วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0014.jpg
0014.jpg [ 21.37 KiB | เปิดดู 3274 ครั้ง ]
ญาณในอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา



อัตถะ หรือ อรรถ ๓ หมายถึง ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, ความหมาย ประกอบด้วย

...... ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้, ประโยชน์ขั้นต้น
...... ๒. สัมปรายิกัตถะ เป็นประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป
...... ๓. ปรมัตถะ เป็นประโยชน์สูงสุด, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน


หรืออีกนัยหนึ่ง

อัตถะ หรือ อรรถ 3 หมายถึง ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย
......๑. อัตตัตถะ หมายถึงประโยชน์ตน
......๒. ปรัตถะ หมายถึงประโยชน์ผู้อื่น
......๓. อุภยัตถะ หมายถึงประโยชน์ทั้งสองฝ่าย


ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ประกอบด้วย

..... ๑. อัตถปฏิสัมภิทา
..... ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
..... ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา
..... ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


อัตถปฏิสัมภิทา คือ ...

ปัญญาแตกฉานในอรรถ
ปรีชาแจ้งในความหมาย

เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร
เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร
เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล

(ยังมีต่อ)



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 19 พ.ย. 2009, 20:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร ฯ

ญาณในอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา
......ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความกำหนดอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความเข้าไปหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
......ปัญญาในความประกาศอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ
.....สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถ
.....สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ
.....สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ
.....สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ

.....สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถเป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถ
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถ



.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
.....สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง


พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....สภาพที่ตั้งมั่น
.....สภาพที่เลือกเฟ้น
.....สภาพที่ประคองไว้
.....สภาพที่แผ่ซ่านไป
.....สภาพที่สงบ
.....สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน
.....สภาพที่พิจารณาหาทาง
.....สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ [แต่ละอย่าง]

พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....สภาพที่เห็น
.....สภาพที่ดำริ
.....สภาพที่กำหนดเอา
.....สภาพที่เป็นสมุฏฐาน
.....สภาพที่ขาวผ่อง
.....สภาพที่ประคองไว้
.....สภาพที่ตั้งมั่น
.....สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน

.....พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

.....เพราะเหตุดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ฯ



ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร