วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 19:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
...ขอเล่าการฝึกนั่งสมาธิจากประสบการณ์...
...ไม่ได้ทำแบบเอาเป็นเอาตาย...เวลานั่งมีหลักของใจใช้"พุทโธ"บริกรรม...
...ปกติก็จะนั่งสมาธิได้ไม่นาน...เพราะผ่านการฝึกมาน้อยมาก...
...เวลานั่งพอรู้สึกว่าชาก็จะเริ่มขยับเพราะกลัวว่าเลือดไปเลี้ยงขาไม่พอ...


...ต่อมาได้ฟังเทศนาธรรมท่านสอนว่าการนั่งสมาธิมีเกิดดับวนกลับมาที่เดิม...
...จากปวด...ชา...หายชาและกลับปกติได้ด้วยตัวมันเอง...ก็เลยพยามฝืนนั่งต่อไปเรื่อย...
...ตอนแรกนั่งนานเข้าจะเริ่มปวด...นานไปจะเหน็บชา...ทนอีกนิดชา+ปวดมันหาย...
...จะไม่รู้สึกอะไร...พอออกจากสมาธิก็ลุกเดินได้ปกติ...ไม่มีปวด...ไม่มีชา...จึงถึงบางอ้อ


...พระสายกรรมฐานท่านสอนว่าขณะที่บริกรรมให้จิตยึดติดอยู่คำนั้น...พอปวดก็ให้ตามดูอาการปวด...
...พอชาให้ตามดูอาการชา...ไม่ให้ถอนจากสมาธิ...กำหนดรู้ตามสภาวะที่เกิดขึ้น...
...ถ้ามีสติระลึกได้...คุณก็จะทราบทันทีว่านี่แหละคือทุกข์...อาการของกายที่แสดงออก...
...พอจิตไปยึดก็ยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก...ปวดก็ให้บริกรรม...ปวดหนอ...ปวดหนอ...


...จิตจดจ่อในสิ่งที่กำลังทำอยู่...นี่แหละคือการทำสมาธิ...ชา...ก็กำหนด...ชาหนอ...
...นานเข้ามันจะวนเข้าไปหาจุดเริ่มต้นหายปวด...หายชา...ลุกเดินได้เฉยเลย...
...คนที่ไม่เข้าวัด...ไม่เข้าใจการปฏิบัติธรรมมีอีกมาก...เพราะไม่รู้เนื้อรู้ตัว...
...ว่าจิตต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าของ...มัวหลงระเริงว่ายังหนุ่ม-สาว...ยังไม่แก่


...ไม่เห็นต้องไปเข้าวัด...ถ้าไม่ฝึกไต้งแต่อายุน้อยๆ...รอไปทำตอนแก่...จะทนปวดได้เหรอ...
...ขนาดอายุเท่านี้ยังทนปวดไม่ได้...สภาพที่คนใกล้ตายยิ่งทรมาณแสนสาหัส...
...เราฝึกสมาธิเพื่อเตรียมไว้ใช้ตอนใกล้ตายนะเจ้าคะ...ตรงนี้แหละคืออัตตาหิอัตตโนนาโถ...
...ตนเป็นที่พึ่งของตน...จิตใครก็ของคนนั้น...งานทางโลกเราตายไปก็มีคนทำแทนเราได้...


...งานทางธรรมถ้าคุณไม่ทำเอง...ก็ไม่มีใครทำแทนคุณได้...เพราะตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอก...

ลองศึกษาธรรมเหล่านี้ดูนะเจ้าคะ

หลักการดำเนินชีวิตที่ควรยึดถือและปฏิบัติ
(พระอาจารย์อินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี)

1. ตายแล้วไม่สูญ จึงควรละความชั่ว แล้วสร้างแต่ความดีตลอดไป เพื่อสะสมอริยทรัพย์(ทรัพย์ภายในติดตัวไปภพหน้า) การสร้างความดี จะพลอยเป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตัวไปข้ามภพชาติ
2. ถือศีล 5 เพราะศีล 5คือ “มนุษยธรรม”เป็นการควบคุมกาย วาจา ใจ ให้อยู่อย่างสันติ ไม่เบียดเบียนใคร การรักษาศีลคือการรักษาใจ สำรวมอยู่ที่ใจ ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นนิจศีล (รักษาใจได้ตลอดเวลา) เพื่อจะได้คืบหน้าเป็นศีล 8 ขณะยังอยู่ในโลกนี้ เมื่อจากโลกนี้ไป อย่างน้อยก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีอายุยืน ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
3. ฝึกพิจารณาสติอยู่กับความตาย (ฝึกมรณานุสติ) ต้องคิดไว้เสมอทุก ๆ วัน จะโดดเด่นที่สุดจากร่างกายตนเองเพื่อไม่ให้หลงลืมตัว ให้ใจปล่อยวางกิเลส มีราคะ(โลภ) โทสะ(โกรธ) โมหะ(หลง) จะหลุดลอยไปได้มาก จงตั้งใจให้ทานรักษาศีลด้วยความไม่ประมาท พยายามฝึกฝนตนเองจนจิตยอมรับว่า
• เราต้องตายแน่แท้ ทุกคนได้รับเสมอหน้ากันโดยไม่มีข้อยกเว้น
• เราต้องพร้อมเสมอที่จะพลัดพรากจากผู้คน พี่น้อง วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ วัดวาศาสนา ครูบาอาจารย์ทุกพระองค์ จึงควรฝึกที่จะไม่กังวล ไม่ห่วงใย ไม่อาลัย ไม่ยึดถือ ไม่เสียดายต่อผู้คนและสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เพราะเราจะต้องตายจากสิ่งนั้น ๆ ไป
• เราต้องพร้อมต้อนรับความแก่ชราคร่ำคร่าทรุดโทรมเสื่อมถอย โรคภัยรุมล้อมเบียดเบียน อันจะก้าวไปสู่ความรุนแรงสาหัสเมื่อจะลาโลกนี้ไป การเตรียมพร้อมที่จะพึ่งตนเองนี้ ควรทำแต่เนิ่น ๆ ขณะยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ยังแข็งแรงอยู่ เพราะเราไม่อาจหลบเลี่ยงจากกฎอนิจจังนี้ได้ ย่อมจะเดินหน้าเรื่อยไปสู่ความแก่ เจ็บ ตายในที่สุด
• ถ้าจะรอฝึกเมื่อจวนตัว ร่างกายที่อ่อนกำลังด้วยความชรา – พยาธิ แม้อยู่ท่ามกลางผู้คน ที่แข็งแรงและเขาจะเอาใจช่วย คำปลอบใจ ก็ไม่อาจทำให้จิตใจเข้มแข็ง และเตรียมพร้อมขึ้นได้ไม่ หากไม่ได้ผ่านการฝึกฝนจนได้หลักจิตหลักใจจนพอตัวมาก่อนหน้านั้นแล้ว และเมื่อฝึกตนจนเป็นที่พึ่งของตนเองได้แล้ว ย่อมจะพลอยเป็นที่พึ่งของคนอื่นต่อไป ได้ด้วยความเมตตา
• ความสิ้นหวังหรือสมหวัง มิได้เกิดจากผู้ใดเลย แต่อยู่ที่ตัวเราเองจะเป็นผู้สร้างขึ้นมา จากธาตุขันธ์ร่างกายและความเป็นมนุษย์ ที่บิดา – มารดามอบให้พร้อมต้นทุน คือการอบรมสั่งสอนอันหาที่ตำหนิมิได้ ถ้าเราฝึกตนเองได้เมื่อใด เราจะจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีหนี้สินต่อผู้ใด เมื่อใจอำลาจากร่างกายด้วยความองอาจกล้าหาญ ไปด้วยความไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว มีสติปัญญาในการจากไปด้วยความพร้อมอย่างแท้จริง

4. ฝึกโอปนยิโก การน้อมจิตใจตนเองต่อทุกสิ่งที่ผ่านพบในชีวิตประจำวัน ให้เห็นประจักษ์ในความไม่เที่ยง เพื่อเกิดความเบื่อหน่าย ต่อสิ่งมายาสมมติที่แสดงการเปลี่ยนแปลงให้เห็นตลอดเวลา เป็นการตอกย้ำจิตไว้เสมอจนจิตเกิดความเคยชิน และยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น เมื่อเห็นสัตว์ตาย เห็นคนตาย ต้องย้อนเข้ามาหาตนว่า เราก็จักตายเช่นเดียวกัน
5. ฝึกสติ เพื่อให้ทันกิเลส และเป็นบาทฐานในการฝึกสมาธิ เริ่มด้วยการฝึกสติในทุกอิริยาบถ โดยกำหนดให้รู้ตัวไว้อยู่เสมอ หากกิเลสเกิดขึ้นเราจะได้รู้ทัน ระงับความรุนแรงของกิเลสนั้นลงได้ เมื่อจิตอยู่ในกรอบของสติแล้ว จะไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวายมีแต่ความเย็นอกเย็นใจ รู้จักปล่อยวาง คือใจไม่ยึดมั่นถือมั่น เหมือนใจนั้นตาย
6. ฝึกสมาธิ เพื่อบังคับจิตให้นิ่ง จิตเป็นหนึ่ง ประจักษ์กับใจตนเองว่า ร่างกายกับจิตเป็นคนละสิ่ง เพื่อจะได้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงจากใจ เป็นการเห็นจากปัญญา มิใช่ด้วยสัญญาและสังขาร เมื่อรู้จักจิตตนเองได้แล้ว ก็จะเห็นได้ทันทีเมื่อกิเลสแสดงตัว จะทำให้เห็นโทษและละได้ง่ายขึ้น แม้ว่าไม่อาจละได้ถึงขั้นขาดลอย แต่ปริมาณย่อมลดลง จากการพัฒนาตนในชาตินี้ ภพชาติต่อไปก็จะเหลือต้นทุนกิเลสต่ำลง ขณะเดียวกันชาตินี้ก็จะเกิดความเข้มแข็งและปัญญา ที่จะยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริง เกิดปัญญาที่ใช้แก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างรอบคอบ และเหมาะสมมากขึ้น


เคล็ดวิธีกำหนดสติในการทำสมาธิตามหลักสติปัฏฐานสี่
(พระครูพิศาลวิริยคุณ วัดป่าดงไร่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี)
เราสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ โดยกำหนดออกเสียงหรือกำหนดในใจดังนี้
...(ยืน,เดิน,นั่ง,นอน)...อยู่นี่คือกาย
...สุขทุกข์คือเวทนา...
...ความรู้สึกนึกคิดคือจิต...
...สิ่งที่กำหนดรู้คือสติ...
(...กิเลสที่เกิดคือ...อกุศลธรรมและนิวรณ์ธรรม...)
...สิ่งที่พิจารณาเห็นอยู่คือปัญญา...
...ตัวเราของเราไม่มี...

:b51: :b8: :b8: :b8:




ขอบพระคุณมากครับ สุดยอดอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2009, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณกัลยาณมิตรที่ให้ข้อมูลทุกคนเลยนะครับ
มีประโยชนมากเลย
จะได้นำไปโอปนยิโกกับตัวเอง

สำหรับผมขอบอกว่า ผมไม่ได้กำหนดพุทโธอะครับ ผมกำหนดลมหายใจเข้าออก อย่างเดียว

อยากถามว่า ระหว่างการบริกรรมกับการสังเกตุลมหายใจเข้าออก แบบไหนเข้าสมาธิได้เร็วกว่ากัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2009, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอบพระคุณมากครับ สุดยอดอะ

:b41: จะสุดยอดกว่านี้ ถ้าทำได้ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งรีบดีใจเกินไป ไม่ของง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ เวลาปวดจนทนไม่ไหว ให้เอาจิตเพ่งดูความปวดอันเป็นเวทนาที่เกาะที่จิตและกาย และกำหนดปวดหนอช้า หายใจเข้าออกยาวๆพอประมาณ จะช่วยได้ หรือเหลือเวลาอีกไม่ถึง5 นาทีจะครบเวลานั่ง ถ้าทนได้ก็ควรทนนะ แต่ทนอย่างเดียวไม่พอ ต้องกำหนดเวทนา ปวดหนอ ๆๆ ตามกระชั้นชิดให้ได้ปัจจุบันไปด้วย การกำหนดมีข้อดีคือช่วยฝึกจิตให้รู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ เมื่อกำหนดได้ดีได้ทันก้จะเข้า
ใจ"เวทนาในเวทนา" คือเห็นรูปนามย้อนกลับเข้าไปหาพระไตรลักษณ์ทำให้เห็นรูปกับนามขาดออกจากกันได้ตามความจริงในหลักธรรมชาติกาย-จิต ถือเป็นข้อ2 ในสติปัฏฐาน4 ที่พึงควรศึกษาไว้ เจริญไว้และทำไว้ให้มากๆ :b39: :b39: :b39:

ธรรมะของพระตถาคต ล้วนเป็นอะกาลิโก... :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
อ้างคำพูด:
ขอบพระคุณมากครับ สุดยอดอะ

:b41: จะสุดยอดกว่านี้ ถ้าทำได้ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งรีบดีใจเกินไป ไม่ของง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ เวลาปวดจนทนไม่ไหว ให้เอาจิตเพ่งดูความปวดอันเป็นเวทนาที่เกาะที่จิตและกาย และกำหนดปวดหนอช้า หายใจเข้าออกยาวๆพอประมาณ จะช่วยได้ หรือเหลือเวลาอีกไม่ถึง5 นาทีจะครบเวลานั่ง ถ้าทนได้ก็ควรทนนะ แต่ทนอย่างเดียวไม่พอ ต้องกำหนดเวทนา ปวดหนอ ๆๆ ตามกระชั้นชิดให้ได้ปัจจุบันไปด้วย การกำหนดมีข้อดีคือช่วยฝึกจิตให้รู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ เมื่อกำหนดได้ดีได้ทันก้จะเข้า
ใจ"เวทนาในเวทนา" คือเห็นรูปนามย้อนกลับเข้าไปหาพระไตรลักษณ์ทำให้เห็นรูปกับนามขาดออกจากกันได้ตามความจริงในหลักธรรมชาติกาย-จิต ถือเป็นข้อ2 ในสติปัฏฐาน4 ที่พึงควรศึกษาไว้ เจริญไว้และทำไว้ให้มากๆ :b39: :b39: :b39:

ธรรมะของพระตถาคต ล้วนเป็นอะกาลิโก... :b40:



ขอบพระคุณมากครับ จริงคับ ควรน้อมไปปฏิบัติเพื่อให้รู้เอง

และก่อนที่เข้ามาอ่านวันนี้ สองคืนที่ผ่านมาได้นั่งสมาธิเร็วขึ้นตอนสี่ทุ่มนั่งขัดสมาธิขวาทับซ้าย
ทุกทีจะนั่งแบบธรรมดา เพราะนั่งในห้องนอน และบางทีก็เหยียดขาเพราะขาซ้ายนั่งนานไม่ได้

สองคืนแล้วที่ลองนั่งดูปรากฎว่านั่งได้ครับ ตอนแรกก็ปวดนะ แต่พอกำหนดลมแบบตั้งใจ สักครู่ก็หายปวดไป แต่พอนั่งนานเข้าก็ปวดและขยับทีนึง นั่งได้นานขึ้น สองวันที่ไม่มีคนกวนนั่งได้นาน
แต่มีคนกวนนั่งได้แป๊บเดียวเพราะน้องชายดูดีวีดีอยู่ข้างห้องเปิดเสียงดัง ตอนแรกก็ลองนั่งไป
กำหนดลมเป็นสมาธินั่งได้แป๊บเดียวเองครับ ต่อไปจะพยายามไม่สนใจเสียงรอบข้างคงกำหนดในใจว่ายินหนอด้วย พยายามนั่งให้นานที่สุด ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตอนแรกก็ปวดนะ แต่พอกำหนดลมแบบตั้งใจ สักครู่ก็หายปวดไป แต่พอนั่งนานเข้าก็ปวดและขยับทีนึง นั่งได้นานขึ้น สองวันที่ไม่มีคนกวนนั่งได้นาน แต่มีคนกวนนั่งได้แป๊บเดียวเพราะน้องชายดูดีวีดีอยู่ข้างห้องเปิดเสียงดัง ตอนแรกก็ลองนั่งไปกำหนดลมเป็นสมาธินั่งได้แป๊บเดียวเองครับ ต่อไปจะพยายามไม่สนใจเสียงรอบข้างคงกำหนดในใจว่ายินหนอด้วย พยายามนั่งให้นานที่สุด ครับ


รู้สึกว่ารูปแบบการปฏิบัติเริ่มจะตีกันแล้วนะครับ ถ้าจะเอาแบบพุธโธ หรือดูลมหายใจ ก็ไม่ต้องไปสนใจเสียงที่เกิดขึ้น เอาสมาธิให้ขึ้นก่อน ถ้ามีเสียงเกิดขึ้นตอนแรกจิตมันจะไหลไป พอรู้ตัวก็ให้ดึงจิตกลับมาทำไปเรื่อยๆ เดียวสมาธิก็เกิดเอง พอสมาธิเกิดเสียงๆ มันจะค่อยๆ เบาไปเองนะครับ

แบบหนอ ถ้าจะทำตามรูปแบบนี้ ควรไปศึกษารูปแบบการปฏิบัติให้ชัดเจน เดินอย่างไร นั่งอย่างไร เมื่อสิ่งมากระทบตาหูจมูกลิ้นกายใจ กำหนดอย่างไร เวทนาเกิดกำหนดอย่างไร ฐานกายกำหนดอย่างไร ฐานจิตกำหนดอย่างไร การกำหนดลมทางอ้อมคือการเคลื่อนไหวของท้องกำหนดอย่างไร แล้วก็ปฏิบัติไปตามรูปแบบ ผมว่าน่าจะดีกว่าทำแบบผสมกันไปนะครับ

อยากถามว่า ระหว่างการบริกรรมกับการสังเกตุลมหายใจเข้าออก แบบไหนเข้าสมาธิได้เร็วกว่ากัน
ขอบพระคุณกัลยาณมิตรที่ให้ข้อมูลทุกคนเลยนะครับ
มีประโยชนมากเลย
จะได้นำไปโอปนยิโกกับตัวเอง


อ้างคำพูด:
อยากถามว่า ระหว่างการบริกรรมกับการสังเกตุลมหายใจเข้าออก แบบไหนเข้าสมาธิได้เร็วกว่ากัน
แบบที่ตัวท่านเองถนัดนะครับได้สมาธิเร็วสุด

เจริญธรรมคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งสมาธิก็เพื่อผ่อนคลายกายใจ จากทุกข์นะครับ
อย่าไปฝืนมันเลย
แต่สมาธิก็คือสมาธินะครับ ทำให้สงบ สบาย อาจดูเหมือนมีความสุข
แต่อย่าให้กลายเป็นความเกียจคร้านนะครับ
อยากให้เอาสติเข้าไประลึกรู้ด้วยครับ ว่าเราทำอะไรอยู่?

อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ขอยกคำสอนจากธรรมะครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาเสนอแนะเจ้าค่ะ

:b16: องค์ท่านหลวงตามหาบัวท่านเทศน์สอนว่า...
...การนั่งสมาธิจะกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆหรือจะบริกรรมพุทโธไปด้วยก็ไม่ผิด... :b8:
...แต่บางครั้งจิตมันฟุ้งซ่าน...การบริกรรมเป็นการหางานให้จิตทำ...คำว่า"พุทโธ"คำเดียวนี้...
...ยกจิตให้สูงขึ้นไม่ดึงลงไปทางต่ำ...เท่ากับระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์...มากแค่ไหนรู้ไหม...
...เท่ามหาสมุทรทะเลหลวง...พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์เท่าน้ำในมหาสมุทร1หยดเท่ากับ1พระองค์...
...หายใจเข้าบริกรรมพุท...หายใจออกบริกรรมโธ...เวลาจิตส่งออกนอกให้ดึงกลับด้วยพุทโธ...
...
:b44: :b44: :b44:

...ท่านหลวงตาบรรลุธรรมปี2493...ปี2492จิตท่านหมุนออกทางฆ่ากิเลสจนไม่หลับไม่นอน... :b8:
...การไม่หลับไม่นอนทำให้ธาตุขันธ์อ่อนแรงลง...จิตไม่มั่นคง...ท่านหาวิธีที่จะทำให้จิตสงบอยู่นาน...
...เราเป็นมาแล้วธรรมะก็อยู่ในจิตเรา...กิเลสก็อยู่ในจิตเรา...มันฟัดกันเหมือนนักมวยจนไม่ได้นอน...
...จนมาลงที่บริกรรมพุทโธ...จึงได้ทราบว่า...อ๋อการบริกรรมพุทโธทำให้จิตมีเวลาพักผ่อนในสมาธิ...


...ส่วนเรื่องของความรู้สึกที่มีเสียงรบกวน...ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเป็นเทศนาของพระอาจารย์องค์ใด...
...ท่านเล่าว่าข้างวัดเขากินเหล้าแล้วเปิดเพลงเสียงดัง...ท่านกำลังทำสมาธิก็หนวกหูและรำคาญ...
...พอท่านตามจิตทัน...ท่านจึงสอนจิตตนเองว่าจิตเราต่างหากที่มันเป็นนักเลงเที่ยวไปก่อกวนที่อื่น...
...พอตั้งจิตกำหนดแน่วแน่ลงไปใหม่...ทำให้จิตเลิกคิดก่อกวนข้างนอก...มันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป...
...พอจิตสงบลง...เสียงต่างมันก็เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น...จิตเราต่างหากที่ไปวุ่นวายข้างนอก
:b48: :b48: :b48:

...ประสบการณ์นี้ข้าพเจ้านำมาใช้ในชีวิตประจำวัน...ในห้องทำงานคุยกันเสียงยังกับนกกระจอกแตกรัง
...พยายามสอนให้ตนเองควบคุมจิต...ให้มีสมาธิอยู่กับการทำงาน...ได้ยินเสียงแต่ไม่ไปใส่ใจ...
...นานเข้าเหมือนอยู่คนเดียวในห้องนั้น...เพราะพอเราไม่ไปใส่ใจจิตมันก็ไม่เดือดร้อนเจ้าค่ะ...
...ลองนึกถึงเวลาเขาร้องเพลงแข่งกัน...ร้องพร้อมกันแต่คนละเพลง...ทำไมเขาร้องไม่ผิดทั้ง 2 คน...
...เสียงมันก็ร้องสวนกัน...น่าจะเป็นเพราะว่าทั้ง 2 คนนี้มีสมาธิดีและจำเนื้อร้องได้และฝึกมาอย่างดี...
...และต้องการให้ได้ชัยชนะ... :b53:


...ขอให้หมั่นพิจารณาจิตที่ส่งออกนอก...จิตที่ไปรบกวนภายนอกมันไปยึดสิ่งภายนอกมากวนตนเอง...
...ให้พยายามหาหลักยึดจิตใจ...พุทโธข้าพเจ้าว่าดีดึงจิตกลับเข้ามาให้จิตอยู่กับการพิจารณาร่างกาย...
...ว่าร่างกายเป็นของไม่สะอาดไม่สวยไม่งามจริง?...การดึงสิ่งภายนอกเข้ามารบกวนจิตมันทำให้ทุกข์
...ขอให้พยายามฝึกฝนต่อไปเจ้าค่ะ...เพราะจิตเป็นสิ่งทีฝึกยาก...เราทำเพื่อจะเอาชนะใจตนเอง...
...หวังว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามสื่อถึง...จะมีส่วนช่วยให้ท่านนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย...

:b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue

ขอยกคำสอนจากธรรมะครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาเสนอแนะเจ้าค่ะ

:b16: องค์ท่านหลวงตามหาบัวท่านเทศน์สอนว่า...
...การนั่งสมาธิจะกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆหรือจะบริกรรมพุทโธไปด้วยก็ไม่ผิด... :b8:
...แต่บางครั้งจิตมันฟุ้งซ่าน...การบริกรรมเป็นการหางานให้จิตทำ...คำว่า"พุทโธ"คำเดียวนี้...
...ยกจิตให้สูงขึ้นไม่ดึงลงไปทางต่ำ...เท่ากับระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์...มากแค่ไหนรู้ไหม...
...เท่ามหาสมุทรทะเลหลวง...พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์เท่าน้ำในมหาสมุทร1หยดเท่ากับ1พระองค์...
...หายใจเข้าบริกรรมพุท...หายใจออกบริกรรมโธ...เวลาจิตส่งออกนอกให้ดึงกลับด้วยพุทโธ...
...
:b44: :b44: :b44:

...ท่านหลวงตาบรรลุธรรมปี2493...ปี2492จิตท่านหมุนออกทางฆ่ากิเลสจนไม่หลับไม่นอน... :b8:
...การไม่หลับไม่นอนทำให้ธาตุขันธ์อ่อนแรงลง...จิตไม่มั่นคง...ท่านหาวิธีที่จะทำให้จิตสงบอยู่นาน...
...เราเป็นมาแล้วธรรมะก็อยู่ในจิตเรา...กิเลสก็อยู่ในจิตเรา...มันฟัดกันเหมือนนักมวยจนไม่ได้นอน...
...จนมาลงที่บริกรรมพุทโธ...จึงได้ทราบว่า...อ๋อการบริกรรมพุทโธทำให้จิตมีเวลาพักผ่อนในสมาธิ...


...ส่วนเรื่องของความรู้สึกที่มีเสียงรบกวน...ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเป็นเทศนาของพระอาจารย์องค์ใด...
...ท่านเล่าว่าข้างวัดเขากินเหล้าแล้วเปิดเพลงเสียงดัง...ท่านกำลังทำสมาธิก็หนวกหูและรำคาญ...
...พอท่านตามจิตทัน...ท่านจึงสอนจิตตนเองว่าจิตเราต่างหากที่มันเป็นนักเลงเที่ยวไปก่อกวนที่อื่น...
...พอตั้งจิตกำหนดแน่วแน่ลงไปใหม่...ทำให้จิตเลิกคิดก่อกวนข้างนอก...มันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป...
...พอจิตสงบลง...เสียงต่างมันก็เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น...จิตเราต่างหากที่ไปวุ่นวายข้างนอก
:b48: :b48: :b48:

...ประสบการณ์นี้ข้าพเจ้านำมาใช้ในชีวิตประจำวัน...ในห้องทำงานคุยกันเสียงยังกับนกกระจอกแตกรัง
...พยายามสอนให้ตนเองควบคุมจิต...ให้มีสมาธิอยู่กับการทำงาน...ได้ยินเสียงแต่ไม่ไปใส่ใจ...
...นานเข้าเหมือนอยู่คนเดียวในห้องนั้น...เพราะพอเราไม่ไปใส่ใจจิตมันก็ไม่เดือดร้อนเจ้าค่ะ...
...ลองนึกถึงเวลาเขาร้องเพลงแข่งกัน...ร้องพร้อมกันแต่คนละเพลง...ทำไมเขาร้องไม่ผิดทั้ง 2 คน...
...เสียงมันก็ร้องสวนกัน...น่าจะเป็นเพราะว่าทั้ง 2 คนนี้มีสมาธิดีและจำเนื้อร้องได้และฝึกมาอย่างดี...
...และต้องการให้ได้ชัยชนะ... :b53:


...ขอให้หมั่นพิจารณาจิตที่ส่งออกนอก...จิตที่ไปรบกวนภายนอกมันไปยึดสิ่งภายนอกมากวนตนเอง...
...ให้พยายามหาหลักยึดจิตใจ...พุทโธข้าพเจ้าว่าดีดึงจิตกลับเข้ามาให้จิตอยู่กับการพิจารณาร่างกาย...
...ว่าร่างกายเป็นของไม่สะอาดไม่สวยไม่งามจริง?...การดึงสิ่งภายนอกเข้ามารบกวนจิตมันทำให้ทุกข์
...ขอให้พยายามฝึกฝนต่อไปเจ้าค่ะ...เพราะจิตเป็นสิ่งทีฝึกยาก...เราทำเพื่อจะเอาชนะใจตนเอง...
...หวังว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามสื่อถึง...จะมีส่วนช่วยให้ท่านนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย...

:b55: :b55: :b55: :b55:


จิตผมคงส่งออกนอกเคยชิน ต้องมาดูที่ใจตัวเองแล้วหล่ะ
ขอบพระคุณมากครับสำหรับข้อธรรมที่อ้างมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 19:01
โพสต์: 60

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
ตอนแรกก็ปวดนะ แต่พอกำหนดลมแบบตั้งใจ สักครู่ก็หายปวดไป แต่พอนั่งนานเข้าก็ปวดและขยับทีนึง นั่งได้นานขึ้น สองวันที่ไม่มีคนกวนนั่งได้นาน แต่มีคนกวนนั่งได้แป๊บเดียวเพราะน้องชายดูดีวีดีอยู่ข้างห้องเปิดเสียงดัง ตอนแรกก็ลองนั่งไปกำหนดลมเป็นสมาธินั่งได้แป๊บเดียวเองครับ ต่อไปจะพยายามไม่สนใจเสียงรอบข้างคงกำหนดในใจว่ายินหนอด้วย พยายามนั่งให้นานที่สุด ครับ


รู้สึกว่ารูปแบบการปฏิบัติเริ่มจะตีกันแล้วนะครับ ถ้าจะเอาแบบพุธโธ หรือดูลมหายใจ ก็ไม่ต้องไปสนใจเสียงที่เกิดขึ้น เอาสมาธิให้ขึ้นก่อน ถ้ามีเสียงเกิดขึ้นตอนแรกจิตมันจะไหลไป พอรู้ตัวก็ให้ดึงจิตกลับมาทำไปเรื่อยๆ เดียวสมาธิก็เกิดเอง พอสมาธิเกิดเสียงๆ มันจะค่อยๆ เบาไปเองนะครับ

แบบหนอ ถ้าจะทำตามรูปแบบนี้ ควรไปศึกษารูปแบบการปฏิบัติให้ชัดเจน เดินอย่างไร นั่งอย่างไร เมื่อสิ่งมากระทบตาหูจมูกลิ้นกายใจ กำหนดอย่างไร เวทนาเกิดกำหนดอย่างไร ฐานกายกำหนดอย่างไร ฐานจิตกำหนดอย่างไร การกำหนดลมทางอ้อมคือการเคลื่อนไหวของท้องกำหนดอย่างไร แล้วก็ปฏิบัติไปตามรูปแบบ ผมว่าน่าจะดีกว่าทำแบบผสมกันไปนะครับ

อยากถามว่า ระหว่างการบริกรรมกับการสังเกตุลมหายใจเข้าออก แบบไหนเข้าสมาธิได้เร็วกว่ากัน
ขอบพระคุณกัลยาณมิตรที่ให้ข้อมูลทุกคนเลยนะครับ
มีประโยชนมากเลย
จะได้นำไปโอปนยิโกกับตัวเอง


อ้างคำพูด:
อยากถามว่า ระหว่างการบริกรรมกับการสังเกตุลมหายใจเข้าออก แบบไหนเข้าสมาธิได้เร็วกว่ากัน
แบบที่ตัวท่านเองถนัดนะครับได้สมาธิเร็วสุด

เจริญธรรมคับ



ขอบพระคุณครับ คงต้องไปปฎิบัติให้มากขึ้นตามสใตล์ที่ตัวเองถนัดจริงๆ
ระหว่างวันผมก็กำหนดนะครับ ทำสติรู้และนั่งสมาธิตอนเที่ยงสักพักนะครับ

พยายามให้มีสติมากที่สุดผมคงต้องศีกษาเองมากกว่านี้แล้วหล่ะ

ตอนนี้ก็เข้ามาทางนี้เยอะขึ้นแล้วครับ ขอบพระคุณเพื่อนธรรมทุกท่านนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร