วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 128 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 11:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เด้ว..รออโสกะ..มาบอกว่าตนทำถึงจุดไหนในพระสูตร...แล้วเจ้าลมหายใจเกิดดับของอโสกะสงเคราะห์ลงในพระสูตรได้จุดไหน..

ดีเลย...ถ้าอโสกะมา.จะได้ถามเพิ่ม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
โธ่เอ๋ยพากันฟุ้งกระจายไปกันเสียไกลเลยทั้งกบทั้งกรัชกาย เรื่องง่ายๆมาโยงไปหาเรื่องยากๆ

กลับมาก่อนมาตอบว่า ลองทำแบบฝึกหัดสังเกตลมหายใจแล้วมีอะไรเกิดขึ้นที่กายบ้าง มีอะไรเกิดขึ้นที่จิตบ้าง
ถ้าลงมือทำจริงๆพอกลั้นลมหายใจจะเห็นอาการที่กายซึ่งเป็นของหยาบก่อน คือ อึดอัด แน่นหน้าอกเหงื่อซึม หูอื้อ
หัวใจเต้นแรงอาจมีอาการอื่นๆอีกหลายอย่างตามแต่ผู้ปฏิบัติจะสังเกตเห็นรวมๆแล้วก็คือทุกข์ทางกายจะเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย จนเห็นความทุกข์ทางใจคือทุรนทุราย จิตดิ้นรน อยากหายใจออก บีบคั้น คับแค้น กลัวตายทนแทบไม่ได้ กลั้นใจสู้ต่อ สุดท้ายทุกข์สุดขีดทนกลั้นหายใจต่อไม่ได้ ปล่อยลมหายใจออกอย่างแรง

สังเกตต่อก็จะเห็นความเบา สบาย โล่ง หมดทุกข์หมดความบีบคั้น เป็นสุข

วิเคราะห์ผลการทดลองทำตามแบบฝึกหัดนี้โดยอิงหลักธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้ได้พบว่า

เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้วห้ามไม่ให้หายใจออก
ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกายและในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขังหรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันทีเมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที

มีอัตตาก็มีทุกข์ หมดอัตตาหรือใจเป็นอนัตตาสุขก็เกิดทันที

มีอัตตาไปขัดขวางธรรมชาติ ทุกข์ก็เกิดทันที หมดอัตตา สุขก็เกิดทันที และยิ่งซึ้งยิ่งขึ้นว่า ธรรมทั้งหมดทั่งปวงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ ความโง่ ความเห็นผิด ยึดผิด ที่เรียกว่าอวิชชานี้เองที่ทำให้ไปหลงพยายามบังคับธรรมชาติที่บังคับไม่ได้ ทุกข์จึงเกิดตลอดกาล

เพียงแค่การทดลองปฏิบัติเรื่องการสังเกตลมหายใจนี้ เราก็สามารถลัดเข้าไปเห็นความจริงตัวอย่างตามธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อัตตา นิโรธ สุข ทุกข์ เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเป็นอย่างไร
เข้าใจจธรรมตามตัวอย่างนี้แล้วก็เก็บไว้เป็นหลักพิจารณาและปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริง

นี่เป็นเพียงการวิเคราะห์คร่าวๆ แต่หากวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งจะได้เห็นแง่มุมของธรรมะตามอริยสัจ 4 อีกมากมายทำให้แตกฉานและง่ายต่อการปฏิบัติธรรมมากขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ
เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้วห้ามไม่ให้หายใจออก
ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกายและในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขัง หรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง

ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันทีเมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที



อุต๊ะ ปัดติเถ เถนา คุณแม่ขอร้อง :b32:

อริยสัจ 4 ของท่านโศกเล่นกันซื่อๆเลยนะ คือ กลั้นลมหายใจ เป็นทุกข์ (คือหายใจไม่ออก) ทนไม่ไหวหายใจออกมา (รอดตาย) เป็นนิโรธ ฯลฯ

บอกแล้วว่า เสียเวลาเปล่า :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
อโศกะ
เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้วห้ามไม่ให้หายใจออก
ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกายและในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขัง หรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง

ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันทีเมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที



อุต๊ะ ปัดติเถ เถนา คุณแม่ขอร้อง :b32:

อริยสัจ 4 ของท่านโศกเล่นกันซื่อๆเลยนะ คือ กลั้นลมหายใจ เป็นทุกข์ (คือหายใจไม่ออก) ทนไม่ไหวหายใจออกมา (รอดตาย) เป็นนิโรธ ฯลฯ

บอกแล้วว่า เสียเวลาเปล่า :b13:

:b12:
กรัชกายเอาจิตใจไปนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง บนกองความรู้ปริยัติเสียจน มองไม่เห็นความสำคัญและเรียบง่ายของสามัญธรรม พื้นๆที่คนทั่วไปเข้าใจง่ายเสียแล้ว ยังงี้จะไปอธิบายธรรมให้ชาวบ้านชาวเมืองเข้าใจทราบซึ้งได้อย่างไร

เรื่องและบทเรียนง่ายๆนี้ทำให้คนเข้าใจอริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ 3 อันเป็นแก่นธรรม หัวใจคำสอนของพระพุทธเจ้ามามากต่อมากแล้วนะครับ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าในประเด็น..ลมหายใจเข้าเกิดดับ
ลมหายใจออก..เกิดดับ

นะ...

รออโสกะ...สงเคราะห์ลงในแบบที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน..อยู่..

มาที่การกลั้นลมหายใจ..
อิอิ..

asoka เขียน:
grin
โธ่เอ๋ยพากันฟุ้งกระจายไปกันเสียไกลเลยทั้งกบทั้งกรัชกาย เรื่องง่ายๆมาโยงไปหาเรื่องยากๆ

กลับมาก่อนมาตอบว่า ลองทำแบบฝึกหัดสังเกตลมหายใจแล้วมีอะไรเกิดขึ้นที่กายบ้าง มีอะไรเกิดขึ้นที่จิตบ้าง
ถ้าลงมือทำจริงๆพอกลั้นลมหายใจจะเห็นอาการที่กายซึ่งเป็นของหยาบก่อน คือ อึดอัด แน่นหน้าอกเหงื่อซึม หูอื้อ
หัวใจเต้นแรงอาจมีอาการอื่นๆอีกหลายอย่างตามแต่ผู้ปฏิบัติจะสังเกตเห็นรวมๆแล้วก็คือทุกข์ทางกายจะเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย จนเห็นความทุกข์ทางใจคือทุรนทุราย จิตดิ้นรน อยากหายใจออก บีบคั้น คับแค้น กลัวตายทนแทบไม่ได้ กลั้นใจสู้ต่อ สุดท้ายทุกข์สุดขีดทนกลั้นหายใจต่อไม่ได้ ปล่อยลมหายใจออกอย่างแรง

สังเกตต่อก็จะเห็นความเบา สบาย โล่ง หมดทุกข์หมดความบีบคั้น เป็นสุข

วิเคราะห์ผลการทดลองทำตามแบบฝึกหัดนี้โดยอิงหลักธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้ได้พบว่า

เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้วห้ามไม่ให้หายใจออก
ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกายและในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขังหรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันทีเมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที

มีอัตตาก็มีทุกข์ หมดอัตตาหรือใจเป็นอนัตตาสุขก็เกิดทันที

มีอัตตาไปขัดขวางธรรมชาติ ทุกข์ก็เกิดทันที หมดอัตตา สุขก็เกิดทันที และยิ่งซึ้งยิ่งขึ้นว่า ธรรมทั้งหมดทั่งปวงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ ความโง่ ความเห็นผิด ยึดผิด ที่เรียกว่าอวิชชานี้เองที่ทำให้ไปหลงพยายามบังคับธรรมชาติที่บังคับไม่ได้ ทุกข์จึงเกิดตลอดกาล

เพียงแค่การทดลองปฏิบัติเรื่องการสังเกตลมหายใจนี้ เราก็สามารถลัดเข้าไปเห็นความจริงตัวอย่างตามธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อัตตา นิโรธ สุข ทุกข์ เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเป็นอย่างไร
เข้าใจจธรรมตามตัวอย่างนี้แล้วก็เก็บไว้เป็นหลักพิจารณาและปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริง

นี่เป็นเพียงการวิเคราะห์คร่าวๆ แต่หากวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งจะได้เห็นแง่มุมของธรรมะตามอริยสัจ 4 อีกมากมายทำให้แตกฉานและง่ายต่อการปฏิบัติธรรมมากขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
อโศกะ
เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้วห้ามไม่ให้หายใจออก
ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกายและในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขัง หรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง

ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันทีเมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที



อุต๊ะ ปัดติเถ เถนา คุณแม่ขอร้อง :b32:

อริยสัจ 4 ของท่านโศกเล่นกันซื่อๆเลยนะ คือ กลั้นลมหายใจ เป็นทุกข์ (คือหายใจไม่ออก) ทนไม่ไหวหายใจออกมา (รอดตาย) เป็นนิโรธ ฯลฯ

บอกแล้วว่า เสียเวลาเปล่า :b13:

:b12:
กรัชกายเอาจิตใจไปนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง บนกองความรู้ปริยัติเสียจน มองไม่เห็นความสำคัญและเรียบง่ายของสามัญธรรม พื้นๆที่คนทั่วไปเข้าใจง่ายเสียแล้ว ยังงี้จะไปอธิบายธรรมให้ชาวบ้านชาวเมืองเข้าใจทราบซึ้งได้อย่างไร

เรื่องและบทเรียนง่ายๆนี้ทำให้คนเข้าใจอริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ 3 อันเป็นแก่นธรรม หัวใจคำสอนของพระพุทธเจ้ามามากต่อมากแล้วนะครับ
onion




อ้างคำพูด:
กรัชกายเอาจิตใจไปนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง บนกองความรู้ปริยัติเสียจน มองไม่เห็นความสำคัญและเรียบง่ายของสามัญธรรม พื้นๆที่คนทั่วไปเข้าใจง่ายเสียแล้ว ยังงี้จะไปอธิบายธรรมให้ชาวบ้านชาวเมืองเข้าใจทราบซึ้งได้อย่างไร


ถ้ายังงั้น ต้องพูดยังงี้ คือ เป็นอริยสัจจ์ ที่ท่านอโศกคิดขึ้นมาเองเพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจ

แต่มันไม่ใช่อริยสัจจ์ที่พระพุทธเจ้าสอน พูดยังงี้ :b1: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ

เริ่มต้นเอาอัตตา กู มาสั่งบังคับลมหายใจ ให้สูดเข้าปอดให้เต็มที่แล้ว ห้ามไม่ให้หายใจออก

ธรรมชาติของการหายใจถูกขัดขวาง จึงเกิดทุกขังขึ้นทั้งในกาย และในใจทวีแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดวิกฤต ทนอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็คือตัวทุกขัง หรือทุกขสัจจะจริงๆนั่นเอง ในที่สุดก็ต้องปล่อยลมหายใจออกเป็นอนิจจัง ทันใดนั้น นิโรธ ความดับทุกข์หรือสุขก็เกิดขึ้นมาแทนทันที เมื่อปล่อยคำสั่งของอัตตา กู จิตใจตอนที่โล่ง โปร่งเบาสบายเป็นสุขนั้นเป็นตอนที่จิตเป็นอนัตตา ไม่มีกู นิโรธก็เกิดขึ้นแทนทันที


นำที่เขาทำเขาปฏิบัติจริงมาเทียบกับท่านอโศกกลั้นใจ จนถึงจุดวิกฤต (เกือบตาย) :b32:


อ้างคำพูด:
ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตราย หรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ แรกๆก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมากช่วงหลังๆจิตเริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่ เป็นทุกข์ เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆ รู้สึกว่า มันไม่ใช่ของเราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ

บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป แต่ยังมีสติรู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไปด้วย บังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัวก็เลยพยายามฝืนจนหายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตายจริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ


ฉายอีกรอบหนึ่ง อิอิ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ค. 2016, 20:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
งั้นกรัชกายลองมาให้ความหมายของอริยสัจ 4 แต่ละข้อในความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาจะเข้าใจให้ฟังหน่อยมันจะต่างกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไร?

เพราะที่อโศกะเอามาพูดมันก็เรื่อง เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอน มันจะต่างกันก็แต่เพียงว่าของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ที่อโศกะพูด บอก มันเป็นภาษาไทย สภาวธรรมแล้วมันเป็นอันเดียวกัน เป็นสากล
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
งั้นกรัชกายลองมาให้ความหมายของอริยสัจ 4 แต่ละข้อในความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาจะเข้าใจให้ฟังหน่อยมันจะต่างกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไร?

เพราะที่อโศกะเอามาพูดมันก็เรื่อง เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอน มันจะต่างกันก็แต่เพียงว่าของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ที่อโศกะพูด บอก มันเป็นภาษาไทย สภาวธรรมแล้วมันเป็นอันเดียวกัน เป็นสากล
onion



ท่านอโศก ธรรมะก็ธรรมะ ต้องว่าไปตามหลักธรรม เราจะไปดัดแปลงเพื่อให้คนเข้าใจหาได้ไม่

หมายถึงหลักระดับปรมัตถ์นะ

แต่ถ้าเป็นโลกียธรรมระดับความประพฤติของหมู่ชนที่อยู่ร่วมกันในสังคม อันนี้ อนุโลมได้ตามยุคสมัยและท้องถิ่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
งั้นกรัชกายลองมาให้ความหมายของอริยสัจ 4 แต่ละข้อในความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาจะเข้าใจให้ฟังหน่อยมันจะต่างกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไร?

เพราะที่อโศกะเอามาพูดมันก็เรื่อง เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอน มันจะต่างกันก็แต่เพียงว่าของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ที่อโศกะพูด บอก มันเป็นภาษาไทย สภาวธรรมแล้วมันเป็นอันเดียวกัน เป็นสากล
onion



ท่านอโศก ธรรมะก็ธรรมะ ต้องว่าไปตามหลักธรรม เราจะไปดัดแปลงเพื่อให้คนเข้าใจหาได้ไม่

หมายถึงหลักระดับปรมัตถ์นะ

แต่ถ้าเป็นโลกียธรรมระดับความประพฤติของหมู่ชนที่อยู่ร่วมกันในสังคม อันนี้ อนุโลมได้ตามยุคสมัยและท้องถิ่น

:b12:
กรัชกายเข้าใจธรรมะว่าเป็นไฉน

ธรรมะนี้มีมาคู่กับโลกและจักรวาลนี้มีมาก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเพียงแต่ไปทรงค้นพบ ไปหยิบเอามาแค่เท่ากับใบไม้ในกำมือมาสอนไม่ได้เอามามากมายคือเอามาแต่เรื่อง
ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์
และวิธีทำให้ถึงความดับทุกข์
เท่านี้เอง

ทุกขสัจจะ คือผล จากการกระทำเหตุทุกข์ในอดีตของแต่ละคนแต่ละจิตวิญญาณ
แปลเป็นภาษาสามัญชาวบ้านธรรมดาก็คือความบีบคั้นจนทนอยู่ไม่ได้ทั้งหลายนั่นเอง

หลักระดับปรมัตถ์ที่กรัชกายว่านั้นมันคืออะไรล่ะ
ไม่ใช่เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายซ้ำซากอย่างไม่รู้จบนี้หรือ
ในลองเล่าให้ฟังสิว่าธรรมะปรมัตถ์ของกรัชกายนั้นมันขนาดไหน

ความเจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ ร้องให้ หัวเราะ ชอบใจ ไม่ชอบใจเหล่านี้ไม่ใช่หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
งั้นกรัชกายลองมาให้ความหมายของอริยสัจ 4 แต่ละข้อในความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาจะเข้าใจให้ฟังหน่อยมันจะต่างกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไร?

เพราะที่อโศกะเอามาพูดมันก็เรื่อง เหตุทุกข์ ผลทุกข์ เหตุสุข ผลสุขเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอน มันจะต่างกันก็แต่เพียงว่าของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แต่ที่อโศกะพูด บอก มันเป็นภาษาไทย สภาวธรรมแล้วมันเป็นอันเดียวกัน เป็นสากล
onion



ท่านอโศก ธรรมะก็ธรรมะ ต้องว่าไปตามหลักธรรม เราจะไปดัดแปลงเพื่อให้คนเข้าใจหาได้ไม่

หมายถึงหลักระดับปรมัตถ์นะ

แต่ถ้าเป็นโลกียธรรมระดับความประพฤติของหมู่ชนที่อยู่ร่วมกันในสังคม อันนี้ อนุโลมได้ตามยุคสมัยและท้องถิ่น

:b12:
กรัชกายเข้าใจธรรมะว่าเป็นไฉน

ธรรมะนี้มีมาคู่กับโลกและจักรวาลนี้มีมาก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเพียงแต่ไปทรงค้นพบ ไปหยิบเอามาแค่เท่ากับใบไม้ในกำมือมาสอนไม่ได้เอามามากมายคือเอามาแต่เรื่อง
ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์
และวิธีทำให้ถึงความดับทุกข์


เท่านี้เอง

ทุกขสัจจะ คือผล จากการกระทำเหตุทุกข์ในอดีตของแต่ละคนแต่ละจิตวิญญาณ
แปลเป็นภาษาสามัญชาวบ้านธรรมดาก็คือความบีบคั้นจนทนอยู่ไม่ได้ทั้งหลายนั่นเอง

หลักระดับปรมัตถ์ที่กรัชกายว่านั้นมันคืออะไรล่ะ
ไม่ใช่เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายซ้ำซากอย่างไม่รู้จบนี้หรือ
ในลองเล่าให้ฟังสิว่าธรรมะปรมัตถ์ของกรัชกายนั้นมันขนาดไหน

ความเจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ ร้องให้ หัวเราะ ชอบใจ ไม่ชอบใจเหล่านี้ไม่ใช่หรือ



นี่คือหลักของเขาใช่

อ้างคำพูด:
ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์
และวิธีทำให้ถึงความดับทุกข์


แต่ที่ท่านอโศกไปกลั้นลมหายใจ กลั้นไว้จนทนไม่ไหว แล้วก็ปล่อยลมออกมา ...อย่างที่ว่านั่นมันไม่ใช่อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ของเขา แต่เป็นของอโศกทำขึ้นเอง แล้วก็ว่าเป็นอริยสัจ 4 :b13: มันไม่ใช่ธรรม แต่มันเป็นอธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนำหลักอริยสัจในปฐมเทศนา ข้อ ทุกขอริยสัจ ให้ดูนะ

อ้างคำพูด:
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์ คือทุกข์นี้, มีอยู่, แม้ความเกิดเป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์, ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์, โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์.
.

นี่เป็นการเทศน์ครั้งแรกของพระพุทธเจ้า แล้วก็เป็นการฟังเรื่องนี้ครั้งแรกของปัญจวัคคีย์ ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงปูพื้นฐานความเข้าใจทุกข์ที่คนเราเคยประสบพบเจอกันมาแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ก็สรุปท้ายว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์

แล้วพระองค์ก็แสดงเหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย (คือ ตัณหา ๓) กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

แล้วที่นี้ท่านอโศก ก็มากลั้นลมหายใจ (ว่ามรรค) จนหน้าตาแดงกล่ำ นั่นแหละ ตัณหาล่ะ ไม่อยากเป็นนี่ ไม่อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ ไม่อยากจะเป็นนั่น :b32:

กลั้นลมจนถึงจุดวิกฤต แล้วก็ปล่อยสูดลมเข้าปอด ก็รู้สึกโล่ง (จะไม่โล่งได้ไงล่ะก็หายใจออกแล้วนี่) แล้วว่า เป็นนิโลด อึกอักๆ โลดขึ้นไปเลย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปฏิบัติอานาปานสติซึ่งเป็นพุทธวจนะ ให้ดูพอเป็นเห็นเค้า


“ดูกรราหุล เมื่อเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ แม้แต่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ซึ่งมีในท้ายที่สุด ก็ดับไปโดยรู้ มิใช่ดับโดยไม่รู้”

พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ

“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญให้มากอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?

มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

ฯลฯ

เมื่อหายใจออกยาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น - รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

ฯลฯ

...................


ไม่มีกลั้นลมหายใจ มีแต่บอกว่า ลมเข้า-ออก สั้นยาวให้ผู้ปฏิบัติรู้ตามที่มันเป็น (คือมันสั้นมันยาวก็รู้ไปตามนั้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อดูลมเข้า-ออก (อานาปานสติ) เป็นหลักอย่างนั้น จนจิตเริ่มสงบ เป็นสมาธิ เอาล่ะ สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

นี่แหละ ทุกขอริยสัจ :b1: เพราะคนไปยึดไปอุปาทานรูปนาม จึงเป็นทุกขา (ทุกข์ครับ คิกๆๆ)


อ้างคำพูด:
ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตราย หรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ แรกๆก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมากช่วงหลังๆจิตเริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่ เป็นทุกข์ เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆ รู้สึกว่า มันไม่ใช่ของเราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ

บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป แต่ยังมีสติรู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไปด้วย บังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัวก็เลยพยายามฝืนจนหายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตายจริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 06:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วิธีปฏิบัติอานาปานสติซึ่งเป็นพุทธวจนะ ให้ดูพอเป็นเห็นเค้า


“ดูกรราหุล เมื่อเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ แม้แต่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ซึ่งมีในท้ายที่สุด ก็ดับไปโดยรู้ มิใช่ดับโดยไม่รู้”

พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ

“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญให้มากอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?

มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

ฯลฯ

เมื่อหายใจออกยาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น - รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

ฯลฯ
...................

ไม่มีกลั้นลมหายใจ มีแต่บอกว่า ลมเข้า-ออก สั้นยาวให้ผู้ปฏิบัติรู้ตามที่มันเป็น (คือมันสั้นมันยาวก็รู้ไปตามนั้น)


บอกด้วยซี....
ลมหายใจเข้า...เกิดดับ
ลมหายจออก....เกิดดับ..

สงเคราะห์ลงตรงไหน...ในพระสูตร

อยากรู้....ถามอโสกะ...แก่คงไม่มาตอบ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 128 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร