วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ อันเป็นเหตุให้ถอนความหลงผิด รู้ผิดในสังขาร (สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งนามธรรม และรูปธรรมก็ตาม) เสียได้, การฝึกอบรมปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต)

การเจริญวิปัสสนา เป็นวิถีทางเดียว ที่ทุกคนจะได้เข้าถึง "ความจริงของชีวิต" สามารถที่จะแยกออกได้ว่า สิ่งใดเป็น "สัจจะ" และสิ่งใดเป็น "มายา"

เมื่อรู้ และเห็นสิ่งเหล่านี้ อย่างแจ่มแจ้ง และถูกต้องแล้วโอกาสที่จะตกเป็น "ทาส" ของมัน ก็เป็นไปได้ยาก ยกเว้นแต่เป็น " ทาสสมยอม" คือ เป็นทาสของมันทั้ง ๆ ที่รู้ อย่างนี้ ก็ไม่มีใครช่วยได้

ในที่นี้จะกล่าววิธีปฏิบัติวิปัสสนาที่แพร่หลายในประเทศไทยเพียงสังเขป เป็นที่รับรองต้องกัน ในหมู่ผู้รู้ทั้งหลายว่า สำนักปฏิบัติธรรม หรือสำนักวิปัสสนาในเมืองไทยเกือบทั้งหมดได้ใช้แนว " อานาปานสติสูตร "(14/167) และ " สติปัฏฐานสูตร " (12/84) เป็นเสียส่วนใหญ่

ต่างกันแต่ว่า ส่วนมากไม่ได้เอาไปสอน หรือปฏิบัติให้ครบหมดทั้งพระสูตร แต่ได้เจาะ หรือตัด เอาเฉพาะที่ต้องการจะเน้น แล้วนำไปขยาย ตามแต่ที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้ แนวการปฏิบัติของสำนัก หรืออาจารย์ต่าง ๆ จึงไม่เหมือนกัน

จึงทำให้ผู้ที่มีการศึกษาน้อย หรือผ่านการปฏิบัติมาน้อยแห่ง จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงมีหลายแบบมากนัก ? และแบบไหน ? เป็นแบบที่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สุด ?

ก็ตอบได้ว่า หลักในอานาปานสติสูตร และสติปัฏฐานสูตร หรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด ถ้าท่านไม่ชอบวิธีอื่น ๆ ก็ทำตามหลักที่ว่านี้เถิด ไม่ผิดแน่นอน

ขอเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาพระว่า อย่าได้เอาวิปัสสนา ไปปนกับการเพ่งกสิณ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ และสีต่าง ๆ รวมทั้งเพ่งพระพุทธรูปด้วย เพราะนั่นเป็นวิธีการ ของการฝึกสมาธิล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาในช่วงนี้เลย สมาธิจะเป็นวิปัสสนาได้ ก็ต่อเมื่อการเอาจิตที่สงบ หรือตั้งมั่นดีแล้วนั้น ไปเจริญวิปัสสนา โดยการพิจารณาร่างกายเป็นอสุภะ กายคตาสติ ปฏิกูล หรือมรณสติ เป็นต้น

ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว จะต้องใช้หลักของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน คือ เน้นที่สติเท่านั้น แม้ในหลักทั้ง 2 นี้ ในขั้นต้น ๆ ก็ยังเป็นเรื่องของสมาธิอยู่ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก ให้จิตจดจ่อ หรือแน่นิ่ง อยู่กับลมหายใจ เป็นต้น

ดังนั้น สำนักปฏิบัติต่าง ๆ บางแห่ง จึงปฏิบัติควบคู่กันทั้งสมาธิ และวิปัสสนา ต่างกันแต่ว่า สำนักไหนจะเน้นที่สมาธิมาก หรือ เน้นที่วิปัสสนา คือปัญญา มากน้อยกว่ากันเท่านั้น

ขอบันทึกไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผลของการเจริญสมาธิ กับการเจริญวิปัสสนานั้น แตกต่างกันมากเลยทีเดียว กล่าวคือ

การเจริญสมาธิล้วน ๆ เมื่อจิตสงบแล้ว อย่างน้อย ๆ จะเกิดมีขนลุก น้ำตาไหล คันตามตัว ตัวเบา หรือตัวลอย ตัวแข็ง เกิดความสุขสบาย นั่งแล้วไม่อยากเลิก ในบางคน เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจเห็นนิมิตต่าง ๆ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยากเห็นอะไรก็ได้เห็น ซึ่งเป็นทั้งของจริงก็มี ของเก๊ก็มาก

ส่วนการเจริญวิปัสสนานั้น ผลจะปรากฏว่า จิตจะเกิดการเบื่อหน่าย คลายกำหนัด คลายความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ เพราะสิ่งต่าง ๆ ล้วนมีปัญหา ไม่จีรังยั่งยืน เป็นต้น ทำให้รู้จักชีวิตได้อย่างแท้จริง

ในการเจริญวิปัสสนาเบื้องต้น ไม่สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะต้องฝืน ระมัดระวัง ต้องประคองสติ และสัมปชัญญะ(รู้ตัว) ให้ทันกับพฤติกรรมทั้ง 3 คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุดก็จะเกิดความสุขไปอีกแบบหนึ่ง คือ สุขเกิดจากการปล่อยวาง เบาสบาย เพราะรู้เท่าทันในสัจจะ หรือในมายาแห่งชีวิต

ผลพวงของสมาธิ และวิปัสสนา ในการเจริญวิปัสสนาต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน จะขาดเสียมิได้ แต่การเจริญสมาธินั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิปัสสนาก็ได้ แต่ผลพวงย่อมต่างกัน

สมาธิ ทำให้มีความสุข มีฤทธิ์และอำนาจต่าง ๆ อย่างสูงถ้าได้ฌาน ตายแล้วก็ไปเกิดในพรหมโลก และยังไม่พ้นทุกข์ ยังไม่หมดภพชาติ ยังไม่หมดกิเลสตัณหา ต้องกลับมาเกิดอีก

วิปัสสนา ทำให้หมดทั้งความสุข และความทุกข์ คือ รู้สัจจธรรมของโลก และชีวิต อย่างถูกต้องแท้จริง จนหมดความอยากมี อยากเป็น หรือความต้องการใด ๆ

เมื่อเรารู้ข้อเท็จจริง ของสมาธิและวิปัสสนา อย่างนี้แล้วก็ควรที่จะปฏิบัติให้ครบทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แม้ว่าการปฏิบัตินี้ จะไม่อาจละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง แต่การที่เราได้สัมผัสกับความสุขในสมาธิ กับการได้สัมผัสสัจจะของชีวิต (วิปัสสนา) ย่อมจะบรรเทาความมัวเมา ในโลกและชีวิตลง อย่างน้อยก็ 50%

ที่กล่าวมานี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ไม่มีในตำรา และไม่ยืนยันว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง หรือไม่ ? แต่ขอยืนยันได้ว่า หลังจากผ่านการปฏิบัติแล้ว มันเป็นอย่างนี้ และไม่มีการต่ำลง มีแต่จะยิ่งสูงขึ้นไปตามลำดับ


ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/027.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2011, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่กล่าวมานี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ไม่มีในตำรา และไม่ยืนยันว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง หรือไม่ ?

ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละ เพราะที่เล่ามาว่า

อ้างคำพูด:
การเจริญสมาธิล้วน ๆ เมื่อจิตสงบแล้ว อย่างน้อย ๆ จะเกิดมีขนลุก น้ำตาไหล คันตามตัว ตัวเบา หรือตัวลอย ตัวแข็ง เกิดความสุขสบาย นั่งแล้วไม่อยากเลิก ในบางคน เป็นต้น


ถ้าจิตสงบแล้วอาการพวกนี้จะเกิดอย่างไรกัน ถ้าจิตสงบจริงอาการเหล่านี้จะหายไปเด้อ
ถ้าเล่าจากประสบการณ์จริง ทำไมลืมว่าสภาวะเหล่านั้นนะ จิต มันยังแวบไปเที่ยวอยู่บ่อยๆ หรือจำบ่ได้ครับ

อ้างคำพูด:
ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว จะต้องใช้หลักของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน คือ เน้นที่สติเท่านั้น แม้ในหลักทั้ง 2 นี้ ในขั้นต้น ๆ ก็ยังเป็นเรื่องของสมาธิอยู่ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก ให้จิตจดจ่อ หรือแน่นิ่ง อยู่กับลมหายใจ เป็นต้น


อย่าลืมมรรคแปด ทางแห่งการบรรลุธรรม เด้อพี่น้อง ซึ่งต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีสติเป็นตัวกำกับ จะขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้
ในบางสำนักที่ชอบสอนว่าสมาธิทำให้เสียเวลา ทำให้ช้า ถ้าสอนใหม่ว่าต้องทำสมาธิด้วย หากไม่มีสมาธิแล้วไซร้ การเจริญวิปัสสนาจะเกิดบ่ได้ นิวรณ์บ่สงบระงับ แล้วภาวนาปัญญาจะเ้กิดได้อย่างไร ถ้ายังไงก็นิมนต์เจ้าสำนักทั้งหลายกลับลำเทดใหม่ด้วยนะขอรับ เอาให้ครบแปดเป็นใช้ได้ มิใช่เหมือนแต่ก่อน มีแค่มรรค 7
หลวงตามหาบัวเคยเทศน์ไว้ในเรื่องมหาภัยในวงกรรมฐาน ประมาณปี 45 ว่า พวกที่ไม่ต้องทำสมาธิแต่เจริญปัญญาไปเลย ดูจิตไปเลย หลวงตาท่านก็เมตตาบอกว่า "ปัญญาโครตพ่อโครตแม่มันมาจากไหน"คงไม่มีอะไรตรงกว่านี้อีกแล้ว

ถ้าเป็นไปได้ก็ขอเรียนเชิญท่าน จขกท. มาสนทนาแนวทางการดูจิตของหลวงพ่อ ป. ที่ท่านชอบเอามาโพสบ่อยๆ ด้วยละกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2011, 22:44
โพสต์: 26

อายุ: 12

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
ที่กล่าวมานี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ไม่มีในตำรา และไม่ยืนยันว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง หรือไม่ ?

ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละ เพราะที่เล่ามาว่า

อ้างคำพูด:
การเจริญสมาธิล้วน ๆ เมื่อจิตสงบแล้ว อย่างน้อย ๆ จะเกิดมีขนลุก น้ำตาไหล คันตามตัว ตัวเบา หรือตัวลอย ตัวแข็ง เกิดความสุขสบาย นั่งแล้วไม่อยากเลิก ในบางคน เป็นต้น


ถ้าจิตสงบแล้วอาการพวกนี้จะเกิดอย่างไรกัน ถ้าจิตสงบจริงอาการเหล่านี้จะหายไปเด้อ
ถ้าเล่าจากประสบการณ์จริง ทำไมลืมว่าสภาวะเหล่านั้นนะ จิต มันยังแวบไปเที่ยวอยู่บ่อยๆ หรือจำบ่ได้ครับ

อ้างคำพูด:
ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว จะต้องใช้หลักของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน คือ เน้นที่สติเท่านั้น แม้ในหลักทั้ง 2 นี้ ในขั้นต้น ๆ ก็ยังเป็นเรื่องของสมาธิอยู่ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก ให้จิตจดจ่อ หรือแน่นิ่ง อยู่กับลมหายใจ เป็นต้น


อย่าลืมมรรคแปด ทางแห่งการบรรลุธรรม เด้อพี่น้อง ซึ่งต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีสติเป็นตัวกำกับ จะขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้
ในบางสำนักที่ชอบสอนว่าสมาธิทำให้เสียเวลา ทำให้ช้า ถ้าสอนใหม่ว่าต้องทำสมาธิด้วย หากไม่มีสมาธิแล้วไซร้ การเจริญวิปัสสนาจะเกิดบ่ได้ นิวรณ์บ่สงบระงับ แล้วภาวนาปัญญาจะเ้กิดได้อย่างไร ถ้ายังไงก็นิมนต์เจ้าสำนักทั้งหลายกลับลำเทดใหม่ด้วยนะขอรับ เอาให้ครบแปดเป็นใช้ได้ มิใช่เหมือนแต่ก่อน มีแค่มรรค 7
หลวงตามหาบัวเคยเทศน์ไว้ในเรื่องมหาภัยในวงกรรมฐาน ประมาณปี 45 ว่า พวกที่ไม่ต้องทำสมาธิแต่เจริญปัญญาไปเลย ดูจิตไปเลย หลวงตาท่านก็เมตตาบอกว่า "ปัญญาโครตพ่อโครตแม่มันมาจากไหน"คงไม่มีอะไรตรงกว่านี้อีกแล้ว

ถ้าเป็นไปได้ก็ขอเรียนเชิญท่าน จขกท. มาสนทนาแนวทางการดูจิตของหลวงพ่อ ป. ที่ท่านชอบเอามาโพสบ่อยๆ ด้วยละกัน



ผมก็ว่างั้นแหละมันต้องให้ตั่งมั่นแน่วแน่มั่นคงก่อน
แล้วดูรู้ๆมันไปถึงจะถูกๆผมว่านะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร