วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 03:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2011, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
ยังมีต่อ นำมาลงยังไม่หมด

จริงๆแล้ว เรื่องสมาธิ ถ้าฝึกให้ชำนาญ รู้ชัดเจนในสภาวะนั้นๆแล้ว

เมื่อได้อ่าน ตำราที่มีบันทึกไว้ หรือแม้กระทั่งพระไตรปิฎกจะเข้าใจได้ง่ายมากกว่าไม่เคยผ่านสภาวะนั้นๆมาก่อน

แต่ถ้าไม่เคยประสพกับสภาวะนั้นๆ แล้วนั่งคาดเดาสภาวะตามตัวหนังสือ มันแตกต่างกันมากๆ ระหว่างการคาดเดากับสภาวะที่แท้จริง

แต่ไม่เป็นไร เหตุมี ผลย่อมมี ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง

เห็นสนใจในความหมายของสภาวะอัปปมาณสมาธิ เลยนำมาให้อ่านค่ะ


คุณ walaiporn ช่วยอ้างอิงที่มาด้วยครับ
จะติดตามอ่านต่อไป"




walaiporn เขียน:



เนือหาทั้งหมดนำมาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรคพระพุทธโฆสเถระ รจนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2011, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:

" ในกาลก่อนเราเมื่อไม่ได้ศึกษาพุทธวจนะโดยตรง เป็นผู้สดับน้อย ไม่ได้สั่งสมสุตะไว้มาก จึงได้คาดเดา เสียเวลาพลาดโอกาสไปมาก แต่เมื่อได้ศึกษาพุทธพจน์ ได้ศึกษาพระธรรมอันวิจิตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว จึงไม่ได้คาดเดาไปในความมืดมิดเหมือนดังแต่ก่อน

เสียดายเวลาที่ผ่านมาน่าจะได้ศึกษาพุทธวจนะโดยตรงมาก่อนหน้านี้ "




ในเมื่อคุณยืนยันเรื่องการศึกษา การสนทนาขอจบเพียงเท่านี้ค่ะ

เพราะเห็นแล้วว่า คุณไม่ได้ตั้งใจอ่านข้อความที่นำมาโพส ไม่งั้นคุณคงไม่ถามถึงที่มาของข้อมูลที่นำมาโพส ทั้งๆที่ได้นำมาแสดงไว้แล้วว่านำมาจากไหน :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2011, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดกัน ผมเขึยนตอบหลังจากข้อความนี้ของคุณ วลัยพร

อ้างคำพูด:
ยังมีต่อ นำมาลงยังไม่หมด

จริงๆแล้ว เรื่องสมาธิ ถ้าฝึกให้ชำนาญ รู้ชัดเจนในสภาวะนั้นๆแล้ว

เมื่อได้อ่าน ตำราที่มีบันทึกไว้ หรือแม้กระทั่งพระไตรปิฎกจะเข้าใจได้ง่ายมากกว่าไม่เคยผ่านสภาวะนั้นๆมาก่อน

แต่ถ้าไม่เคยประสพกับสภาวะนั้นๆ แล้วนั่งคาดเดาสภาวะตามตัวหนังสือ มันแตกต่างกันมากๆ ระหว่างการคาดเดากับสภาวะที่แท้จริง

แต่ไม่เป็นไร เหตุมี ผลย่อมมี ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง

เห็นสนใจในความหมายของสภาวะอัปปมาณสมาธิ เลยนำมาให้อ่านค่ะ


อาจเป็นเพราะตอนที่ผมตอบใช้เวลาพิมพ์นานไป คุณวลัยพรตอบหลังจากนั้นอีกหลายข้อความอาจเป็นเพราะใช้เวลาเร็วกว่า ข้อความที่ผมตอบจึงมาอยู่หลังข้อความเหล่านั้นพอดี อนิจจา

หากคุณวลัยพรนำมาลงต่อ จะรอติดตามอ่านต่อไปครับ :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดกัน ผมเขึยนตอบหลังจากข้อความนี้ของคุณ วลัยพร
อาจเป็นเพราะตอนที่ผมตอบใช้เวลาพิมพ์นานไป คุณวลัยพรตอบหลังจากนั้นอีกหลายข้อความอาจเป็นเพราะใช้เวลาเร็วกว่า ข้อความที่ผมตอบจึงมาอยู่หลังข้อความเหล่านั้นพอดี อนิจจา

หากคุณวลัยพรนำมาลงต่อ จะรอติดตามอ่านต่อไปครับ :b47:




ขออภัยค่ะ :b8:

ภาคปริยัติจบแล้วค่ะ

ถ้าจะสนทนาต่อ เป็นเรื่องสภาวะ

และถ้าคุณต้องการสนทนาในภาคปฏิบัติต่อ คงต้องถามเรื่องสมาธิก่อนค่ะ

แต่ถ้าไม่ต้องการสนทนาต่อก็ไม่เป็นไรค่ะ

ยกตัวอย่างให้ฟังหนึ่งหัวข้อนะคะ




walaiporn เขียน:
จับจุดให้ถูก "สมาธิ"

เหตุของการทำให้เกิดสมาธิหรือการสร้างเหตุของการทำให้เกิดจิตตั้งมั่น


ปริยัติ


ในสมาธิที่แยกเป็น ๔ อย่าง หมวดที่ ๑ ที่ว่า สมาธิมี ๔ อย่าง โดยแยกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ เป้นต้นนั้น มีอรรถอธิบายดังนี้ คือ :-

สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่

ทุกขาปฏิปทาธันธาภิญญาสมาธิ ๑

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ๑

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ๑

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ๑


อธิบายว่า ในปฏิปทาและอภิญญา ๒ อย่างนั้น การภาวนาสมาธิที่ดำเนินไป นับตั้งแต่ลงมือสำรวจจิตเจริญกัมมัฏฐานครั้งแรก จนถึงอุปจารฌานของฌานนั้นๆ เรียกว่า ปฏิปทา คือ การปฏิบัติ

ส่วนปัญญาที่ดำเนินไปนับตั้งแต่อุปจารฌานจนไปถึงอัปปนาฌาน เรียกว่า อภิญญา คือ การรู้แจ้ง


ก็แหละปฏิทา คือ การปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทุกข์ คือ ลำบาก ส้องเสพไม่สะดวกสำหรับโยคีบางคน เพราะการรบเร้าและเข้ายึดครองของธรรมที่มีข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น

แต่เป็นความสะดวกสบายสำหรับโยคีบุคคลบางคน เพราะไม่มีการรบเร้าและยึดครองของธรรมที่เป็นข้าศึก


แม้อภิญญา คือ การรู้แจ้ง ก็เป็นการเชื่องช้าเฉื่อยชา ไม่เกิดโดยฉับพลันสำหรับโยคีบุคคลบางคน

แต่สำหรับโยคีบุคคลบางคนก็รวดเร็วไม่เฉื่อยชาเกิดโดยฉับพลัน


ก็แหละธรรมอันเป็นที่สบายและไม่เป็นที่สบาย ๑ บุพกิจเบื้องต้นมีการตัดปลิโพธิ คือ เครื่องกังวลให้สิ้นห่วง ๑ และความฉลาดในอัปปนาทั้งหลาย ๑ เหล่าใดที่ข้าพเจ้ายกพรรณนาข้างหน้า


ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โยคีบุคคลใดเป็นผู้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้น ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญา คือ รู้แจ้งเชื่องช้า

โยคีบุคคลผู้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติสะดวกสบาย และมีอภิญญา คือ การรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว


ส่วนโยคีบุคลลใด ในตอนต้นก่อนแต่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ตอนหลังจากที่บรรลุอุปจารสมาธิแล้ว ได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย

หรือ ในตอนต้นได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย พึงทราบว่า ปฏิทาและอภิญญาของโยคีบุคคลผู้นั้นคละกัน


อธิบายว่า โยคีบุคคลใด ในตอนต้น ส้องเสพธรรมอันไม่เป้นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้นมีปฏิทาลำบาก เป็นทุกข์ แต่มีอภิญญาการรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว

ส่วนโยคีบุคคลใด ในตอนต้น ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ตอนหลังได้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลนั้น มีปฏิปทาสะดวกสบาย แต่มีอภิญญารู้แจ้งเชื่องช้า

พึงทราบสมาธิที่ ๒ และที่ ๓ เพราะความคละกันแห่งสมาธิที่ ๑ และที่๔ ฉะนี้


สำหรับโยคีบุคคลผู้ไม่ได้จัดแจงบุพกิจเบื้องต้น มีการตัดปลิโพธิเครื่องกังวลให้สิ้นห่วงเสียก่อน แล้วลงมือประกอบการเจริญภาวนาก็เหมือนกัน คือ ย่อมมีปฏิทาการปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์

โดยปริยายตรงกันข้าม สำหรับโยคีบุคคลผู้จัดแจงทำบุพกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว จึงลงมือประกอบการเจริญภาวนา ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย


ส่วนโยคีบุคคลผู้ไม่ได้เรียนอัปปนาโกศล คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอัปปนาให้สำเร็จก่อน ย่อมมีอภิญญารู้แจ้งเชื่องช้า

ผู้ที่เรียนอัปปนาโกศลให้สำเร็จก่อน ย่อมมีอภิญญารู้แจ้งอย่างรวดเร็ว


อีกประการหนึ่ง พึงทราบประเภทของปฏิปทาและอภิญญานี้ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและอวิชชา ๑ ด้วยอำนาจแห่งสมถาธิการและวิปัสสนาธิการ ๑ ต่อไป กล่าวคือ

โยคีบุคคลผู้อันตัณหาครอบงำ ย่อมมีปฏิปทาลำบาก เป็นทุกข์ ผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำ ย่อมมีปฏิทาสะดวกสบาย

และโยคีบุคคลผู้อันอวิชชา ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


และโยคีบุคคลผู้มีอธิการอันไม่ได้ทำไว้ในสมถภาวนา ย่อมมีปฏิทาลำบาก เป็นทุกข์ ผู้มีอธิการอันทำไว้แล้ว ย่อมมีปฏิทาสะดวกสบาย

ส่วนผู้มีอธิการอันไม่ได้ทำไว้ในวิปัสสนาภาวนา ย่อมมีอภิญญาเชื่องช้า ผู้มีอธิการอันได้ทำไว้แล้ว ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


พึงทราบประเภทของปฏิทาและอภิญญาเหล่านี้ แม้ด้วยอำนาจแห่งกิเลสและอินทรีย์ ๕ อีก กล่าวคือ

โยคีบุคคลผู้มีกิเลสแรง แต่มีอินทรีย์ย่อหย่อน ย่อมมีปฏิปทาลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญาเชื่องช้า ส่วนผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว

และโยคีบุคคลผู้มีกิเลสบางเบา มีอินทรีย์ย่อหย่อน ย่อมมีปฏิปทาสะดวกสบาย แต่มีอภิญญาเชื่องช้า ส่วนผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมมีอภิญญารวดเร็ว


ด้วยประการฉะนี้ ในปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ โยคีบุคลลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันลำบาก เป็นทุกข์และด้วยอภิญญาเชื่องช้า สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันลำบาก เป็นทุกข์และด้วยอภิญญาอันรวดเร็ว สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญาเชื่องช้า สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ

โยคีบุคคลใดได้บรรลุซึ่งสมาธิด้วยปฏิปทาอันสะดวกสบายและด้วยอภิญญารวดเร็ว สมาธิของโยคีบุคคลนั้น เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ





ตัวอย่างในหัวข้อนี้ เป็นเรื่องของสัปปายะ เป็นเรื่องของรู้กับไม่รู้ เช่นกับคำกล่าวนี้

"ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โยคีบุคคลใดเป็นผู้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้น ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญา คือ รู้แจ้งเชื่องช้า

โยคีบุคคลผู้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติสะดวกสบาย และมีอภิญญา คือ การรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว"


ขอถามคุณว่า คุณอ่านแล้วเข้าใจว่าอย่างไรคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี

:b54: :b54: :b54:

อัปปมาณสมาธิ แยกเป็น อัปปมาณ และ สมาธิ

อัปปมาณ แยกเป็น อ บทหน้า แปลว่า ไม่ เช่น ไม่มี ไม่ใช่ และ
มาณ ศัพท์ แปลว่า กำหนด(นับ) กะเกณฑ์ หรือ ประมาณ(การ)

สมาธิ แปลว่า การตั้งมั่น(แห่งจิต)

หมายเหตุ การตีความคำสอน โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา จำเป็นต้องมุ่งไปที่รากภาษาเดิมคือบาลี หาไม่แล้ว
การตีความจะขัดแย้งกันมาก เพราะมุ่งแต่ภาษาไทย ความหมายเลยไม่ตรงหลักเดิมนัก หากได้ตีความมุ่งกลับ
ไปที่ภาษาดังเดิมแล้ว ความหมายจะไม่ผิดกับหลักการปฏิบัติเลย ทั้งในส่วนของวิธีปฏิบัติและสภาวะธรรมในการปฏิบัติ

ต่อ

รวมคำทั้งสองแล้ว แปลว่า สมาธิอันหาประมาณมิได้ หรือ สมาธิอันไม่มีประมาณ หรือ จิตตั้งมั่นหาประมาณมิได้
หรือ จิตตั้งมั่นไม่มีประมาณ

ในความหมายนี้ หมายถึงความตั้งมั่นของจิตที่กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ หมายถึงจะกำหนดว่ามากน้อย หนาแน่น ยาวนาน สั้น เป็นต้น และ

หมายถึงสมาธิสภาวะที่ประมาณไม่ได้ในขณะที่มรรคและผลเกิดขึ้น เช่น

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ท่านบรรลุธรรม ในขณะบรรลุธรรม สมาธิของทั้งสองท่านก็ไม่เท่ากัน ไม่มีใครประมาณการได้ ว่ามากน้อย ยาวนานเท่าใด

และ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่เราเข้าใจกัน หรือ สมาธิตามความหมายปริยัติที่เล่าเรียนกันสมัยนี้ แต่ หมายถึง สภาวะธรรมที่จิตหน่วงเป็นอารมณ์แล้วเข้าสู่มรรคผล
บางแห่งก็ใช้คำว่า อัปปมาณสมาธิในการอธิบายพรหมวิหารฌาน ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ ต้องอธิบายให้ถูก

ส่วนจะต่างกับอัปปนาสมาธิหรือไม่ ก็ลองพิจารณาดูครับ


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

:b1: อืมมมมมม

ท่านกามโภคี ขอถามนิดนุงนะ :b12:
ท่านอาศัยอะไรเป็นข้อมูลพื้นฐาน จึงวินิจฉัยความนัยออกมาเช่นนี้
เอกอนถามจริง ๆ
เพราะ เท่าทีจับ mode แล้ว ท่านตอบเช่นนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ท่านมีประสบการณ์
คือถ้าเป็นผู้ที่มองเห็นประสบการณ์เพียงด้านเดียว ส่วนใหญ่จะขยายไปในทางมากอย่างเดียว
แต่ถ้าเป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ จะเห็นแง่ การประมาณไม่ได้ว่ามากหรือน้อย
บางครั้งท่านอาจจะแทบอยากกล่าวว่า เป็นความมากในทางน้อย เลยก็เป็นได้



:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2011, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่เอราฯถามมาว่า

ท่านกามโภคี ขอถามนิดนุงนะ :b12:
ท่านอาศัยอะไรเป็นข้อมูลพื้นฐาน จึงวินิจฉัยความนัยออกมาเช่นนี้
เอกอนถามจริง ๆ
เพราะ เท่าทีจับ mode แล้ว ท่านตอบเช่นนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ท่านมีประสบการณ์
คือถ้าเป็นผู้ที่มองเห็นประสบการณ์เพียงด้านเดียว ส่วนใหญ่จะขยายไปในทางมากอย่างเดียว
แต่ถ้าเป็นผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ จะเห็นแง่ การประมาณไม่ได้ว่ามากหรือน้อย
บางครั้งท่านอาจจะแทบอยากกล่าวว่า เป็นความมากในทางน้อย เลยก็เป็นได้



ปริยัติดุจดังแผนที่ ปฏิบัติดุจดังการเดินทางตามแผนที่นั้น
สองอย่างนี้ต้องอิงอาศัยกันตลอดเวลาที่ปฏิบัติ เพียงแต่ต้องอาศัยจังหวะเวลาในการที่จะนำเอาปริยัติ
มาปรับวิธีการปฏิบัติ บางขณะ ต้องเอาผลการปฏิบัติมาวินิจฉัยความถูกต้องของการตีความปริยัติเพื่อสืบ
ต่อคำสอนให้ต่อไปถึงรุ่นหลังตามกำลัง
เหตุผลนี้คือข้อมูลพื้นฐานของคำวินิจฉัยที่ได้มี คห. ออกไป


อนึ่ง ขอแก้ข้อความที่มี คห.ไปแล้ว เพราะตกบางคำไปอาจทำให้เข้าใจยาก ทั้งอาจทำให้ความหมาย
เสียไป ต้องขออภัยอย่างสูง ถ้าคุณเอราฯไม่สนใจถามมา ผมคงไม่ได้แก้ไขเป็นแน่ ขอบคุณที่ถามมา

[quote="กามโภคี"]
หมายถึงสมาธิสภาวะที่ประมาณไม่ได้ในขณะที่มรรคและผลเกิดขึ้น[/color]

แก้เป็น หมายถึงสมาธิสภาวะที่ประมาณไม่ได้ในขณะที่มรรคและผลจะเกิดขึ้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2011, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2011, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตัวอย่างในหัวข้อนี้ เป็นเรื่องของสัปปายะ เป็นเรื่องของรู้กับไม่รู้ เช่นกับคำกล่าวนี้

"ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โยคีบุคคลใดเป็นผู้ส้องเสพธรรมอันไม่เป็นที่สบาย โยคีบุคคลผู้นั้น ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติลำบาก เป็นทุกข์ และมีอภิญญา คือ รู้แจ้งเชื่องช้า

โยคีบุคคลผู้ส้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ย่อมมีปฏิทา คือ การปฏิบัติสะดวกสบาย และมีอภิญญา คือ การรู้แจ้งอย่างรวดเร็ว"

ขอถามคุณว่า คุณอ่านแล้วเข้าใจว่าอย่างไรคะ?


ตามที่คุณ วลัยพรยกมา

ธรรมอันเป็นที่สบายคือ
บุพกิจเบื้องต้นมีการตัดปลิโพธิ คือ เครื่องกังวลให้สิ้นห่วง ๑ เป็นไปเพื่อปฏิปทาที่สบาย
และความฉลาดในอัปปนาทั้งหลาย ๑ เป็นไปเพื่อการรู้อย่างรวดเร็ว

ธรรมอันเป็นที่ลำบากก็ตรงกันข้ามกับธรรมเป็นที่สบาย

ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง;
ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ
๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่
๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก
๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ
๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ
๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง
๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ
๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น
๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง
๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน
๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม

อัปปนาโกศล 10 ประการ
นี้เป็นนัยในอัปปนาโกศลนั้น พระโยคาวจรพึงปรารถนาอัปปนาโกศล โดยอาการ ๑๐ คือ
๑. โดยทำวัตถุให้สละสลวย
๒. โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน
๓. โดยฉลาดในนิมิต
๔. โดย ยกจิตในสมัยที่ควรยก
๕. โดย ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๖. โดย ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
๗. โดย เพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัยที่ควรจะเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
๘. โดยหลีกบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิเสีย
๙. โดยเสพแต่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
๑๐. โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร