วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 12:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://larnbuddhism.com/webboard/forum8/thread1634.html


Quote Tipitaka:
ภิกษุ ท.! ธรรมชั้นเอก เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เพื่อความบังเกิดขึ้น
แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรค มีอยู่. ธรรมชั้นเอกนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ธรรมชั้นเอกนั้นได้แก่ศีลสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยศีล).
ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว เธอต้องหวังข้อนี้ได้ คือว่า เธอจักอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เกิดขึ้นได้ จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.
ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรค
ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.!ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิ, ย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ, ย่อมอบรม
สัมมาวาจา, ยอมอบรมสัมมากัมมันตะ, ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ, ย่อมอบรม
สัมมาวายามะ, ย่อมอบรมสัมมาสติ, และย่อมอบรมสัมมาสมาธิ,
ชนิดที่มีการนำออกซึ่งราคะ-โทสะ-โมหะ เสียได้ เป็นผลสุดท้าย.
ภิกษุ ท.!ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยอัฏฐังคิกมรรค
ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากขึ้นได้.


พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒/๑๕๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
------------------------

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้ออื่นยังมีอีก: ภิกษุ, เพราะความที่วิตกและวิจารสงบระงับลง; จึงบรรลุฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน,
ทำให้ สมาธิอันเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตกวิจาร, มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. วิญญาณ ของภิกษุนั้น เป็นวิญญาณที่แล่นไปตาม
ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ, เป็นวิญญาณที่หยั่งลงในอัสสาทะของปีติและสุข อัน
เกิดแต่สมาธิ, ผูกพันอยู่ในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ, เป็นวิญญาณ
ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยความผูกพันในอัสสาทะของปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ;
นี้แหละ คือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า "จิต ตั้งสยบอยู่ในภายใน" ดังนี้.

๑อุทเทสวิภังคสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๔๑๑, ๔๑๔/๖๓๙, ๖๔๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
-----------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค - หน้าที่ 233
-------------------------

[๑๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค - หน้าที่ 40
----------------------------

[๑๐๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว
เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน? คือความไม่ประมาท.

[๑๐๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
รักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้ในอาสวะ และธรรมที่มีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๑๐๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว
เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค - หน้าที่ 252
-----------------------

๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อันเอก อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
ธรรมอันเอกเป็นไฉน? คือ อานาปานสติ.

[๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกาย ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิต สังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อม สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ ดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค - หน้าที่ 318
------------------------

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้วและย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยงมีความไปดับเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต - หน้าที่ 319
----------------------------

เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้
เธอเหล่าใดผู้หลับแล้วเธอเหล่านั้นจงตื่น
ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ
เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้ใดตื่นอยู่มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใสพิจารณา
ธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว
พึงกำจัดความมืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็น
ผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปรกติได้ฌาน
ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณ
อันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต - หน้าที่ 195


ธรรมเอก ที่เป็นธรรมเอกที่เกิดขึ้นแต้งมั่นภายใน

หลวงพ่สดวัดปากน้ำอริยสงฆ์อีกท่านได้สอนลูกศิษย์ไว้

แต่ถูกวัดธรรมกายนำไปใช้อ้างปฏิบัติผิดจนเสียหาย

ก่อนอื่นเราต้องไม่อคติกับคำว่าธรรมกาย

ต้องก้าวพ้นวัดธรรมกายมายังธรรมกายที่เป็นธรรมเอกเสียก่อน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยะสงฆ์อย่างท่านพุทธทาส และพระอริยสงฆ์ท่านอื่นอีกหลายท่านก็มีกล่าวถึง

แต่อาจจะเป็นคำกล่าวในลักษณะที่ต่างกัน

เนื้อหาสารัตถะเดียวกันครับ

เนืองจากเป็นธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติ

ในคัมภีร์อภิธรรมซึงเป็นคัมภีร์เชิงวิชาการล้วนจึงอาจจะไม่มี

นักอภิธรรมที่ปริยัติมาจึงอาจไม่คุ้นเคยรู้จัก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[url]http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมกาย[/url]
Quote Tipitaka:
ธรรมกาย
1. “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; พรหมกาย หรือ พรหมภูต ก็เรียก;
2. “กองธรรม” หรือ “ชุมนุมแห่งธรรม” ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน
ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพาน ตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า
“ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ... รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”;
สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือ โลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจจ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเอกเป็นเรื่องที่เกิดจากการปฏิบัติเท่านั้น

ขุยตำราอย่างเหลิมต้องไม่รู้จัก

เพราะไม่เหมือนการแสดง

ยกพระสูตรมาแปะแล้วบอกว่าตนบรรลุอรหันต์แล้ว

หมดกิเลสเชื้อโมหะ โทสะแล้ว

เก่งมักกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามเหลิมหน่อย

ถ้าเป็นลิงค์ไปที่นิพพาน

จะบรรลุนิพพานเลยไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเอกนั้นต้องมีสมาธิถึงขั้นอัปปนา หรือ ฌานจึงมีโอกาสเกิด

และต้องไม่ใช่ฌานที่นั่งหลับตาเฉยๆ

หรือยกเอาพระธรรม ธรรมเอกมาแปะ

แล้วจะเห็นธรรมเอกเลย

เหลิมคงหมดโอกาสได้เห็น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร