วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 02:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฅนล้านนา เขียน:
...ผลที่ผมได้ตอนนี้คือสามรถระงบอารมณ์โกรธได้ใครจะด่าว่าอย่างไรสามารถควบคุมได้
และตอนนี้ที่ผมพยายามอยู่คือ"กายกับใจเป็นหนึ่งเดียว" คือดึงจิจใจไม่ให้ฟุ่งซ่านระลึกคิดอยู่เสมอว่าตัวเองทำอะไร
อยู่ มีสติกับตัวเองอยู่ตลอดเวลาซึ่งผมคิดว่ามันยากมากครับ :b8:



อนุโมทนาด้วยครับ เพราะผมก็พยายามทำแบบเดียวกับคุณนั่นแหละ

คือพยายามไม่ให้จิตใจไปไกลเกินกว่าภายในกายเรา คือพยายามดูลมหายใจ ตลอดเวลาน่ะครับ

มันก็มีหลุดบ้าง แต่พอได้สติ ก็รีบกลับมาดูลมต่อครับ

ก็สบายดีครับ ไม่ต้องยุ่งเรื่องชาวบ้าน ดูที่ตัวเอง ไม่ต้องแบกความทุกข์ของใครดีครับ

...เวลาโกรธก็รู้สึกตัวว่าโกรธ ก็ดูมันจนกว่าจะโกรธเสร็จ เสร็จแล้วมันก็หายโกรธ ไปเอง ใช้เวลานานบ้างเร็วบ้าง แล้วแต่กำลังสติในขณะนั้นครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ ผมมีวิธีทำให้หายโกรธเร็ว ก็คือเดินจงกรมครับ

หายเร็วสุด เพราะได้ระบายความโกรธจนหมดแล้ว จิตมันก็คิดเรื่องอื่นแทน

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นั่งไม่ได้ผล ก้มาจากการที่จิตกังวล ฟุ้งซ่าน คิดเรื่องอื่นๆ มากมายก่ายกองคิดไม่หยุด
ตัดปลิโพธิสักตัวเดียวให้ได้ ใจถึงจะอ่านออกถึงคำว่า ."สงบภายใน"
:b39: หลวงพ่อจรัญท่านบอกว่า :b40:

เหตุที่จิตไม่เป็นสมาธิมีอยู่ ๗ ประการ

๑. นั่งไม่ถูกวิธี

๒. จิตเป็นกังวล กังวลเรื่องงาน

๓. เหนื่อยมาก ไปทำงานมาเหนื่อยเหลือเกิน จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ แต่หายเหนื่อยเมื่อยล้าเมื่อไรก็ตั้งสติให้ได้แก่นได้

๔. ป่วย อาพาธหนัก จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ ท่านจะอุปาทานนึกถึงเวทนาปวดโน้น เมื่อยนี้ ปวดหนอ ปวดเรื่อยอะไรทำนองนี้ จิตท่านจะขาดสมาธิทันที ถ้าไม่ฝึกไม่ปฏิบัติ ท่านจะไม่มีสมาธิเลย

๕. ราคาเกิด ขณะนั้นจิตท่านจะหายไป สมาธิจะไม่เกิด

๖. โทสะเกิด ท่านไม่สามารถแก้ไขโทสะได้ ไม่สามารถจะตั้งสติไว้ได้ สมาธิหนีไปหมด ท่านจะทำอะไรเสีย ขาดสมาธิเพราะมีโทสะ โทสะสิงสถิตในจิตใจของท่าน ปัญญาไม่เกิด แล้วท่านจะไม่มีสมาธิปฏิบัติอีก ๒๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ไม่ได้อานิสงส์แต่ประการใด

๗. อารมณ์มากระทบ อารมณ์เกิดกระทบ สัมผัสเกิด อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดสัมผัสมากระทบอารมณ์จึงเสีย


สาเหตุของจิตไม่สงบมีอยู่ ๘ ประการ โยมต้องกำหนดจดจำข้อนี้ไว้ก่อน จิตไม่สงบทำอย่างไรก็ไม่สงบ ถ้าไม่ฝึกมาก่อน จิตไม่มีสมาธิจะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย สาเหตุนั้นได้แก่

๑. มีไม่พอ ตะเกียกตะกายอยู่ร่ำไป ท่านจะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย

๒. ใช้เวลาว่างมากเกินไป ไม่เอางานเอาการ พวกประเภทนี้พวกจิตว่าง มันว่างจิตมันก็ไหลไปสู่ที่ต่ำ ชีวิตจะไร้สาระไม่สงบ

๓. ถูกเบียดเบียนจิตใจ ครอบครัวไปอยู่ในหมู่บ้านที่เขาเบียดเบียนจิตใจ จิตท่านจะไม่สงบ

๔. อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ ปวดท้อง ปวดหัว ธาตุทั้ง ๔ ขาดไป อวัยวะไม่ปกติ ท่านจะขาดปัญญาจะสงบได้ไหม อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความสงบ ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่าย ๆ ก่อนสอนก็ต้องไปปัสสาวะก่อน ไม่ถ่ายอุจจาระเสียก่อน ให้มันโล่งใจแล้วสอนต่อไป หากจิตไม่สงบแล้วท่านจะสอนเด็กไม่ได้ดีเลย

๕. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ท่านเป็นโรคสามวันดีสี่วันไข้ อยู่ในภาวะอันนั้นแน่นอนที่สุด

๖. ถูกสิ่งแวดล้อมดึงไปทางชั่ว เข้าไปอยู่ในกลุ่มคนเลว คนพาลสันดานบาป ดึงทุกวันดึงทุกเดือน ดึงทุกเวลา จะไม่เกิดมีความสงบเลย

๗. ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกันทุกวันจิตท่านจะไม่สงบ

๘. มัวเมาในอบายมุข เล่นการพนันไม่พัก เที่ยวสรวลเสเฮฮาในสังคมตลอดรายการ จิตท่านจะไม่สงบเลย นี่แหละจำไว้ จิตไม่สงบมีอยู่ ๘ ประการ จิตไม่เป็นสมาธิมีอยู่ ๗ ประการ นี้โปรดกำหนดจำไปตีความ คิดด้วยว่าจริงหรือไม่ เขียนวิทยานิพนธ์ไว้บ้าง เรียกว่าวิทยานิพนธ์ชีวิต ชีวิตจะแร้นแค้นจะไม่มีแปลนและแผนผัง ชีวิตจะไม่ตั้งด้วยดี ความดีก็จะไม่ได้ และถ้าท่านปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีสมาธิ คือ

ชีวิตจะแร้นแค้นจะไม่มีแปลนและแผนผัง ชีวิตจะไม่ตั้งด้วยดี ความดีก็จะไม่ได้ และถ้าท่านปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีสมาธิ คือ
๑. มองไม่ถูกวิธี
๒. จิตกังวล จิตตก
:b8: :b8:

อ่านเพิ่มเติม :b41:
http://www.agalico.com/board/archive/index.php/t-6416.html
:b48:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ

ถ้ามีปีติ สุข และอุเบกขาในกายในจิต แสดงว่าเรามาถูกทางแล้วครับ



จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?



นิพพานัง ปะระมังสุขัง
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีครับคุณคนล้านนา
เครื่องชี้วัดว่าคุณทำสมาธิมาถูกทางหรือยัง ก็ต้องเอาเหตุและผลที่จะเกิดขึ้นบนเส้นทางของสมถะภาวนาหรือสมาธิมาตัดสินครับ

เส้นทางของสมาธินั้น จะเริ่มต้นด้วยการเจริญสติให้ได้ดีก่อน เพราะสติเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ
ขั้นบันไดของสมาธิ ต้องเอากรรมฐานอันใดอันหนึ่งในกรรมฐาน 40 อย่างมาเจริญ

******บริกรรมนิมิต เช่นการบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ เป็นการเจริญสติให้รู้ทันลมหายใจเข้าออก
และอาการความรู้สึกต่างๆจนจิตมั่นอยู่กับคำบริกรรมหนอลมหายใจที่เข้าออกและอาการต่างๆ จิตจะนิ่งระดับที่ 1
******อุคหนิมิต จิตมั่นอยูกับบริกรรมนิมิตมากขึ้นๆ นิมิตนั้นๆชัดเจนขึ้น คือจะกำหนดหนอได้ทันกับทุกอาการ ทุกอิริยาบถ ทุกอารมณ์ จิตจะไม่ฟุ้งออกนอกกาย วิตกวิจารณ์จะเงียบไป เกิดเห็นสีเห็นแสง เห็นพุทธรูป เห็นสวรรค์ วิมาน เห็นเทวดา ฯลฯ จิตนิ่งระดับที่ 2

******ปฏิภาคนิมิต นิมิตเป็นไปได้ดั่งใจ อยากเห็นนิมิตอะไรก็เอาจิตสั่งขึ้นมาให้เห็นได้ ย่อ ขยายนิมิตนั้นได้ ทำให้นิมิตหายไป ทำให้นิมิตปรากฏได้ดั่งใจ ปีติ สุข เกิด จนละปีติได้ เหลือสูข กับเอกัคตา จนที่สุดจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคตา และอุเบกขา จิตนิ่งระดับที่ 3 - 4

******อัปนาฌาณ ดับลมหายใจ ดับความรับรู้ทั้งหมด แข็งทื่อเหมือนคนตาย กิเลสนิวรณ์หลับหมด
จิตนิ่งถึงระดับที่ 5

++++++ทั้งหมดนี้จำจากอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังครับ smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทั้งหมดนี้จำจากอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังครับ


อ.อะไรครับ คุณอโศกะ

เราไปสนทนาเรื่องเหล่านี้กันที่


http://www.free-webboard.com/look.php?n ... ati&qid=14


ตั้งกระทู้รอไว้แล้วครับ :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: คนเมืองกาญ ฯ ค่ะ 555555555555 :b12: :b12: ภูมิใจในบ้านเกิด :b20: :b20:

:b55: :b55: :b55: นู๋เอค่ะ...

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เส้นทางของสมาธินั้น จะเริ่มต้นด้วยการเจริญสติให้ได้ดีก่อน เพราะสติเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ
ขั้นบันไดของสมาธิ ต้องเอากรรมฐานอันใดอันหนึ่งในกรรมฐาน 40 อย่างมาเจริญ

******บริกรรมนิมิต เช่นการบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ เป็นการเจริญสติให้รู้ทันลมหายใจเข้าออก
และอาการความรู้สึกต่างๆจนจิตมั่นอยู่กับคำบริกรรมหนอลมหายใจที่เข้าออกและอาการต่างๆ จิตจะนิ่งระดับที่ 1
******อุคหนิมิต จิตมั่นอยูกับบริกรรมนิมิตมากขึ้นๆ นิมิตนั้นๆชัดเจนขึ้น คือจะกำหนดหนอได้ทันกับทุกอาการ ทุกอิริยาบถ ทุกอารมณ์ จิตจะไม่ฟุ้งออกนอกกาย วิตกวิจารณ์จะเงียบไป เกิดเห็นสีเห็นแสง เห็นพุทธรูป เห็นสวรรค์ วิมาน เห็นเทวดา ฯลฯ จิตนิ่งระดับที่ 2

******ปฏิภาคนิมิต นิมิตเป็นไปได้ดั่งใจ อยากเห็นนิมิตอะไรก็เอาจิตสั่งขึ้นมาให้เห็นได้ ย่อ ขยายนิมิตนั้นได้ ทำให้นิมิตหายไป ทำให้นิมิตปรากฏได้ดั่งใจ ปีติ สุข เกิด จนละปีติได้ เหลือสูข กับเอกัคตา จนที่สุดจิตตั้งมั่นเป็นเอกัคตา และอุเบกขา จิตนิ่งระดับที่ 3 - 4

******อัปนาฌาณ ดับลมหายใจ แข็งทื่อเหมือนคนตาย กิเลสนิวรณ์หลับหมด
จิตนิ่งถึงระดับที่ 5

++++++ทั้งหมดนี้จำจากอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังครับ


ปฏิภาคนิมิต นั้น คนมีนิสัยวาสนาถึงจะปฏิบัติได้... จากขันธวิมุตติสมังคี หลวงปู่มั่น
อัปนาฌาณ ดับการรับรู้ทั้งหมดทางกาย
คือ ในสภาวะนั้นขันธ์ 5 ดับชั่วคราว กิเลสนิวรณ์ดับหมด

ไม่เห็นด้วย...ที่บอกว่า..ดับความรับรู้ทั้งหมด...
เพราะใจที่เป็นผู้รู้..ไม่ดับไปด้วย...
เป็นสภาวะจิตเดิมแท้...ไม่เกิด-ไม่ดับดับ เป็นสติอุเบกขา...


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 13 ก.ย. 2009, 23:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีครับ คุณวิสุทโธ

ที่อัปณาฌาณนั้น มี 2 อย่างครับ
++++++1.ดับทุกสิ่งทุกอย่างจนเป็นเหมือนคนตาย จิตรู้ก็พักไปชั่วขณะที่เข้าอัปณาฌาณ ฤาษีแถวเชิงเขาหิมาลัย พระธิเบต พระภูถานหลายองค์ ทำได้กันเป็นปกติวิสัย ลูกศืษย์สำนักที่มีการอธิษฐานดับ ในเมืองไทยหรือที่พม่า ก็ทำได้กันเยอะแยะเลย


++++++2.ดับลมหายใจแต่ทรงตัวผู้รู้ไว้เพื่อเจริญฌาณที่สูงขึ้นไป หรือพระอริยเจ้าระดับตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป บางท่านหรือหลายท่านหลายองค์ ทรงฌาณอยู่ตลอดเวลา คือใช้ชีวิตอยู่เป็นปกติธรรมดา โดยไม่มีลมหายใจเข้าออก
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่อัปณาฌาณนั้น มี 2 อย่างครับ
++++++1.ดับทุกสิ่งทุกอย่างจนเป็นเหมือนคนตาย จิตรู้ก็พักไปชั่วขณะที่เข้าอัปณาฌาณ ฤาษีแถวเชิงเขาหิมาลัย พระธิเบต พระภูถานหลายองค์ ทำได้กันเป็นปกติวิสัย ลูกศืษย์สำนักที่มีการอธิษฐานดับ ในเมืองไทยหรือที่พม่า ก็ทำได้กันเยอะแยะเลย



เรื่องสมาธินอกพระพุทธศาสนากับสมาธิในพระพุทธศาสนา

ต้องทำความเข้าใจ เรื่องสมาธินอกพระพุทธศาสนากับกับสมาธิในพระพุทธศาสนา

เพราะสมาธิในพระพุทธศาสนา เป็นสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยสัมมาสติในองค์อริยะมรรค
แต่สมาธินอกพระพุทธศาสนา เป็นสมาธิที่ไม่มีสติประกอบ มุ่งเอาความสงบเป็นสำคัญ

ดังนั้น..อัปณาสมาธิ ที่เกิดขึ้นสมาธินอกพระพุทธศาสนากับกับสมาธิในพระพุทธศาสนา
จึงแตกต่างกันสิ้นเชิง...จึงมิควรที่จะตำหนิผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิจนถึงขั้นอัปณาสมาธิ
เพราะหากท่านฯผู้นั้น ปฏิบัติตามองค์มรรค ๘ สมาธิของท่านฯผู้นั้น จะเป็นสัมมาสมาธิ

อัปณาสมาธิ จึงมี 2 แบบ คือ
1.อัปณาสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยสัมมาสติ เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา
2.อัปณาสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากสมาธิที่ไม่มีสติประกอบ ซึ่งเป็นสมาธินอกพระพุทธศาสนา
ที่เป็นมิจฉาสมาธิ

เนื่องจากการทำสมาธิที่ไม่มีองค์ภาวนา เช่น คำบริกรรม พุทโธ หรือ ดูลมหายใจ เป็นต้น
เป็นการทำสมาธิที่ไม่มีหลักของใจ เป็นสมาธิที่ขาดสติ เป็นมิจฉาสมาธิและมิจฉาสติ
จิตจึงดิ่งลึกดำลงดิ่งลงสู่ฐานของจิต..แบบเงียบหาย..ไม่มีความรู้สึก..แบบสมาธิหัวตอ
เพราะดับสัญญา และอายนะทั้งภายนอกและอายนะภายใน..จึงไม่มีความรับรู้ใดๆ..ทั้งสิ้น

แต่การทำสมาธิที่มีองค์ภาวนา เช่น คำบริกรรม พุทโธ หรือ ดูลมหายใจ เป็นต้น
การทำสมาธิที่มีหลักของใจ เป็นสมาธิที่มีสติ จิตและสติแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จึงเป็นสมาธิที่มีผู้รู้กำหนดเป็นสัมมาสมาธิและสัมมาสติ ในองค์อริยมรรค
จิตจึงมีผู้รู้ เนื่องจากมีสติที่เป็นองค์ภาวนา..เป็นการอบรมจิต..ให้มีเครื่องรู้..เครื่องระลึก

ดังนั้นอัปณาสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยสัมมาสติ
จึงแตกต่างกันสิ้นเชิงกับอัปณาสมาธิ ที่เกิดขึ้นจากสมาธิที่ไม่มีสติประกอบ
เพราะจิตอบรมด้วยสติและสมาธิ พิจารณาปัญญา..อบรมด้วยมรรคจิต
มิใช่สมาธิที่มุ่งแต่ความสงบเท่านั้น...ที่ต้องการเพียง..จิตว่าง
สำคัญหมายมั่นว่า..จิตว่าง..คือ การสิ้นกิเลส.

การที่จิตว่าง..มิใช่..หมายถึง จิตที่สิ้นกิเลส
เป็นเพียงสภาวะธรรมของจิตในปัจจุบันขณะ..ที่จิตไม่ปรุงแต่งกิเลส
แต่กิเลสในอนุสัยสันดาน เช่น กามราคะและอวิชชา..ยังมีอยู่ในจิต
จึงต้องเพียรปฏิบัติภาวนาทุกขณะจิต..เป็นปัจจุบันธรรม..ปัจจุบันจิต
เพื่อขุดคุ้ยถอนรากถอนโคนทำลายอวิชชาให้หมดสิ้นไปจากจิต
หมดสิ้นเชื้ออาสวะกิเลส..ที่พาเกิดพาตาย..
จิตเป็นอิสระ..เป็นหนึ่ง..ไม่เกิดไม่ดับ.


[


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 21:07, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




007.jpg
007.jpg [ 40.7 KiB | เปิดดู 4207 ครั้ง ]
“ ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอยย่อมไม่บริบูรณ์ ”

" อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด
ละบุญและบาปได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ "
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถาม:จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเรามาถูกทางแล้วครับ
อ้างคำพูด:
เป็นการเจริญสติในสมาธิค่ะ :b40: :b39:


วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด :b45: :b44:

ในทางพระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการทำให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ

* ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึง ปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่

1. ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท (คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
2. อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
3. อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
4. ปัจจัยสันนิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย :b40: :b40:

* จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ การฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิ ให้ได้อุปจาระสมาธิและอัปปนาสมาธิ ได้ฌาน ได้อภิญญาสมาบัติ อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดวิปัสสนาขึ้นได้ง่าย ยิ่งสมาธิดีเท่าใดยิ่งบรรลุได้ง่ายเท่านั้น.
* ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
* กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย
* มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
* ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ 9)
* ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค หรือมรรคญาณ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น


*ตรงที่ขีดเส้นใต้นี่แหละเป็นสิ่งที่สำคํญทำให้เราหนีจากวิปัสสนูกิเลสทั้งหลาย และทำให้จิตพัฒนาและเจริญสติเพื่อเอามรรค ผล ได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ทำไปแล้วจะไม่หลงทาง แล้วจะทำได้อย่างไรหรอ ก้ได้จากการเจริญสติในสมาธินี่เอง ได้จากการเจริญสติอย่างต่อเนื่องทุกขณะโดยที่จิตตอนนั้นเกิดสมาธิ
ิหรือจะเรียกอีกชื่อก็คือสติสัมปชัญญะปัพพะเป็นสติตัวกลางที่คอยกำกับจิตไม่ให้หลงทาง ไม่ให้เสียทีข้าศึก หรือหลงคิดไปเองว่าใช่แล้ว หากทำไปอะไรไม่ว่าเรื่องไรจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นโทษหรือเป็นประโยชน์ ทำไปแล้วหลงทาง หรือถูกทาง ที่ผ่านมาอันไหนบุญ อันไหนบาปจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติได้ชัดเจน หากเทียบกับสติปัฏฐาน4 สติตัวกลางที่ว่านี้ก้จัดอยุ่ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง :b39: :b39: :b40:


แก้ไขล่าสุดโดย อินทรีย์5 เมื่อ 18 ก.ย. 2009, 19:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฅนล้านนา เขียน:
...ผมหมายถึง "การทำสมาธิ" น่ะครับอยากเรียนถามท่านผู้รู้ครับว่า
จะทราบได้อย่างไรว่าเราทำถูกต้องแล้วเพราะการทำสมาธิมีหลายวิธี
แต่ผมคิดว่าที่แน่ๆ ต้องมีจุดหมายเดียวกันครับ
:b8:

ครับท่าน ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า "สมาธิ"คือ จิตสงบตั้งมั่นก่อนนะครับ
ซึ่งการปฏิบัติสมาธินั้น มีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าของเราชาวพุทธ จะอุบัติขึ้นมาเสียอีก
เป็นสมาธิที่พระพุทธองค์ ตอนทรงออกผนวชนั้น
ก็ได้ทรงฝึกฝนอบรมจากท่านอาจารย์ทั้งสอง
คือท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส
พระองค์ทรงสำเร็จสมาธิชั้นสูง คือฌาน๗และฌาน๘จากอาจารย์ทั้งสอง

แต่พระองค์ก็ทรงปฏิเสธไปว่า ฌานทั้งหลายเหล่านั้นเพียงทำให้กิเลสเบาบางได้เท่านั้น
ไม่สามารถทำให้จิตพ้นจากทุกข์ จนเข้าถึงอมตะธรรมได้
เนื่องจากเป็นสมาธิที่นำเอาอารมณ์ภายนอกกายมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน

พระพุทธองค์จึงขอลาอาจารย์ทั้งสองเพื่อออกค้นหาอมตะธรรมด้วยพระองค์เอง
พระองค์ทรงค้นพบอริยมรรคมีองค์๘ ด้วยพระองค์เอง
ซึ่งมีสัมมาสมาธิเป็นประธานแวดล้อมด้วยมรรคอีก๗องค์(มีในมหาจัตตารีสกสูตร)

สัมมาสมาธิ คือจิตสงบตั้งมั่นชอบ สมาธิที่ถูกต้องมีแบบเดียวครับ
ส่วนวิธีที่จะเข้าถึงได้นั้น มีหลายวิธีครับ
แต่ต้องนำเอาอารมณ์ที่อยู่ภายในกาย
มาเป็นองค์กรรมฐานเท่านั้นครับ จึงจะถูกต้อง

ก่อนอื่นต้องหาฐานที่ตั้งของสติในสติปัฏฐาน
โดยเริ่มต้นจากฐานกาย โดยมีอานาปานสติเป็นบาทฐานให้ได้ก่อนครับ
เมื่อฝึกฝนอบรมมาแล้ว จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่มากระทบ
ใหม่ๆเราอาจจะสามารถปล่อยวางเพียงอารมณ์ที่หยาบได้เท่านั้น
เมื่อชำนาญการเข้า-ออก ในองค์สัมมาสมาธิมากยิ่งขึ้น
จิตก็จะสามารถปล่อยวางอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้นครับ....

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
tongue สวัสดีครับ คุณวิสุทโธ

ที่อัปณาฌาณนั้น มี 2 อย่างครับ
++++++1.ดับทุกสิ่งทุกอย่างจนเป็นเหมือนคนตาย จิตรู้ก็พักไปชั่วขณะที่เข้าอัปณาฌาณ ฤาษีแถวเชิงเขาหิมาลัย พระธิเบต พระภูถานหลายองค์ ทำได้กันเป็นปกติวิสัย ลูกศืษย์สำนักที่มีการอธิษฐานดับ ในเมืองไทยหรือที่พม่า ก็ทำได้กันเยอะแยะเลย


++++++2.ดับลมหายใจแต่ทรงตัวผู้รู้ไว้เพื่อเจริญฌาณที่สูงขึ้นไป หรือพระอริยเจ้าระดับตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป บางท่านหรือหลายท่านหลายองค์ ทรงฌาณอยู่ตลอดเวลา คือใช้ชีวิตอยู่เป็นปกติธรรมดา โดยไม่มีลมหายใจเข้าออก
smiley

ท่านครับ ข้อ๑.ที่ท่านพูดถึงเป็นการดับแบบตกภวังค์ ไม่มีสติกำกับ เป็นวิปัสสนูครับ

ข้อ๒.ท่านครับที่ท่านพูดมานี้ น่าจะเป็นแบบที่สามมากกว่า แบบที่สองนี้ ถึงมีสติกำกับ
แต่ก็ไม่ใช่สัมมาสติ เพราะเป็นการระลึกรู้ โดยเอาอารมณ์ภายนอกมาเป็นองค์กรรมฐานครับ
เป็นวิปัสสนูเช่นกัน ยังไม่ใช่หนทางที่ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ครับ

ข้อ๓. นี้ถึงจะเป็นอย่างที่ท่านพูดในข้อ๒.ครับ เมื่อลมหายใจดับ มีสัมมาสติกำกับอยู่ที่รู้อยู่ที่รู้
ท่านลองทำความเข้าใจเรื่องที่ท่านพระอริยเจ้าทั้งหลายใช้ชีวิตเป็นปรกติธรรมดา
ท่านก็ต้องมีลมหายใจเช่นคนปรกติธรรดาหละครับ
เพียงแต่ท่านมีความชำนาญในการเข้าสู่ความสงบได้อย่างรวดเร็ว แค่น้อมก็เข้าฌานได้แล้วครับ...

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง วิปัสสนูกิเลส... คุณขันธ์ได้เคยชี้แจงไว้ดีแล้ว....

วิปัสสนูกิเลส คือ อุปกิเลสเป็นกิเลสขั้นละเอียด
จะเกิดขึ้นสำหรับคนที่ทำวิปัสสนาเป็น ไม่ได้เกิดกับคนที่ทำวิปัสสนาไม่เป็น
จะเกิดกับผู้ที่กำลังจะข้ามโคตรภูญาณ...

เมื่อได้พบได้เห็นสภาวะนั้น..เป็นสภาวะที่ตนไม่เคยพบไม่เคยเห็น...
จิตจะมีแสงสว่างโอภาสสว่างโพล้ง....มีความสุขสงบเย็นอย่างที่หาความสุขใดๆมาเทียบไม่ได้
สภาวะของจิตจะว่างไม่มีตัวตน..สติจะตั้งมั่น เป็นอุเบกขาวาวางเฉยอย่างไม่เคยมีมาก่อน..
สภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับ..ผู้ที่กำลังจะข้ามโคตรภูญาณทุกคน จะต้องผ่านขั้นตอนนี้..
เป็นธรรมดาสิ่งไม่เคยรู้..ก็รู้..สิ่งไม่เคยเห็น..ก็เห็น..
ย่อมอัศจรรย์ใจเป็นธรรมดาที่ได้รู้เห็นจากการภาวนาของตน..

ในสภาวะธรรมที่เกิดนี้..หากผู้ภาวนาไม่พิจารณาจะหลงสำคัญ..หมายมั่น..จะหลงเป็นวิปัสสนูกิเลส
โดยส่วนใหญ่..ในขณะที่เห็นสภาวะธรรมนั้น..ที่เกิดขึ้นเร็วมากในขณะจิตเดียว..
เร็วมาก..จนทำให้ผู้ภาวนาซึ่งผู้ไม่พบไม่เคยผ่าน..จะไม่ทันพิจารณา...
ในสภาวะธรรมนั้นเป็นกฏพระไตรลักษณ์..สัพเพ ธัมมา อนัตตา
ย่อมจะหลง..และยึด..และเข้าใจว่า..จิตว่างนี้...คือการบรรลุธรรม
ทำให้..หลงสำคัญผิด..เป็นวิปัสสนูกิเลส

สำหรับผู้ที่พบเจอปัญหานี้..ยากแก้ไข..เพราะติดดี..หลงดี..
จำต้องมีพ่อแม่ครูจารย์พระอริยสงฆ์แก้ไข...
เมื่อเข้าใจ..ยอมรับในคำสอนของท่านฯ..
เมื่อคราวที่ตนปฏิบัติจนจิตรวม..ตทังควิมุตติ..พบเจอสภาวะธรรมนี้..จะผ่านไปได้..
จะรู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริง
แล้วโปรดนำผลการปฏิบัติของตนไปกราบเรียนถวายพ่อแม่ครูจารย์
เพื่อให้ท่านชี้แจง..และชี้ทางที่เหมาะสม..เพื่อความเจริญก้าวหน้า..เป็นลำดับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร