วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 04:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ที่คุณอ้างมา ยังสรุปไม่ได้ว่าการนั่งสมาธิแล้วทำจิตให้นิ่งไม่ใช่เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ
เพราะฌานก็นิ่ง และฌานก็ตรงในมรรค ๘ ข้อสัมมาสมาธิ ในมรรค ๘ ก็บอกว่าฌานเลย
แสดงว่าจิตต้องไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อื่นนอกจากรรมฐาน
และ บุคคลนั่งขัดสมาธิ แล้วทำจิตนิ่งๆในสภาวะบางอย่าง เช่น ดูอาการของท้องที่พองยุบ
เมื่อมีเสียง จิตเขาก็ไปรับรู้เสียงนั้น แบบนี้ก็นิ่ง นิ่งในขณะสภาวะหนึ่งๆ


พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนตลอดดังนี้

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ก็ ภิกษุผู้อริยะบุคคลในศาสนานี้ ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติปรากฏไม่เผลอเรอ มีกายสงบระงับ ไม่กระวนกระวาย มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ไม่ยินดียินร้าย ต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ และใจเรานั้นก็สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้วจิตเป็นสมาธิ บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคาตารมณ์

ละ วิตก วิจาร เข้าสู่ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ สุข และเอกคตารมณ์
เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข และเอกคตารมณ์
เธอ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ มีเอกคตารมณ์ เสวยอุเบกขาอยู่เป็นอารมณ์เดียว

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

ความตั้งมั่นแห่งจิต ไม่ยินดียินร้านต่อ รูป .....ใจเราสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วจิตเป็นสมาธิ


ดังนั้น การไปดูท้องพองยุบ จิตไปรู้เสียงอยู่อย่างนั้น จิตนั้นยินดียินร้ายต่อรูป ต่อเสียง ไม่สงัดจากกามสัญญา เพิ่มพูนสักกายทิฐิ ครับ

ฌาน 4 ในอริยมรรค 8 จึงเป็นคุณภาพของกุศลจิต อันเป็นสัมมาสมาธิอีกเช่นกันครับ ที่ตั้งมั่นในมรรคครับไม่ใช่ตามรู้รูป ตามรู้เสียงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจเรานั้นก็สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้วจิตเป็นสมาธิ บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคาตารมณ์

กล่าวถึงจิตเป็นกุศล จิตเป็นสัมมาสมาธิ เป็นจิตทีสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายจิตเป็นสมาธิ

บรรลุ ปฐมฌาน ......มีวิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกคตารมณ์
ต้องเข้าใจว่า เอกัคคตาจิต ที่กล่าวในสัมมาสมาธินั้น ต้องเข้าใจว่า เป็นเอกัคคตารมณ์นั้นที่เกิดในจิตเป็นกุศล องค์่ธรรมเจตสิกอันเป็นเอกคตาเจตสิกนั้นทำหน้าที่ให้ เจตสิกทั้งหลายที่ประกอบในจิตทำหน้าที่เดียวกับจิตในแต่ละดวงครับ

เจตสิกธรรมทำหน้าที่พร้อมๆ กับจิต จิตจึงมีเอกัคคตารมณ์ เพียงแต่ว่า จิตนั้นถ้าตั้งมั่นในมรรค จิตนั้นมีคุณภาพที่ตั้งมั่นในมรรค เป็นปฐมฌานจิต ก็มีวิตก วิจาร ปิติ สุข และ เจตสิกอื่นๆ อันเป็นองค์แห่งกุศลจิตนั้นครับ ในฌานอื่นๆ ก็ให้เข้าใจ ในลักษณะนี้เช่นกัน

ไม่ใช่ไปตั้งไปรู้ไปยินดี ยินร้าย หรือไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไปตามรูป ตามเสียง ฯลฯ ครับ จิตอย่างนั้นเป็นโมหะมูลจิตครับ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 15 ส.ค. 2009, 17:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ดังนั้น การไปดูท้องพองยุบ จิตไปรู้เสียงอยู่อย่างนั้น จิตนั้นยินดียินร้ายต่อรูป ต่อเสียง ไม่สงัดจากกามสัญญา เพิ่มพูนสักกายทิฐิ ครับ


อธิบายหน่อยครับว่า ยินดีอย่างไร ยินร้ายอย่างไร
ต้องมีเหตุผลครับ


เพราะการที่เรารู้ว่าท้องพองอยู่ ยุบอยู่ เป็นการรับรู้ปกติ ไม่ได้ชอบหรือไม่ชอบที่พองหรือยุบ
มันจะพองจะยุบ ก็แค่รู้ว่ามันพองหรือยุบ

สติปัฏฐาน ๔ ข้ออิริยาบทบรรพว่า

เมื่อยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่าเดินอยู่ เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่ เมื่อนอนอยู่ก็รู้ว่านอนอยู่

การปฏิบัตินัยเดียวกัน

เมื่อท้องพองอยู่ก็รู้ว่าพองอยู่ เมื่อท้องยุบอยู่ก็รู้ว่ายุบอยู่

ตกลงการรับรู้อิริยาบทแบบนี้เป็นการยินดียินร้ายเหรอครับ
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าตรัสให้ปฏิบัติทำไมครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าตรัสให้ปฏิบัติทำไมครับ


ท่านกามโภคี ชี้แจงครับ ว่า ดูท้องพองท้องยุบ ตรัสไว้เมื่อไหร่ครับ อยู่่ตรงไหนในพุทธพจน์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ เช่นนั้น ไปที่กระทู้นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24951

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อืมม์ นั่นน๊ะสิ จขกท. บอกว่าปวดหลังทำสมาธิ ไ่ม่ได้
เช่นนั้น ก็เพิ่งจะบอกถึง จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ เพื่อให้เจ้าของกระทู้ได้รับทราบว่า ขณะที่สวดมนต์นั่นเอง ก็ได้ทำสมาธิแล้ว เพราะเป็นกามาวจรกุศล อันมีจิตเป็นสัมมาสมาธิ

การมีจิตเป็นสมาธิ จึงไม่ใช่มีสมาธิเพราะท่านั่ง หรือยินดียินร้ายไปตามรูปขันธ์ ที่เกิดขึ้น
เพราะ จขกท. อินทรีย์ ยังไม่แก่กล้า ความรู้ทางธรรมยังอ่่อน ถึงไม่เข้าใจว่า สัมมาสมาธิทีถูกต้องนั้น ต้องเริ่มที่ทำจิตให้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เพียงเท่านนี้ ก็เป็นเหตุที่พอสมควรที่ยังจิตให้เป็นสัมมาสมาธิ

การได้สวดมนต์แม้หลายบทก็ตาม หากจิตมีความอิ่มใจในบทสวดว่าได้กุศล จิตก็ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิอันเป็นกามาวจรกุศล

การสวดมนต์ แม้หลายบทก็ตาม หากจิตมีความอิ่มใจมีความสุขใจเกิดขึ้นระลึกถึงคุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ จิตก็ตั้งอยู่ในปฐมฌานแล้ว มีสัมมาสมาธิ อันเป็นโลกกุตระกุศลแล้ว

ดังนั้น หากดำรงจิตด้วยอารมณ์นั้น สงัดจากกามนั้น สงัดจากอกุศลนั้น ไม่เผลอไผล ไม่เลอะเลือน จขกท.
ก็สามารถที่จะทำงานตลอดทั้งวันได้ ด้วยจิตนั้น อันมีสัมมาสมาธิ คุณภาพจิตแบบนี้ จึงเป็นคุณภาพจิตที่เปลี่ยนจากอกุศลจิต เป็นกุศลจิตแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอนนี่ก้ถือว่าเป็นท่าที่สบายและผ่อนคลายนะ ทำสมาธิในท่านอนจิตก้ตั้งมั่นและสงบว่างได้เหมือนกัน
สำคัญแต่ว่าอย่าเผลอหลับไปซะก่อนละ ผมว่าที่นั่งแล้วปวดหลังเพราะร่างกายของจขกท.อาจนั่งนานไม่ได้เมื่อนั่งนานไม่ว่าจะสมาธิแบบใดก้จะเกิดอาการเช่นนี้เสมอ ถ้าจะนั่งต้องทำเวลาน้อยๆสั้นๆถึงพอทำได้ ก้นอนยาวลงไป ดูลมหายใจเข้าออก หายใจช้าๆยาวๆ สบายๆ หรือจะดูท้องพอง ท้องยุบก็ได้
มีสติทั่วพร้อม ก้เอาสติตามดูกายคือท้องพองยุบ หรือดูลมหายใจ เข้า หายใจออก ไปเรื่อยๆ พอเคลิ้มเหมือนจะหลับแต่ไม่อยากนอน ก้ให้เปลี่ยนท่ามาเปนนั่ง จนหายเคลิ้มแล้วค่อยกลับไปกำหนดในท่านอนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ก้ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ก้เน้นท่านอนเป็นหลัก แล้วคอยกำหนดพิจารณาเอาแล้วกัน
ให้จิตมีสติ มีสมาธิ พอจิตเบา กายเบา สมาธิเกิดแล้ว ก้ข่มความปวดลงไปได้ ความปวดก้หายไป

อีกอย่างคำว่า ปวดหนอ ๆ ๆที่ใช้กำหนดอาการปวดทางกาย ที่ใช้ก้ไม่ได้หมายถึงกำหนดแล้วเพื่อให้มัน
หายปวดหรอกนะ เพียงแต่ที่กำหนดปวดก้เพื่อให้จิตมีสติ เอาสติตามดูความปวดของกายว่ามันปวดมากน้อยแค่ไหน ประการใด เมื่อกายปวด จิตมันก้ปวด เพราะกายกับจิตมันยังยึดเข้าด้วยกันอยู่ แต่เมื่อไรจิต
ที่ปวดกับกายที่ปวดมันแยกออกจากกันได้ จิตไม่ไปอุปทานกับกายที่ปวด เมื่อนั้นเราก้หายปวด แยกรูป
แยกนามออกไปเป็นคนละส่วนกัน เราก้หายปวดเป็นปลิดทิ้ง ก้ได้จากกำหนดปวดหนอ ที่เอาจิตปักไปตรงจุดที่ปวดไปเรื่อยๆนี่แหละ เป็นปฏิบัติการ ไม่ใช่วิชาการ

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:08
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: รู้ลมหายใจ
ชื่อเล่น: แม่มดบี
อายุ: 0
ที่อยู่: ไม่รู้ที่มา และอาจไม่รู้ที่จะไป

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีแก้ปวดหลัง


ปุจฉา ๔๖๔

กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพครับ กระผมขอรบกวนปุจฉาขอคำแนะนำ เนื่องจากญาติของผมมีอาการปวดหลังมาก แล้วปวดมานานแล้ว มีอาการชาตรงต้นขาลงไปทั้ง ๒ ข้าง พอไปหาหมอ หมอบอกว่าข้อกระดูกเสื่อมบริเวณก้นกบ แล้วหมอบอกว่าไม่มีทางรักษาหาย อาต้องผ่าตัด ขอความเมตตาหลวงปู่ช่วยให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ช่วยให้หายโรคนี้โดยไม่ต้องผ่าตัด และก็ท่าที่หลวงปู่เคยสอนในการยืนถ่ายเทน้ำหนัก หรือพิจารณาโครงกระดูก จะช่วยได้หรือไม่ หรือมีวิธีอื่นที่เหมาะสมกว่านี้

ขอความเมตตาหลวงปู่ให้คำแนะนำ

กราบนมัสการ


วิสัชนา ๔๖๔

ยืนคงจะไม่ได้ ยิ่งจะไปกดทับข้อกระดูกที่เสื่อมให้ปวดบวมมากยิ่งขึ้น ทำได้ก็น่าจะเป็นท่านอนหงายราบกับพื้น ก็ยกขาขึ้นที่ละข้างประกอบกับลมหายใจ เช่น ยกขาซ้ายขึ้นตรงๆหายใจเข้า ลดขาซ้ายลงหายใจออก สลับกับขาขวา ให้ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยในการพยุงกระดูก ทำอย่างน้อยวันละ ๕-๑๐ นาทีทุกวัน ถ้าสนใจลองสอบถามมาทางมูลนิธิธรรมอิสระ ได้ยินเขาว่ากำลังทำซีดีในวิชา "สมาธิพระโพธิสัตว์ทั้ง ๘๔ ท่า" คุณลองติดต่อสอบถามเขาดูแล้วกัน จะให้อธิบายตรงนี้มันละเอียดและยาวมาก ดูด้วยภาพจะดีกว่า

หลวงปู่พุทธะอิสระ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
รูปภาพ

"...โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง...แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน..."

อีกนับร้อยถ้อยคำจากใจ เก็บเอาไว้ให้เธอรับฟัง

รูปภาพ
รูปภาพ...พาตัวใจกลับบ้าน... รูปภาพ
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 11:08
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: รู้ลมหายใจ
ชื่อเล่น: แม่มดบี
อายุ: 0
ที่อยู่: ไม่รู้ที่มา และอาจไม่รู้ที่จะไป

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลาทองขี้ลืม เขียน:
จะเป็นคนที่สวดมนต์ทุกคืน ซึ่งครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง (สวดหลายบท) สามารถสวดอย่างเป็นสมาธิตามปกติ



นี่ไงคะ สมาธิ
ได้เพียงเท่านี้ก็เก่งมากแล้วค่ะ :b4:
ไม่ธรรมดาแล้ว :b11:


บางคน หายใจทิ้งไปวันๆ :b7:
บางคน มัวแต่เพ่งโทษคนอื่น :b21:
บางคน คิดว่าข้านี่ดี ข้านี่แน่ :b22:

...น่าสงสารค่ะ...

.....................................................
รูปภาพ

"...โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง...แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน..."

อีกนับร้อยถ้อยคำจากใจ เก็บเอาไว้ให้เธอรับฟัง

รูปภาพ
รูปภาพ...พาตัวใจกลับบ้าน... รูปภาพ
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 13

โฮมเพจ: http://www.collectionoflove.spaces.live.com
แนวปฏิบัติ: มีเป้าหมายว่าอยากเป็นผู้มีสติอยู่เสมอ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ เขียน blog
สิ่งที่ชื่นชอบ: นิทานสีขาว (ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, ต้นส้มแสนรัก (โจเซ่ วาสคอนเซลอส)
ชื่อเล่น: เรียกปลาทองก็ได้นะ
อายุ: 0
ที่อยู่: สวนหลวง กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นและแนะนำ เข้าใจว่าท่านกำลังถกกันถึงประเด็นของท่าในการทำสมาธิ หรือการเป็นสมาธิในอิริยาบทต่างๆ ซึ่งดิฉันคงยังไม่ลึกซึ้งมากนักจึงทำให้งุนงงพอประมาณ แต่คิดว่าการตอบกันไปมานั้น ยิ่งเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจให้กับดิฉัน โดยมิได้เพิ่มอัตตาให้ผู้ตอบแต่อย่างใด ขออนุโมทนาในการแสดงความคิดเห็นของทุกท่านซึ่งเป็นกุศลด้วยใจที่อยากแก้ปัญหาให้แก่ดิฉัน

เริ่มแรกเลยเกิดจากอาการปวดหลังแบบ ปวดเฉพาะเวลานั่งสมาธิ เวลาอื่นๆ ไม่เคยปวดเลย ก็เลยคิดว่าเป็นเพราะจิตเรากำลังติดอยู่กับคำว่านั่งสมาธิเกินไปหรือเปล่า หรือเกิดอะไรขึ้นจึงทำให้ไม่เคยนั่งสมาธิสำเร็จ

จริงๆ แล้วเข้ามาอ่านการตอบกระทู้นี้ไม่ใช่การงุงงงครั้งแรก แต่ดิฉันเริ่มสับสนตั้งแต่ตอนไปถวายสังฆทาน แล้วขอคำแนะนำจากหลวงพ่อ ว่าทำไมจึงปวดหลังมากมายเฉพาะตอนจะนั่งสมาธิ ท่านบอกว่าดิฉันควรเข้าวัดไปได้รับการฝึกก่อน ที่สับสนเพราะเข้าใจมาโดยตลอดว่าใครก็สามารถนั่งสมาธิได้ไม่จำเป็นต้องเข้าวัดไปรับการฝึก คุณพ่อคุณแม่เคยสอนให้นั่งสมาธิตอนเด็กๆ ท่านก็บอกแค่เพียงว่าให้กำหนดรู้การหายใจเข้าหายใจออก ด้วย พุทโธ ซึ่งเด็กๆ นั้นก็เคยนั่งแต่ไม่ได้จริงจัง แต่ก็นั่งได้ แม้จะเพียงชั่วครู่ชั่วยาม และรู้ตัวว่าไม่ได้เกิดสมาธิแต่อย่างใด

ขออนุโมทนาแก่ทุกท่านค่ะ

.....................................................
เราไม่สามารถรั้งสิ่งใดไว้ได้ ทำได้เพียง "รัก" ในขณะที่ยังมีมันอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ว่าทำไมจึงปวดหลังมากมายเฉพาะตอนจะนั่งสมาธิ

เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทนเพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก้ล้มเหลว

ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมนั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บปวด เมื่อย คันๆเกิดขึ้นให้หยุดเดินหรือหยุดกำหนด
พองหนอ ยุบหนอ หยุดกำหนดลมหายใจ ให้เอาสติไปตั้งที่เวทนาเกิดขึ้นและกำหนดไปตามความเป็นจริงว่าปวดหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ หรือเจ็บหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ เมื่อยหนอ ๆ ๆคันหนอ ๆ ๆอย่างใดอย่างนึงเป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อย จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

หากปวดหลังก็ลองกำหนดปวดไปที่หลังตรงจุดที่หลังปวด กำหนดตรงจุดนั้นให้นานๆ ปากก็ให้ภาวนาปวดหนอ ๆ ๆ เพื่อเป็นการกำหนดปวด ถ้าไม่หายปวด อย่าเพิ่งเลิกกำหนด ทำไปสัก 20 -30ครั้ง
ดูซิว่า ความปวดมันเป็นยังไง ปวดมาก ไปหา ปวดน้อย หรือปวดน้อยไป ปวดมาก มากแค่ไหนก็ต้องตามรุ้ไปเรื่อยให้ทันอาการปวดปัจจุบันในที่สุด ให้ความปวด มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หมดไป ความปวดค่อยๆซาแล้วเราก็ค่อยๆหายปวดไปในที่สุด ถึงตอนนั้นเมื่อมานั่งอีกก็กำหนดปวดได้ดีขึ้นเพราะเคยชนะเวทนาคือความปวดมารอบหนึ่งแล้ว

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 09:11
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแลกเปลี่ยนประสปการณ์ค่ะ คุณปลาทองฯ
ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมีปัญหากับการนั่งสมาธิค่ะ รู้สึกว่าตัวเองต้องนั่งสมาธิ ไม่ได้แน่ๆเลยทีเดียว
เพราะเกิดอาการมึนหัวตั้งแต่แรกนั่ง บางทีวิ่งไปอาเจียนจริงๆก็มี นั่งไปบางทีก็แน่น บางทีก็อึดอัด ไม่สบายตัวฯลฯ ก็ต้องพยายามแก้ไข อดทนลองผิดลองถูกไปค่ะ ดิฉันใช้เวลาอยู่หลายเดือนค่ะ กว่าจะเข้าที่เข้าทางและสามารถนั่งได้เสียที

บางครั้งเราเองหาสาเหตุไม่พบหรอกค่ะ ดิฉันเลยอนุมานเอาว่าหลวงพ่อท่านคงจะให้คุณปลาทองฯได้ใกล้ชิดอาจารย์เพื่อหาสาเหตุได้ว่าปวดหลังเพราะอะไรและแก้ไขอย่างไรดี สาเหตุที่ทำให้นั่งสมาธิไม่ได้นั้นมีมากค่ะ ส่วนหนึ่งมาจากท่านั่งที่ไม่ถูก ยืดเกินไป เกร็งไป หรือหย่อนไป ก็ทำให้ปวดหลังได้ หรืออาจจะมาจากจิตจริงๆก็ได้ค่ะ

ดิฉันไม่ทราบว่าคุณปฏิบัติแนวไหนอยู่ หากมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่คุณทำอยู่เดิมชัดเจนมากขึ้น เช่น ใช้คำกำหนดอย่างไร กำหนดตอนไหน นั่งอย่างไร ท่าไหน ฯลฯ เชื่อได้ว่าต้องมีทางออกแน่แน่ อย่างน้อยในลานนี้ก็มีท่านผู้รู้หลายท่านทีเดียว(แม้จะแตกต่างทางกันไปบ้าง)

ขออนุโมทนาในความเพียรของคุณปลาทองฯค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งเก้าอี้ พิงเลย แล้วกำหนด หนักๆๆที่ฐาน ก็ลุฌานได้เหมือน กัน พี่ ท่าน smiley

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลาทองขี้ลืม เขียน:
เริ่มแรกเลยเกิดจากอาการปวดหลังแบบ ปวดเฉพาะเวลานั่งสมาธิ เวลาอื่นๆ ไม่เคยปวดเลย ก็เลยคิดว่าเป็นเพราะจิตเรากำลังติดอยู่กับคำว่านั่งสมาธิเกินไปหรือเปล่า หรือเกิดอะไรขึ้นจึงทำให้ไม่เคยนั่งสมาธิสำเร็จ


ท่านั่งเป็นอิริยาบถที่ทำให้สมาธิเกิดได้ไวและมั่นคงกว่าอิริยาบทอื่นครับ
ลองนั่งตัวตรงๆ ไม่ต้องเกร็ง แล้วปฏิบัติวิธีที่คุณเคยทำก่อน เวลาได้แค่ไหนก็แค่นั้น
ไม่ต้องฝืนไป ทำแบบนี้ก่อนครับ

ปลาทองขี้ลืม เขียน:
จริงๆ แล้วเข้ามาอ่านการตอบกระทู้นี้ไม่ใช่การงุงงงครั้งแรก แต่ดิฉันเริ่มสับสนตั้งแต่ตอนไปถวายสังฆทาน แล้วขอคำแนะนำจากหลวงพ่อ ว่าทำไมจึงปวดหลังมากมายเฉพาะตอนจะนั่งสมาธิ ท่านบอกว่าดิฉันควรเข้าวัดไปได้รับการฝึกก่อน ที่สับสนเพราะเข้าใจมาโดยตลอดว่าใครก็สามารถนั่งสมาธิได้ไม่จำเป็นต้องเข้าวัดไปรับการฝึก คุณพ่อคุณแม่เคยสอนให้นั่งสมาธิตอนเด็กๆ ท่านก็บอกแค่เพียงว่าให้กำหนดรู้การหายใจเข้าหายใจออก ด้วย พุทโธ ซึ่งเด็กๆ นั้นก็เคยนั่งแต่ไม่ได้จริงจัง แต่ก็นั่งได้ แม้จะเพียงชั่วครู่ชั่วยาม และรู้ตัวว่าไม่ได้เกิดสมาธิแต่อย่างใด
ขออนุโมทนาแก่ทุกท่านค่ะ


พระท่านคงหมายถึงถ้าจะทำจริงจังแบบเป็นเรื่องราวไปตลอดจนประสบผล
ก็คงต้องหาวิปัสสนาจารย์แนะแนวครับ เพราะวิปัสสนาจารย์เขาสอน เขาแนะตั้งแต่นั่งอย่าง
ไร เดินอย่างไร ท่านมีวิะีว่าจะทำอย่างไรให้ลำบากน้อยผลมาก ทำนองนี้ครับ
พระท่านก็แนะไปแบบนั้นตามความเข้าใจท่าน

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นกุศลสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายได้ในปัจจุบัน
มีปีติสุขและอุเบกขาเกิดขึ้นแล้ว
ผู้นั้นชื่อว่าจิตเป็นสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ




จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใดอบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จักมีแต่ที่ใดเล่า ?


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร