วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 04:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 5382 ครั้ง ]
ลิงค์ สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ กับ ลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ

viewtopic.php?f=2&t=19055&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี พระพุทธพจน์ ที่ตรัสแสดงว่า "กำลังใจ พึงรู้ได้ ในอันตราย"



จาก

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=327960


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย...คนมี
ปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค

ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า
โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น
ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้

บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล



ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า
โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง
การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น
ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุนเวียน ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้

บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรคย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล



ดูกรภิกษุทั้งหลายคำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย...คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้
นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ




ทุกข์ ทั้งทางกาย และ ใจ ก็เป็นบททดสอบกำลังใจอย่างหนึ่ง

ซึ่ง ความจริงแล้ว .... ทุกข์ทางกาย คล้ายๆ การไปนั่งตากแดด นี้ ก็หาใช่ว่า จะไม่ปรากฏให้เราเห็นในทุกๆวัน.... มันก็มีอยู่แล้ว ในชีวิตนั้นล่ะ... เช่น การเจ็บไข้ได้พยาธิ การทุกข์กายจากเหตุต่างๆ





แต่ ถ้าจะลองทดสอบ หรือ ฝึกกำลังใจแบบ หัวข้อกระทู้นั้น ก็ โอเค .... ครูบาอาจารย์บางครั้งท่านก็พาลูกศิษย์ลองอยู่เหมือนกัน

ท่านผู้รู้ ท่านเคยเล่า เรื่อง การสอนพระของหลวงปู่ชา.... สมัยก่อน หลวงปู่จะพาพระเฌรนั่งสมาธิกันในโบสถ์.... เวลาอากาศร้อนแทบตับแลบ หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้ลูกศิษย์ลุกไปเปิดหน้าต่างประตู นั่งกันเหงื่อท่วม.... แต่ พอเวลาอากาศหนาว ท่านกลับให้เปิดหน้าต่างรับลมหนาว นั่งสั่นกัน....

หรือ ลองดูประวัติท่านพุทธทาส ที่ท่านไปนั่งให้ยุงป่า(เป็นฝูงๆ)ดูดเลือด

บางคนอาจจะไปมองว่านี่คือ อัตถิกลิมถานุโยค... แต่ ความจริงแล้ว ไม่ใช่หรอก

อัตถิกลิมถานุโยคนั้น คือ การทรมานตนเพื่อให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานนั้นๆ

แต่ ที่ครูบาอาจารย์ท่านให้ลูกศิษย์ลอง"กำลังใจ"ดู นั้น.... เพื่อ ให้เข้มแข็ง ไม่เหยาะแหยะ โอดครวญ มีความอดทน.... ท่านไม่ได้สอนว่า คนเราจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการทรมานตน... จะ อย่างไร สิ่งที่จะทำให้เราท่านพ้นทุกข์ ท่านก็สอนว่าเป็นอริยมรรคที่มีองค์แปดอยู่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลายุงกัดขา ข้าพเจ้ามีวิธีปฏิบัติดังนี้...
เริ่มจากปล่อยให้กัดไปพักหนึ่ง จนมั่นใจว่า มันกัดจนเพลินดีแล้ว ก็เกร็งขาโดยพลัน ปากมันจะโดนหนีบ ดิ้นๆ ดึงไม่ออก จงพิจารณาให้เห็นแจ้งว่า...
กัมมุนา วัตตีโลโก เจ้าต้องเป็นไปตามกรรม วิบากของเจ้ามาถึงแล้ว แป๊ะ... อิอิ

ส่วนถ้าเริ่มร้อน แดดเริ่มมาถึงตัว ควรพิจารณาให้เห็นแจ้งว่า ภิกษุนั้น เมื่อบรรลุแล้ว ย่อมเกิดปัญญา ปัญญานำมาซึ่งการเห็นแจ้ง จึงจักประจักษ์ว่า ร้อนจริงๆ จักนั่งไปใย อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิธีการอาจจะต่างกัน
แล้วแต่จริตของใครของมัน
ที่สำคัญอย่า "หลง" ก็แล้วกัน :b6:

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
โอ

พระเจ้า


นี่ถ้าจับไข้เพราะยุง สั่นงกๆ คงจะเรียกว่า "ปิติ"

พอพิษไข้มันหนักขึ้นจนเคลิ้มๆ เบลอๆ ฝันๆ คงเรียกว่า "สุข"

พอ shock หมดสติ วูบลงไป คงเรียกว่า "เอกัตคตา"

ตื่นจาก shock คงนึกว่าได้ฌาน ได้ออกจากฌาน


ถ้าสลบไปสัก 7 วัน แล้วฟื้น
คงจะดีใจว่าได้เข้าฌานหายไปจากโลกได้ตั้ง 7 วัน
น่าจะเป้นสมาบัติ

สลบอยู่ 7 วัน ร่างกายขาดอาหาร
พอตื่น ร่างกายมันสั่งให้หิวน้ำตาล
คงจะไปนึกว่าได้เวลากิน ไข้าวมธุปายาส"
ชรอยคงจะได้มรรคได้ผลอันสำคัญอันใดอันหนึ่ง

แหม

ขายหน้าจริงๆ สมาธิชาวพุทธ


นั่งสมาธิอยู่ตอน 7 โมง
แดดสบาย กระหยิ่มยิ้มย่องว่าทนแดดได้

แดด 8 โมงเริ่มร้อน ยิ่งทนได้ยิ่งมานะว่านี่ทนได้

พอเริ่ม 11 โมง เหงื่อแตก เสียน้ำ ก้ยังทนได้ ก็ยิ่งมั่นใจเข้าไปอีกว่า เรานี้เอาชนะความทุกข์ได้
ร่างกายบังคับบัญชาได้ บัญชาให้ทนความทุกข์

พอแดดเที่ยว เหงือแตกมานาน น้ำหมด
ชักเริ่มเบลอ เอา่ะคราวนี้ องค์ฌานเรียงหน้ากระดานมาอย่างรวดเร็ว
วิตก วิจารณื ปิติ สุข พรวดๆมา
จิตรวมตกวูบ หมดสติ หายไปจากโลก
ความทุกข์ทั้งหลายหายไปหมด

ถ้าเอาคุณอายุไปเผาตอนนี้ ก็ไม่แสบไม่ร้อนอะไร
เพราะร่างกายมันสั่งไม่ให้ทุกข์ได้จริง มันสลบหนีความทุกข์ไปเลย

แต่ชรอยจะมีบุญ

ชาติสยามาหามไปส่งโรงพยาบาล

ปากก็ด่า แต่มือก็หามไปส่งโรงพยาบาล
เพราะสงสารคนเข้าสมาบัติ

ฟื้นขึ้นมาก็ดีใจอีกนะ ว่าทนแดดได้ ทนความทุกข์ได้

ชะรอยคราวหน้าจะทนได้ถึงบ่ายสอง
ต้องลองอีก

คราวหน้าชาติสยามจะแอบเอา กระเทียม พริกไทย เกลือ ซี้อิ๊วขาว น้ำปลานิดหน่อย น้ำตาล
โขลกให้มันเข้ากัน แล้วแอบเอาไปทาตอน 11 โมง

ตกบ่ายสอง ชาติสยามคงจะได้ดูเมนูจานใหม่ของชาวโลก
ชื่อ "สมาบัติแดดเดียว"

:b22:


ตลกดีนะงับ ท่านชาติสยาม

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 12:06
โพสต์: 6

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หายใจในวันหนึ่ง 24 ชั่วโมง
หายใจเข้า 12 ชั่วโมง
หายใจออก 12 ชั่วโมง
หายใจเข้ายาว 6 ชั่วโมง
หายใจเข้าสั้น 6 ชั่วโมง
หายใจออกยาว 6 ชั่วโมง
หายใจออกสั้น 6 ชั่วโมง
เอ๊ะ มีลืมหายใจไม่เนี้ย ลืมสัก 3 ชั่วโมง ที่หายใจเข้า-ออก ก็ลดชั่วไมงไป
ขำขำนะครับ อย่าซีเรียส
เห็นอ่านมา ลืมหรือยังว่า เราหายใจอย่างไรอยู่
ปัจจุบันขณะ เป็นอย่างไร ไม่ได้อยากรู้แต่ก็คงรู้
ไม่หนักอะไร สติกับสมาธิ แค่นี้ก็ทดสอบได้แล้วครับ
แต่ถ้าสูงขึ้นไป ให้ผู้รู้พยากรณ์ให้ครับ คนที่อยู่สูงๆมักมองเห็นอะไรเยอะกว่าเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:22
โพสต์: 176

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ,ฟังธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่กับปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งภาวนาทุกวันก็เสียงดังอยู่แล้วอ่ะค่ะ
จิตก็นิ่งประมาณนึงค่ะ
ต้องหมั่นปฏิบัติต่อไปเรื่อย ให้จิตนิ่งมายิ่งขึ้น

.....................................................
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2010, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบนั้นไม่ใช่สมาธิแล้วค่ะ แต่เป็นการท้าทายสมาธิ สมาธิคือการเพ่งความคิดไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งในขณะที่ทำสมาธิค่ะ สมาธิทำในขณะตัวสบายใจสบายดีกว่าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2010, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่หลวงตาทั้งหลายบางรูปเดินธุดงค์ไปแต่เพียงรูปเดียว เท้าเปล่า พื้นดินก็ร้อน มีสัตว์ร้าย นานาชนิด
ปักกลดแล้วก็ย้ายไม่ได้ บางคืนฝนก็ตก บางฤดูก็หนาวมาก บางคราวตอนกลางวันก็ร้อนมาก หมวกก็ไม่มี บางวันก็ไม่ได้้ฉันข้าว หรือหลายๆ วัน บางคืนนอนอยู่ดีมดพาเรดเข้ากลด บางทีตะขาบ ฯ ท่านจะไปธุดงค์ให้ลำบากทำไม อยู่วัดชิวๆ ไม่ดีกว่าหรือ มีทั้งข้าว ขนม แถมกิจนิมนต์เพียบ การธุดงค์มันไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบากหรือ
กามสุขัลลิกานุโยค มัชฌิมาปฏิปทา กับ อัตตกิลมถานุโยค มันมีเส้นแบ่งที่ตรงไหนหนอ นั่งภาวนาไปซักพักอยู่ในห้องแอร์มีแมงหวี่เจ้ากรรมนายเวรตัวหนึ่ง มาตอมจมูก คันมากๆ แถมยังจะยึดเอารูจมูกเป็นรังของมันอีก ควรจะเอามือปัดดีไหมหนอ หรือควรทนภาวนาต่อไปดี หรือจะทำอย่างไรดี จะจัดการกับแมงหวี่อย่างไรจึงเป็นทางสายกลาง :b1: รบกวนท่านผู้นิยามการทดสอบตามกระทู้ว่าเป็น อัตตกิลมถานุโยค ชี้แจงให้กระจ่างด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 00:29
โพสต์: 15

งานอดิเรก: ศึกษา
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่หลวงตาท่านใช้ขันติกับความทุกข์
ที่มากระทบตามธรรมดา...และธรรมชาติ
ท่านไม่ได้สร้างความทุกข์เพื่อมาทดสอบขันติ
ไม่ใช่หรือครับผม?.... :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงปู่หลวงตาท่านใช้ขันติกับความ ทุกข์
ที่มากระทบตามธรรมดา...และธรรมชาติ
ท่านไม่ได้สร้างความทุกข์ เพื่อมาทดสอบขันติ
ไม่ใช่หรือครับผม?.... :b42:


ที่กล่าวก็มีจิงอยู่ครับ แต่ถ้าอย่างนั้นทำไมหลวงปู่ทั้งหลายท่านไม่รอให้ทุกข์มากระทบที่วัดแบบชิวๆ ละครับ จะไปเดินในป่าให้ลำบากทำไม ท่านไม่ได้สร้างความทุกข์หรอกหรือ สุดท้ายมันก็จบที่ทางสายกลางนี่แหละว่าอย่างไหนกันแน่คือทางสายกลาง อีกอย่างการทดสอบต่างๆ ดังที่ผมกล่าวมิใช่เจตนาเพื่อทดสอบขันติ โดยแท้จิงแล้วต้องการทดสอบสมาธิ คือถ้าสมาธิดีก็ไม่ต้องใช้ขันติมากมายอะไร อันนี้ฟันธง
ผมจะยกตัวอย่างประโยชน์ของการทดสอบสมาธิซักอย่างว่า ตอนที่เราใกล้ตายนั้นทุกขเวทนามันต้องรุมทึ้งเราแน่ อีกทั้งโชคร้ายที่เลือกไม่ได้ซะด้วยว่าจะตายที่ไหน ท่าไหน อากาศอย่างไร ตายในร่ม หรือกลางแดด การฝึกซ้้อมไว้ก่อนขึ้นสนามจิงมันไม่ดีกว่าหรือคับ หากเราจะสามารถทำสมาธิได้เพียงอยู่ในห้องที่ติดแอร์เบอร์ 5 ของมิตซูฯ เท่านั้น ร้อนไปหนาวไป ดังไป เราไม่สามารถทำได้ อย่างนั้นผมคิดว่าเป็นการตายตามเวรตามกรรม ซึ่งจิตมีธรรมดามักไหลลงต่ำ นั่นก็หมายถึงว่าถ้าไม่ฝึกไว้ก่อนก็มีอบายเป็นที่หมายได้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 08:33
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่


บรรลุทุติยฌาน
อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายในไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิ อยู่


บรรลุตติยฌาน
เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่


บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่

นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้น
แก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวะพึงละได้เพราะความอดกลั้น

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว

เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน

เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้น
----ต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง
----ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิด
ขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.

[สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
เป็นผู้อดกลั้นต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลาน
เป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว
ชั่วร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัวซึ่งบังเกิดขึ้นเป็น
ทุกข์กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่
ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสียได้ ดังนี้.
ชื่อว่าขันติสังวร.]

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 20 มี.ค. 2010, 12:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร