วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภู เขียน:
ความหมายของมหาสติที่มักถูกอ้างบ่อยๆ ดังนี้ครับ

................ อันนี้ความหมายเต็มรูปของสัมมาสติ
คือ พิจารณากายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม
ความหมายโดยย่อที่สุดก็คือว่า
ให้เห็นกายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา
จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมสักแต่ว่าธรรม
ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเขา ...................................

(ที่มา : สัมมาสติ ใน “โอวาทปาติโมกข์” โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๕, จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, หน้า ๒๘๘-๒๙๑)

ขอเชิญท่านทั้งหลายวิสัชชา เพื่อความหลุดพ้นถึงที่สุดแห่งทุกข์ ครับ
ด้วยความเป็นมิตรแท้แห่งลานนี้ครับ



สวัสดีครับคุณโคตรภู

ผมพอจะมีความรู้ความเข้าใจดังนี้ครับ

ในการปฏิบัติธรรมนั้นพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ เพื่อการงดเว้นเสีย อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ด้วยมัคคภาวนา

ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่ ฯลฯ ไม่ใช่แค่เพียงรับรู้รับทราบอยู่เท่านั้น ต้องหาทางเอาคมหอกออกจากกาย ต้องหาทางเอาไฟออกจากศีรษะ


การกล่าวว่าสักแต่ว่ารู้นั้น การมีสติจึงต้องเป็นวิปัสสนาอันประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
เมื่อลงมือปฏิบัติอย่างนี้ คำว่า..กายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมสักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเขา จึงจะเป็นจริงได้ครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ผมเนียะ ถึงแล้ว คำว่าสักว่ารู้
ทำไมกิเลสยังเต็มเลยล่ะ ทำไมยังมีเวทนา สัญญา สังขาร
กายก็ไ่ม่ได้หายไปจากความรับรู้ ใจก็ไม่ได้หายไปจากความรับรู้
ทั้งหายทั้งใจรู้ชัดยิ่งกว่าเคยรู้ เห้นมากกว่าเคยเห็น


ท่านจะอธิบายว่าอย่างไรครับ



สวัสดีครับคุณโคตรภู

คุณชาติสยามกล่าวถูกต้องแล้วครับ
การปฏิบัติเพียงสักว่ารู้ด้วยอุเบกขาหรือ อทุกขมสุขเวทนาไม่เพียงพอครับ
แต่การปฏิบัตินั้นต้องวิปัสสนาใช้ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสด้วยครับ
หมายความว่า ที่คุณชาติสยามยืนยันมานั้นถูกต้อง
โดยคุณชาติสยามสามารถปฏิบัติเพียงสักว่ารู้ด้วยอุเบกขาได้จริง แต่อรหัตตมัคคจิตยังไม่เกิดกับคุณชาติสยาม คุณชาติสยามต้องการสื่อให้ทุกคนเข้าใจอย่างนี้ครับ


สาธุกับคุณชาติสยามครับ



มหาราชันย์ เขียน:
ในการปฏิบัติธรรมนั้นพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ เพื่อการงดเว้นเสีย อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ด้วยมัคคภาวนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0209.gif
0209.gif [ 18.03 KiB | เปิดดู 4385 ครั้ง ]
tongue
มหาราชันย์ เขียน:
การปฏิบัติเพียงสักว่ารู้ด้วยอุเบกขาหรือ อทุกขมสุขเวทนาไม่เพียงพอครับ
แต่การปฏิบัตินั้นต้องวิปัสสนาใช้ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสด้วยครับ


เรียนถามคุณมหาราชันย์
๑. การรู้ด้วยอุเบกขา กับ การวางเฉย ไม่ทุกข์ไม่สุข (อทุกขมสุขเวทนา) นั้นเป็นอย่างเดียวกันหรือคะ

๒. วิปัสสนาใช้ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น ทำอย่างไรคะ


เจริญในธรรมค่ะ tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 22:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สักแต่ว่ารู้ คือสิ้นกิเลสแล้ว ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา


หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้..แล้ว..

พระองค์..ยังจำราหุล..ได้..ว่า..นี้บุตรเรา..นี้ภรรยาเรา..นี้พ่อเรา..

ความจำนี้มาจากไหน..ไม่ใช่สัญญาหรือ..

สัญญายังมี..ไม่ใช่ไม่มีสัญญา..เพียงแต่..ไม่ข้องกับสัญญา..แค่นั้น

ดังนั้นที่ว่า..
สักแต่ว่ารู้ คือสิ้นกิเลสแล้ว ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา
เป็นความเท็จ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 29 ก.ย. 2009, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกอย่าง อยู่ที่จิต เห็นที่จิต รู้ที่จิต ละก็ที่จิต

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:
เรียนถามคุณมหาราชันย์
๑. การรู้ด้วยอุเบกขา กับ การวางเฉย ไม่ทุกข์ไม่สุข () นั้นเป็นอย่างเดียวกันหรือคะ



เป็นอย่างเดียวกันครับ
อุเบกขาเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นเวทนาอย่างเดียวกันครับ
คือสภาวะธรรมที่มาทำหน้าวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบ จับแล้วก็วาง
ในปุถุชนอุเบกขาเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา มีอวิชชาตามนอนเนื่องอยู่ในอุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เพราะมัคคจิตยังไม่เกิดขึ้น

ต่อเมื่อใดอุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เกิดร่วมเกิดพร้อมในมัคคจิต ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในมัคคจิตย่อมเกิดมาทำลายอวิชชาครับ อวิชชาย่อมดับไปไม่นอนเนื่องในอุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นอีกครับ







กระบี่ไร้เงา เขียน:
๒. วิปัสสนาใช้ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น ทำอย่างไรคะ



วิปัสสนา คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ

วิปัสสนามีเฉพาะในกุศลจิตเท่านั้นครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนาไม่มีในอกุศลจิตครับ องค์ธรรมที่ชื่อวิปัสสนา จึงมี 4 สภาวะธรรมครับ
1.วิปัสสนาในกามาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยกามสัญญา ทำหน้าที่ละโลภะ ละโทสะ ละโมหะอย่างหยาบได้

2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.1.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา และนิวรณ์ 5 ได้
2.2.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละวิตก ละวิจารได้
2.3.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในตติยฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร และละปีติได้
2.4.วิปัสสนาในรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน (ที่ใช้คำว่าจตุตถฌานเพราะมีอุเบกขาและเอกคตารมณ์เหมือนในจตุตถฌานครับ) ที่ประกอบด้วย อรูปสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้
3.1.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.2.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย วิญญานัญจายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.3.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

3.4.วิปัสสนาใน อรูปาวจรกุศลจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจตุตถฌาน ที่ประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละอากาสานัญจายตนสัญญา ละวิญญานัญจายตนสัญญา ละอากิญจัญญายตนสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละวิตก ละวิจาร ละปีติ และละสุขละทุกข์เสียได้

4.วิปัสสนาใน โลกุตตระกุศลจิตหรืออริยมัคคจิต 4 คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และในอรหัตตมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 และละกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ ได้

4.1.วิปัสสนาใน โสดาปัตติมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโสดาปัตติมัคค ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา และละสีลพตปรามาสได้

4.2.วิปัสสนาใน สกทาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส และทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้

4.3.วิปัสสนาใน อนาคามีมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น

4.4.วิปัสสนาใน อรหัตตมัคคมัคคจิต คือปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในโลกุตตระกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ต่าง ๆ วิปัสสนาทำหน้าที่ละกามสัญญา ละรูปสัญญา ละอรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา ละนิวรณ์ 5 ละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส ละกามราคะละพยาบาท ละรูปราคะ ละอรูปราคะ ละมานะ ละอุทธัจจะ และละอวิชชาได้หมดสิ้น

องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาในกุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ




วิปัสสนาทำลายกิเลสได้แตกต่างกันดังที่ได้สรุปมาอย่างนี้ครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอพระคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ สมกับชื่อเว็บว่าลานแห่งธรรมครับ

ชาติสยาม เขียน:
ก็ผมเข้าถึงคำว่า"สักว่ารู้"
เคยไปลิ้มรสมาแล้ว

แล้วจะเลิกเบี่ยงเบนประเด็นได้หรือยัง
ตอบไม่ได้ก็บอกว่าไม่ได้ จะได้จบข่าว


สาธุครับ รสใดไหนจะเปรียบเท่ารสแห่งธรรม อย่างไรเพื่อเป็นธรรมทานจะกรุณาอธิบายเพื่มเติม ตามที่ท่าน Supareak Mulpong ร้องขอมา หรือว่า ใช้คำอธิบายของท่านมหาราชันย์ ตามที่ท่านสงเคราะห์มาให้ครับ ต้องกราบขอบพระคุณท่านมหาราชันย์มาด้วยนะที่นี้ครับ

Supareak Mulpong เขียน:
ยังไม่ใช่ เป็นการปฏิเสธการรับรู้ ตอนบริกรรมระวังเดินชนเสานะครับ


อิอิ ๆๆๆ ท่าน Supareak Mulpong มีอารมณ์ขันดีครับ แต่ท่านมองข้ามอะไรไปหรือเปล่า แล้วยังตอบคำถามไม่หมดเลยครับ ว่าคิดเห็นเช่นไรกับคุณภาพของจิตในแต่ละสภาวะ

แต่รู้สึกว่าท่านจะลดคุณค่าความสามารถของจิตลงไปเหลือไม่ถึง 1/4 เลยครับ แล้วที่ท่านอธิบายมาผมว่าท่านมองเป็นส่วนๆ ตามตำราเปะผสมกับที่ท่านเข้าใจ แต่ท่านลืมไปอย่างหนึ่งว่าจิตเกิดดับครั้งละ 1 แต่ขณะเดียวกันก็เกิดเป็นจำนวนมากมายในขณะหนึ่งๆ นะครับ ไม่อย่างนั้นท่านจะได้ยินคนอื่นเรียกท่านในขณะที่ท่านทำกิจอีกอย่างหนึ่งอยู่ละครับ

ที่สำคัญพระพุทธองค์ ท่านไม่ได้ให้เราฝีนธรรมชาติของขันธ์ 5 นะครับ แต่ท่านสอนให้อยู่กันขันธ์ 5 อย่างชาญฉลาด เพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์นะครับ



Buddha เขียน:
โอ้โฮ....ต้องขออภัยต่อเจ้าของกระทู้ไว้ก่อนขอรับ เพราะ

ผู้(โอ้อวด)รู้ เก่งจริงๆขอรับ รู้แม้กระทั่ง พระอรหันต์ คงจะสำเร็จอรหันต์ละซินะ หรือว่า "อวดอุตริ นำมาเขียนไว้เฉยๆ


ไม่เป็นไรครับ ยินดีที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

คงไม่ใช่ตามที่ท่าน Buddha เข้าใจมั้งครับ คิดว่าท่าน Supareak Mulpong คงเข้าใจอย่างนั้น
ก็ไม่เป็นไรครับ เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขัดเกลา เพื่อความเจริญในธรรมของทุกท่านครับ

จะลี้ลับซ้อนเช่นไรพระพุทธองค์ทรงเมตตาเผยแผ่มา 2552 ปี แล้ว มีอรหันต์มากมายเป็นหลักฐานว่าพระดำรัสที่ทรงสอน ทรงแสดง นั้นทำได้จริง จากปุถุชนสู่อรหันต์ หลักฐานที่ตกมาถึงวันนี้คือพระไตรปิฎก ทุกคนร่วมแสดง ร่วมวิเคราะห์ ก็ต้องเปิดเผยออกมาแน่นอน เพราะทรงสอนในสิ่งที่ปุถุชนทำได้แน่นอนครับ

ตัวอย่างที่เห็นขณะนี้ก็มีของท่านมหาราชันย์ที่เข้ามาร่วมแสดง เข้าใจว่าน่าจะนำมาจากพระไตรปิฎก เพราะมีเหตุมีผลสนับสนุนในประโยคที่ท่านนำมาแสดงอย่างน่าสนใจ สาธุ ครับ



มหาราชันย์ เขียน:
ในการปฏิบัติธรรมนั้นพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ เพื่อการงดเว้นเสีย อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ด้วยมัคคภาวนา


กราบขอบพระคุณ ที่ท่านมหาราชันย์ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

สิ่งที่ท่านร่วมแสดง ในประโยคนี้น่าสนใจครับ ท่านกำลังจะบอกว่าในการปฏิบัติธรรมต้องตั้งสติก่อน
เพื่อตัดสักายทิฏฐิ โดยอาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากตัณหา ด้วยมัคคภาวนา

คุ้นเหมือนเคยผ่านตาแต่จำไม่ได้ว่าเล่มไหน แต่ที่สำคัญ ยอมรับว่า โคตรภู เอง ยังตีไม่แตก ช่วยขยายด้วยครับ "โดนอาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ" อีกคำ "มัคคภาวนา"


มหาราชันย์ เขียน:
การกล่าวว่าสักแต่ว่ารู้นั้น การมีสติจึงต้องเป็นวิปัสสนาอันประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสครับ
เมื่อลงมือปฏิบัติอย่างนี้ คำว่า..กายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมสักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเขา จึงจะเป็นจริงได้ครับ


อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขาด้วยปัญญาซิครับ

แล้วปัญญาที่ว่านี้จะเป็นปัญญาแบบไหนละครับ ปัญญาในพระไตรปิฎก มี 73 อย่าง กับ ปัญญาในคัมภีร์โดยเถราจารย์รุ่นหลังๆ ญาน 16 เอรู้สึก ท่านกระบี่ไร้เงา เอามาเปรียบเทียบในกระทู้ก่อนหน้านี้แล้วครับ



กราบขอบพระคุณ ท่านกระบี่ไร้เงาที่ช่วย เหลือครับ เป็นคำถามที่น่าติดตามรอคำตอบครับ


ขอบคุณ ท่านกบนอกกะลา ครับ ชัดเจน ดีครับ แต่คำสรุปของท่านขอรับพิจารณาก่อนครับ

moddam เขียน:
ทุกอย่าง อยู่ที่จิต เห็นที่จิต รู้ที่จิต ละก็ที่จิต


แน่ใจหรือครับ อายตนะ มีอย่างละ 6 นะครับ มหาสติ ยังมีตั้ง 4 ฐานนะครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว ไม่ทัน ท่านมหาราชันย์ ซะแล้ว กราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ สาธุครับ

น่าสนใจจริงครับ ปัญญาในวิปัสสนา พระไตรปิฎก อธิบายอย่างชัดเจนเลยครับ
ผมก็เลยเก้อเลย เขินอะครับ ดันโพส์ตช้ากว่าท่าน :b27: :b27: :b27: :b27:

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภู เขียน:
กราบขอบพระคุณ ที่ท่านมหาราชันย์ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

สิ่งที่ท่านร่วมแสดง ในประโยคนี้น่าสนใจครับ ท่านกำลังจะบอกว่าในการปฏิบัติธรรมต้องตั้งสติก่อน
เพื่อตัดสักายทิฏฐิ โดยอาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากตัณหา ด้วยมัคคภาวนา

คุ้นเหมือนเคยผ่านตาแต่จำไม่ได้ว่าเล่มไหน แต่ที่สำคัญ ยอมรับว่า โคตรภู เอง ยังตีไม่แตก ช่วยขยายด้วยครับ "โดนอาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ" อีกคำ "มัคคภาวนา"



วิเวก ได้แก่วิเวก 3
1.กายวิเวก คือการได้อยู่ในที่หลีกเร้นสำหรับเจริญภาวนาพระธรรมเทศนา เช่นโคนไม้ เรือยว่าง ห้องส่วนตัว ป่า ซอกเขา ถ้ำ ฯลฯ

2.จิตตวิเวก ได้แก่การเจริญฌานบรรลุฌานสมาบัติ 8

3.อุปธิวิเวก ได้แก่การละอุปาทานขันธ์ 5 และการกำจัดกิเลสสังโยชน์ทั้งหลาย




วิราคะ ได้แก่ความปราศจากราคะ
วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ


นิโรธ ได้แก่การละตัณหา การดับตัณหาซึ่งมีอกุศลมูลอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยเสียได้


" อีกคำ "มัคคภาวนา" ได้แก่การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจริญจิตอบรมปัญญาทำลายกิเลสด้วยบทพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่ง เพื่อประหาณมิจฉาทิฏฐิ ทำลายกิเลสสังโยชน์ให้หมดสิ้น เช่นเจริญอริยะสัจ 4 เจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญอิทธิบาท 4 เจริญสัมมัปปธาน 4 เป็นต้น เพื่ออบรมปัญญาในการทำลายกิเลสให้เกิดขึ้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 02:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




wai.gif
wai.gif [ 3.84 KiB | เปิดดู 4329 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:


สาธุ...ขออนุโมทนากับธรรมทานเจ้าค่ะ
ท่านโคตรภูได้ตั้งกระทู้ที่เป็นประโยชน์มากมาย
ท่านกระบี่ไร้เงา ที่ช่วยปุจฉาได้น่าสนใจและเป็นประโยชน์
ท่านมหาราชันย์ได้เข้ามาแสดงธรรมที่ดิฉันและอีกหลายท่านที่มีฉันทะ
ใฝ่ในพระสัทธรรมได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกโดยตรง
และจะได้นำไปปฏิบัติต่อไปให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นเจ้าค่ะ
ส่วนอีกหลายๆท่านเช่น ท่านชาติสยาม ท่านศุภฤกษ์ ท่านกบนอกกะลา
และอีกหลายท่านซึ่งดิฉันไม่สามารถกล่าวมาได้ทั้งหมด
ถึงแม้จะมีทิฐิที่ไม่ตรงกันนักแต่การสนทนาธรรม
ก็เพื่อแลกเปลี่ยนทิฐิซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ดังนั้น...ขออนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยเจ้าค่ะ

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรละ สาธุ :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 02:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 03:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chefin เขียน:
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นควรละ สาธุ



สวัสดีครับ chefin

ขออนุญาตเสริมนิดหนึ่งนะครับ

ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เรากำหนดรู้

เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละ เราละเสีย

ความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เข้าใจแจ่มแจ้ง เราทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเสีย

ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรเจริญ เราเจริญไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน


สาธุในกุศลจิตของ chefin ครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 03:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2192.gif
2192.gif [ 40.54 KiB | เปิดดู 4284 ครั้ง ]
tongue
มหาราชันย์ เขียน:
เป็นอย่างเดียวกันครับ
อุเบกขาเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นเวทนาอย่างเดียวกันครับ
คือสภาวะธรรมที่มาทำหน้าวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบ จับแล้วก็วาง
ในปุถุชนอุเบกขาเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา มีอวิชชาตามนอนเนื่องอยู่ในอุเบกขาเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา เพราะมัคคจิตยังไม่เกิดขึ้น



กราบขอบพระคุณค่ะ คุณมหาราชันย์

ได้รับความรู้เรื่องอุเบกขาครั้งนี้ ทำให้รู้ว่าดิฉันเองเข้าใจผิดมานาน คิดว่าเราเองวางเฉยต่อสิ่งมากระทบได้แล้ว


หลงเป็นปลื้มอยู่นานเลยค่ะ ... :b27:

กลายเป็นเพียงอทุกขมสุขเวทนาซึ่งมี "อวิชชา" เพียบ

ถ้าอย่างนั้น เจ้า อทุกขมสุขเวทนานี้ ก็ยังเปลี่ยนได้สิคะ
เพระเมื่อกระทบสิ่งที่ พอใจ ชอบใจ ก็คงกลายเป็น สุขเวทนา
และเมื่อกระทบสิ่งที่ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ก็คงกลายเป็น ทุกขเวทนา



มรรคจิต ชื่อก็บอกอยู่แล้วนี่คะว่า ต้องเจริญ มรรค ให้เกิดขึ้นในจิต
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ เราต้องทำจิตของเรา ให้เป็นมรรคจิตก่อนใช่ไหมคะ


ขอบพระคุณค่ะ ที่ทำให้เข้าใจในอุเบกขาเวทนา
ไม่หลงต่อไปอีกว่าตัวเองนี้ วางอุเบกขา ได้ ......
คงอีกนานนะคะ ที่จะทำให้เกิดอุเบกขาเวทนาร่วมกับมรรคจิตได้


มหาราชันย์ เขียน:
องค์ธรรมที่ชื่อสมถะและวิปัสสนาใน กุศลจิต คือกามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต
อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตระกุศลจิต เหล่านี้ เกิดร่วมเกิดพร้อมไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันครับ


สาธุ....ค่ะ
ได้อ่านที่คุณมหาราชันย์กล่าว จึงใคร่เรียนถามเรื่อง สมถะ และ วิปัสนา เพิ่มขึ้นดังนี้ค่ะ

ต้องขอโทษ เจ้าของกระทู้นะคะ ที่มาแทรกเรื่องนี้ขึ้น


๑.ทำไมจึงให้เจริญสมถะด้วย เจริญเฉพาะ "วิปัสนา" ไม่ได้หรือ
เพราะได้ยินมาว่าสมถะนั้นไม่ช่วยให้บรรลุมรรคผลได้

๒. ได้ยินมาว่า "สมถะ" นี้เป็นการปฏิบัติของพวก ฤาษี โยคี เท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาที่ชื่อว่า เจริญเฉพาะปัญญาเท่านั้น ใช่ไหมคะ

๓. ที่ท่านกล่าวว่า สมถะและวิปัสนา ต้องไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันนั้น
สภาวะธรรมเช่นใดจึงเป็นเช่นนี้คะ



ขอบพระคุณมากค่ะ

tongue เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 09:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กระบี่ไร้เงา เขียน:

ได้อ่านที่คุณมหาราชันย์กล่าว จึงใคร่เรียนถามเรื่อง สมถะ และ วิปัสนา เพิ่มขึ้นดังนี้ค่ะ

ต้องขอโทษ เจ้าของกระทู้นะคะ ที่มาแทรกเรื่องนี้ขึ้น[/color]


๑.ทำไมจึงให้เจริญสมถะด้วย เจริญเฉพาะ "วิปัสนา" ไม่ได้หรือ
เพราะได้ยินมาว่าสมถะนั้นไม่ช่วยให้บรรลุมรรคผลได้

๒. ได้ยินมาว่า "สมถะ" นี้เป็นการปฏิบัติของพวก ฤาษี โยคี เท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาที่ชื่อว่า เจริญเฉพาะปัญญาเท่านั้น ใช่ไหมคะ

๓. ที่ท่านกล่าวว่า สมถะและวิปัสนา ต้องไปด้วยกันเสมอไม่แยกจากกันนั้น
สภาวะธรรมเช่นใดจึงเป็นเช่นนี้คะ









ระหว่างรอ ท่านมหาราชันย์... ผมขอเสนออ่าน ข้อมูลจากกระทู้เก่า

viewtopic.php?f=1&t=24564&p=130531#p130531


คือ เป็นเพราะความเข้าใจ ในคำว่า สมถะ ไม่ตรงกันครับ





หรือ ลอง ไปค้นดูกระทู้เก่าๆ ในพันทิพ ห้องศาสนา (คุ้นๆว่า จะเป็นของคุณหลังเขา) ดู น่ะครับ

ในตอนแรกๆ เหมือนท่านจะเชื่อว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค ไม่นับเรียกว่าเป็นสมถะ...

แต่ ก็มีผู้นำข้อมูลจากพระไตรปิฎกมายืนยันว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค นับว่าเป็นสมถะ เช่นกัน... ท่านจึงเข้าใจ

ปัจจุบันจะมีผู้เข้าใจว่า สมถะ ไม่นับรวมสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคกันมากครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




xi12.jpg
xi12.jpg [ 8.9 KiB | เปิดดู 4249 ครั้ง ]
tongue
ตรงประเด็น เขียน:
ระหว่างรอ ท่านมหาราชันย์... ผมขอเสนออ่าน ข้อมูลจากกระทู้เก่า

viewtopic.php?f=1&t=24564&p=130531#p130531


คือ เป็นเพราะความเข้าใจ ในคำว่า สมถะ ไม่ตรงกันครับ





หรือ ลอง ไปค้นดูกระทู้เก่าๆ ในพันทิพ ห้องศาสนา (คุ้นๆว่า จะเป็นของคุณหลังเขา) ดู น่ะครับ

ในตอนแรกๆ เหมือนท่านจะเชื่อว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค ไม่นับเรียกว่าเป็นสมถะ...

แต่ ก็มีผู้นำข้อมูลจากพระไตรปิฎกมายืนยันว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค นับว่าเป็นสมถะ เช่นกัน... ท่านจึงเข้าใจ

ปัจจุบันจะมีผู้เข้าใจว่า สมถะ ไม่นับรวมสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคกันมากครับ



ขอบคุณ คุณตรงประเด็น มากค่ะ tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ ถ้าว่ากันโดยความหมาย ก็คือ สัมมาสมาธิ เกิดหลังจากได้สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะแล้ว

ส่วนสมาธิ ก็คือความสงบทั่วไป ตั้งแต่ขณิกกะถึงอรูปฌาน

การวางเฉยด้วยอุเบกขา ไม่นับว่าเป็น รู้สักแต่ว่าู้รู้ เป็นอาการของการกดข่มไว้ด้วยสมถะ ตอนใช้ชีวิตปกติก็เกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่ถือเป็นการปหานกิเลส

การเจริญธรรม ๒ อย่างให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถือ สมถะ กับวิปัสสนานั้น พระพุทธองค์ให้เจริญหลังจากละสัญโยชญ์ ๓ ได้แล้ว

ระหว่างวิปัสสนา ตั้งแต่อนาคาปัตติมัค การรับรู้เฉยๆ เกิดขึ้นได้ แต่เป็นเฉพาะตอนวิปัสสนา การถือว่าไม่มีสัญญา กล่าวคือการเว้นจากสัญญาทั้งหลาย

อ้างคำพูด:
ว่าคิดเห็นเช่นไรกับคุณภาพของจิตในแต่ละสภาวะ

คุณภาพของจิตนี่พอจะเอาอะไรมาวัดได้บ้างละครับ จิตทำงานเป็นอัตโนมัติ ทำงานตามหน้าที่ ทำงานที่ความถี่ 1 ล้านล้าน Hz :b6:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร