วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบสวัสดีท่านผู้รู้และผู้ทรงธรรมทุกท่านค่ะ :b8:

วันนี้ดิฉันจะมาถามอารมณ์เกี่ยวกับสภาวะธรรม ซึ่งจริงๆแล้วดิฉันเป็นคนไม่แม่นในศัทพ์ธรรม

จึงขออนุญาตเล่าตามสภาวะที่ตัวเองเป็นน่ะค่ะ

อารมณ์ที่เกิดคือ (เท่าที่สังเกตุตัวเองได้นะค่ะ)

เนื่องจากดิฉันพิจารณาเกี่ยวกับ สภาวะธรรม ดูโลก ดูคน เป็นปกติ ซึ่งทำเป็นปกติในชีวิตประจำวัน และในการเป็นอยู่

ในชีิวิตประจำวัน ดิฉันจะเห็นสัจธรรมหลายๆข้อ ทำให้เกิดอารมณ์เบื่อหน่ายในโลก เห็นโลกเป็นที่

ที่ไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยบุคคลที่มีกิเลสตัณหา เห็นความพอใจและไม่พอใจของผู้คน ที่วิ่งไปตาม

กระแสของกรรม กระแสของกิเลส ดิฉันมีสภาวะอารมณ์อย่างนี้ทุกๆวัน จนเกิดความเบื่อหน่ายมาก

ถ้าจะถามว่า ทุกข์ไหม เมื่อเราสำรวจใจเราจะเห็นว่า มันไม่ได้ทุกข์เลย สังเกตุต่อว่า เรามีจิตหวั่นไหว

กับสภาวะจิตที่เกิดขึ้นไหม เมื่อสำรวจใจเราจะเห็นว่า ไม่มีความหวั่นไหวเกิดขึ้นในจิตเลย จิตมันแข็งและ

แกร่งมาก แข็งคล้ายๆจิตเป็นหินไม่รู้สึกถึงความหวั่นไหว กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น...ปัญหาอยู่ตรงนี้หล่ะค่ะ

เหตุใดจิตเราไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ และไม่หวั่นไหว กับสภาวะธรรมที่เกิด

ขึ้นกับจิต แต่เหตุใด ดิฉันรู้สึกถึงความร้อนที่เกิดขึ้นในกลางกาย
ตรงกลางหัวใจ แต่ดิฉันไม่ไ่ด้

ทุกข์นะค่ะ เฉยๆและจิตแข็งและแกร่งมาก จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะค่ะ คล้ายๆคนที่รู้สึกคลื่นใส้ ถ้า

ได้อ้วกออกสักนิดอาการก็จะดีขึ้นนะค่ะ อาการแบบนี้เป็นมาหลายครั้งแล้ว และแต่ละครั้งจะเป็นนานขึ้น

เรื่อยๆ...ดิฉันคิดว่า อาการแบบนี้ ท่านผู้รู้และท่านผู้ทรงธรรมคงเคยผ่านมาบ้าง

แล้ว ดิฉันเลยอยากมาเรียนถามว่า จะบรรเทาอาการนี้อย่างไรค่ะ..ตอนนี้

ก็ได้แต่ดูอาการนี้อยู่และรู้สึกเหมือนตัวเองกระอักเลือดตลอดเวลา ซึ่งยิ่งกระอักเลือดยิ่งคิดว่าโลกนี้นั้น

ไม่น่าอยู่ ไม่มีสาระอะไรที่จะสามารถดึงให้ดิฉันอยู่ในโลกนี้ได้..จนครั้งนึง ดิฉันเคยคิดว่ามีวิธีไหนที่จะ

สามารถร่นระยะการตายของดิฉันให้ไวขึ้นได้ เพราะดิฉันเห็นว่าทางเดียวที่จะร่นระยะเวลาได้คือความ

เพียรเท่านั้น ที่จะทำให้ร่นระยะการตายของดิฉันได้ไวขึ้นได้ วันนี้อาการที่เกิดขึ้นไม่หนักเหมือนครั้งก่อน

แต่มันแจ้งแก่ใจขึ้นทุกๆวัน ว่าโลกไม่น่าอยู่ โลกเต็มไปด้วยสัญญาและมารยา_ทของสังคมและของโลก


วันนี้ดิฉันมาขอความช่วยเหลือจากท่านผู้รู้และท่านผู้ทรงธรรมอีกครั้งค่ะ ว่าอาการที่เกิดขึ้นดิฉันจะ

สามารถบรรเทาอาการนี้ไปได้อย่างไร



:b8: :b8: กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะค่ะ คล้ายๆคนที่รู้สึกคลื่นใส้ ถ้า
ได้อ้วกออกสักนิดอาการก็จะดีขึ้นนะค่ะ อาการแบบนี้เป็นมาหลายครั้งแล้ว
และแต่ละครั้งจะเป็นนานขึ้นเรื่อยๆ


ถ้าจิตมีสภาวะที่ไม่สั่นคลอนจริงๆ
ควรจะมีอาการแช่มชื่น ราบเรียบ สงบๆ
เหมือนผิวน้ำที่ไม่มีคลื่นมากกว่านะ

ลองพิจารณาธรรมในธรรม

คือพิจารณาตามสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริง
ไม่กด ไม่ข่ม ไม่ปรุง ไม่แต่ง
เบื่อก็พิจารณาตัวเบื่อ
อยาก "ร่นระยะเวลา" ก็พิจารณาตัวอยาก

ผลออกมาเป็นอย่างไร? นำมาแบ่งปันกันนะค่ะ

(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว โปรดพิจารณาค่ะ)

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 22:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าจิตมีสภาวะที่ไม่สั่นคลอนจริงๆ
ควรจะมีอาการแช่มชื่น ราบเรียบ สงบๆ
เหมือนผิวน้ำที่ไม่มีคลื่นมากกว่านะ


ขออนุญาติตอบนะค่ะ ถือว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันค่ะ ในความสงบ

เหมือนผิวน้ำไม่มีคลื่น ถ้าดูลึกๆ หรือดูอย่างจริงจังแล้วจะเห็นว่ามีคลื่นใต้น้ำเสมอค่ะ คลื่นใต้น้ำจะหาย

ไปได้ก็ต่อเมื่อเราดูจิตต่อเนื่องจนถึงจิตนิ่ง นิ่งที่เรียกว่าจิตประภัสสร แต่เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งความเป็น

จริงสิ่งที่กระทบย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การที่จะทำให้จิตนิ่งจนถึงเป็นจิตประภัสสรนั้น ต้องทำสมาธิไป

ด้วย แต่ในชีิวิตประจำวัน เราไม่สามารถ ทำท่าค้างหรือ นั่งค้างเพื่อดูจิตจนเกิดสมาธิขนาดนนั้นได้ นี่คือ

ความคิดเห็นส่วนตัวเช่นกันนะค่ะ วิธีนี้เคยทำมาบ้างแล้วและดูมาเรื่อยๆ จนถึงสภาวะที่เป็นอยู่ค่ะ จิตจะ

นิ่งแข็งและแกร่งขึ้นมาเอง..ถ้าดิฉันคิดผิดหรือพูดผิด กรุณาแนะนำเพิ่มเติมให้ความรู้แก่ดิฉันด้วยนะค่ะ

จะกราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ :b1:

อ้างคำพูด:
คือพิจารณาตามสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริง
ไม่กด ไม่ข่ม ไม่ปรุง ไม่แต่ง
เบื่อก็พิจารณาตัวเบื่อ


ในสภาวะอย่างนี้ เราได้แค่ดูค่ะ ดูและเสพอารมณ์เพื่อวางมันออกจากใจให้เร็วที่สุด แต่ในสภาวะที่เป็น

อยู่ ดิฉันไม่สามารถวางออกไปจากใจได้ เพราะมีการเสพอารมณ์ เสมอๆ.... เมื่อมีขยะในใจเราจะเอา

ขยะออกจากใจกัน... แต่ในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจว่า มันมี อนิจจังและ อนัตตาอยู่

เสมอ แต่เนื่องจากเราเป็นผู้ฝึกหัดในด้านทางธรรม รู้ได้แต่ปาก ใจกลับไม่ยอมรับหรือไม่กระจ่างแก่ใจ

ที่มาถามความคิดเห็นจากผู้รุ้หรือผู้ทรงธรรมที่ผ่านอารมณ์แบบนี้มาบ้างแล้ว อยากทราบนะค่ะ ว่าพวก

ท่านๆทำกันอย่างไรเพื่อบรรเทาการร้อนที่เกิดขึ้น

อ้างคำพูด:
อยาก "ร่นระยะเวลา" ก็พิจารณาตัวอยาก


ในการย่นระยะเวลานี้ ดิฉันถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณกับดิฉันมากกว่าค่ะ เนื่องจากว่า ทางเดียวที่จะไปพระ

นิพพานได้คือต้องตายก่อน ในการปฎิบัติธรรมของดิฉันไม่ว่าใครจะว่าดิฉันบ้าหรือเพี้ยนอย่างไร แต่ดิฉัน

ถือว่า ดิฉันปฎิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันเท่านั้น การร่นระยะเวลา ถ้ามองในมุมกลับคือ การ

คิดถึงความตายเป็นปกติ แค่คิดว่าเมื่อไหร่เราจะตาย การคิดว่าเราอาจตายได้เร็ววัน หรือร่นระยะได้

ทำให้เราไม่ประมาทในชีวิต และนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ บอกแล้วไงค่ะ ดิฉันปฎิบัติธรรมเพื่อพระ

นิพพานในชาติปัจจุบัน การมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ถือว่าเป็นเรื่องมีคุณกับดิฉันมากกว่า เพราะตรงกับ

อนุสสติในกรรมฐาน40 ในข้อที่ว่า อุปสมานุสสติกรรมฐานและยังมี มรณานุสสติกรรมฐาน อยู่ด้วย



อย่างที่ดิฉันเคยกล่าวไว้แล้วว่า ไม่ว่าดิฉันจะเดินกรรมฐานแบบใด ดิฉันจะยึดหลักสังโยชน์10 ใน

การเดินทางธรรมเสมอ เช่นเดียวกัน ดิฉันคิดเสมอว่า ทุกข้อธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็น

ข้อธรรมที่เกื้อหนุนกันและกัน ไม่มีข้อธรรมใดขัดแย้งกันเอง ดังนั้น ในการเดินทางธรรมเพื่อไปพระ

นิพพานในชาติปัจจุบัน ข้อไหนที่สามารถนำมาพิจารณาในหลักที่เกี่ยวข้องกับสังโยชน์10 ดิฉันนำมาใช้

เสมอ โดยไม่เน้นว่า ต้องเดินมหาสติอย่างเดียว หรือต้องเดินกรรมฐาน 40 อย่างเดียว ขึ้นอยู่กับเวลาใน

ขณะนั้นว่าจะเป็นอย่างไร เพราะทุกกรรมฐานก็ไม่พ้นต้องนำมาใช้ในหลักการพิจารณาของสังโยชน์10

เช่นกัน ละสังโยชน์10 ได้ถึงจะไปพระนิพพานได้ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อยากทราบนะค่ะ ว่าพวกท่านๆทำกันอย่างไร เพื่อบรรเทาอาการร้อน ที่เกิดขึ้น


ที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวมาทั้งหมด
คือประสบการณ์ตรงนี้ค่ะ ยังไม่ได้มากไปกว่านี้

ขอบคุณสำหรับความรู้ทีแบ่งปันกันนะค่ะ
เกินจากนี้ต้องรอคำตอบจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่มากกว่านี้แล้วค่ะ

อนุโมทนา :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


ทักทาย เขียน:
อ้างคำพูด:
อยากทราบนะค่ะ ว่าพวกท่านๆทำกันอย่างไร เพื่อบรรเทาอาการร้อน ที่เกิดขึ้น


ที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวมาทั้งหมด
คือประสบการณ์ตรงนี้ค่ะ ยังไม่ได้มากไปกว่านี้

ขอบคุณสำหรับความรู้ทีแบ่งปันกันนะค่ะ
เกินจากนี้ต้องรอคำตอบจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่มากกว่านี้แล้วค่ะ

อนุโมทนา :b8:


:b8: :b8: กราบขอบพระคุณค่ะ สำหรับการแบ่งปันความรู้ การที่คุณทักทาย เข้ามาแบ่งปันนั้นเป็นมากกว่าการแบ่งปัน แต่แสดงถึงความห่วงใยที่มีให้เพื่อนสมาชิกที่ประสบปัญหา แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับกำลังใจที่ได้รับ ขอบพระคุณค่ะ :b16: :b16: ............. :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 11:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์อย่างที่คุณเล่ามานี้ เป็นอารมณ์ที่มองเห็นถึงสาเหตุอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ตัดอามรมณ์อันเป็นอกุศล ความห่วงกังวลต่างๆ ได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่ไม่ทราบว่า มีการทำสมถถาวนาบ้างด้วยหรือเปล่า เพราะที่เล่ามานี้ ค่อนข้างจะเป็นความเห็น หรืออาจจะเป็นอามรณ์หน่ายที่เกิดจากความตัดกังวลอยู่ก็เป็นได้ ที่ว่าร้อนนั้น ร้อนอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตตั้งมัน ย่อมรู้ ตามเป็นจริง
เห็นทุกสิ่ง ถูกรู้ ถูกดูหนอ
เห็นเลยเห็น เลยรู้ ยังไม่พอ
เที่ยวคิดต่อ พลาดเห็น ปัจจุบัน

อดเคี้ยวหมู ดูจิต หลงคิดง่าย
สติหาย จิตคิด เป็นของฉัน
จิตส่งออก หลงลืม เพลินเมามัน
วันทั้งวัน มากคิด ใช่รู้เอย

ต้องกินยา ระงับ เมาความรู้
ยังหลงอยู่ แช่นิ่ง อิงความเฉย
เพราะมานะ ตัณหา อีกตามเคย
เลยเลี้ยวเลย ขับหลง จอดดูทาง

ดันไปเห็น วิวภาพ เงียบสนิท
ลำเอียงติด ชิดชอบ ไร้ผีสาง
ห่างโลกหลง คนโง่ ทั้งหนาบาง
แต่ไม่ห่าง ไม่เห็น สังขารปรุง

คิดเลยคิด วิปัส - สะนึกนะ
เป็นภาระ ยิ่งรู้ ยิ่งเรื่องยุ่ง
ความรู้แจ้ง รู้น้อย ใจลอยสูง
รู้มากจูง ใจหนัก จะหนักใจ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 13:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
อารมณ์อย่างที่คุณเล่ามานี้ เป็นอารมณ์ที่มองเห็นถึงสาเหตุอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ตัดอามรมณ์อันเป็นอกุศล ความห่วงกังวลต่างๆ ได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่ไม่ทราบว่า มีการทำสมถถาวนาบ้างด้วยหรือเปล่า


มีสมถะเลี้ยงเบาๆค่ะ..เพราะเราจะรู้ลมหายใจเข้าหรือออกเสมอ..เมื่อใดจะทำสมาธิจริงๆจังๆก็

สามารถทำได้เลย หรือ เมื่อใดอยากจะพิจารณากาย ก็สามารถมองได้ทันที นี่เกิดจากผลที่ครูบาอาจารย์

ของดิฉันที่สอนในด้านกรรมฐาน40 แนะนำไว้ ดิฉันจำคำสอนท่านและปฎิบัติตาม จนติดตัวอยู่เสมอ

และติดตัวตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันค่ะ ...ผลจึงออกมาแบบนี้ค่ะ

อ้างคำพูด:
ที่ว่าร้อนนั้น ร้อนอย่างไร



ดิฉันอธิบายไี้ม่ถูกค่ะ...(ดิฉันมีข้อด้อยแสดงความคิดออกมาเป็นประโยคนะค่ะ ต้องขอโทษ

ด้วยนะค่ะ).... เหมือนว่า เราเป็นมังกรไฟ แล้วมีพละความร้อนเกิดขึ้นในกาย ตรงกึ่งกลางกาย แถวๆ

หน้าอก ความร้อนนี้ ร้อนอยู่ตลอดเวลา แต่มันไม่เผาเราให้ไหม้ได้นะค่ะ แต่มันร้อนนะค่ะ ดิฉันก็ได้แต่ดู

มัน ความร้อนนี้ไม่มีทีท่าว่าจะหมอดออกไปจากใจได้ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มปริมาณความร้อนขึ้น..คราวที่แล้ว

อาการที่เป็นแบบนี้ หนักกว่าคราวนี้มาก แต่ที่หายไปได้คือ พอตื่นมามันก็หายไปเอง เหมือนมันไม่เคย

เกิดขึ้นกับเรามาก่อน แต่คราวนี้เป็นนานขึ้นกว่าเดิมมากนะค่ะ และคิดว่า อารมณ์โดดแบบนี้ไม่มีทีท่าจะ

หายไปจากเรา จึงมาถามอาการที่จะบรรเทาอาการนี้ให้เบาลงบ้างก็ยังดี(..ปกติ อารมณ์นิ่ง คืออารมณ์

ปกติของใจค่ะ แต่อารมณ์แบบนี้ มันโดดจากอารมณ์นิ่งที่ปกติของเราออกไปนะค่ะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 13:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
จิตตั้งมัน ย่อมรู้ ตามเป็นจริง
เห็นทุกสิ่ง ถูกรู้ ถูกดูหนอ
เห็นเลยเห็น เลยรู้ ยังไม่พอ
เที่ยวคิดต่อ พลาดเห็น ปัจจุบัน

อดเคี้ยวหมู ดูจิต หลงคิดง่าย
สติหาย จิตคิด เป็นของฉัน
จิตส่งออก หลงลืม เพลินเมามัน
วันทั้งวัน มากคิด ใช่รู้เอย

ต้องกินยา ระงับ เมาความรู้
ยังหลงอยู่ แช่นิ่ง อิงความเฉย
เพราะมานะ ตัณหา อีกตามเคย
เลยเลี้ยวเลย ขับหลง จอดดูทาง

ดัน้้ไปเห็น วิวภาพ เงียบสนิท
ลำเอียงติด ชิดชอบ ไร้ผีสาง
ห่างโลกหลง คนโง่ ทั้งหนาบาง
แต่ไม่ห่าง ไม่เห็น สังขารปรุง

คิดเลยคิด วิปัส - สะนึกนะ
เป็นภาระ ยิ่งรู้ ยิ่งเรื่องยุ่ง
ความรู้แจ้ง รู้น้อย ใจลอยสูง
รู้มากจูง ใจหนัก จะหนักใจ


:b8: :b8: น้อมรับความรู้ค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจจะเกี่ยวเนื่องจากการภาวนาตอนนั่งสมาธิหรือปล่าวครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องความเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง4มาก แต่พอจะลองแนะนำว่าถ้ากำหนดรู้เรื่องธาตุ ควรจะน้อมลงสู่พระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงของธาตุ มีการเปลี่ยนสภาพ

โลกนั้นจะน่าอยู่หรือไม่น่าอยู่มันก็เป็นของมันอย่างนั้น อาการทางจิตเกิดขึ้นเพราะความเห็นของคุณชาวโลกวนเวียนแต่ในเรื่องพระไตรลักษณ์ แต่ยังไม่เข้าใจในเรื่องอายตนะทั้ง12 เพราะคุณชาวโลกไม่เคยกล่าวเชิงปฏิบัติในเรื่องอายตนะทั้ง12เลย จึงอยากจะทราบว่าคุณชาวโลกมีวิธีปฏิบัติในแนวนี้อย่างไรที่ทำให้เข้าใจในเรื่องของขันธ์5 เพราะเป็นไปได้ว่าอาการเบื่อหน่ายนั้นเป็นจิตปรุงแต่ง เป็นกิเลส เป็นผัสสะ ที่เกิดจากการมอง การคิด การได้ยิน การสัมผัส หรือการลิ้มรส

เคยได้ยินเรื่องราวของพระที่แม้แต่การกินยังต้องพิจารณาผัสสะ คือ อายตนะที่กระทบกันระหว่างธาตุรู้คือชิวหา กับ รสอาหาร แล้วยังไม่พอต้องพิจารณาพระไตรลักษณ์คือทุกข์ ข้อที่ว่า ขันธ์5มีสภาวะสืบต่อเนื่องเพราะมีอาหารประทังชีวิต แล้วยังต้องพิจารณา อารมณ์ต่อผัสสะที่เกิดขึ้นในเรื่องของสังขาร แล้วยังต้องรักษาประคองสติไม่ให้เผลอ เหล่านี้คือวิปัสสนาภาวนา

แต่ดูคุณชาวโลกมีความสนใจในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท คือ กรรม ผลของกรรม การวิเคราะห์สิ่งรอบข้างลงในปฏิจจสมุปบาท ธรรมในปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ยากที่จะพิจารณารู้ตามได้ง่าย แต่คนส่วนมากมักจะสนใจในกฏปฏิจจสมุปบาท เพราะเป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด คือคุณชาวโลกยังสนใจในเรื่องความตายที่อยากร่นเวลา ความสับสนวุ่นวายของโลก เพราะหากมีมุมมองที่น้อมลงในกฏของพระไตรลักษณ์ก็คือ พิจารณาเห็นความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แต่ถ้าน้อมลงด้วยการพิจารณาขันธ์5 คุณชาวโลกยังมีจิตปรุงแต่งอยู่ คุณชาวโลกต้องถามตัวเองว่าตัวเองมีจิตปรุงแต่งอยู่ หรือเข้าใจในพระไตรลักษณ์แล้ว เพราะตัวผมเองยังคงเพียรศึกษาในทั้งขันธ์5 และสืบต่อเนื่องเพื่อน้อมลงในพระไตรลักษณ์อยู่ แต่อย่างที่ผมเขียนอยู่ตอนนี้ ผมไม่มีปํญญาที่จะนำเอาปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 20:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความร้อนที่เกิดขึ้นอาจจะเกี่ยวเนื่องจากการภาวนาตอนนั่งสมาธิหรือปล่าวครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องความเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง4มาก แต่พอจะลองแนะนำว่าถ้ากำหนดรู้เรื่องธาตุ ควรจะน้อมลงสู่พระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงของธาตุ มีการเปลี่ยนสภาพ


คิดว่าไม่ใช่ค่ะ :b1: ....ลักษณะที่ดิฉันเจอเสมอที่มีการเปลี่ยนแปลงธาตุเนื่องจากทำสมาธิ คือ การปวดกระดูกค่ะ จะปวดไปทั่วทั้งกาย ทุกข้อส่วนของร่างกายเลยค่ะ ในการปรับธาตุสำหรับดิฉันแบบนี้ จะเป็นอยู่ 2-3วันเป็นอย่างต่ำค่ะ บางทีก็นานกว่านี้นิด แต่สักพักเมื่อทุกอย่างสมดุลกัน การปวดกระดูกก็จะหายไปค่ะ

อ้างคำพูด:
โลกนั้นจะน่าอยู่หรือไม่น่าอยู่มันก็เป็นของมันอย่างนั้น อาการทางจิตเกิดขึ้นเพราะความเห็นของคุณชาวโลกวนเวียนแต่ในเรื่องพระไตรลักษณ์ แต่ยังไม่เข้าใจในเรื่องอายตนะทั้ง12 เพราะคุณชาวโลกไม่เคยกล่าวเชิงปฏิบัติในเรื่องอายตนะทั้ง12เลย


ขอตอบคำถามนี้นะค่ะ เหตุที่ดิฉันไม่กล่าวถึงอายตนะ 12 เพราะเมื่อจิตไม่ติด อาตยนะ 12 ก็ไม่มีความหมาย เพราะสิ่งสำคัญของการฝึกกรรมฐาน อยู่ที่การละที่จิตค่ะ พอละกายหรือเพิกกายได้ก็ไปดูที่จิตต่อไปค่ะ

อ้างคำพูด:
จึงอยากจะทราบว่าคุณชาวโลกมีวิธีปฏิบัติในแนวนี้อย่างไรที่ทำให้เข้าใจในเรื่องของขันธ์5


เดิมดิฉันเป็นนักกรรมฐาน 40 ค่ะ เมื่อดิฉันทุกข์จึงมาเหตุแห่งทุกข์ ที่มาที่ไปของทุกข์ จึงได้มาศึกษามหาสติ ดิฉันพิจารณากายอย่างไรหรือค่ะที่ทำให้เข้าใจเรื่องขันธ์5 ดิฉันเริ่มจาก อานาปานบรรพ อิริยบทถบรรพ สัมปชัญญบรรพ ก่อนค่ะ เหตุที่ดิฉันเริ่มทั้ง 3 อย่างพร้อมๆกัน เพราะดิฉันฝึกสมาธิด้านอานาปานมาก่อนแล้ว ทำให้ ทั้ง 3 บรรพ ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับดิฉันนัก เมื่อดิฉันสามารถทรงทั้ง 3 บรรพได้แล้ว ดิฉันจึงมาเริ่มพิจารณา ปฎิกูลบรรพ ธาตุบรรพ นวสี รวมถึง อสุภในกรรมฐาน 40 และพิจารณา สักกายทิฏฐิของสังโยชน์ 10 ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากทั้งหมดเป็นหมวดเดียวกัน เลยพิจารณาพร้อมๆกันไปในทีเดียวกันค่ะ เมื่อพิจารณาไปเรื่อยๆ อาการเพิกกายก็เกิดขึ้นเอง จากนั้นก็ไปดูจิตต่อ

แต่ระหว่างวันที่ดิฉันมีสมาธิน้อยๆเลียๆอยู่ ดิฉันก็จะพิจารณาธาตุ4 อยู่เสมอค่ะ ดูธาตุ4 ในกายไปเรื่อยๆ จนเริ่มเพิกกายอีกดิฉันก็ไปดูจิตต่อ ดูจิตไปเรื่อยๆค่ะ ทุกครั้งที่ดิฉันเริ่มพิจารณา ดิฉันจะเริ่มจาก 1 ก่อนเสมอคือ พิจารณากายก่อน เมื่อจิตเพิกกายถึงจะเริ่มไปดูจิตต่อค่ะ นี่เล่าย่อๆน่ะค่ะ


อ้างคำพูด:
เคยได้ยินเรื่องราวของพระที่แม้แต่การกินยังต้องพิจารณาผัสสะ คือ อายตนะที่กระทบกันระหว่างธาตุรู้คือชิวหา กับ รสอาหาร แล้วยังไม่พอต้องพิจารณาพระไตรลักษณ์คือทุกข์ ข้อที่ว่า ขันธ์5มีสภาวะสืบต่อเนื่องเพราะมีอาหารประทังชีวิต แล้วยังต้องพิจารณา อารมณ์ต่อผัสสะที่เกิดขึ้นในเรื่องของสังขาร แล้วยังต้องรักษาประคองสติไม่ให้เผลอ เหล่านี้คือวิปัสสนาภาวนา


การที่ท่านกินแล้วท่านพิจารณาผัสสะ ในการกระทบของชิวหา กับ รสของอาหาร นั้น เพราะท่านฝึกสติค่ะ การฝึกสติได้ ต้องฝึกจากสมถะก่อนถึงจะไปวิปัสสนาได้ ถ้าเราไม่ฝึกสติให้มีสติ และมีปัญญา วิปัสสนาก็จะกลายเป็นวิปัสสนึก ถ้าเทียบจากตัวอย่าง..การที่พระท่านพิจารณาผัสสะนั้น ก็ไม่ต่างจาก ฝึกสมถะภาวนาค่ะ (เพื่อให้ท่านมีสติ)

เมื่อท่านทานแล้วท่านพิจารณาในไตรลักษณ์คือทุกข์นั้น ข้อที่ว่า ขันธ์5 มีการสืบเนื่องเพราะมีอาหารประทังชีวิต ตรงนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนาค่ะ

ในส่วนของดิฉันสมถะของดิฉันเกิดมาจากอานาปานที่ดิฉันเดินสมาธิทุกวันและรู้ลมหายใจเข้ารู้ลมหายใจออกซึ่งรู้ตัวรู้ตนเสมอในระหว่างวัน..จะเห็นได้ว่าไม่ว่าวิธีใดก็สามารถฝึกสมถะได้ เพราะข้อธรรม
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเกื้อหนุนกันและกันเสมอ ทำให้เวลาที่ดิฉันจะพิจารณากาย พิจารณาในการดูจิต ดิฉันก็สามารถทำได้ทันที เพราะดิฉันถูกฝึกให้มีสมาธิหล่อเลี้ยงให้อยู่ได้ตลอดทั้งวันนะค่ะ


อ้างคำพูด:
แต่ดูคุณชาวโลกมีความสนใจในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท คือ กรรม ผลของกรรม การวิเคราะห์สิ่งรอบข้างลงในปฏิจจสมุปบาท ธรรมในปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ยากที่จะพิจารณารู้ตามได้ง่าย แต่คนส่วนมากมักจะสนใจในกฏปฏิจจสมุปบาท เพราะเป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด คือคุณชาวโลกยังสนใจในเรื่องความตายที่อยากร่นเวลา ความสับสนวุ่นวายของโลก เพราะหากมีมุมมองที่น้อมลงในกฏของพระไตรลักษณ์ก็คือ พิจารณาเห็นความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แต่ถ้าน้อมลงด้วยการพิจารณาขันธ์5 คุณชาวโลกยังมีจิตปรุงแต่งอยู่ คุณชาวโลกต้องถามตัวเองว่าตัวเองมีจิตปรุงแต่งอยู่ หรือเข้าใจในพระไตรลักษณ์แล้ว


:b8: :b8: น้อมรับความรู้ค่ะ กราบขอบพระคุณนะค่ะ ที่มาให้คำชี้แนะแก่ดิฉัน :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 09:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวโลก เขียน:
world2/2554 เขียน:
อารมณ์อย่างที่คุณเล่ามานี้ เป็นอารมณ์ที่มองเห็นถึงสาเหตุอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ตัดอามรมณ์อันเป็นอกุศล ความห่วงกังวลต่างๆ ได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่ไม่ทราบว่า มีการทำสมถถาวนาบ้างด้วยหรือเปล่า


มีสมถะเลี้ยงเบาๆค่ะ..เพราะเราจะรู้ลมหายใจเข้าหรือออกเสมอ..เมื่อใดจะทำสมาธิจริงๆจังๆก็

สามารถทำได้เลย หรือ เมื่อใดอยากจะพิจารณากาย ก็สามารถมองได้ทันที นี่เกิดจากผลที่ครูบาอาจารย์

ของดิฉันที่สอนในด้านกรรมฐาน40 แนะนำไว้ ดิฉันจำคำสอนท่านและปฎิบัติตาม จนติดตัวอยู่เสมอ

และติดตัวตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันค่ะ ...ผลจึงออกมาแบบนี้ค่ะ ....โห ดูสิครับนั่น มีสติปัฏฐานในการดำเนินชีวิต อนุโมทนา ด้วยครับ

อ้างคำพูด:
ที่ว่าร้อนนั้น ร้อนอย่างไร



ดิฉันอธิบายไี้ม่ถูกค่ะ...(ดิฉันมีข้อด้อยแสดงความคิดออกมาเป็นประโยคนะค่ะ ต้องขอโทษ

ด้วยนะค่ะ).... เหมือนว่า เราเป็นมังกรไฟ แล้วมีพละความร้อนเกิดขึ้นในกาย ตรงกึ่งกลางกาย แถวๆ

หน้าอก ความร้อนนี้ ร้อนอยู่ตลอดเวลา แต่มันไม่เผาเราให้ไหม้ได้นะค่ะ แต่มันร้อนนะค่ะ ดิฉันก็ได้แต่ดู

มัน ความร้อนนี้ไม่มีทีท่าว่าจะหมอดออกไปจากใจได้ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มปริมาณความร้อนขึ้น..คราวที่แล้ว

อาการที่เป็นแบบนี้ หนักกว่าคราวนี้มาก แต่ที่หายไปได้คือ พอตื่นมามันก็หายไปเอง เหมือนมันไม่เคย

เกิดขึ้นกับเรามาก่อน แต่คราวนี้เป็นนานขึ้นกว่าเดิมมากนะค่ะ และคิดว่า อารมณ์โดดแบบนี้ไม่มีทีท่าจะ

หายไปจากเรา จึงมาถามอาการที่จะบรรเทาอาการนี้ให้เบาลงบ้างก็ยังดี(..ปกติ อารมณ์นิ่ง คืออารมณ์

ปกติของใจค่ะ แต่อารมณ์แบบนี้ มันโดดจากอารมณ์นิ่งที่ปกติของเราออกไปนะค่ะ)
ขอให้ความเห็นนิดหนึ่งครับ ความร้อนนั้น ที่เกิดขึ้นรู้ได้ สัมผัสได้ด้วยสติ สัมปัชชัญญะ เป็นเวทนา ความรู้สึก เวทนานั้นมันสุขหรือมันทุกข์ หรือเป็นนอกนี้ เฉยๆ เพราะทั้งสองนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องละ กำนดรู้ แลเจริญ อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นไปได้ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวโลก เขียน:
:b8: กราบสวัสดีท่านผู้รู้และผู้ทรงธรรมทุกท่านค่ะ :b8:

วันนี้ดิฉันจะมาถามอารมณ์เกี่ยวกับสภาวะธรรม ซึ่งจริงๆแล้วดิฉันเป็นคนไม่แม่นในศัทพ์ธรรม

จึงขออนุญาตเล่าตามสภาวะที่ตัวเองเป็นน่ะค่ะ

อารมณ์ที่เกิดคือ (เท่าที่สังเกตุตัวเองได้นะค่ะ)

เนื่องจากดิฉันพิจารณาเกี่ยวกับ สภาวะธรรม ดูโลก ดูคน เป็นปกติ ซึ่งทำเป็นปกติในชีวิตประจำวัน และในการเป็นอยู่

ในชีิวิตประจำวัน ดิฉันจะเห็นสัจธรรมหลายๆข้อ ทำให้เกิดอารมณ์เบื่อหน่ายในโลก เห็นโลกเป็นที่

ที่ไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยบุคคลที่มีกิเลสตัณหา เห็นความพอใจและไม่พอใจของผู้คน ที่วิ่งไปตาม

กระแสของกรรม กระแสของกิเลส ดิฉันมีสภาวะอารมณ์อย่างนี้ทุกๆวัน จนเกิดความเบื่อหน่ายมาก

ถ้าจะถามว่า ทุกข์ไหม เมื่อเราสำรวจใจเราจะเห็นว่า มันไม่ได้ทุกข์เลย สังเกตุต่อว่า เรามีจิตหวั่นไหว

กับสภาวะจิตที่เกิดขึ้นไหม เมื่อสำรวจใจเราจะเห็นว่า ไม่มีความหวั่นไหวเกิดขึ้นในจิตเลย จิตมันแข็งและ

แกร่งมาก แข็งคล้ายๆจิตเป็นหินไม่รู้สึกถึงความหวั่นไหว กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น...ปัญหาอยู่ตรงนี้หล่ะค่ะ

เหตุใดจิตเราไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ และไม่หวั่นไหว กับสภาวะธรรมที่เกิด

ขึ้นกับจิต แต่เหตุใด ดิฉันรู้สึกถึงความร้อนที่เกิดขึ้นในกลางกาย
ตรงกลางหัวใจ แต่ดิฉันไม่ไ่ด้

ทุกข์นะค่ะ เฉยๆและจิตแข็งและแกร่งมาก จะเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะค่ะ คล้ายๆคนที่รู้สึกคลื่นใส้ ถ้า

ได้อ้วกออกสักนิดอาการก็จะดีขึ้นนะค่ะ อาการแบบนี้เป็นมาหลายครั้งแล้ว และแต่ละครั้งจะเป็นนานขึ้น

เรื่อยๆ...ดิฉันคิดว่า อาการแบบนี้ ท่านผู้รู้และท่านผู้ทรงธรรมคงเคยผ่านมาบ้าง

แล้ว ดิฉันเลยอยากมาเรียนถามว่า จะบรรเทาอาการนี้อย่างไรค่ะ..ตอนนี้

ก็ได้แต่ดูอาการนี้อยู่และรู้สึกเหมือนตัวเองกระอักเลือดตลอดเวลา ซึ่งยิ่งกระอักเลือดยิ่งคิดว่าโลกนี้นั้น

ไม่น่าอยู่ ไม่มีสาระอะไรที่จะสามารถดึงให้ดิฉันอยู่ในโลกนี้ได้..จนครั้งนึง ดิฉันเคยคิดว่ามีวิธีไหนที่จะ

สามารถร่นระยะการตายของดิฉันให้ไวขึ้นได้ เพราะดิฉันเห็นว่าทางเดียวที่จะร่นระยะเวลาได้คือความ

เพียรเท่านั้น ที่จะทำให้ร่นระยะการตายของดิฉันได้ไวขึ้นได้ วันนี้อาการที่เกิดขึ้นไม่หนักเหมือนครั้งก่อน

แต่มันแจ้งแก่ใจขึ้นทุกๆวัน ว่าโลกไม่น่าอยู่ โลกเต็มไปด้วยสัญญาและมารยา_ทของสังคมและของโลก


วันนี้ดิฉันมาขอความช่วยเหลือจากท่านผู้รู้และท่านผู้ทรงธรรมอีกครั้งค่ะ ว่าอาการที่เกิดขึ้นดิฉันจะ

สามารถบรรเทาอาการนี้ไปได้อย่างไร



:b8: :b8: กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ :b8: :b8:

สวัสดีครับพี่ชาวโลก :b8:
**อาการอึดอัดที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นเพราะจิตที่ไปยึดติดในอารมณ์ที่เป็นอดีต(สัญญา) แล้วสติของเราตามรู้ไม่ทันจึงเกิดการปรุงแต่งต่อเนื่องโดยที่เราไม่รู้ตัว พอปรุงแต่งมากเข้าๆจิตเราก็ไปยึดเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตัวเป็นตนจนเกิดอาการอึดอัด เรียกว่าหลงในธรรมที่ตนเองพิจารณาจนน้อมเอามายึดเป็นตัวตน เพราสติยังอ่อน แต่ถ้าสติมีกำลังตามทันเมื่อมันรู้มันเบื่อมันก็วาง....วิธีแก้ก็เพียงลดการพิจารณาธรรมอันนี้ลงเสีย แล้วเจริญสมาธิให้มากขึ้นให้สมาธิเกิดขึ้นเต็มที่จนจิตรวมลงอยู่ในองค์สมาธิ เจริญสมาธิให้ชำนาญให้มั่นคงเสียก่อน แล้วสติปัญญาย่อมมีกำลังและเฉียบแหลมขึ้นตามมา
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอให้ความเห็นนิดหนึ่งครับ ความร้อนนั้น ที่เกิดขึ้นรู้ได้ สัมผัสได้ด้วยสติ สัมปัชชัญญะ เป็นเวทนา ความรู้สึก เวทนานั้นมันสุขหรือมันทุกข์ หรือเป็นนอกนี้ เฉยๆ เพราะทั้งสองนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องละ กำนดรู้ แลเจริญ อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นไปได้ไหม


ดิฉันไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ท่านต้องการจะบอกและแนะค่ะ...แต่จะตอบตามที่ดิฉันอ่านแล้วเข้าใจน่ะค่ะ :b8:

ถ้าพูดถึงจิต จิตนี้ ดิฉันไม่รู้สึกทุกข์และมีรู้สึกสุขค่ะ เป็นอารมณ์ ไม่ทุกข์ไม่สุข ค่ะ นิ่งเฉยๆ ดิฉันพยายามดู

ตัวเองและจับผิดตัวเองว่า ดิฉันหลอกอารมณ์ใจของตัวเองหรือป่าว หรือดิฉันเข้าสมาธิกดอารมณ์ความรู้สึก

ไว้หรือป่าว..พยายามดูตัวเองและจับผิดตัวเองตลอดค่ะ ปรากฏว่า ดิฉันไม่ได้ใช้สมาธิกดความรู้สึกที่เกิดขึ้น

เลย และดิฉันก็ไม่ทุกข์จริงแต่ก็ไม่สุขเช่นเดียวกัน อารมณ์จิตที่เป็นคือ นิ่งและแข็งสามารถเทียบกับคำว่า

ไม่ทุกข์ไม่สุขได้ไหมค่ะ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร