วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 12:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธทาสสอนเรื่องอย่ายึดตัวกูของกู

เหลิมเข้าไปอ่านได้ที่

http://www.buddhadasa.com/self/self_index.html

แล้วจะเข้าใจธรรมะมากขึ้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนิพพานอยู่ที่ใจ การปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะให้มีความรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งในพระนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องอยากเย็นแสนเข็นแต่ประการใดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ล้วนเป็นนิยานิกะธรรมพร้อมที่จะนำพาจิตใจของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่หลงจมอยู่ในวังวนของวัฏฏะจักรให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น ธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จึงมีมากมายเพื่อให้เหมาะสมกับจริตนิสัยของสัตว์โลกทั้งหลาย และที่สำคัญการปฏิบัติธรรมก็เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนับตั้งแต่ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความประสพสิ่งที่ไม่น่ารักไม่น่าชอบใจเป็นทุกข์ ความเศร้าโสกเสียใจพิไรรำพัน ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕เป็นทุกข์ การปฏิบัติธรรมนั้นก็เพื่ออบรมจิตใจให้ได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ว่าสิ่งใดเป็นเราเป็นของๆเรากันแน่ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือรูปร่างกายของเราท่านทั้งหลายที่พากันยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้ว่ากี่กัปป์กี่กัลป์เป็นอเนกชาติเรียกว่านับภพนับชาติไม่ได้ ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปกายว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนให้รู้เห็นด้วยใจของตนเอง ขณะที่จิตมีสติก็มีสมาธิอยู่แล้วในตัวในมหาสติปัฏฐานสูตรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เอกายะโน อะยัง มัคโค ทางสายเอกเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือการมีสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม การที่มีสติพิจารณากายก็เพื่อให้จิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของกายว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายะตะนะ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดนี้ ได้เป็นมาแล้วจนนับประมาณไม่ได้และก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปจนนับประมาณไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะจิตใจที่มืดมนไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน จึงเป็นเหตุนำพาให้สัตว์โลกทั้งหลายหลงเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดยุติลงได้ เพราะฉะนั้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเปรียบเหมือนแสงสว่างที่จะส่องเข้ามาให้เห็นสัจจะธรรมความเป็นจริงของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่ารูปร่างกายที่จิตใจเราอาศัยอยู่นี้ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตน ร่างกายนี้จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุดเพื่อให้จิตใจยอมรับความจริงของธรรม เมื่อจิตใจรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมที่สติปัญญาอบรมอยู่เสมอดังที่ได้กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน๔ มีสติพิจารณากายในกายมีความเพียรทำให้มากเจริญมากเพื่อทำลายความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเสียให้พินาศพูดง่ายๆก็คือการถอดถอนอุปปาทานความยึดมั่นที่มันฝังจมอยู่ภายในจิตใจนั่นเอง พยายามเจริญสติรู้ให้ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย เหลียวซ้าย แลขวา เหยียดแขน คู้แขน ทำ พูด คิด จะทำกิจการงานใดๆก็แล้วแต่พยายามเจริญสติรู้อยู่เสมอจึงเรียกว่าเป็นผู้มีความเพียรชอบจากสติธรรมดาที่เราระลึกรู้อยู่บ่อยๆจากนั้นสติจะกลายมาเป็นสัมปะชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือรู้ที่จิตที่ใจนั่นเองเพราะสติที่ระลึกรู้การเคลื่อนไหวของกาย ก็คืออาการของจิตนั่นเองหรือเรียกให้ตรงตัวจริงๆก็คือจิตนั่นเองจิตจะรู้และเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงและจะคลายความยึดมั่นถือมั่นอุปปาทานในกายว่าเป็นเราเป็นของๆเราจิตเริ่มละเอียดไปเรื่อยๆเมื่อจิตปล่อยวางกายได้แล้วให้ใช้สติปัญญามาพิจารณานามขันธ์ คือ เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญาณ, ล้วนแต่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ในเมื่อจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงของเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ, สักแต่ว่าเกิดในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดไม่มีอะไรเป็นเราสักอย่างจิตย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ว่าเป็นเราเป็นของๆเรา เราเป็นสุขเราเป็นทุกข์เราจำได้เราจำไม่ได้ จิตก็จะรู้เป็นปรกติ ไม่เข้าไปสำคัณมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นเราเป็นของๆเราเมื่อจิตรู้ชัดเจนในเวทนาขันธ์นามขันธ์อื่นเช่นสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอันว่าเข้าใจไปในตัว ในเมื่อจิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม เรื่องปล่อยวางไม่ต้องบอกจิตจะปล่อยเองวางเองคือปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง จิตขั้นนี้จะมีความละเอียดมากมีความสว่างไสวผ่องใสว่างเปล่าไปหมดตามความละเอียดของจิต การพิจารรูปนามจิตเข้าใจชัดเจนแล้วว่าอะไรคือรูป และรูปร่างกายนั้นประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ส่วนนามธรรมคือเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,จิตก็เข้าใจรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา เกิดขึ้นในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่านกลางและแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวหลังจากเจริญสติปัญญาพิจารณากาย เวทนาจนเข้าใจชัดเจนแล้ว จิตจะมีความระเอียดมากจนจิตอาจจะเข้าใจเอาเองว่าหมดงานแล้วหรือเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ความจริงยังไม่หมดงานต่อไปคือ ใช้สติปัญญาที่ละเอียดพิจารณาตัวจิตนั่นเองว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีกการระวังรักษาจิตมันก็เป็นภาระนั่นเอง สติปัญญาขั้นนี้ในทางปริยัติท่านเรียกว่า มหาสติ มหาปัญญา มาพิจารณาตัวจิตก็คือจิตดวงรู้ๆนั้นเองว่า นั่นจิตเป็นเราจริงไม๊ ? ทำไมถึงแสดงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ให้เห็นอยู่อีกถึงแม้ว่าจิตจะมีความละเอียดมาก แต่ก็ไม่พ้นวิสัยของสติปัญญาขั้นนี้เพราะสติปัญญาที่ไม่เคยไว้วางใจกับกิเลสทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกิเลสขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดสุด เมื่อใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีความเศร้าหมองผ่องใสให้รู้อยู่อีกและจิตขั้นนี้ยังเป็นภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีก รูปขันธ์,นามขันธ์ จิตปล่อยวางได้หมด ยังเหลือแต่ตัวจิตเองยังไม่ปล่อยตัวเองยังมีอุปปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเรา จิตของเราอยู่อีก ต้องใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าถ้าจะทิ้งจิตก็ยังคงเหลือสติปัญญาให้ต้องดูแลรักษา ถ้าจะทิ้งสติปัญญาก็ยังคงเหลือจิตให้ต้องดูแลรักษา เลยตัดสิ้นใจทิ้งทั้งจิตและสติปัญญาพร้อมกันทีเดียว คือการที่ไม่เข้าไปสำคัญมั่นหมายว่าจิตเป็นเราเป็นของๆเรา จิต,สติ,ปัญญาไม่ทำหน้าที่ใดๆ รู้เป็นปรกติที่เป็นกลาง คือไม่ไปใส่ใจในจิตและสติปัญญาเป็นการปล่อยวางทั้งจิต,ปล่อยวางทั้งสติปัญญาพร้อมกันทีเดียวโดยไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ยึดมั่นถือมั่นเลย การตัดสินใจครั้งนี้เหมือนกระโดดลงไปสู่หุบเหวแห่งความว่างเปล่า โดยไม่มีอะไรให้เกาะให้ยึดมั่นถือมั่นเลยปรากฏว่าธรรมชาติแท้คือ รู้ ที่บริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นอิสระอย่างเต็มที่ปรากฏขึ้นที่ใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนเป็นความรู้ที่ไม่ต้องดูแลรักษา พุทธะแท้ ธรรมะแท้ สังฆะแท้ รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ใจที่บริสุทธิ์พุทโธนี้นี่เองสมดังพุทธภาษิตที่ว่าโยธัมมังปัสสะติ โสมังปัสสะติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต พุทธะแท้ก็คือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง พระนิพพานก็คือธรรมชาติที่ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์ออกไปจากจิตใจนั่นเองคำว่าขีณา ชาติ ความเกิดได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนี้นี่เอง วุสิตังพฺรัหมะจะริยังพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กะตังกะระณียัง กิจในการที่จะชำระสะสางกิเลสประเภทต่างๆได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยไม่มีอุปปาทานหลงเหลืออยู่ภายในจิตใจที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นแม้แต่ธุลีเดียว ที่เรียกว่านิพพานเที่ยงนั้นก็เพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา หมดความกังวนในอดีตและอนาคตได้โดยประการทั้งปวง คำว่า นัตถิทุกขัง อะชาตัสสะ ทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด เพราะกิเลสที่จะนำพาจิตใจให้ไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่อันได้แก่ กามภพ,รูปภพ,อรูปภพ,ได้สูญสลายพังทลายออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีหลงเหลือแม้แต่ธุลีเดียว ปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมก็เป็นอิสระตลอดกาลไม่มีกาลเวลาใดๆในสมมุติมาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอนันตกาล ได้ความว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งสุขเพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง, ทุกขัง, อะนัตตา, ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถปฏิบัติรู้ได้เห็นได้ด้วยกันทุกคนไม่เลือกชาติชั้นวรรณะใดไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาสปฏิบัติกันได้ทุกคน เพราะกิเลสตัวที่สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายมีด้วยกันทุกคน และกิเลสก็สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติกันได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่เหมือนกัน กิเลสอยู่ที่ใจสร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมจึงปฏิบัติกันลงที่จิตที่ใจ สติปัญญาก็อยู่ที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมก็คือการอบรมจิตใจด้วยจิตตะภาวนา ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ พุทธบริษัทได้ประพฤติปฏิบัติตามท่านกล่าวไว้ในโพธิปักขิยะธรรม๓๗ ประการ อันได้แก่ สติปัฏฐาน๔ สัมมัปประทาน๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์๕ พละ๕ โพชฌงค์๗ อริยะมรรคมีองค์๘ ตามแต่จริตนิสัยของผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจะเลือกนำมาประพฤติปฏิบัติเอาเอง ข้อสำคัญให้มีความตั้งใจจริง มีความเพียรจริง มีสติปัญญาหมั่นใคร่ครวญเอาจริงเอาจังกับการปฎิบัติและมีเหตุมีผล จะพบพระนิพพานจริงๆอยู่ที่จิตที่ใจของนักปฎิบัติธรรมด้วยกันทุกคน เพราะพระนิพพานมีอยู่แล้วภายในจิตในใจของคนทุกคน เพียงแต่ถูกกิเลสมีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ปกคุ้มหุ้มห่อเอาไว้เท่านั้นเองไม่ให้เราทราบไม่ให้เรารู้ได้เห็นได้ เมื่อเปิดสิ่งที่ปกคุ้มหุ้มห่อออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นแล้วเราจะไปถามหาพระนิพพานที่ไหนอีก? เมื่อเพลิงกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย มีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทา,ได้ดับลงไปจากจิตจากใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือมีแต่ความรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หมดความหิวความกระหายหมดความดิ้นรนกระวนกระวายทางจิตใจโดยสิ้นเชิง คำว่าดับไม่มีเชื้อเหลือนั้นหมายถึงอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ต่างหากที่ดับไปจากจิตใจไม่ใช่จิตดับหรือความรู้ดับไปด้วยตามที่นักปฏิบัติธรรมบางพวกพากันเข้าใจผิดว่าดับจิตอวิชชา คือจิตต้องดับไปด้วยแม้แต่ความรู้ก็ดับไปด้วยเพราะการปฏิบัติธรรมแบบไม่มีปัญญารู้เห็นจิตของตนเองจึงพากันเข้าใจผิดอยู่กับการสุ่มเดาไปเรื่อย ปฏิบัติธรรมแบบสุ่มเดาก็เลยบรรลุธรรมแบบสุ่มเดาและก็สอนธรรมกันแบบสุ่มเดา นิพพานก็เลยกลายเป็นนิพพานแบบสุ่มเดาหรือนิพพานของหมูที่ขึ้นเขียงดีๆนี่เองและไม่ยอมลงจากเขียงง่ายๆเพราะเสียดายกิเลสมากกว่าธรรม เป็นหมูขึ้นเขียงสบายดี ถ้าจิตดับแล้วเอาอะไรมาบริสุทธิ์เอาอะไรมาหลุดพ้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจากสมมุติโดยประการทั้งปวงคือจิตที่บริสุทธิ์หรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง สิ่งที่เกิด-ดับ คือสมมุติทั้งมวลสิ่งที่พ้นจากการเกิดและดับคือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนิพพานคือรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง อันนี้ต่างหากที่ไม่เกิดไม่ดับอีกต่อไปตลอดอนันตกาล อันนี้ต่างหากที่เรียกว่าดับไม่มีเชื้อเหลือ เพราะเชื้อที่จะนำพาจิตใจให้ไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ได้ดับลงไปจากจิตใจโดยเด็ดขาดพ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวง สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหลายไม่อาจแตะต้องจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นได้แม้แต่ธุลีเดียว I don't come back to am born again , through the time ฉันไม่กลับมาเกิดอีกตลอดอนันตกาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนิพพานอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ใจ เห็นไหมเล่า ? ไม่มีว่างไม่มีเปล่า อยู่ทั้งนั้น
จะมีอะไรเป็นเรา ที่ไหนกัน ? ทุกสิ่งนั้นดับไป เหลือใจเอย
ชีวิตนี้ น้อยๆและสั้นๆ อย่าพากันปล่อยใจ เลยท่านเอ๋ย
มีสติรู้อยู่ที่ใจ ให้คุ้นเคย ต้องได้เชยชม พระนิพพานอยู่ที่ใจ
เป็นการอยู่กับผู้รู้ ละกิเลส จะมีเพศชั้นวรรณะ กันที่ไหน ?
ทุกขณะที่รู้ อยู่กับใจ จงหมั่นใช้ปัญญา รู้ของจริง
รู้ของจริงทิ้งของเท็จ ได้เด็ดเดี่ยว ไม่เกาะเกี่ยวแม้ความว่าง สว่างยิ่ง
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้ใจจริง ยิ่งรู้ยิ่งหลุดพ้น ไม่ต้องเบิกบาน
ความร้อนร้นหม่นไหม้ ไกลใจหมด พระนิพพานปรากฏ ก็ไม่ยึดเป็นแก่นสาร
มีสติรู้ให้ได้ ทุกอาการ จะพบพระนิพพานจริงๆ ที่ใจเอย !
พระนิพพาน
พระนิพพาน พ้นจากความมีและไม่มีให้คนเห็น
พระนิพพาน พ้นจากความเป็นและไม่เป็นเช่นสังขาร
พระนิพพาน พ้นจากความหมายและไม่หมายให้วิจารณ์
พระนิพพาน ไม่เกิด-ไม่ดับ คือจิตหรือรู้ล้วนๆที่บริสุทธิ์เอย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



มีพุทธพจน์ตรัสไว้ดั่งนี้

ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน

(เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)

หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ

สุขิโน วต อรหนฺโต,
ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ,
อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน,
โมหชาลํ ปทาลิตํ.
หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ,
เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก,
ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด,
ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน.


อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา,
จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ,
โลเก อนุปลิตฺตา เต,
พฺรหฺมภูตา อนาสวา.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว,
ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้,
ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก,
ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง.

ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย,
สตฺตสทฺธมฺมโคจรา,
ปสํสิยา สปฺปุริสา,
ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง,
ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร,
ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ,
ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง.

สตฺตรตนสมฺปนฺนา,
ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา,
อนุวิจรนฺติ มหาวีรา,
ปหีนภยเภรวา.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗,
ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี,
ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ,
ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป.

ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา,
มหานาคา สมาหิตา,
เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ,
ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ,
ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี,
หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก,
เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง.

อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ,
อนฺติโมยํ สมุสฺสโย,
โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส,
ตสฺมึ อปรปจฺจยา.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว,
ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย,
"เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่,
ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น.

วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ,
วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา,
ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา,
เต โลเก วิชิตาวิโน.
หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ,
จึงหลุดพ้นจากภพใหม่,
ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ,
หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก.

อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ,
นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ
นทนฺติ เต สีหนาทํ,
พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา,
อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง,
ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น,
หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท,
"ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้,
ด้วยประการฉะนี้แล.

"อรหันตสูตร"
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ
เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒
พุทธทาสภิกขุ แปล


:b8: :b8: :b8:




แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร