วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมทำสมาธิโดยกำหนดพุทโธ แล้วเกิดอาการเครียดขึ้น
ซึ่งผมก็เคยโดนเตือนจากหลวงพี่ที่สอน และพี่ที่ปฏิบัติธรรมด้วยกันมาแล้ว ว่าผมอยากได้สมาธิมากเกินไปปัญหาผมก็คือผมไม่ทราบว่าจะจัดการ กับการมุ่งให้ได้สมาธิของผมอย่างไร เมื่อเกิดความเครียดขึ้นจะนั่งต่อก็กลัวจะวิปลาศไป หรือควรจะจับเวลาเพื่อไม่ให้จิตจดจ่อกับความอยากเกินไปแบบถึงเวลาก็พอ ถ้าจับเวลาควรจะแบ่งเป็นแบบใด หรือมีวิธีการอื่นใดบ้างขอบคุณครับ

ไหนๆก็ถามแล้วถ้าฟุ้งซ่านเราไปกำหนดตามตลาดไหมครับ หรือว่ารู้กำหนดว่าฟุ้งซ่านแล้วก็มากำหนดลมหายใจต่อ

ปล.กว่าจะหาบอร์ดเปิดแต่ไม่ยุ่งเหยิงให้สนทนาธรรมได้ :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2010, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำแนะนำส่วนตัว ผมคิดว่าคุณตั้งความคาดหวังไว้ผิดที่

ปัจจุบันคุณตั้งความคาดหวังที่ "ผลลัพธ์"
ว่านั่งแล้วต้องมีอะไร ต้องเป็นอะไร ต้องเกิดอะไร
เพราะฉะนั้นคุณจะควานทะยานหาอยู่ไม่จบ คือฟุ้งซ่านนั่นเอง

ให้ลองตั้วความคาดหวังของคุณใหม่ ให้ตั้งลงที่ "เหตุตั้งต้น"


มีพระสูตรว่าด้วยเรื่อวการปลูกข้าว
พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่มีใครบังคับให้ข้าวออกรวงได้
ที่ที่เขาทำคือการ"ทำเหตุ" ของข้าวออกรวงให้ดี ข้าวก็จะออกรวงเอง

การทำสมาธิก็เหมือนกัน
สมาธิ เป็นส่วนของ "ผลลัพธ์"
แต่จิตที่จดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อย่างต่อเนื่อง
เป็นส่วนของเหตุ ที่จะทำให้เกิดสมาธิ


เพราะฉะนั้น คูณต้องตั้งความอยากใหม่

ถ้าเอาพุทธโธเป็นอารมณ์ ก็ต้องตั้งความหวังอยู่ที่พุทธ แล้วก็โธ แค่นั้นเอง
ให้อยากแค่นี้ แล้วไม่ต้องไปสนใจว่าสมาธิจะมี จะเป้น จะเกิดเมื่อไหร่ ก็ช่างมันให้หมด
หากเหตุของสมาธิมันได้ที่แล้ว มันจะเกิดเอง
เหมือนปลูกข้าว น้ำพอ แสงพอ เวลาพอ เมื่อทุกอย่างมันถึงเื่งื่อนไขให้ข้าวออกรวง
ข้าวก็จะออกรวง


แต่ถ้าคุณพุทธโธได้สิบคำ แล้วก็ไปหนอ แล้วก็ไปเรื่อยเปื่ิอยอย่างอื่น
มันจะไม่ได้อะไร เพราะมันคือความฟุ้งซ่าน ไม่มีอะไรอันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์ที่แน่นอน

ถ้านั่งแล้วมันคิดมาก คิดไม่หยุด ลองเปลี่ยนมาเดินดูครับ
ให้เคลื่อนไหวเอาไว้ รู้สึกตัวเอาไว้ เช่นเดินจงกรม เป็นต้น

ถ้านั่งเฉยๆ มันจะหลุดไปคิดฟุ้งซ่านได้ง่าย
แต่เมื่อเคลื่อนไหว มันจะเพิ่มงานให้จิตในการที่จะระมัดระวังการงานที่ต้องทำ (เดิน)
ก็ต้องทำความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ดูทาง ดูตัว


อีกประการหนึ่งที่ทำสมาธิแล้วไม่ได้สักที แสดงว่าศีลเราไม่มั่นคง
ศีลบารมีมันไม่ถึง ต้องถือศีล ตั้งใจถือศีลให้มันมั่นคงสืบเนื่องดู
การถือศีลได้มั่นคง แสดงว่าใจเรามันมีความสามารถในการระมัดระวังสำรวม
ยิ่งถือได้มั่นคงสืบเนื่องจนเป้นนิสัย มันยิ่งช่วยในการทำสมาธิ
เพราะความอยากจะผิดศีล มันก็คือศัตรูของสมาธิทั้งนั้น
เช่น อยากคิด อยากได้ อยากมี อยากกิน อยากพูด อยากเล่น ความไม่อดทน อดกลั้น ฯลฯ
ทั้งหมดมันเป็นสิง่ที่เกิดขึ้นในเลาเราทำสมาธิทั้งสิ้นเลยนะครับ ลองสังเกตุดู
แต่ถ้าเราถือศีล จนเป้นปกตินิสัยได้ มันจะช่วยเรื่องสมาธิได้มาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...การฝึกสมาธิ...เป็นการฝึกสำรวมจิต...โดยปกติคนเรามักคิดไปถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลา...
...ต้องเข้าใจก่อนว่าการทำสมาธิเป็นการฝึกหยุดความคิด...คือหยุดการพะวงถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว...
...โดยทำให้การคิดนั้นอยู่ที่การกระทำปัจจุบัน...และไม่คิดล่วงหน้าไปถึงสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น...
...เพราะว่าหยุดคิดไม่ได้และคิดไม่ทัน...จึงจำเป็นต้องฝึกการหยุดความคิดคือหยุดพูดในใจนั่นเอง...
:b1:
...ก่อนทำสมาธิจะต้องทำความรู้สึกให้ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด...สถานที่เงียบสงบไม่มีสิ่งรบกวน...
...เวลานั่งหลับตาให้รู้สึกว่าไม่หลับตาปี๋จนปวดตา...แค่ปิดเปลือกตาบนชิดขอบล่างเบาๆก็พอแล้วค่ะ...
...ถ้าทำที่บ้านเวลาที่เหมาะสมน่าจะเป็นเช้าและก่อนนอน...ก่อนคนอื่นๆตื่นนอนควรลุกมาทำวัตรเช้า...
...แล้วนั่งสมาธิเริ่มต้นครั้งละ 5 นาที...หลังนั่งสมาธิก็แผ่เมตตา...และทำแบบเดียวกันก่อนนอนทุกวัน...
:b16:
...ไม่ต้องตั้งความหวังอะไร...เพียงให้รู้ตัวว่าจะพูดคำว่า พุท-โธ พร้อมกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก...
...เมื่อไหร่ที่เผลอคิดไปที่อื่น...ให้ดึงกลับมาที่พุท-โธทุกครั้ง...ทำไปเรื่อยๆ...จนกว่าจะไม่คิดเรื่องอื่น...
...จากนั้นค่อยๆเพิ่มเวลาให้มากขึ้น...และให้รู้สติที่ลมหายใจกับคำบริกรรมพุทโธเท่านั้น...ไม่คิดสิ่งอื่น...
...เริ่มอย่างนี้ก่อน...ถ้าจิตเผลอบ่อยก็ไม่ต้องไปหงุดหงิด...เพียงให้รู้ว่าฟุ้งซ่านแล้วก็ดึงมาที่พุทโธค่ะ...
:b4:
...หรือจะเลือกฟังเทศน์ไประหว่างการนั่งสมาธิ...ให้จิตจดจ่อคิดต่อการฟังเสียงพระธรรมเทศนาก็ได้ค่ะ...
...เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ลดการคิดฟุ้งซ่านไปถึงเรื่องอื่น...ให้คิดว่าท่านเทศน์สอนเราถึงจะไม่เข้าใจ...
...ก็ให้กำหนดรู้และพยายามใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองตามไปด้วย...ครั้งแรกๆอาจจะยังไม่ค่อยฟัง...
...พอฟังบ่อยๆแล้วได้คิดตามบ่อยๆ...ก็จะเริ่มฟังและจะเริ่มค่อยๆเข้าใจเพิ่มขึ้น...ลองเอาไปทำดูค่ะ...
:b48:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนออ่าน โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท ในประเด็นนี้ ครับ

น่าจะมีประโยชน์ กับ ท่าน จขกท.ครับ


หน้าที่ของเราคือทำความเพียร

พระศาสดาจึงตรัสว่า เรื่องของเป็นเอง เมื่อเราทำไปถึงชั้นนี้แล้วเราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทำความเพียร จะช้าหรือเร็วเราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วจึงเกิดผลขึ้นมาเหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย รักษาแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรา นี่เรื่องศรัทธาของเรา ส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปถึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้

ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตาม เรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้นเป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควาย หมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมาก ทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย

ข้าเอาน้ำให้กิน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้า เท่านั้นแหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้ว เราจะบังคับว่าแกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงนา ทุกข์จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรารู้จักหน้าที่ของเรา ของเขา หน้าที่ของใครของมัน จิตก็จะรู้หน้าที่การงาน ถ้าจิตไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเอง ให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้น นั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาทั้งนั้น

ถ้ารู้อย่างนี้คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลงมันผิด รู้อย่างนี้แล้ว ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องบุญ วาสนา บารมี ต่อไป เราก็ทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติ พันชาติ ก็ช่าง มันจะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบายๆ นี่แหละ


.........................



คห.ส่วนตัว

หลักการเจริญภาวนา คือ เพียรประกอบเหตุ มีสติจดจ่ออยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน...ส่วน ผล นั้น ปล่อยให้มันเป็นของมันเอง.

การมัวแต่คาดหวังถึง ผล ที่จะได้รับ จนทำให้ละเลยการประกอบ เหตุ อันควร ซึ่งก็คือ มีสติสืบเนื่องในอารมณ์กรรมฐานของปัจจุบัน จิตจึงไม่สงบ.... และ เป็นการไปสร้างความเครียดให้กับตนเอง เพราะ ไปสร้างการคาดหวังถึงผลมากจนเกินเหตุ

ลองวางใจใหม่ คือ ภาวนาแบบแบบ ได้ผลก็ดี ไม่ได้ผลก็ดี...ทำไปเรื่อยๆ แบบสบายๆ ไม่ต้องคาดหวังอะไรมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




y1pzCtueIutJFnkmR2dMwXNbYYn6-HsE76zN9oEu2mMgyaXaywXEPA7_ZQPQLi103Ag-_4-bKJgrRM.jpg
y1pzCtueIutJFnkmR2dMwXNbYYn6-HsE76zN9oEu2mMgyaXaywXEPA7_ZQPQLi103Ag-_4-bKJgrRM.jpg [ 61.31 KiB | เปิดดู 5877 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ผมทำสมาธิโดยกำหนดพุทโธ แล้วเกิดอาการเครียดขึ้น
ซึ่งผมก็เคยโดนเตือนจากหลวงพี่ที่สอน และพี่ที่ปฏิบัติธรรมด้วยกันมาแล้ว ว่าผมอยากได้สมาธิมากเกินไป


คุณ din จะเอาสมาธิไปทำอะไรครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณ din จะเอาสมาธิไปทำอะไรครับ


เพื่อแก้ข้อสงสัยในใจเกี่ยวกับสมาธิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


din เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณ din จะเอาสมาธิไปทำอะไรครับ


เพื่อแก้ข้อสงสัยในใจเกี่ยวกับสมาธิครับ


สภาวะของสมาธิ เป็นนามธรรม จะจับไปตั้งตรงนั้นวางตรงนี้เหมือนหยิบจับวัตถุสิ่งของซึ่งเป็นรูปธรรมไม่ได้

เมื่อเป็นดังนั้น เราจะต้องค่อยๆเริ่มสร้างมันขึ้นมา อันดับแรกเริ่มด้วยความรู้เข้าใจวางใจถูกต้องต่อสมาธิเป็นต้น

ก่อน

คุณ din ใจเย็นๆ อ่านการปฏิบัติของโยคีท่านหนึ่ง (ไม่ใช่ให้เอาอย่าง แต่ให้ดูเยี่ยงอย่าง)ก่อนครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... sg63#msg63

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




8DA1E_IMG_2132.jpg
8DA1E_IMG_2132.jpg [ 188.73 KiB | เปิดดู 10764 ครั้ง ]
คุณ din อ่านข้อตามลิงค์นั่นแล้ว สงสัยไม่เข้าใจมีอะไรจะซักถามไหมครับ :b1: :b12:

หากมีเวลาก็ดูหลายๆตัวอย่าง

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=3.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มิ.ย. 2010, 09:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความอยากที่จะให้เป็นสมาธิมากเกินไป ความฟุ้งซ่านอย่างหนึ่ง เป็น1 ในนิวรณ์5 อย่าง ซึ่งถ้ามีนิวรณ์
ธรรมเกิดขึ้นในจิตได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน ความลังเลสงสัย และความฟุ้งซ่าน
รำคาญใจ ตัวใดตัวหนึ่งจิตก้เป็นสมาธิไม่ได้แล้วครับเพราะเป็นข้าศึกแห่งความสงบ ของคุณเป็นตัวสุดท้าย แน่นอนยิ่งนั่งจะยิ่งแย่ ให้เลิกอยากไว้ก่อนหมายถึงอย่าเอาความอยากเข้ามาไว้ในจิต ตอนที่กำลังภาวนาอยู่ ให้คุณอยู่เพียงแค่การภาวนาพุทโธ แบบสบายปกติๆ ให้ดูหรือพิจารณาแค่ลมเข้าลมออกช้าๆ
ให้ทัน และภาวนาพุทโธในใจกำกับลมเข้า-ลมออกให้สัมพันธ์กันจะได้ไม่หลงหรือขาดสติ

ขณะที่จิตนึกถึงคำบริกรรมพูท-โธในใจ กับการเห็นลมหายใจเข้า -ลมหายใจออก จะต้องไปด้วยกันพอดี
ไม่ช้าหรือเร็วไปกว่ากัน และเมื่อเกิดความคิดที่เกิดจากการได้ยิน หรือได้อ่านเจอมาให้เก็บไว้ก่อนอย่าเอา
มาคิดขณะทำที่สมาธิพุทโธ เพราะจะทำให้ฟุ้งซ่านและทำให้จิตหนักหรือเครียดเพราะคิดมากกว่าภาวนา
ทำให้จิตจะไม่รวมลงไป เพราะจิตคิดมีมากกว่า 1 อารมณ์

และก่อนทำสมาธิควรอาบน้ำหรืออยู่สภาพที่ร่างกายจิตใจปลอดโปร่งไม่ใช้เหนื่อยล้าหรือเครียดก่อนมาทำ แล้วก่อนจะหลับตาควรหายใจยาวๆ ช้าๆ เข้าออกสักสิบครั้ง ตาที่ลืมอยู่ให้เพ่งจุดใดจุดหนึ่งของห้อง
เพื่อเป็นการไล่ลมหยาบออกไปก่อนเมื่อครบแล้วค่อยหลับตาแล้วกำหนดพุทโธต่อไป
*********************** :b41: :b29: :b41: :b40: :b40: :b40: *********

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นที่รองรับอารมณ์ต่าง ๆ มากมาย

หากอารมณ์ที่มากระทบทำให้จิตเกิดความยินดี ท่านเรียก ความฟุ้งซ่าน
หากจิตเกิดความยินร้ายท่านเรียก เครียด

การทำสมาธิ จุดมุ่งหมายคือ ทำจิตให้สงบจากนิวรณ์ ๕
กับไม่ให้หวั่นไหวเมื่อมีอารมณ์มากระทบ ทั้งความยินดีและความยินร้าย
สมาธิมุ่งทำให้จิตเป็นหนึ่ง เป็นเอกคตารมณ์

หากทำสมาธิแล้วเกิดความเครียด แสดงว่าเกิดการปรุงแต่งไปตามอารมณ์ที่มากระทบ
เรียกว่า เกิดความเครียดและฟุ้งซ่าน เกิดความต้องการเกินกำลังความสามารถ
ซึ่งผิดไปจากแนวทางการทำสมาธิ

เหมือนปลูกต้นไม้ เราก็แค่รดน้ำพวนดินใส่ปุ๋ย ดอกผลนั้นเกิดเองต่างหาก

ต้องตั้งต้นศึกษาแนวทางใหม่เสียก่อนนะครับ
มีหลายท่านแนะแนวทางไว้ให้แล้ว.. :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ din หายไปเลย หายเครียดแล้วหรือครับ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณ din หายไปเลย หายเครียดแล้วหรือครับ :b1: :b12:

ไม่ได้หายไปไหนครับ กำลังทำตามอยู่ครับ
มีคำถามต่อ นั่งไปสักพักแล้วมีเวทนาปวดแรง จะรู้ว่ามันปวดจากนิวรณ์หรือปวดแบบร่างกายไม่ไหวจริงๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


din เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณ din หายไปเลย หายเครียดแล้วหรือครับ :b1: :b12:

ไม่ได้หายไปไหนครับ กำลังทำตามอยู่ครับ
มีคำถามต่อ นั่งไปสักพักแล้วมีเวทนาปวดแรง จะรู้ว่ามันปวดจากนิวรณ์หรือปวดแบบร่างกายไม่ไหวจริงๆครับ


คุณใช้เวลาประมาณกี่นาทีครับ :b1:

เจ็บปวดเป็นเวทนา รู้สึกว่าเป็นสุข มีชื่อทางธรรมว่า สุขเวทนา รู้สึกเจ็บปวดบีบคั้นจิตใจ มีชื่อเรียก

ทางธรรมว่า ทุกขเวทนา

ภาคปฏิบัติ ไม่ต้องรู้จักชื่อมันก็ได้ครับ กำหนดความรู้สึก รู้สึกยังไงกำหนดยังงั้น

เป็นยังไงกำหนดยังงั้น ภาคนี้มีนิดเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใด รู้เข้าใจตามเป็นจริงว่าเวทนาทั้ง ๓ คือ สุขเวทนาก็ดี ทุกข์เวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี

ล้วนไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น เป็นของอาศัยกันๆเกิดขึ้น มีอันจะต้องสิ้น ต้องสลาย

ต้องจางหาย ต้องดับไปเป็นธรรมดา แล้วหมดใคร่หายติดในเวทนาทั้ง ๓ นั้น จนจิตหลุดพ้นเป็นอิสระ

ได้แล้ว * เมื่อนั้น จึงจะประสบสุขเหนือเวทนาหรือสุขที่ไม่เป็นเวทนา ไม่อาศัยการเสวยอารมณ์

ที่เป็นขั้นสูงสุด

* ข้อที่เวทนาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนได้เป็นธรรมดา นี้เป็นข้อเสีย

(อาทีนพ) ของเวทนาทั้งหลาย” (ม.มู.12/206/177)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร