วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 06:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว




Q7781606-81.gif
Q7781606-81.gif [ 91.06 KiB | เปิดดู 5142 ครั้ง ]
อิอิ

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b5: :b5: :b23: :b28:

สมถะคืออะไร สมถะคือผลของการทำสมาธิ ผลของการทำสมาธิคืออะไร จิตสงบลงไปชั่วขณะหนึ่ง

Onion_L :b34:
กำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 02:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
:b10: :b5: :b5: :b23: :b28:

สมถะคืออะไร สมถะคือผลของการทำสมาธิ ผลของการทำสมาธิคืออะไร จิตสงบลงไปชั่วขณะหนึ่ง

Onion_L :b34:
กำ


บ้า..

กรรมการ..ลำไม่ตรง

ต้องให้..นี้
Onion_R


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
:b10: :b5: :b5: :b23: :b28:

สมถะคืออะไร สมถะคือผลของการทำสมาธิ ผลของการทำสมาธิคืออะไร จิตสงบลงไปชั่วขณะหนึ่ง

Onion_L :b34:
กำ


บ้า..

กรรมการ..ลำไม่ตรง

ต้องให้..นี้
Onion_R




เวลาให้ใบอะไรก็ต้องชี้แจงด้วยค่ะ ว่าพูดผิดตรงไหน

ผลของการทำสมาธิไม่เรียกว่า สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร
แล้วผลของการทำสมาธิ คือ จิตสงบไปชั่วขณะหนึ่ง มันผิดตรงไหนคะ
( ถึงแม้เราจะรู้ว่าสมาธิมีหลายระดับก็ตาม นี่อธิบายแบบชาวบ้านๆเท่านั้นเอง )

หรือต้องการเต็มรูปแบบยืดยาว ง่ายจะตายกูเกิ้ลไง

สมถะ ความสงบระงับ ๑ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง ๑

๑. โดยสภาวธรรม

สมถะ : มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

วิปัสสนา : ทำให้เกิดปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๒. โดยอารมณ์

สมถะ : มีนิมิตบัญญัติเป็น อารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น

วิปัสสนา : มีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะรูปนามมีความเกิดดับซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ

๓. โดยหน้าที่

สมถะ : มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕ ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น

วิปัสสนา : มีหน้าที่ในการกำจัด อวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง


๔. โดยอาการที่ละกิเลส

สมถะ : ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็น วิขัมภนปหาน

วิปัสสนา : ละกิเลสโดยอาการขัดเกลาเป็นขณะๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. ชนิดของกิเลสที่ถูกละ

สมถะ : ละกิเลสชนิดกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลส

วิปัสสนา : ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลส

๖. โดยอานิสงค์

สมถะ : ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก

วิปัสสนา : ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพาน และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”


ถ้าต้องการแบบยืดยาว ง่ายจะตายไปเห็นป่ะคะ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โอ้โฮ.... cheesy

เจ้วลัยพร เดี๋ยวนี้มีพาวว์ Lips

beby

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หรือต้องการเต็มรูปแบบยืดยาว ง่ายจะตายกูเกิ้ลไง


Onion_no

จะเอาความรู้จากพระไตรปิฏก
จาก อภิธัมมัตถสังคหะ ม่ายเอา
จาก อภิธัมมาวตาร ม่ายเอา
จาก กูเกิ้ล ม่ายเอา
จากวิสุธิมรรค ม่ายเอา
จากพุทธธรรม ม่ายเอา
จากไหนๆ ก็ม่ายเอา


สมถะ ความสงบระงับ ๑ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง ๑
สมถะ : มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
วิปัสสนา : ทำให้เกิดปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
สมถะ : มีนิมิตบัญญัติเป็น อารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น
สมถะ : มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕ ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น
สมถะ : ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็น วิขัมภนปหาน
สมถะ : มีนิมิตบัญญัติเป็น อารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปัสสนา : มีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะรูปนามมีความเกิดดับซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ

กำ ทั้งน๊านนนนนน
ไปหาพระไตรปิฏก มาอธิบายเหอะ ที่พูดมาทั้งหมด ผิดทั้งน้าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านเช่นนั้น

ความรู้ที่ผมพอมีอยู่บ้างเล็กน้อยพอจะอธิบายสรุปความแตกต่างระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้อย่างนี้ครับ

สมถะ คือความตั้งอยู่แห่งจิต หรือความดำรงอยู่แห่งจิต หรือสมาธินั่นเองครับ
วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ

หรือสรุปง่าย ๆ สั้น ๆ สมถะคือสมาธิ วิปัสสนาคือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมปที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับองค์ธรรมอื่น ๆ ในจิต


สมถะนั้นมีในจิตทุกชนิดครับ ซึ่งสมถะมีความแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 5 สภาวะธรรมครับ
1.สมถะในอกุศลจิต คือสมถะชนิดมิจฉาสมาธิครับ เป็นสมถะที่ประกอบด้วยราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะครับ
2.สมถะในกามาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้
3.สมถะในรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา
4.สมถะในอรูปาวจรกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่ประกอบไปด้วยอรูปสัญญา
5.สมถะในโลกุตตระกุศลจิต คือสมถะชนิดสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ของโลกุตตระกุศลจิต


ส่วนวิปัสสนามีเฉพาะในกุศลจิตเท่านั้นครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาไม่มีในอกุศลจิตครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรมครับ
1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนาใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนาใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนาใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น


องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาในกุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ



ความแตกต่างของสมถะและวิปัสสนาพอจะสรุปได้โดยย่ออย่างนี้ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านมหาราชันย์ ท่านให้น้ำเช่นนั้น ข้ามห้องเลยน๊ะครับท่าน
สาธุครับ ท่านมหาราชันย์ แต่ท่านพิมพ์ไปพิมพ์มา ก็ทำให้สงสัยเพิ่มอีกครับ
ท่านบอกว่า

อ้างคำพูด:
องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาใน กุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ


เช่นนั้นเคยอ่านจาก ปฏิสัมภิทามรรค ว่า สมถะ ก่อน วิปัสสนา ทีหลัง วิปัสสนานำหน้าสมถะก็มี หรือ สมถะและวิปัสสนา พร้อมๆ กันก็มี

ท่านมาแสดงว่า เกิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอไม่แยกจากกัน ท่านแสดงภูมิธรรม ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค หรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านมาแสดงว่า เกิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอไม่แยกจากกัน ท่านแสดงภูมิธรรม ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค หรือเปล่าครับ



สวัสดัครับท่านเช่นนั้น
อนุโมทนากับกุศลจิตในการเจริญภูมิปัญญาของท่านครับ
ต้องขออภัยนะครับ ที่คำตอบพาให้สงสัย

ที่ผมกล่าวว่า..องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาใน กุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกัน....

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งว่า คำว่ามัคคจิตนั้นเป็นจิตเพียงดวงเดียวเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ที่ผมกล่าวว่าเกิดพร้อมกันไม่แยกจากกัน หมายถึงเกิดในจิตดวงเดียวกัน เกิดร่วมเกิดพร้อมในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่ตามพระสูตรที่ท่านเช่นนั้นอ่านมานั้นพระอานนท์ท่านแสดงให้ละเอียดลึกซึ้งไปอีกว่า ถึงแม้จะเกิดในจิตดวงเดียวกันก็จริงอยู่ แต่องค์ธรรมเหล่านนั้นในจิต มีลำดับการเกิดก่อนหลังกันอีกด้วยครับ
เพราะในจิต 1 ดวงนี้ที่ประกอบด้วยองค์ธรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งองค์ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ อิงอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดทีเดียวพร้อมกันทั้งหมด มีลำดับก่อนหลังในจิตนั้นด้วย องค์ธรรมที่ชื่อสมถะเกิดก่อนองค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาก็ได้ในจิตดวงเดียวกัน หรือองค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาเกิดก่อนองค์ธรรมที่ชื่อสมถะก็ได้ในจิตดวงเดียวกัน หรือองค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาและองค์ธรรมที่ชื่อสมถะเกิดพร้อมกันก็ได้ในจิตดวงเดียวกัน ทั้งนี้เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอื่นทำให้เกิดขึ้นก่อน ปัจจัยแรกสุดที่เกิดขึ้นก่อนเพื่อนเลยคือ กุศลมูลครับ เมื่อกุศลมูลเกิดขึ้นสังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ 6 ผัสสะ เวทนา ปสาทะ อธิโมกข์ ภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ฯลฯ สมถะ วิปัสสนา ฯลฯ อวิปเขปะ ก็เกิดตามมาเป็นลำดับเหมือนลูกระเบิดนะครับท่านเช่นนั้น

ลูกระเบิดนั้นประกายไฟเกิดก่อนที่สายชนวน ลำดับต่อมาปฏิกิริยาทางเคมีก็ดำเนินไปจนเกิดระเบิดขึ้น ขั้นตอนทั้งหมดอยู่ในระเบิดลูกเดียวกันกล่าวได้ว่าทุกอย่างในลูกระเบิดมันเกิดพร้อมัน เพราะเกิดดับเร็วมากครับ

จิตก็เช่นเดียวกัน เกิดดับเร็วมาก องค์ธรรมต่าง ๆ ก็อิงอาศับกันและกันเกิดดับเร็วมากตามไปด้วย


เนื่องจากองค์ธรรมต่าง ๆ เกิดในจิตดวงเดียวกัน ดับไปพร้อมกับจิตนั้น ผมจึงกล่าวว่า
..องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาใน กุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกัน....

ส่วนองค์ธรรมไหนเกิดก่อนเกิดหลังในจิตดวงนั้นต้องทำการศึกษาปฏิบัติกันอีกทีหนึ่งครับ
หวังว่าคงพอเข้าใจนะครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. สมถกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานที่เป็นอุบายสงบใจกัมมัฏฐานประเภทที่ ๑ นี้ ตรงกับคำพูดที่เราพูดกันโดยทั่วไปว่า “ทำสมาธิ” นั่นเอง เพราะถ้าเรานำเอาอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานมาบริกรรม จะทำให้จิตเป็นสมาธิ ที่สำนักต่าง ๆ สอนกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะสายวัดป่าทั้งหลาย มักจะเป็นสมถกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐานประเภทที่ ๑ นี่มีอารมณ์สำหรับบริกรรม ๔๐ อย่าง (สมัยโบราณท่านเรียกว่า กัมมัฏฐาน ๔๐ ห้อง) ประกอบด้วยกสิน ๑๐ อนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปธรรม ๔ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ และอาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ แต่ที่นิยมใช้บริกรรม และแนะนำให้บริกรรมคือ อานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พร้อมกับบริกรรมว่า “พุท” เมื่อหายใจเข้า และ “โธ” เมื่อหายใจออก) ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มอนุสติ ๑๐ ที่ท่านนิยมอานาปานสติ ก็เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องเตรียมการมาก ทุกคนมีลมหายใจอยู่แล้ว นึกอยากจะบริกรรมเมื่อไรก็ทำได้ทันที

๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา ในนัยหนึ่งถือเป็นกัมมัฏฐานที่ต่อเนื่องจากสมถกัมมัฏฐาน คือ หลังจากที่ฝึกจิตให้เชื่อง ให้สงบนิ่งแล้ว จิตจะอยู่ในสภาพเป็นกัมมนิยะ (ดังกล่าวแล้วในสมถกัมมัฏฐาน) แล้วน้อมนำจิตนั้นไปพิจารณาสังขาร (ธาตุ ๔ และ
ขันธ์ ๕) ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง (อนิจจตา) เป็นทุกข์ (ทุกขตา) และมิใช่ตัวตนของเรา (อนัตตา) หรือที่พระท่านใช้สำนวนว่า “ยกสังขารขึ้นสู่ไตรลักษณ์“ จนรู้แจ้งเห็นจริง คำว่า “รู้แจ้งเห็นจริง” หมายความว่า “รู้ว่าสังขารทั้งหลายเป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มาประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นเพียงกลุ่มธรรม (กระบวนการธรรมชาติ) เท่านั้น ดังคำบาลีที่ว่า “สุทธธัมมา ปวัตตันติ กลุ่มธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่”
เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตจะค่อย ๆ คลายหรือถอนจากความยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นก็ไม่เป็นทุกข์ (เพราะไม่ว่าจะเกิด
ความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นกับสังขารนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่เราเป็นทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นในสังขารนั้น และเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นกับสังขารนั้น ใจเราก็หวั่นไหวเป็นทุกข์) นี่แหละคือที่สุดแห่งทุกข์


จะชัดไหมครับ ผมเอามาจากหนังสือวัดโพธิคุณครับ

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่หนุกเลย
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกพระสูตรแบบเต็ม ๆ มาเป็นกรณีศึกษาครับท่านเช่นนั้น
เพราะผมรอท่านยกมา แต่ท่านยังไม่ยกมา เลยยกมาให้ผู้อ่านท่านได้ดูร่วมกันว่า ในพระสูตรนี้เรานำมาปฏิบัติจริงกันได้อย่างไร ? ตรงไหนเป็นสมถะ ตรงไหนเป็นวิปัสสนาตามพระไตรปิฎก ?


[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น
จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จากตำรับตำราแล้ว..แล้ว

รู้จากการปฎิบัติแล้วหรือยัง..

:b4: :b4: :b4: :b41: :b45: :b47: :b48: :b53: :b50: :b55: :b54: :b43: :b39: :b40: :b42: :b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกบนอกกลา

ขอขอบคุณในความเมตตากรุณาครับ
ยินดีที่ท่านเข้ามาสนทนาด้วยครับ




ธมฺมปีติ สุขํ เสติ วิปฺปสนฺเนน เจตสา
อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม สทา รมติ ปณฺฑิโต


ผู้มีปีติในธรรมมีใจผ่องใสแล้วย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยะเจ้าประกาศแล้วในกาลทุกเมื่อ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร