วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 05:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การสำเร็จเป็นอริยะบุึคคล เริ่มจากการสร้างปัญญาสัมมาทิฏฐิก่อน องค์ธรรมอื่นๆ ก็จะสามารถเกิดขึ้นได้จนครบ ๓๗ ประการ จะเป็นแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป หรือจะเร่งรีบให้ได้เลยปัจจุบันทันด่วน ก็มีแสดงไว้ในพระสูตร




สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

การสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล เริ่มจากการเจริญฌานเป็นโลกุตตระครับ มรรคมีองค์ 8 จึงจะเกิดขึ้นได้ครับ มรรคมีองค์ 8 เป็นเหมือนเชือกเส้นเดียวกันที่มี 8 เกลียวครับ เวลาใช้นำมาใช้ทั้งเส้นทั้ง 8 เกลียวพร้อมกันครับ ไม่มีการแยกส่วนครับ


ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 09:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ก็อันเดียวกันแหละ ความรู้ในไตรลักษณ์ก็คือส่วนหนึ่งของอริยสัจ ๔ รู้ก็คือต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่คิดว่ารู้ ถ้าเอาแบบจิตวิทยาปัจจุบัน ก็คือ รู้ในระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่ระดับจิตปกติ ที่แสดงในพระไตรปิฎกว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ แบบ คือ รู้จากการได้ฟังคือความเข้าใจของคนทั่วไป กับเป็นที่อนาสวะถึงจะนับเป็นองค์มรรค เราต้องสร้างที่เป็นอนาสวะ



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ความเชื่อความเข้าใจของคุณน่ากลัวมากครับ
คงได้ค่อย ๆ สนทนากันอีกยาวครับ

ขอถามนะครับ

เมื่อเวทนาเกิด ได้แก่ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น คุณศุภฤกษ์จัดการกับมันอย่างไรครับ ??


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 16:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อืม... อย่างที่เรียนให้ทราบว่าท่านสนใจเฉพาะการปฏิบัติของฌานลาภีบุคคล การเจริญโลกุตตรฌาน เป็นการปฏิบัติของฌานลาภีบุคคล (ไม่แน่ใจว่าจะต้องได้ผลญานก่อนหรือเปล่าจึงจะมาเจริญได้) ในสมัยพุทธกาลเอง พระอรหันต์ที่เป็นอุภโตภาควิมุต ก็ยังมีจำนวนน้อย ราวๆ ๑ ในพัน

ในปฏิสัมภิทามรรค เป็นการรวบรวม เรียบเรียง จำแนก โดยพระสารีบุตร ผู้ที่ได้ชื่อว่าปราดเปรื่องที่สุดในการจำแนกธรรม เนื้อาหาในตำรานี้ เป็นความรู้ล้วนๆ ไม่ได้มีบริบท คือ ไม่ระบุบุคล สถานที่ เหมือนเป็นศาลานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิง หรือคู่มือการสอนของครู จึงถูกจัดไว้เป็นเล่มที่ ๒๓ ของพระสุตันนตะ อย่างไรถ้าท่านพอมีเวลา เริ่มอ่านพระสูตรตั้งแต่ต้นมาเลยจะดีกว่านะครับ

การวิปัสสนาภาวนาที่ไม่ใช้ฌาน ปกติ เมื่อเกิดเวทนา เช่นโกรธ ก็ใช้ความคิดพิจารณาว่า โกรธไม่เที่ยงเกิดดับ เป็นทุกข์ ไม่น่ายึดถือ ความโกรธไม่ใช่เรา เท่านี้ก็ดับความโกรธได้ แต่ปกติตอนนี้พิจารณาอารมณ์เป็นหลัก เวทนาไม่ค่อยเกิด เพียงได้ยินเสียง หรือตาเห็นรูป ก็เริ่มพิจารณา ความโกรธก็เลยไม่ค่อยมีโอกาสเกิด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 10:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ก็อันเดียวกันแหละ ความรู้ในไตรลักษณ์ก็คือส่วนหนึ่งของอริยสัจ ๔ รู้ก็คือต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่คิดว่ารู้ ถ้าเอาแบบจิตวิทยาปัจจุบัน ก็คือ รู้ในระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่ระดับจิตปกติ ที่แสดงในพระไตรปิฎกว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ แบบ คือ รู้จากการได้ฟังคือความเข้าใจของคนทั่วไป กับเป็นที่อนาสวะถึงจะนับเป็นองค์มรรค เราต้องสร้างที่เป็นอนาสวะ



อ้างคำพูด:
สภาวะทุกข์ในอริยะสัจ 4 กับสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ สภาวะทุกข์แบบไหนที่ทำให้คุณศุภฤกษ์ทุกข์มากกว่ากัน ??


Supareak Mulpong เขียน:
เหมือนกัน เพราะคือสิ่งเดียวกัน วิปัสสนาไปแล้วมันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่วางและว่าง โดยมากผมพิจารณาความเป็นอนัตตา กับ อนิจจัง มากกว่า ทุกข์ เพราะผมเริ่มจากธัมมานุสารี (เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ผลก็คือใช้เวลาไป ๗-๘ เดือนเพื่ออ่านพระไตรปิฎก) ที่นี่ก็มีกายสักขีบุคคล 3-4 ท่าน แต่ส่วนมากสำเร็จเป็นสัทธาธิมุตบุคคล



สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรนะครับ
ผมขอแสดงความรู้เรื่องสัจจะต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 ดังนี้นะครับ

ขันธ์ 5 นั้นจะมีหลักสัจจะเข้ามาเกี่ยวข้อง 4 สัจจะหลัก ๆ ได้แก่
1.สัจจะโดยความเป็นอริยะสัจ 4
2.สัจจะโดยความเป็นไตรลักษณ์
3.สัจจะโดยความเป็นกาลเวลา
4.สัจจะโดยความเป็นปฏิจจสมปุปบาท



1.สัจจะโดยความเป็นอริยะสัจ 4

ขันธ์ 5 โดยความเป็นอริยะสัจ 4 จะจำแนกเป็นขันธ์ที่เป็นเหตุ และขันธ์ที่เป็นผล

ขันธ์ที่เป็นเหตุ ได้แก่นามขันธ์ 4 คือจิต จิตเป็นขันธ์ที่ประกอบด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ขันธ์ที่เป็นเหตุเหล่านี้ ได้แก่ อกุศลจิต กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต 5 อรูปาวจรกุศลจิต 4 และโลกุตตระกุศลจิต 4 หรืออริยะมัคคจิต 4 คือโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต

ขันธ์ที่เป็นผล ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
รูปขันธ์ เป็นผลอย่างเดียว ไม่เป็นเหตุไม่เป็นวิบาก ( อัพพยากตาธรรม )
ส่วนเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็นผลและเป็นวิบาก ( อัพพยากตาธรรม )ด้วย
ขันธ์ที่เป็นผล ได้แก่รูปขันธ์ของสัตว์ในทุกภพที่มีรูปขันธ์
นามขันธ์ 4 คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็นผลและเป็นวิบาก ( อัพพยากตาธรรม ) ได้แก่อกุศลวิบากจิต กามาวจรกุศลวิบากจิต รูปาวจรกุศลวิบากจิต 5 อรูปาวจรกุศลวิบากจิต 4 โลกุตตระกุศลวิบากจิต 4 หรืออริยะผลจิต 4 คือโสดาปัตติผลจิต สกทาคามีผลจิต อนาคามีผลจิต และอรหัตตผลจิต

เหตุเป็นอกุศลจิต ผลเป็นอกุศลวิบากจิตและรูปขันธ์
เหตุเป็นกามาวจรกุศลจิต ผลเป็นกามาวจรกุศลวิบากจิตและรูปขันธ์
เหตุเป็นรูปาวจรกุศลจิต ผลเป็นรูปาวจรกุศลวิบากจิตและรูปขันธ์ ในอสัญญีสัตว์มีรูปขันธ์เป็นผลอย่างเดียว
เหตุเป็นอรูปาวจรกุศลจิต ผลเป็นอรูปาวจรกุศลวิบากจิต มีแต่นามขันธ์ 4 ไม่มีรูปขันธ์
เหตุเป็นโสดาปัตติมัคคจิต ผลเป็นโสดาปัตติผลจิต
เหตุเป็นสกทาคามีมัคคจิต ผลเป็นโสดาปัตติผลจิต
เหตุเป็นอนาคามีมัคคจิต ผลเป็นอนาคามีผลจิต
เหตุเป็นอรหัตตมัคคจิต ผลเป็นอรหัตตผลจิต



เหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับขันธ์กันอย่างนี้ เรียกว่าสัจจะโดยอริยะสัจ 4
เวลาทุกข์ก็ทุกข์อย่างเร่าร้อนด้วยอกุศลวิบากอย่างที่สุด...แม้ทุกข์จะเกิดดับ ๆ ก็ยังทุกข์อย่างเดิม
เวลาสุขก็สุขอย่างอิ่มเอิบด้วยกุศลวิบากหรือวิมุติสุข...แม้สุขจะเกิดดับ ๆ ก็ยังสุขอย่างเดิม




2.สัจจะโดยความเป็นไตรลักษณ์

ไม่ว่าขันธ์นั้นจะเป็นเหตุ หรือเป็นผลก็ตาม
เป็นอกุศล หรือ อกุศลวิบากหรือรูปก็ตาม
เป็นกุศล หรือ กุศลวิบาก หรือรูป หรือ อรูป ก็ตาม
เป็นอริยะมัคค หรือ อริยะผลก็ตาม
เป็นโลกียะ หรือโลกุตตระก็ตาม
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ดับไป แปรเปลี่ยนทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน

เป็นทุกข์นานแค่ไหน ทุกข์ก็เป็นอยู่ เป็นไปด้วยความเกิดดับ ๆ ทุกข์อยู่ย่างนั้น
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น รู้สึกเป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ รู้สึกเป็นสุขเพราะแปรไป

เป็นสุขนานแค่ไหน สุขก็เป็นอยู่ เป็นไปด้วยความเกิดดับ ๆ สุขอยู่ย่างนั้น
สขเวทนาเกิดขึ้น รู้สึกเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ รู้สึกเป็นทุกข์เพราะแปรไป

เป็นอทุกขมสุขนานแค่ไหน อทุกขมสุขก็เป็นอยู่ เป็นไปด้วยความเกิดดับ ๆ อทุกขมสุขอยู่ย่างนั้น
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น รู้สึกเป็นทุกข์เพราะรู้ผิด ( มิจฉาทิฏฐิ ) รู้สึกเป็นสุขเพราะรู้ชอบ ( สัมมาทิฏฐิ ) คือหลุดพ้นเกิดวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ



3.สัจจะโดยความเป็นกาลเวลา

ไม่ว่าขันธ์จะเป็นเหตุหรือผลก็ตาม จะเกิดหรือดับก็ตาม จะสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม กาลเวลาย่อมเคลื่อนไปข้างหน้าเรื่อยไปไม่หวลกลับ




4.สัจจะโดยความเป็นปฏิจจสมปุปบาท

ขันธ์ 5 และองค์ธรรมทั้งหลายในขันธ์ 5 ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย
ทุก ๆ องค์ประกอบต้องมีเหตุมีปัจจัยให้เกิดขึ้น ขันธ์ 5 และองค์ประกอบของขันธ์ 5 จึงจะเกิดขึ้นได้
เมื่อไม่มีเหตุมีปัจจัย ขันธ์ 5 และองค์ประกอบของขันธ์ 5 ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้


สรุปได้ว่า
สัจจะที่มาเกี่ยวข้องกับขันธ์ 5 นั้นมีต่างกัน ไม่ได้รวมเป็นอย่างเดียวกันตามที่คุณศุภฤกษ์เข้าใจหรอกครับ ลองพิจารณาดูดี ๆ หวังว่าคงพอเข้าใจนะครับ


ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ

เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 11:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ท่านกรุณานำมาแสดง ผมไม่ค่อยเข้าใจ มองไม่อกว่าตรงใหนที่เป็นปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ รบกวนท่านช่วยชี้ให้เกิดความกระจ่างอีกนิด ช่วยนำพาไปถึงการสร้างอนาสวะสัมมาทิฏฐิตามที่ท่านได้ศึกษามาก็จะเป็นพระคุณอย่างอยิ่ง หรือไม่ก็ช่วยรบกวนบอกว่าผมพอจะหาศึกษาได้จากใหน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ก.ย. 2009, 11:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ที่ท่านกรุณานำมาแสดง ผมไม่ค่อยเข้าใจ มองไม่อกว่าตรงใหนที่เป็นปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ รบกวนท่านช่วยชี้ให้เกิดความกระจ่างอีกนิด ช่วยนำพาไปถึงการสร้างอนาสวะสัมมาทิฏฐิตามที่ท่านได้ศึกษามาก็จะเป็นพระคุณอย่างอยิ่ง หรือไม่ก็ช่วยรบกวนบอกว่าผมพอจะหาศึกษาได้จากใหน


สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ผมแสดงความรู้เรื่องสัจจะโดยอริยสัจ 4 และสัจจะโดยไตรลักษณ์ ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งไม่ได้เป็นอย่างเดียวกันตามที่คุณศุภฤกษ์เข้าใจครับ


Supareak Mulpong เขียน:
ก็อันเดียวกันแหละ ความรู้ในไตรลักษณ์ก็คือส่วนหนึ่งของอริยสัจ ๔ รู้ก็คือต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่คิดว่ารู้


Supareak Mulpong เขียน:
เหมือนกัน เพราะคือสิ่งเดียวกัน วิปัสสนาไปแล้วมันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่วางและว่าง โดยมากผมพิจารณาความเป็นอนัตตา กับ อนิจจัง มากกว่า ทุกข์



อธิบาย 2 ข้อความนี้ของคุณครับ ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร

และอธิบายอีก 2 สัจจะที่เกี่ยวข้องเป็นความรู้เพิ่มเติม คือสัจจะโดยกาลเวลา และสัจจะโดยปฏิจจสมุปปบาทด้วยเพื่อจะได้เข้าใจตรงกันในเรื่องสัจจะครับ


สำหรับการปฏิบัตินั้นถ้าต้องการทราบก็ค่อย ๆ สนทนากันไป ซึ่งก่อนจะสนทนาเรื่องการเจริญวิปัสสนาเพื่อการบรรลุมัคค 4 ผล 4 และนิพพานนั้น เราคงต้องปรับนิยามศัพท์ให้เป็นนิยามเดียวกันก่อนครับ


เช่น การเจริญวิปัสสนานิวรณ์ 5 เราต้องกำจัดไหม ฌานคืออะไร สมาธิคืออะไร สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร องค์ธรรมเหล่านี้มีในจิตชนิดใดบ้าง องค์ธรรมเหล่านี้ทำหน้าที่อะไร วิปัสสนาโดยไม่เอาฌานได้จริงไหม? ฯลฯ เพราะเท่าที่อ่านคำถามคำตอบของคุณ พบว่าเราเข้าใจไม่ตรงกันครับ


ซึ่งคุณต้องปรับความรู้ความเข้าตามผมนะครับ ว่าคำแต่คำ ผมเข้าใจว่าไง มีสภาวะธรรมอย่างไร จะได้พูดภาษาเดียวกันครับ ความเข้าใจของผมผิดหรือถูกค่อยว่ากันทีหลัง และส่วนคุณเข้าใจอย่างไร ผิดถูกอย่างไร คุณก็ใช้ดุลยพินิจของคุณไปก็แล้วกันครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้อยกทราบแค่ว่าที่ท่านนำมาแสดงมาจากใหนเท่านี้ก่อนนะครับ จะได้เอามาเทียบพระสูตร

เท่าที่ศึกษาและปฏิบัติ พอสรุปได้ว่า มรรค ในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีเจตสิก ๘ ดวง มีปัญญาเจตสิกเป็นประธาน ซึ่งก็คือสัมมามิฏฐิที่เป็นอนาสวะ

การสร้างปัญญาให้แข็งแรง ก็คือ การอบรมอินทรีย์ ๖ และอุปทานขันธ์ ๕ ให้รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต (รายละเอียดการปฏิบัติหรือวิธีการแยกไปตามภาวะบุคคล) ความรู้ที่จะนำมาดับทุกข์ได้ ก็มาจากกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ได้แก่ ไตรลักษณ์ และอิททัปปัจจยตา ปกิจจสมุปบาท

วิปัสสนาไป พอวางได้ มันก็เกิดความว่าง ก็คือสมาธิเกิด พอได้ถึงผลญาน สมาธิก็อยู่ในระดับปฐมฌาน เป็นการยิงนกนัดเดียวได้ ๘ ตัวพร้อมๆ กัน

ก็มีแค่นี้ ไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน ก็เลยไม่เข้าใจว่าที่ท่านยกมาแสดง มันจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการได้มาซึ่งมรรค ๘ อย่างไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ตอนนี้อยกทราบแค่ว่าที่ท่านนำมาแสดงมาจากใหนเท่านี้ก่อนนะครับ จะได้เอามาเทียบพระสูตร


ผมสรุปมาจากความรู้ความเข้าใจจาก 2 เล่มนี้ครับ เนื้อหามากครับท่านอลงอ่านแล้วสรุปออกมาครับ

1.พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์


พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกา
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
[๑] ๑. กุสลติกะ
กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล
อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล
อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต
ฯลฯ

ว่าด้วยจิตประเภทต่าง ๆ และรูป



2.พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์


พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๒
วิภังคปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์
[๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูป
ภายใน รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีต
รูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์

ฯลฯ


ว่าด้วยขันธ์ 5 ,ปฏิจจสมุปปบาทในจิตชนิดต่าง ๆ ในดวงเดียวกัน ,การเจริญสติปัฏฐาน 4 ที่ถูกต้อง , ฯลฯ

ลองอ่านดูก่อนนะครับ


http://www.tipitaka.com/tipitaka34.htm
http://www.tipitaka.com/tipitaka35.htm


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เท่าที่ศึกษาและปฏิบัติ พอสรุปได้ว่า มรรค ในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีเจตสิก ๘ ดวง มีปัญญาเจตสิกเป็นประธาน ซึ่งก็คือสัมมามิฏฐิที่เป็นอนาสวะ


เอามาจากตำราอะไรครับ ?

Supareak Mulpong เขียน:
การสร้างปัญญาให้แข็งแรง ก็คือ การอบรมอินทรีย์ ๖ และอุปทานขันธ์ ๕ ให้รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต (รายละเอียดการปฏิบัติหรือวิธีการแยกไปตามภาวะบุคคล) ความรู้ที่จะนำมาดับทุกข์ได้ ก็มาจากกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ได้แก่ ไตรลักษณ์ และอิททัปปัจจยตา ปกิจจสมุปบาท



เอามาจากตำราอะไรครับ ?



Supareak Mulpong เขียน:
วิปัสสนาไป พอวางได้ มันก็เกิดความว่าง ก็คือสมาธิเกิด พอได้ถึงผลญาน สมาธิก็อยู่ในระดับปฐมฌาน เป็นการยิงนกนัดเดียวได้ ๘ ตัวพร้อมๆ กัน

ก็มีแค่นี้ ไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน ก็เลยไม่เข้าใจว่าที่ท่านยกมาแสดง มันจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการได้มาซึ่งมรรค ๘ อย่างไร?



เอามาจากตำราอะไรครับ ?


เจริญในธรรมครับ


...........................................................................................................
ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรม เป็นความรู้ของพระอรหันต์ เขียนโดยพระอรหันต์ เพื่อพระอรหันต์ ผมไม่คิดว่าผู้ที่ยังไม่ถึงอรหันต์จะสามารถเข้าใจอภิธรรมได้จริงๆ ทุกวันนี้เพียงแค่พอเข้าใจกันเป็นพื้นฐาน ที่เหลือก็เรียนกันแบบตาบอดคลำช้าง ที่มาทะเละกันก็เพราะอภิธรรมนี่แหละ

พระอภิธรรม ๓ เล่มแเรกเป็นนิยาม ผมไม่คิดว่าจะสามารถเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติได้จากพจณานุกรม ไม่รู้ว่าท่านจะเห็นอย่างผมหรือเปล่า เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวธรรมะตั้งแต่ต้นจนจบ จึงมีการร้อยเรียงคำสอนให้สามารถศึกษากันได้ไม่ผิดพลาด ออกมาเป็นพระสูตร ๒๕ เล่ม เอาจริงๆ ก็ต้องอ่านทุกเล่ม

พระสูตรตั้งแต่เล่ม ๘ ถึงเล่ม ๑๑ มีรายละเอียดของการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ รวมถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันที่ค่อนข้างจะละเอียด มีอธิบายไว้หลายนัย ถ้าให้ยกมาก็คงลำบาก คงต้องให้ไปอ่านเอาเองละครับ

โสดาปัตติผลที่ไม่ใช่กายสักขี สามารถเข้าผลสมาบัติได้โดยกำลังของปฐมฌาน องค์ประกอบทางธรรม (วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกคัตตา) จากผลการวิปัสสนากับปฐมฌานเหมือนกัน จึงมีคำกล่าวง่ายๆ ว่า โสดาบันปกติทรงอารมณ์ได้ในระดับปฐมฌานเป็นปกติวิสัย

แล้วท่านพอจะแสดงให้ทราบได้ใหมว่า เชือก ๘ เกลียวของท่านได้มาอย่างไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 19:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 48.88 KiB | เปิดดู 3810 ครั้ง ]
Supareak Mulpong เขียน:
แล้วท่านพอจะแสดงให้ทราบได้ใหมว่า เชือก ๘ เกลียวของท่านได้มาอย่างไร?




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์



ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น




อบรมจิตด้วยคาถาธรรมบทที่ชอบใจ ซึ่งเป็นอริยะสัจ 4 โดยย่อ เช่น

" ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ "




ไม่มีนิมิตเครืองหมายใด ๆ ไม่มีความตั้งอยู่ปห่งขันธ์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในนามรูป ย่อมบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ชนิดอนิมิตตะ ชนิดอัปปณิหิตตะ ชนิดสุญญตะ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น

รบกวนท่านช่วยแสดงความหมายตามที่ท่านเข้าใจด้วยครับ

มีคำถามง่ายๆ ว่า

๑) เจริญโลกุตตรฌาน ทำให้เกิดมรรค หรือ เพราะมีมรรค จึงสามารถเจริญโลกุตตรฌานได้

๒) สติปัฏฐานเป็นเหตุของมรรค หรือมรรคเป็นเหตุของสติปัฏฐาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
รบกวนท่านช่วยแสดงความหมายตามที่ท่านเข้าใจด้วยครับ

มีคำถามง่ายๆ ว่า

๑) เจริญโลกุตตรฌาน ทำให้เกิดมรรค หรือ เพราะมีมรรค จึงสามารถเจริญโลกุตตรฌานได้

๒) สติปัฏฐานเป็นเหตุของมรรค หรือมรรคเป็นเหตุของสติปัฏฐาน




สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์

ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรนะครับ

คุณตั้งคำถาม คุณก็ตั้งผิดเสียแล้วครับ
ที่คุณถามนั้นดูง่าย แต่คุณไม่เข้าใจสิ่งที่คุณถามผมมาครับ

ตอนนี้ผมเข้าใจความเข้าใจของคุณนะครับ ว่า...
คุณแยกแยะเรื่องจิตเหตุกับจิตผลไม่ออก
คุณมองผลเป็นเหตุ มองเหตุเป็นผลเสียแล้ว
แยกแยะเรื่องการเกิดร่วมเกิดพร้อมไม่ออก
วิปัสสนาจิตในพระพุทธศาสนาคืออะไรคุณไม่รู้จัก
วิปัสสนามีในจิตชนิดไหนบ้างคุณไม่รู้จัก
วิปัสสนาในพระพุทธศาสนาทำหน้าที่อะไร คุณไม่รู้จัก
มัคคจิตคือ อะไร คุณไม่รู้จัก
ผลจิตคือ อะไรคุณไม่รู้จัก
สติปัฏฐานคือ อะไรคุณไม่รู้จัก
ลักขณูปณิชฌานคือ อะไรคุณไม่รู้จัก
ฌานในวิปัสสนาจิต ฌานในมัคคจิต ฌานในผลจิตที่เป็นลักขณูปณิชฌานคุณไม่รู้จัก



ผมตอบไปให้คุณอ่านคุณก็ไม่อ่าน ไม่ทำความเข้าใจ
คิดอยู่แต่ว่าผมนี่โง่เขลา ไม่รู้เรื่องอะไรเอาเสียเลย
สิ่งที่คุณตอบมาผมเข้าใจแน่นอนครับ ว่าตรงไหนคุณเข้าใจผิด ตรงไหนคุณเข้าใจถูก แต่ปัญหาคือคุณไม่สามารถรู้ ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผมบอกคุณ

นี่จึงเป็นปัญหาในการปฏิบัติของคุณที่บอกว่า

Supareak Mulpong เขียน:
การวิปัสสนาภาวนาที่ไม่ใช้ฌาน ปกติ เมื่อเกิดเวทนา เช่นโกรธ ก็ใช้ความคิดพิจารณาว่า โกรธไม่เที่ยงเกิดดับ เป็นทุกข์ ไม่น่ายึดถือ ความโกรธไม่ใช่เรา เท่านี้ก็ดับความโกรธได้ แต่ปกติตอนนี้พิจารณาอารมณ์เป็นหลัก เวทนาไม่ค่อยเกิด เพียงได้ยินเสียง หรือตาเห็นรูป ก็เริ่มพิจารณา ความโกรธก็เลยไม่ค่อยมีโอกาสเกิด




ก่อนที่จะสนทนากันต่อคุณตอบคำถามผมมาก่อนครับ ผมถามคุณคุณยังไม่ได้ตอบผมครับ ว่า


Supareak Mulpong เขียน:
เท่าที่ศึกษาและปฏิบัติ พอสรุปได้ว่า มรรค ในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีเจตสิก ๘ ดวง มีปัญญาเจตสิกเป็นประธาน ซึ่งก็คือสัมมามิฏฐิที่เป็นอนาสวะ


เอามาจากตำราอะไรครับ ?


Supareak Mulpong เขียน:
การสร้างปัญญาให้แข็งแรง ก็คือ การอบรมอินทรีย์ ๖ และอุปทานขันธ์ ๕ ให้รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต (รายละเอียดการปฏิบัติหรือวิธีการแยกไปตามภาวะบุคคล) ความรู้ที่จะนำมาดับทุกข์ได้ ก็มาจากกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ได้แก่ ไตรลักษณ์ และอิททัปปัจจยตา ปกิจจสมุปบาท



เอามาจากตำราอะไรครับ ?




Supareak Mulpong เขียน:
วิปัสสนาไป พอวางได้ มันก็เกิดความว่าง ก็คือสมาธิเกิด พอได้ถึงผลญาน สมาธิก็อยู่ในระดับปฐมฌาน เป็นการยิงนกนัดเดียวได้ ๘ ตัวพร้อมๆ กัน

ก็มีแค่นี้ ไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อน ก็เลยไม่เข้าใจว่าที่ท่านยกมาแสดง มันจะเกี่ยวเนื่องไปถึงการได้มาซึ่งมรรค ๘ อย่างไร?



เอามาจากตำราอะไรครับ ?


เจริญในธรรมครับ


...........................................................................................................
ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมที่พวกผมศึกษามาจากพระไตรปิฎกกับพระอธิธรรมสังคหะ ถ้าจะให้ย้อนกลับไปหาว่ามาจากตรงใหนบ้าง ก็คงลำบาก เพราะมันเยอะ หากแต่ท่านได้อ่านผ่านหูผ่านตามาบ้าง ก็คงพอจะระลึกได้

อ้างคำพูด:
ผมตอบไปให้คุณอ่านคุณก็ไม่อ่าน ไม่ทำความเข้าใจ
คิดอยู่แต่ว่าผมนี่โง่เขลา ไม่รู้เรื่องอะไรเอาเสียเลย

อ่าน ใครว่าผมไม่อ่าน ถ้าไม่อ่านแล้วผมจะเอาอะไรกลับมาถามท่านละ แล้วท่านก็อย่าคิดอะไรให้เลยเถิดไปไกลซิ ไม่มีใครว่าอะไรท่าน ก็ท่านเล่นยกมรรควิภังค์มาให้อ่านตีความเอาเอง ผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่าท่านตีความว่าอย่างไร

พระอภิธรรมเขียนโดยอรหันต์เพื่ออรหันต์ ท่านอ่าน ผมอ่าน ตีความยังไงก็ไม่ตรงกัน อาจจะไม่ตรงกับผู้เขียนอีกด้วย นอกจากจะมีพระอรหันต์มาตัดสิน ถ้านำคำถามนี้ถามอรหันต์รูปที่ ๑ ท่านตอบมากอย่างหนึ่ง แล้วลองไปถามพระอรหันต์อีกรูปหนึ่ง ท่านก็ต้องตอบเหมือนกัน หรือเอาไปถามพระอรหันต์รูปอื่นๆ อีก ท่านก็ต้องตอบเหมือนกัน เพราะพระอรหันต์เห็นสิ่งเดียวกัน หากคำตอบที่ได้ไม่เหมือนกัน ก็แสดงได้ว่า อาจจะมีคำตอบใดคำตอบหนึ่งที่ถูก หรือเป็นคำตอบผิดทั้งหมด แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า อย่างเราๆ จะไปทราบถึงคำตอบที่ถูกได้อย่างไร จะเอาอะไรไปวัด

ในประเทศไทย ผู้เรียนจบอภิธรรมก็มาก ท่านว่ามีสักกี่คนที่ได้มรรคผล? ในสมัยพุทธกาล คนได้มรรคผลก่อนแล้วจึงมาศึกษาอภิธรรม พระพุทธองค์เองก็ไม่ได้นำอภิธรรมมาสอนผู้คน ท่านเอาไปสอนเทวดา กับพระอรหันต์

ผมขอสรุปง่ายๆ ตรงนี้แบบนี้ก็แล้วกัน ว่า ท่านกับผมเข้าใจพระธรรมไม่เหมือนกัน แนวทางศึกษา แนวทางปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านกับผมสนทนากันไปก็เสียเวลากันเปล่าๆ ไม่มีทางหาข้อสรุปได้หรอก ผมว่าผมแสดงสิ่งที่พวกผมศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติมาจนหมดแล้ว หากท่านต้องการแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนประสพการณ์ ท่านก็สามารถแสดงได้เลยหากท่านมั่นใจในสิ่งที่ยึดถือและปฏิติจนได้ผล ลานนี้เขาก็ใจกว้าง เปิดให้ท่านแสดงได้อย่างเต็มที่

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 18 ก.ย. 2009, 17:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พระธรรมที่พวกผมศึกษามาจากพระไตรปิฎกกับพระอธิธรรมสังคหะ ถ้าจะให้ย้อนกลับไปหาว่ามาจากตรงใหนบ้าง ก็คงลำบาก เพราะมันเยอะ หากแต่ท่านได้อ่านผ่านหูผ่านตามาบ้าง ก็คงพอจะระลึกได้




สวัสดีครับคุณศุภฤกษ์


ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ และความเป็นกัลยาณมิตรจากคุณครับ
และคุณได้ยอมรับว่าอ่านที่ผมโพสต์ไปแล้ว

ก่อนที่จะไปประเด็นอื่นก็ต้องทำความเข้าใจเรื่องทุกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้งกันก่อน
ผมกล่าวว่าทุกข์จากอริยะสัจ 4 นี่ทุกข์อย่างยิ่ง ทุกข์มากกว่าทุกข์จากไตรลักษณ์
และทุกข์จากอริยะสัจ 4 กับทุกข์ในไตรลักษณ์นั้นเป็นความทุกข์คนละแบบ คนละอย่างกัน



Supareak Mulpong เขียน:
ก็อันเดียวกันแหละ ความรู้ในไตรลักษณ์ก็คือส่วนหนึ่งของอริยสัจ ๔ รู้ก็คือต้องรู้จริงๆ นะครับ ไม่ใช่คิดว่ารู้ ถ้าเอาแบบจิตวิทยาปัจจุบัน ก็คือ รู้ในระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่ระดับจิตปกติ ที่แสดงในพระไตรปิฎกว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ แบบ คือ รู้จากการได้ฟังคือความเข้าใจของคนทั่วไป กับเป็นที่อนาสวะถึงจะนับเป็นองค์มรรค เราต้องสร้างที่เป็นอนาสวะ



Supareak Mulpong เขียน:
เหมือนกัน เพราะคือสิ่งเดียวกัน วิปัสสนาไปแล้วมันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่วางและว่าง โดยมากผมพิจารณาความเป็นอนัตตา กับ อนิจจัง มากกว่า ทุกข์ เพราะผมเริ่มจากธัมมานุสารี (เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ผลก็คือใช้เวลาไป ๗-๘ เดือนเพื่ออ่านพระไตรปิฎก) ที่นี่ก็มีกายสักขีบุคคล 3-4 ท่าน แต่ส่วนมากสำเร็จเป็นสัทธาธิมุตบุคคล



2 ข้อความนี้เกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ คุณศุภฤกษ์แสดงธรรมผิด รู้มาผิด เข้าใจผิด คุณศุภฤกษ์จะยอมรับความจริงข้อนี้ไหมครับ ??



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร