วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 14:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208619.jpg
m208619.jpg [ 78.11 KiB | เปิดดู 3290 ครั้ง ]
เท่าที่กล่าวมานี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ความเป็นโสดาบันเป็นขั้นตอนสำคัญของจุดหมาย

แห่งการปฏิบัติธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ทางสอนย้ำไว้เป็นอย่างมาก

และเมื่อพิจารณาถึงสภาพปัจจุบันก็เป็นหลักการซึ่งเหมาะสมที่จะยกขึ้นมาตั้งเป็นเป้าหมาย

ของการดำเนินชีวิตและชักชวนกันให้หันมาใส่ใจ

นอกจากความเป็นโสดาบันแล้ว เรื่องสืบเนื่องที่ได้ย้ำให้หันไปสนใจกันให้มากด้วย ก็คือ ธรรม ๕

อย่าง อันได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

ธรรมทั้ง ๕ ข้อ นี้ ก็เช่นเดียวกับความเป็นโสดาบัน คือ ตามหลักการเดิมก็เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า

ตรัสย้ำมากอยู่แล้ว และในแง่ของสภาพปัจจุบัน

ก็มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ปฏิบัติด้วยเช่นเดียวกัน

ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง ของธรรม ๕ นั้นก็คือ เป็นคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้นไปได้ตามลำดับ

ทั้งก่อนเป็นโสดาบันและเมื่อเป็นโสดาบันแล้ว

สังคมปัจจุบัน ต้องการศรัทธาที่ประกอบด้วยเหตุผล ไม่งมงาย ต้องการความมั่นใจ

ในความเป็นมนุษย์ชนิดที่สัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายที่ดีงาม


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


สังคมปัจจุบัน ต้องการศีลธรรม คือธรรมขั้นศีล ที่ประพฤติปฏิบัติกันด้วยความเข้าใจความมุ่งหมาย

และซื่อตรงต่อหลักการอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นเครื่องควบคุมที่ธำรงรักษาสังคมเอาไว้ได้

สังคมปัจจุบัน เจริญด้วยสุตะอย่างมากมายล้นเหลือ แต่ดูเหมือนสุตะเหล่านั้น

จะทำให้มนุษย์สับสนและกลายเป็นตัวการก่อปัญหาต่างๆ มากมายยิ่งขึ้น

สังคมจึงต้องการสุตะในอริยธรรมที่จะมาชี้จุดรวม เป็นส่วนเสริมให้พอดี ที่จะนำชีวิตและสังคม

ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง

สังคมปัจจุบันได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีทีท่าว่าจะทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ

สภาพเช่นนี้ ต้องการความเสียสละ ความไม่เห็นแก่ตัว การช่วยเหลือแบ่งปันกันด้วยใจบริสุทธิ์

โลกไม่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอที่จะทนให้มนุษย์ ซึ่งมีอำนาจล้นเหลือสามารถแสวงสุข

จากการเอาอย่างไม่รู้จักอิ่มไดอีกต่อไป

มนุษย์จะต้องรู้จักมีความสุขด้วยการให้ และสามารถอยู่ร่วมกันด้วยดีได้โดยรู้จักเผื่อแผ่แบ่งปัน

และมีความสุขจากการกระทำเช่นนั้นด้วย

สังคมปัจจุบัน ประกอบด้วยมนุษย์ที่มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของตนเป็นอย่างยิ่ง

เพราะได้เจริญก้าวหน้าด้วยวิทยาการต่างๆ

สามารถทำสิ่งแปลกมหัศจรรย์ เอาชนะธรรมชาติแวดล้อมได้มากมาย

มนุษย์ได้พัฒนาโลกียปัญญามาอย่างเก่งกล้าสามารถ จนมีอำนาจเกินตัว และกำลังเริ่มแผ่อิทธิพล

ออกไปในจักรวาล

แต่เพราะขาดปัญญาในแนวโลกุตระเป็นดังหมุดตรึงเพียงนิดเดียว

มวลมนุษย์ก็กำลังจะกลับกลายเป็นเหยื่อแห่งหลุมอันตรายที่เกิดจากปัญญาของตนเอง

ประสบการติดตันทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ

สังคมปัจจุบันกำลังต้องการอริยปัญญาเพื่อมาแก้ปัญหาเหล่านี้ *


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

* การรื้อฟื้นธรรม ๕ อย่างนี้ขึ้นมาสอนเน้นกัน จะช่วยแก้ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง

ชนิดเป็นผลพลอยได้อีกด้วย คือ การที่คำสอนที่เผยแพร่กันอยู่

มักทำให้พระพุทธศาสนาถูกชาวตะวันตกมองว่า เป็นศาสนาที่มีคำสอนแต่ในแง่ลบ

และถอนตัว ไม่เอาการ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




50.jpg
50.jpg [ 72.8 KiB | เปิดดู 3288 ครั้ง ]
เมื่อมองเทียบกับสภาพของสังคมปัจจุบันและพฤติกรรมของประชาชน ที่แพร่หลายอยู่ในบัดนี้

จะเห็นชัดว่า

บุคคลโสดาบัน มีคุณสมบัติข้อเด่น ที่ควรย้ำไว้เป็นพิเศษสำหรับเป็นคติ แก่การดำเนินชีวิต

๒ ข้อ คือ




๑. บุคคลโสดาบัน มีความเข้าใจและมั่นใจในกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล เชื่อมั่นในวิธีการ

แห่งปัญญาอย่างแข็งขันมั่นคงเพียงพอ ที่จะมุ่งหวังผลสำเร็จต่างๆ จากการกระทำ ด้วยสติปัญญา

และความเพียร

พยายามตามทางแห่งเหตุผลเท่านั้น ไม่หวังพึ่งโชคลางหรือการอ้อนวอนขอฤทธานุภาพดล

บันดาล จากอำนาจวิเศษภายนอกแต่อย่างใดเลย

(แต่เพราะปัญญา ที่รู้แจ้งสภาวธรรมของบุคคลโสดาบัน ยังไม่บริบูรณ์เต็มที่ ความมั่นใจนั้น

จึงไม่เป็นโดยลำพังตนเอง ยังต้องอิงอาศัยฝากไว้กับท่าน ผู้ได้เข้าถึงความจริงนั้นมาก่อนแล้ว

เป็นตัวอย่างนำทางให้ ดังที่เรียกว่า ศรัทธาในโพธิของตถาคต หรือ ศรัทธาใน

พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นศรัทธาขั้นที่บริสุทธิ์เต็มที่ และเป็นศรัทธาขั้นสุดท้ายก่อนที่ปัญญาจะบริบูรณ์

และเข้ามาแทนที่ต่อไป

พุดอีกนัยหนึ่งว่า พฤติกรรมยังไม่เป็นไปด้วยปัญญาล้วนๆ แต่ยังอาศัยปัญญาที่หนุนด้วยแรง

ศรัทธา )


๒. บุคคลโสดาบัน ได้ก้าวหน้าแน่วดิ่งไปแล้วในทางแห่งการตรัสรู้ เขาเข้าใจโลกและชีวิตมากพอ

ที่จะไม่หลงตีราคาโลกธรรมต่างๆไปตามแรงปลุกปั่นของกิเลส

เขาได้เริ่มรู้จักความสุขสงบผ่องใส ความเป็นอิสระเบิกบานเป็นต้นที่เป็นด้านโลกุตระ

ซึ่งทำให้เขามองเห็นคุณค่าของธรรม จนเกิดฉันทะ คือ รักความพอใจในธรรม

ต้องการธรรมอย่างจริงจัง จนไม่มีทางที่จะกลับมามัวเมาในการเสพแสวงสิ่งปรนเปรอทางวัตถุ

อีกต่อไป

เมื่อเขาประพฤติดีประกอบการสุจริต (ศีล) ก็ตาม

เมื่อทำการเสียสละบริจาคให้การช่วยเหลือแก่ผู้อื่น (จาคะ) ก็ตาม

เขาจึงไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังได้ลาภ เกียรติ ยศ สรรเสริญ สุข สวรรค์ อย่าง

โลกียปุถุชนทั้งหลาย

และเขาย่อมมีความเข้มแข็งมั่นคงในจริยธรรม เพราะการไม่ได้ผลตอบแทนเหล่านี้

ย่อมไม่อาจเป็นเหตุให้เขา เกิดความย่นระย่อท้อถอยในการทำความดี


ชีวิตของบุคคลโสดาบัน ได้พัฒนามาถึงขั้นที่สรุปได้ด้วยคาถาพุทธพจน์ในพระธรรมบทว่า


“มนุษย์มากมายนักหนา ถูกความกลัวคุกคามเข้า พากันยึดเอา ภูเขาบ้าง ป่าบ้าง สวนและต้นไม้

ศักดิ์สิทธิ์บ้าง เป็นที่พึ่ง

สิ่งเหล่านั้น ไม่เป็นที่พึ่งอันเกษมได้เลย นั่นไม่ใช่สรณะอันอุดม

คนยึดเอาสรณะอย่างนั้น จะพ้นไปจากสรรพทุกข์หาได้ไม่

“ส่วนผู้ใด ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มองเห็นด้วยปัญญาโดยถ่องแท้

ซึ่งทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคามีองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบ

ระงับทุกข์ นี่แหละคือสรณะอันเกษม นี้คือสรณะอันอุดม คนถึงสรณะอย่างนี้แล้ว

ย่อมปลอดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”

(ขุ.ธ.25/24/40)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


หัวหน้าครอบครัว หัวหน้าวงค์ตระกูล หัวหน้าสถาบันและกิจการต่างๆ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้บริบูรณ์

มีคุณค่าสมแก่ฐานะ ก็คือท่านที่สามารถทำให้คนในครอบครัว ในวงค์ตระกูล

สถาบันและกิจการ

เหล่านั้น เช่น บุตรภรรยา คนอาศัย คนในงาน เจริญงอกงามขึ้นด้วยคุณธรรม ๕ ประการเหล่า

นี้ ดังบาลีว่า


“คนภายใน อาศัยหัวหน้าตระกูลผู้ศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญทั้ง ๕ คือ

เจริญงอกงามด้วย ศรัทธา...ศีล...สุตะ...จาคะ...ปัญญา เหมือนดังพฤกษาใหญ่

อาศัยขุนเขาหิมวันต์ เจริญด้วยส่วนที่งอกงามทั้ง ๕ คือ เจริญงอกงามด้วยกิ่งใบ...เปลือก...กะเทาะ...กระพี้...และแก่น”


(องฺ.ปญฺจก.22/40/47 )



ไม่แต่เพียงการทำหน้าที่ต่อครอบครัว และ การอนุเคราะห์ญาติมิตรเป็นต้นเหล่านั้น

แม้การตอบแทนคุณ ของบิดามารดาก็จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ปลูกฝังท่านไว้ในคุณธรรมเหล่านี้

ดังพุทธพจน์ว่า


“ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่าน เราไม่กล่าวว่าจะกระทำการตอบแทนคุณได้ง่ายเลย

สองท่าน คือ ใคร คือ มารดาและบิดา

หากบุตรจะเอามารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง เอาบิดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง

ปรนนิบัติ ถึงเขาจะมีอายุยืนร้อยปี อยู่ได้ตลอดศตวรรษ และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสอง

ด้วยการขัดสี นวดฟั้น อาบน้ำให้

และแม้ว่าท่านทั้งสองนั้นจะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา นั่นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้

กระทำคุณหรือตอบแทนแก่มารดาบิดา

ถึงบุตร จะพึงสถาปนามารดาบิดาไว้ในราชสมบัติ

ทรงอิสราธิปัตย์ บนมหาปฐพีอันมีสัตตรัตนะมากหลายนี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้ทำคุณ

หรือได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย


“ส่วนว่า บุตรคนใด ชักจูง ปลูกฝัง ประดิษฐาน ซึ่งมารดาบิดา ซึ่งไม่มีศรัทธา ไว้ในศรัทธา

สัมปทา...

ซึ่งมารดาบิดาผู้ทุศีล ไว้ในศีลสัมปทา...ผู้มีมัจฉริยะ ไว้ในจาคสัมปทา...ผู้ทรามปัญญา

ไว้ในปัญญาสัมปทา

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ จึงชื่อว่า เป็นอันได้ทำคุณ ได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา”

(องฺ.ทุก.20/278/78)

ตัดมาจากหนังสือพุทธธรรม หน้า 417

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 18:08
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ค้าบ เชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์(ไม่สงสัยในธรรมใดๆ) มีศีลบริสุทธิ์ เห็นกายและสรรพสิ่งเป็นของไม่เที่ยง(ขั้นต้น) เป็นอันว่าตัดสังโยชน์ได้ 3 ข้อ ก็ถึงพระโสดาบันครับ :b12:

.....................................................
จะไม่พูดว่าตนดี เมื่อไรที่ว่าตนดีแปลว่า เราเองนั้นเลวสุดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณกรัชกาย
:b48: :b48: :b48:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7g9kl.gif
7g9kl.gif [ 4.27 KiB | เปิดดู 3287 ครั้ง ]

ข้างต้นได้กล่าวถึงศัพท์ "ธรรมานุธรรมปฏิบัติ" ไว้คร่าวๆ แต่ยังขาดรายละเอียด

จึงขอนำคำอธิบายมาลงไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติ ได้เห็นแนวทางการปฏิบัติธรรมว่า

อย่างไรถูก อย่างไรผิด


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ดูพุทธพจน์อีกครั้ง


“ภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ กล่าวคือ การเสวนากับสัตบุรุษ,

การฟังธรรมของสัตบุรุษ, การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี, การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่


การปฏิบัติธรรม หรือ กระทำการตามหลักการใดๆ ก็ตาม

จะต้องเข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของธรรม หรือ หลักการนั้นๆ ว่า

ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลักการนั้น กำหนดวางไว้เพื่ออะไร

จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง

ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่างที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรม

หรือหลักการข้ออื่นๆ ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้

นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้อง ที่เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ (ธรรม+อนุธรรม+ปฏิบัติ) แปลสืบๆ กันมาว่า

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่

แปลเข้าใจง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้ สอดคล้องกัน

และส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า

การปฏิบัติธรรมหรือ การกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้ หรือ ไม่

ถ้าไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ

การปฏิบัติธรรม หรือ ดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย

ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้ามคือเกิดโทษขึ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีแนวธรรมเดียวกันนี้ ที่มาในพระสูตรอื่นๆ อีกมากมายเหลือเกิน- (องฺ.ติก. 20/105/47 ฯลฯ)

จนต้องถือได้ว่า เป็นหลักการสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาทีเดียว

เช่นว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน

เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ

ย่อมเล่าเรียนธรรมโดยเคารพ

ย่อมทรงธรรมไว้โดยเคารพ

ย่อมไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้วโดยเคารพ

ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

(ธรรมานุธรรมปฏิบัติ)

ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน

เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม”


(องฺ.ปญฺจก.22/145/197 )


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


คำว่า “ โดยเคารพ” (สกฺกจฺจํ) หมายความว่า ทำด้วยความตั้งใจจริง ถือเป็นเรื่องสำคัญ

หรือ เอาจริงเอาจัง

เช่น “วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ” = จ้องดูลูกวัว อย่างสนใจจริงจัง

(วินย.5/17/27)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คนไร้สาระขอโอกาส อนุญาติ เรียนถามคุณกรัชกาย
ค่ะว่า จิตใจที่รู้สึกว่า การละสักกายะทิฏฐิได้ จิตลักษณะ
นี้จะมีความต่างจากปุถุชน อย่างไรบ้าง (หมายถึงการคิด
หรือความรู้สึกต่อคน สิ่งของ สถานที่) และการถอน
อนุสัย เป็นอย่างไรค่ะ

:b47: คนไร้สาระก็ ได้อ่านข้อความที่คุณกรัชกายโพสต๋
ด้วยอาจเป็นคนที่ด้อยปัญญา จึงยังไม่แจ่มแจ้ง
ขอความอนุเคราะห์ชี้แจงเพิ่มเติม

:b8: ขอขอบพระคุณล่วงหน้า


:b52: :b52: :b52:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




961457njqoucs7zc.gif
961457njqoucs7zc.gif [ 175.99 KiB | เปิดดู 3286 ครั้ง ]
สรุปก็คือว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรม ให้ถูกต้องตามหลักการ

ตามความมุ่งหมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

หลักเบื้องต้นเอื้อแก่ หรือ เป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย เช่น

ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผล นิพพาน

มิใช่ปฏิบัติโดยงมงาย ไร้หลักการ หรือ ทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ

ดังที่ท่านแสดงตัวอย่างธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน ๔ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น

(หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif
18ccd478e2ec218218d2dc7b7fb6edf0_raw.gif [ 17.69 KiB | เปิดดู 3284 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
จิตใจที่รู้สึกว่า การละสักกายทิฏฐิได้ จิตลักษณะนี้จะมีความต่างจากปุถุชน อย่างไรบ้าง
และการถอน อนุสัย เป็นอย่างไรค่ะ



สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่า เป็นตัวของตน ติดสมมุติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่าง

หยาบและเกิดความกระทบกระทั่งมีทุกข์ได้แรง ๆ)


คุณ คนไร้สาระ ถามคำถามที่ตอบให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ยากครับ เพราะว่า การที่จะทำลายอุปาทาน

ได้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้วนิพพิทาก็เกิดเอง

อุปาทานก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือ ภาวะที่เป็นไปเองตามเหตุ

ปัจจัยของมัน


พิจารณาวิธีการปฏิบัติสองแนวทางครับ

๑.โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ๆ => ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรม

จนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง

๒. โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อบรรเทาตัณหา ๆ => เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้น เพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลา

กิเลส

ข้อ ๑. วิธีปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

ข้อ ๒. คือ ยึดข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่งสำหรับไว้เตือนตน ที่ใช้กันบ่อยๆ เช่นนึกว่ามันเป็น อนิจจัง

ทุกขัง อนัตตา หรือ นึกคิดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เป็นต้น

หมายถึงว่า เมื่อตนประสบกับทุกข์ไม่สบายใจ ก็นึกปลงว่า ไม่มีอะไรแน่นอน เป็นอนิจจัง ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 3283 ครั้ง ]
พิจารณาความรู้สึก เช่นที่ตั้งคำถามต่อครับ


ภาวะทางจิต

ภาวะทางจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน คือ ความเป็นอิสระ หรือ เรียกตามคำพระว่าความหลุดพ้น

ภาวะนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากปัญญา คือ เมื่อเห็นตามเป็นจริง รู้เท่าทันสังขารแล้ว

จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส

ท่านมักกล่าวบรรยายการเข้าถึงภาวะนี้ว่า

“จิตที่ปัญญาบ่มงอมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย”

(ที.ม. 10/76/96 ฯลฯ )

หรือ “เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ

จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากภวาสวะ

จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากอวิชชา”

(วินย. 11/39 ฯลฯ)

ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือ

การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ อย่างที่ท่านเรียกว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะ

หรือโลภะ โทสะ และ โมหะ -(องฺ. จตุกฺก. 21/117/161 ฯลฯ )

เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว

ยิ่งกว่านั้น ยังมีผลสืบเนื่องจากความปราศจากราคะ โทสะ โมหะต่อไปอีก คือ ทำให้ไม่มีความ

หวาดเสียว สะดุ้ง สะท้าน หวั่นไหว


(องฺ. จตุกฺก. 21/117/161 ฯลฯ )

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

นอกจากไม่มีเหตุที่จะให้ทำความชั่วเสียหายที่ร้ายแรงแล้ว

ยังมีหลักประกันความสุจริตใจในการทำงานด้วย

(ม.ม.13/657/603)

สามารถเป็นนายของอารมณ์ ถึงขั้นที่ท่านเรียกว่า

เป็นผู้อบรมอินทรีย์แล้ว คือ เมื่อรับรู้อารมณ์เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น

เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า น่าชอบใจ ไม่น่าชอบใจ หรือเป็นกลางๆ ก็ตาม

ก็สามารถบังคับสัญญาของตนได้ ให้เห็นของปฏิกูล เป็นไม่ปฏิกูล

เห็นของไม่ปฏิกูล เป็นปฏิกูล เป็นต้น

ตลอดจนจะสลัดทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล วางใจเฉยเป็นกลางอยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ

ก็ทำได้ตามต้องการ

(ม.อุ. 14/663/546)

เป็นผู้มีสติควบคุมตนได้ เรียกว่าเป็นคนที่ฝึกแล้ว (ขุ.สุ. 25/331/398 ฯลฯ)

หรือ ผู้ชนะตนเองซึ่งเป็นยอดของผู้ชนะสงคราม (ขุ.ธ.25/18/28)

มีจิตหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปตามอิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์

เหมือนภูเขาหินใหญ่ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลม

(องฺ.ฉกฺก.22/326/423)


หรือ เหมือนผืนแผ่นดิน เป็นต้น ที่รองรับทุกสิ่ง ไม่ขัดเคืองผูกใจเจ็บต่อใครไม่ว่า

จะทิ้งของดีของเสียของสะอาดไม่สะอาดลงไป


(ขุ.ธ.25/17/27)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

อีกด้านหนึ่งของความหลุดพ้นเป็นอิสระ คือ ความไม่ติดในสิ่งต่างๆ ซึ่งท่านมักเปรียบกับใบบัว

ที่ไม่ติดไม่เปียกน้ำ และดอกบัวที่เกิดในเปือกตมแต่สะอาดงามบริสุทธิ์ ไม่เปื้อนโคลน

(ขุ.สุ. 25/371/436 ฯลฯ )

เริ่มต้น แต่ไม่ติดในกาม ไม่ติดในบุญบาป ไม่ติดในอารมณ์ต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้ต้องรำพึงหลัง

หวังอนาคต ดังบาลีว่า

“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน

ฉะนั้น ผิวพรรณของท่านจึงผ่องใส

ส่วนชน ผู้อ่อนปัญญาทั้งหลาย เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อย

ถึงความหลังอันล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้

กลางแสงแดด”

(สํ.ส.15/22/7)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“หากเธอเสวยเวทนาที่เป็นสุข ก็รู้ชัด (รู้เท่าทัน) ว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง

รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ตนมิได้สยบ

รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ตนมิได้ติดใจเพลิน -(อนภินันทิต)

หากเธอเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์...

หากเธอเสวยเวทนาที่ไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ...ตนมิได้สยบ...ตนมิได้ติดใจ

เพลิน...

หากเธอเสวยสุขเวทนา ก็เสวยสุขเวทนานั้นอย่างไม่ถูกมัดตัว

หากเธอเสวยทุกขเวทนา...

หากเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เสวยเวทนานั้นอย่างไม่ถูกมัดตัว

เธอนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย -(เวทนาทางทวาร ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย)

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย

เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต (เวทนาทางใจ)

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต

เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิตเพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิตานิ) ทั้งหมด

ซึ่งมิได้ติดใจเพลิน - (อนภินันทิต)

จักเป็นของเย็นอยู่ที่ (อายตนะ 12) นี้เอง

สรีรธาตุ (ซากกาย) จักคงเหลืออยู่”

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

“จักเป็นของเย็นอยู่ที่ (อายตนะ 12) นี้เอง”

หมายความว่า หมดพิษสง หมดอิทธิพลอยู่เพียงแค่ที่อายตนะ 12 เท่านั้น

อย่างนี้แปลตามนัย ม.อ.3/700

แต่ถ้าแปลตาม อิติ.อ.218 สํ.อ.2/102; องฺ.อ.2/478

ต้องว่า “จักเป็นของเย็นอยู่ในอัตภาพนี้เอง”

คือ ไม่เลยต่อไปเกิดปฏิสนธิใหม่อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรมเครื่องอยู่ประจำ ๖ ประการ คือ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ *

ฟังเสียงด้วยหู...

สูดกลิ่นด้วยจมูก...

ลิ้มรสด้วยลิ้น...

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ

เธอนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย

เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต

ก็รู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิตเพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวยแล้วทั้งหมด

ซึ่งมิได้ติดใจเพลิน จักเป็นของเย็นอยู่ที่ (อายตนะ 12)นี้เอง”


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* พึงเกตความหมายของการมีอุเบกขา ว่ามีสติสัมปชัญญะกำกับ ไม่ใช่เฉยทื่อๆ ซึมๆ

หรือเฉยเซ่อเซอะ ไม่รู้เรื่องรู้ราว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 09:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคุณ mes และคุณคนไร้สาระ พอเข้าใจคำตอบบ้างแล้ว

พึงพิจารณาประเด็นที่ถามอีกแง่มุมหนึ่ง

โดยเอา ข้อ ๒ ขึ้นก่อน พร้อมข้ออุปมา อาจเห็นภาพชัดขึ้น




๒ . โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อบรรเทาตัณหา ๆ => เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้น เพราะเป็นเพียงขั้น

ขัดเกลากิเลส

๑. โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ๆ => ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรม

จนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง



ข้อ ๒ เป็นความรู้สึกของผู้ยังอยู่ในขั้นศรัทธา

ส่วนข้อ ๑ เป็นความรู้สึกของผู้ก้าวผ่านศรัทธาได้ คือ ถึงระดับปัญญาแล้ว



ความรู้สึกของผู้อยู่ในขั้นศรัทธา มีเทียบเคียงข้ออุปมาดังนี้


สมมุติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงามเรียบร้อยเป็นอย่างดี

วางไว้ในตู้กระจกที่ปิดใส่กุญแจไว้

ทีนี้ มีชายคนหนึ่งเชื่ออย่างสนิทใจว่า ในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่

แต่ยังเอาไม่ได้

เขาพะวักพะวงวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงานมาก

ต่อมามีคนที่เขานับถือมาบอกว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา

และการที่เขาอยากได้นั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก

ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็นด้วยว่า การพวงวุ่นวายอยู่นั้น

ไม่ดีมีโทษมาก แต่ลึกลงไปเขาก็ยังเชื่อว่า คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่

เมื่อยังเชื่ออยู่ เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย ยังตัดใจไม่ลง

แต่เขาพยายามข่มใจเชื่อตามคนที่เขานับถือ และ แสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่า

เขาเชื่อตามเห็นตามคำของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว

เขาจึงแสดงอาการว่า เขาไม่อยากได้ เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืน ตะโกน นั่งตะโกนอย่างไร ๆว่า ฉันไม่เอา ๆ

ใจของเขาก็คงผูกพัน เกาะเกี่ยวอยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง

และ บางทีเพื่อแสดงตัวในคนอื่นเห็นว่า เขาไม่ต้องการของนั้น เขาไม่อยากได้

เขาจะไม่เอาของนั้น เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ ที่เกินสมควร อันนับได้ว่ามากไป

กลายเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้.....นี่เป็นขั้นตอนที่หนึ่ง



ต่อมา ชายผู้นั้นแหละ มีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อ และ ปรากฏว่าเป็นเพียงเศษขยะจริง

ตามคำของคนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา

เมื่อเขารู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว เขาจะหมดความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว

ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา ถึงจะเอาเชือกมาผูก

ตัวติดกับของนั้น

หรือ หยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่า ฉันอยากได้ ฉันจะเอา ใจก็จะไม่ยอมเอา

ต่อจากนั้นไป ใจของเขา จะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก

ใจของเขาจะเปิดโล่งออกไป พร้อมที่จะมองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป ....

นี้เป็นตอนที่สอง

(ขั้นนี้เทียบได้กับ โยนิโสมนสิการ ข้อ ๑ “ความรู้สึกของผู้ก้าวผ่านศรัทธาถึงระดับปัญญาแล้ว” )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 10:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif
0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif [ 47.97 KiB | เปิดดู 3279 ครั้ง ]
(ต่อ)

ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง

เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยากและความยึดอยู่ ด้วยตัณหาอุปาทาน

เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่าสิ่งทั้งหลายที่อยากได้ มั่นหมายยึดเอานั้น

มีสภาวะแท้จริงที่ไม่น่าอยากไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือก็มีโทษมากมาย

เขาเห็นด้วยโดยเหตุผลว่า ความอยากได้และความถือมั่นไว้มีโทษมาก

และก็อยากจะเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ ล้วนมีสภาวะซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา

แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น ลึกลงไปในใจ

ก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ อยากจะปฏิบัติตาม

หรือ อยากแสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น

เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ ไม่ยึดติด

ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น

ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเอง

ตามธรรมชาติ

เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น ที่เขาเอามายึดถือไว้

เขาเข้าใจความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติหรือทำการต่างๆ ไปตามนั้น

ความไม่ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียง ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น และการกระทำของเขา

ก็เป็น การกระทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ

คือ อาจเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง หลอกตนเองหรือเกินเลยของจริง ไม่สมเหตุผล

อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้


ความเทียบเคียงในตอนที่สอง


เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดาแห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ

เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือ เกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการที่ว่า

เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่

คือเมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 10:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ขอบพระคุณ คุณกรัชกายมากค่ะ
คนไร้สาระ เข้าใจอย่างนี้พอได้ไหม ?

จิตของผู้ที่ละสักกายะฏิฐิ ได้ ย่อมไม่ยินดีติดในกาม
แต่ยังถอนไม่หมด เพราะเท่าที่ทราบพระโสดาบันยัง
รักสวย รักงามอยู่

ยังมีใจหวั่นไหว กระเพื่อม ถึงจะโอนเอนไปบ้าง แต่จะ
ไม่นาน และไม่มากเท่ากับจิตปุถุชน

คำที่ว่ามีใจเสมือนแผ่นดิน ความหมายกว้างขวาง
ลึกซึ้งจริง ๆ เพราะจิตจะไม่ติดทั้งดีและเลว ด้วย
ความเห็นว่า ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เห็นโทษ
ภัยของกิเลส ตัณหา จิตจึงถอนจากกิเลสและตัณหา
ออกได้

นี่ใช่ไหมค่ะที่เรียกว่า ทางสายกลาง ใจไม่ไหล
ตามกิเลส แต่ก็ไม่ได้บังคับกดข่ม เพราะรู้และยอม
รับ ตามกฏไตรลักษณ์จริง ๆ

อันนี้เป็นคำถามค่ะ
จิตที่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย มาก ๆ
เห็นแต่ภาระ และความยุ่งยาก ทุกข์ภัยในการกระทำ
ทุกอย่างแม้กระทั่งความคิดที่ผุดขึ้น เกิดจิตลักษณะนี้
เพราะเหตุใดค่ะ

ถ้าสิ่งที่อธิบายมาไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ขอช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร