้าหาญ ท่านจึงอยู่ได้นาน โดยมากไม่นาน ครู่หนึ่งขณะหนึ่งแล้วก็ถอนออกมา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เข้าลักษณะของภวังค์คือ อยู่ในฌานนั่นเอง ฌานนั้นถึงแม้จิตจะละเอียดแต่ไม่มีปัญญาที่จะพิจารณาเห็นพระไตรลักษณญาน เพราะเมื่อจิตถอนออกจากภวังค์แล้ว มีความรู้สึกขึ้นมาจึงกลัวตาย

ถาม ท่านอาจารย์บุญฤทธิ์ฝึกอบรมครั้งแรกสอนอานาปานสติ โดยกำหนดสติอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกแล้วพูดธรรมะประโยคสั้นๆ เท่านั้น ไม่ให้มีอะไรทั้งหมด ให้ยังคงเหลือแต่ตัวรู้อย่างเดียว แล้วได้ใช้หล้กการนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
.....(ท่านอาจารย์ไม่มีคำตอบ แต่ถามว่า เมื่อมาอยู่วัดวังน้ำมอกแล้ว การฝึกหัดอบรมมานั้นได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง ได้ความรู้ความเข้าใจอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านปญฺญาจโร ได้เรียนว่า ตั้งแต่ฝึกมาแล้วรู้สึกว่าจิตสงบลงไปมาก เมื่อพูดถึงเรื่องความอยากแล้ว มันก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องศีลเหมือนกัน ในเมื่ออยากให้ศีลบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงต้องพยายามสลัดความอยากตลอดเวลา)


ตอบ ดีแล้ว เมื่อเราทำความสงบได้โดยวิธีใดแล้ว จงหัดทำความสงบด้วยวิธีนั้นให้ชำนาญจนจับหลักนั้นให้ได้ อารมณ์ใดเข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ จงให้เห็นว่า นั่นมันเป็นภัยแก่ความสงบของเรา แล้วพยายามสลัดมันทิ้งเสียแล้ว รักษาความสงบนั้นไว้ให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2010, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม ผมไม่สามารถจะทำให้ยืนตัวอยู่ทุกขณะ แต่ว่าผมก็ให้มันเป็นไปอย่างเรื่อยๆ ให้จิตค่อยๆ สงบลง ๆ แต่เวลามีความคิดขึ้นมา ผมก็พยายามสลัดจนกว่ามันจะหมดความคิดไป หรือว่าสลัดความคิดได้จนสงบอีกทีแต่ก็ไม่สามารถจะได้หลักยืนตัวได้ นอกจากเรื่องความสงบก็ยังมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องสัญญาเก่าๆ ที่ผุดขึ้นมาครับ ทำให้คลี่คลายเกี่ยวกับสัญญาเก่าๆ โดยที่มันเป็นอารมณ์อะไรต่ออะไร พยายามสลัดอารมณ์เกี่ยวกับสัญญาเก่าๆ ให้หมดไป นี้ก็เป็นสภาพการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ผมได้รับมา

ตอบ มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น คือเรื่องการภาวนาก็คือการต่อสู้กับประสบการณ์ต่างๆ คือว่ามันเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือสิ่งที่เป็นอดีตที่มันล่วงมาแล้ว มันฟูขึ้นมานี่เรียกว่าสัญญา เรื่องเหล่านี้เราจะต้องสู้ การต่อสู้นั้นถ้าหากเราไม่มีหลักคือความสงบยืนตัวอยู่ การต่อสู้ก็จะไม่ได้ผล เพราะฉะนั้นให้ยืนหลักคือความสงบไว้ให้ได้ ถ้าหากสู้ไม่ไหวให้รีบกลับมาหาความสงบคืออบรมสมาธิให้ได้ อย่าได้มุ่งแต่ต่อสู้กับมันอย่างเดียว คือ สละๆอย่างเดียว ถ้าหากเรามีพลังเพียงพอที่จะต่อสู้เอาชนะได้ก็ต่อสู้ได้ ถ้าต่อสู้ไม่ไหวก็ทิ้งเสียแล้วกลับเข้ามาหาความสงบ ให้ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยไป

ถาม อยากจะกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า เวลาพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เวลาจิตมันสงบเมื่อคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอดีตมันปรากฏขึ้นมา แล้วมารบกวนจิตอยู่ตลอดเวลา จะภาวนาหรือไม่ก็ตาม ผมอยากจะทราบว่าจะแก้ไขด้วยอุบายอันใดจึงจะหาย

ตอบ เวลาหัดภาวนาไม่ว่าอารมณ์ใดล่ะ จะเป็นอานาปานสติหรือว่าพิจารณามรณานุสสติ หรือพิจารณาพุทโธ หรือกำหนดพุทโธก็ช่างเถิด เมื่อเวลาจิตมันเข้ามาอยู่ในจุดเดียวแล้ว จิตในขณะนั้นมันอยู่ในขณิกะรวมบ้างไม่รวมบ้าง นิดๆ หน่อยๆ มันเกิดขึ้นมาตรงนี้แหละ ถ้าธรรมดาอารมณ์อดีตมันไม่มี เวลามันรวมลงปัจจุบันนี้เรียกว่า อดีตมันรวมมาที่นี้แล้ว อารมณ์อดีตเยอะทีเดียว มันเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ตรงนี้แหละคนขี้เกียจเบื่อหน่ายก็ตรงนี้แหละโดยมาก ยิ่งภาวนาก็ยิ่งยุ่งหาความสุขไม่ได้ เราแก้ไขด้วยวิธีเอาปัจจุบัน อย่างง่ายๆ ที่สุดเอาปัจจุบัน อดีตอนาคตไม่มี เอาปัจจุบันอย่างง่ายๆนี้เสียก่อน อดีตที่ล่วงมาแล้วก็ให้ล่วงไปเสีย อนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็ยังไม่มาถึง เราไม่ต้องส่งไปหามัน เดี๋ยวนี้ไม่มี เดี๋ยวนี้อยู่ในปัจจุบันเท่านี้แหละ อะไรเกิดขึ้นเวลานี้ กำหนดเอาเวลานี้ อดีตล่วงไปแล้วก็แล้วไป อนาคตยังมาไม่ถึงก็ยังมาไม่ถึง เวลานี้ไม่มีทั้งสองอย่าง วิธีแก้กันอย่างง่าย ถ้าหหากเราจะแก้โดยสาวหาต้นเหตุว่าเรื่องที่มันเกิดขึ้นนั้นมันเกิดมาจากอะไร สิ่งนั้นมันเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ แล้วก็ใครเป็นผู้ไปคิดส่งถึงมันแล้ว ปล่อยวางปลายเหตุมากำหนดอยู่ที่ต้นเหตุ(คือใจ)

ถาม ผมขอกราบเรียนว่าสภาพหนึ่งเวลาพิจารณาลมหายใจ บางทีลมหายใจมันละเอียด มันก็รู้สึกตั้งใจดีแต่ว่ายังมีลมหายใจ ถึงเวลาจิตมันสงบถึงขนาดนี้ เมื่อมีเสียงมากระทบหูมันคล้ายๆกับว่ามันกระเทือนในใจ เวลาได้ยินเสียง มันเห็นส่วนหนึ่งของหัวใจเป็นคลื่นเหมือนน้ำนั้นเป็นสภาพหนึ่ง ส่วนอีกสภาพหนึ่ง บางทีลมหายใจยังไม่ถึงกับละเอียด แต่ว่าความคิดที่ปกตินี้แหละเกิดขึ้นมารบกวน ผมเคยเล่าเรื่องนี้ให้อาจารย์ฟังแต่ครั้งก่อนแล้ว ท่านอาจารย์บอกว่าเวลาจิตมันอยู่แบบนี้ พิจารณาอะไรมันรู้ มีใจ ๒ อย่างเกิดขึ้น คือว่ามีใจหนึ่งในสมอง และมีอีกที่หนึ่งในอก เช่นนี้เป็นต้น จึงอยากกราบเรียนให้ท่านอาจารย์อธิบายทำไมมันจึงเกิดขึ้นเช่นนี้

ตอบ คือว่าเวลาเราพิจารณาลมหายใจมันละเอียดลงไป ละเอียดลงไปนั้น เรากำหนดแต่เฉพาะลม อย่าไปกำหนดเรื่องอื่น ถึงเสียงมากระทบก็อย่าเอามาเป็นอารมณ์ ให้กำหนดเฉพาะลม ดูเฉพาะลมอย่างเดียว เพื่อให้จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ถ้าเรายังแยกไปรับรู้เสียงอยู่ เอาล่ะถึงจะไม่แยกใจไปมันก็รู้เองหรอก แต่ว่าเราพิจารณาลมฝ่ายเดียว ไม่ต้องไปดูเสียงที่กระทบอย่างไร มันก็กระเทือนดีๆนั่นแหละ แต่ว่าถ้าหากจิตของเราเป็นเอกัคคตารมณ์แล้วมันจะไม่ไปยึด มันจะไม่เข้าไปรับรู้ กระเทือนแล้วหายไปๆ ลักษณะอันนี้หากว่าจับจ้องเฉพาะลมอย่างเดียวแล้ว จิตจะรวมเข้าที่ ถ้ายังแยกจิตอีกอันหนึ่งไปคอยรับรู้ตัวที่มากระทบอยู่ ใจยังหยาบจะเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ได้ ถ้าให้เป็นเอกัคคตารมณ์จริงๆ จังๆ ต้องปล่อยวางหมด นี่ไม่ยอม คือยังอยากจะรู้อันนั้นบ้างอยากจะรู้อันนี้บ้าง มันยังแยกเป็นสองฝักสองฝ่าย มโนเลยรวมไม่สนิท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....เมื่อมาพิจารณาตอนที่ผมอธิบายว่า เมื่อจิตยังมีอดีตารมณ์เข้ามารบกวนอยู่ก็ให้พิจารณาผู้ไปรับรู้ หมายความว่าจงให้พยายามจับผู้ไปรับรู้อันเดียว เมื่อจับอารมณ์อันนั้นให้ได้แล้วจึงจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ จิตอดีตมารบกวนนันคือจิตของเราส่งออกนอก จงจับผู้ที่ส่งออกรับรู้จิตผู้นี้ต่างหากส่งออกไปรับรู้ สิ่งนั้นเป็นของภายนอกจากจิต เมื่อจับจิตตรงนั้นแล้วก็จะถึงเอกัคคตารมณ์ได้เหมือนกัน ถ้าจับตรงนั้นไม่ได้จิตก็จะวิ่งตามอดีต-อนาคตอยู่ร่ำไป อันนี้เป็นจิตใน คือจิตอยู่ที่หน้าอกโดยความเห็นของเราเอง อีกใจหนึ่งอยูที่สมอง คือว่าสมองเป็นผู้สั่งการคนๆเดียวเลยกลายเป็นคนสองใจ แล้วเกิดลังเลทำให้เป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ได้

ถาม ขอกราบเรียนท่านอาจารย์ว่าสภาพทั้ง ๒ ที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น คือคลื่นที่มารบกวนที่ผมได้ยิน แต่ทว่าพยายามตั้งสติอยู่กับลมหายใจ ถ้ามีอะไรมารบกวนจะพยายามตั้งสติ แต่ใจมันไม่ชอบอยู่กับลมหายใจ มันจะหายไปไหนไม่รู้ แต่เวลาใจเป็นสภาพอย่างนี้ มันมีใจ ๒ แห่งคือ มีใจที่ศรีษะและใจที่หน้าอก

ตอบนี่ละที่ผมอธิบายอยู่เสมอว่า คือจับหลักยังไม่ได้ จับหลักยังไม่ได้หมายความว่าเวลาเราภาวนานั้น มันยังไม่ทันปล่อยวางทั้งหมด เมื่อปล่อยวางหมดยังเหลือใจผู้เดียวคือผู้รู้ คือมันสว่างจ้าอยู่คนเดียว พอจับตรงนั้นได้แล้วเรื่องทั้งหลายแหล่ที่พูดมานี้ มันเข้าหลักอันนี้หมดเลย มันยังเหลือใจอันเดียวเท่านั้น มันยังไม่ถึงตรงนั้น เวลาไปคิดอาการของใจมันก็กลายเป็น ๒ ใจ ๓ ใจ ล่ะซี่ คือมันออกไปจากอันนั้น อาการมันออกไปนั้นก็ใจหนึ่ง ใจเลยมีเยอะแยะ ตาแป๊ะจะเอาอะไรแน่นอนก็ไม่ได้ ยุ่งกันไปหมด

ถามถ้าเราฝึกอบรมจิตให้เข้าถึงความสงบเต็มที่แล้ว มีความรู้เฉพาะตัวเองอยู่ภายในตลอดเวลา ความรู้แจ้งต่างๆ นั้น จะทำให้ความสิ้นกิเลสทั้งหลายเกิดมาเองได้ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ การฝึดอบรมจิตให้เข้าถึงความสงบเต็มที่จนเกิดความรู้เฉพาะภายในตนเองนั้น เป็นของดีอยู่ เพราะถ้าจิตไม่สงบก็จะไม่เห็นความฟุ้งซ่านของจิต(กิเลส) การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้นคือปัญญาขั้นต้น ฉะนั้นความสงบของจิตจึงเป็นพื้นฐานของปัญญา แต่ความรู้ขั้นต้นนี้ก็ดี หรือความรู้อันเกิดจากความสงบรู้อยู่ภายในเฉพาะตนเองก็ดียังมิใช่ปัญญาที่จะชำระกิเลสให้หมดสิ้นได้ เป็นแต่ทำกิเลสให้สงบนิ่งอยู่ไม่กำเริบในเมื่อยังไม่มีอารมณ์อันใดมากระทบเท่านั้น ฉะนั้นจึงควรอบรมจิตที่สงบอยู่แล้วนั้นให้มากจนชำนาญ พร้อมกันนั้นก็ควรคิดค้นหาเหตุผลของอารมณ์นั้นๆ ที่มันเกิดขึ้นที่จิตและทำให้จิตฟุ้งซ่าน จนเห็นโทษของมันแล้วละถอนได้ มิใช่จะปล่อยให้มันสงบเต็มที่แล้วละถอนกิเลสเอง เหมือนผลไม้เมื่อมันแก่แล้วหวานเองร่วงหล่นเองฉะนั้น

ถามการที่เรารักษาความสงบของจิตที่ได้ฝึกไว้ดีแล้วนั้นให้สงบอยู่อย่างนั้นตลอดไป มันจะมีประโยชน์แก่การทำให้สิ้นกิเลสได้ไหม

ตอบ การที่อยู่ด้วยความสงบอย่างนั้นตลอดเวลาเป็นประโยชน์แก่วิหารธรรมเครื่องอยู่ของนักปฏิบัติได้เป็นอย่างดี แต่จะไม่สามารถทำให้สิ้นกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงดังได้อธิบายมาแล้ว เมื่ออยู่ด้วยความสงบนานๆเข้า ไม่มีการคิดค้นพิจารรณาอะไรเลย มันชักให้รำคาญได้เหมือนกัน (กิเลสใหม่เกิดขึ้น)

ถาม ที่ได้รับการอบรมมานั้น เวลานั่งภาวนาพยายามทีจะขจัดอารมณ์ไม่ให้มารบกวน พออารมณ์สงบลงพักหนึ่งจะมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์อะไรก็แล้วแต่ พอเห็นว่าเกิดอารมณ์ขึ้นแล้ว ก็พยายามทำให้ว่าง ใจก็สงบอีก ทำอยู่อย่างนี้เห็นว่าเป็นการทำให้สงบได้ไม่นาน ขอกราบเรียนถามว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้สงบได้นานๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ การขับไล่อารมณ์ให้ออกไปได้นั้นดีแล้ว แต่ยังจับหลักไม่ถูกต้อง จับความสงบของจิตใจให้ได้ จึงจะสงบได้นานๆ

ถาม เมื่อทำความสงบแล้ว แต่พออารมณ์เกิดขึ้น ก็พยายามจับอารมณ์นั้น เมื่อจับอารมณ์นั้นได้แล้วก็สามารถทำความสงบอีกได้ มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ และพยายามทำอยู่อย่างนี้

ตอบ ให้ไปจับเอาต้นเหตุคือผู้คิดนึกก่อน อารมณ์ทั้งหลายก็หายไป แล้วสงบอยู่อย่างเดียว จับเอาความสงบนั้นให้ได้

ถามเมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ท่านอาจารย์ให้พยายามจับอารมณ์นั้นใช่ไหมครับ

ตอบ ให้พิจารณาจับอารมณ์นั้น จับที่ตรงเหตุ คือผู้ไปคิดนึกเป็นเหตุ นั่นแหละจับเอาตรงนั้นแหละให้ได้

ถามได้พยายามจับอารมณ์นั้นเหมือนกัน แต่มันก็ดับไปก่อน

ตอบให้เข้าใจอย่างนี้ ใจเป็นกลาง ผู้คิดผู้ส่งไปเป็นอารมณ์นั้นคือจิต ให้จับเอาจิตผู้เป็นเหตุนี้ให้ได้จึงจะหมดเรื่อง


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 02 ส.ค. 2010, 16:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม ที่ทำภาวนานี้ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ต้องการทำใจให้ว่างตลอดเวลา

ตอบ มันไม่ว่างนะซี ถึงว่างก็ไปยึดความว่างนั้นก็เลยไม่ว่าง

ถาม เวลาทำความสงบมีอารมณ์เล็กน้อย มันจะไปยึดเอาแต่ความสงบนั้น

ตอบ ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ความสงบเป็นความสุขอย่างยิ่ง แต่ความไม่สงบเป็นสัญชาตญาน มันยังมีอยู่และไม่มีความสุข จงทำความสงบให้มากจนไม่มีอารมณ์แล้วอยู่เป็นสุข

ถาม เวลาที่ทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ และเมื่อจิตสงบนิ่งดีแล้ว กลับมาพิจารณากายโดยคิดไปว่า น่าจะเป็นโรคอันนั้นอันนี้ ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ แต่เมื่อคิดว่าขณะนี้กำลังพิจารณาอานาปานสติอยู่ ก็นับหนึ่ง-สอง-สาม จนถึงสิบแทนการกำหนดลมหายใจ ความรู้สึกนั้นก็หายไป ทำอย่างนี้จะถูกหรือไม่

ตอบ จิตยังไม่สงบเต็มที่ ยังไม่เข้าถึงธรรมจึงต้องหวงแหนร่างกายอยู่ กลัวจะเกิดโรคนั้นโรคนี้อยู่ ถ้าจิตเข้าถึงสมาธิเต็มที่แล้วและเข้าถึงธรรม ความวิตกกังวลเช่นนั้นจะไม่มีเลย

ถาม ผมเข้าใจว่าเมื่อใจจะเป็นฌานต้องวางอารมณ์เสียก่อน เมื่อวางแล้วก็เป็นฌาน หลังจากนั้นผมพยายามจับอาการสามสิบสองมาพิจารณาใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ ฌานก็ต้องมีอารมณ์ ไม่มีอารมณ์จะเรียกฌานได้อย่างไร อารมณ์ของฌานก็ต้องอานาปานสติ อสุภ กสิณ ทั้งหลาย เป็นต้น ที่จับเอาอาการสามสิบสองมาพิจารณานั้นดีแล้ว ขอให้พิจารณาไปเถิด เป็นอย่างไรช่างมัน ขอให้มันเป็นก็แล้วกัน

ถาม เวลาอารมณ์อะไรมาแทรกขณะที่กำลังพิจารณาอยุ๋ ใจก็มักเข้าหาฌาน แต่ถ้าเมื่อใดใจจดจ้องแต่อารามณ์เดียว เวลาจับอารมณ์นั้นมาพิจารณากาย จิตใจก็จะตั้งมั่นอยู่ที่กาย

ตอบ ฌานเป็นอารมณ์ขี้ขลาด เหตุนั้นเมื่อมีอารามณ์มาแทรกจึงหลบเข้าฌานเสีย สมาธิเป็นอารมณ์กล้าหาญ เมื่ออารมณ์ใดเข้ามาแทรกจะต้องจดจ้องอยู่ที่กายแห่งเดียว

ถาม เวลานั่งภาวนาอยู่ในห้องติดแอร์กำหนดลมหายใจ ถ้าหากว่าใจส่งส่ายไปที่อื่น ร่างกายมันเย็น รู้ตัวว่าเย็นก็พิจารณาความเย็น ดูว่าส่วนไหนเย็น ความเย็นเป็นอะไร รู้สึกตรงไหน แล้วกลับไปจับลมหายใจ อยากทราบว่าถูกหนทางหรือเปล่า

ตอบ ถูก แต่ไม่ถนัด ที่ถนัดแท้ต้องเข้ามาที่ใจ ใจเป็นผู้รู้เย็น จะจับใจให้ได้รู้ตัวเย็น เห็นตัวเย็น จับตัวนั้นได้แล้วก็หมดเรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม การภาวนาในทางศาสนาพุทธต้องเอาสติมาใช้ใช่หรือไม่ เวลาใช้สติเราต้องกำหนดอารมณ์ที่เป็นกุศลลดอารมณ์ที่เป็นส่วนอกุศลให้มันน้อยลง เมื่อทำเช่นนั้นอารมณ์ที่จะมาแทรกในการภาวนาไม่มี สามารถปล่อยวางได้ แล้วอยู่เฉยๆ ได้ เวลาอยู่เฉยๆ ยังยึดความคิดว่า ยังนั่งภาวาอยู่ในห้อง พอปล่อยวางความคิดนี้ ทำให้ตกใจกลับมายึดความคิดว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องอีก ถ้าหากปล่อยวางเต็มที่มันยังจะมีสติอยู่อีกหรือไม่

ตอบ ที่สามารถปล่อยวางอารมณ์ได้แล้วอยู่เฉยๆ แต่ยังยึดความคิดว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องนั้น เป็นจิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์ เมื่อปล่อยวางความคิดที่ว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องแล้ว มันเป็นเอกัคคตาจิต แต่อยู่ไม่ได้นาน จึงตกใจ เลยย้อนมาคิดว่าเรานั่งอยู่ในห้อง ธรรมดาคนเรามันต้องมีเครื่องอยู่ เมื่อปล่อยจนหมดแล้วไม่มีอะไรเป็นเครื่องอยู่เลยตกใจ คนเราจึงละเครื่องผูกพันได้ยาก ภาวนาเป็นไปถึงขั้นละแล้วก็ยังกลับมายึดอยู่อีก

ถาม บางคนภาวนาเพื่อจะได้ฤทธิ์ได้ปาฏิหารย์ บางคนภาวนาแล้วปาฏิหารย์มาเอง เมื่อเราพยายามหัดภาวนาเพื่อจะได้ปาฏิหารย์จะถูกต้องหรือไม่ หรือต้องให้ปาฏิหารย์มาเอง

ตอบ เรื่องปาฏิหารย์เป็นสิ่งอัศจรรย์คนชอบ แต่ก็หาได้เป็นไปตามประสงค์ทุกคนไม่ เพราะเรื่องปาฏิหารย์โดยมากมันเป็นตามนิสัยวาสนาบารมีที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ก่อน ถ้าหากบารมีไม่มีแล้วจะหัดเท่าไรๆ ก็ไม่เป็นไปได้ ในทางพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่ทรงสอนทางนั้น สอนให้ละความชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาด ส่วนปาฏิหารย์นั้น บางท่านบางองค์จิตใจบริสุทธิ์ สะอาดเต็มที่แต่ไม่มีปาฏิหารย์ เมื่อมีปาฏิหารย์ขึ้นมาท่านก็ชม เมื่อไม่มีปาฏิหารย์ท่านก็ไม่ว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการดัดเส้นบริหารร่างกาย

ตอบ ก็ไม่มีปัญหาอะไร การดัดเส้นเป็นการบริหารร่างกาย การเดินจงกรม การเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง ๔ ก็เป็นการดัดเส้นไปในตัว คือหัดสติได้อบรมสมาธิไปในตัวในอิริยาบถทั้ง ๔ ไม่ใช่จะนั่งแต่ท่าเดียว

ถาม เคยรู้จักนักภาวนาคนหนึ่งซึ่งหัดไปๆ เลยกลายเป็นบ้า นี่คงเป็นเพราะเดินผิดหนทางใช่หรือไม่ จึงทำให้เป็นบ้า หรือเป็นเพราะกรรมของเขา

ตอบ การหัดภาวนาในทางที่ถูกไม่เป็นไปเพื่อเสียจริต ยิ่งหัดเข้าไปก็ยิ่งทำให้คนมีสติ มีปัญญา มีความสงบเสงี่ยมเรียบร้อยสุภาพขึ้น ถ้าหากว่าไม่ถูกหนทาง หัดภาวนาไปบางทีมันอาจจะเกิดภาพนิมิตตื่นตระหนกตกใจ แล้วกลัวส่งออกไปภายนอก ไม่ได้น้อมเข้ามาภายในใจของเรา นั่นอย่างหนึ่งเสียได้เหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งนั้นคนอาจเป็นโรคประสาทอยู่ก่อนแล้วก็ได้ เมื่อทำความเพียรภาวนาก็เลยเกิดมโนภาพหลอกขึ้นมา ทำให้กลัวแล้วตกอกตกใจเลยหวาดหวั่นไหวตั้งสติไม่อยู่ หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่ากรรมก็ถูก ถ้าทางที่ถูกแล้วไม่มีเสียคน ที่เป็นเช่นนั้นมิใช่เป็นง่ายๆ คนนับล้านๆ จะเกิดเป็นบ้าสักคนเดียวก็กลัวเสียแล้ว ส่วนคนเมาเหล้า เมากาม เป็นบ้ากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่กลัวกันเลย

ถาม การพิจารณาทางฌาน กับการพิจารณาทางสมาธิต่างกันอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ ผู้เพ่งพิจารณาแต่เรื่องฌาน บางทีไปเห็นแต่อสุภหรือโครงกระดูกเข้า เลยไปติดอยู่แค่นั้น ไม่อยากพิจารณาเรื่องอื่นต่อไป ผู้มีปัญญาเห็นโทษทุกข์ความเกิด แม้แต่รับประทนอาหารอยู่ก็เป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้จิตย่อมหน่ายในความเกิด เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัดยินดีในภพความเกิดและภพชาติต่อไป ฌานกับสามธิมีการเพ่งพิจารณาผิดแผกกันอย่างนี้

ถาม หัดภาวนาครั้งแรกรู้สึกฟุ้งซ่านมาก หาความสงบไม่ได้ ทุกขเวทนาก็มากหาความสบายมิได้

ตอบ ไม่ว่าใครทั้งหมดเรื่องภาวนาไม่ใช่ของเป็นง่ายๆ คนที่เป็นเองเรียกว่าวาสนาสูงส่งที่สุด โดยมากที่อยากจะมาภาวนาก็เพราะเห็นทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้แหละ ต้องฝ่าฝืนอุปสรรคบากบั่นเพื่อจะให้พ้นทุกข์ คือหัดทำความสงบ ถ้าไม่เห็นทุกข์อย่างนี้แล้ว ไม่มีใครอยากภาวนาให้พ้นจากทุกข์เลย ภาระมีกันทุกคน แม้แต่พระอย่างเราๆ เห็นกันอยู่นี่แหละก็มีภาระ พระพุทธเจ้ายิ่งมีภาระยิ่งกว่านี้อีก ไม่มีใครสักคนที่ไม่มีภาระ ปัญหาประจำชีวิตฆราวาสเป็นอย่างหนึ่งของพระเป็นอีกอย่างหนึ่ง มีเท่าๆ กัน นั่นแหละ แต่พระพุทธเจ้าหรือผู้รู้ทั้งหลายท่านทำแล้วสละทิ้งได้ไม่ข้องอารมณ์นั้นๆ

ถาม บางครั้งเวลาพิจารณากายอยู่เกิดไฟเผาจนไม่มีอะไรเหลือ รู้สึกว่าชัดเจนหลือเกิน

ตอบ นั่นเป็นปฏิภาคนิมิต อย่าไปถือเอาเป็นจริงเป็นจังเลย ขอให้ถือเพียงเป็นเครืองวัดของจิตเท่านั้นก็พอแล้ว คือแน่วแน่เป็นสามธิแล้วจึงเกิด แต่มิใช่เกิดทั่วไป เป็นได้แต่ละบุคคลเท่านั้น บางคนจิตจะสงบเท่าไรๆ ก็ไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม ขอกราบเรียนใหม่ ครั้งแรกกำหนดลมหายใจเข้าออก เวลาเกิดเวทนาขึ้นให้ทิ้งลมหายใจเข้า-ออก แล้วกำหนดเวทนา จะได้หรือไม่

ตอบ ไปกำหนดเวทนาก็ได้ แต่เอาให้แน่วแน่จริงๆ จนเป็นอารมณ์อันเดียว ไม่ยอมส่งไปโน่นนี่ เดี๋ยวเวทนาอันนี้ก็หายไป ยังเหลือแต่ความสุขสงบวางเฉยอยู่ตัวเดียว

ถาม เวลาเวทนาเกิดขึ้นมา อยากให้เวทนาหายไปแต่มันไม่ยอมหาย เลยเกิดความรำคาญ ต่อมาเลยคิดว่าเจ็บมันก็เป็นเรื่องของเจ็บ มันก็เป็นอย่างนี้

ตอบ นั่นแหละ ให้เห็นสภาพอันนี้นั่นแหละ คือให้เห็นสภาพของจริง คือมันเป็นสิ่งหนึ่งอย่างนั้น ให้เห็นสภาพความเป็นจริง เพราะเราไม่ยอมเห็นตามความเป็นจริงต่างหาก เราไปยึดว่าเป็นเรา ความเจ็บก็เป็นเรื่องของความเจ็บ ใจมันไปยึดว่าเป็นเราทั้งหมดมันก็เลยทุกข์นี่แหละหัดตรงนี้ หัดไม่ให้ทุกข์ตรงนี้ ทุกข์มีอยู่ก็ไม่ทุกข์อย่างทีของอะไรๆ ถ้ามีอยู่ไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์ เราหัดตรงนี้หาความสุขใส่ตัวให้จงได้

ถาม จะต่อสู้หรือจะยอมแพ้ต่อเวทนาดี

ตอบ ต้องสู้ซี ชีวิตคือการต่อสู้ เราเกิดมาไม่ว่าจะอยู่ในสภาพเช่นไร ล้วนแต่ต่อสู้กันทั้งนั้น ไม่ต่อสู้อย่างหนึ่งก็ต้องต่อสู้อีกอย่างหนึ่ง ต้องมีด้วยกันทั้งนั้น เช่น..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...การภาวนาก็มีเวทนาเป็นข้าศึก ถ้าเราไม่ต่อสู้ ยอมแพ้คราวนี้ ทีหลังก็ต้องยอมแพ้มันอีก การต่อสู้ทางพุทธศาสนาแทนที่จะใช้กำลังประหารกันด้วยอาวุธ เปล่า ตรงกันข้าม กลับทิ้งอาวุธแล้วยอมสละทิ้งทั้งกายและใจ เลยชนะเด็ดขาด การประหารกันด้วยอาวุธก็ต้องกลับแพ้กันด้วยอาวุธ นี่ไม่มีอาวุธ ชนะแล้วไม่ต้องแพ้กันอีกต่อไป
.......เราเกิดมาในโลกก็ต้องใช้ของในโลกให้เป็น เช่นร่างกายเกิดจากธาตุ ๔มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ประสบครบถ้วนจึงเกิดเป็นคนได้ เมื่อเกิดมาแล้วต้องบริหารรักษาด้วยประการต่างๆ ตามหน้าที่ของมัน เมื่อเรารู้ว่าการรักษาเป็นทุกข์ เราจึงยอมสละการบริหารหรือรักษานั้น ก็เป็นสุขเท่านั้นเอง ใช้โลกและธรรมให้เป็นจึงจะเป็นประโยชน์ ถึงคราวใช้โลกก็ต้องใช้ เมื่อโลกใช้ไม่ได้แล้วก็ต้องใช้ธรรม ต้องหัดทั้งสองอย่างไว้ให้ชำนาญ จะใช้โลกนี้ก็ได้เมื่อจำเป็น เมื่อโลกนี้ใช้ไม่ได้แล้วก็ต้องใช้ธรรม


ถาม กำหนดส่วนต่างๆในกาย เวลากำหนดหนักๆ เข้า รู้สึกแปลกมาก คือมีความรู้เห็นตัวทั้งหมดนอกจากศรีษะ อารมณ์ภายนอกรู้แต่ไม่ยึด ดังนั้นเมื่อไปยึดศรีษะเลยมองไม่เห็นตัว การที่เป็นอยู่เช่นนี้เข้าใจว่าเข้าถึงอุปจารสมาธิ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงอัปปนาได้ หรือว่าจะต้องตั้งหน้าดูแต่อาการที่ยังเป็นอยู่อย่างนั้น

ตอบ ที่เราพิจารณาชิ้นส่วนของอวัยวะในร่างกายเรานั้น มีความรู้สึกว่าเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วไปอยากให้เห็นส่วนที่ยังไม่เห็นต่อไป อารมณ์ภายนอกมันไม่เข้าไปยึดมันก็ดีแล้ว นี่ยังอยากเข้าถึงอัปปนาอีกด้วย ขอให้เป็นไปเองเถิด อย่าไปอยากได้อยากถึงเลย ของพรรค์นี้ไม่ใช่ของทำได้ง่ายๆ เป็นอะไรแล้วขอให้รักษาอันนั้นไว้เสียก่อน ความอยากเป็นเหตุให้คนจมอยู่ในโลกนี้มากต่อมากแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2010, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม การหัดสติก็ยากเพราะเป็นฆราวาส แล้ววิธีที่จะหัดเบื้องต้นคืออะไรครับ

ตอบ ไม่ว่าฆราวาสและนักบวชล่ะ มันยากด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่านักบวชถ้าผู้ตั้งใจก็มีเวลาที่ทำได้ดีกว่าฆราวาสหน่อย เรื่องสตินี้เป็นของจำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำ ไม่ว่าจะยากและง่ายก็จำเป็นต้องทำ เหมือนกันกับเรามีรถ มีเรือเราใช้ไม่ได้ขับไม่เป็น มันก็ไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเราซิ เหมือนกันนั่นแหละ สติเรามีอยู่แต่เราไม่คุมสติให้อยู่ใต้อำนาจของเรา สตินั้นก็เหลวใช้ไม่ได้ แล้วแต่สตินั้นพาเราไปทำชั่ว ทำผิด ทุจริตต่างๆ เราก็ไม่รู้ เลยกลายเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ต้องคุมให้อยู่ใต้อำนาจของเรา เราทำดี ทำชั่ว ทำผิด ทำถูก ทำอะไรทั้งหมดให้รู้ตัวอยู่เป็นนิจ เมื่อทำอย่างนี้อยู่เสมอจนเคยชินแล้วจะรู้สึกตัวว่าเมื่อไม่ได้ทำจะไม่สบาย

ถาม เวลาภาวนากำหนดพุทโธ บางคราวก็กำหนดอาการ ๓๒ เมื่อกำหนดอาการ ๓๒ บางครั้งอาการหนึ่งปรากฏขึ้นมาชัดเลยแล้วก็หายไป บางทีกำหนดพุทโธอารมณ์พุทโธหายไปไม่รู้ตัว ไม่รู้สึกตัวเลย พอตื่นขึ้นมาใจก็จะไปจับพุทโธอีก อารมณ์เป็นพุทโธอีก ต่อมารู้สึกคล้ายนอนหลับไม่ทราบว่าไปไหน เคยได้รับคำแนะนำว่าให้รู้สภาพของมัน แต่ไม่เข้าใจ ขอความเมตตาท่านอาจารย์โปรดเมตตาด้วยครับ

ตอบ ภาวนาพุทโธบางคนก็ชอบ ถูกนิสัยถูกใจ พอบริกรรมพุทโธๆ ใจรวมได้ ที่ว่ามันหายไปนั้นเรียกว่าใจรวมได้ มันจึงค่อยวางพุทโธ เข้ากับหลักที่ว่าถ้าภาวนา ถึงแม้แต่คำบริกรรมพุทโธก็หายไป เวลามาพิจารณาอาการ ๓๒ มันก็วางได้เหมือนกัน เป็นการดีมาก ใช้ได้ทั้งสองอย่าง เมื่อมันหายไปนั้นคล้ายกับมันไม่มีสติ ไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตัวขึ้นมาก็พิจารณาอย่างเก่า พิจารณาอย่างนั้นอยู่เรื่อยไป ให้ชำนาญเสียก่อน อย่าเพิ่งแก้มันเลย ต่อเมื่อชำนาญแล้วจะแก้มันเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร