วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 04:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คือจริง ๆ ไบก้อนแทบจะไม่ได้จับตำราเลย

ได้แต่ ทำตามคำแนะนำ ง่าย ๆ ที่พระสอน คือทุกอย่างก็ ok ไบก้อน สงบสุขดี


เมื่อไบกอนเองทำตามคำแนะนำของพระนั่นแล้วสงบสุขดี มีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ ก็ดีแล้ว

นั่นคือมาตรฐานของเรา วิธีนั่นเหมาะกับเราก็พึงทำต่อไป

คนอื่นก็คนอื่นไม่ใช่เรา ok :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ย. 2009, 21:46, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

เมื่อไบกอนเองทำตามคำแนะนำของพระนั่นแล้วสงบสุขดี มีความสุขตามสมควรแก่อัตภาพ ก็ดีแล้ว

นั่นคือมาตรฐานของเรา วิธีนั่นเหมาะกับเราก็พึงทำต่อไป

คนอื่นก็คนอื่นไม่ใช่เรา ok :b1:


ok ก้อ...ด้ายยยย... :b16: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เมื่อคนจะอยู่ร่วมกันด้วยดี แม้เพียงสองคน ก็ต้องมีขีดขั้นและความรู้จักควบคุมยับยั้งในทางพฤติกรรม

เมื่ออยู่กันหลายคน ก็ถึงกับต้องมีข้อกำหนดหรือข้อตกลงทางความประพฤติว่าอะไรพึงเว้น อะไรพึงทำ

ที่ไหนเมื่อใด เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างสอดคล้อง ทุกคนได้รับประโยชน์ด้วยกัน -(แม้แต่ตัวบุคคล

ผู้เดียว ก็ยังมีความต้องการต่างๆของตนเองที่ขัดกัน ซึ่งทำให้ต้องมีการวางระเบียบวินัยสำหรับตนเอง

เพื่อฝึกการดำเนินชีวิตให้ได้ผลดี)

คนหลายคนจากทุกทิศขับรถมาเผชิญกันที่สี่แยก แต่ละคนเร่งรีบจะไปก่อน จึงติดอยู่ด้วยกันไปไม่ได้

สักคน ทั้งยุ่งทั้งเสียเวลา ทั้งจะวิวาทกัน

แต่เมื่อยอมกันจัดระเบียบ ด้วยความรู้ความเข้าใจ ก็ไปได้โดยสวัสดีทุกคน

ด้วยเหตุนี้ หมู่ชนคือสังคมจึงต้องมีระเบียบ นอกเหนือจากสิ่งที่เรียกว่าระเบียบแท้ๆแล้ว ก็ยังมีระบบ

แบบแผน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสถาบันทั้งหลายในทางสังคม รวมถึงศิลปวิทยา

การต่างๆที่ถ่ายทอดสืบกันมา ซึ่งมีผลรวมที่ทำให้สังคมหนึ่งๆ เกิดมีรูปร่างของตนขึ้น

ปัจจัยต่างๆ ในทางสังคม ปรุงแต่งสังคมแล้วก็ปรุงแต่งบุคคลให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกลมกลืนกับสังคม

นั้นด้วย

แต่ในเวลาเดียวกัน บุคคลทั้งหลายนั่นเองก็เป็นตัวปรุงแต่งปัจจัยต่างๆในทางสังคม

สังคมกับบุคคลจึงปรุงแต่งซึ่งกันและกัน

แต่เมื่อสังคมมีรูปร่างชัดเจนแล้วก็มีลักษณะแน่นอนตายตัว ทำให้บุคคลมักกลายเป็นฝ่ายถูกสังคมปรุงแต่ง

เอาไว้สนองความต้องการของสังคมฝ่ายเดียว

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

แต่ความจริงนั้น บุคคลมิใช่เพื่อสังคมฝ่ายเดียว สังคมก็เพื่อบุคคลด้วย และว่ากันในขั้นพื้นฐาน

สังคมมีขึ้นเพื่อช่วยให้ชีวิตอยู่กันอย่างดีงาม และสามารถบรรลุความดีงามที่สูงขึ้นไปด้วยซ้ำ

เมื่อมองในแง่นี้ สังคมเป็นปัจจัยอุดหนุนเพียงส่วนหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอที่จะให้มนุษย์บรรลุชีวิตที่ดีงาม

เพราะสังคมเริ่มตั้งต้น หรือถือกำเนิดขึ้นจากการมีระเบียบที่จะให้คนอยู่ร่วมกันด้วยดี

แต่เมื่อเขาอยู่ร่วมกันด้วยดีแล้ว ชีวิตของเขายังมีสิ่งดีงามที่จะพึงเข้าถึง นอกเหนือจากนั้นอีก

และสังคมก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง หรือภาคหนึ่งของสิ่งที่ชีวิตจะต้องเกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากสังคมแล้วก็ยังมีธรรมชาติอีก และสิ่งดีงามสูงสุดนั้น ชีวิตจะได้ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมชาติ


เพราะว่าโดยสภาวะของชีวิตเองแล้ว ธรรมชาติเป็นพื้นเดิม สังคมเป็นเพียงสวนอุ้มชู ซึ่งอาจช่วยให้ชีวิต

อยู่ใกล้ชิดเป็นกันเองกับธรรมชาติก็ได้ หรืออาจบิดเบนปิดบังให้เหินห่างจากธรรมชาติก็ได้

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

อย่างไรก็ตาม สังคมแม้ที่มีรูปร่างชัดเจนตายตัวแล้ว ก็มิใช่จะเป็นฝ่ายปรุงแต่งหล่อหลอมบุคคลได้ฝ่ายเดียว

เสมอไป ถ้าบุคคลใช้โยนิโสมนสิการก็สามารถหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมได้

โยนิโสมนสิการนั้น ทำให้บุคคลก้าวข้ามหรือมองทะลุเลยสังคมไปถึงความจริงอันไม่จำกัดกาลของธรรมชาติ

ที่อยู่เบื้องหลังสังคมอีกชั้นหนึ่ง

เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว บุคคลก็สามารถหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมด้วย

สามารถบรรลุความดีงามที่สูงขึ้นไปอีกด้วย และสามารถหวนกลับไปทำหน้าที่ปรุงแต่งสังคมอย่างมีสติ

ได้อีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 31 มี.ค. 2011, 17:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

หลักการในเรื่องที่ว่ามานี้ ก็คือมนุษย์จำต้องมีระเบียบเพื่อความร่วมกันด้วยดี สังคมจึงมีวินัย และให้บุคคลมีศีล

ที่จะประพฤติตามวินัยของสังคม

อย่างไรก็ตาม ระเบียบวินัยอาจกลายเป็นเพียงเครื่องมือจำกัดเสรีภาพของคน หรือถึงกับถูกเรียกได้ว่า

เป็นเครื่องมือทำคนให้เป็นทาสของระบบก็ได้ ถ้าระเบียบวินัยนั้นเป็นสักว่าข้อห้ามข้อบังคับที่ถือปฏิบัติตามๆ

กันไปอย่างมืดบอด หรืออาจเกิดผลร้ายอย่างอื่นอีก หากให้ปฏิบัติด้วยการบีบบังคับหรือด้วยคำหลอกลวง

แต่ในเวลาเดียวกัน การแสดงออกที่เรียกว่ากระทำด้วยเสรีภาพ ก็อาจเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ระบายออก

ในภายนอก ของความมีจิตใจที่ตกเป็นทาสของกิเลสและความทุกข์ภายในตนเอง


อาจพูดซ้อนว่า เป็นเสรีภาพในการแสดงความเป็นทาส เสรีภาพในการที่จะเป็นทาส หรือการยอมให้คน

เป็นทาสกันได้อย่างเสรี ซึ่งเสรีภาพเช่นนี้ มักหมายถึงเสรีภาพในการที่จะทำผู้อื่นให้เป็นทาสด้วยในรูปใด

รูปหนึ่ง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม และในเวลาเดียวกันนั่นเอง สำหรับคนที่มีจิตใจเป็นอิสระจากการครอบงำ

ของกิเลสและความทุกข์ ถูกปล่อยให้มีโอกาสและเสรีภาพ ที่จะใช้ปัญญาอย่างบริสุทธิ์ปราศจาก

การเคลือบแฝงใดๆ อย่างที่เรียกว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา ย่อมไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใดๆเกี่ยวกับระเบียบ

วินัย เพราะความมีระเบียบวินัยมีพร้อมอยู่ในตัวของผู้นั้นแล้ว และยิ่งกว่านั้นไปอีกก็คือ เขาพร้อมที่จะ

ปฏิบัติตามระเบียบวินัยอะไรก็ได้ ที่มองเห็นว่าเป็นไปเพื่อความดีงาม เพื่อประโยชน์ของมนุษย์

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

จุดบรรจบของเรื่องนี้มีว่า ระเบียบวินัยเป็นสิ่งดีงาม ในเมื่อกำหนดวางและปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจ

ความหมายและความมุ่งหมายอย่างถูกต้อง กล่าวคือ ศีล จะต้องประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ดังนั้น

การฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยจะต้องให้เป็นไปพร้อมด้วยการสร้างความเข้าใจให้เห็นคุณค่าของวินัย

และความจำเป็นที่จะต้องมีระเบียบ

เมื่อจะวางระเบียบ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆขึ้น ก็พึงให้สมาชิกรู้เข้าใจประโยชน์และเห็นชอบ

ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ไม่รู้สึกว่าถูกห้ามถูกสั่งบังคับ * เป็นอยู่อย่างมืดบอด

แม้ระบบ แบบแผน วัฒนธรรมประเพณีและสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่แล้วของสังคม ก็พึงให้สมาชิกรุ่นใหม่

แต่ละรุ่นได้เรียนรู้ เข้าใจคุณค่าโดยถูกต้อง และพร้อมนั้น ก็ฝึกให้เรียนรู้เข้าใจสภาวธรรม

ให้รู้จักมองโลก และชีวิตตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติ ที่จะให้หลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่ง

หล่อหลอมของสังคม และเข้าถึงความดีงามสูงขึ้นไปที่สังคมไม่อาจอำนวยให้ได้


และข้อที่สำคัญยิ่งก็ คือ สังคมนั้นพึงเป็นสังคมที่เป็นกัลยาณมิตร หรืออย่างน้อยเป็นที่มีกัลยาณมิตรอันพอ

จะหาได้ สำหรับจะมาช่วยฝึกช่วยแนะโยนิโสมนสิการในเรื่องที่ได้กล่าวมานี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ธ.ค. 2009, 20:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความหมายคำ คห.บนที่มี *

* พึงสังเกตวิธีบัญญัติวินัยสงฆ์ของพระพุทธเจ้าว่า นอกจากประชุมสงฆ์ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์

และทรงบัญญัติขึ้นโดยความรับรู้ และเห็นชอบร่วมกันแล้ว ถ้อยคำที่ใช้ก็ไม่มีคำว่า สั่ง ห้าม บังคับ อย่า

หรือจง เป็นต้น

สำหรับลักษณะความที่เรียกกันว่าห้าม ทรงใช้ข้อความว่า ภิกษุใดกระทำการอย่างนั้นๆ ก็เป็นอันถึงการละเมิด

ระดับนั้นๆ

สำหรับความผิดทั่วๆไปนอกปาฏิโมกข์ อย่างมากก็ใช้ว่า ไม่พึงทำอย่างนั้นๆ

ส่วนลักษณะความที่เรียกกันว่า สั่งหรือบังคับ ทรงใช้คำว่า “อนุญาต” หรืออย่างมากก็ใช้ว่า พึงทำอย่างนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

มีความจริงที่แตกต่างกันอันเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่ง ระหว่างสังคมกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ควรจะเข้าใจ

โดยฝึกอบรมให้เรียนรู้ตั้งแต่ยังเด็ก กล่าวคือ ธรรมชาติเป็นไปตามธรรมนิยาม

แต่สังคมมนุษย์เป็นไปตามกรรมนิยามด้วย *(* พูดอย่างกว้างๆ โดยว่าตามหลักใหญ่ที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้

ความจริงมีอุตุนิยาม พืชนิยาม และจิตนิยามด้วย แต่ไม่เกี่ยวข้องในกรณีที่กำลังจะพูดถึง)


แง่ที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือเด็กควรได้รับการปฏิบัติด้วยเมตตา แต่การแสดงเมตตา

นั้น นอกจากจะเป็นการแสดงความรักความปรารถนาดีเพื่อประโยชน์ทางจิตใจของเด็กโดยตรง เช่น

ความอบอุ่นเฉพาะหน้า

และความมีสุขภาพจิตที่ดีในระยะยาวแล้ว ควรมีเป้าหมายทางปัญญาด้วย คือให้นำไปสู่ความเข้าใจซาบซึ้ง

ในความมีเจตนาดีงาม ความมีน้ำใจ หรือความตั้งใจดีต่อกันระหว่างมนุษย์ ความเข้าใจซาบซึ้งเช่นนี้

เกิดขึ้นได้ ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ


ถ้าหากผู้ใหญ่รู้จักปฏิบัติในเรื่องนี้อย่างฉลาด เด็กจะเกิดความรู้ความเข้าใจว่า มนุษย์นี้แตกต่างจากธรรมชาติ

มนุษย์มีจิตใจ มนุษย์มีเจตนา มีความจงใจตั้งใจที่จะจัดการหันเหการกระทำของตนได้

จะจงใจทำต่อกันในทางร้ายก็ได้ ในทางดีก็ได้


แม่เลี้ยงลูก มิใช่ทำตามสัญชาตญาณของธรรมชาติเท่านั้น แต่แม่มีความรัก ความหวังดี มีการเลือกตัดสินใจ

ด้วยเมตตาที่เป็นคุณธรรมของมนุษย์ด้วย


ถ้ามนุษย์มีเจตนาดี ทำดีต่อกันด้วยความปรารถนาดี ก็จะทำให้เกิดความสุขและเป็นประโยชน์อย่างมาก

ต่างจากธรรมชาติที่เป็นกลางๆ ไม่มีจิตใจ ไม่มีความคิดร้าย หรือคิดดี ความเป็นไปของธรรมชาตินั้น

บางคราวก็อ่อนโยนละมุนละไมอำนวยประโยชน์ทำให้มนุษย์พอใจและมีความสุข

บางคราวก็ร้ายรุนแรงเป็นโทษก่อความทุกข์แก่มนุษย์ แต่จะเป็นไปทางใดก็ตาม ธรรมชาติก็ไม่มีเจตนา

ธรรมชาติไม่ได้คิดกลั่นแกล้งมนุษย์ แต่ธรรมชาติเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน

แต่ถึงอย่างไรธรรมชาติก็เป็นที่พึ่งพาอาศัยของมนุษย์ เราจึงควรรักธรรมชาติ และปฏิบัติต่อธรรมชาติ

ด้วยความรู้เข้าใจตามเหตุตามปัจจัย

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

อนึ่ง ชีวิตมนุษย์นั้น ตามสภาวะของธรรมดาก็มีทุกข์ซึ่งถูกธรรมชาติที่ไม่มีเจตนาคอยบีบคั้นมากอยู่แล้ว

มนุษย์เราซึ่งมีเจตนาหันเหการกระทำของตนได้ จึงไม่ควรมาเบียดเบียนเพิ่มทุกข์แก่กันและกันอีก

เราควรใช้เจตนานั้นในทางที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผ่อนเบาบรรเทาทุกข์กัน มีเมตตากรุณา

กระทำต่อกันด้วยความรักความปรารถนาดี มีความตั้งใจดีต่อกัน

อย่างไรก็ตาม การแสดงความรักความปรารถนาดีต่อเด็กนั้น จะต้องระวังไม่ให้ก้าวเลยจากเมตตากลายเป็น

การพะนอตัณหาของเด็ก เพราะถ้ากลายเป็นการพะนอตัณหาเสียแล้ว เด็กก็จะไม่เกิดความซาบซึ้งในคุณค่า

แห่งเจตนาที่ดีของมนุษย์ คือไม่เกิดความตระหนักว่า การกระทำนั้นเป็นไปด้วยเมตตา ด้วยความปรารถนาดี

ต่อกัน โดยมนุษย์จงใจทำ และก็จะไม่เกิดความเข้าใจถึงความเป็นกลางของธรรมชาติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ นอกจากจะเสียผลในด้านการปลูกฝังเมตตาธรรม และความรู้จักรับผิดชอบต่อตนเองแล้ว

ยังทำให้เด็กเสื่อมเสียคุณภาพจิต เพาะเลี้ยงอกุศลธรรมต่างๆ เช่น ความเห็นแก่ตัว ความเอาแต่ใจตัว

ความอ่อนแอ ความโลภ และความอิจฉาริษยา เป็นต้นให้เพิ่มขึ้นด้วย

วิธีที่จะป้องกันไม่ให้เลยไปเป็นการพะนอตัณหา ก็คือ การให้เด็กรู้ขอบเขตระหว่างการที่มนุษย์จะกระทำต่อกัน

ด้วยความรัก ความปรารถนาดีได้ กับการที่จะต้องเป็นไปตามเหตุผลของธรรมชาติ


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า พึงระวังไม่ให้มีการแสดงเมตตาอย่างผิดๆ ที่กลายเป็นการขัดขวางหรือทำลายความรู้

เท่าทันความเป็นจริงแห่งธรรมดา

ในทางปฏิบัติ คือจะต้องใช้พรหมวิหารให้ครบทั้ง ๔ ข้อ คือ นอกจากมีความรัก ความปรารถนาดีด้วย

เมตตาเป็นหลักยืนพื้นอยู่แล้ว ก็มีกรุณาสงสารช่วยเหลือเมื่อเด็กได้รับทุกข์

แสดงความยอมรับ หรือชื่นชมยินดีเมื่อเด็กได้ความสุข หรือทำการสำเร็จโดยชอบธรรม หรือโดยเหตุโดยผล

(มุทิตา)

และรู้จักวางทีเฉยเฝ้าดู หรือวางใจเป็นกลางเมื่อเด็กทำการตามแนวเหตุผลกำลังรับผิดชอบตนเองได้อยู่

หรือเมื่อมีเหตุที่เด็กควรได้รับผิดชอบต่อผลแห่งการกระทำของตน (อุเบกขา)

โดยเฉพาะข้อสุดท้าย คือ อุเบกขานี่แหละ คือองค์ธรรมจำเพาะสำหรับป้องกันไม่ให้เมตตา

กลายเป็นเครื่องปิดกั้นบดบังปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 เม.ย. 2014, 08:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ท่ามกลางธรรมชาติที่เกื้อกูลบ้าง ไม่เกื้อกูลบ้างนั้น ชีวิตมนุษย์ไม่มีความมั่นคง มนุษย์ต้องดิ้นรนต่อสู้

เพื่อความอยู่รอด แสวงหาเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต หลีกหนีและกำจัดสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์

เมื่อไม่รู้สภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ ก็ยึดมั่นต่อสิ่งที่ตนใฝ่เพื่อสนองความอยาก ทุ่มเทคุณค่า

ให้แก่สิ่งเหล่านั้น มองเห็นโลกเป็นแดนที่จะทะยานแสวงหาสิ่งเสพเสวย เป็นทีให้ความสุขและทุกสิ่ง

ที่ปรารถนา มองเห็นตนในฐานเป็นผู้ครอบครองเสพเสวยโลก

มองเห็นผู้อื่นเป็นตัวขัดขวางหรือผู้แย่งชิง ทำให้เกิดความหวงแหน ความชิงชัง ความเกลียดกลัว

การเหยียดหยามดูถูก การแข่งขันแย่งชิง การเบียดเบียน และการครอบงำกันระหว่างมนุษย์

ยิ่งกว่านั้น เมื่อการไม่เป็นไปสมปรารถนา หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นภายหลัง ก็เกิดความทุกข์

อย่างรุนแรง

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ครั้นมีกัลยาณมิตรช่วยชักจูง ฝึกให้เห็นคุณค่าของเมตตาธรรม ท่าทีต่อเพื่อนมนุษย์และต่อธรรมชาติก็ดีขึ้น

แต่นั่นก็ยังเป็นเพียงสัมมาทิฏฐิระดับโลกีย์

ถ้าจะให้ลึกซึ้งและมั่นคงแน่นแฟ้นแท้จริง ก็ต้องฝึกให้เกิดสัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระด้วย โดยให้เข้าใจสภาวะ

ที่แท้จริงของโลกและชีวิตว่าล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

โลกธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีแก่นสารที่เป็นของมันเอง และที่จะให้ดำรงอยู่ได้โดยตัวข

องมันเอง ไม่อาจจะเข้าไปครอบครองอะไรเอาไว้ได้จริงจัง

ชีวิตชีวิตเขาเป็นไปตามกฎธรรมดาอย่างเดียวกัน มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย

ด้วยกันทั้งสิ้น ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน และชีวิตทั้งหลายที่เป็นผู้ได้ ก็ต้องสัมพันธ์พึ่ง

อาศัยกัน ด้วยความรู้ความเข้าใจถึงสภาวะเช่นนี้ จะต้องมีเป็นพื้นฐานไว้บ้างแม้แต่ในเด็กๆ เพื่อให้รู้จักวางใจ

วางท่าทีต่อโลก ต่อชีวิตและต่อเพื่อนมนุษย์ได้ถูกต้อง ทำให้จัดระบบการตีค่าในทางความคิดใหม่

โดยเปลี่ยนจากใช้ตัณหา หันมาใช้ปัญญาเป็นเครื่องวัดค่า รู้ว่าอะไรเป็นคุณค่าแท้จริงสำหรับชีวิต

ที่ควรแก่ฉันทะ

รู้จักทำจิตใจให้เป็นอิสระเบิกบาน ผ่อนคลาหายทุกข์ได้แยบคายขึ้น และเป็นวิธีบรรเทาความโลภ

โกรธ หลง ลดการแย่งชิงเบียดเบียนและลดปัญหาทางศีลธรรม ชนิดที่มีฐานมั่นคงอยู่ภายใน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเจริญเข้าสู่จุดหมาย ด้วยการอุดหนุนขององค์ประกอบต่างๆ

อย่างพุทธพจน์ที่ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน (อนุเคราะห์) ย่อมมีเจโตวิมุตติ

และปัญญาวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ องค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น คือ

๑. ศีล (ความประพฤติดีงาม)

๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตำรา การแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติม)

๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบค้นความรู้)

๔. สมถะ (ความสงบ การทำใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่าวุ่นวายใจ)

๕.วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของมัน คือตามที่มันเป็นจริง)


โดยสรุป สัมมาทิฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือ เห็นตามที่สิ่งทั้งหลายเป็นจริง

การที่สัมมาทิฐิจะเจริญขึ้น ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเรื่อยไป เพราะโยนิโสมนสิการช่วยให้

ไม่มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน หรือมองเห็นเฉพาะผลรวมที่ปรากฏ แต่ช่วยให้มองแบบสืบค้นแยกแยะ

ทั้งในแง่การวิเคราะห์ส่วนประกอบที่มาประชุมกันเข้า และในแง่การสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย ทำให้ไม่ถูกลวง

ไม่กลายเป็นหุ่นที่ถูกยั่วยุ ปลุกปั่นและเชิด ด้วยปรากฏการณ์ทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และคตินิยม

ต่างๆจนเกิดเป็นปัญหาทั้งแก่ตนและผู้อื่น แต่ทำให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

คิดตัดสินและกระทำการต่างๆ ด้วยปัญญา

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ลิงค์โยนิโสมนสิการ แบบต่างๆ

viewtopic.php?f=2&t=22303

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2009, 16:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร