วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2024, 13:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


บัวศกล เขียน:
คุณกุหลาบสีชา มีวิธีอย่างไร ในการเข้าไปเรียนรู้ต่อวิถีจิตในขณะแห่งภวังคะครับ

สิ่งที่คุณนำมาอธิบายแจกแจง เกิดจากการเรียนรู้จากภวังคจิตอันเป็นของจริง
จากวิธีปฏิบัติจริงของคุณ

หรือว่าคุณแค่เอาตำรามากาง แล้วมานั่งแจกแจงตามตำราครับ

ขอบคุณครับ


:b43: :b43: :b43:

ขออนุโมทนาคุณบัวศกลเป็นอย่างยิ่งที่ถามตรงเป็นคนแรก :b8: :b4:

กุหลาบสีชาก็จะขอตอบตรงว่า....

สิ่งที่กุหลาบสีชานำมาอธิบายแจกแจงนั้น
เป็นการตอบซึ่งมาจากคำถามที่ต้องการ “นิยาม”
หรือคำจำกัดความว่า คืออะไร และมีคุณลักษณะอย่างไร
รวมทั้งการแจกแจงประเภทขงสิ่งนั้นเป็นสำคัญ

ฉะนั้นจึงต้องตอบโดยการอาศัยจาก สุตตมยปัญญา
โดยอาศัย การอ่านจากตำรับตำรา การฟังธรรมจากผู้รู้ บวกกับ จินตมยปัญญา
การคิดพิจารณาใคร่ครวญ และนำมาเรียบเรียงด้วยความเข้าใจของตน เป็นหลัก

เพราะกุหลาบสีชาคงไม่อาจเอื้อมบัญญัตินิยาม
คุณลักษณะ ต้นสายปลายเหตุ ด้วยตนเอง
ดังเช่นที่พระพุทธองค์ อรรถกถาจารย์ หรือครูบาอาจารย์
ได้ทรงบัญญัติและบันทึกสืบทอดมาหรอกค่ะ


แต่หากมีคำถามที่ชัดเจนเพื่อให้อธิบายแจกแจงสภาวะ
ดังเช่นที่คุณบัวศกลถามมา ในเบื้องต้น

กุหลาบสีชาก็จะตอบจากประสบการณ์
อันเป็นสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติจริง
ซึ่งจะแตกต่างจากการตอบที่ผ่านมาค่ะ


ซึ่งในประเด็นนี้ จะขออนุญาตตอบในโอกาสต่อไปนะคะ :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


thanya sukjaem เขียน:
พอดีคิดได้ ขออนุญาติถาม คุณ กุหลาบสีชาครับ
แล้วภวังค์จิตที่ว่านี้จะอยู่กับตัวกับจิตตลอดไปหรือไม่ถ้าใช่ มีวิธีที่จะลบ
ภวังค์นั้นให้หมดหรือหายไปได้มั้ย และ ภวังค์จิตนั้นมีหรือให้ผลอย่างไร
กับจิตหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ


:b43: :b43: :b43:

เรียนคุณ thanya sukjaem :b8:

จิตนั้นมีธรรมชาติเกิดดับอย่างรวดเร็วสืบเนื่องกันอยู่เสมอ
เมื่อใดก็ตามที่จิตออกมารับรู้อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อนั้นจิตจะขึ้นสู่วิถีซึ่งเรียกว่า “วิถีจิต”
และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวิถี หรือวิถีจิตดับไป
ก็จะมี “ภวังคจิต” คือจิตที่ไม่ได้ออกมารับรู้อารมณ์
ซึ่งทำหน้าที่คอยรักษาภพชาติตั้งแต่เกิดจนตาย
เกิดคั่นสืบต่ออยู่ทุกครั้ง อาทิ เวลาหลับ หรือสลบ
ตราบเท่าที่เรายังดำรงขันธ์อยู่น่ะค่ะ

กุหลาบสีชาเข้าใจว่า....

วิธีลบ ภวังคจิต ให้หมด หรือหายไปเลยโดยไม่วนเวียนกลับมาอีกนั้น
ก็คือการเจริญปัญญาให้ถูกต้องตรงทางจนเห็นไตรลักษณ์ในตนเอง
สลัดคืนตัณหาจนอุปาทานบางลงเรื่อยๆ จนละอวิชชาได้เด็ดขาด


:b43: :b43: :b43:

ผิดถูกอย่างไรเชิญท่านผู้รู้อื่นๆ วินิจฉัยกันต่อไปได้ค่ะ :b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อินทรีย์ ๕ เขียน:
คุณอายะนี่ช่างสงสัยเสียจริงๆ ผมคิดเราสามารถเห็นได้นะ เราที่นี้หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติหมายถึงทุกๆคนที่เป็นนักกรรมฐาน มันมีความหมายว่าเราตามจิตในปัจจุบันได้ทันรึยัง... ถ้าจะไปดูจิตเกิด ดับ เกิด ดับ
ทีละดวง หรือเกิด ดับ เกิด ดับต่อเนื่องกันไป เหมือนหลอดไฟกระพริบแต่ดูแล้วมันสว่างต่อเนื่องกัน
ต้องแยกรูป แยกนามออกจากกันให้ได้เด็ดขาดเสียก่อน ถึงจะไปจับอาการอย่างที่คุณกล่าวถึง
เพราะสิ่งที่คุณอายะปฏิบัติก้เพื่อเห็นรุปเห็นนาม หรือก้เพื่อให้รู้ว่ารูปกับนามแยกกันออกเป็นสัดส่วนได้
ไม่ปนกันเหมือนหยดน้ำกลอกกลิ้งบนใบบัว อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือนั่งเอาชนะเวทนาทางกายให้ได้เสียก่อน เป็นวิธีแยกรูป แยกนามที่ได้ผลดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง.....แต่ถ้าไม่ชอบวิธีนี้ก็ให้ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งต่างๆมากระทบทางอินทรีย์ทั้ง6 แล้วกำหนดจิตให้ทันให้ได้แต่วิธีนี้ดูเหมือนง่ายแต่ลึกๆแล้วทำยาก


:b43: :b43: :b43:

เรียนคุณอายะ และคุณอินทรีย์ ๕ :b8:

ขออนุโมทนากับคุณอินทรีย์ ๕ ด้วยนะคะ
กุหลาบสีชาก็เห็นตรงกับท่านค่ะคุณอายะ

กุหลาบสีชาเองเคยลองปฏิบัติมาทั้ง ๒ แบบแล้ว
แบบแรกประหนึ่งว่ากายจะแตกดับ ระเบิดออกซะให้ได้
ทำไปทำมาคิดว่าจริตของตนเอง
น่าเหมาะกับแบบหลังมากกว่า
ปัจจุบันนี้จึงใช้วิธีนี้

"อะไรเข้ามา ก็ตามดูให้รู้เท่าทัน" น่ะค่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอขอบคุณ คุณน้องชาติสยาม ที่ช่วยมาเป็น "watchdog"
(ที่ดุมิใช่น้อย) ให้
ในยามที่กุหลาบสีชาติดภารกิจไม่สามารถมาตอบได้ :b32: :b13:

ระยะนี้อาจไม่ได้มาตอบ ให้ทันใจ
ก็ต้องขออภัยทุกท่านไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ :b8:

แต่ก็จะพยายามเข้ามาตอบทุกคำถาม
ซึ่วถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์
ตามกำลังสติปัญญาของตนเท่าที่จะสามารถทำได้ค่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณกุหลาบสีชาครับ

คุณยังไม่ได้ตอบคำถามผม
ผมเลยยังไม่ทราบว่าคุณเป็นคนที่ยอมรับความจริงได้หรือไม่แค่ไหน ?

วันนี้จึงขอนำความรู้จาก อภิธรรมตามพระไตรปิฎกมาฝากครับ


ตามธรรมดาชีวิตมนุษย์นั้นไม่ได้มีจิตชนิดเดียวหรือมิจิตประเภทเดียวเกิดขึ้นหรอกครับ

เอาเฉพาะวิบากจิตนะครับ ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือสัปดาห์หนึ่ง หรือเดือนหนึ่ง ไม่ว่ามนุษย์จะหลับหรือตื่นก็ตาม จะมีวิบากจิตประเภทต่าง ๆ สลับหมุนเวียนกันมาให้ผล หรือเกิดดับสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันตอลอดเวลา
เป็นอกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ ให้ผลเป็นทุกข์ช่วงกาลเวลาเวลาหนึ่งเช่น 5 นาที 10 นาที หรือนานกว่านี้ก็ได้ แต่คงไม่ทั้งคืนตามที่คุณเข้าใจเป็นแน่ ให้ผลเสร็จแล้วก็ดับไป
หรือ กุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ ให้ผลเป็นสุขช่วงกาลเวลาเวลาหนึ่งให้ผลเสร็จแล้วก็ดับไป

วิบากจิตที่เกิดมาให้ผลในจิตมนุษย์นั้น ให้ผลตามลำดับแห่งครุกรรม กรรมไหนหนักให้ผลก่อน กรรมใดทำบ่อย ๆ ทำเป็นอาจินต์ กรรมนั้นให้ผลก่อนและต่อเนื่องยาวนานหน่อย

เช่นก่อเวรเป็นอาจินต์ ถ้าเป็นอนันตริยกรรม วิบากจิตนั้นย่อมเกิดขึ้นให้ผลก่อน เช่นการทุบตีพ่อแม่ อกุศลวิบากจิตย่อมเกิดมาทำลายชีวิตให้ตายก่อนอายุขัย ก่อนเวลาอันควรได้
หรือก่อเวรบ่อยมาก อกุศลวิบากจิตที่เกิดดับมาให้ผลก็เจ็บไข้ได้ป่วย พลักพรากสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง ขัดสนจนยากติดต่อกันเป็นเวลานาน....นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ามนุษย์ที่ตื่นหรือนอนอยู่ดี ๆ ทำไมจึงเกิดภัยพิบัติบาดเจ็บล้มตายกันได้


เช่น เคยบรรลุฌานสมาบัติ 8 มาก่อน เป็นครุกรรม กุศลวิบากจิตนั้นย่อมเกิดขึ้นให้ผลก่อน ย่อมเป็นผู้มีปัญญาเฉียบคม ความประพฤติดีอยู่ในศีลในธรรม เรียนรู้ได้เร็ว สำเร็จการศึกษาเร็ว
หรือให้ทานรักษาศีลบ่อย ๆ เป็นอาจินต์ กุศลวิบากจิตเกิดดับมาให้ผลก็จะเป็นคนโชคดีร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง รวยขึ้น ๆ ตลอดเวลา.....นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ามนุษย์ที่ตื่นหรือนอนอยู่ดี ๆ ทำไมมีแต่โภคทรัพย์และบริวารมาอุปถัมภ์ค้ำชู




ในขณะที่มนุษย์นอนหลับ 8 ชั่วโมงจึงมี อกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง กามาวจรกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง รูปาวจรกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง วิบากจิตจึงมีทั้งจิตที่ตื่นรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะนอน และไม่รู้สึกตัวเลยจำอะไรไม่ได้เลยก็มีครับ ซึ่งไม่มีวิบากจิตชนิดใดเกิดดับ ๆ คงทีตลอด 8 ชั่วโมงหรอกครับ

ดังนั้นคำพูดของคุณที่อ้าง ตามตำราอภิธรรมสังคมัตตหะว่า
อ้างคำพูด:
คือจิตที่เกิดขึ้นในคนที่นอนหลับสนิทและไม่ฝัน
หรือคนที่หมดสติจนไม่รู้สึกตัวเลย
เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ



ข้อความนี้ของคุณจึงไม่เป็นจริงครับ

เราต้องกล่าวธรรมตามเหตุและผลจริงในชีวิตจริงครับ



ที่กล่าวว่าเป็นองค์แห่งภพนั้น หมายถึงภวังคจิตนั้น ๆ รักษาภพของจิตชนิดนั้น ๆ ครับ ว่าถ้าตายตอนนั้นตายในขณะนั้นแล้ว จะไปเกิดในภพไหนครับ อย่างนี้จึงกล่าวว่าเป็นองค์แห่งภพครับ
ไม่ได้รักษาภพมนุษย์ตามที่คุณกุหลาบสีชาเข้าใจหรอกครับ

หวังว่าคงพอจะเข้าใจนะครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 5

แนวปฏิบัติ: สัมมา อรหัง
อายุ: 0
ที่อยู่: สยามประเทศ

 ข้อมูลส่วนตัว


ประท้วงคนล็อคกระทู้ มาล็อคฉานทามมายยะ กำลังจะจิกพวกนกขมิ้นบ่มแก๊สซักหน่อย ชิ....อีแร้งอย่างเราเลยคอตกเลย ก้ากกกกกกก

.....................................................
คนเก่งตายหมดแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดียามดึกค่ะ คุณมหาราชันย์ :b8:

ดูเหมือนว่าคุณมหาราชันย์จะใจร้อนมิใช่เล่นเลยนะคะ :b12:
ต้องอภัยที่ไม่ได้ตอบอย่าง “ทันใจ”
แต่การยังไม่ตอบคำถามของคณมหาราชันย์
ก็มีเหตุผลสำหรับกุหลาบสีชาเช่นกันค่ะ

เพราะกุหลาบสีชาคิดว่า

หากตนเองได้รับคำตอบที่ถามคุณเช่นนั้นไปก่อน
เรื่องที่คุณเช่นนั้นให้ระบุประเภทของภวังคจิต
ซึ่งกุหลาบสีชาได้ถามกลับไปว่า
การระบุประเภทดังกล่าวนั้น
ใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งประเภท
เพราะการแบ่งประเภทของจิตนั้น
มีวิธีแบ่งหลายประเภทด้วยกัน
ขึ้นอยู่กับเราใช้เกณฑ์ใดมาแบ่ง

ซึ่งในประเด็นนี้
กุหลาบสีชาคิดว่าจะทำให้การสนทนาของเราท่านทุกคน
ต่อไปนั้นเป็นไปอย่างตรงประเด็นมากขึ้น
แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบใดใดกลับมาจนบัดนี้


อย่างไรก็ตาม.....

ตอนนี้คุณมหาราชันย์ก็ได้ถามมาเองอีกครั้ง
และให้คำตอบด้วยตนเองแล้ว
ขอบคุณมากนะคะที่กรุณาชี้แจง
ให้กุหลาบสีชาและท่านอื่นๆได้เข้าใจชัดขึ้นว่า

ภวังคจิตเป็น วิบากจิตและทำกิจรักษาองค์แห่งภพอย่างไร

อย่างไรก็ตาม

การที่คุณมหาราชันย์เข้าใจว่า กุหลาบสีชาเข้าใจว่า

“ไม่ได้รักษาภพมนุษย์ตามที่คุณกุหลาบสีชาเข้าใจหรอกครับ”

มหาราชันย์ เขียน:
ที่กล่าวว่าเป็นองค์แห่งภพนั้น หมายถึงภวังคจิตนั้น ๆ รักษาภพของจิตชนิดนั้น ๆ ครับ
ว่าถ้าตายตอนนั้นตายในขณะนั้นแล้ว จะไปเกิดในภพไหนครับ อย่างนี้จึงกล่าวว่าเป็นองค์แห่งภพครับ
ไม่ได้รักษาภพมนุษย์ตามที่คุณกุหลาบสีชาเข้าใจหรอกครับ


ขอให้คุณมหาราชันย์ลองพิจารณาสิ่งที่กุหลาบสีชาได้ตอบไปแล้ว
ตามข้อความดังนี้นะคะ
จะได้เข้าใจมากขึ้นโดยปราศจากอคติ


กุหลาบสีชา เขียน:
ภวังคจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่ รักษาองค์แห่งภพ หมายความถึง รักษากรรมวิบากของรูปธรรม นามธรรม สืบต่อจากปฏิสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ให้ดำรงอยู่ได้ในภพนั้นๆ ตราบเท่าอำนาจแห่งชนกกรรม(กรรมที่นำเกิด)จะส่งผลให้เป็นไปเท่าที่อายุสังขาร จะพึงตั้งอยู่ได้ ภวังคจิตนี้ เป็นหน้าที่ตามธรรมดาของจิต ที่จะต้องทำกิจนี้อยู่เสมอ จิตจะหยุดทำกิจนี้ ก็ต่อเมื่อขณะที่มีอารมณ์ใหม่ ในปัจจุบันมาคั่นตอนให้จิตขึ้นวิถี รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเสียเท่านั้น พ้นจากการขึ้นวิถี รับอารมณ์ใหม่แล้ว จิตจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาองค์แห่งภพนี้ อยู่เสมอตลอดเวลา


กุหลาบสีชา เขียน:
วิธีลบ ภวังคจิต ให้หมด หรือหายไปเลยโดยไม่วนเวียนกลับมาอีกนั้น
ก็คือการเจริญปัญญาให้ถูกต้องตรงทางจนเห็นไตรลักษณ์ในตนเอง
สลัดคืนตัณหาจนอุปาทานบางลงเรื่อยๆ จนละอวิชชาได้เด็ดขาด


:b43: :b43: :b43:

มหาราชันย์ เขียน:
ในขณะที่มนุษย์นอนหลับ 8 ชั่วโมงจึงมี อกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง กามาวจรกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง รูปาวจรกุศลวิบากจิตเกิดดับ ๆ บ้าง วิบากจิตจึงมีทั้งจิตที่ตื่นรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะนอน และไม่รู้สึกตัวเลยจำอะไรไม่ได้เลยก็มีครับ ซึ่งไม่มีวิบากจิตชนิดใดเกิดดับ ๆ คงทีตลอด 8 ชั่วโมงหรอกครับ


ส่วนที่คุณมหาราชันย์กล่าวในข้างต้นนี้ กหุลาบสีชาเห็นด้วยค่ะ
แน่นอนค่ะ ไม่มีจิตประเภทไหนที่เกิด-ดับคงที่ได้หรอกค่ะ
เพราะเพียงคำว่าเกิดและดับตลอดเวลาก็บอกความหมายอยู่ในตัวเองแล้ว

แต่ขอปฏิเสธว่าไม่ได้กล่าวอย่างนี้นะคะ

มหาราชันย์ เขียน:
ดังนั้นคำพูดของคุณที่อ้าง ตามตำราอภิธรรมสังคมัตตหะว่า
อ้างอิงคำพูด:
คือจิตที่เกิดขึ้นในคนที่นอนหลับสนิทและไม่ฝัน
หรือคนที่หมดสติจนไม่รู้สึกตัวเลย
เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ


กุหลาบสีชากล่าวเช่นนี้ต่างหากค่ะ

กุหลาบสีชา เขียน:
ตัวอย่างของภวังคจิต
คือจิตที่เกิดขึ้นในคนที่นอนหลับสนิทและไม่ฝัน
หรือคนที่หมดสติจนไม่รู้สึกตัวเลย
เป็นจิตที่เป็นองค์แห่งภพ


มีคำว่า “ตัวอย่าง” ด้วยนะคะ
คำว่าตัวอย่าง หมายความว่าอย่างไรคะ :b10:

หมายความเป็นเพียงการยกตัวอย่าง
ซึ่งในทางตำรามีการกล่าวถึงกินความมากกว่านั้น
แต่กุหลาบสีชายังไม่ได้กล่าวถึง
เป็นเพียงการยกตัวอย่างที่เด่นชัดประกอบ
เพื่อให้เข้าใจโดยง่ายก่อนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หากการอธิบายของกุหลาบสีชา
ทำให้คุณมหาราชันย์และท่านๆอื่นๆ เข้าใจคลาดเคลื่อนไป
ก็ต้องอภัยอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ
:b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ดังนั้นเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภวังคจิตมากขึ้น
จึงขออธิบายต่อให้ละเอียดชัดเจนขึ้นดังนี้ค่ะ

ภวังคจิต เกิดขึ้นในขณะใดที่จิตไม่รับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖
เป็นจิตตั้งแต่ปฏิสนธิคือ เกิดจนถึงจุติคือตาย
ถึงแม้จะเป็นจิตที่ไม่รับอารมณ์แต่ก็ทำงานอยู่ตลอดเวลาคือการเกิด-ดับ
มีกิจเดียวคือ “ทำกิจสืบต่อดำรงภพชาติ ทำให้สภาพที่บัญญัติว่าสัตว์มีชีวิตอยู่ได้"”
ตราบเท่าที่ยังอยู่ในวัฏฏสงสาร
(อธิบายอย่างนี้คงไม่ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วนะคะ) :b16:

อย่างไรก็ตาม ในทางพระอภิธรรมโดยแท้จริงนั้น

ภวังคจิตนั้นเกิดมากมายนับไม่ถ้วนขณะที่ไม่รู้สึกตัว
การที่เราไม่คิดนึก
ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต
ขณะที่หลับแล้วไม่ฝัน หรือสลบ
จิตขณะนั้นเป็นภวังคจิต
มิฉะนั้นก็ไม่มีชีวิตสืบต่อ


ยิ่งไปกว่านั้น ยังกล่าวกันว่า
ขณะตื่นก็มีภวังคจิตเกิดนับไม่ถ้วน
ภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆ
และในระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆก็มีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ


ภวังคจิตนั้นเป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิต
ซึ่งเป็นจิตขณะแรกของชาติหนึ่งๆ
เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว
ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น
เป็นจิตขณะที่สอง
และเป็นภวังคจิตดวงแรกของชาตินั้น

ภวังคจิตนับ เป็น วิบากจิต
เป็นผลของกรรมเดียวกันกับการที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด
ในชาติหนึ่งจะมีปฏิสนธิจิตดวงเดียวเท่านั้น
แต่มีภวังคจิตนับไม่ถ้วน
ไม่ใช่เฉพาะภวังคจิตดวงแรกเท่านั้น
แต่ภวังคจิตทั้งหมดในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด


กล่าวกันว่า

ภวังคจิตจึงเปรียบเหมือนกระแสนํ้าที่สิ้นสุดลง
เมื่ออารมณ์ปรากฏทางทวารหนึ่งทวารใดใน ๖ ทวาร
เมื่อปัญจทวารวิถีจิตหรือมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว
กระแสภวังคจิตก็เกิดสืบต่อไปอีก
เมื่ออารมณ์กระทบทวารหนึ่งทวารใดในปัญจทวาร
กระแสภวังคจิตจะสิ้นสุดลง
แล้ววิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น
แต่การรู้อารมณ์จะยังไม่เกิดทันที

เช่น เมื่อเสียงกระทบกับโสตปสาท
จิตได้ยินจะเกิดทันทีไม่ได้
ภวังคจิตยังเกิดดับสืบต่อก่อนโสตทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น
นึกถึงเสียงที่กระทบและจิตได้ยินเกิดขึ้น
ภวังคจิตไม่ได้ทำกิจนึกถึงเสียงที่กระทบโสตปสาท
ภวังคจิตไม่รู้เสียงนั้น
ภวังคจิตกระทำกิจของตนเองคือดำรงสืบต่อภพชาติไว้
และมีอารมณ์ของตนเอง
คือมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต

แม้ว่าภวังคจิตไม่รู้เสียงที่กระทบโสตปสาท
แต่เสียงนั้นก็กระทบภวังคจิต จึงทำให้ภวังคจิตไหว


ต่อจากนั้นกระแสภวังค์ก็สิ้นสุดลง
แล้วโสตทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้เสียงนั้น
เมื่อรูปกระทบทวารและกระทบภวังคจิต
ภวังคจิตที่รูปกระทบเป็น “อตีตภวังค์”
ภวังคจิตต่อจากอตีตภวังค์เป็น “ภวังคจลนะ”
คือเป็นภวังคจิตที่ไหวเพราะอารมณ์กระทบ
แม้ว่าจะไม่รู้อารมณ์นั้นก็ตาม
ภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ก่อน
ปัญจทวารวัชชนจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์นั้นเป็น “ภวังคุปัจเฉทะ”

อย่างไรก็ตาม...

ชื่อต่างๆที่บัญญัติขึ้นเรียกภวังคจิตนั้นไม่ได้หมายถึงกิจต่างๆ
เพราะภวังคจิตมีเพียงกิจเดียวเท่านั้นคือ “ดำรงภพชาติของสัตว์”
ชื่อต่างๆนั้นจึงเป็นเพียงการชี้ให้เห็นว่าเป็นภวังคจิตสามดวงสุดท้าย
ก่อนที่กระแสภวังค์จะสิ้นสุดลง
และจิตขึ้นสู่วิถี เป็นวิถีจิต
เพื่อเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใหม่
เมื่อวิถีจิตสิ้นสุดลง
กระแสภวังค์ก็เกิดสืบต่อ
ดังนั้นการเกิดดับสืบต่อกันของจิตจึงไม่ขาดสายเลย

อธิบายโดยสรุปว่า

เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดแล้ว
มโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นสืบต่อ
โดยมีภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิต
เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว กระแสภวังค์ก็เกิดดับสืบต่ออีก

นอกจากนี้

อาจารย์บุญมี เมธางกูร ท่านได้กล่าวถึง ภวังคจิต ไว้ในหนังสือ ความฝัน อย่างน่าสนใจว่า

ถ้านักศึกษาจะสังเกตให้ดี ๆ
ก็จะเห็นภวังคจิตในวิถีทางปัญจทวาร และ มโนทวาร (รวมการฝันด้วย)
ล้วนแต่มีภวังค์คั่นอยู่ทั้งนั้น สิ้นวิถีจะต้องมีภวังค์เสมอ
เช่น ขึ้นต้นก็เป็นภวังค์แล้ว ตั้งแต่อดีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ
ทั้ง ๓ ตัวนี้ได้ชื่อว่าเป็นภวังค์ทั้งหมด
เพียงแต่ชื่อต่างกัน ก็แปลว่ามันได้รับการกระทบกระเทือนไปตามลำดับ
แต่ยังไม่ได้ออกมาทำความรู้สึก หรือยังไม่ขึ้นวิถีทำการงานจริง ๆ
และสุดท้ายคือเมื่อสิ้นสุดวิถีแล้วก็มีภวังค์อีก

ดังนั้นก็จะเห็นว่าคนเรานี้มีภวังค์มากเหลือเกิน
ตั้งแต่เกิดจนกว่าจะตายไปจนนับไม่ไหว
ชั่วขณะที่ท่านทั้งหลายฟังผมนี้ภวังคจิตก็เกิดขึ้นไม่ทราบว่าเท่าใดแล้ว
เพราะเมื่อฟังแล้วคำหนึ่งหรือสิ้นสุดลงครั้งหนึ่งก็เป็นภวังค์ตั้งมากมาย

จิตที่เป็นภวังค์นี้หมายความว่าจิตที่ไม่มีความสำนึกรู้สึกตัวเลยแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร


ด้วยเหตุนี้เอง การที่เรานั่งฟังธรรมะก็ดี ดูภาพยนตร์ก็ดี
คิดว่ากำลังสนุกสนานกำลังร่าเริงใจ
ก็ไม่ได้แสดงว่าเราตื่นอยู่ตลอดเวลา
หากแต่มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย


:b43: :b43: :b43:

ท่านผู้รู้อื่นๆ มีความเห็นเช่นไร วินิจฉัยได้ตามอัธยาศัยค่ะ :b8:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดียามดึกค่ะ คุณโคตรภู :b8:

โคตรภู เขียน:
อย่างไรถ้าคิดว่าเป็นธรรมทานก็ขอเชิญคุณเช่นนั้น กับคุณกุหลาบสีชา สนทนาต่อในกระดานนี้แหละครับเพราะผมเอง ตามอ่านแล้วยังงงอยู่นะครับ สำหรับคำอธิบายของคุณกุหลาบสีชา เหมือนจะบอกว่า กรรม ทั้งหลายสะสมอยู่ในจิต และมีการถ่ายทอดกันไป ตรงนี้มันมิกลายเป็นว่าจิตเที่ยงหรือครับ เพราะตรงนี้ ผมเองศึกษาอยู่ยังไม่เข้าใจ กรรมมันส่งผลอย่างไรเมื่อคนๆ หนึ่งตายลง จิตที่สะสมกรรมตามที่กุหลาบสีชาอธิบายมา มันมาปฏิสนธิใหม่ในรูปใหม่ ขันธ์ 5 ใหม่หรือครับ เพื่อจะได้ให้คนๆ นั้นรับผลของกรรมต่อนะครับ


:b43: :b43: :b43:

องค์ประกอบของมนุษย์นั้นมีเพียงขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ในบรรดาขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไม่มีสักขันธ์เดียวที่สามารถดำรงอยู่ คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ดับสลายไปตามกาลเวลาและเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

ในทางพระอภิธรรม กล่าวถึงเรื่องถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

เมื่อจิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ (จุติจิต)
ที่ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้
เมื่อดับแล้ว จิตที่เกิดต่อทำปฏิสันธิกิจ คือ สืบต่อจากชาติก่อน
เป็น “ปฏิสนธิจิต” หรือจิตดวงแรกของชาตินี้
เกิดต่อจาก “จุติจิต” ของชาติก่อน
ไม่มีจิตอื่นคั่นระหว่าง “จุติจิต” ของชาติก่อนกับ “ปฏิสนธิจิต”

เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับไป
ปฏิสนธิจิตต้องเกิดขึ้นสืบต่อทันทีจากจุติจิต


ปฏิสนธิจิตจึงหมายความถึงจิตดวงแรกของชาตินี้
ในชาติหนึ่งนั้นจะมีปฏิสนธิจิตขณะเดียว
และเมื่อปฏิสนธิจิตเกิดแล้ว ก็จะต้องมีจุติอีก
แล้วก็มีปฏิสนธิอีก จุติอีก ปฏิสนธิอีก
ตลอดเรื่อยไปในสังสารวัฏ
ตราบใดที่ยังมีการเกิดดับของกระแสจิต
ที่เป็นผลมาจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ว่าสิ่งนี่เป็นตัวเราของเรา
อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในวงจรปฏิจสมุปบาท

และเมื่อ "ปฏิสนธิจิต" ซึ่งเป็น "จิตชาติวิบาก" ดับไปแล้ว.
"ปฏิสนธิจิต" นั้นเองที่เป็น "อนันตรปัจจัย"
คือทำให้ "จิตดวงขณะต่อไป" เกิด-สืบต่อ ทันที
จิตขณะต่อไป ที่เกิด-สืบต่อจาก "ปฏิสนธิจิต" ทันทีนั้น
กระทำ "ภวังคกิจ” ขณะนั้น จึงไม่ใช่ "วิถีจิต"
และ "ภวังคจิต" เป็น "วิบากจิต"

ฉะนั้น"กรรม"
จึงไม่ได้เป็น "ปัจจัย" เพียงแค่ทำให้ "ปฏิสนธิจิต"เกิดขึ้นแล้วดับไป เท่านั้น
แต่ "กรรม” ยังเป็น "ปัจจัย" ทำให้ "วิบากจิต" เกิดขึ้น
และกระทำ "ภวังคกิจ" สืบต่อจาก "ปฏิสนธิจิต" อีกด้วย.


ดังนั้น เราอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า

การเวียนว่ายตายเกิด หรือสังสารวัฏ ตามหลักทางพระพระพุทธศาสนานั้น
คือ การเกิดดับกระแสจิตที่เป็นผลมาจากความยึดมั่นในอุปทานขันธ์
ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวเราของเรา
เมื่อมีการยึดมั่นในอุปทานขันธ์ว่ามีตัวเราของเรา
ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์สุข ทุกข์ วนเวียนเป็นสังสารวัฏอยู่ร่ำไป


แต่จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิใด
ขึ้นอยู่กับ “กุศลกรรม” และ “อกุศลกรรม” ที่กระทำไว้
ซึ่งถูกสั่งสมเป็นวิบากกรรม เป็นตัวกำหนดภาวะแห่งชีวิต
หรือ ภพภูมิที่เราจะไปเกิดใหม่อีกด้วยค่ะ :b1:

อย่างไรก็ตาม

กฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิดตามหลักพระพุทธศาสนานี้
ก็ยังได้ถูกกำหนดไว้ตามหลักพีชนิยาม
(Physical organic order, Biological law)
ซึ่งก็เป็นกฏธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดยีนส์จากบรรพบุรุษตามหลักพันธุกรรมศาสตร์
และตามหลักชีววิทยาเจริญพันธุ์ (Reproductive Biology) ในปัจจุบันเช่นกัน

เช่น

นาย ก. เป็นพ่อของนาย ข
นาย ข. เป็นพ่อของนาย ค.
นาย ค. ย่อมได้รับยีนส์จำนวนหนึ่งมาจากนาย ก. ผู้เป็นปู่

ยีนส์ของนาย ก. ย่อมเวียนว่ายไปเกิดอยู่ในเซลส์ภายในร่างของนาย ค.
นาย ค. จึงมีรูปร่างหน้าตา มีพฤติกรรมต่างๆ เหมือนปู่ คือ นาย ก.
ยีนส์ของนาย ก. เวรว่ายตายเกิดต่อไป
จนชั่วลูกหลานตามเงื่อนไขของเหตุปัจจัย
แต่นาย ค. ย่อมไม่ใช่นาย ก.
และย่อมไม่ใช่ตัวนาย ก.
มาเกิดเป็นนาย ค. อย่างแน่นอน

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า
การถือกำเนิดใหม่ในภูมิแห่งมนุษย์
ที่มีลักษณะ รูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง สุขภาพ ฐานะความเป็นอยู่
อุปนิสัย สติปัญญา ยุคสมัย เวลา และสถานที่เกิด เป็นอย่างไรนั้น
(คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ และ ปโยคสมบัติ)
จึงเป็นผลทุกอย่างอันเกิดมาจากการสร้างเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เป็นวงจรที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” นั่นเอง

:b43: :b43: :b43:

คำตอบข้างต้นของกุหลาบสีชา
คงทำคุณโคตรภูเข้าใจได้ไม่ยากนะคะว่า

จิตเที่ยงหรือไม่ และจิตที่สะสมกรรมตามที่กุหลาบสีชาอธิบายมา
มันมาปฏิสนธิใหม่ในรูปใหม่ ขันธ์ ๕ ใหม่หรือไม่และอย่างไร
:b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


มนตรา เขียน:
ประท้วงคนล็อคกระทู้ มาล็อคฉานทามมายยะ กำลังจะจิกพวกนกขมิ้นบ่มแก๊สซักหน่อย ชิ....อีแร้งอย่างเราเลยคอตกเลย ก้ากกกกกกก


:b43: :b43: :b43:

ข้าพเจ้าก็แจ้งเหตุผลไปแล้วนี่เจ้าคะ...ท่านมนตรา
อยากสนทนาวิวาทะ ก็เชิญได้ในกระทู้นี้....ไม่มีใครห้ามนี่นา :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตที่เป็นภวังค์นี้หมายความว่าจิตที่ไม่มีความสำนึกรู้สึกตัวเลยแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร

ด้วยเหตุนี้เอง การที่เรานั่งฟังธรรมะก็ดี ดูภาพยนตร์ก็ดี
คิดว่ากำลังสนุกสนานกำลังร่าเริงใจ
ก็ไม่ได้แสดงว่าเราตื่นอยู่ตลอดเวลา
หากแต่มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย



ในเมื่อจิตทุกดวงมีผัสสะ
จิตทุกดวงมีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น


คำอธิบายนี้ของคุณกุหลาบสีชา จะอธิบายในเรื่องนี้ว่าอย่างไร?
จะไม่เป็นการขัดแย้งกับความเป็นจริงหรือครับ ?



ขอถามทีละประเด็นก็แล้วกันครับ เดี๋ยวจะสับสน
เพราะอ่านคำอธิบายของคุณแล้วมันขัดแย้งกันเอง


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตที่เป็นภวังค์นี้หมายความว่าจิตที่ไม่มีความสำนึกรู้สึกตัวเลยแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร

ด้วยเหตุนี้เอง การที่เรานั่งฟังธรรมะก็ดี ดูภาพยนตร์ก็ดี
คิดว่ากำลังสนุกสนานกำลังร่าเริงใจ
ก็ไม่ได้แสดงว่าเราตื่นอยู่ตลอดเวลา
หากแต่มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย




จิตที่เป็นภวังค์ของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม และพระอริยะเจ้าละครับ....มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย....

เป็นจริงตามที่คุณกุหลาบสีชาแสดงมาจริงหรือครับ ???



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมสวัสดียามดึกค่ะ..ท่านมหาราชันย์ :b8:

นอนดึกเหมือนกันนะคะ...ยังเห็นออนไลน์อยู่เลย :b12:

กุหลาบสีชา เขียน:
จิตที่เป็นภวังค์นี้หมายความว่าจิตที่ไม่มีความสำนึกรู้สึกตัวเลยแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือมโนทวาร

ด้วยเหตุนี้เอง การที่เรานั่งฟังธรรมะก็ดี ดูภาพยนตร์ก็ดี
คิดว่ากำลังสนุกสนานกำลังร่าเริงใจ
ก็ไม่ได้แสดงว่าเราตื่นอยู่ตลอดเวลา
หากแต่มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย


มหาราชันย์ เขียน:
ในเมื่อจิตทุกดวงมีผัสสะ
จิตทุกดวงมีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น

คำอธิบายนี้ของคุณกุหลาบสีชา จะอธิบายในเรื่องนี้ว่าอย่างไร?
จะไม่เป็นการขัดแย้งกับความเป็นจริงหรือครับ ?

ขอถามทีละประเด็นก็แล้วกันครับ เดี๋ยวจะสับสน
เพราะอ่านคำอธิบายของคุณแล้วมันขัดแย้งกันเอง

เจริญในธรรมครับ


:b43: :b43: :b43:

เหตุใดท่านมหาราชันย์จึงคิดว่าขัดแย้งอย่างไรคะ :b6: :b10:

กุหลาบสีชามีความเห็นว่าไม่น่าจะขัดแย้งกันแต่อย่างใดเลยนะคะ
หากพยายามทำความเข้าใจ...และลองพิจารณาอย่างแยบคายดู :b4:

ขณะใดที่ยังไม่ออกมารับอารมณ์นั่นคือ ภวังคจิต
แต่เมื่อใดที่อารมณ์มากระทบประสาทจิตตื่นจากวังค์
จิตก็จะดำเนินขึ้นสู่ วิถีจิต รับรู้หรือเสวยอารมณ์

แต่เพราะธรรมชาติของจิตเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก
การเกิดดับสลับยกขึ้นสู่วิถีและตกลงมาสู่ภวังค์ใหม่นั้น
จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง จนเราแทบจะไม่รู้สึกตัว


(ในตำรากล่าวกันว่าขณะหนึ่งจิตนั้นนั้น ประกอบด้วย ๓ ลักษณะ
คือ ๑. อุปปาทะ -เกิดขึ้น ๒. ฐิติ - ตั้งอยู่ ๓. ภังคะ - ดับไป)


กุหลาบสีชาจึงมีความเห็นว่า
ท่านจึงอุปมาไว้ตามตำราว่า

จิตที่อยู่ในภวังค์นั้น
จึงเสมือนการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย


เพื่อให้ท่านมหาราชันย์ได้พิจารณาและเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น

กุหลาบสีชาจึงขออนุญาตยกธรรมบรรยายของพระสุปฏิปัณโณผู้ที่ได้ชื่อว่า
ทรงภูมิปริยัติและเชี่ยวชาญทั้งการปฏิบัติสูงสุดของบ้านเราท่านหนึ่งมาอธิบาย


และเชื่อว่า ด้วยการอรรถาธิบายดังกล่าวนี้
คงจะไม่เป็นการเกินกำลัง “ภูมิรู้” ของท่านมหาราชันย์
ที่จะทำความเข้าใจให้กระจ่างได้ ดังนี้นะคะ :b12:

:b43: :b43: :b43:

จิตนี้แสดงอาการแก่ทางทวารทั้ง ๖ ดั่งที่ได้เคยอธิบายมาแล้ว
คือออกมารับรู้รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ทางจักขุทวาร
รับสัททารมณ์ (อารมณ์คือเสียง) ทางโสตทวาร
รับคันธารมณ์ (อารมณ์คือกลิ่น) ทางฆานทวาร
รับรสารมณ์ (อารมณ์คือรส) ทางชิวหาทวาร
รับโผฏฐัพพารมณ์ (อารมณ์คือโผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายถูกต้อง) ทางกายทวาร
รับธัมมารมณ์ (อารมณ์คือธัมมะ คือเรื่องของรูปเสียงเป็นต้น
ที่ไปประสบผ่านมาแล้วในอดีต (ทางมโนทวาร)

ในตอนนี้การแสดง “วิถีจิต”
คือทางเดินของจิตแยกเป็นสอง

คือทางปัญจทวาร (ทวารทั้ง ๕) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ่น กาย ส่วนหนึ่ง
ทางมโนทวารอีกส่วนหนึ่ง
และจิตโดยปรกติเมื่อยังไม่ออกมารับอารมณ์ดั่งกล่าวแล้วเรียกว่า “ภวังคจิต”

ภวังคะ แปลว่า องค์แห่งภพ ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์ภพ
แต่โดยความหมาย หมายถึงจิตที่เป็นปกติยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์


คราวนี้เมื่อมีอารมณ์ ๕ มากระทบกับประสาททั้ง ๕ คือ
มีรูปมากระทบจักขุ เสียงมากระทบโสตะ
กลิ่นมากระทบฆานะ รสากระทบชิวหา
และโผฏฐัพพะมากระทบกาย ก็มากระทบถึงจิต

จิตที่ยังอยู่ในภวังค์นี้ตื่นจากภวังค์
ออกมารับ “อาวัชชนะ” คือคำนึงอารมณ์
เมื่อเป็นอาวัชชนะก็เป็น “วิญญา”

คือถ้ารูปมากระทบก็ได้เก็บ อารมณ์นั้นเป็นจักขุวิญญาณ
ถ้าเสียงมากระทบก็ได้ยิน อารมณ์นั้นก็เป็นโสตวิญญาณ
ถ้ากลิ่นมากระทบก็ได้กลิ่น อารมณ์เป็นฆานวิญญาณ
เมื่อรสมากระทบก็รู้รส อารมณ์นั้นเป็นชิวหาวิญญาณ
เมื่อสิ่งที่กายถูกต้องมากระทบก็รับกระทบ
อารมณ์นั้นเป็นกายวิญญาณ

เมื่อเป็นวิญญาณ ต่อไปก็เป็น “สัมปฏิจฉันนะ” คือ รับอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “สันตีรณะ” คือ พิจารณาอามรณ์
ต่อไปก็เป็น “โวฏฐวนะ” กำหนดอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “ชวนะ” คือ แล่นไปในอารมณ์
ต่อไปก็เป็น “ตทาลัมพะ” คือ หน่วงอารมณ์ นั้น

แล้วก็กลับตกภวังค์ใหม่

เปรียบเหมือนอย่างว่า “ภวังคจิต” เป็นพื้นทะเล
ส่วน “วิถีจิต” คือทางดำเนินของจิตดังกล่าวที่มานั้น
เป็นคลื่นทะเลที่เกิดขึ้น
คลื่นที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นคลื่นทะเล
ปรากฏขึ้นมาแล้วกลับตกไปยังพื้นทะเล


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


มหาราชันย์ เขียน:
จิตที่เป็นภวังค์ของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม
และพระอริยะเจ้าละครับ....มีการนอนหลับคั่นอยู่ระหว่างทาง
เป็นการนอนหลับสั้น ๆ ชนิดที่เรารู้สึกตัวไม่ได้เลย....

เป็นจริงตามที่คุณกุหลาบสีชาแสดงมาจริงหรือครับ ???

เจริญในธรรมครับ


:b43: :b43: :b43:

เป็นจริงหรือไม่...เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อย :b10:

กุหลาบสีชาเองก็ปรารถนาจะทราบคำตอบเช่นกันค่ะ
โดยเฉพาะประเด็นของพระอริยะเจ้า (ระดับใดบ้าง) นั้น
หากมีผู้รู้จะกรุณามาวิสัชชาก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง :b8:

ดังนั้นหากคำว่า “ความจริง” ที่ท่านมหาราชันย์ถามมา
หมายถึงความจริงในระดับปรมัตถ์สัจจะ (Ultimate Truth)
กุหลาบสีชาก็ต้องขออภัยที่คงยังตอบให้ไม่ได้
คงต้องรอผู้รู้แจ้งมาวิสัชนากันต่อไปนะคะ


แต่ตามตำราที่เคยอ่านพบว่ามีผู้รู้ท่านได้กล่าวไว้เช่นนั้นค่ะ

:b43: :b43: :b43:

แล้วท่านมหาราชันย์มีความเห็นต่อประเด็นนี้อย่างไรคะ? :b10:

เจริญในธรรมเช่นกันค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณกุหลาบสีชา


การที่ผมตั้งคำถามให้คุณตอบเรื่องภวังค์จิตที่คุณยืนยันว่าคุณมีความเข้าใจเรื่องภวังคจิตจริงแท้แค่ไหน ?

เพื่อที่ผมจะได้แลกเปลี่ยนความรู้บ้างว่าที่ผมรู้มานั้นมีอย่างไร


การทำสมาธิจนจิตเป็นภวังค์ตามที่คุณนำเสนอมาจากกระทู้ก่อนนั้นมันไม่เป็นจริงหรอกครับ
จิตที่มาทำหน้าที่เป็นภวังคจิตนั้นไม่ได้มีความหลับเป็นพื้นทะเลตามความเข้าใจของคุณหรอกครับ


จิตที่เป็นพื้นฐานของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรฉานนั้น คือ อกุศลวิบากครับ และทำหน้าที่เป็นภวังค์ด้วย คือรักษาภพในอบายนั้น ๆ ด้วย สัตว์นั้นจึงอาจเกิดในอบายซ้ำแล้วซ้ำอีกได้นับชาติไม่ถ้วน

จิตจิตที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่กามาวจรอกุศลวิบากหรือผลบาป และกามาวจรกุศลวิบากหรือผลบุญมาให้ผลสลับเปลี่ยนกัน การที่กามาวจรอกุศลวิบาก หรือกมาวจรกุศลวิบากมาให้ผลต่อเนื่องกันยาวนานเมื่อใด จิตกามาวจรอกุศลวิบาก หรือกมาวจรกุศลวิบากอย่างนี้เรียกว่า จิตมาทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ แต่ได้หลับ หรือสลบไปครับ


มนุษย์ก็จะง่วงและหลับหรือสลบ จิตที่ทำให้ง่วงและหลับอย่างนี้เรียกว่าจิตที่มีถีนมิทธะ หรือนิวรณ์ครอบงำครับ ไม่ใช่ภวังคจิตมาทำหน้าที่ให้หลับครับ


ดังนั้นคนที่ฝึกทำสมาธิรู้สึกง่วงแล้วฟุบหลับ ไม่ใช่การทำสมาธิจนจิตเป็นภวังค์หรอกครับ
แต่เรียกว่า ทำสมาธิแล้วมีนิวรณ์ 5 ครอบงำเสียก่อน จิตยังไม่ทันเป็นสมาธิ เมื่อใดที่เคลิ้มหลับไปสักครู่หนึ่ง แล้วตื่นมาปรารภความเพียรในภายหลัง แล้วจิตเป็นกุศลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ได้ปีติ สุข อุเบกขาจากสมาธิในภายหลังการหลับ จิตตรงนี้จึงเป็นสมาธิครับ ส่วนจิตก่อนเป็นสมาธิที่หลับไปครู่หนึ่งนั้นเรียกว่า จิตมีนิวรณ์คือถีนะมิทธะครับ ไม่เรียกว่าจิตเป็นภวังค์ครับ และไม่เรียกจิตเป็นภวังค์ว่าคือจิตหลับด้วยครับ นั่นเป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณครับ



จิตของเทวดา จิตที่เป็นพื้นฐานของเทวดาได้แก่กามาวจรกุศลวิบากเท่านั้น และ กามาวจรกุศลวิบากทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ แต่เทวดาไม่มีความหลับครับ เพราะความหลับเป็นถีนะมิทธะจิต เป็นอกุศลจิต เพราะสุคติภพของเทวดาห้ามอกุศลวิบากไม่ให้ให้ผลในภพนี้ ปุญญาภิสังขารปรุงแต่งภพเทวดา เทวดาจึงมีแต่ความสุขความสบายอย่างเดียว มีทุกข์หรือก่อเหตุให้เกิดทุกข์เมื่อใด เทวดาก็จะจุติจากสวรรค์ทันทีครับ


จิตของรูปพรหม จิตที่เป็นพื้นฐานของรูปพรหมได้แก่รูปาวจรกุศลวิบากในฌานที่ 1-2-3-4 ตามชั้นของรูปพรหมแต่ละชั้น และทำหน้าที่เป็นภวังค์รักษาความเป็นพรหมด้วย จุติแล้วกลับมาเป็นพรหมซ้ำได้อีกครับ ภพของรูปพรหมปุญญาภิสังขารปรุงแต่งภพเช่นกันครับ รูปพรหมไม่มีความหลับเช่นกันครับ


จิตของ อรูปพรหม จิตที่เป็นพื้นฐานของ อรูปพรหมได้แก่ อรูปาวจรกุศลวิบากในอากาสานัญญจายตนะฌานวิบาก หรือวิญญานัญญจายตนะฌานวิบาก หรืออากิญจัญญายตนะฌานวิบาก หรือเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานวิบากเป็นจิตพื้นตามอรูปรพหมแต่ละชั้น และทำหน้าที่เป็นภวังค์ด้วย จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเสวยกุศลวิบากไปจนตลอดอายุขัย ด้วยอาเนญชาภิสังขารปรุ่งแต่งภพครับ ไม่ได้หลับครับแต่จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวครับ

จิตของพระโสดาบัน มีโสดาปัตติผลจิตเป็นพื้นฐาน จิตเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเสร็จแล้ว จะกลับมาที่โสดาปัตติผลจิตของท่านตามเดิม โสดาปัตติผลจิตทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ


จิตของพระสกทาคามี มีสกทาคามีผลจิตเป็นพื้นฐาน จิตเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเสร็จแล้ว จะกลับมาที่สกทาคามีผลจิตของท่านตามเดิม สกทาคามีผลจิตทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ


จิตของอนาคามี มีอนาคามีผลจิตเป็นพื้นฐาน จิตเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเสร็จแล้ว จะกลับมาที่อนาคามีผลจิตของท่านตามเดิม อนาคามีผลจิตทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ


จิตของพระอรหันต์ มีอรหัตตผลจิตเป็นพื้นฐาน จิตเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เช่นกามาวจรกิริยา รูปฌานกิริยา อรูปฌานกิริยา และกามกิริยาหรืออภิญญาจิตสำหรับพระอรหันต์เสร็จแล้ว ก็จะกลับมาที่อรหัตตผลจิตของท่านตามเดิมตราบเท่าดับขันธ์ปรินิพพานครับ อรหัตตผลจิตทำหน้าที่เป็นภวังค์ครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 12 ก.ย. 2009, 17:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร