วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 03:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ซี่งถ้าเราดูให้ดีแล้ว คำสองคำนั้นมันก็มีความหมายเดียวกัน แต่กลับเอาไปใช้ต่างกัน
หรือไม่ก็เอาใช้ในลักษณะต่างกัน แต่แท้จริงแล้วมีความหมายเดียวกันครับ



คำว่า สติ และ ปัญญา เป็นคนละความหมายกันครับ

ถ้าคุณไปเปิดพจนานุกรมดู ในพจนานุกรมจะบันทึกไว้ว่า

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียน:
ปัญญา

ความหมาย

น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).


บางครั้งเรื่องบางเรื่องคุณก็จะไปตีความตรงๆเลยไม่ได้ครับ ซึ่งในที่นี้

สติ คือ การรู้สึกตัว การตื่น ความรอบคอบ การมีสัมปชัญญะ
ปัญญา คือ การคิด วิธีคิด


โฮฮับ เขียน:
คนรู้อะไรมากกว่าคนอื่น ใช่จะมีปัญญามากกว่า การจะดูให้รู้ว่าผู้ใดมีปัญญามากกว่ากัน
เขาต้องเอาคนที่มีลักษณะเรียนมาเหมือนกัน รู้เท่าๆกัน แล้วมาตัดสินตรงที่การนำความรู้
นั้นออกมาใช้ ซึ่งมันก็คงหนีไม่พ้น การพิจารณา ความคิดทบทวนเนื้อหา สุดท้ายก็ต้องใช้
สติในการไตร่ตรองในสิ่งที่จะนำเสนอหรือกระทำออกมาครับ
การกระทำหรือแสดงออกมานี้แหล่ะจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ใครมีปัญญามากกว่ากันครับ


ถูกของคุณครับ แต่มันคนละประเด็นกับความหมายในกระทู้ครับ
ในที่นี้เราไม่ได้คุยเรื่อง ใครมีปัญญามาก ใครมีปัญญาน้อย ใครโง่ใครฉลาด
หรือเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับใคร

แต่เรากำลังคุยเรื่องการใช้สัมปชัญญะ ว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิต เราได้ใช้
ความคิด(ปัญญา) ตรึกตรองอย่างรอบคอบ(สติ) หรือเปล่า ตามความหมาย
ของหลวงพ่อน่ะครับ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณเสียงธรรมครับ ผมอยากให้ดูเรื่องจริงแล้วช่วยตอบผมหน่อยครับว่า
คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับคนที่ชอบโพสพระไตรปิฎกหรือคำสอนของครูบาอาจารย์



ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรครับ ถ้าเรื่องที่นำมาโพสต์เป็นเรื่องที่มีสาระประโยชน์ และมาจากความปราถนาดีของผู้โพสต์ อย่างน้อยเขาก็อุตส่าห์นังหามาให้อ่านครับ แต่ต้องโพสต์ตรงประเด็นกับกระทู้ ไม่โพสต์ซี้ซั้ว มั่วนิ่ม เขาคุยกันเรื่องนึงแต่ก็อบข้อความอีกเรื่องนึงในพระไตรปิฎกมาลง ไปคนละทางเลยครับ อย่างนี้เรียกว่าป่วนกระทู้ และเพื่อเป็นการให้เกียรติ แสดงความขอบคุณจากแหล่งที่เราไปก็อบมา ก็ควรจะอ้างอิงถึงแหล่งที่มา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการค้นคว้าต่อไป

โฮฮับ เขียน:
คุณว่าใครฉลาดครับ ระหว่างคนที่โพสข้อความหรือครูบาอาจารย์หรือพระพุทธเจ้า


อันนี้งดออกเสียงครับ ขอนอนหลับทับสิทธิ์ครับ อันนี้เป็นเรื่องนานาจิตตัง

โฮฮับ เขียน:
แล้วกับคนที่ไม่ชอบโพสข้อความของคนอื่น แต่เขารู้ว่าจะโพสข้อความได้อย่างไรหรือรู้ว่าสามารถหาบทความต่างๆได้ที่ไหน


ผู้ที่โพสต์ข้อความจากประสบการณ์ส่วนตัวของตนเอง ย่อมให้มุมมองและแง่คิดที่หลากหลายกว่า เพราะเป็นเรื่องใหม่ๆเสมอ แต่สำหรับผู้ที่ก็อบเขามาก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพียงแต่มุมมองมันอยู่ที่เดิม ไม่เพิมเติม มุมมองเก่าๆวนไปวนมาอยู่ในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ซึ่งถ้าเราได้รับฟังประสบการณ์ใหม่บ้างก็จะดีครับ แต่อย่าลืมว่าข้อมูลแต่ละมุมมองในอินเทอร์เน็ตนั้น เราอ่านไม่หมดหรอกครับ

เท่าที่ติดตามการโพสต์กระทู้ของคุณ โฮฮับ ผมไม่ค่อยเห็นคุณก็อบข้อความใครมาเท่าไหร่นะ ส่วนมากน่าจะมาจากประสบการณ์ส่วนตัว การศีกษาส่วนตัว ซึ่งผมคิดว่าคุณโฮฮับ ยังมีมุมมองและแง่คิดดีดีอีกมากเลยทีเดียว ผมคิดว่าคุณ โฮฮับ ออกจะเป็นคนที่ฉลาดนะ ทำให้ผมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆเยอะทีเดียว


โฮฮับ เขียน:
คนลองเอาคนๆนี้ไปเปรียบกับคนที่ชอบโพสข้อความในการสนทนา
แล้วตัดสินว่าใครฉลาดกว่ากันครับ


ขออนุญาตไม่ตัดสินครับ แต่ขอเสริมว่า ถ้าข้อความที่โพสต์ ตรงเรื่อง ตรงประเด็น ก็นับว่าเป็นอันใช้ได้ครับ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเพิ่มเติมว่า หากต้องการคัดลอกบทความของคนอื่นมาลง ควรอย่างยิ่งที่จะ
อ่านบทความนั้นโดยพิจารณาและทำความเข้าใจให้ละเอียดซะก่อน จึงคอยคัด
ลอกมา ไม่ใช้อ่านข้ามไปข้ามมาแล้วก็คัดลอกมาสุ่มสี่สุ่มห้าโดยที่ไม่ได้มีความ
เข้าใจในบทความนั้นเลย

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ซี่งถ้าเราดูให้ดีแล้ว คำสองคำนั้นมันก็มีความหมายเดียวกัน แต่กลับเอาไปใช้ต่างกัน
หรือไม่ก็เอาใช้ในลักษณะต่างกัน แต่แท้จริงแล้วมีความหมายเดียวกันครับ

คำว่า สติ และ ปัญญา เป็นคนละความหมายกันครับ

ผมไม่ได้หมายความถึงคำสองคำนี้ครับ ผมกล่าวโดยทั่วๆไป
แต่ถ้าอยากรู้ก็ลองพิจารณาประโยคนี้ดูครับว่า ความหมายมันซ้ำซ้อนกันหรือเปล่า
ผมอาจผิดก็ได้ครับ เพียงแต่อยากให้ลองพิจารณาดูครับ
เสียงธรรม เขียน:
[b]อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น)[/color]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมไม่ได้หมายความถึงคำสองคำนี้ครับ ผมกล่าวโดยทั่วๆไป
แต่ถ้าอยากรู้ก็ลองพิจารณาประโยคนี้ดูครับว่า ความหมายมันซ้ำซ้อนกันหรือเปล่า
ผมอาจผิดก็ได้ครับ เพียงแต่อยากให้ลองพิจารณาดูครับ

เสียงธรรม เขียน:
อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น)


มันซ้ำกันตรงไหนยังไงครับ งง ช่วยอธิบายได้มั๊ยครับ ผมลองอ่านดูสองรอบยัง
ไม่เห็นตรงที่มีความหมายซ้ำกันเลยครับ


โฮฮับ เขียน:
เสียงธรรม เขียน:
อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญา



ข้อความตรงนี้อ้างอิงมาจากคุณโฮฮับ

โฮฮับ เขียน:
เสียงธรรม เขียน:
คนเราทุกคนมีปัญญา แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ



ส่วนตรงนี้ตัดวงเล็บที่ยืดยาวออกก็ไม่เห็นมีตรงไหนซ้ำเลยครับ เฉลยหน่อยครับ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คนรู้อะไรมากกว่าคนอื่น ใช่จะมีปัญญามากกว่า การจะดูให้รู้ว่าผู้ใดมีปัญญามากกว่ากัน
เขาต้องเอาคนที่มีลักษณะเรียนมาเหมือนกัน รู้เท่าๆกัน แล้วมาตัดสินตรงที่การนำความรู้
นั้นออกมาใช้ ซึ่งมันก็คงหนีไม่พ้น การพิจารณา ความคิดทบทวนเนื้อหา สุดท้ายก็ต้องใช้
สติในการไตร่ตรองในสิ่งที่จะนำเสนอหรือกระทำออกมาครับ
การกระทำหรือแสดงออกมานี้แหล่ะจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ใครมีปัญญามากกว่ากันครับ


ถูกของคุณครับ แต่มันคนละประเด็นกับความหมายในกระทู้ครับ
ในที่นี้เราไม่ได้คุยเรื่อง ใครมีปัญญามาก ใครมีปัญญาน้อย ใครโง่ใครฉลาด
หรือเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับใคร

แต่เรากำลังคุยเรื่องการใช้สัมปชัญญะ ว่าในขณะที่เราดำเนินชีวิต เราได้ใช้
ความคิด(ปัญญา) ตรึกตรองอย่างรอบคอบ(สติ) หรือเปล่า ตามความหมาย
ของหลวงพ่อน่ะครับ

อันนี้มันก็อยู่ในประเด็นครับ ผมต้องการจะชี้ให้เห็นว่าอย่างไรเรียกปัญญา
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครมีปัญญา

การจะมีสิ่งหนึ่ง มันย่อมต้องมีสิ่งที่ตรงข้าม เช่นเราจะรู้ว่าใครฉลาดมีปัญญา
มันย่อมต้องมีคนโง่มาเปรียบจึงจะรู้ว่ามีคนฉลาด เพราะมีข้อแตกต่างกัน
สมมุติคนทั้งโลกเป็นคนมีปัญญาเท่ากัน ไม่มีคนโง่เลยสักคน
โลกนี้ก็คงไม่มีคำว่าคนมีปัญญาเพราะไม่มีคนโง่ให้เปรียบเทียบครับ


การอธิบายความก่อนหน้า ผมจะสื่อให้เห็นว่า ปัญญาต้องอาศัย สติเป็นองค์ประกอบ
เราจะใช้คำว่าปัญญาหรือคนฉลาดกับคนที่ขาดสติไม่ได้ครับ และมันก็เชื่อมโยงไปถึงคำพูดว่า
"ใช้แต่ปัญญาไม่ใช้สติ" มันก็ผิดด้วยครับ เรื่องควาคิดที่คุณวงเล็บว่าเป็นปัญญา ผมขอแย้งว่า
ความคิดยังไม่ใช้ปัญญาครับ คนเราคิดได้ทูกคน มันอยู่ที่จะถูกกับสิ่งที่จะลงมือกระทำหรือไม่

สิ่งที่จะเป็นปัญญาได้มันไม่ได้ ใช้ความคิดอย่างเดียว มันต้องพิจารณา
และหลักสำคัญในการพิจารณาคือ การใช้สติระลึกถึงเนื้อหาที่เหมาะสมกับ
สิ่งที่จะกระทำเขาถึงเรียกว่า ปัญญาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณเสียงธรรมครับ ผมอยากให้ดูเรื่องจริงแล้วช่วยตอบผมหน่อยครับว่า
คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับคนที่ชอบโพสพระไตรปิฎกหรือคำสอนของครูบาอาจารย์
คุณว่าใครฉลาดครับ ระหว่างคนที่โพสข้อความหรือครูบาอาจารย์หรือพระพุทธเจ้า

แล้วกับคนที่ไม่ชอบโพสข้อความของคนอื่น แต่เขารู้ว่าจะโพสข้อความได้อย่างไร
หรือรู้ว่าสามารถหาบทความต่างๆได้ที่ไหน

คนลองเอาคนๆนี้ไปเปรียบกับคนที่ชอบโพสข้อความในการสนทนา
แล้วตัดสินว่าใครฉลาดกว่ากันครับ

อันนี้จริงๆแล้วมันไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้โดยตรง มีบ้างแค่เล็กน้อย
มันเป็นประเด็นในกระทู้อีกกระทู้ครับ ไว้ผมไปตอบในกระทู้โน้นดีกว่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมไม่ได้หมายความถึงคำสองคำนี้ครับ ผมกล่าวโดยทั่วๆไป
แต่ถ้าอยากรู้ก็ลองพิจารณาประโยคนี้ดูครับว่า ความหมายมันซ้ำซ้อนกันหรือเปล่า
ผมอาจผิดก็ได้ครับ เพียงแต่อยากให้ลองพิจารณาดูครับ

เสียงธรรม เขียน:
อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น)

มันซ้ำกันตรงไหนยังไงครับ งง ช่วยอธิบายได้มั๊ยครับ ผมลองอ่านดูสองรอบยัง
ไม่เห็นตรงที่มีความหมายซ้ำกันเลยครับ


คุณเสียงธรรมลองดูคำว่าเราทุกคนมีปัญญา แล้วคุณวงเล็บไว้ว่า
"ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้บาปบุญคุณโทษ รู้ยับยั้งชั่งใจ"
แสดงว่าคุณเน้นว่า ทุกคนมีสิ่งนี้แล้วเรียกปัญญา

ที่คุณว่ารู้สิ่งที่คุณว่า แล้วจะทำอย่างไรถึงแสดงว่าเรารู้
มันก็ต้องเป็นการระลึกรู้หรือการใช้สติเป็นเครื่องมือ

อยากบอกว่าการรู้เฉยๆนั้นยังไม่เรียกว่ารู้
มันต้องแสดงออกมาให้เห็น ในขณะที่เราต้องการใช้มัน
สิ่งต่างๆที่เราศึกษามันเก็บไว้ในความทรงจำมันมีกันทุกคน
ผิดกันแต่ว่าใครจะเอาออกมาใช้ในยามที่จำเป็นครับ
ซึ่งเขาเรียกสิ่งนี้ว่า"ระลึกรู้"ก็คือสตินั้นเอง

สรุปก็คือสิ่งที่ผมถอดมาจากวงเล็บในคำพูดคุณ มันก็คือ"สติ"นั้นเอง

พอผ่านมาอีกประโยคคุณบอกว่า
"แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น"
คุณลองเปรียบเทียบดูครับว่า มันซ้ำกันในเรื่องของสติหรือเปล่าครับ
อธิบายอีกที ที่คุณวงเล็บไว้ทั้งสองประโยค มันก็คือสติทั้งสองอันนั้นแหล่ะครับ
ทีคุณคิดว่าเป็นปัญญาที่แท้แล้วมันเป็นสติครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เสียงธรรม เขียน:

อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น)


โฮฮับ เขียน:

คุณเสียงธรรมลองดูคำว่าเราทุกคนมีปัญญา แล้วคุณวงเล็บไว้ว่า
"ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้บาปบุญคุณโทษ รู้ยับยั้งชั่งใจ"
แสดงว่าคุณเน้นว่า ทุกคนมีสิ่งนี้แล้วเรียกปัญญา

พอผ่านมาอีกประโยคคุณบอกว่า
"แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น" คุณลองเปรียบเทียบดูครับว่า มันซ้ำกันในเรื่องของสติหรือเปล่าครับ
อธิบายอีกที ที่คุณวงเล็บไว้ทั้งสองประโยค มันก็คือสติทั้งสองอันนั้นแหล่ะครับ
ทีคุณคิดว่าเป็นปัญญาที่แท้แล้วมันเป็นสติครับ


อ่อ....ผมเข้าใจแล้วครับ คุณโฮฮับมุ่งประเด็นไปที่ความหมายของคำว่า สติ กับคำว่า ปัญญา

ผมไปคัดลอกความหมายของสองคำนี้มาอธิบายเพิ่มเติมครับ


วิกิพีเดียดอทคอม เขียน:
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น หรือที่ผมบอกว่า ปัญญาคือวิธีคิด คือการมองโลก นั่นแหละครับ
ผู้ให้ข้อมูล: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2



วิกิพีเดียดอทคอม เขียน:
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ หรือที่ผมเรียกอีกอย่างนึงว่า การมีสัมปชัญญะ ความรอบคอบ คิดก่อนทำ
ผู้ให้ข้อมูล: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 07:10
โพสต์: 8

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ความสว่างใดเสมอด้วยความสว่างแห่งปัญญาไม่มี :b44:
"ความสงบกาย ใจ เป็นศีล สมาธิและปัญญา"
:b46: :b41: เมื่อทุกข์มาเราจะเผชิญหน้ากับความทุกข์อย่างมีสติและเมื่อมีเกิดก็จะมีดับไปเป็นธรรมดา
อยากมากทุกข์มาก อยากน้อยทุกข์น้อย ไม่อยากไม่ทุกข์ :b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 15:59
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวานนี้ หากุญแจรถไม่เจอ
นั่นไง ขาดสติ ต้องฝึก/สร้างสติให้มาก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron