วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 03:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 19:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 16:15
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่าถ้าเราจะเดินจงกรมแทนการนั่งสมาธิได้มั้ยคะ เพราะนั่งแล้วชอบจินตนาการล้ำเลิศ กลัวโน่น กลัวนี่ ฟังคนอื่นเค้ามามากว่าเค้านั่งแล้วรู้สึกอย่างโน้น อย่างนี้ กลัวว่าถ้านั่งแล้วเห็นอะไรน่ากลัวๆ แล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ ลืมตาขึ้นมากระทันหันแล้วจิตจะแตกจนทำให้เสียสติอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า แล้วอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไรหรือเปล่าคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ครับ บลาๆ :b1:

หากจินตนาการเลิศหรูฟูฟุ้งดังกล่าว จิตก็ไม่สงบ เมื่อจิตไม่สงบ สภาวธรรม (สิ่งที่เป็นเอง) อย่างที่จินตนาการว่าน่ากลัวอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่เกิด

เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็เกิด ไม่ว่าจะเดินจงกรมหรือว่านั่ง ไม่เชื่อไปดูที่นี่ครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=6.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พัดชา เขียน:
อยากทราบว่าถ้าเราจะเดินจงกรมแทนการนั่งสมาธิได้มั้ยคะ เพราะนั่งแล้วชอบจินตนาการล้ำเลิศ กลัวโน่น กลัวนี่ ฟังคนอื่นเค้ามามากว่าเค้านั่งแล้วรู้สึกอย่างโน้น อย่างนี้ กลัวว่าถ้านั่งแล้วเห็นอะไรน่ากลัวๆ แล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ ลืมตาขึ้นมากระทันหันแล้วจิตจะแตกจนทำให้เสียสติอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า แล้วอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไรหรือเปล่าคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ



ถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าพึ่งนั่งก็ได้ครับ ปฏิบัติให้สบายกายสบายใจ
การอบรมเจริญภาวนาจะอยู่ในอิริยาบทไหนก็ย่อมทำได้
เป็นการบำเพ็ญเพียรอบรมจิต อบรมปัญญาให้เจริญขึ้นเพื่อใช้ดับกิเลส
การเดินจงกรมก็ขอให้เดินให้สบาย ทำให้สบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด บีบเค้น ให้จิตและกายตนลำบาก
เมื่อจิตใจเข้มแข็งขึ้นจะเริ่มนั่งซักหนึ่งนาที สองนาที่ หรือสามนาที เริ่มจากเวลาน้อยๆก่อน ก็ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


พัดชา เขียน:
อยากทราบว่าถ้าเราจะเดินจงกรมแทนการนั่งสมาธิได้มั้ยคะ


พัดชา เขียน:
แล้วอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไรหรือเปล่าคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


ได้ไหม คงต้องตอบว่า พอใจในผลการปฏิบัติแค่ไหน ภาษาบ้านคือ จะเอาผลแค่ไหน
ถ้าแค่ความสุขสบายใจในชีวิตประจำวัน ต้องตอบว่าได้ครับ
ถ้าต้องการหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารแร็วไว ก็ต้องครบทั้งการเดินการนั่งและทุกอิริยาบท

พัดชา เขียน:
เพราะนั่งแล้วชอบจินตนาการล้ำเลิศ กลัวโน่น กลัวนี่ ฟังคนอื่นเค้ามามากว่าเค้านั่งแล้วรู้สึกอย่างโน้น อย่างนี้ กลัวว่าถ้านั่งแล้วเห็นอะไรน่ากลัวๆ แล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ ลืมตาขึ้นมากระทันหันแล้วจิตจะแตกจนทำให้เสียสติอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า


ในทุกอิริยาบท ไม่ว่านั่งหรือเดิน แม้ไม่ต้องการให้จินตนาการ ความคิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ จะเดินก็เกิด
ก็เห็น ก็รู้สึกได้เหมือนนั่ง โอกาสเกิดขึ้นแม้จะน้อย แต่ก็มีโอกาส

จุดประสงค์และผลของการเดินจงกรมกับการนั่งต่างกัน เนื่องด้วยการปรับอินทรีย์ด้วย ความก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติจะมีผลไวต่อเมื่อการปรับอินทรีย์ถูกต้อง

ในสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าท่านตรัสแนะการนั่งไว้ แสดงการนั่งก็ไม่สามารถละได้เสียทีเดียว หรือ
ง่ายๆ คือ ทิ้งการนั่งไม่ได้

หากจะปฏิบัติจริงๆ ไม่ควรไปรับรู้สภาวะธรรมของบุคคลอื่นมาก จะนำมาฟุ้งซ่านมากไป ตัวอย่างที่เห็น
คือ คุณกลัวเพราะฟังคนอื่นมา แท้จริง สภาวะในการปฏิบัติของใครของมัน ไม่เกี่ยวเนื่องกันคนละรูป
คนละนามกัน

ถ้าคิดจะปฏิบัติ พึงหาครูอาจารย์กัลยาณมิตร คอยสอดส่องชี้แนะอารมณ์ดีกว่าครับ วิธีการเลือกครู
อาจารย์หรือกัลยาณมิตร ก็พึงเลือกตามหลักธรรมะทั่วไป

ถ้าตกลงใจจะปฏิบัติแล้ว ไม่ควรกลัวหรือหลบสภาวะครับ การหลบเลี่ยงก็เหมือนการเลือกเอาที่ชอบไม่
รับที่ไม่ชอบ เพราะการปฏิบัติจริงๆ เราเลือกไม่ได้ และต้องวางจิตเป็นกลางต่อสภาวะทุกอย่าง ถ้าเริ่ม
ต้นด้วยชอบหรือไม่ชอบแล้ว ผลออกมาก็จะไม่ค่อยไปตามวัตถุประสงค์เท่าไร

ถ้ายังกลัวอยู่ มีวิธีง่ายๆเพื่อไม่ต้องเว้นการนั่ง และไม่ใช่ขจัดความกลัว แต่เพิ่มความสามารถในการวาง
เฉยต่อสภาวะอันไม่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ

เบื้องต้น ไม่ว่าปฏิบัติมานานเท่าไรแล้ว ไม่ได้ประเมิณที่ระยะเวลาของการฝึกมา ประเมิณที่สติสมาธิ
เมื่อสติสมาธิยังไม่แข็งแรงดีพอ ควรฝึกสติและสมาธิก่อนโดย เดินจงกรมและนั่งในเวลาที่น้อยก่อน
เช่น เดิน ๑๕ นาที นั่ง ๑๐ นาที สมมติว่า เคยทำวันละ ๑ ชม. ก็ซอยย่อยลงมา ทำครั้งละน้อยๆ ไม่
แต่ทำเพิ่มรอบ คือวันละ ๒-๓ รอบ วิธีการเช่นนี้เพื่อฝึกสติสมาธิให้แข็งแรงก่อน

เหตุที่แนะนำเช่นนี้เพราะ ผู้ที่สติสมาธิยังไม่แข็งแรง เวลา ๑๕ นาทีในการนั่ง ส่วนมากสภาวะต่างๆ
ยังเกิดขึ้นน้อยมาก บางคนแทบไม่ได้สมาธิเลยด้วยซ้ำ

อย่ากลัวครับ แท้จริง เมื่อปฏิบัติก้าวหน้าแล้ว มีสภาวะที่น่ากลัวกว่านี้รออยู่ แต่เมื่อถึงสภาวะนั้น คุณจะ
รู้จักวางเฉยได้แล้ว

อนุโมทนา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พัดชา เขียน:
อยากทราบว่าถ้าเราจะเดินจงกรมแทนการนั่งสมาธิได้มั้ยคะ เพราะนั่งแล้วชอบจินตนาการล้ำเลิศ กลัวโน่น กลัวนี่ ฟังคนอื่นเค้ามามากว่าเค้านั่งแล้วรู้สึกอย่างโน้น อย่างนี้ กลัวว่าถ้านั่งแล้วเห็นอะไรน่ากลัวๆ แล้วควบคุมตัวเองไม่ได้ ลืมตาขึ้นมากระทันหันแล้วจิตจะแตกจนทำให้เสียสติอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ ไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า แล้วอานิสงค์แตกต่างกันอย่างไรหรือเปล่าคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


การปฏิบัติธรรม สำรวมกาย วาจา ให้เป็นศีล
ทำความเพียร ด้วยการน้อมจิตตั้งไว้ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปในภายนอก
จึงสำรวมจิตตั้งไว้ที่องค์ กรรมฐาน
ใช้ปัญญา ละธรรมอันเป็นเครื่องกั้นของ สมาธิและปัญญา

หลักง่ายๆ ดังนี้ จึงเป็น ผู้มีความเพียรเพ่ง
รู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นผู้ระลึก ถึงธรรมอันเป็นกุศลอยู่เสมอๆ
ละความยินดี ละความยินร้าย ในโลกด้วยการวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆที่ จิตไปปรุงแต่งเข้ามา

จะนั่งก็ตาม จะอยู่ในอิริยาบท ใหญ่น้อยก็ตาม
หากไม่รู้จัก หลักการของ จิตตสิกขานี้
จิตย่อมเป็นเอกัคคตาจิต ไม่ได้ ย่อมฟุ้งซ่านแน่นอน

หากรู้จักหลักการนี้ จะนั่งก็ไม่เป็นปัญหา จะผลัดเปลี่ยนอิริยาบทน้อยใหญ่ ก็ไม่เป็นไร

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


นอนก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2011, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาอ่านด้วยคน

:b8: :b41: :b45:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron