วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 00:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๓ คำบรรยายลำดับการปฏิบัติตอนว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ

มักชวนให้ผู้ที่อ่านทีแรก หรือ ผู้ที่อ่านแล้วไม่ได้สอบสวนความสืบต่อไป เกิดความเข้าใจผิดว่า

เมื่อเข้าสมาบัตินี้แล้ว ก็ตรัสรู้ หรือ บรรลุอรหัตผลต่อไปภายในสมาบัตินั้นเลย

ดังความในบาลีว่า

“....ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่,

เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

(องฺ.นวก.23/244/456)


พึงเข้าใจว่า ความในบาลีนี้ ท่านเล่าเฉพาะลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติและการบรรลุผลแท้ๆ

ไม่กล่าวถึงเหตุการณ์และรายละเอียดต่างๆในระหว่าง

ผู้อ่านพึงมองในลักษณะที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ไม่ใช่มองในแง่เป็นการเล่าเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียว

ผู้ศึกษาจะมองเห็นความหมายของบาลีท่อนนี้ชัดขึ้น

เมื่อพิจารณาคำบรรยายที่แสดงรายละเอียดมากกว่านี้ในบาลีอีกแห่งหนึ่งดังนี้

“ภิกษุนั้น...ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

เมื่อใด ภิกษุเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งสมาบัตินั้นนั่นแหละ

เมื่อนั้น จิตของเธอ ก็เป็นของนุ่มนวล ควรแก่งาน

ด้วยจิตที่นุ่มนวล ควรแก่งานนั้น สมาธิอันหาประมาณมิได้ (สมาธิที่กว้างขวาง ประณีตดีล้ำเลิศ)

ย่อมเป็นสิ่งที่เธออบรมแล้วเป็นอย่างดี

“ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้ ที่อบรมอย่างดีแล้วนั้น

เธอจะน้อมจิตมุ่งไปเพื่อประจักษ์แจ้งด้วยความรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมอย่างใด

ก็ย่อมถึงภาวะที่สมารถเป็นพยานในธรรมอย่างนั้นๆได้ ในเมื่ออายตนะ (เหตุ)มีอยู่ กล่าวคือ

ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ทิพยโสต...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...เจโตปริยญาณ...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ปุพเพนิวาสานุสติ...ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...ทิพยจักษุ..ก็ย่อมถึง...

ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่”

(องฺ.นวก.23/239/437 ฯลฯ)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

เมื่อเทียบกับบาลีบทหลังนี้แล้ว ก็จะมองเห็นข้อความในบาลีบทแรกที่ว่า

“บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่” กับ “เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

แยกห่างกันออกไปเป็นคนละตอน

ตอนแรกเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ตอนหลัง โดยช่วยเตรียมจิตอบรมสมาธิไว้ให้พร้อม

ตอนหลัง คือ “เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป”

ได้แก่อาสวักขยญาณ ซึ่งในกรณีของพระพุทธเจ้าก็ได้แก่การตรัสรู้นั่นเอง

ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า สำนวนแบบทั้งสอง มีเนื้อความบรรจบกันเป็นอันเดียวในที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เขียนแบบลอกเอามา ใครก็เขียนได้ แล้วอธิบายได้ไหมว่า
การก้าวล่วง อากาศ, วิญญาณ, ความไม่มีอารมณ์, สัญญา ทำกันอย่างไร
พิสูจน์ได้ไหมว่า ก้าวล่วงแล้ว
ถามสั้นๆ แต่เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย ต้องตอบให้่เข้าใจนะขอรับ

เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมองรับรู้หรือพิจารณา ตามหลักความจริงตามธรรมชาติ อิ อิ อิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๔ เท่าที่ชี้แจงข้อความเข้าใจพลาดข้อก่อนๆ มาตามลำดับ ก็พอจะทำให้มองเห็นแล้วว่า

สำนวนแบบสองอย่างนั้น เป็นเพียงการพูดถึงแง่ด้านขั้นตอนต่างๆ ของปฏิปทาเดียวกัน

สำนวนแบบที่ ๑ มุ่งแสดงการปฏิบัติและการบรรลุผลขั้นสุดท้าย เมื่อนำเอาสมถะ

ซึ่งได้ฝึกอบรมไว้ก่อนแล้ว มาใช้ประโยชน์ในทางอภิญญาและวิปัสสนาจนเสร็จสิ้น

สำนวนแบบที่ ๒ มุ่งแสดงขั้นตอนของการฝึกอบรมสมถะในระหว่าง และกล่าวถึงผลสุดท้าย

ของวิปัสสนาครอบปลายไว้ พอให้มองเห็นจุดหมายที่จะเชื่อมโยงไปถึง

โดยนัยนี้ ความเข้าใจผิดพลาดข้อ ๔ ที่ว่าสำนวนแบบทั้งสองแสดงปฏิปทาแห่งการตรัสรู้ ๒ อย่าง

ต่างหากกัน จึงเป็นอันตอบเสร็จไปแล้วพร้อมกับข้อก่อนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๕ ความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาในการปฏิบัติและบรรลุผล ได้ชี้แจงไปบ้างแล้วในข้อ ๒

และข้อ ๓ มีข้อที่ควรย้ำเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า

สำนวนแบบที่ ๑ แสดงการบรรลุวิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้า ห่างเวลากันเพียงวิชชาละยาม

ของราตรี

แต่ในกรณีของบุคคลอื่น การบรรลุวิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๖ แต่ละข้อ อาจใกล้ชิดกันอย่างนี้

หรือห่างกันนานเป็นเดือนเป็นปีก็ได้ *

ส่วนสำนวนแบบที่ ๒ ที่แสดงการปฏิบัติด้านสมาบัติของพระพุทธเจ้า

มีข้อความช่วยบ่งชัดให้เห็นว่า มีช่วงเวลาในระหว่างการบรรลุผลแต่ละขั้น แต่สำนวนอย่างเดียวกันนั้น

ที่บรรยายการบรรลุผลของพระสาวก หรือ บุคคลอื่นๆ ไม่มีข้อความบอกช่วงเวลา ชวนให้เข้าใจว่า เป็นเรื่อง

ต่อเนื่องในคราวเดียวกัน

เพื่อมิให้เข้าใจผิดจึงขอย้ำไว้อีกว่า การปฏิบัติและบรรลุสมาบัติขั้นหนึ่งๆนั้น

สาวก หรือ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย อาจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป **

คำบรรยายที่เป็นสำนวนแบบนั้น เพียงแต่แสดงขั้นตอนของการปฏิบัติและบรรลุผลไว้ให้ทราบเท่านั้น

ความข้อนี้ มีหลักฐานช่วยยืนยันอยู่บ้างบางกรณี ตัวอย่างที่ชัด คือ กรณีของพระสารีบุตร

ตามความในทีฆนขสูตร-(ม.ม.13/269/263) มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

เกี่ยวกับเวทนาและเรื่องอื่นๆ แก่ทีฆนขปริพาชกที่ถ้ำสุกรขาตา ภูเขาคิชกูฎ

พระสารีบุตรซึ่งกำลังถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังของพระผู้มีพระภาค พิจารณาธรรมไปตามกระแส

พระธรรมเทศนา และได้บรรลุอรหัตผล

เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเมื่อท่านอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน

ถ้าอ่านดูแต่ลำพังสูตรนี้ อาจเห็นไปได้ว่า พระสารีบุตรบวชมาแล้วสองสัปดาห์

ยังไม่ได้บรรลุผลสำเร็จอะไรเพิ่มเติมจากที่ได้ธรรมจักษุเมื่อก่อนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาแก่ทีฆนขะครั้งนี้ ก็บรรลุอรหัตผลทันที

แต่เมื่ออ่านอนุปทสูตร-(ม.อุ.14/153/116)*** ประกอบด้วยก็ทราบได้ว่าระหว่างเวลากึ่งเดือนนั้น

พระสารีบุตรได้ปฏิบัติธรรมก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยเจริญวิปัสสนาควบคู่กับฌานสมาบัติ

อย่างที่เรียกว่า ยุคนัทธสมถวิปัสสนา คือสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน ตั้งแต่ปฐมฌาน

จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งแสดงว่าท่านบรรลุอนาคามิผลแล้วก่อนฟังทีฆนขสูตร

เมื่อฟังทีฆนขสูตรนี้ ก็ก้าวไปอีกขึ้นหนึ่ง คือบรรลุอรหัตผลเป็นขั้นสุดท้าย

และการเจริญสมถะวิปัสสนาคู่กันของท่านก่อนหน้านั้น ได้ดำเนินไปตลอดเวลาถึง ๑๕ วัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ต.ค. 2009, 17:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห. บน ที่มี * ตามลำดับ)


* ถ้ากระบวนการฝึกเป็นอย่างที่บรรยายไว้ในวิสุทธิมรรค- (2/216-276) กว่าจะสำเร็จผลแต่ละอย่าง

ก็คงกินเวลามิใช่น้อย

พระอนุรุทธเถระบรรลุอรหัตผล หลังจากได้ทิพยจักษุแล้วนานพอสมควร-(ดู องฺ.ติก.20/570/363 ฯลฯ)

เรื่องพระมหานาคเถระในวิสุทธิมรรค 3/269 ก็เป็นตัวอย่างผู้บรรลุอรหัตผลห่างจากเวลาที่ได้ฤทธิ์ถึง 60 ปี


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


* * เมื่อบรรลุสมาบัติขั้นที่สูงกว่าแล้ว ก็สามารถเข้าสมาบัติ ตั้งแต่ขั้นต้นขึ้นมาถึงขั้นนั้นได้อย่างต่อเนื่อง

ในคราวเดียว และถ้าบรรลุสมาบัติชั้นสูงสุดแล้ว ก็สามารถเข้าสมาบัติตั้งแต่ขั้นต้นเรียงลำดับขึ้นมา

จนถึงขั้นสูงสุดนั้นได้ต่อกันไปในคราวเดียว...

ที่ว่าเรียงลำดับต่อเนื่องกันขึ้นมาหมายความว่า เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน เข้าทุติยฌาน

ออกจากทุติยฌาน เข้าตติยฌาน ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับ


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


*** ม.อ.3/499-500 ยกมติหนึ่งมาแสดงว่า “พระสารีบุตรเจริญสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันมา

บรรลุอนาคามิผลแล้ว เข้านิโรธสมาบัติ ครั้นออกจากนิโรธแล้ว จึงได้บรรลุอรหัตผล”

เมื่อยกมตินี้มาเชื่อมกับความในทีฆนขสูตร ก็จะได้ความว่าท่านเคยเข้านิโรธสมาบัติ

ซึ่งเป็นเครื่องช่วยทำให้จิตมีความพร้อมดีอยู่แล้ว

ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทสนาในทีฆนขสูตร ช่วยให้วิปัสสนาเดินหน้าไปอีก จึงบรรลุอรหัตผล -

ดู ม.อ.3/197 ประกอบ

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณกรัชกาย tongue
ขออนุญาตเข้ามาทัก......แล้วจะรีบไปค่ะ
กลัวอยู่ผิดที่......ผิดเวลา.......
สบายดีนะคะ ไม่เข้ามาทัก แต่ก็คอยตามอ่านนะคะ
เมื่อเช้าไปไหว้พระ สวดมนต์ ที่วัดปทุมวนาราม เอาบุญมาฝากนะคะ
onion

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆๆ อนุโมทามิ ครับ คุณ O.wan :b8:

ขอการไหว้พระสวดมนต์ครั้งนี้ ขอผลบุญจงประทานพรให้คุณมีอายุยืนตามปรารถนานะขอรับ :b20:

อย่าเจ็บอย่าจนอย่าจากสิ่งของอันเป็นที่รัก :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
เขียนแบบลอกเอามา ใครก็เขียนได้ แล้วอธิบายได้ไหมว่า
การก้าวล่วง อากาศ, วิญญาณ, ความไม่มีอารมณ์, สัญญา ทำกันอย่างไร
พิสูจน์ได้ไหมว่า ก้าวล่วงแล้ว
ถามสั้นๆ แต่เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย ต้องตอบให้่เข้าใจนะขอรับ

เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมองรับรู้หรือพิจารณา ตามหลักความจริงตามธรรมชาติ อิ อิ อิ


ฮ่า ฮ่า ฮ่า เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า"กรัชกายเอ๋ย เปลี่ยนชื่อเป็น "สัตว์ตาย" ซะเถอะ
ดีแต่พล่ามเรื่องไม่เป็นเรื่อง
เจตนาของเจ้า เข้ามาเพื่อทำลาย ภาพลักษณ์ศาสนาพุทธ เข้ามาทำลายคำสอน ถ้าเจ้ามีความเข้าใจทำไมไม่ตอบละ เจ้า "สัตว์ตาย" ผู้น่าเวทนา ฮ่า ฮ่า ฮ่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา ท่าน จขกท. :b8:

ธรรมสวัสดี คุณ O.WAN :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแย้งนิดหน่อยนะ... ตรัสรู้กับอรหันต์ ไม่เหมือนกันนะ อรหันต์คือละอุปาทาน ส่วนตรัสรู้คือรู้แจ้ง รู้หมด
ตรัสรู้จำเป็นต้องมีอภิญญา เพื่อล่วงรู้ในสิ่งที่เหนือ สามัญวิสัย แต่อรหันต์ไม่จำเป็นต้องมีอภิญญา

ส่วนเรื่องฌาณ ที่เคยได้ยินกันมาว่า เข้าฌาณ 4 แล้วถอยไปถอยมา ฌาณ 4 3 2 1 อะไรนั่น ไม่จริงหรอก ถ้าจิตไม่เสื่อม เมื่อถึงฌาณ 4 สมาธิมั่นคงดีแล้ว องค์ฌาณระดับล่างๆ จะไม่ปรากฎ คือเมื่อเข้าสมาธิก็จะไปฌาณ 4 เลย
เข้าใจว่า ในองค์ฌาณ 2 นั้น มีเหตุจากความ ไม่สงบดี ถ้าจะถอยไปที่ฌาณนี้ ก็ต้องทำจิตให้อยู่ในสภาพเหมือน กำลังเข้าสู่ความสงบ ซึ่งเป็นไปได้ยาก (หรือไม่ได้เลย)
แม้แต่องค์ฌาณ 3 ซึ่งเป็นความสงบดีแล้ว ก็แทบจะไม่ปรากฎ

ฌาณ 1-4 ไม่ใช่เป็นขั้นบันไดที่ต้องเจอทุกครั้ง แต่มันเป็น level...


เพิ่มเติม... เมื่อพระอรหันต์ไม่จำเป็นต้องมีอภิญญา พระอรหันต์ก็อาจโดนต้มได้ แต่ถ้าถึงขั้นตรัสรู้ จะไม่มีทางโดนต้ม (เจโตปริยญาณ) ยกเว้นแต่จะยอมให้ต้ม


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 22 ต.ค. 2009, 20:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
อนุโมทนา ท่าน จขกท. :b8:

ธรรมสวัสดี คุณ O.WAN :b8:


:b8: ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณตรงประเด็น :b48:
คอยอ่านบทความธรรมะดีๆอยู่นะคะ
ตอนนี้สอบผ่านธรรมะได้ชั้น ป.3 :b9: แล้วนะคะ :b29:
ขอฝากตัวเป็นผู้มาใหม่ในธรรมะนะคะ
:b8: :b8:
แบบทดสอบด้วยตัวเองค่ะ onion

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวรรค จริยากถา
[๗๑๕] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี ๘ คือ
อิริยาปถจริยา ๑
อายตนจริยา ๑
สติจริยา ๑
สมาธิจริยา ๑
ญาณจริยา ๑
มรรคจริยา ๑
ปัตติจริยา ๑
โลกัตถจริยา ๑ ฯ

ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา
ความประพฤติในอายตนะภายในและภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา
ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าสติจริยา
ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา
ความประพฤติในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา
ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา
ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา
ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระปัจเจกพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระสาวก ชื่อว่าโลกัตถจริยา

อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนา
อายตนจริยาของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย
สติจริยาของท่านผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต
ญาณจริยาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
มรรคจริยาของท่านผู้ปฏิบัติชอบ
ปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้ว
และโลกัตถจริยา เป็นส่วนเฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนเฉพาะของพระปัจเจกพุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก

จริยา ๘เหล่านี้ ฯ

[๗๑๖] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ

บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร
ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ
ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยปัญญา
ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ
ผู้มนสิการว่า ท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณพิเศษได้ ก็ประพฤติด้วยวิเศษจริยา
ผู้มนสิการว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมให้ต่อเนื่องกันไป ก็ประพฤติด้วยอายตนจริยา

จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ


[๗๑๗] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ
การประพฤติด้วยทัสนะแห่งสัมมาทิฐิ ๑
การประพฤติด้วยความดำริแห่งสัมมาสังกัปปะ ๑
การประพฤติด้วยความกำหนดแห่งสัมมาวาจา ๑
การประพฤติด้วยสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ ๑
การประพฤติด้วยความขาวผ่องแห่งสัมมาอาชีวะ ๑
การประพฤติด้วยความประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ ๑
การประพฤติด้วยความตั้งสติมั่นแห่งสัมมาสติ ๑
การประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ๑

จริยา ๘ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ

จบจริยากถา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2014, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาอีกอย่างหนึง ซึ่งควรตอบไว้ด้วย ณ ที่นี้ คือข้อที่ว่า พระอรหันต์บรรลุมรรคผลก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะเพิ่มเติมจนได้ฌานสมาบัติ และอภิญญาได้หรือไม่ ?


พูดถึงฌานสมาบัติก่อน ตามหลักที่ได้อธิบายมาแล้ว ผู้ปฏิบััติที่เป็นวิปัสสนายานิก ซึ่งไม่ได้ฌานมาก่อน เมื่อบรรลุอริยมรรค สมาธิย่อมแนบสนิทเป็นอัปปนาถึงขั้นปฐมฌาน และหลังจากนั้นไป ผู้บรรลุนั้นสามารถเข้าผลสมาบัติด้วยฌานระดับปฐมฌานั้น เพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารต่อไปได้เรื่อยๆ ในเวลาที่ต้องการ

ตามหลักนี้ ผู้บรรลุมรรคผลจึงได้ปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ ปัญหามีว่า พระอรหันต์ผู้ได้ฌานขั้นต่ำ จะเจริญสมถะต่อให้ได้ฌานสมาบัติที่สูงขึ้นไปได้หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ ถ้าตอบตามมติของอรรถกถาฎีกา ก็ว่าได้ และโอกาสที่จะได้ก็น่าจะมีมากขึ้นด้วย เพราะมีภาวะจิตที่ช่วยให้สมาธิประณีตเข้มแข็งยิ่งกว่าก่อน ท่านจึงอาจเจริญขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องเสริมการเสวยผลทางจิตที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร


ส่วนอภิญญา คำตอบก็คงว่าได้เช่นเดียวกัน แต่คงต้องพูดต่อไปว่า พระอรหันต์ไม่ขวนขวายที่จะทำอภิญญาที่ท่านยังไม่ได้ ทั้งนี้เพราะประการแรก พระอรหันต์ ย่อมไม่ปรารถนาฤทธิ์อำนาจพิเศษอะไรเพื่อประโยชน์แก่ตัวท่าน ประการที่สอง ไม่มีเหตุผลเพียงพอเกี่ยวกับประโยชน์เพื่อผู้อื่น


ในแง่การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นนั้น ถ้าการทำฤทธิ์ทำอภิญญาเป็นกระบวนการที่ยาก และกินเวลา อย่างที่บรรยายไว้ในวิสุทธิมัคค์ * พระออรหันต์ย่อมนำเอาเวลาและความเพียรนั้นไปใช้ในการสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน เป็นการทำอนุสาสนียปาฏิหาริย์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเลิศประเสริฐกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งปวง ดีกว่าจะมาวุ่นวายกับโลกิยอภิญญา ที่่เสี่ยงต่อโทษ มักนำให้มหาชนผู้ยังมีกิเลส ลุ่มหลงอยู่ในโลกแห่งความเลือนลาง วุ่นวายกับสิ่งที่ลับๆล่อๆ หรือผลุบๆโผล่ๆ ไม่อาจให้จะแจ้งชัดเจน และไม่ขึ้นต่อวิสัยของตน ทำให้ละเลยความเพียรพยายามที่จะทำการต่างๆตามเหตุผลสามัญของมนุษย์ กลายเป็นผู้คงคอยหวังพึ่งปัจจัยหรืออำนาจดลบันดาลจากภายนอก ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนา


พระอรหันต์ท่านใด แม้จะไม่ได้โลกิยภิญญา ไม่สามารถแสดงฤทธิ์อะไรได้ แต่ท่านก็มีฤทธิ์อย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์แบบอริยะ หรืออารยฤทธิ์ คือสามารถทำใจมองบุคคล และสิ่งที่น่าใคร่ น่าติดใจ ให้เป็นสิ่งอนิจจัง ตกอยู่ในคติธรมดาแห่งสังขาร ไม่น่าผูกใจรักฝากใจให้ ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่ประเสริฐกว่าการเดินน้ำ ดำดิน เหาะได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นฤทธิ์ที่มิใช่อริยะ หรือไม่ใช่อารยะฤทธิ์ อาจให้เกิดโทษได้ ไม่ทำให้หลุดพ้น


โลกิยอภิญญาทั้งหลาย ไม่ใช่สาระของพระพุทธศาสนา แม้พระพุทธศาสนาไม่เกิดขึ้น ไม่มีอยู่ อภิญญาเหล่านี้ก็มีได้ เป็นของมีมาก่อนพุทธกาล และมีได้ภายนอกพุทธศาสนา มิใช่เครื่องแสดงความประเสริฐของบุคคลหรือของพระพุทธศาสนา


คุณค่าและความประเสริฐของอภิญญาเหล่านี้ จะมีต่อเมื่อเป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส บรรลุอาสวักขัยแล้ว แต่ถ้าเป็นของปุถุชน ก็เป็นของมีโทษร้ายไม่ยิ่งหย่อนกว่าคุณ


หากเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราจากกิเลส บรรลุอาวักขัยเพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่ดำรงอยู่ในอริยภูมิที่ต่ำกว่านั้น เป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ ก็ยังประเสริฐกว่ามีอภิญญาเหล่านั้นครบทั้ง ๕ แต่ไม่มีความดีงามเช่นนั้น


ด้วยเหตุนี้ พระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าส่วนมาก จึงเป็นพระปัญญาวิมุต โดยมิได้เลื่อนเปลี่ยนฐานะขึ้นไปอีกแต่ประการใด และอีกมากมายหลายท่าน แม้เป็นอุภโตภาควิมุตแล้ว ก็มิได้ทำอภิญญา ๕ เหล่านั้น ให้เกิดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2014, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง *

* วิสุทธิ.2/197-276 (คงอาศัยเค้าจาก ขุ.ปฏิ.31/253-257/163-169) โดยเฉพาะวิสุทธิ.2/200 แสดงความยากของการทำฤทธิ์ว่า "แม้แต่การบริกรรมกสิณ ก็เป็นงานหนักแก่ผู้เริ่มต้น, หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้, สำหรับผู้ทำบริกรรมกสิณได้แล้ว การทำนิมิตให้เกิด ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้, ครั้นนิมิตเกิดแล้ว การขยายนิมิตนั้น จนบรรลุอัปปนา ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้, สำหรับผู้ได้อัปปนาแล้ว การฝึกฝนจิตโดยอาการ ๑๔ ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้, สำหรับผู้ฝึกจิตอย่างนั้นแล้ว การจะทำฤทธิ์ต่างๆ ก็เป็นงานหนัก หนึ่งในร้อยในพัน จะสามารถทำได้, แม้สำหรับผู้ทำฤทธิ์ได้แล้ว การรวมจิตเข้าฌานได้ฉับพลัน หนึงในร้อยในพันเท่านั้น จะมีได้"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร