วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 15:27
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเป็นผู้เริ่มปฏิบัติครับ มีคำถามเรื่องเกี่ยวกับแนวทางภาวนาทั้ง 2 แบบ สมถภาวนาอันนี้ผมพอเข้าใจดีครับ ส่วนวิปัสสนาภาวนาโดยใช้หลักปัญญาพิจารณาหมวดธรรมะอันนี้ รบกวนผู้มีประสพการณ์แนะนำวิธีการให้พอเป็นแนวทางได้มั้ยครับ

ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ผมไปทานข้าวนอกบ้าน ระหว่างที่ทานมีคนแก่มาทานอยู่โต๊ะข้างๆ พอผมกับมาถึงบ้านก็มาเดินจงกรมโดยนำเอาส่งที่ได้พบเจอในร้านมาพิจารณาตามไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าซักวันนึ่งเราก็แก่ชราภาพแบบนี้ เราไม่สามารถหยุดการแก่ลงของเราได้ และสุดท้ายเราก็ต้องแก่ตายในที่สุด การพิจารณาแบบนี้ถือว่าเป็นวิปัสสนาภาวนาหรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2013, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


anunnthorn เขียน:
ผมเป็นผู้เริ่มปฏิบัติครับ มีคำถามเรื่องเกี่ยวกับแนวทางภาวนาทั้ง 2 แบบ สมถภาวนาอันนี้ผมพอเข้าใจดีครับ ส่วนวิปัสสนาภาวนาโดยใช้หลักปัญญาพิจารณาหมวดธรรมะอันนี้ รบกวนผู้มีประสพการณ์แนะนำวิธีการให้พอเป็นแนวทางได้มั้ยครับ

ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ผมไปทานข้าวนอกบ้าน ระหว่างที่ทานมีคนแก่มาทานอยู่โต๊ะข้างๆ พอผมกับมาถึงบ้านก็มาเดินจงกรมโดยนำเอาส่งที่ได้พบเจอในร้านมาพิจารณาตามไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าซักวันนึ่งเราก็แก่ชราภาพแบบนี้ เราไม่สามารถหยุดการแก่ลงของเราได้ และสุดท้ายเราก็ต้องแก่ตายในที่สุด การพิจารณาแบบนี้ถือว่าเป็นวิปัสสนาภาวนาหรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ



เมื่อกำลัง "จงกรม" อยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวในขณะนั้นๆ ก็ต้องอยู่กับการเดินแต่ละขณะๆไป

การพิจารณาเช่นว่า
อ้างคำพูด:
"พิจารณาตามไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าซักวันนึ่งเราก็แก่ชราภาพแบบนี้ เราไม่สามารถหยุดการแก่ลงของเราได้ และสุดท้ายเราก็ต้องแก่ตายในที่สุด"


ก็ได้ไม่ผิด เป็นลักษณะบรรเทาตัณหา

ถามว่าเป็นวิปัสสนาหรือเปล่า ยังไม่เป็น เป็นวิปัสสนึก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องศึกษา แยก รูป นาม หรือ ขันธ์ 5
ง่ายๆ: ไม่มี ตัวตน ตัวเรา เขา ไม่มี สัตว์ สิ่งของ วิปัสสนา คือการ รู้แจ้ง เห็น จริง
ยกตัวอย่าง : สมมุติ บัญญัติ คือสิ่งที่เราสมมุติ เรียกชื่อ ว่ าคนนั้น คนนี้ ว่าแขน ว่าขา หน้า หลัง ซ้าย ขวา
แต่ ปรมัตถธรรม หรือ ในทางวิปัสสนานั้น ไม่มี ชื่อเรียก ไม่มีแม้แต่ตัว เรา มันมีเพียง ธาตุ มาประชุมกันอยู่ มีความรู้ สึก แค่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง สบาย ไม่สบาย แต่ ความรู้สึก เหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา
มันเป็นเพียงสถาพธรรม :b13: :b1: :b14:
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ควรพิจารณาในกาย เวทนา ให้ชัดเจนก่อน
สิ่งที่ยากไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจ ตามที่ได้อ่าน
ได้ยินได้ฟังนะครับ ตรงนั้นให้ ๒๐ % แต่ที่สำคัญ
ของการ เพ่งลักษณะ " ลักขณูปนิชฌาน"
การพิจารณา ไตรลักษณ์ เริ่มต้นที่ สติสัมปชัญญะ
ความระลึกได้ความรู้สึกตัว รู้สึกตัวให้มากๆ ครับ
ทำอะไรก็รู้สึกตัว สังเกตุกายใจเรา ให้ ๘๐ %

นึกถึงคนแก่ กลับมาพิจารณาความแก่ ของตัวเอง
เรียกว่า ยังเพ่งอารมณ์ "อารัมมณูปนิชฌาน"
ทำสมาธิ เรียกว่า อนุสติ ๑๐ ซึ่งก็คือ มรณานุสติ
พิจารณาความแก่ความตาย ที่จะเกิดขึ้นเป็นอารมณ์

ลองทำความเข้าใจเรื่องสมถะภาวนาใหม่ ถ้าคิดว่า
เข้าใจได้ดีแล้วดูนะครับ

ส่วนวิปัสสนา คือ เห็นแจ้ง เพ่งลักษณะ ไม่ใช่ไปเพ่ง
ไปจับอารมณ์ สิ่งที่ได้ ก็คือ เบื่อหน่าย เข้าใจ เบาใจ
ไม่ยึดติด ยึดถือ เริ่มปลงว่าแก่ เจ็บ ตาย อันนี้ได้
อารมณ์ของสมาธิ ดับ ความอยาก ดับ กามลงได้


ต่อจากตรงนี้ ให้ยึดหลัก พิจารณา อารมณ์ หยาบ
ละเอียด ไกล ใกล้ ดูโดยดูลักษณะ เพ่งลักษณะ
มองอารมณ์มองจิต อีกที จึงจะเป็นวิปัสสนา คือ
รู้สึกตัว รู้สึกใจ กำลังมีอารมณ์อะไรก็รู้สึก โดย

อารมณ์หยาบคือ ความคิดทั้งหมด เว้นเรื่อง แก่เจ็บตาย
อารมณ์ละเอียดคือ ความคิดเรื่องแก่เจ็บตาย เว้นเรื่องอื่นๆ ทั้งหมด
ไกล คือ อารมณ์หรือเรื่องที่คิด ที่ผ่านไปแล้วเป็นอดีตไปแล้ว (กรณีที่ยกตัวอย่างมา)
รวมถึง อารมณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ไปหยิบมาคิดมาเป็นอารมณ์ นี่คืออารมณ์ไกล

ใกล้ คือ ลักษณะของอารมณ์ความคิดใกล้ๆ ในปัจจุบันนี้

เมื่อเรา อาศัย มรณานุสติ(ตามตัวอย่างที่ยกมาแสดง)
เราก็ทำความรู้สึกตัว ดูใจเรา ว่า ตอนอารมณ์หยาบๆ มีอารมณ์
มีเรื่องคิดนึกมากมายสับสน แตกต่างอย่างไรกับตอนมี อารมณ์
ที่พิจารณาความแก่เจ็บตายอารมณ์เดียว อารมณ์ที่ละเอียด
แตกต่างอย่างไรกับอารมณ์ที่หยาบ เทียบเคียงกัน แบบนี้คือ
เพ่งกำหนดลักษณะ เห็นความแตกต่างของ ลักษณะอารมณ์
ก่อนหลัง ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นไตรลักษณ์ ว่าไม่เที่ยง
ทั้งอารมณ์หยาบก็ไม่เที่ยง อารมณ์ละเอียดก็ไม่เที่ยง

ดูสังเกตุว่า ถ้ารู้สึกตัว จะเห็นอารมณ์ทั้งใกล้ทั้งไกล ถ้าเรา
เอาอารมณ์ใกล้ๆ อยู่กับปัจจุบันเอาไว้ เพื่อให้เห็น อารมณ์และ
ความคิด ที่ไหลไปในความจำความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ

ทำไมวิปัสสนาต้องได้อารมณ์ปัจจุบัน ก็เพื่อให้ เห็นอารมณ์
ความคิดที่ไหล ที่จม หรือจับอยู่ในอดีต (เหมือนที่ยกตัวอย่าง)
แต่ลืม ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่รู้สึกตัว ว่ากำลัง
พิจารณาอารมณ์ แก่เจ็บตาย ซ้อนอีกที

ถ้าจับได้แต่อารมณ์ คือแก่เจ็บตาย ก็เพ่งแต่อารมณ์ จิตจะสงบ
แต่ไม่เกิดปัญญา แต่ถ้าเลื่อน ยกมาเพ่งลักษณะ ของอารมณ์
ของความคิด ก็จะปรากฏปัญญา เห็นความไ่ม่เที่ยง ของสภาพ
อารมณ์หยาบละเอียด ใกล้ไกลตามความเป็นจริง


เจริญพร.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
อนุโมทนาครับ

เรามีความเห็นตรงกันกับที่ท่านกล่าวมา ว่า ให้รู้ลักษณะให้ชัดเจนก่อน ส่วนอารมณ์นั้น ต้องมีขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนาตามลำดับที่ผมมีความเห็นว่า ต้องมีสมาธิชั้น อัปปนาสมาธิขึ้นไป คือ นิวรณ์ทั้ง5ดับลงไปเสียก่อน จึงจะมีความเห็นที่เป็นอุเบกขาแล้วทีนี้จึงเข้าสู่การพิจารณาอารมณ์ ซึ่งต้องเกี่ยวกับการถอดถอน เบื่อหน่าย คลายออก เห็นโทษ
การกำหนดรู้ลักษณะให้ทัน แค่ทันได้ไม่กี่อึดใจ จิตจะเข้าสู่ความสงบทันที ความเห็นผมคือ หากกำหนดรู้จริง เห็นจริง เกิดดับของธรรมที่เข้าไปกำหนด เช่น ลมหายใจเข้าออก เสียง การมอง แต่มีฐานของการกำหนดด้วยวิปัสสนาภาวนา หากทันปุ๊บ จะเกิดความสงบลงทันที ทั้งๆที่ อาจจะกำลังกำหนดรู้เสียงจากรถบรรทุกขนเหล็ก ก่อสร้าง ก็เกิดความสงบลงเพราะการรู้ทันนั่นเอง

โดยเฉพาะร่างกาย หยิบก็รู้ว่าหยิบ ก้าวก็รู้ว่าก้าว ต้องทำงานสัมพันธ์กันกับ อายตนะทั้ง6ภายใน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2013, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำ วิปัสสนาญาณ ๙ ให้ดู

๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิด-ดับ

คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่ กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งรู้ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้น แล้วทั้งรูปธรรมนามธรรมและตัวรู้นั้น ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

๒) ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า ภังคญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย

คือ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นเช่นนั้นชัดเจนถี่เข้า ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัดในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลายดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

๓) ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่าภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งหลายหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากกฎเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ

คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงล้วนต้องแตกสลายไปเป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัย ทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

คือเมือพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

๖) มุญจิตุกัมยตสญาณ ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย

คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือปฏิสังขาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง

คือเมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

๘) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อ สังขาร

คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางเรียบเฉยได้ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ ในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดและเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือ ออกจากสังขาร

๙) สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ

คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ


ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ ก็นับสัมมสนญาณเข้าด้วย (๑)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร