วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 15:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
ก๊อปข้อความแล้วไม่ขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ก.ค. 2009, 21:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
[





คนมีเวลาน้อยก็ตายเลยสิคะคุณอินทรีย์ ไม่ต้องปฏิบัติกันเลย ..

อย่างคนมีเวลาแค่ 30 นาทีแค่นี้จะทำยังไง ในเมื่อคุณบอกว่า ระยะที่ ต้องเป้นไปตามสเตป

หน่วยคิดเป็นชม. .. เวลาเขียนต้องเขียนให้ละเอียดด้วยค่ะ ไม่งั้นคนอ่านงงตาย

เช่น ระยะที่ 1 เดิน 1ชม. นั่ง1 ชม.

ระยะที่ 2 เดิน 2 ชม. นั่ง 2 ชม.

ระยะที่ 3 เดิน 3 ชม. นั่ง 3 ชม.

ตามที่คุณวงเล็บน่ะค่ะ

คุณทราบมั๊ยคะ ที่ครูบาฯท่านเน้นนักเน้นหนาว่าถ้าทำได้ ให้เดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม. เพราะอะไร

ท่านต้องการให้ดูสภาวะที่เกิดขึ้นให้ทันค่ะ ...

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตรงที่ขีดเส้นไว้ หวังว่าคุณคงอ่านเจอที่ผมแนะนำแล้วว่าต้องแก้ไขคำกำหนดอย่างไร

ค่ะ ทราบแล้วค่ะอาจารย์ ตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็น "ยกหนอ" "ย่างหนอ" "เหยียบหนอ" แล้วค่ะ เพราะไม่ได้เดินมาหลายปี ความจำเลยเลอะๆไปหน่อยค่ะ


เวลาได้ยินเสียง กำหนด ยินหนอ ๆ สติอยู่ที่เสียงที่ได้ยิน กำหนดจนเสียงหายไป ถ้านานกว่า ๖ ครั้ง
ให้ทิ้งเลย กลับมาที่กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด เสียงหนอๆ จะเป็นการเพิ่มบัญญัติให้เรามากไป
ดีแล้วครับที่กำหนดยืนหนอ ผมก็ใช้อยู่ เป็นอิริยาบทที่เราไม่ค่อยกำหนดมากเลย ตรงนี้เอาสติรู้
สภาวะที่กายตั้งอยู่นะครับ อย่าเผลอจินตนาการเป้นรูปร่างล่ะ จะเป็นสัณฐานบัญยัติอีก ไม่ดี

ค่ะเข้าใจแล้วค่ะ



ตัดความสงสัยว่าเพราะอะไรจึงเห็นเช่นนั้น ตอนนั้นถ้าเราสงสัย คือเราเผลอคิดแล้ว กำหนดตามที่เรา
เห็น ไม่ต้องหลับตาหนี ถ้าเกิน ๖ ครั้งไม่หาย กลับมาที่กรรมฐานเดิมต่อไปได้เลย

ค่ะ



อาการพองยุบของท้องเท่านั้นครับ อย่าใส่ใจลมหายใจ สมาธิเริ่มดีขึ้นมาแล้วครับ

ค่ะ เพียงแต่รู้เท่านั้นเองว่า เออ หายใจยาวขึ้น แต่ก็กำหนดที่พองยุบเหมือนเดิมค่ะ



สติดีขึ้นอย่างชัดเจน
ตรงที่ผมขีดไว้ ใช้ในกรณีที่พองยุบหายไปหรือเบาไปจนไม่ชัดเจน ถ้ากรณีชัดเจนอยู่ ให้กำหนดที่พอง
ยุบ โดยใส่ใจหรือสังเกตอาการตั้งแต่เริ่มพอง ขณะพอง และสุดพอง เวลายุบก็เช่นเดียวกัน ใส่ใจสังเกต
ตั้งแต่เริ่มยุบ ขณะยุบ และสุดยุบ พร้อมกับบริกรรมพองยุบตามความเป็นจริงทั้งนี้ไม่ต้องจดจ้องเฝ้า
อาการมากเกินไป ค่อยๆฝึกครับ จดจ้องมากจะมีโทษเปล่าๆ


ค่ะ

ผมแนะนำตรงนี้หน่อยครับ ความจริงแล้ว การที่เราต้องถือเอาอาการพองยุบเป็นกรรมฐานหลัก
เพราะว่าเมื่อสภาวะทางอายตนะต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย(การสัมผัส) และทางใจ ไม่มีปรากฏ
หรือปรากฏไม่ชัดเจน จะทำให้เราเกิดอาการฟุ้งซ่านได้ การที่เราต้องถือเอาอาการพองยุบ และการ
บริกรรมไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์หน่วงจิต เป็นอุปการะแก่สติและสมาธิก่อน ในกรณีนี้ ถ้ามีสภาวะเกิดขึ้น
ทางอายตนะใด เช่น ตาเห็นรูป แสง สี เป็นต้น หูได้ยินเสียงชัดเจน เสียงดัง จมูกได้กลิ่นชัด ลิ้นได้รส
เช่นอาการเปลี้ยวของน้ำลาย หรือใจคิด ฟุ้งซ่าน ให้ไปกำหนดที่สภาวะนั้นทันที เมื่อสภาวะนั้นจางไป
หายไป ก็กลับมาที่กรรมฐานเดิม ทำแบบนี้เรื่อยไปครับ
อนึ่ง การกำหนดนั้น สำคัญที่ต้องให้ทันปัจจุบัน เช่น ตากำลังเห็น หูกำลังได้ยิน ฯลฯ สภาวะใดผ่านไป
แล้ว ไม่ใช่ปัจจุบัน เป็นอดีต และสภาวะใดยังไม่มาถึง ไม่ต้องเอาสติไปรอ สภาวะที่หายไปแล้วหรือที่
เป็นอดีตนั้น ถ้าจะกำหนด ให้กำหนดว่า รู้หนอๆ คือสติสัมปชัญญะรู้ว่า หายไปแล้ว แบบนี้ก็ได้

เข้าใจแล้วค่ะ

ตอนนี้ผมอยากให้ลองเรียนรู้สภาวะที่เข้ามาทางอายตนะต่างๆแล้วลองกำหนดเพิ่มดู ที่สำคัญที่สุด
ขอให้ทันปัจจุบันเท่านั้น ปัจจุบันสำคัญมาก

[color=#8000BF]ค่ะ[/color

รบกวนตอบปัญหานี้หน่อยครับ ตอบตามความเข้าใจจากที่ลองปฏิบัติมา ห้ามลอกคำตอบ
ตอบสั้นๆ พอได้ใจความก็พอ


๑.ขณะที่เดินกำหนดที่ไหน
[i][color=#8000BF]เท้าค่ะ

๒.เมื่อเท้าก้าวไป อะไรเป็นผู้รู้
จิตค่ะ
๓.ขณะเดิน ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน
คนละอันค่ะ
๔.เวลานั่งกำหนดที่ไหน
ตรงที่พองยุบ หมายถึงว่าถ้าพองยุบอยู่ที่ท้องก็ไปตรงนั้น
แต่ถ้าอยู่ที่ทรวงอกก็จะไปที่ทรวงอก ซี่ถ้าเป็นอย่างหลังจะชัดมากกว่าอย่างแรก

๕.เมื่อท้องพองท้องยุบ อะไรเป็นผู้รู้
จิตรู้ค่ะ
๖.พองครั้งแรกกับพองครั้งต่อไป ยุบครั้งแรกกับยุบครั้งต่อไป เป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน
คนละอันค่ะ

คำถามนี้ผมต้องการประเมิณ ๒ อย่างคือสภาวะของคุณ เพราะตอบมาผมจะรู้สภาวะได้ดีก็ตรงคำตอบ
อีกอย่างคือ ประเมิณระดับปัญญินทรีย์ของคุณ เพื่อจะเพิ่มข้อกำหนดในการกำหนดสภาวะลงไปอีก
เพราะจากข้อมูล คุณเคยปฏิบัติมาบ้างแล้ว สภาวะอาจไปช้าเร็วกำหนดยากกว่าคนที่ไม่เคยปฏิบัติมา
ข้อนี้เป็นเชาว์ของผู้แนะนำเองต้องสังเกตให้ดี เมื่อตอบคำถามแล้ว จะมีอีกประมาณ ๔-๕ ข้อ
ให้ลองตอบอีก อันนี้เป็นการสอบอารมณ์จากผลที่คุณส่งอารมณ์มา ถ้าไม่สะดวกที่จะตอบที่นี่
หรือว่าต้องการถามตอบแบบไว และถามอย่างอื่นที่สงสัย แอด msn ที่ zero_pl@msn.com

จะพูดคุยได้ง่ายกว่า ส่วนการแนะนำ สามารถแนะนำได้ที่นี่เมื่อออน msn ไม่เจอกัน
ขอสารภาพว่าเล่นเน็ทไม่เก่งเลย เพิ่งจะมาเป็นเรื่องเป็นราวก็ตอนที่
เข้ามาเป็นสมาชิกของลานธรรมเแห่งนี้ ถ้าไม่เป็นการรบกวนมากเกินไป ขอความกรุณา
อาจารย์เป็นฝ่ายแอ็ดเข้ามาได้ไหมค่ะ? pooppubtaktay@hotmail.com
เวลาที่นี่จะช้ากว่าเมืองไทยสิบสองชั่วโมงพอดีๆเลยค่ะ เวลาที่สะดวกที่สุดก็จะเป็นช่วงเก้าโมงเช้า
ถึงเที่ยงของเมืองไทย เพราะที่นี่ก็จะเป็นสามทุ่ม ถึงเที่ยงคืนค่ะ เวลานอกนั้นแล้วแต่งาน เพราะ
บางวันก็จะว่าง บางวันก็ไม่ค่อยว่างเอาแน่ไม่ค่อยได้ค่ะ


อนุโมทนาครับ ดีขึ้นมาพอสมควรแล้ว แก้ไขตรงวิธีการนิดเดียว อย่างอื่นต้องรอสภาวะ
ที่ปรากฏ แล้วค่อยๆแก้ไป :b8:[/quote]

ขอบคุณค่ะที่กรุณา อนุโมทนา ขอให้เจริญในธรรมนะค่ะ
ขอแสดงความนับถือค่ะ

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณทักทาย

ในปัญหาชุดแรกที่ผมถามไป เป็นปัญหาในเรื่องรูปนาม แยกรูปแยกนาม ถ้าคุยจะได้
รายละเอียดมากกว่านี้
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนสรุปลงมีอยู่ ๒ อย่าง คือ รูปและนาม
รูป หมายถึง สิ่งที่ปรากฎได้ทางอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น รูปต่าง คน สัตว์ สิ่งของ เสียง กลิ่น
รส สิ่งที่มากระทบกาย เช่นลมเป็นต้น
นาม หมายถึง สภาวะที่จิตน้อมไปรู้รูป คือเมื่อรูปปรากฎ จิตก็น้อมไปรับรู้สภาวะของรูปนั้น การที่จิตน้อมไป
รู้นั้น เรียกว่านาม
เมื่อสรุปแล้ว อาการต่างๆมีสองอย่างเท่านั้นคือ รูปนาม โดยสังเขปของขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป คือ รูป
เวทนา คือ ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉยๆ
สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ รู้พร้อม จำได้ ถึงลักษณะของรูปหรืออารมณ์นั้น
สังขาร คือ สิ่งปรุงแต่งจิตให้รับรู้รูปหรืออารมณ์ในลักษณะต่างๆ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งที่ประกอบเข้า หรือ มีขึ้น ในขณะที่จิตรู้สภาวะรูปหรือสภาวะ
ต่างๆอื่นๆ
วิญญาณ หมายถึง จิต นั่นเอง

เช่น ตาเห็นสุนัขป่วย ตากับสุนัข เป็นรูป การเห็นเรียกว่ากระทบ(ผัสสะ) ในขณะนั้น วิญญาณหรือจิต
รับรู้การกระทบ สัญญา ทำหน้าที่รู้ได้ว่านี้คือสุนัข สังขารปรุงแต่งลักษณะต่างๆของรูป(สุนัข)ที่เห็น ว่า
เจ็บป่วย สีสรรของสุนัข เวทนาความรู้สึกในใจว่า สุข ทุกข์ เฉยๆ ที่เห็นรูปนามนั้นก็ทำงานไปด้วย
เวทนา สัญญา สังขาร เกิดขึ้นพร้อมจิตที่รู้แบบไม่ก่อนไม่หลัง การอธิบายแบบนี้ แบบย่อ ง่ายๆ
ความจริงเรื่องนี้หาอ่านได้ไม่ยาก จะพิศดารกว่านี้ก็หาอ่านได้ไม่ยากเช่นกัน

ปัญหาส่งอารมณ์ต่อครับ

๑.ก่อนเดินมีอะไรสั่งให้เดิน
๒.ถ้าเท้าไม่เดินจิตจะรู้ไปรู้ไหม
๓.ถ้าไม่มีพองยุบจิตจะรู้ไหม
๔.ขณะกำลังกำหนด พองหนอ ยุบหนอ อยู่ท้องที่พอง ท้องที่ยุบเป็นเหตุให้อะไรรู้

ปัญหาเหล่านี้ ถ้าสติสมาธิดีจะรู้ไม่ยากเลย

สิ่งที่คิดว่าควรเพิ่มคือ การกำหนดต้นจิต
ก่อนเดิน ควรกำหนด อยากเดินหนอ ประมาณ ๓ ครั้งก็พอ ก่อนนั่งก็เช่นเดียวกัน
โดยปกติ ไม่ว่าจะทำอะไร เราจะต้องมีอยากอยู่เสมอ เช่น อยากกิน อยากนอน ในเบื้องต้น
เราอาจไม่เห็นต้นจิตที่อยากเดิน อยากนั่ง แต่ความจริง ต้นจิตนี้ ได้เกิดขึ้นแล้ว และดับไปแล้ว
การที่จิตเกิดและดับนั้นไวมาก เรายังไม่รับรู้ได้ทุกอย่างในตอนนี้ แม้ว่าการกำหนดอย่างนี้จะไม่เป็น
ปัจจุบัน แต่จะได้ประโยชน์ในข้ออื่น คือ เป็นการสร้างธัมมฉันทะ ความพอใจในการปฏิบัติธรรม
ช่วยให้ใจวางเฉยต่อการกระทบกันของรูปนามได้ระดับหนึ่ง ต่อเมื่อสติ สมาธิ ดีแล้ว จักเห็นต้นจิตเอง
และจะเข้าใจทันที ในครั้งนี้ ถ้าเป็นได้ ควรเพิ่มเวลาอีกอย่างละ ๑๐ นาที(เพิ่มเดินนั่งขึ้น)

อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบ K.walaiporn

step ครับ ไม่ใช่3 ระยะ เป็นการปรับเวลาจากง่ายไปหายาก ไม่ใช่ให้ทำติดต่อกันในวันเดียว
เพราะคนเราคงไม่มีเวลาขนาดนั้น แต่ทำจนคุ้ยเคย แล้วค่อยปรับเปลี่ยนให้มากขึ้น จะเพิ่มที10 หรือ15หรือ 30 นาทีก็ได้ แต่โดยมาตรฐานที่นับได้ง่าย เขาจะนับเป็นชม.กัน แต่จริงอาจเป็น ครึ่งชม. หรือ ชม.ครึ่งก็ได้
เช่น step เดิน 1ชม. นั่ง1 ชม. (หมายถึงคนที่เดินครึ่ง นั่งครึ่งได้แล้ว ก็หัดมาเดิน stepที่1)

stepที่ 2 เดิน 2 ชม. นั่ง 2 ชม.(หมายถึงคนที่นั่ง step1ได้แล้ว ค่อยมาทำstep2)

stepที่3 เดิน 3 ชม. นั่ง 3 ชม..(หมายถึงคนที่นั่ง step2ได้แล้ว ค่อยมาทำstep3)

แต่ละ step อาจใช้เวลานานหลายวันหรืออาจเป็นอาทิตย์ ไม่ใช่จะทำได้ในวันสองวันหรอกนะ
และเดิน3 นั่ง3 ก้เคยมีคนทำได้มาแล้ว ไม่ถึงกับตายหรอก แต่แค่มหาปวดเฉยๆๆๆ :b16:

ถึงจะต้องการให้เน้นดูสภาวะที่เกิดขึ้นให้ทัน (ทั้งปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันอริยาบถ) ก็ต้องเน้นอริยาบถ
หลักคือนั่ง ยืน เดิน อยู่ดี และการทำให้นานขึ้นเป็นชม.จนถึงหลายๆชม. ก็เป็นการดูสภาวะตามความจริงตามธรรมชาติ ให้ยาวนาน เห็นมากขึ้น เพิ่มความเพียร ความอดทน ให้มากขึ้น ทนต่อสู้กับเวทนา
คือความปวดที่สกลกายต่างๆ ได้ละเอียด เห็นตัวทุกข์ใหญ่ที่กายจะชัดเจนมากขึ้น

แล้วจะเอาเวลาไหนมาทำก็เวลาที่ว่างทั้งหมดในอาทิตย์นึงนั่นแหละ ถ้าหยุดเสาร อาทิตย์ ก้เลือกวันทำ
แต่ถ้าเป้น จ - ศ ก้เลือกวันทำเหมือนกัน โดยเลือกเวลาที่ไม่เกิน step 1 ก็พอ

การทำวิปัสสนากรรมฐานให้เห็นความเป็นจริงขึ้นมาได้นั้น มันก็เป็นสิ่งที่ยากพอดูเลย สำหรับผู้ที่ใหม่ต่อการปฏิบัติ แต่แม้แต่ผู้ปฏิบัติก้ยังเจอปัญหาบ้างเหมือนกัน จึงเป็นดั่งคำที่ว่า "ยากแท้เพราะไม่เคย ง่ายแท้เพราะเคยแล้ว" เคยด้วยการฝืนใจ ฝึกฝน ความเพียร หัดกำหนดทีละนิด ทีละท่า นี่แหละที่ต้องมีมากหน่อย หากเริ่มปฏิบัติ :b40: :b40:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
ขอตอบ K.walaiporn

step ครับ ไม่ใช่3 ระยะ เป็นการปรับเวลาจากง่ายไปหายาก ไม่ใช่ให้ทำติดต่อกันในวันเดียว
เพราะคนเราคงไม่มีเวลาขนาดนั้น แต่ทำจนคุ้ยเคย แล้วค่อยปรับเปลี่ยนให้มากขึ้น จะเพิ่มที10 หรือ15หรือ 30 นาทีก็ได้ แต่โดยมาตรฐานที่นับได้ง่าย เขาจะนับเป็นชม.กัน แต่จริงอาจเป็น ครึ่งชม. หรือ ชม.ครึ่งก็ได้
เช่น step เดิน 1ชม. นั่ง1 ชม. (หมายถึงคนที่เดินครึ่ง นั่งครึ่งได้แล้ว ก็หัดมาเดิน stepที่1)

stepที่ 2 เดิน 2 ชม. นั่ง 2 ชม.(หมายถึงคนที่นั่ง step1ได้แล้ว ค่อยมาทำstep2)

stepที่3 เดิน 3 ชม. นั่ง 3 ชม..(หมายถึงคนที่นั่ง step2ได้แล้ว ค่อยมาทำstep3)

แต่ละ step อาจใช้เวลานานหลายวันหรืออาจเป็นอาทิตย์ ไม่ใช่จะทำได้ในวันสองวันหรอกนะ
และเดิน3 นั่ง3 ก้เคยมีคนทำได้มาแล้ว ไม่ถึงกับตายหรอก แต่แค่มหาปวดเฉยๆๆๆ :b16:

ถึงจะต้องการให้เน้นดูสภาวะที่เกิดขึ้นให้ทัน (ทั้งปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันอริยาบถ) ก็ต้องเน้นอริยาบถ
หลักคือนั่ง ยืน เดิน อยู่ดี และการทำให้นานขึ้นเป็นชม.จนถึงหลายๆชม. ก็เป็นการดูสภาวะตามความจริงตามธรรมชาติ ให้ยาวนาน เห็นมากขึ้น เพิ่มความเพียร ความอดทน ให้มากขึ้น ทนต่อสู้กับเวทนา
คือความปวดที่สกลกายต่างๆ ได้ละเอียด เห็นตัวทุกข์ใหญ่ที่กายจะชัดเจนมากขึ้น

แล้วจะเอาเวลาไหนมาทำก็เวลาที่ว่างทั้งหมดในอาทิตย์นึงนั่นแหละ ถ้าหยุดเสาร อาทิตย์ ก้เลือกวันทำ
แต่ถ้าเป้น จ - ศ ก้เลือกวันทำเหมือนกัน โดยเลือกเวลาที่ไม่เกิน step 1 ก็พอ

การทำวิปัสสนากรรมฐานให้เห็นความเป็นจริงขึ้นมาได้นั้น มันก็เป็นสิ่งที่ยากพอดูเลย สำหรับผู้ที่ใหม่ต่อการปฏิบัติ แต่แม้แต่ผู้ปฏิบัติก้ยังเจอปัญหาบ้างเหมือนกัน จึงเป็นดั่งคำที่ว่า "ยากแท้เพราะไม่เคย ง่ายแท้เพราะเคยแล้ว" เคยด้วยการฝืนใจ ฝึกฝน ความเพียร หัดกำหนดทีละนิด ทีละท่า นี่แหละที่ต้องมีมากหน่อย หากเริ่มปฏิบัติ :b40: :b40:




คุณอินทรีย์เข้าใจคำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ว่าหมายถึงอย่างไรคะ? :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กามโภคี เขียน:
สวัสดีครับคุณทักทาย

สวัสดีค่ะ แอดmsnแล้วนะค่ะอาจารย์



อ้างคำพูด:
ปัญหาส่งอารมณ์ต่อครับ

๑.ก่อนเดินมีอะไรสั่งให้เดิน
๒.ถ้าเท้าไม่เดินจิตจะรู้ไปรู้ไหม
๓.ถ้าไม่มีพองยุบจิตจะรู้ไหม
๔.ขณะกำลังกำหนด พองหนอ ยุบหนอ อยู่ท้องที่พอง ท้องที่ยุบเป็นเหตุให้อะไรรู้

1.สมองค่ะ
2.รู้ค่ะ
3.รู้ค่ะ
4.จิตค่ะ

ปัญหาเหล่านี้ ถ้าสติสมาธิดีจะรู้ไม่ยากเลย

อ้างคำพูด:
สิ่งที่คิดว่าควรเพิ่มคือ การกำหนดต้นจิต
ก่อนเดิน ควรกำหนด อยากเดินหนอ ประมาณ ๓ ครั้งก็พอ ก่อนนั่งก็เช่นเดียวกัน
โดยปกติ ไม่ว่าจะทำอะไร เราจะต้องมีอยากอยู่เสมอ เช่น อยากกิน อยากนอน ในเบื้องต้น
เราอาจไม่เห็นต้นจิตที่อยากเดิน อยากนั่ง แต่ความจริง ต้นจิตนี้ ได้เกิดขึ้นแล้ว และดับไปแล้ว
การที่จิตเกิดและดับนั้นไวมาก เรายังไม่รับรู้ได้ทุกอย่างในตอนนี้ แม้ว่าการกำหนดอย่างนี้จะไม่เป็น
ปัจจุบัน แต่จะได้ประโยชน์ในข้ออื่น คือ เป็นการสร้างธัมมฉันทะ ความพอใจในการปฏิบัติธรรม
ช่วยให้ใจวางเฉยต่อการกระทบกันของรูปนามได้ระดับหนึ่ง ต่อเมื่อสติ สมาธิ ดีแล้ว จักเห็นต้นจิตเอง
และจะเข้าใจทันที ในครั้งนี้ ถ้าเป็นได้ ควรเพิ่มเวลาอีกอย่างละ ๑๐ นาที(เพิ่มเดินนั่งขึ้น)[/color]
อนุโมทนาครับ


รับทราบค่ะ เดินเป็นสามสิบ นั่งยิ่สิบนะค่ะ
เมื่อคืนนี้ลองทำตามวิธีที่อาจารย์แนะนำคือ ยก กำหนดตอนส้นเท้ายก หนอตอนที่ยกเท้าขึ้น
ย่างเคลื่อนเท้าไป หนอตอนที่เท้าอยู่ด้านหน้าพร้อมกับหยุด เหยียบตอนที่เท้าแต๊ะพื้น หนอตอน
ที่เท้าเหยียบไปเต็มๆเท้า รับรู้ความนุ่มของพรหม แต่ไม่ได้กำหนดรับรู้ค่ะ รู้สึกดีขึ้น ตามทัน
จะหายไป หรือคิดตอนที่ย่างหนอ ประมาณ สามสี่ครั้งของการทำสมาธิทั้งหมดยี่สิบนาที และ
ตอนที่ยกหนอ กับเหยียบหนอ รู้แทบทุกครั้ง หายไปประมาณสองครั้งต่อการทำทั้งหมดค่ะ
การนั่ง ยังมีคิดอยู่แต่นับได้ก็ประมาณสามสี่ครั้ง ก็กำหนดตามที่อาจารย์บอก รู้พองยุบส่วนมาก
จะเป็นที่ทรวงอกจะชัดกว่าที่ท้อง พอกำหนดที่ทรวงอก จะมีความรู้สึกว่าท้องเล็กลง เหมือนลูก
โป่งที่พองบน เล็กล่างอย่างนั้นแหละค่ะ แต่รับรู้มากขึ้นว่า คิดอีกแล้วทันทีที่เริ่มคิด พอแว่บออก
ปุ๊ปก็จะรู้ปั๊ปว่าออกแค่ชั่วยุบพองครั้งเดียว ก็จะกำหนด แต่จะเผลอไม่รู้ตัวว่าคิด กว่าจะรู้ว่าคิด ก็
พองยุบประมาณสามสี่ครั้งถึงรู้ อาการนี้มีสองครั้งของการทำสมาธิครั้งนี้ค่ะ
เรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาค่ะ ขอบคุณค่ะ เจริญในธรรมนะค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณทักทาย

taktay เขียน:
เมื่อคืนนี้ลองทำตามวิธีที่อาจารย์แนะนำคือ ยก กำหนดตอนส้นเท้ายก หนอตอนที่
ยกเท้าขึ้นย่างเคลื่อนเท้าไป หนอตอนที่เท้าอยู่ด้านหน้าพร้อมกับหยุด เหยียบตอนที่เท้าแต๊ะพื้น หนอตอน
ที่เท้าเหยียบไปเต็มๆเท้า

ขณะยกเท้าขึ้นกำหนด ยกหนอ เมื่อหยุด กำหนดพร้อมหยุดว่า หนอ
ขณะยกเท้า คือ เท้ากำลังเคลื่อนลอยขึ้น ไม่มีส่วนใดของเท้าแตะพื้นแล้วจึงหยุด

taktay เขียน:
รับรู้ความนุ่มของพรหม แต่ไม่ได้กำหนดรับรู้ค่ะ


กำหนดรู้หนอก็ได้ครับ ๓ ครั้ง จิตรู้สภาวะอ่อน นุ่ม แข็ง เย็น ของพื้น (ตอนนี้ ทำเท้าที่ทำได้)

หมายเหตุ ถ้ามีเวลา เพิ่มเดิน ๓๐ นาที นั่ง ๒๐ นาที
เวลาว่างหรือทำอย่างอื่น ถ้านึกได้และทำได้ กำหนดอิริยาบทย่อยด้วย เข่น
เดินหนอ เคี้ยวหนอ หรือถ้านั่งเล่นเฉยๆ พองยุบปรากฏ จะกำหนดด้วยก็ยิ่งดี

ขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติครับ สาธุ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


วันนี้พยายามกำหนดในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย
เอามือจับอะไรก็กำหนดจับหนอ แต่ส่วนมากจะรู้อยู่ที่นิ้วโป้งก่อนแล้วถึงจะเลยไป
ทั้งมือ ได้ไม่กี่ครั้งหรอกค่ะ แต่เวลานั่งเล่น หรือนั่งพัก กำหนดพองยุบได้
มากกว่าอริยาบถอื่นๆ ค่ะ
พยายามโพสต์ที่เวบบ์นี้เพราะเวลาไม่เข้าใจอะไรก็จะกลับมาอ่านทวนค่ะ
อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
วันนี้พยายามกำหนดในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย
เอามือจับอะไรก็กำหนดจับหนอ


อนุโมทนาในความพยายามของคุณทักทาย ผมมีข้อแนะนำ

ในเวลาที่เราจะกำหนดการเคลื่อไหวร่างกายนั้น ผมแนะนำให้ทำที่ห้องพัก
เราเองก่อน เพราะถ้าสติสมาธิเราไม่ดีพอ สายตาคนอื่นอาจทำให้เราฟุ้งได้
เมื่อกลับห้องหรืออยู่ในที่พักแล้ว มีความเป็นส่วนตัวสูงมาก เราสามารถจะทำ
อะไรช้าๆก็ได้ เช่น เดิน ยกมือ อาบน้ำ เป็นต้น ลองทำให้ช้าลงครับ แล้วมีสติอยู่
กับอิริยาบทย่อยๆนั้น เมื่อยกแขน เราก็กำหนด ยกหนอ เมื่อเคลื่อนจะไปหยิบสิ่ง
ของเราก็กำหนดพร้อมจิตที่รู้อาการเคลื่อนไปของแขน คำกำหนดควรเป็นคำสั้นๆ
ไม่ต้องมาก สองพยางค์ก็พอ การเคลื่อนไปของอวัยวะต่างๆ เมื่อยังไม่ถึงสิ่ง
ที่เราต้องการหยิบจับ เราอาจกำหนดบ่อยๆได้ เช่นๆ ไปหนอๆ เมื่อถึงสิ่งของ
หรืออะไรก็ตามมีการถูกต้องสัมผัสกัน เราก็กำหนดว่า ถูกหนอ พร้อมกับจิตที่อาการสัม
ผัสกัน ครั้งเดียวก็พอ วิธีการเช่นนี้เราเรียกว่า สัมปชานะ คือ รู้พร้อม หมายถึงมีสติ
รู้พร้อมในอิริบาบถทั้งปวง ตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตร สัมปชัญญบรรพ ว่า

ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ(ความรู้พร้อม) ในการก้าวไปและถอยกลับ เหลียวซ้าย
แลขวา คู้เข้าเหยียดออก ทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร กินดื่มเคี้ยวรู้รส อจจาระปัสสาวะ
เดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง

การกำหนดอิริยาบถย่อยเหล่านี้ ถ้าทันปัจจุบันนั้นๆได้มากน้อยเท่าไร ก็จะส่งผล
ให้อิริยาบทหลักที่เราปฏิบัติอยู่ คือ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ดีขึ้นเท่านั้น แม้มีเวลา
กำหนดอิริยาบถหลักน้อย จะไม่เป็นปัญหาเลย อยู่ห้องว่างๆ ลองค่อยๆทำดูครับ

การรู้อาการเคลื่อนไป หมายถึึง อาการทั้งหมดของส่วนนั้น มือก็มือทั้งหมด เท้าก็
เท้าทั้งหมด ไม่ควรอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่กรณีสัมผัสก็รู้เฉพาะตรงนั้นที่สัมผัส

ขอให้เจริญในการปฏิบัติยิ่งๆขึ้นไปครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อนุโมทนาในความพยายามของคุณทักทาย ผมมีข้อแนะนำ

จะปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ แล้วจะรายงานให้ทราบ
ต่อๆไปตามแต่โอกาส จะโพสต์ที่เวบบ์นี้เพื่อรักษาข้อมูลไว้ เวลาไม่เข้าใจตรงไหน?
ก็จะเข้ามาอ่านทวน




อ้างคำพูด:
ขอให้เจริญในการปฏิบัติยิ่งๆขึ้นไปครับ[/quote]

สาธุค่ะ ขอให้เจริญในธรรม

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์กามโภคีทราบค่ะ
เมื่อคืนนี้ปฎิบัติเดินชัดมากทั้งยกย่างเหยียบ ประมาณสิบห้าครั้งถึงแว่บ
ออกไป ยังไม่ทันกำหนดก็กลับมาเอง ก็เลยกำหนด "รู้หนอ" รู้สึกว่า
คิดน้อยลง พอกลางๆทางมีความรู้สึกว่า "ยกย่างเหยียบ" เกือบจะเป็น
อันเดียวกัน ก็เกิดสงสัยว่า "อันเดียวกัน"หรือเปล่า? ก็รีบกำหนดสงสัยหนอ
ก็หายไป ก็เกิดกลัวอีก กลัวว่าตัวเองจะเลิกทำ กลัวว่าจะไปไม่สุดทาง
ก็รีบกำหนด "กลัวหนอ" พอหาย ก็กลับมามีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง
คือเหมือนกับว่า"ฉันแน่" อะไรทำนองนี้ ก็รีบหยุดกำหนด "คิดหนอ"
พอหายไป ก็กลับมากลัวอีกค่ะ ก็ทำตามที่อาจารย์แนะนำคือกำหนด
อันไหนทันก็ทำตามความรุ้สึก แต่ถ้าไม่ทันก็ตามด้วย "รู้หนอ" แต่ละ
ความรุ้สึกที่บอกมา เกิดขึ้นแว่บเดียวจริงๆค่ะ พอเกิดปุ๊ปรู้ปั๊ปก็แทบจะ
ดับเลย มีบางครั้งก็จะขนลุก
พอใกล้จะหมดเวลาคือได้ประมาณยี่สิบกว่านาทีแก่ๆ มีความรู้สึกปวดหลัง
เริ่มปวดแบบพอรู้ปุ๊ปก็ดับปั๊ปก่อนที่จะกำหนด สักสองสามครั้ง ก็กำหนดรู้
เหลืออีกสองสามนาทีสุดท้ายที่นี่ปวดชัดมากค่ะ กำหนดหกครั้งถึงหายค่ะ
ส่วนการนั่งก็ฟุ้งสองครั้งใหญ่คือพองยุบหายไปเลย พอรู้ปั๊ปก็กำหนด
สามครั้งก็กลับมา นอกนั้นมีแว่บๆ ที่ยังไม่ทันกำหนดพอรู้ปั๊ปก็หายปุ๊ป
นั่งไม่มีความรู้สึกกลัว แต่ฮีกเหิมคือ "ฉันแน่" และก็ขนลุกค่ะ ส่วนเวทนา
เริ่มปวดเข่านิดหน่อย ยังไม่ทันกำหนดก็หาย แต่ตอนที่ใกล้หมดเวลามี
ความรู้สึกต่อสู้กัน เพราะพองยุบชัด ก็มีความรู้ว่าไม่อยากออกจากสมาธิ
แต่อีกใจก็แย้งว่าต้องออกแล้ว อาจารย์สั่งแค่นี้อย่าพยายามฝืนคำสั่ง
เถึยงกันนานมากจนลืมกำหนดค่ะ พอรู้ตัวก็กำหนดว่า"คิดหนอ"ค่ะ
ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกดังหนึ่งกริ่ง ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งนาฬิกาค่ะ เป็นเสียง
นาฬิกาอันเก่าที่เลิกใช้ไปแล้ว แต่เมื่อก่อนใช้เวลานั่งสมาธิประจำค่ะ ก็เลย
กำหนดว่า "ออกหนอ"ค่ะ พอลืมตาดูก็เป็นเวลาที่กำหนดก่อนนั่งว่า
ครั้งนี้จะนั่งยี่สิบนาที แล้วเป็นเหน็บ เจ็บหลังทันทีที่ออกค่ะ
เรียนมาเพื่อให้อาจารย์พิจารณาต่อไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญธรรมครับ

taktay เขียน:
เมื่อคืนนี้ปฎิบัติเดินชัดมากทั้งยกย่างเหยียบ
ประมาณสิบห้าครั้งถึงแว่บออกไป ยังไม่ทันกำหนดก็กลับมาเอง
ก็เลยกำหนด "รู้หนอ" รู้สึกว่าคิดน้อยลง


อนุโมทนาที่ตั้งใจดีจริงๆ อาการที่ว่าชัด เป็นอาการของสมาธิที่ดีขึ้นตามลำดับ
สมาธิที่ดีขึ้นบ้างแล้ว จะส่งผลให้มีความรู้สึกทางกายและใจที่ชัดมากขึ้นตาม
เหมือนน้ำไม่ขุ่น ก็ย่อมมองเห็นพื้นดินในท้องน้ำ

การที่แวบออกไปแล้วกลับมาเอง คงหมายถึงกลับมาที่พองยุบหรือเลิกคิดเรื่อง
ที่แวบออกไปแล้ว เมื่อรู้ว่ากลับมาแล้ว กำหนดว่ารู้หนอ (ข้อนี้หมายถึงรู้ว่าคิดหายแล้ว)
สติดีขึ้นมาเยอะจากเดิม จัดว่าพอเหมาะพอดีกับสภาวะและการปฏิบัติตอนนี้ ในอนาคต
ถ้ายังไม่ทิ้งการปฏิบัติ สติจะไวกว่านี้มาก แค่พอจะคิดก็จะกำหนดทันเลย บางทียังไม่รู้ว่า
จะคิดเรื่องอะไรด้วยซ้ำ

สตินี้เองที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในความหมายคือห้าม
จิตขึ้นสู่ชวนะวิถี เมื่อกำหนดรู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็นเป็นต้น ก็ละตรงนี้เลย เพราะไม่ได้ใส่ใจ
ต่ออารมณ์ที่มาให้รู้ให้เห็น จิตที่จะปรุงแต่งเป็นอกุศลก็จะสุดลงตรงนี้เอง การสะสมอกุศลจิต
ในสันดาน(อนุสัย)ก็จะน้อยลง และในขณะที่เราเจริญวิปัสสนาอยู่ จิตที่เป็นกุศลก็จะเพิ่มพูน
สะสมในสันดาน(อนุสัย)มากขึ้น เมื่อกุศลจิตมากเรื่อยๆ ก็ทำให้อกุศลจิตที่สะสมมีน้อย
ถึงขนาดที่ว่า มีเหมือนไม่มี ท่านจึงกล่าวการเจริญวิปัสสนาว่าเป็นการบรรเทากรรมหรือ
ปิดอบายได้(หากเจริญวิปัสสนาอยู่เสมอๆ) ข้อนี้เป็นสัมมาวายามะในมรรค ๘ ด้วย กล่าว
คือ ป้องกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ละอกุศลที่เกิดขึ้น ทำกุศลให้เกิดขึ้น เพิ่มพูนกุศลยิ่งๆไป


taktay เขียน:
พอกลางๆทางมีความรู้สึกว่า "ยกย่างเหยียบ" เกือบจะเป็น
อันเดียวกัน ก็เกิดสงสัยว่า "อันเดียวกัน"หรือเปล่า? ก็รีบกำหนดสงสัย
หนอ ก็หายไป ก็เกิดกลัวอีก กลัวว่าตัวเองจะเลิกทำ กลัวว่าจะไปไม่สุดทาง
ก็รีบกำหนด "กลัวหนอ" พอหาย ก็กลับมามีความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง
คือเหมือนกับว่า"ฉันแน่" อะไรทำนองนี้ ก็รีบหยุดกำหนด "คิดหนอ"
พอหายไป ก็กลับมากลัวอีกค่ะ ก็ทำตามที่อาจารย์แนะนำคือกำหนด
อันไหนทันก็ทำตามความรุ้สึก แต่ถ้าไม่ทันก็ตามด้วย "รู้หนอ" แต่ละ
ความรุ้สึกที่บอกมา เกิดขึ้นแว่บเดียวจริงๆค่ะ พอเกิดปุ๊ปรู้ปั๊ปก็แทบจะ
ดับเลย


คิดว่าอีกไม่นาน เดี๋ยวก็จะรู้ว่าอันเดียวกันหรือไม่ คุณจะเห็นด้วยตนเอง
เรียกว่าประจักษ์เลย แล้วจะอนุมานสิ่งอื่นๆได้แบบที่คุณเห็นเอง พยายาม
ใส่ใจกำหนดตั้งแต่เริ่มย่าง ขณะย่าง และสุดย่าง การลงหนอที่เท้าในจังหวะ
เหยียบหนอ พยายามทำให้ตรงกับกำหนดพอดี ไม่ต้องเก็ง ทำได้เท่าที่ทำ
การเกร็งเป็นการบังคับไป

ช่วงนี้ต้องระวังอารมณ์ และต้องใส่ใจการกำหนดให้มาก อันตรายของวิปัสสนา
เริ่มจะออกมาให้เห็นแล้ว แต่อย่ากังวล มีหน้าที่กำหนดรู้ด้วยสติเท่านั้น อะไร
ปรากฏชัดเจนที่สุด ให้กำหนดอันนั้น


คำว่าอันตรายหมายถึงอันตรายที่จะทำให้สภาวะติดอยู่ ช้าอยู่ และอาจทำ
ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจตัวเองผิดไป

อย่าลืมกำหนดต้นจิตด้วย เช่นก่อนเดิน ก่อนนั่ง ถ้ารู้สึกว่าอยากเดิน อยากนั่ง ก็กำหนดว่า
อยากเดินหนอ อยากนั่งหนอ อิริยาบทอื่นก็เช่นกัน ถ้ารู้สึกว่าอยากทำอะไร ก็กำหนดก่อน
๒-๓ ครั้ง ถ้าไม่รู้สึก ไม่ต้องกำหนด จะชินกับบัญญัติไปเปล่าๆ

ยืนหนอ ยืนหนอ อยากเดินหนอ อยากเดินหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ (เมื่อสุดทาง)
ยืนหนอ ยืนหนอ อยากกลับหนอ อยากกลับหนอ เป็นต้น


taktay เขียน:
มีบางครั้งก็จะขนลุก


ช่วยบอกว่า ขนลุกตอนไหน อย่างไร เช่นตอนนั่ง ตอนเดิน
ตอนนั่ง ตรงกับกำหนดว่าอะไร ตอนเดินตรงกับกำหนดว่าอะไร
เพราะอาการขนลุกมีสาเหตุหลายอย่าง ไม่ใช่เพราะปีติอย่างเดียว
แต่อย่าลืมกำหนดอาการที่ขนลุกด้วย จะตรงๆไปเลยก็ได้ว่า ขนลุกหนอ
หรือ รู้หนอ ก็ได้ คือรู้ว่าขนลุก

taktay เขียน:
พอใกล้จะหมดเวลาคือได้ประมาณยี่สิบกว่านาทีแก่ๆ มีความรู้สึกปวดหลัง
เริ่มปวดแบบพอรู้ปุ๊ปก็ดับปั๊ปก่อนที่จะกำหนด สักสองสามครั้ง ก็กำหนดรู้


คำว่าดับหมายถึงหายปวดหรือเปล่า ต้องถามหน่อย อาการนี้ก็สำคัญ

taktay เขียน:
เหลืออีกสองสามนาทีสุดท้ายที่นี่ปวดชัดมากค่ะ
กำหนดหกครั้งถึงหายค่ะ
ส่วนการนั่งก็ฟุ้งสองครั้งใหญ่คือพองยุบหายไปเลย พอรู้ปั๊ปก็กำหนด
สามครั้งก็กลับมา นอกนั้นมีแว่บๆ ที่ยังไม่ทันกำหนดพอรู้ปั๊ปก็หายปุ๊ป
นั่งไม่มีความรู้สึกกลัว แต่ฮีกเหิมคือ "ฉันแน่" และก็ขนลุกค่ะ ส่วนเวทนา
เริ่มปวดเข่านิดหน่อย ยังไม่ทันกำหนดก็หาย แต่ตอนที่ใกล้หมดเวลามี
ความรู้สึกต่อสู้กัน เพราะพองยุบชัด ก็มีความรู้ว่าไม่อยากออกจากสมาธิ
แต่อีกใจก็แย้งว่าต้องออกแล้ว อาจารย์สั่งแค่นี้อย่าพยายามฝืนคำสั่ง
เถึยงกันนานมากจนลืมกำหนดค่ะ พอรู้ตัวก็กำหนดว่า"คิดหนอ"ค่ะ
ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกดังหนึ่งกริ่ง ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งนาฬิกาค่ะ เป็นเสียง
นาฬิกาอันเก่าที่เลิกใช้ไปแล้ว แต่เมื่อก่อนใช้เวลานั่งสมาธิประจำค่ะ ก็เลย
กำหนดว่า "ออกหนอ"ค่ะ พอลืมตาดูก็เป็นเวลาที่กำหนดก่อนนั่งว่า
ครั้งนี้จะนั่งยี่สิบนาที แล้วเป็นเหน็บ เจ็บหลังทันทีที่ออกค่ะ
เรียนมาเพื่อให้อาจารย์พิจารณาต่อไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา เจริญในธรรมนะค่ะ
:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:


สติสมาธิดีนะ แต่ยังไม่คงที่ ถ้าช่วงไหนสติสมาธิดี จะรู้เร็วกำหนดเร็วและอาการหาย
ไปเร็วบางทีเหมือนขาดวับเลย บางทีก็กำหนดหลายครั้งกว่าจะหาย เวลาหายก็จะค่อยๆ
จางลง เบาลง ตามการกำหนด ในระยะนี้ เวทนาต่างๆจะมาเรื่อยๆ กำหนดหายช้าบ้าง
เร็วบ้าง ส่วนมากจะ ปวด เหน็บ เจ็บ ยอก เสียด ชา ซ่า

อย่างไรก็ตาม เรากำหนดเพื่อรู้ว่ามีสภาวะนี้ปรากฏในปัจจุบันนี้เท่านั้น ไม่ใช่กำหนดเพื่อให้
เวทนาหาย และไม่ต้องอยากให้หายไปด้วยในเวลากำหนด วางใจเป็นกลางกับทุกสภาวะ
ที่เรากำหนดอยู่

อาการฮึกเหิม เป็นอาการมาจากอันตรายของวิปัสสนา อันตรายบางอย่างออกมาแล้ว
มีผลให้ฮึกเหิมออกมาให้เราสังเกตได้ ต้องกำหนดสติดีๆ อย่าปรุงหรือฟุ้งไปกับอาการ
กำหนดรู้เมื่อหายก็กลับไปที่มูลกรรมฐานตามเดิม ก่อนปฏิบัติ หรือหลังปฏิบัติ ให้สอน
ใจตัวเองว่า ธรรมวิเศษหรือของดี ของพระพุทธเจ้ายังมีอีกมาก การที่เรารู้หรือทำได้แค่นี้
เป็นเรื่องเล็กน้อย ต่อไปนี้ให้เจ้า(เตือนตัวเอง)ตั้งใจกำหนดให้ดี หน้าที่ประเมิณตัวเองไม่
ใช่หน้าที่เจ้า เจ้ามีหน้าที่กำหนดรู้ตามสภาวะเท่านั้น
ความจริงอะไรก็ได้ ที่คิดแล้วทำให้เราสังวรระวังไม่เหิมไป ก็นำมาเตือนใจเสมอ
ตรงนี้ต้อง
ระวัง บางคนเข้าใจว่ารู้แล้ว เก่งแล้ว เห็นแล้ว หนักมากๆก็เข้าใจว่าเป็นพระอริยะไปเลยก็มี
มาบอกเลิกปฏิบัติเลย บอกว่ารู้แล้ว อาการตรงนี้บางอาจารย์เรียกว่าสู้ครู

การปฏิบัติ ถ้ามีสภาวะที่อำนวยเช่น นั่งกำหนดดี เดินกำหนดดี จะเลยเวลาบ้างก็ได้
ไม่ถือว่าเป็นการฝืนคำแนะนำ แต่เป็นการรับโอกาสที่ดีมาปฏิบัติมากกว่า เพราะ
ในเวลานั้น ถือได้ว่าเป็น กายสัปปายะ จิตสัปปายะ คือกายจิตได้รับความสบายพร้อม
ในการปฏิบัติ

แนะนำวันนี้
๑.พยายามใส่ใจในแต่ละระยะที่เดิน ยก ย่าง เหยียบ และ พอง ยุบ ให้ละเอียดเท่า
ที่ไม่ฝืน
๒.กำหนดสภาวะที่เกิด เช่น อาการ ปีติ อิ่มเอิบ ขนลุกขนชัน เป็นต้นให้ทันท่วงที
๓.ระยะนี้ เดินนั่งตามเดิม ขอรอดูสภาวะอีกวันสองวัน อาจมีเพิ่มระยะเดินและเวลา
บ้าง
๓.สมาทานศีล และพยายามรักษาให้ดี สภาวะช่วงนี้ถ้าศีลไม่ดี ถอยได้เหมือนกัน
อย่างเบาๆ จะวนอยู่แถวนี้
๔.ไม่ต้องใส่ใจดูว่ากำหนดกี่ครั้งหายมากก็ได้ เดี๋ยวจะฟุ้งไป เอาแค่พอรู้ลางๆก็ได้

หมายเหตุ... เวลาตอบผม ไม่ต้องอ้างข้อความผมมาก็ได้ จะลำบากเปล่าๆ พิมพ์
ต่อเนื่องมาเลยเป็นข้อๆ คราวหน้า ขอรายละเอียดเรื่องพองยุบด้วย ชัดระยะไหน
เช่น เริ่มพอง กลางพอง สุดพอง

อนุโมทนาครับ ขอให้เจริญในวิปัสสนาญาณ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนอาจารย์ทราบค่ะ อาการขนลุกเกิดขึ้น
ตอนเดินหนึ่งครั้งหลังจากมีอาการ "ฉันแน่" แต่จำไม่ได้ว่าตอนยกย่าง
หรือเหยียบค่ะ
ส่วนตอนนั่งมีเป็นระยะๆ ประมาณสามสี่ครั้ง เกิดขึ้นและหายไปเร็วมาก
ไม่ทันได้กำหนด แล้วแป๊ปๆก็จะเกิดขึ้นอีกเหมือนเดิมค่ะ จำไม่ได้เหมือนกัน
ว่าเกิดตอนพองหรือยุบค่ะ
อาการดับของปวดคือหายไปเลยค่ะ
สภาวะต่างๆที่ทราบว่าเกิดขึ้นเท่านั้นครั้ง เท่านี้ครั้งไม่ได้นับในตอนทำสมาธิค่ะ
มานั่งนึกตอนรายงานให้อาจารย์ แล้วจำได้ค่ะ

ส่วนวันนี้มีรายงานดังนี้ค่ะ
วันนี้การพองเหมือนลูกโป่งคือพองแล้วค่อยๆพองจนสุดชัดเท่ากัน ยุบก็จะเหมือนปล่อยลม
ออกจากลูกโป่งคือค่อยๆยุบค่ะ อาการยุบจะชัดและยาวกว่าพองค่ะ
วันนี้แว่บน้อยลง คิดสองครั้งใหญ่ที่พองยุบหายไป นอกนั้นก็คิดปุ๊ปก็รู้ปั๊ป
คือบางทีกำลังยุบหนอระหว่างที่ยุบยังไม่สุดก็แว่บออกไปแต่ก็รู้ก่อนที่จะหนอค่ะ
แว่บเดียวจริงๆ
การเดินวันนี้มีความรู้สึกขึ้นมาถึงหัวเข่า สองครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าซ้ายหรือขวา แล้ว
ก็ลงไปที่เท้าเองเหมือนกันโดยที่ยังไม่ทันกำหนด ไม่สงสัย ไม่กลัว ไม่เหิม ไม่มีอารมณ์
ใดๆทั้งสิ้น แต่ปวดต้นคอ พอกำหนดก็หายไป มาเป็นอีกครั้งตอนที่จะออกจากสมาธิแล้ว
พอออกจากสมาธิกลับมาปวดที่หลังตรงบั้นเอวทั้งสองข้างค่ะ พอจะนั่งก็ยังปวดอยู่ แต่ขณะ
ที่นั่งไม่ปวดเลยค่ะ
รับทราบข้อแนะนำของอาจารย์แล้ว จะปฏิบัติตามทุกประการค่ะ
เรียนมาเพื่อให้อาจารย์พิจารณาต่อไป อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณทักทาย

อาการขนลุกซู่ ตามเนื้อตัว หรือศีรษะ ไม่จำกัดตามส่วนของร่างกาย เป็นอาการ
ของปีติ ปีติที่มีลักษณะนี้เกิดแล้วดับไปไวมาก เป็นขุทกาปีติ นอกจากนี้อาจจะมี
อาการอย่างอื่นเกิดมาอีกก็ได้ ให้ระวังและกำหนดให้ดี อย่าได้หลงติด เพราะสิ่ง
เหล่านี้เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส คือสภาวะที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง หรือทำให้
วิปัสสนาญาณไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ข้อนี้ต้องระวัง

อนึ่ง ไม่ใช่มีแค่อาการแบบนี้ ดูจากสมาธิคุณแล้ว น่าจะมีมากกว่านี้ ไม่นานคงได้
เจออันใหม่ปรากฏอีก อย่างไรก็ตาม ต้องระวัง อย่าเพลิดเพลินไป กำหนดให้ดี
สภาวะที่ปรากฏใหม่ มีทั้งเห็นทางใจแต่เหมือนเห็นทางตา เช่น แสงสว่างมาก
น้อย ตามกำลังสมาธิ อาการแปล๊บๆ อาการเอ็นกระตุกไปทั่วร่างกาย กายเบาๆโล่ง
ตัวโยกตัวเอง ไหว รู้สึกกายสงบดีกำหนดง่ายๆเพลินดี อาการเฉยๆเหมือนไม่ฟุ้ง
ไป มีความรักความศรัทธามากขึ้นเกินไป มีความเพียรมากเกินส่วน บางทีซาบซึ้งจน
น้ำหูน้ำตาไหลก็มี บางทีตื้นตันไม่รู้สาเหตุ ร้องไห้มากบ้างเบาบ้างก็มี
ทำให้รู้สึกดีจนลืมกำหนด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นข้อที่จะทำให้วิปัสสนญาณเจริญช้า
แต่จะไม่ประสบเลยก็ไม่ได้ วิปัสสนูปกิเลสนั้น จะไม่เกิดแก่บุคคลที่ปฏิบัติเหล่านี้คือ

๑.พระอริยบุคคล(พระอรหันต์)
๒.ผู้ปฏิบัติผิดวิธี
๓.ผู้ทิ้งกรรมฐาน ไม่ปฏิบัติต่อเนื่อง
๔.ผู้เกียจคร้าน

ฉนั้น เมื่อวิปัสสนูปกิเลสปรากฏชัดแก่คุณ ก็ตกลงใจได้ว่า ที่กำลังทำอยู่นี้ไม่ผิดทางแล้ว
ให้รอดูวิปัสสนูปกิเลสต่อไป จะมีมากบ้างน้อยบ้างตามกำลังของสมาธิ แต่ต้องมีแน่ และ
เมื่อปรากฏ ก็กำหนดตามปกติ ไม่ต้องพอใจชอบใจ เมื่อยังไม่ปรากฏก็ไม่ต้องอยากให้มีให้เกิด
ตรงนี้ครับ ติดกันมาก หนักๆก็คิดว่าตัวเองได้คุณวิเศษหรือบรรลุธรรมไปเลย บางคนเห็นแสง
สว่างจ้ามาก ก็เหมาเอาว่า นี่คือปัญญา เพราะมีพระพุทธพจน์ว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก


taktay เขียน:
ส่วนวันนี้มีรายงานดังนี้ค่ะ
วันนี้การพองเหมือนลูกโป่งคือพองแล้วค่อยๆพองจนสุดชัดเท่ากัน ยุบก็จะเหมือนปล่อยลม
ออกจากลูกโป่งคือค่อยๆยุบค่ะ อาการยุบจะชัดและยาวกว่าพองค่ะ


เป็นอาการของขุททกาปีติ(วิปัสสนูปกิเลส) ไม่เป็นไร กำหนดรู้ตามจริง พองหนอๆ เมื่อหาย
แล้วกลับมาที่มูลกรรมฐานต่อ อย่าใส่ใจ จะช้า ข้อนี้เพราะสมาธิดี กำหนดตามไป เดี๋ยวก็หายเอง
ให้ใส่ใจกำหนดให้มาก สติด้อยกว่าสมาธิหน่อยหนึ่ง

taktay เขียน:
วันนี้แว่บน้อยลง คิดสองครั้งใหญ่ที่พองยุบหายไป นอกนั้นก็คิดปุ๊ปก็รู้ปั๊ป
คือบางทีกำลังยุบหนอระหว่างที่ยุบยังไม่สุดก็แว่บออกไปแต่ก็รู้ก่อนที่จะหนอค่ะ
แว่บเดียวจริงๆ


ในกรณีเราอยู่ที่อาการพอง-ยุบ แล้วแว๊บออกไป ให้เลือกใส่ใจอย่างหนึ่งอย่างใด คือ
ถ้าจะกำหนดที่อาการพอง-ยุบ ก็กำหนดที่นั่นเลย รู้อาการที่นั่นเลย อย่ารู้สองอย่างไปด้วยกัน
เพราะจะเป็นสองอารมณ์ ปกติแล้วจิตสามารถรู้ได้เพียงขณะละอารมณ์ แต่ไวมากจนเราคิด
ว่าอารมณ์เดียว

taktay เขียน:
การเดินวันนี้มีความรู้สึกขึ้นมาถึงหัวเข่า สองครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าซ้ายหรือขวา แล้ว
ก็ลงไปที่เท้าเองเหมือนกันโดยที่ยังไม่ทันกำหนด


รู้สึกอย่างไรครับ อาการที่รู้ หรือรู้เคลื่อนไหวธรรมดา

taktay เขียน:
ไม่สงสัย ไม่กลัว ไม่เหิม ไม่มีอารมณ์
ใดๆทั้งสิ้น แต่ปวดต้นคอ พอกำหนดก็หายไป มาเป็นอีกครั้งตอนที่จะออกจากสมาธิแล้ว
พอออกจากสมาธิกลับมาปวดที่หลังตรงบั้นเอวทั้งสองข้างค่ะ พอจะนั่งก็ยังปวดอยู่ แต่ขณะ
ที่นั่งไม่ปวดเลยค่ะ


สภาวะที่เคยเกิดขึ้น ถ้าหายแล้วก็ดีครับ แต่ถ้ามาอีก ก็ตามเดิม กำหนดรู้เท่านั้น พยายามให้ทัน
ปัจจุบันให้มากที่สุด
อาการปวดที่จะกำหนดแล้วหายไปเลย ถ้าจะเกิดอีก มักจะย้ายที่ คืออาการของเวทนาที่เกิดจาก
การปฏิบัติธรรม อาการที่ปวดหลัง บั่นเอว ต้นคอ ถ้ากำหนดเวลานั่งเดินหายไป เมื่อละบัลลังค์
แล้ว ยังมีอาการ แสดงว่ามาจากร่างกายด้วย กล้ามเนื้ออาจยังไม่ชินกับการกดทับ ในขณะปฏิบัติ
กำหนดแล้วหายไป เป็นด้วยสมาธิที่ดี สมาธิจะส่งผลให้กลบความรู้สึกนี้ดุจหายไป บางครั้ง
อาจหายไปทั้งตัวเลย เหลือแต่เท้าที่ก้าวกับจิตที่รู้ เหลือแต่พองกับยุบและจิตที่รู้ก็มี
ฉนั้นต้องกำหนดรู้อาการไปครับ ถ้าเวทนามีขึ้นแล้วกำหนดนานกว่าจะหาย ให้แจ้ง จะได้บอก
วิธีสู้กับเวทนา(มี ๓ แบบตามมาตรฐาน)

คุณทักทายครับ คุณรู้จักไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ ๓ ประการ หรือเปล่าครับ
ตอนนี้บางอย่างเริ่มปรากฏแล้ว คุณอาจนึกไม่ถึง อย่างไรเสีย เมื่อละบัลลังค์แล้ว ลอง
ไตร่ตรองดูครับ ว่าอะไรบ้างที่เป็นไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ


ไตรลักษณะ คือ ลักษณะ ๓ อย่างที่รูปนามทุกอย่างต้องเป็นแบบนี้ สมัญญลักษณะ คือลักษณะที่ทั่วไป
แก่รูปนามทั้งปวง (ไตรลักษณ์ และ สามัญญะลักษณะ อันเดียวกัน มี ๒ ชื่อ)

๑.อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ความไม่ดำรงถาวรอยู่ได้
๒.ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้เพราะถูกบีบคั้นปรุงแต่งด้วยปัจจัยหรือสาเหตุต่างๆ ความทรมานทนได้ยาก เป็นต้น
๓.อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตน

ลองตรงดูนะครับ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องรูปนาม แจ้งด้วย ผมจะมาโพสไว้ให้


แนะนำ
๑.นอกจากการกำหนดหลักแล้ว กำหนดที่ทวารต่างๆด้วย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น
เห็นหนอ เมื่อเห็น ยินหนอ เมื่อได้ยินเสียงชัดเจนมาก กลิ่นหนอ เมื่อได้กลิ่นชัดมาก
ถูกหนอ เมื่อมีการถูกต้องสัมผัสกาย เช่น ลมพัดโดน ถ้าเป็นลมแอร์กำหนดครั้งเดียวพอ เพราะ
ต้องเจอบ่อยๆ
๒.ถ้าเป็นได้ กำหนดอิริยาบถย่อยช่วยด้วย เพื่อสติจะได้ดีขึ้นกว่าเดิม
๓.กำหนดต้นจิต คือความคิดอยาก จะปรากฏก่อนที่เราจะเคลื่อนไหวไปทำตามที่เราต้องการ
เช่น ก่อนเดิน ถ้าสติสมาธิในขณะนั้นดี จะเห็นต้นจิตที่อยากเดิน
๔.อย่าใส่ใจในอุปกิเลส กำหนดรู้เท่านั้น วางใจเป็นกลาง อย่าอยากรู้อยากเห็น
๕.ตอนนี้ไกล้เขตวิปัสสนาแล้ว เมื่อละบัลลังค์ พยายามลองพิจารณารูปนามที่เราเห็นในเวลาปฏิบัติ
ว่า ต้องตามไตรลักษณ์หรือสามัญญะลักษณะ อย่างไร แล้วดูว่า จริงแล้ว ชีวิตเราหรือคนอื่น รูปนามอื่น
เป็นอย่างไร เหมือนกันหรือต่างกันอย่างใรกับสภาวะที่เราเห็นในวิปัสสนา
๖.ระยะเดิน และ เวลาที่นั่ง ยังคงเดิม ผมต้องการให้สภาวะชัดมากกว่านี้ เพื่อประเมิณได้อย่างไกล้เคียง
ที่สุด ซึ่งเมื่อแนะนำข้ออื่นไป จะดีกว่าที่ยังรู้ไม่ชัด

ขอให้เจริญในธรรม

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 169 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร