วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 23:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2004, 19:48
โพสต์: 1733

ชื่อเล่น: admin
อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ


ตัวอย่าง

อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
อย่า ได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
อย่า ได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
อย่า ได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

................
คัดลอกบางตอนมาจาก
http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... 78b0de758a

.....................................................
-- วิธีใช้บอร์ด --
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=22930
- สมาชิกใหม่แนะนำตัวที่นี่
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=29
- กฎกติกาบอร์ด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19110
- เครื่องมือผู้ดูแลบอร์ด -
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=23048
facebook ลานธรรมจักร
http://www.facebook.com/larndhammajak


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2004, 19:48
โพสต์: 1733

ชื่อเล่น: admin
อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)
ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕
เล่ม ๒๐ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๑๗๙ - ๑๘๔


{น.๑๗๙}[๕๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะ ชื่อว่าเกสปุตตะ พวกชนกาลามโคตรชาวเกสปุตตนิคม ได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคม โดยลำดับ

ก็กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล

ครั้งนั้น ชนกาลามโคตร ชาวเกสปุตตนิคมได้เข้าไปเฝ้าผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งเฉยๆ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อต่างก็นั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ


ดูพระสูตรความย่อ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้เชื่อถือ ตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ {น.๑๘๐}อย่า ได้เชื่อถือ โดยอ้างตำรา อย่าได้เชื่อถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้เชื่อถือโดยคาดคะเน อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้เชื่อถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้เชื่อถือ โดย ความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา


ดูพระสูตรความย่อ เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย

ดูพระสูตรความย่อ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์
พวกชนกาลามโคตร ต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชน ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่ง ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์?
กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตอันความ โกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อ สิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความหลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
กา. เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชน ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ มีจิตอันความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูด เท็จก็ได้ สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน บุคคล ผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

{น.๑๘๑}พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ?
กา. มีโทษ พระเจ้าข้า
พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า
พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
กา.ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

ดูพระสูตรความย่อ พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่าน ทั้งหลาย อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟัง.....อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะ นี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ สมบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้ง หลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา.....อย่าได้ยึดถือโดยความ นับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่

ดูพระสูตรความย่อ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่ เป็นประโยชน์?
กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
{น.๑๘๒}กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่โกรธเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
กา. เพื่อเป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชน ทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ มีจิตไม่ถูกความโกรธกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่ พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน?
ความไม่หลงเมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์?
กา. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่หลง ไม่ถูกความหลงครอบงำ มีจิตไม่ถูกความหลงกลุ้มรุมนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูด เท็จ สิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
กา. จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล?
กา. เป็นกุศล พระเจ้าข้า
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ?
กา. ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า
พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ?
กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระเจ้าข้า
พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขหรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร?
กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้

ดูพระสูตรความย่อ {น.๑๘๓} พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่สืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบ ใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทาน ให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้

ดูพระสูตรความย่อ ดูกรกาลามชน ทั้งหลาย อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึง ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการ ในปัจจุบันว่า

ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็น เครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่า เป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจในข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว

ดูกรกาลามชน{น.๑๘๔}ทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตใจไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่าง นี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน

ดูพระสูตรความย่อ กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มี จิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน...

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

.......................
http://www.navy.mi.th/newwww/code/speci ... 200366.htm
:b8:

.....................................................
-- วิธีใช้บอร์ด --
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=22930
- สมาชิกใหม่แนะนำตัวที่นี่
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=29
- กฎกติกาบอร์ด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19110
- เครื่องมือผู้ดูแลบอร์ด -
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=23048
facebook ลานธรรมจักร
http://www.facebook.com/larndhammajak


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2004, 19:48
โพสต์: 1733

ชื่อเล่น: admin
อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก
ได้กล่าวถึงกาลามสูตร ว่าคือ สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล


ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ
- ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร

................
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... A%D9%B5%C3
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002684.htm

:b44:

.....................................................
-- วิธีใช้บอร์ด --
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=22930
- สมาชิกใหม่แนะนำตัวที่นี่
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=29
- กฎกติกาบอร์ด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19110
- เครื่องมือผู้ดูแลบอร์ด -
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=11&t=23048
facebook ลานธรรมจักร
http://www.facebook.com/larndhammajak


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อยกสูตรนี้ขึ้นมา ส่วนมากใครๆก็ศึกษาว่าไม่ควรเชื่ออะไรบ้าง
ผมก็ได้รับรู้มาอย่างนั้นเหมือนกัน

แต่เดี๋ยวนี้ประทับใจวรรคสุดท้ายที่ว่า
อ้างคำพูด:
ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น


ขอบคุณ admin ที่นำพระสูตรฉบับเต็มๆมาเผยแพร่

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b4:
...ขออนุโมทนา...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วดับทุกข์ในใจเราได้ก็เป็นกุศล...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นก็เป็นกุศล...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วลดตัณหาทิฐิมานะตนเองลงก็เป็นกุศล...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วก่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านก็เป็นกุศล...
...ตัวเราคิดดี...พูดดี...ทำดี...ทำจิตใจให้ผ่องใส...เป็นกุศลกรรม...
:b20:
:b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


admin เขียน:
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก
ได้กล่าวถึงกาลามสูตร ว่าคือ สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล


ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ
- ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร

................
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... A%D9%B5%C3
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002684.htm

:b44:



-
อ้างคำพูด:
ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

อันนี้เป็นภายนอกงับ


อ้างคำพูด:
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน


อันนี้ภายในงับ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไม่สอนให้เชื่อทั้งนอกในงับ ท่านให้พิจารณาก่อนแล้วจึงเชื่อ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


...
ประกอบการพิจารณาครับ

- ชาวกาลามะ แห่งเกสปุตตะนิคม เป็นแดนนักคิด มีผู้รู้มาก เจ้าลัทธิเยอะ

- ทรงตรัสไม่ให้เชื่อ สิบอย่าง เหนือความคาดหมายของชาวกาลามะ กระตุ้นให้อยากรู้ยิ่งขึ้น

- พระสูตรนี้ นักปราชญ์ทั้งหลาย ถือว่าท่อนหลังสำคัญที่สุด

คือ ทรงซักถามชาวกาลามะด้วยเหตุและผล

คือ เริ่มตั้งแต่ตรงนี้ ครับ


เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์
เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรม เหล่านั้นเสีย


พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลายท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็น ประโยชน์


พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า

เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ

มีจิต อันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้

สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน

บุคคลผู้โลภ ย่อม ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้


กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า

แล้ว ทรงซักถาม ความ โกรธ ความหลง ในทำนองเดียวกัน

ทรงตรัสถามต่อ

เป็นกุศล หรือ อกุศล (ความไม่ดีงาม)

ไม่มีโทษ หรือ มีโทษ

ผู้รู้ ติเตียน หรือ สรรเสริญ

แล้วทรงตรัสถาม ผู้ที่ไม่ถูกโลภ โกรธ หลง ครอบงำ


ในทางตรงกันข้าม

แล้วตรัสธรรมที่สูงยิ่งขึ้น

คือ มีสติ สัมปชัญญะ

มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

และตอนท้าย ทรงสรุปความประมาณว่า ให้ทำดีเอาไว้ โลกหน้า จะมีหรือไม่มี ก็จะมีแต่ความอุ่นใจ



ยาวครับ ถ้าดูในรายละเอียด อ่านช้า ๆ จะห็นว่าพระพุทธพจน์ งามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุดว่าเป็นยังไง
...........

ขออนุโมทนาครับ

.........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มิ.ย. 2010, 19:25
โพสต์: 11

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..ขออนุโมทนา...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วดับทุกข์ในใจเราได้ก็เป็นกุศล...
...ธรรม ใดเกิดขึ้นแล้วไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นก็เป็นกุศล...
...ธรรมใดเกิด ขึ้นแล้วลดตัณหาทิฐิมานะตนเองลงก็เป็นกุศล...
...ธรรมใดเกิดขึ้นแล้วก่อ ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านก็เป็นกุศล...
...ตัวเราคิดดี...พูดดี...ทำ ดี...ทำจิตใจให้ผ่องใส...เป็นกุศลกรรม.
..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: อนุโมทนาด้วยครับ..ท่านwebmaster :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งสำคัญในพระสูตร ผมคิดว่ามีสามประการ

ประการแรก เชื่อใครดี ตอบว่า เชื่อตัวเอง

ที่มาคือ มีหลายสำนัก มาสอนชาวบ้านบ้างก็ว่า ตนดี บ้างก็ว่า คนอื่นไม่ดี ชาวบ้านได้มาถามพระพุทธองค์ ว่าเชื่อใครดี ท่านก็สอนว่า ไม่เชื่อโดย อย่างนั้นอย่างนี้ สรุปให้เชื่อตัวเอง

ถ้าพระพุทธองค์บอกว่า ให้เชื่อพระองค์ ชาวบ้านก็อาจจะไม่เชื่อ เพราะไม่มีความต่าง ทุกสำนักต่างก็จะให้เชื่อแต่ สำนักของตนเท่านั้น

แต่พอบอกว่า ให้เชื่อตัวเอง ฟังแล้ว ดีมากเลย

ประการที่สอง เชื่อตัวเอง อย่างไร ตอบว่า ยังต้องมีเงื่อนไข

เงื่อนไขคือ ถ้าสิ่งนั้นรู้ได้ด้วยตนเองว่ามีคุณ หรือโทษ เมื่อนั้น เชื่อตนเองในสิ่งนั้น

ประการที่สาม เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ หลักนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องหรือไม่

ผมเห็นว่า ไม่

จะใช้ไดั ก็ต่อเมื่อบางกรณีเท่านั้น

คือ 1 รู้ได้ด้วยตนเอง ได้

2 คือ ไม่มีอันตรายถ้าผิดพลาด

บางสิ่งรู้ไม่ได้ด้วยตนเอง ต้องเชื่อนักปราชญ์ เช่นกัน

เช่น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ดื่มเหล้า ตกนรก มีทคติเป็นที่ไป
ถ้ามีคนถามว่า ถ้าดื่มแต่ไม่เมาหละ นรกมีตรงไหน เขาไม่เห็นรู้เลย เอาภาพกระทะทองแดงมาแสดง
ให้ดูสิ

จะพบว่า ทำไม่ได้ ด้วยว่า ธรรมชาติของพระธรรมนั้น เป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน
อย่างนี้ต้องอาศัยการเชื่อ ในพระรัตนตรัย และไม่ดื่มเหล้า ด้วยความเชื่อนั้น

ของที่อันตราย ก็ไม่ควรลอง

เช่นเด็กนักเรียนอยากลองยาบ้า ยาเสพติด เฮโรอีน

เราบอกไม่ดี เขาบอกว่า จะใช้หลักกาลามสูตรได้ไหม คือ เขาขอลองเอง ถ้าไม่ดีหรือดีเขาจึงจะเชื่อ

เราจะแนะนำว่า อย่าใช้หลักนี้ ในกรณีนี้

เพราะอันตรายเกินไป

หลักกาลามสูตร จึงเป็นหลักที่เลือกใช้ ด้วยปัญญา เช่นเดียวกันนั้นเองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ศ. (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


กาลามสูตร
“หลักความเชื่อของชาวพุทธ”

โดย ศ. (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก


คงเคยได้ยินชื่อ กาลามสูตร กันมาบ้างไม่มากก็น้อย พระสูตรนี้ชาวตะวันตกที่หันมาสนใจพระพุทธศาสนารู้จักกันดี เพราะมีเนื้อหา “ท้าทาย” และบ่งบอกเอกลักษณ์ของความเป็นพุทธอันแตกต่างจากศาสนาดั้งเดิมที่พวกเขานับถือ นั่นคือ เน้นบทบาทของปัญญา ก่อนจะเชื่อถือปฏิบัติอะไรให้ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน

เนื้อความของพระสูตรมีว่า ชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม เมื่อพบพระพุทธเจ้าก็พากันกราบทูลว่า สมณพราหมณ์หลายพวกหลายลัทธิผ่านมายังหมู่บ้านนี้ ต่างฝ่ายต่างก็ยกย่องลัทธิของตนว่าถูก ตำหนิว่าลัทธิของฝ่ายอื่นว่าผิด พวกตนงงไปหมด ไม่รู้จะเชื่อฝ่ายไหน

พระองค์ตรัสว่า ก็น่าที่พวกเธอจะสงสัยอยู่ดอก เพราะแต่ละฝ่ายก็ยกย่องแต่ลัทธิความเชื่อของตน เราตถาคตขอบอกว่า

๑. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะฟังตามกันมา

๒. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะนับถือสืบๆ กันมา

๓. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ

๔. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีอ้างไว้ในตำรา

๕. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรรกะ
(โบราณแปลว่า “เดา” แต่หมายถึงเหตุผลทางตรรกะ)

๖. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอนุมาน
(คือสรุปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ)

๗. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคิดตรองตามอาการที่ปรากฏ

๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเข้ากับความเห็นของตน

๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อถือ

๑๐. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของตน


พุทธวจนะนี้มิได้หมายความว่า ทรงสอนให้เป็นคนไม่เชื่อถืออะไรเลย แต่ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนจึงค่อยเชื่อ “ต่อเมื่อใด รู้ด้วยใจว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลหรือกุศล มีโทษหรือไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตาม”

ความจริงพระสูตรนี้ชื่อ “เกสปุตติยสูตร” แต่เพราะแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กาลามสูตร”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2011, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


เตือนตัวเองให้อ่านบ่อยๆ....จะได้ใช้ในการประกอบการพิจารณา

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b8: :b8: :b8: :b44:

:b41: :b41:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร