วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 09:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 13:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวนถามท่านผู้รู้หน่อยค่ะ ทำไมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองค่ะ พอคิดว่า"เหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองเลย"ความรู้สึกนั้นก็หายไป ความรู้สึกแบบนี้เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะที่นั่งสมาธิใช่หรือเปล่าค่ะ กำหนดแบบลูกผสมนะค่ะ คือ กำหนดพุท-โธ ก่อนแล้วค่อยกำหนดท้องยุบ-พองนะค่ะ

ขอขอบคุณท่านผู้รู้ล่วงหน้าเลยนะค๋ะ
tongue smiley tongue smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


jiraporn thong เขียน:
รบกวนถามท่านผู้รู้หน่อยค่ะ

ทำไมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองค่ะ พอคิดว่า "เหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองเลย" ความรู้สึกนั้นก็หายไป ความรู้สึกแบบนี้เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะที่นั่งสมาธิใช่หรือเปล่าค่ะ กำหนดแบบลูกผสมนะค่ะ คือ กำหนดพุท-โธ ก่อนแล้วค่อยกำหนดท้องยุบ-พองนะค่ะ


ทำไมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองค่ะ

คุณจิราพร ฝึกอบรมจิตใด้ละเอียดพอสมควร จึงรู้เห็นความรู้สึกเช่นว่านั้น

พอคิดว่า "เหมือนนั่งอยู่ในร่างกายของตนเองเลย" ความรู้สึกนั้นก็หายไป

แต่เพราะยังติดตามจิตหรือความคิดแต่ละขณะๆยังถี่ยังทันไม่พอ จึงไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของมัน
ตลอดสาย คือทั้งบวนธรรม

ธรรมชาติของจิตเกิดได้ครั้งละดวงหรือคิดได้ขณะละเรื่อง ตัวอย่างเช่น รู้สึกว่า "เหมือนนั่งอยู่ในกาย..." นี่ขณะหนึ่ง พอ (รู้สึก) คิดว่า "เหมือนนั่งอยู่ในกาย..." ความคิดเดิมก็ดับ (ที่ว่าความรู้สึกนั้นก็หายไป) ฯลฯ

ธรรมชาติของจิต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดาของมันครับ


กำหนดแบบลูกผสมนะค่ะ คือ กำหนดพุท-โธ ก่อนแล้วค่อยกำหนดท้องยุบ-พอง

เลือกหลักอย่างเดียวครับ จะเอาลมหายใจทางมูกแล้วภาวนาพุท-โธ เป็นหลักก็เอา แต่วิธีนี้จะต้องตามดูรู้ทันอารมณ์ความรู้สึกอื่นๆด้วย มิใช่ปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึกนั้นๆผ่านไปโดยไม่รู้ไม่ชี้

หรือจะเลือกอาการท้องพอง-ยุบ เป็นหลักก็เอา แต่เมื่อความรู้สึกนึกคิดอื่นกระทบ ก็ต้องกำหนดรู้อารมณ์นั้นๆด้วยมิใช่ปล่อยให้ผ่านๆไปโดยไม่รู้ไม่ชี้

หมายความว่า จะต้องรับรู้สู้กำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นให้ทันทุกๆขณะ ให้ละเอียดยิบๆไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นต้นเหตุของทุกข์หรือของความรู้สึกนึกคิดซึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแต่ละขณะตามธรรมชาติธรรมดาของนามรูป :b1:


สาธุเพียรต่อไปครับ :b8: เดินจงกรมบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 19:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ คุณกรัชกายมากเลยนะค่ะที่คอยให้คำแนะนำดีๆ

tongue smiley tongue smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2012, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาให้อ่านเพื่อประกอบความรู้ ไม่พึงเก็บไปนั่งคิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ

การดำเนินชีวิต หรือการเป็นอยู่ของมนุษย์ มองด้านหนึ่ง อาจเห็นว่า เป็นการดิ้นรนต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด และเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต

แต่มองอีกด้าน จะเห็นภาพซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง คือ ทุกคนกำลังแสวงหาความสุข ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะคนมั่งมีพรั่งพร้อมอยู่แล้ว ที่กำลังหาทางปรนเปรอตนเท่านั้น แม้แต่คนที่กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอย่างสุดแรง ก็กำลังพยายามทำให้ชีวิตของตนมีความสุขเช่นเดียวกัน

ไม่ว่าจะมองในช่วงกว้าง เช่น การประกอบอาชีพการงานดำเนินกิจการต่างๆก็ตาม หรือมองช่วงสั้นถี่เข้ามา จนถึงความเป็นอยู่ ความเคลื่อนไหว และการกระทำในแต่ละขณะ ก็ตาม การใฝ่หาความสุข จะแฝงอยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าจะถูกขัดถูกย้อนถูกยั้งด้วยสำนึกทางจริยธรรมเป็นต้น บ้างในบางครั้ง

ความจริง การหาความสุขในช่วงกว้างยาว ก็ขยายออกไปจากการหาความสุขช่วงสั้นแต่ละขณะๆนี้เอง ผู้ปรารถนาความสุขที่แท้จริง เมื่อจะจัดการกับชีวิตของตน จะต้องสนใจ และหาทางทำให้ชีวิตที่เป็นอยู่บัดนี้ แต่ละขณะมีความสุขได้ การพยายามหาความสุขจึงจะมีทางสำเร็จ

แต่ถ้าชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะนี้ ยังทำให้มีความสุขไม่ได้แล้ว การที่จะมีความสุขได้ในช่วงยาวไกล ก็เป็นเพียงความหวังอันเลื่อนลอย และคงจะต้องเป็นความหวังอยู่เรื่อยไป

ตรงข้าม ถ้าสามารถทำให้ชีวิตเองล้วนๆแต่ละขณะ ที่กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ มีความสุขได้แล้ว การพยายามหาความสุขก็ประสบความสำเร็จทันที เมื่อได้ปัจจัยแวดล้อมอื่นอำนวย ก็มีแต่จะสุขสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2012, 19:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ คุณกรัชกาย อีกครั้งนะค่ะที่มีบทความดีๆ มาให้อ่านช่วยได้มากเลยค่ะ เพราะช่วงนี้เครียดกับงานพอสมควรเวลานั่งสมาธิก็อดที่จะคิดถึงงานไม่ได้

tongue smiley tongue smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้อ่านหนังสือพุทธธรรมฉบับปรับขยาย...เกี่ยวกับการทำงานที่เป็นระบบของฉันทะ เพื่อ...และเพื่อรู้เข้าใจความหมายคำว่าฉันทะอีกด้วย ค่อยๆอ่านดูครับ


มีคำถามที่เป็นเรื่องของยุคสมัยว่า ฉันทะ ในการทำงานเวลานี้ จะเป็นอย่างไร ?
ฉันทะ แปลง่ายๆ ก็คือ ชอบ นี่เอง
ก็มีผู้เล่าว่า มีคนมาสมัครงาน เขาสัมภาษณ์ว่า คุณชอบงานนี้ไหม ?

คำว่า “ชอบ” นี้กำกวม คนหนึ่งตอบว่า ชอบ แต่หมายความว่า ชอบ ที่เงินเดือนดี จะได้เงินมากๆ ทำงานสบายไม่ต้องหนัก ไม่ต้องเหนื่อย งานก็ง่าย สะดวก ทั้งมีเวลาพักเยอะ แล้วก็เงินก็เยอะ นี่ชอบอย่างหนึ่ง

ทีนี้อีกคนหนึ่ง ตอบว่า “ ชอบ” ชอบอย่างไร ? ก็ชอบที่งานนี้ถูกกับความถนัดความสามารถ ทำแล้วจะมีประโยชน์ ช่วยประเทศชาติ ดีแก่สังคมอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นงานที่ดีงามสร้างสรรค์อย่างนั้นอย่างนี้ ชอบเพราะว่าอย่างนี้

เป็นอันว่า คำว่า ชอบ ในที่นี้เป็นคำกำกวม ก้ำกึ่งระหว่างตัณหา กับฉันทะ ถ้าจะให้ชัด ก็ต้องพยายามสร้างความเข้าใจในคำว่า ฉันทะ ให้ชัดขึ้นในสังคมไทย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ถ้าถามว่า งานนี้คุณมีฉันทะไหม? ก็หมายความว่า มันถูกกับความถนัดความสามารถ เรามองเห็นคุณค่าประโยชน์ของมัน ต้องมองด้วยปัญญา ไม่ใช่ชอบเพียงเพราะว่า มีเงินเดือนดี สบาย ขี้เกียจ ได้ พักผ่อนเยอะ อย่างนี้ก็อยู่แค่ความรู้สึกเห็นแก่ตัว นี่คือตัณหา

ถ้ามีฉันทะ ก็อย่างที่ว่า เราทำงานนี้ เรารักงานจริงๆ รักเพราะเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ว่า งานนี้เป็นการสร้างสรรค์สังคม แล้วก็พัฒนาประเทศชาติ

ถ้างานที่เราทำอยู่นั้น ไม่ชัดในเรื่องประโยชน์ทางสังคม หรือถ้าเรามองไม่เห็นคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ แต่เราจำเป็นจะต้องทำ ก็สร้างฉันทะขึ้นมาในแง่ที่มองเห็นว่ามีคุณค่าในการพัฒนาตัวเรา มันจะทำให้เราได้พัฒนาชีวิตของเรา เพราะว่างานนั้นมีความหมายอย่างหนึ่งก็คือ เป็นแตนพัฒนาชีวิตของเรา

คุณค่าอย่างหนึ่งของงานนั้น ไม่ว่างานอะไร จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ก็คือจะทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง เช่น ยิ่งงานยาก เราก็ยิ่งได้พัฒนาตัวมาก คือ ได้ฝึกตน ได้พัฒนาสติปัญญาและความสามารถต่างๆ

เพราะฉะนั้น ถ้าปลูกฉันทะได้ดีแล้ว คนมีความใฝ่ฝึก ใฝ่ศึกษา ตอนนี้แหละ เขาจะชอบแม้แต่สิ่งที่เคยไม่ชอบ ชอบแม้แต่งานที่ยาก ตามคติที่ว่า ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก คือ ยิ่งงานยาก เราก็ยิ่งได้พัฒนาตัวเองมาก กว่างานนั้นจะเสร็จ กว่างานนั้นจะเดินไปได้ดี เราก็ได้พัฒนาตัวเองไปมากมาย

ที่ว่างานเป็นแดนพัฒนาชีวิตของเรานั้น ขอให้คิดง่ายๆ งานกินเวลาส่วนใหญ่ของชีวิตเรา เช่น วันละ ๘ ชั่วโมง คิดเท่ากับ ๑ ใน ๓ ของวัน เหลืออีก ๑๖ ชั่วโมง ก็นอนบ้าง เดินทางบ้าง เหนื่อยเสียแล้ว หมดไปอีกเยอะ เพราะฉะนั้น เราจะเอาอะไร ก็ต้องเอากับเวลา ๖ ชั่วโมงนี้ อย่าให้เสียเปล่า
ถ้าไปมัวทุกข์ฝืนใจกับงานนี้ เราก็แย่ เสียไปวันละ ๖ ชั่วโมงเปล่าๆ และชีวิตเราก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ด้วย

เพราะฉะนั้น ก็รีบสร้างฉันทะขึ้นมา ให้เห็นคุณค่าที่จะรักงานขึ้นมาให้ได้ บอกตัวเองว่า งานนี้ ทำไปเถอะ เราจะได้พัฒนาตัวเอง พัฒนาทักษะ พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา พัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ ให้มีความอดทน ให้มีความเพียร ให้รู้จักควบคุมตน ให้มีสติ ให้มีสมาธิ เป็นต้น งานทุกอย่างใช้พัฒนาตัวเราได้ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็ได้พัฒนาตัวเอง ถ้ามีฉันทะอย่างนี้ การทำงานก็จะมีความหมาย และมีความสุขมากขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ถ้าเกิดไปทำงานที่ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ จิตก็อัดอั้นวนเวียนไปมา ไม่มีทางออก จิตอั้น เดินไม่ได้ ไม่มีทางออกไป ก็คือทุกข์ทั้งนั้น จิตที่เป็นทุกข์ ก็คือจิตที่อัดอั้น ไม่มีทางไป ออกไม่ได้ ก็วกวนอยู่นั่น พอจิตมีทางไปแล้ว ก็โล่ง มีความสุข
เพราะฉะนั้น ถ้าไปประสบปัญหา ก็สร้างฉันทะขึ้นมาด้วยวิธีแบบนี้ งานทุกอย่างเราจะมีฉันทะได้หมด ดังที่ว่า ถึงอย่างไรมันก็เป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเรา มันมีคุณค่าที่จะใช้พัฒนาชีวิตของเราได้

พอเข้าไปในงาน ก็ต้องเจอผู้คน พอเจอผู้คน ถ้าไม่มัวคิดอัดอั้น ก็เป็นโอกาสให้ฝึกตนเองได้ทันที เราลองหัดพูดกับเขาสิ พูดอย่างไรจะได้ผลดี พูดอย่างไรจะไม่ขัดใจกัน พูดอย่างไรจะสร้างมิตร พูดอย่างไรจะทำให้เขาร่วมมือ แล้วงานของเราจะได้สำเร็จ อะไรอย่างนี้ นี่ก็คือเป็นการฝึกตัวเราเองไปหมด

ดังนั้น งานก็เป็นการศึกษาไปในตัว ที่จริงงานก็คือสิ่งที่จะต้องทำ แล้วฉันทะก็คืออยากทำ และอยากรู้ อยากทำ ก็คือการศึกษา การศึกษาก็อยู่ที่อยากรู้อยากทำ พออยากรู้อยากทำ ก็ได้เนื้อแท้ของการฝึก การศึกษาก็คือการฝึก อยากฝึกก็คืออยากศึกษา อยากศึกษาก็คืออยากรู้อยากทำ

เราไปทำงาน เราทำด้วยอยากทำ เราได้ฝึกตัวเอง ก็เป็นการศึกษานั่นเอง ที่จริง ไม่ว่าจะเล่าเรียนหรือทำงาน ก็เป็นการศึกษาทั้งนั้น คือเป็นการพัฒนาชีวิตของตัวเราเอง ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้ว ทั้งชีวิตนี้ก็คือการศึกษาและก็คือเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาตัว พัฒนาชีวิตนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2012, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ทีนี้ ตอบสรุปตามหลักวิชา ความหมายของฉันทะตามหลักการนี้ ใช้กับอะไรก็ได้ ดีและได้ผลทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการงาน คือ มีความหมาย ๒ แง่

๑. ฉันทะ ในแง่ต้องการให้สมบูรณ์ตามสภาวะ คือ เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับอะไร เราก็อยากทำให้สิ่งนั้น เรื่องนั้น งานนั้น ดี เรียบร้อย งดงาม ให้มันสมบูรณ์ เต็มตามสภาวะของมัน ที่มันควรจะเป็น

๒. ฉันทะ ในแง่ต้องการตรงไปตรงมาตามเหตุปัจจัย คือ อยากให้ได้ผลดีที่ตรงตามเหตุปัจจัยของมัน เช่น ที่ยกตัวอย่างอยู่เสมอว่า งานการอาชีพอะไรก็ตาม ก็มีวัตถุประสงค์ที่ตรงตามสภาวะของงานนั้น อย่างอาชีพแพทย์ ก็เพื่อรักษาคนให้หายโรค อาชีพครู ก็เพื่อสอนให้เด็กเป็นคนดีมีความรู้



เราทำงานอาชีพอะไร ก็ถามตัวเองให้ชัดว่า วัตถุประสงค์โดยตรงของงานอาชีพของเรานี้คืออะไร อย่างงานของรัฐ ขององค์กรทั้งหลาย เขาก็ต้องตั้งวัตถุประสงค์ไว้ทั้งนั้น เราจะทำงาน เราก็ศึกษาให้ชัด และดูว่า วัตถุประสงค์อย่างนั้น เรายอมรับไหม พอใจไหม ชื่นชมไหม เมื่อตกลงใจแล้ว ก็จะได้ทำให้ตรงให้ถูก และด้วยความพอใจตั้งใจ ก็ทำงานโดยอยากให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์อันนั้น อย่างนี้ คือ ฉันทะ

ส่วนเงินทองหรือเงินเดือนค่าตอบแทน เป็นต้น ก็เป็นเรื่องของระบบเงื่อนไข ถ้าเรามีฉันทะแล้ว ก็มองด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันว่า มันคือเครื่องสนับสนุนค้ำจุนให้เราตั้งหน้าตั้งตาทำงานอาชีพเพื่อวัตถุประสงค์นั้นๆได้เต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องการเลี้ยงชีพความเป็นอยู่ ถึงแม้อยู่ในระบบเงื่อนไข แต่เรารู้ทันและเข้าถึงสาระ

ทีนี้ เมื่อเราทำงานด้วยฉันทะ เพื่อวัตถุประสงค์ของอาชีพอย่างถูกต้อง รัฐและองค์กรเป็นต้น ที่รู้เท่าทันสภาวะของระบบเงื่อนไขนั้น ก็ทำหน้าที่เอาใจใส่ดูแลอุดหนุนค้ำจุนต่างๆด้วยเงินเดือน เป็นต้น โดยไม่มองแค่ที่จะเป็นเงื่อนไขเพื่อบังคับคนให้ทำงาน แต่มุ่งเกื้อกูลหนุนให้คนมีฉันทะที่จะตั้งใจ และตั้งหน้าตั้งตาทำงานนั้นได้เต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องเงินทองค่าใช้จ่ายในการเป็นอยู่ ให้คนทำงานไม่ต้องคิดที่จะไปหาที่อื่นหรือทางอื่น

ถ้าเป็นไปตามที่ว่ามานี้ คือ เราก็มีฉันทะตั้งใจทำงาน เพื่อวัตถุประสงค์ของงาน และใจก็รักอยากให้ได้ผลอย่างนั้น แล้วพร้อมกันนั้น เงินเดือนค่าตอบแทนก็มาถึงแก่เรา ให้ตัวเราและครอบครัวอยู่กันได้อย่างสุขสวัสดี

อย่างนี้ก็คือความถูกต้องดีงาม ให้เรามีความสุขทั้งสองด้าน คือ ด้านตัวงานที่ทำ ก็มีความสุขว่าได้ทำถูกต้องด้วยฉันทะแล้ว และ
ด้านค่าเลี้ยงชีพที่จะอุดหนุนเป็นหลักประกันให้แก่การทำงานของเรา ก็มาหนุนจริงจังให้เราทำตามฉันทะต่อไปได้เต็มที่ เราก็มีความสุขที่ทุกอย่างจะดำเนินเดินหน้าต่อไปได้เป็นอย่างดี มั่นใจว่าฉันทะของเราจะออกผลสมวัตถุประสงค์ แก่องค์กรแก่ประเทศชาติ อย่างราบรื่นยืนยาวต่อไป นี่คือ ระบบของฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2012, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณกรัชกายมากนะค่ะ ที่มีบทความดีๆมาให้อ่าน จะลองพยายามรักงานที่ทำดูนะค่ะ

tongue smiley tongue smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร